เมื่อเด็กเจ็บป่วยทุกโรงพยาบาลไม่กล้ารับรักษา


 

                           

 

เมื่อเด็กเจ็บป่วยทุกโรงพยาบาลไม่กล้ารับรักษา

          เมื่อเย็นวันที่ 20 มีนาคม 2555 ครูไพโรจน์  จันทะวงศ์   ครูประจำศูนย์เด็กก่อสร้าง ที่ซอยอุดมสุข หลังห้างเซ็นทรัสบางนา เพิ่งย้ายเข้ามาได้เพียง 1 เดือน  โรงเรียนที่ย้ายมาจึงยังไม่เสร็จ สภาพพื้นดินที่เป็นฝุ่น และเมื่อมีรถกะบะหรือรถสองแคววิ่งเข้ามาฝุ่นก็จะฟุ้งกระจาย  ทางบริษัทจึงใช้แผ่นเหล็กมาวางไว้เป็นทางเดินและที่นั่งทำกิจกรรมสำหรับเด็ก ที่หน้าตู้คอนเทรนเนอร์  สิ่งที่กลัวมากคือแผ่นเหล็กทับเท้าเด็กที่วิ่งไป-วิ่งมา ระหว่างบ้านพักของพ่อแม่เด็ก กับโรงเรียน  สุดท้ายสิ่งที่ก็เกิดกับเด็กน้อยจนได้

         เวลาประมาณ สี่โมงเย็นมีเสียงตระโกนเรียกครูกันลั่นบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง ว่าแผ่นเหล็กทับหัวนิ้วเท้าเด็กเล็บหลุดเลย ครูไพโรจน์  มาถึงก็วิ่งพาเด็กหนึ่งคนที่เจ็บ กับพี่น้องของเด็กอีก สามคน หอบหิ้วกันไปที่คลีนิค ทางคลีนิคก็ใจดีมากว่าขอทำแผลให้เด็ก แผลลักษณะนี้ต้องไปโรงพยาบาลให้เขาเย็บแผลอย่างเดียวค่ะ  ผู้ช่วยพยบาลที่คลินิกเป็นคนแนะนำสุดท้ายครูก็ล่าถอยกันมา 

         ครูไพโรจน์ก็ให้คนในบ้านพักกรรมกรก่อสร้างไปตามแม่เด็กมา  ซึ่งแม่เด็กไปทำงานในไซด์งานก่อสร้างที่อยู่ห่างไปประมาณสัก 1 กิโลเมตร  มีคนที่เดินผ่านมาแนะนำครูให้พาเด็กไปที่ศูนย์สาธารณสุข  ที่เปิดบริการตอนเย็นที่ บางนา พากันไปอีก  แต่คนที่ดูแลบอกทันที่ที่เห็นเด็กเป็นชาวกัมพูชาว่า  ที่นี้ไม่พร้อมให้พาเด็กไปที่โรงพยาบาล เป็นการให้คำแนะนำที่ดี(ปฏิเสธในการรักษา  มองให้แง่ดี ให้คำแนะนำอย่างสุภาพค่ะ)

         รอประมาณ 20 นาที่ เด็กก็เริ่มปวด ร้องไห้  รอจนแม่เด็กมาก็ชาวกัมพูชา ที่มาอย่างหน้าตาตื่นมาก   สุดท้ายก็พากันนั่งรถแท็กซี่ไปโรงพยาบาลสมุทรปราการ  ไปถึงใช้เวลานานมากกว่าจะให้บริการ  แล้วก็ตอบว่าทำไมคนไข้วันนี้มีมากมายเหลือ  กลุ่มแรงงานข้ามชาติทั้งหลายไปนั่งรอก่อน  เด็กก็ร้องว่าปวด ไปตั้งแต่เวลา 1 ทุ่ม กว่าจะได้เย็บแผล ทำแผลอีกครั้งเกือบ 3 ทุ่ม  และเรียกเงินค่ารักษาพยาบาลก่อน ด้วย(ค่าเย็บแผล ค่ายา รวมประมาณ 700 บาท  ทางครูต้องช่วยกันกับแม่เด็ก )

       เคยห่วงใยในเรื่องการบริการของระบบสาธารณสุข  และระบบการศึกษา ในเรื่องการดูแลเด็กลูกกรรมก่อสร้างหรือกลุ่มด้อยโอกาส  ที่ประเทศไทยจะเปิดอาเซียนในเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวกัน  ดูแลเด็กทุกคนที่มาอยู่ในเมืองไทยแบบเท่าเทียมกัน

         

สภาพแผ่นเหล็กที่วางไว้หน้าโรงเรียน  ซึ่งกลัวอย่างมากในแผ่นเหล็กนั้นจะทับเท้าเด็ก  ที่มาเรียนที่โรงเรียน  แล้วก็เกิดอุบัติเหตุได้จริง.....

หมายเลขบันทึก: 530890เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2013 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2013 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากเลยครับ

รออ่านอีกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท