สังเคราะห์งานวิจัย เรื่องที่ 3


นาย ศราวุธ  อยู่เกษม4814030625
ชื่อเรื่องงานวิจัย :ประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

The Effectiveness of  Health the application of the protection motivation theory to the health education program on hight blood pressure prevention among elderly people in det-udom municipality of ubonrathathani province.

ผู้วิจัย : นางสาวขนิญฐา ทองหยอดแหล่งที่พิมพ์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2543 ISBN 974-664-963-9 

 

หัวข้อ รายละเอียด
Research objectiveวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาล อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานีวัตถุประสงค์ย่อยเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ของผู้สูงอายุหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมสุขศึกษาในเรื่อง1.       การรับรู้ความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตสูง2.       การรับรู้โอกาสการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง3.       ความคาดหวังถึงผลของการมีพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง4.       การรับรู้ความสามารถของตนเองถึงการมีพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง5.       การมีพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในเรื่อง การควบคุมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การผ่อนคลายความเครียด การวัดความดันโลหิตสูงอย่างสม่ำเสมอ และการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีน
Research Designรูปแบบการวิจัย / ระดับของงานวิจัย  Quasi Experimental Research ( ระดับIII )
Sampleกลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุที่มีอายุเท่ากับหรือมากกว่า 60 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี สามารถอ่านออกเขียนได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ดี มีระดับความดันโลหิตต่ำกว่า 159/99 มิลลิเมตรปรอท ไม่มีโรคประจำตัวและไม่ได้รับยารักษาโรคอื่นเป็นประจำผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยคัดเลือกเกณฑ์ ระดับความดันโลหิตไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอทเป็นระดับความดันโลหิตปกติ และระดับความดันโลหิตระหว่าง 140/90 – 159/99 มิลลิเมตรปรอทเป็นระดับความดันโลหิตสูงเล็กน้อย สุ่มเลือกผู้สูงอายุตามเกณฑ์โดยการจับฉลากหมายเลขชื่อผู้สูงอายุ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ตามระดับความดันโลหิตปกติ จำนวนกลุ่มละ 24 คน และตามระดับความดันโลหิตสูงเล็กน้อย จำนวนกลุ่มละ 24 คน
Research Instrumentsเครื่องมือที่ใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ แบ่งเป็น 6 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ จำนวน 12 ข้อ ได้แก่ ชื่อ สกุล เพส ระดับความดันโลหิต ชีพจร น้ำหนัก ส่วนสูง ระดับการอ่านอกเขียนได้ อาชีพปัจจุบัน สถานภาพการสมรส สถานภาพการเงินภายในครอบครัว แหล่งรายได้ บทบาทสถานภาพของผู้สูงอายุภายในครอบครัว โดยการเติมคำในช่องว่างและเลือกตอบ ส่วนที่ 2  การับรู้ความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตสูง จำนวน 12 ข้อ โดยเนื้อหาครอบคลุมสาเหตุ อาการ ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสังคม สร้างขึ้นตามหลักการสร้างข้อคำถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย โดยผู้สูงอายุเลือกตอบเพียง 1 ตัวเลือก ในคำถามเชิงบวกและเชิงลบ เกณฑ์การให้คะแนนข้อความแสดงการรับรู้ในทางบวก การให้คะแนน เห็นด้วยให้ 3 คะแนน ไม่แน่ใจให้ 2 คะแนน ไม่เห็นด้วยให้ 1 คะแนน ข้อความการรับรู้ในการทางลบ การให้คะแนนเห็นด้วยให้ 1 คะแนน ไม่แน่ใจให้ 2 คะแนน ไม่เห็นด้วยให้ 3 คะแนน การประเมินผลแบ่งเป็น 3 ระดับ คะแนนเฉลี่ย 2.34-3.00 หมายถึงการรับรู้สูง คะแนนเฉลี่ย 1.67 – 2.33 หมายถึง การรับรู้ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.66 หมายถึง การรับรู้ต่ำ  ส่วนที่ 3 การรับรู้โอกาสการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง จำนวน 12 ข้อ โดยครอบคลุมเนื้อหาที่มีปัจจุยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุในเรื่องเกี่ยวกับ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายไม่ถูกต้อง การมีภาวะเครียด การตรวจวัดความดันโลหิตไม่สม่ำเสมอ การสูบบุหรี่ การดื่มสุราและการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีน การให้คะแนนและเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับส่วนที่ 2  ส่วนที่ 4 ความคาดหวังผลของการมีพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง จำนวน 13 ข้อ โดยครอบคลุมเนื้อหาที่ผู้สูงอายุคาดหวังถึงผลประโยชน์ของการมีพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง โดยมีประเด็นเกี่ยวกับ การรับประทานอาหารที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายสม่ำเสมอและถูกวิธี การมีกิจกรรมคลายเครียดและการมีวิธีคลายเครียดที่ถูกต้องเหมาะสมเมื่อเกิดภาวะเครียด การตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และการหลีกเลี่ยงปัจัยเสี่ยงเช่นการสูบบุหรี่ การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของตาเฟอีน เป็นคำถาม แบบมาตรส่วนประมาณค่า แบ่งเป็น 3 ระดับ คือเห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย โดยผู้สูงอายุเลือกตอบเพียง 1 ตัวเลือก  ในข้อคำถามต้องเป็นเชิงบวก เกณฑ์การให้คะแนน เห็นด้วย 3 คะแนน ไม่แน่ใจ 2 คะแนน ไม่เห็นด้วย 1 คะแนนเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับส่วนที่ 2   ส่วนที่ 5   การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีพฤติกรรมการป้องกันความดันโลหิตสูง จำนวน 13 ข้อ โดยครอบคลุมเนื้อหาที่ผู้สูงอายุจะสามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้ โดยมีประเด็นเกี่ยวกับ การรับประทานอาหารที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายสม่ำเสมอและถูกวิธี การมีกิจกรรมคลายเครียดและการมีวิธีคลายเครียดที่ถูกต้องเหมาะสมเมื่อเกิดภาวะเครียด การตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอและการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เป็นคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ทำได้(3 คะแนน) ทำได้บ้าง (2 คะแนน )ทำไม่ได้( 1 คะแนน) โดยผู้สูงอายุเลือกตอบ 1 ตัวเลือก เกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับส่วนที่ 2 ส่วนที่ 6 การมีพฤติกรรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ ประกอบด้วยพฤติกรรม การบริโภคอาหาร การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การผ่อนคลายความเครียด การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และการตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ การปฏิบัติสม่ำเสมอหรือถูกต้องให้ 2 คะแนน การปฏิบัติเพิ่มจากเดิมให้ 1 คะแนน ส่วนการไม่ปฏิบัติและปฏิบัติไม่ถูกต้องให้คะแนน ศูนย์ เกณฑ์ประเมินแบบอิงเกณฑ์ ระดับสูงมีคะแนนมากกว่าร้อยละ 80 ระดับปานกลาง มีคะแนนระหว่างร้อยละ 60-80 ระดับต่ำ มีคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 ลงมาเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง1.        โปรแกรมสุขศึกษา โดยจัดกิจกรรมสุขศึกษา 12 สัปดาห์ ในกลุ่มทดลองประกอบด้วย กิจกรรมเสริมสร้างการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อภาวะความดันโลหิตสูง กิจกรรมเสริมสร้างความคาดหวังผลที่จะเกิดขึ้น กิจกรรมกำหนดการดำเนินการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงจากภูมิปัญยาโดยกลุ่ม กิจกรรมการเสริมสร้างความคาดหวังผลที่จะเกิดขึ้น กิจกรรมกำหนดการดำเนินการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงจากภูมิปัญญาโดยกลุ่ม กิจกรรมการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง และการกระตุ้นเตือนโดยกลุ่ม2.       แผนการฝึกอบรม ผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุนการเรียนรู้กลุ่ม Facilitator เรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ โดยผู้เชี่ยวชาญ เป็นเวลา 1 วัน3.       ผู้ช่วยวิจัยประกอบด้วย ผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุนการเรียนรู้กลุ่มเรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ จำนวน 6 คน4.       สมุดคู่มือการปฏิบัติตัวพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ ที่ผู้วิจัยจัดสร้างขึ้น5.       สไลด์ ประกอบคำบรรยายเรื่องโรคความดันโลหิตสูง6.       เทปคาเซท คลายเครียดจากกรมสุขภาพจิต7.       เอกสาร ประกอบด้วยแผ่นพับ โปสเตอร์8.       อุปกรณ์ตรวจร่างกายเช่น สเตทโตสโคป เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนส่วน สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
Research setting เขตเทศบาล อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
Method / Contentระเบียบวิธีวิจัย 1.       โปรแกรมสุขศึกษา โดยการจัดกิจกรรมสุขศึกษา 12 สัปดาห์ ในกลุ่มทดลองประกอบด้วย กิจกรรมการเสริมสร้างการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาส การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อภาวะความดันโลหิตสูง กิจกรรมเสริมสร้างความคาดหวังผลที่จะเกิดขึ้น กิจกรรมกำหนดการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงจากภูมิปัญญาโดยกลุ่ม กิจกรรมการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง และการกระตุ้นเตือนโดยกลุ่ม สำหรับผู้สูงอายุ  48 คน ในกลุ่มทดลอง-          สัปดาห์ที่ 1 กำหนด 2 วัน มี 2 กิจกรรม กิจกรรมที่  1 การเสริมสร้างความรู้ การรับรู้ความรุนแรง  การรับรู้โอกาส การเกิดภาวะความดันโลหิตสูงโดยการบรรยาย การอภิปรายหมู่ ประชุมกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ กิจกรรมที่ 2  เสริมสร้างความคาดหวังถึงผลของการมีพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง และการส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง โดยการสาธิตและฝึกปฏิบัติ อภิปรายหมู่-          สัปดาห์ที่ 2 กำหนดครึ่งวัน ใน  กิจกรรมที่ 2  เสริมสร้างความคาดหวังถึงผลของการมีพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง และการส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ความคาดหวังใน โดยการอภิปรายกลุ่มในสัปดาห์ที่ผ่านมาคนละ 5 นาที ประเมินการปฏิบัติตัวจากสมุดคู่มือ กิจกรรมที่ 3 กำหนดการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงจากภูมิปัญญาโดยกลุ่ม-          สัปดาห์ที่ 3-6 และ 8-11 กำหนดประชุมทุกวันจันทร์ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมกระตุ้นเตือน-          สัปดาห์ที่ 7 กิจกรรมการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเองและประเมินผลการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง-          สัปดาห์ที่ 12 กิจกรรมการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง ซ้ำ2.       แผนการฝึกอบรมเรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ โดยผู้เชี่ยวชาญ เป็นเวลา 1 วัน3.       สมุดคู่มือการปฏิบัติตัวพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ
Data collectionการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลทั้งหมด 2 ครั้ง แบ่งเป็น ครั้งที่ 1 ก่อนใช้โปรแกรมสุขศึกษาหลังจากเซ็นเข้าร่วมวิจัยในสัปดาห์แรกโดยแบบสอบถาม  ครั้งที่ 2 เมื่อได้รับ intervention แล้วในสัปดาห์ที่ 12
Research findingsผลการวิจัย 1.       กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตสูง สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบพบว่ากลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.0012.       กลุ่มทดลองมีโอกาสรับรู้โอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูง มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.0013.       กลุ่มทดลองมีความคาดหวังผลของการมีพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.0014.       กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถของตนเองถึงการมีพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.0015.       กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.001
การสกัดเพื่อการนำไปใช้  จากผลการวิจัยครั้งนี้จึงควรนำสิ่งต่อไปนี้มาใช้ในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ 1.       โปรแกรมสุขศึกษา โดยการจัดกิจกรรมสุขศึกษา 12 สัปดาห์ จะต้องประกอบไปด้วย กิจกรรมการเสริมสร้างความรู้  การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อภาวะความดันโลหิตสูง กิจกรรมเสริมสร้างความคาดหวังผลที่จะเกิดขึ้น  กิจกรรมกำหนดการดำเนินการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงจากภูมิปัญญาโดยกลุ่ม กิจกรรมการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง และการกระตุ้นเตือนโดยกลุ่ม2.       ประยุกต์ทฤษฏีการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคของโรเจอร์ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูงอายุในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้อย่างมีประสิทธิผล3.       มีการจัดกิจกรรมกลุ่มเป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่องโดยมีผู้นำกลุ่มหรือรองผู้นำกลุ่มเป็นผู้กระตุ้นหรือดำเนินการประชุมกลุ่ม
Utilization criteriaการประเมินคุณภาพเพื่อนำไปใช้  
1. Clinical relevanceความสอดคล้องกับปัญหาทางคลินิก มีความสอดคล้องและตรงกับปัญหาที่กำหนดไว้ และโปรแกรมการให้ข้อมูลดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
2. Scientific meritการมีความหมายหรือมีคุณค่าในเชิงของศาสตร์ ในรายงานมีความชัดเจนในเรื่องวิธีการเก็บข้อมูล อธิบายเนื้อหาในโปรแกรมได้ชัดเจน ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพสามารถประเมินได้ตรงกับตัวแปรที่ต้องการศึกษาจริงๆ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผลการวิจัยใช้สถิติเหมาะสม
Implementation potentialแนวโน้มที่จะนำไปใช้ได้ในการปฏิบัติจริง  
1. Transferabilityการเทียบเคียงองค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง มีโอกาสที่จะนำโปรแกรมลงสู่การปฏิบัติได้
2. Feasibilityความเป็นไปได้ในการนำวิธีการไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง
3. Cost – benefit ratioความคุ้มทุน คุ้มประโยชน์เมื่อนำไปใช้ ประหยัดค่าใช้จ่ายและเหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง
 
หมายเลขบันทึก: 52397เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2006 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 00:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท