"เครื่องบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์ (๒)" ... (ธรรมะสู่อิสรภาพ : ดร.สนอง วรอุไร)


หากอยากรู้ว่า ตัวเองมีอีคิวสูงหรือต่ำ สามารถวิเคราะห์เบื้องต้นได้จากเครื่องบ่งชี้ ๔ ประการ ได้แก่

๑. พฤติกรรม

๒. บุคลิกภาพ

๓. สุขภาพ

๔. วิถีการดำเนินชีวิต



ในบันทึกนี้เราจะพูดถึงเครื่องบ่งชี้ที่ ๑ คือ พฤติกรรม



๑) วัดความฉลาดทางอารมณ์ด้วยพฤติกรรม


การสังเกตพฤติกรรมสามารถดูได้ ๓ ทาง คือ ทางการคิด การพูด และ การกระทำ ดังนี้


พฤติกรรมในด้านความคิด

หากคิดในสิ่งที่มีสาระ
คิดสร้างสรรค์
คิดจะให้
คิดแก้ปัญหา
คิดช่วยเหลือ
คิดไม่เบียดเบียน

นี่คือการคิดอย่างผู้ที่มี อีคิวสูง ...

แต่ถ้าคิดในทางตรงกันข้าม เช่น
คิดฟุ้งซ่าน
คิดเพ้อเจ้อ
คิดแต่สิ่งที่ไร้สาระ
คิดเบียดเบียน
คิดเอาแต่ได้
คิดสร้างปัญหา

แบบนี้ อีคิวต่ำ

ฉะนั้น ต้องถามใจตัวเองว่าทุกขณะที่คิด ใจของเราคิดอะไร


พฤติกรรมในด้านการพูด

หากพูดความจริง
พูดมีสาระ
พูดมีประโยชน์
พูดสร้างกำลังใจ
พูดแล้วทำให้ผู้ฟังเกิดแรงจูงใจ
พูดดี ไม่นินทา ไม่ให้ร้าย
พูดแล้วเกิดความปรองดอง เกิดความร่วมมือ

การพูดเช่นนี้ย่อมเป็นการพูดแบบคนที่มี อีคิวสูง ...

ในทางตรงกันข้าม
หากวันนี้พูดอย่าง พรุ่งนี้พูดอีกอย่าง
พูดกลับไปกลับมา
พูดเพ้อเจ้อ
พูดไม่จริง
พูดไร้สาระ
พูดง่ายฟังยาก
พูดแล้วทำให้เกิดความลังเลสงสัย เกิดความท้อแท้ขาดกำลังใจ
พูดแล้วแตกความสามัคคี หรือ
พูดถึงคนอื่นในทางที่ไม่ดีลับหลัง

การพูดเช่นนี้ย่อมแสดงว่าผู้พูดเป็นผู้ที่มี อีคิวต่ำ


พฤติกรรมในด้านการกระทำ

หากทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ทำแต่สิ่งที่ไม่เบียดเบียน
ทำเพื่อผู้อื่น
ทำเพื่อสังคม
ทำเพื่อส่วนรวม

การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นการกระทำของคนที่มี อีคิวสูง

ลองถามตัวเองดูซิว่า ชีวิตของเราที่เวียนผ่านมาจนถึงเดี๋ยวนี้
เรากำลังทำอะไรอยู่และมีเป้าหมาย มีอุดมการณ์ของชีวิตเป็นอย่างไร
ถ้ามีอุดมการณ์ มีเป้าหมายในการทำสิ่งที่ดี ที่เป็นประโยชน์ มีสาระ และสร้างสรรค์
ทำให้สังคมสงบเย็น หรือทำให้จิตวิญญาณของตนงอกงาม

นั่นคือการกระทำของคนที่มี อีคิวสูง

ตรงกันข้าม
หากทำแต่สิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
ทำแต่สิ่งที่เบียดเบียน ทำร้ายทำลายสังคม
หรือทำให้คนอื่นเดือดร้อน เช่น
คอร์รัปชัน ข่มขู่ ฉ้อฉล คดโกง ฯลฯ

นั่นแสดงถึงการมี อีคิวต่ำ


มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องร่วมอยู่ ร่วมอาศัยกับผู้อื่น
และต้องมีความสัมพันธ์ทางพฤติกรรมร่วมกัน

หากเป็นความสัมพันธ์ที่ดี สังคมย่อมสงบและมีความเป็นปกติสุข
ตรงกันข้าม หากเป็นความสัมพันธ์ที่ขัดแย้ง สับสนวุ่นวายแล้ว
ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นในสังคม

ด้วยเหตุนี้ ผู้รู้จึงชี้ทางให้มนุษย์ในสังคมว่า ...

สังคมใดปรารถนาการอยู่ร่วมอาศัยที่สงบและมีความสุข
บุคคลในสังคมนั้นต้องประพฤติตนให้ศีลธรรมคุมใจ




...................................................................................................................................................................


เบญจศีล (ศีล ๕)

๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น
๓. เว้นจากการละเมิดทางกาม
๔. เ้ว้นจากการพูดเท็จ
๕. เว้นจากการดื่มสุราเมรัย


เบญจธรรม (ธรรม ๕)

๑. มีเมตตากรุณา
๒. มีสัมมาอาชีวะ ประกอบอาชีพที่สุจริต
๓. มีกามสังวร
๔. มีสัจจะ
๕. มีสติสัมปชัญญะ


สังคมใดประกอบด้วยสมาชิกในสังคมที่เป็นผู้มีศีลมีธรรมคุ้มครองใจได้แล้ว
สังคมนั้นย่อมมีความสงบสุข น่าอยู่น่าอาศัย


...................................................................................................................................................................


เพียงแค่ถามตัวเองว่า ความคิด การพูด และการกระทำของเรา
จัดอยู่ในส่วนของคนอีคิวสูง หรือ อีคิวต่ำ

หากอีคิวสูงอยู่แล้ว ท่านปฏิบัติดี
หากอีคิวต่ำ ท่านควรเร่งปรับปรุงตนเอง


โปรดติดตามบันทึกในส่วนต่อไป

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...


..................................................................................................................................................................

ขอบคุณหนังสือธรรมะดี ๆ

สนอง วรอุไร.  ธรรมะสู่อิสรภาพ.  กรุงเทพฯ : อมรินทร์ธรรมะ, ๒๕๕๖.


หมายเลขบันทึก: 521180เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2013 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2013 03:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สาธุ  ....  สูงบ้าง  ต่ำเป็นบางที  ปรับปรุงต่อไป

ขอบคุณค่ะ

ยินดีและขอบคุณมากครับ คุณหมอธิ ทพญ.ธิรัมภา ;)...

แวะมาทักทาย.  

พยายาม คิด พิจารณา ทีละข้อค่ะ

ผมสรุปได้มั้ยว่า คนเราต้องมี  .ศีล และ ธรรม. จึงจะอยู่ด้วยกันได้...........อย่างสงบสุข .....:):)

ยามนี้ท่าทางเราจะ ต่ำ :-)

เช่นนั้นครับ ท่านอาจารย์ วิชญธรรม ;)...

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท