สังเคราะห์งานวิจัย เรื่องที่ 2


นาย ศราวุธ  อยู่เกษม4814030625

ชื่อเรื่องงานวิจัย :การประยุกต์ทฤษฏีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

The Application of Self-Efficacy theory and social support to prevent hypertension among elderly in Manorom district of Chainat province

ผู้วิจัย : อารีรัตน์ ตโนภาสแหล่งที่พิมพ์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2539  

 

หัวข้อ รายละเอียด
Research objectiveวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดโปรแกรมสุขศึกษา ในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ จังหวัดชัยนาทวัตถุประสงค์ย่อย1.       เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุในด้านต่อไปนี้·       ความคาดหวังความสามารถของตนเอง ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง·       ความคาดหวังผลในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง·       การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง2.       ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงกับตัวแปรต่อไปนี้·       ความคาดหวังความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง·       ความคาดหวังผลในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง        3.  สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับความดันโลหิตลดลง และกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน มีน้ำหนักตัวลดลง
Research Designรูปแบบการวิจัย / ระดับของงานวิจัย  Quasi Experimental Research ( ระดับIII )
Sampleกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60-75 ปี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชัยนาท และไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรงที่จะเป็นอุปสรรคต่อการร่วมกิจกรรมการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบด้วยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน multi-Stage Sampling  กลุ่มละ 40 คน ที่มีระดับความดันก้ำกึ่งหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
Research Instrumentsเครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 6 ชุด คือ1.        แบบสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ส่วนที่ 1 แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป มีจำนวน 11 ข้อ  ส่วนที่ 2 แบบสัมภาษณ์เพื่อค้นหาบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว จำนวน 2 ข้อ ส่วนที่ 3  แบบสัมภาษณ์ความคาดหวังในผลของการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 14  ข้อ ส่วนที่ 4 แบบความคาดหวังในผลของการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 12  ข้อ ซึ่งข้อความแต่ละข้อของส่วนที่ 3 และ 4 มีคำตอบให้เลือก 5 ตัวเลือกคือ เห็นด้วย (3 คะแนน)ไม่แน่ใจ (2 คะแนน)ไม่เห็นด้วย(1 คะแนน)  ส่วนที่ 5  แบบสัมภาษณ์การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 21 ข้อมีคะแนนระหว่าง 0-59 คะแนน2.       แบบบันทึกการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ3.       สมุดบันทึกการติดตามให้การสนับสนุน และคำแนะนำแก่ผู้สูงอายุในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โดยญาติผู้ใกล้ชิด4.       สมุดบันทึกความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ(ประจำตัวผู้สูงอายุ)5.       แบบบันทึกการตรวจร่างกายของผู้สูงอายุ6.       สมุดบันทึกการวัดความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ โดย อสมเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง1.       แผนการสอนสุขศึกษา เรื่องการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง2.       แผ่นพับเรื่องการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง3.       คู่มือการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ4.       จดหมายกระตุ้นเตือนผู้สูงอายุพร้อมกับการนัดหมายเข้าร่วมกิจกรรม
Research setting อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
Method / Contentระเบียบวิธีวิจัย โปรแกรมสุขศึกษาที่ประยุกต์ทฤษฏีความสามารถของตนเอง รวมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคความดันโลหหิตสูง โดยการสร้างความคาดหวังความสามารถของตนเอง และความคาดหวังในการปฏิบัติตัวที่ถุกต้อง ดังนี้1.       ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน วัดชีพจรและสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ2.       โปรแกรมสุขศึกษาครั้งที่  1 ฟังพระเทศน์เกี่ยวกับการดูแลตนเองในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การรับประทานอาหาร การรู้จักการออกกำลังกายให้พอเหมาะ และรู้จักคลายเครียดโดยการนั่งสมาธิ หรือมาทำบุญไหว้พระที่วัด ประชุมกลุ่มย่อย เรื่องทำอย่างไร ผู้สูงอายุจึงจะปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้3.       โปรแกรมสุขศึกษาครั้งที่ 2 แนะนำการควบคุมน้ำหนัก และสาธิตโภชนาการให้ผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมาเล่าประสงการณ์ และผุ้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนมาเล่าประสบการณ์ให้ฟัง4.       โปรแกรมสุขศึกษาครั้งที่ 3 สาธิตการออกกำลังกายและสาธิตการคลายเครียด ฝึกการนั่งสมาธิ คัดเลือกหัวหน้ากลุ่มเป็นผู้นำทีมการออกกำลังกาย วัน เว้น วัน5.       ใน 4 สัปดาห์ หลังจากจัดโปรแกรมสุขศึกษาครั้งที่ 3  นัดผู้สูงอายุมาพบเพื่อประเมินผลโดยการชั่งน้ำหนัก ลัวัดความดัน สัมภาษณ์
Data collectionการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลทั้งหมด 2 ครั้ง แบ่งเป็น ครั้งที่ 1 ก่อนใช้โปรแกรมสุขศึกษาหลังจากเซ็นเข้าร่วมวิจัยในสัปดาห์แรกโดยแบบสอบถาม  ครั้งที่ 2 เมื่อได้รับ intervention แล้วในสัปดาห์ที่ 10
Research findingsผลการวิจัย 1.       ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังความสามารถตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.0012.       ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังผลของการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.0013.       ความคาดหวังความสามารถตนเองในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก ในระดับพอใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001
การสกัดเพื่อการนำไปใช้  จากผลการวิจัยครั้งนี้โปรแกรมสุขศึกษาผู้สูงอายุโดยการเพิ่มความคาดหวังในความสามารถของตน-          จัดประชุมกลุ่มย่อย เรื่องทำอย่างไรผู้สูงอายุจึงจะปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ และการได้เห็นตัวแบบโดยเชิญผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรงมาพูดถึงการปฏิบัติตัวและพูดจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายฟัง พร้อมสาธิตการออกกำลังกายให้กลุ่มดูเป็นตัวอย่าง ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุเกิดความหวัง ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงขึ้น-          การจัดกิจกรรมสุขศึกษาโดยการผสมผสานหลายๆวิธีเข้าด้วยกันเช่น การประชุมกลุ่มย่อย การสาธิต และการฝึกปฏิบัติการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมจากญาติ อสม และจากเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดียิ่งขึ้น-          การสาธิตและการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการนวดคลายเครียด ควรเป็นกลุ่มที่ไม่ใหญ่จนเกินไป กลุ่มละ 5 คน จะได้ผลดีกว่ากลุ่มใหญ่และมีวิทยากรประจำกลุ่ม-          การนำตัวอย่างของจริงมาให้ดูเช่น ตัวอย่างน้ำมันพืชและตัวอย่างผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและเกิดภาวะแทรกซ้อนมาให้กลุ่มตัวอย่างดูทำให้มองภาพชัดเจน และกระตุ้นความสนใจของผู้สูงอายุเป็นอย่างดี-          การจูงใจโดยมีของรางวัลเล็กๆน้อยๆ สำหรับผู้ที่สามารถจะลดน้ำหนักหรือความดันลงได้ ก็จะทำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดียิ่งขึ้น
Utilization criteriaการประเมินคุณภาพเพื่อนำไปใช้  
1. Clinical relevanceความสอดคล้องกับปัญหาทางคลินิก มีความสอดคล้องและตรงกับปัญหาที่กำหนดไว้ และโปรแกรมการให้ข้อมูลดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
2. Scientific meritการมีความหมายหรือมีคุณค่าในเชิงของศาสตร์ ในรายงานมีความชัดเจนในเรื่องวิธีการเก็บข้อมูล อธิบายเนื้อหาในโปรแกรมได้ชัดเจน ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพสามารถประเมินได้ตรงกับตัวแปรที่ต้องการศึกษาจริงๆ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผลการวิจัยใช้สถิติเหมาะสม
Implementation potentialแนวโน้มที่จะนำไปใช้ได้ในการปฏิบัติจริง  
1. Transferabilityการเทียบเคียงองค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง มีโอกาสที่จะนำโปรแกรมลงสู่การปฏิบัติได้
2. Feasibilityความเป็นไปได้ในการนำวิธีการไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง
3. Cost – benefit ratioความคุ้มทุน คุ้มประโยชน์เมื่อนำไปใช้ ประหยัดค่าใช้จ่ายและเหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง
 
หมายเลขบันทึก: 52395เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2006 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท