หาจุดคานงัดให้เจอ : วาทกรรมชุมชนเข้มแข็ง


“หากหาจุดที่เหมาะสม หาจุดคานงัดที่ถูกจุด งานยกก้อนหินก็ไม่ใช่เรื่องยาก”
<p class="MsoNormal"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><span>         <strong> </strong></span><font color="#993300"><strong>ยกของหนักๆได้โดยไม่ยากเย็น</strong> ด้วยกลศาสตร์สอนให้ใช้คานงัดเป็นเครื่องมือ<span>  </span>ก้อนหินก้อนใหญ่ ต้องหาไม้ยาวๆ มาทำเป็นคานงัด สอดเข้าไปใต้ก้อนหิน<span>  </span>หาอะไรมารองใต้คานให้เป็นจุดคานงัด แล้ว<strong>ใช้แรงเพียงเบาๆ กดคาน ก้อนหินก็เคลื่อนไหว</strong></font></span><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><span>          </span>หรือกล่าวกันอีกแง่หนึ่งว่า<strong> </strong></span><strong style="background-color: #ffff00"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma">“<span>หากหาจุดที่เหมาะสม หาจุดคานงัดที่ถูกจุด งานยกก้อนหินก็ไม่ใช่เรื่องยาก</span>”</span></strong><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"></span></p>    <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><strong>อาร์คีมีนิส </strong>บอกว่า </span><strong style="background-color: #99ffff"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma">“<span>ถ้าหาที่วางจุดคานงัดให้เขาให้ได้ เขาจะงัดโลกให้ดู</span>”</span></strong></p><p class="MsoNormal"><strong><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"></span></strong><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><br><span></span><u><strong>จุดคานงัด กับการพัฒนาชุมชน</strong></u></span></p><p class="MsoNormal"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"> เอาหลักคิดทางกลศาสตร์ของอาคีมินิสมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาสังคม</span><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><span>          </span><span>ปัญหาใหม่ๆ(ก้อนหิน) ที่เข้ามายังชุมชน ด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ที่รุนแรงถาโถม หากชุมชนไม่รู้เท่าทัน ก็จะพ่ายแพ้ต่อปัญหาเหล่านั้น...ชุมชนอ่อนแอ ปัญหาบางปัญหาก็ยกได้โดยไม่ต้องใช้คานงัดให้ยุ่งยาก แต่บางปัญหาที่เป็นปัญหาใหญ่ จำเป็นต้องใช้คานงัด ที่ต้องคำนวณความยาวของคานที่เหมาะสม การร่วมแรงร่วมใจ การเข้าใจหลักการของคานงัด<span>  </span>และขนาดของแรงและตำแหน่งจุดคานงัดที่เหมาะสม ปัญหาก็จะถูกขับเคลื่อนเพื่อการแก้ไขที่ถูกจุด และที่สำคัญ </span>“<span>คานไม่หัก</span>”</span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><span></span><u><strong><span>งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น(</span>Community Based Research<span>)กับการหาจุดคานงัด</span></strong></u></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><span>          </span>งานวิจัยชาวบ้านเป็นการ <strong>เรียนรู้จากภายใน </strong>(</span><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma">Inside out<span>) หมายความว่าต้องเรียนรู้และคิดจากภายในของเรา <span> </span>เป้าหมายอันแรกคือ <strong>ต้องฟื้นการเรียนรู้จากภายใน</strong> เช่นในชุมชนต่างๆ ชาวบ้านรู้จักตนเอง <span> </span>ทางเหนือเรียก </span><strong>“<span>ฮู้คิง</span>”</strong><span style="background-color: #ffff99"> <span> </span><font color="#990000">ในขณะเดียวกันการมีองค์ความรู้ หรือการเรียนรู้ ที่เป็นอิสระไม่ได้หมายความว่า จะปิดกั้นตัวเองจากโลกภายนอก ในทางตรงกันข้ามยิ่งยุคสมัยโลกาภิวัตน์ไม่มีชุมชนหรือประเทศใดในโลกที่จะอยู่โดยเพียงลำพังได้ เราจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ มีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกเสมอทุกๆระดับ</font></span></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><span>          </span>ดังนั้นแรงที่ใช้งัดคาน ก็น่าจะเป็น <strong>องค์ความรู้</strong>(ภายใน ผสาน ภายนอก) ที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้นั่นเอง</span></p><blockquote><blockquote><p class="MsoNormal"><img src="http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/015/112/original_cbtnew.jpg?1285349157" border="0" align="middle"> </p></blockquote></blockquote>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><span></span><u><strong>จะสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างนี้ได้อย่างไร</strong></u></span><u><strong><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma">?</span></strong></u></p><p class="MsoNormal"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><span> คำตอบดูเหมือนต้องดูที่<strong> <span style="background-color: #ffff99">กระบวนการ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น</span> </strong></span><strong></strong></span></p>  <p class="MsoNormal"><font color="#0000cc"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><span>          </span>กระบวนการสำคัญ ครับ เพราะกระบวนการ ช่วยในการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติ...ให้คนในชุมชนได้มาร่วมคิด ตั้งคำถาม ทบทวนสภาพที่เป็นอยู่ วางแผน หาข้อมูล ทดลองทำ สรุปคำตอบ และ ถอดบทเรียน ทั้งนี้ต้องมีการ </span></font><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><font color="#0000cc"><strong>“<span>บันทึก</span>”</strong><span>และ </span><strong>“<span>การวิเคราะห์</span>”</strong></font><span><font color="#0000cc"><strong> </strong>เป็นส่วนสำคัญของงาน</font> </span></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><span></span><u><strong>มีคำถามว่า จะทำอย่างไรให้ชาวบ้านมี</strong><strong> </strong></u></span><u><strong><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma">“<span>ความรู้</span>”</span></strong><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><strong> </strong><span><strong>   </strong> </span></span></u><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><span>          </span><span style="background-color: #ccffff">แท้จริงแล้ว ชาวบ้านมีความรู้ชุดหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งใช้ในการดำรงชีวิตผ่านร้อนหนาวมาในอดีต เราเรียกว่า </span></span><span style="font-size: 12pt; font-family: Tahoma"><strong style="background-color: #ccffff">“<span>ภูมิปัญญา</span>”</strong><span><span style="background-color: #ccffff">  หากจะเชื่อมกับความรู้ใหม่  คำตอบหนึ่งคือ ชาวบ้านต้องมีโอกาสได้หาประสบการณ์กับเรื่องปัจจุบัน ได้ข้อมูลข่าสารที่มากพอ นำมาประกอบกับดุลยพินิจและความเข้าใจบริบทท้องถิ่น(ซึ่งมีอยู่แล้ว) จึงจะเกิดความรู้ชุดใหม่ได้...นั่นหมายถึง <span style="background-color: #ffff00">แรงที่ชุมชนจะใช้งัดคาน เพื่อแก้ไขปัญหา ขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน</span></span></span></span></p>  <p class="MsoNormal"><span style="font-family: Tahoma"><span>      <u><strong>  </strong></u></span><u><strong>เป้าหมายของงานวิจัยท้องถิ่นแม่ฮ่องสอน <span> </span>กับการสะสมแรงที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา</strong></u></span></p><p class="MsoNormal"><span style="font-family: Tahoma"> </span><span style="font-family: Tahoma"><strong>“<span>หาจุดคานงัด</span>”</strong><span><strong> </strong>โดยใช้ </span><strong>“<span>ความรู้</span>”</strong><span> และ </span><strong>“<span>ปัญญา</span>”</strong><span><strong> </strong>เป็นแรงที่ใช้งัดคาน</span></span></p>  <ul><li> <!--[if !supportLists]--><span style="font-family: Wingdings"><span><span style='font-family: "Times New Roman"; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: normal; font-size: 7pt; line-height: normal; font-size-adjust: none; font-stretch: normal'></span></span></span><strong><span style="font-family: Tahoma">สร้างคน </span></strong><strong><span style="font-family: Tahoma">:</span></strong><span style="font-family: Tahoma"> <span>ผู้ที่เกี่ยวข้องมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ ทั้งระดับปัจเจกและระดับเครือข่ายความร่วมมือ</span></span>

</li></ul><ul><li> ได้องค์ความรู้ ในการแก้ปัญหาท้องถิ่น และมีการถ่ายทอดสู่ส่วนต่างๆและนำไปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายทุกระดับ </li></ul><ul><li> ทำโดยชุมชน เพื่อชุมชน และมีการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง </li></ul><blockquote><blockquote><blockquote><p class="MsoNormal"> </p></blockquote></blockquote></blockquote> <p class="MsoNormal">          ซึ่งบทบาทของผม ที่เป็นที่ปรึกษา ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแม่ฮ่องสอน ภายใต้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย สำนักงานภาค ร่วมกันกับเครือข่ายนักวิจัยท้องถิ่นแม่ฮ่องสอน เราร่วมกันคิดหา กระบวนการ การพัฒนาชุมชน อย่างยั่งยืนโดยใช้ กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น  หาแรงงัดคาน หาจุดคานงัด ที่เหมาะสม ซึ่งเราต้องคิดและสร้างสรรค์ยุทธศาสตร์ และ ยุทธวิธีใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา  </p> <p class="MsoNormal">          เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สร้างสรรค์ปัญญา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น</p><blockquote><blockquote><p class="MsoNormal"> </p></blockquote></blockquote>



ความเห็น (13)

      พลังท้องถิ่น  เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่  ร้อยรัดชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน  หลายคนมักมองข้ามจุดนี้  การหาจุดคานงัดให้กับพลังท้องถิ่นอย่างที่พี่ชายจตุพรปฏิบัตินั้นเห็นด้วยอย่างยิ่ง  การทำความเข้าใจเรื่องพลังท้องถิ่นต้องมาจากชุมชนท้องถิ่นที่ที่มีศักยภาพเป็นทุนเดิมมีทรัพยากรที่พร้อม   การสร้างพลังให้ท้องถิ่นจากบทเรียนของพี่ชายเชื่อแน่ว่า  โครงการวิจัยพัฒนา หรือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นต้องประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน

     น้องชายผู้ร่วมขบวนการ

น้องสิทธิเดช 

การจะสร้า้งพลังชุมชนเพื่อให้มีแรงพอที่จะงัด ผ่านคาน คงต้องออกแบบกระบวนการที่เป็นกระบวนการเรียนรู้  สร้า้งบรรยากาศที่เือื้อต่อการสร้า้งสรรค์ปัญญา

สร้า้งจากการเข้าใจตนเองก่อน เป็นเบื้องต้นครับ เพื่อจะนำไปสู่การต่อยอดการพัฒนาอื่นๆในชุมชน

กระบวนการอาจจะไม่ตายตัว..ครับ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างในชุมชน และนักพัฒนาก็ควรต้องพัฒนาศักยภาพตนเองอยู่เสมอ

ให้กำลังใจน้องชายของผม เช่นเดียวกันครับ 

  • มีกำลังใจมากฝากค่ะ  ช่วยให้งัดคานให้สำเร็จ
  • ฝีมืออยู่แล้ว น้องชายคนดี

พี่ Bright Lily ครับ

ผมคงงัดคาน คนเดียวไม่น่าจะสำเร็จ

ต้องร่วมกันครับ คิดหากระบวนการที่เหมาะสม และอีกอย่างก้อนหินใหม่ๆ ที่เข้ามา ก็มาจากหลายทิศทาง ต้องรู้เท่าทันตลอดเวลา 

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับผม!!! 

พลังของชุมชน  เป็นทุนทางสังคม  เป็นขุมของความรู้และพลังทั้งมวล

A  little  knowledge  that  acts  is  worth  more  than  much  knowledge  that  is  idle.

ความรู้เพียงเล็กน้อยเพื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉยๆ 

เป็นกำลังใจให้นะค่ะ  ให้มีความสุขกับการทำงานชุมชนนะคะ

ขอบคุณคุณ กัลปังหา ครับ

กระบวนการภายใต้การก่อเกิดพลังชุมชน เป็นสิ่งสำคัญ เป็นงานที่ผมทำอยู่ และเครือข่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นแม่ฮ่องสอนทำอยู่ครับ

 A  little  knowledge  that  acts  is  worth  more  than  much  knowledge  that  is  idle.

ดังนั้นแล้ว "การจัดการความรู้" จึงสำคัญครับ

ขอบคุณครับกำลังใจดีๆ 

โบราณว่าถ้าเหลือกำลังลาก  ก็ออกปากบอกแขกช่วยแบกหาม ขอเป็นกำลังใจ(ทางไกล)ครับ

ขอบคุณพี่ไชยยงค์ คงตรีแก้ว

ทางไกลที่ส่งกำลังใจให้ผมเสมอ

งานชุมชน งานพัฒนา ปัญหาแตกต่างกันครับ บางชุมชนไม่ต้องออกแรงมาก ชุมชนก็เคลื่อนตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

ออกปากบอกแขกช่วยแบกหาม

"การมีส่วนร่วม"   เป็นทั้งวิธีการ(Mean) และ เป้าหมาย (End) ดังนั้นสำนึกของการเป็นเจ้าของ กระบวนการมีส่วนร่วมจึง เชื่อมใจคนได้ดี "ชุมชนของเรา"

ขอบคุณพี่ไชยยงค์ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเสมอครับ 

 

ไม่ได้มาเยือนบันทึกนานแล้ว เห็นหัวข้อน่าสนใจ

"จุดคานงัด" เป็นสำนวนที่มีพลังมากค่ะ หากหาจุดคานงัดถูกจุดและเสริมคานงัดไม่ให้หักกลางคันแล้ว จะเป็นแรงพลังที่เยี่ยมยอดมาก

มีโครงการหนึ่งที่ chah ได้ยินมาและมีเพื่อนได้ทำโครงการนี้ คือ โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนผู้เป็น "จุคคานงัด" เพื่อเป็นการฟื้นฟูพลังชุมชนและระบบนิเวศน์ท้องถิ่น ภายหลังได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สินามิ

เมื่อได้อ่านบทความของอาจารย์ก็นึกถึงโครงการนี้พอดีเลยค่ะ เป็นโครงการที่ให้เด็กได้ช่วยกันกันหาสิ่งดี ๆ ของชุมชนตัวเองโดยใช้การถ่ายนรูปและนำมาช่วยกันวิเคราะห์และร่วมกันมองเห็นคุณค่าของชุมชนและนำเสนอกับผู้ปกครองในชุมชนให้เห็นคุณค่าเพราะเด็กหรือเยาวชนเป็นส่วนสำคัญที่จะเป็นพลังและเป็นจุดคานงัดที่สำคัญที่จะหล่อหลอมมาพัฒนาบ้านของตัวเอง(รักบ้านเกิด)

 

น่าสนใจมากครับ คุณ Chah

หาจุดคานงัดหาให้เจอ งัดด้วยแรงที่เหมาะสม ปัญหาที่ว่าใหญ่ก็ไม่ยากที่จะแก้ไข ด้วยมือของชุมชนเอง

นำเรื่องดีๆของโครงการที่บอกกล่าวไว้

มาเล่าให้ฟังด้วยครับ 

ตอนนี้กำลังเรียนโทอยู่ค่ะอยากหาจุคานงัดในชุมชนเจอจังเลย  เพระต้องลงไปในชุมชนเพื่อศึกษาและดำเนินการช่วยเหลือคนในชุมชน  ทำเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก  อยากได้  Bestpractice  เรี่องนี้น่ะค่ะมีบ้างไหมคะ  หรือว่าจะแนะนำให้ไปศึกษาเพิ่มเติมก็ได้ค่ะ  ก็เลยเข้ามาศึกษาแล้วมาเจอของท่านอาจารย์น่ะค่ะ  ยังไงช่วยแนะนำหน่อยนะคะ  เพราะจะต้องเข้าไปชุมชนแล้วหา EVB  เข้าไปทำน่ะค่ะ

คุณ กาญจนา นิ่มสุนทร

  • ประเด็นชุมชนที่เป็นตัวอย่างในการมีส่วนร่วมเรื่องการป้องกันไข้เลือดออก สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ "เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน"  หรือเข้าไปที่ www.moph.go.th  เพื่อค้นหาข้อมูล หมู่บ้าน ชุมชน และ/หรือ อสม.ที่ดีเด่นทางด้านการป้องกันไข้เลือดออก ในแต่ละปี
  • หากได้ชุมชน แล้ว Thesis อาจเป็นเชิงถอดบทเรียนความสำเร็จก็ได้ ว่าชุมชนมี กระบวนการอย่างไร เงื่อนไขคืออะไร ปัจจัยแห่งความสำเร็จเพราะอะไร ถอดบทเรียนออกมาให้เห็นภาพของชุมชน
  • ผมคิดว่าปัจจัยความสำเร็จของแต่ละชุมชนแตกต่างกัน และน่าสนใจมากทีเดียวหากเราได้เรียนรู้ผ่านชุมชนที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้น
  • หากงานนี้เป็นงาน PAR อาจต้องใช้เวลานานครับ เพราะกว่าจะรู้ผล กว่าจะประเมินเผลอๆต้องข้ามปีเลยครับ
  • น่าจะเป็นการ ศึกษากระบวนการ ถอดบทเรียน หรือวิจัยเชิงประเมินผลมากกว่าครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท