กระบวนการสอนคิดและวิเคราะห์


      เมื่อสัปดาห์ก่อนผมมีโอกาสต้อนรับผู้บริหารและคณะครูจากโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน มาศึกษาดูงานที่โรงเรียนบ้านหนองผือ และให้ผมบรรยายเกี่ยวกับกระบวนการสอนคิดและวิเคราะห์ให้นักเรียนระดับประถมศึกษา ผมเองไม่มั่นใจว่าจะพูดคุยอย่างไรให้คณะครูที่นั่งฟังอยู่รู้เรื่อง(คือผมไม่เก่งบรรยาย) จึงต้องออกตัวว่า เราแลกเปลี่ยนกันดีกว่า อย่าคิดว่าเป็นการบรรยายถ่ายทอดอะไรเลย

      ก่อนแลกเปลี่ยนความรู้กัน ถามคณะว่าทราบได้อย่างไรว่าผมดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ เขาบอกว่าทราบจากศึกษานิเทศก์ที่มานิเทศบ้านหนองผือ พบเห็นบางกิจกรรมที่ทำแล้วเข้าท่า ผมเกริ่นนำว่า ไม่ได้สอนเต็มตัว แต่จะเข้าสอนเวลาครูติดธุระ มีประชุมสัมมนา หรือในช่วงเวลาพิเศษ รวมทั้งตอนพักเที่ยง ก่อนเข้าห้องเรียนตอนบ่ายจะมีการนั่งสมาธิ ประชุมอบรมกันนิดหน่อย ผมก็จะใช้เวลานี้สอดแทรกกระบวนการคิดเข้าไป

      เวลาเขตมีการจัดประกวดอะไร ถ้าเกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ก็จะให้นักเรียนส่งไป อย่างล่าสุดส่งประกวด"หนังสือทำมือ" ที่โรงเรียนจะส่งทุกระดับชั้น เด็กจะเขียนเรื่องเอง วาดรูปเอง สนุุกสนานกันไป  แนะนำครูถึงวิธีการที่จะได้มาซึ่งวิธีสอนคิดให้นักเรียน ครูจะต้องอ่านหนังสือเยอะๆ โดยเฉพาะวารสารทางการศึกษา รวมไปถึงหนังสือบันเทิงคดีด้วย(หนังสือเด็ก) จะทำให้ครูเกิดประกายแนวคิดที่หลากหลาย แล้วนำไปประยุกต์กับผู้เรียน

      ผมยกตัวอย่างที่เคยใช้กับนักเรียน..เช่น นำร่มมาให้นักเรียนดู  แล้วให้นักเรียนบอกความแตกต่างไปตามหัวข้อ ช่วยกันค้นคิดว่าร่มที่ครูนำมาให้ดู มีลักษณะอย่างไร.....แล้วร่มคันนี้ผู้ใช้น่าจะเป็นใคร ผู้หญิงหรือผู้ชาย...ประเภทของร่มก็บอกได้ว่าเป็นร่มกันแดดหรือกันฝน...แล้ววัสดุที่ใช้ทำร่มคันนี้ล่ะประกอบด้วยอะไรบ้าง ให้บอกมาให้หมด....

      ผมชอบใช้คำในภาษาไทย ให้เด็กคิดสร้างคำ โดยเฉพาะคำคล้องจอง เริ่มตั้งแต่คล้องจอง ๒ พยางค์ เช่น จดจำ คำพูด บูดเน่า เก่าแล้ว แนวรับ...หรือบางทีใช้บทร้อยกรองทั้งกลอน ๔ กลอน ๘ สั้นๆสัก ๒ - ๓ บท แล้วถามนักเรียนระดับชั้น ป.๔-๖ เกี่ยวกับความรู้สึก/เพราะเหตุใด/ให้เหตุผล...ในบทร้อยกรองเราสามารถถามเหตุการณ์ ที่ไหนอย่างไร...สุดท้ายก็ถามประสบการณ์ที่นักเรียนเคยพบเคนเห็นจากบทร้อยกรองนั้นๆ

       พูดถึงตรงนี้ ผมเลยยกตัวอย่างให้เห็นเกี่ยวกับนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองผือ ที่มักจะเขียนเรื่องจากประสบการณ์และเรื่องจากจินตนาการบ่อยมาก ไปเรียนรู้ตามแหล่งเรียนรู้ ไปนอกสถานที่ กลับมาต้องเขียนเรื่อง/วาดรูป หรือทำหนังสือเล่มเล็ก จะช่วยให้เด็กเกิดความคิดใหม่ๆอยู่เสมอ

      การให้นักเรียนดูภาพก็ช่วยได้ ในภาพมีอะไรเหมือนกัน มีอะไรต่างกัน ฝึกการสังเกต ระดับปฐมวัย ปัจจุบันจะให้เด็กเล่าเรื่องจากภาพ โดยไม่ต้องเขียน คิดอะไรได้ พูดออกมาเลย ไม่มีผิด เด็กก็จะคิดเทียบเคียงจากประสบการณ์เดิม บวกประสบการณ์ใหม่(ในภาพ) เด็กจะเกิดการวิเคราะห์อยู่ตลอด บางครั้งก็ให้ดูคำอ่านคำ อันนี้ทำกับป.๑-๒ ได้ เช่น เป็ด-ไก่   บ้าน - โรงเรียน  โต๊ะ - เก้าอี้  ดินสอ - ชอล์ค ฯลฯ   ว่ามีอะไรที่เหมือนกัน มีอะไรที่แตกต่างกัน

      ระหว่างที่ผมพูด ก็มีการซักถาม แสดงความคิดเห็นกันตลอด ท้ายสุด ผมยกตัวอย่างจากหนังสือเด็ก ๒ เรื่อง เล่าเรื่องให้คณะครูฟัง ซึ่งในแต่ละเรื่อง สามารถตั้งคำถามให้เด็กคิดได้ตลอด และเด็กเองเมื่ออ่านแล้ว ก็สามารถวิเคราะห์ตั้งคำถามถามครูและเพื่อนก็ได้  เหตุการณ์ในเรื่องที่อ่าน บางทีก็สร้างความฉงน ให้เด็ก เอ๊ะ..ได้เสมอครับ

      นี่ล่ะครับ ประโยชน์ของหนังสือ ประโยชน์ของการอ่าน ที่ช่วยนำไปสู่การสอนคิดและวิเคราะห์ให้ครูทุกคน ซึ่งรวมทั้งตัวผมด้วย ที่เป็นทุกตำแหน่งเลย..ตอนนี้ขอตัวไปเก็บกวาดใบไม้หลังอาคารก่อนครับ..พายุฤดูร้อนกวาดเข้ามาเต็มเลย


      








หมายเลขบันทึก: 523314เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2013 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เล็กแต่โรงเรียน กิจกรรมไม่เล็กเลยค่ะชื่นชม ๆ

ขอบคุณครับ น้องชลัญ

ขอบคุณครับ พี่ใหญ่

ผมไม่ค่อยได้เข้ามา เพราะมีปัญหาเรื่องเน็ต ครับ

..... ตามมาให้กำลังใจ....และชื่นชมผบงาน ท่าน ผอ.ชยันต์ ...... สบายดีนะคะ

ขอบคุณครับ พี่หมอเปิ้ล 

ผมสบายดีครับ งานเยอะ แต่ก็มีความสุขดี

สวัสดีครับ พี่หมอเปิ้ล

ผมสบายดีครับ

ชอบรูปแบบการสอนนี้มากเลยค่ะ เด็กๆน่าจะมีความสุขกับการเรียนรู้ที่ได้ใช้ความคิด ได้สนุก ได้ปลดปล่อยตัวเอง ขอสนับสนุนว่าแบบนี้ที่เมืองนอกอย่างเพิร์ธ เขาก็ใช้นะคะ ได้เด็กที่คิดเป็น หาความรู้เป็น และมีความสุขค่ะ

โอ้โห  อ่านแล้วชื่นใจจัง

เป็นการสอนที่มีความสุขมากๆ

ได้ทำหนังสือทำมือด้วย

เยี่ยมจริงๆค่ะอาจารย์


โรงเรียนอะไรมาเยี่ยมครับ ผอ.คุ้นๆครับ

โรงเรียนบ้านหนองขอนเทพพนม ครับ  อยู่ที่ อ.หนองปรือ

            หนูคิดว่า การสอนให้นักเรียนคิด และวิเคราะห์  ต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้จินตนาการส่วนตัวก่อนค่ะ ผิดถูกไม่ว่ากัน    จะด้วยการใช้วิธีพูด และบอกเหตุผลประกอบ   หรือจะใช้การเขียนด้วยการโยงเส้นความสัมพันธ์ หรือเหตุผล  เอาแบบกิ่งไม้  หรือก้างปลา  ก็น่าจะช่วยให้เราสามารถผึกการคิดวิเคราะห์  เชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ ให้เข้าหากันได้....ค่ะ  

            ช่วยให้เราสามารถคิด และวิเคราะห์ได้  ส่วนจะถูกต้องหรือไม่ สำหรับเด็ก ยังไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องนั้นค่ะ  แค่เพียงให้คิดโยงเส้น และบอกเหตุผล ที่สามารถรับฟังได้ ก็โอเคแล้ว...ค่ะ   ผิดถูก ลึกซึ้งเชิงวิชาการเก็บใส่กล่องไว้ก่อน...ค่ะ

            แต่ถ้าหากครู เอาแต่ทุกเรื่องต้องถูกต้อง และจะพยายามชี้แจงเหตุผล  หนูคิดว่า เด็กคงฟังไม่รู้เรื่องหรอก...ค่ะ  เพราะมันน่าจะยากเกินกว่าระดับสมองที่จะรับรู้ และเข้าใจได้

            หนูโชคดีอย่าง ที่มีครูคอย ถาม และปรับเปลี่ยนความคิด ด้วยการให้หนูไปหาคำตอบ เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดของหนูเอง  เรียนรู้ผิด หรือถูกด้วยตัวเอง  มากกว่าที่ครูจะมาคอยสอน คอยบอกว่า อย่างนั้นต้องเป็นนี้  อย่างนี้ต้องเป็นอย่างนั้น  ฯลฯ   สมองเด็ก และความกระตือรือร้น  ความภาคภูมิใจ มันไม่เกิด  ทักษะการค้นคว้า มันก็ไม่ได้พัฒนา่ขึ้นหรอก...ค่ะ    

            คำถามที่ครูมักจะถามหนูอยู่เสมอ คือ "ทำไมเธอจึงคิดแบบนั้น ไหนบอกเหตุผลครูมาสิ"    และก็มักจะลงท้ายด้วยประโยคที่ว่า  "ความคิดเธอเข้าท่าดี  ไปเอามาจากไหน .....  อืมส์  อย่างนั้นเธอลองไปหาเรื่อง ......... เพิ่มเติมมาหใ้หน่อยสิ  ครูอยากรู้  สรุปได้ความอย่างไร เอามาเล่าให้ครูฟังหน่อยนะ"

            น่าภูมิใจที่ครูมีแต่ชื่นชม  ไม่เคยด่าว่า หรือตำหนิหนู  ไม่เคยเอาความรู้ส่วนตัว ครูมาแก้ความคิด  ยัดเยียดความเห็นส่วนตัวของครู  (แม้ว่าตอนนั้นความคิดเห็ตของเราจะผิด...ก็ตาม)   แต่ครูจะให้เราไปหา่เนื้อหา บางเรื่องมาซึ่งเนื้อหานั้น บางทีก็จะขัดแย้งกับความคิดของเรา  และท้ายสุดเราก็จะค้นพบข้อเท็จจริงด้วยตัวเราเอง...ค่ะ"

           แค่นี้ สมองก็พัฒนา  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการยอมรับในเหตุผล ก็เกิดขึ้นในตัวของเรา...แ้ล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท