การเปลี่ยนแปลงขององค์กร


ผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงตนเองก่อน

   

                                                                                                                             

                                                                                                                                           โดย วาสนา รังสร้อย

                                                                            การเปลี่ยนแปลงขององค์กร 

                       ทำไมเราถึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง ทำไมองค์กรต้องมีการเปลี่ยนแปลง ทำไมบางคนถึงไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงแล้วยังมีปฏิกิริยาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง คำถามเหล่านี้ เป็นคำถามที่เคยได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอเกือบทุกองค์กร นั่นเป็นเพราะความคิดต่าง มีความหลากหลายทางประสบการณ์ พฤติกรรมที่ไม่เคยเปลี่ยนมาเป็นเวลานาน ซึ่งมีนักวิชาการด้านการจัดการหลายท่านให้ความสนใจทำการศึกษา วิจัย และนำเสนอมุมมอง แนวคิดใหม่ ๆ สำหรับนักบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้ พัฒนาและปรับเปลี่ยนให้องค์กรมีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นเพื่อการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจที่เหนือกว่า หรือให้ธุกิจสามารถอยู่ได้ 

                      ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Business Environment) เช่น ลูกค้า ซัพพลายเออร์ คู่แข่ง ผู้แทนจำหน่ายและสภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เช่น เทคโนโลยี ภาวะเศรษฐกิจ กฎหมาย เงื่อนไขการค้าต่างประเทศ การเมือง นโยบายสาธารณะ สภาพแวดล้อมทางสังคม ภัยธรรมชาติ ภัยคุกคามจากการ ก่อการร้าย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาวะการอยู่รอดขององค์กร ที่เราไม่สามารถอาจคาดคะนเหตุการณ์ได้ล่วงหน้าเป็นระยะนาน ๆ ได้อีกต่อไป ผู้บริหารต้องจำเป็นต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดและพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูง (Dynamic Organization) ในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง 

                         CHARLES DARWIN ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงไว้อย่างน่าสนใจว่า “It is not the strongest of the species that not the most intelligent, but the one most responsive to change” หมายความว่า ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุดที่จะอยู่รอด ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่ฉลาดที่สุดที่จะอยู่รอดแต่ผ่าพันธุ์ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุดจะเป็นผู้ที่อยู่รอด 

                           John F. Welch สุดยอด CEO ของ GE และเป็นนักบริหารที่ได้รับการยกย่องอย่างมากในโลกธุรกิจได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงไว้ว่า “You must change before you have to” คุณต้องเปลี่ยนก่อนที่คุณจะถูกเปลี่ยน Welch มีความเชื่อเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจว่า “I’ve always believed that when the rate of change inside an institution becomes slower than the rate of change outside, the end is inside….. The only question is when…” สิ่งที่ผู้บริหารต้องระมัดระวังในการเปลี่ยนแปลง คือ การมุ่งที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรหรือพฤติกรรมใหม่ในการทำงานของพนักงาน หลายองค์กรพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเป็นจุดแรก ซึ่งยากต่อการเห็นโอกาสชัยชนะ วัฒนธรรมจะเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อมีการใช้วิธีปฏิบัติแบบใหม่และประสบความสำเร็จมาแล้วระยะหนึ่ง จึงจะทำให้ผลของการเปลี่ยนแปลงคงอยู่ได้(จากบทความของ ดร.พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ )        
                            องค์กรในสถานศึกษาก็เช่นเดียวกัน ถ้าจะเปลี่ยนแปลงองค์กร ผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนดังนี้

 1. สร้างวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลเพื่อกำกับทิศทางให้กับองค์กรในอนาคต

 2. การจัดวางตัวบุคคลให้เหมาะสมกับงาน พร้อมทั้งสื่อความหมายให้เข้าใจถึงวิสัยทัศน์

 3. สร้างแรงบันดาลใจให้สามารถเอาชนะอุปสรรคเพื่อการนำไปสู่วิสัยทัศน์นั้นให้จงได้ 

4. ต้องปรับและพัฒนาด้านอารมณ์ของผู้นำเองไปยังผู้ตามโดยต้องคำนึงถึงความเข้าใจในความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ตามเช่นกัน

 5. ผู้นำต้องเพิ่มอำนาจแก่บุคคลเพื่อจะได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน รู้จักการทำงานเป็นทีม เป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันจะก่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนขององค์กร 

6. รู้จักเกื้อกูลและและให้กำลังใจกับผู้ตามอยู่เสมอ 

7. ส่งเสริม สนับสนุนความเป็นอิสระในการพัฒนาผลงานวิชาการ 

8. ผู้นำต้องเรียนรู้และปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอจนเกิดเป็นทักษะ การเรียนรู้ทั้งทางเทคโนโลยี หรือการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่กำลังจะมาถึงในอีก 3 ปีข้างหน้านี้
                             มาร์แชล โกลด์สมิท กูรูทางด้านผู้นำเชิงกลยุทธ์ กล่าวถึงภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงต้องมองถึงอนาคตที่สามารถเกิดคุณลักษณะที่เป็นหัวใจหลักของผู้นำแห่งอนาคตหรือผู้นำยุคหน้าเพียง 5 ข้อ ดังนี้ 

1. ต้องคิดถึงภาพรวมโลก (Thinking Globally) – การทำธุรกิจในอดีตต่างจากปัจจุบันและอนาคต ทุกสิ่งในโลกเชื่อมถึงกันหมดจากการพัฒนาการสื่อสารต้องบูรณาการเชื่อมโยงถึงกันได้

 2. ต้องเข้าใจความหลายหลายทางวัฒนธรรม (Appreciating Cultural Diversity) นั่นก็คือต้องเข้าใจทั้งระบบเศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีด้วย 

3. ต้องสามารถบริหารจัดการเทคโนโลยี (Demonstrating Technology Savvy) โดยอาศัยกลยุทธ์เพียง 4 อย่างเท่านั้น คือ 

           1) ต้องรู้ว่าการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างชาญฉลาดนั้น สามารถช่วยองค์กรได้อย่างไรบ้าง 

          2) ต้องรู้จักคัดเลือก พัฒนา และจูงใจทีมงานที่เก่งเรื่องเทคโนโลยีให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ 

          3) ต้องรู้วิธีการบริหารและการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ 

          4) ต้องเป็นผู้นำตัวอย่างในแง่การกล้าใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ 

4. ต้องสร้างหุ้นส่วนธุรกิจ (Building Partnerships) ผู้นำแห่งอนาคตต้องทำใจให้ได้ว่าการปรับขนาดองค์กร ผ่านโครงสร้าง ลดจำนวนพนักงาน และจ้างธุรกิจอื่นทำงานที่ตนไม่ถนัด (outsourcing)

 5. ต้องแบ่งปันประสบการณ์ผู้นำ (Sharing Leadership) พนักงานและทีมงานจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีความรู้มากขึ้น (knowledge workers) และผู้นำจะสามารถเข้าใจศิลปะการบริหารทีมงานที่เก่งเลิศ (Talent Management) ให้มีประสิทธิผลสูงสุดต่อตัวผู้นำเองและองค์กร 


                     นั่นก็พอสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงสามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้แน่นอนเพราะผู้นำต้องการพัฒนาบุคลากรให้เป็นเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมกับการดำรงชีวิตในโลกโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงองค์กรนั้นก็เป็นเรื่องยาก แต่การเปลี่ยนแปลงก็ถือว่าเป็นโอกาสและเป็นสิ่งท้าท้ายมากกว่าที่จะเป็นอุปสรรค และสิ่งเหล่านี้ได้มาจากสิ่งที่เราเรียกว่า ศรัทธา ที่เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ เพราะ ศรัทธาเป็นเรื่องของ ความชอบ ความเชื่อ เป็นเรื่องของ การยอมรับ เป็น เรื่องของใจ เพื่อที่จะสามารถนำพาศักยภาพของตนสร้างผลงานใหม่ที่มีคุณค่าขึ้นในองค์กร



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท