วิธีการดูแลตนเองไม่เครียดเพื่อประโยชน์ในการบำบัดฟื้นฟู


ผู้ป่วยเสพติดส่วนใหญ่ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูระยะแรก( 2 สัปดาห์) มักมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวกับรูปแบบการบำบัดฟื้นฟู  เพื่อนสมาชิกและสถานที่ ก่อให้เกิด ความเครียดซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยบอกเลิกการบำบัดรักษา   หรือเมื่อผู้ป่วยเผชิญปัญหาหาแล้วหาทางออกไม่ได้ก็เกิดความเครียด เช่นกัน   ผู้บำบัดจึงควรให้คำแนะนำผู้ป่วยให้ดูแลตนเองไม่เครียดเพื่อสามารถปรับตัวและอยู่รับการบำบัดฟื้นฟูตามแผนการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ    ซึ่งแพทย์หญิง ภิรมย์  สุคนธาภิรมณ์ ได้ให้คำแนะนำ ห้าวิธีที่ดูแลตนเองไม่เครียด ดังนี้          1. เชื่อมั่น: สร้างความมั่นใจให้ตนเอง    โดยให้สร้างความมั่นใจว่าไม่มีปัญหาใดที่แก้ไขไม่ได้  ทุกปัญหามีทางแก้ไขได้ในระดับหนึ่งเสมอ  ทุกคนมีปัญหาของตนไม่มีปัญหาใดไม่มีทางออก  ซึ่งเงื่อนไขเวลาก็เป็นทางออกอย่างหนึ่ง                    2.  สติ: มีสติเตรียมตัวก่อนจะทำกิจกรรมใดๆ   โดยตั้งสติ  วิเคราะห์  เข้าใจปัจจัยต่างๆ ที่นำไปสู่อุปสรรคและมองหาทางเลือกที่ดีกว่า                   3. หวังตามความเป็นจริง : ไม่คาดหวังว่าผู้นั้น หรือสิ่งนั้นสิ่งนี้ ต้องสมบูรณ์หรือเป็นเลิศอย่างนั้นอย่างนี้  หากสิ่งที่เกิดขึ้นหรือได้รับไม่สมดังที่หวังไว้  ก็ปล่อยไปบ้าง  หาทางปรับปรุงตามเหตุผล  ไม่ต้องโกรธหรือเสียใจได้เท่าใดก็รับได้  ใช้ปัญญาดีกว่าใช้อารมณ์                4.  พฤติกรรมผู้อื่น : เป็นอย่างนั้นแหละ    ท่าที คำพูด  สีหน้าและอารมณ์ของผู้อื่นเกิดจากปัญหาของเขาเองตามประสบการณ์ในวัยเด็ก หรือวิถีชีวิตในอดีต  ธรรมเนียมวัฒนธรรมของครอบครัวและเพื่อนๆเขา  เห็นใจและเมตตาเขาบ้าง เมื่อเขาแสดงต่อเราไม่ดี ก็มักแสดงพฤติกรรมไม่ดีต่อผู้อื่นด้วย  ไม่ต้องไปรับเอามาโกรธหรือเสียใจให้เปลืองอารมณ์และทำร้ายตัวเราเอง                5. ลดอารมณ์ทางลบเพิ่มอารมณ์ทางบวก    ความวิตกกังวล ความกลัว  ความโกรธ ทำให้เครียด หมั่นทำความเข้าใจกับตนเองว่า ความรู้สึกเหล่านั้นเกิดด้วยเหตุใด ถ้าไม่เข้าใจก็หาที่ปรึกษา เช่น เพื่อน  ผู้ปกครอง ฯลฯ  และทบทวนทำความเข้าใจกับ 4 ข้อ ข้างต้นให้แจ่มชัด พร้อมกับหาความสุข ความผ่อนคลายให้ตนเองในทุกๆ 24 ชั่วโมง ของตนได้พบแล้วปฏิบัติเป็นนิสัย เช่น ร้องเพลงคนเดียว  หรือกับเพื่อนๆ  ออกกำลังกายวิธีที่ถนัด  หาข้อขำขันหัวเราะกับผู้อื่น                นอกจากจะดูแลให้คำแนะนำกับผู้ป่วยแล้ว ผู้บำบัดก็ควรดูแลตนเองไม่ให้เครียด       เกิดความสุขในการทำงาน  มีรอยยิ้มทั้งผู้ให้การบำบัดและผู้รับการบำบัด ทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการบำบัดฟื้นฟูมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 52391เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2006 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท