ความพิการของการศึกษาไทย


          1. คุณภาพของการศึกษาระดับพื้นฐานโดยรวมต่ำลง
          2. ละเลยคุณค่าของการเรียนเชิงทักษะวิชาชีพ - อาชีวศึกษา
          3. มีแรงผลักดันให้ผู้จบ ม.6 ทุกคนเข้าเรียนอุดมศึกษา เกิดบัณฑิตคุณภาพต่ำ
          4. เกิดบัณฑิตศึกษาแบบสถาบันหวังเงิน   ผู้เรียนหวังกระดาษเป็นเป้าหมายหลัก
          5. วัฒนธรรม สวยงามที่เปลือกไร้แก่น ระบาด

วิจารณ์   พานิช
24 ก.ย. 49
วันมหิดล

หมายเลขบันทึก: 52958เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2006 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมก็มีข้อสังเกตตรงนี้เกิดขึ้นในใจมาหลายปีเหมือนกัน คิดด้วยแนวอิทัปปัจจยตาย้อนไปหลายชั้น ผมเห็นค่านิยมวัฒนธรรมสังคมไทยครอบงำอยู่อย่างหนักหน่วง และมูลค่าเศรษฐกิจการเมืองเชิงอาชีวะมันไม่กระจายอย่างเป็นธรรม ช่างฝีมือทุกสาขาถูกระบบตลาดเสรีกดราคาลงไปต่ำใกล้กับค่าแรงแรงงาน แรงจูงใจที่จะดำรงอาชีวะย่อมหดหายไป ไปกดดันผ่านการเมืองการศึกษาให้ขยายมหาวิทยาลัยรองรับเป้าหมายทดแทน สถาบันอาชีวะจึงหดลงไป นอกจากนั้นที่ยังหลงเหลือก็เก็บกด ชดเชยด้วยการยกพวกตีกันยิงกันตาย

ตรงนี้หากมองเชิงวิชาพฤติกรรมสังคม ผมอยากให้นำวิชาภาวะความเป็นผู้นำ บรรจุเข้าไปสอนเด็กวัยรุ่นเสียเลยแต่ช่วงอายุนี้-พวกเขากำลังเรียนรู้เรื่องการมีการเป็นเจ้าอาณาเขต(Domain)แบบลูกไก่รุ่นกระทงที่หัดตีกันแล้ว สอนดีๆเขาจะเลิกตีกันและได้บุคลากรของชาติที่มีภาวะผู้นำ-การพึ่งพาตนเองได้-และคือเศรษฐกิจพอเพียงในที่สุด

อีกแง่หนึ่งที่กลับกัน วัฒนธรรมเชิงพฤติกรรมของคนไทย มีลัษณะเป็นปัจเจกมนุษย์ตัวใครตัวมัน มากกว่าการมีนิสัยร่วมมือกันรักษาผลประโยชน์กลุ่ม หรือไม่มีนิสัยเชิงองค์การและการจัดการร่วมกันอย่างเป็นระบบและมีเป้าหมายร่วมกัน (คงจำไม่ผิด มาตรา๔๕ และมาตราอื่นที่คล้ายกันในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ที่บัญญัติเรื่ององค์การ ช่วยได้ หากแต่ผู้คนยังละเลยไม่สนใจ)

ชนชาติที่เข้มแข็งในปัจจุบันเช่นอเมริกา ญี่ปุ่น และที่ใกล้ตัวที่สุดคือสมาคมชาวจีนทุกรูปแบบในเมือง ในทุกอำเภอ(มีศาลเจ้า มีงิ้วและเชิดสิงโตเล่นกันเป็นเทศกาลทุกปี) มักมีความสามารถทางการจัดตั้งองค์การแบบโปร่งใส เป็นประชาธิปไตย ไม่เผด็จการ รับผิดชอบตรวจสอบได้ในองค์การรูปแบบและลักษณะต่างๆ นี่คือรูปธรรมของนามธรรมคำว่า"สามัคคี"แบบลอยๆกว้างๆมัวซัว ที่สังคมถนัดพูดกันบ่อยเหลือเกินนั่นเอง แต่จับต้องชี้วัดไม่ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท