518. สมองกับวัฒนธรรม (ตอนที่ 2)


plastic brain

ต่อจากตอนก่อน 

ผมอ่านหนังสือเรื่อง The Brain that Changes itself หรือสมองเปลี่ยนตัวเองได้ แล้วลองปะติดปะต่อแบบ AI ก็พบว่าจริงๆ แล้วทุกคนทุกระบบทุกวัฒนธรรมมีเรื่องราวดีๆ ซ่อนเร้นอยู่  ในท่ามกลางวัฒนธรรมที่ใช้ใช้สมองแยกส่วน กลับมีองค์กรใช้สมองแบบองค์รวม อยู่เช่นกัน ในท่ามกลางวิชาการที่ใช้สมองแยกส่วนก็มีวิชาการที่ใช้สมององค์รวม

                            

           Cr:  http://creativejaunt.blogspot.com/2011/10/right-brain-logic-abstract-art.html


ในระดับองค์กร เช่นบริษัทตะวันตก (ส่วนน้อยมากๆ) วอลโว่ เห็นชัดๆ ว่าใช้สมองแบบองค์รวม เป็นอย่างไร บริษัทนี้ออกแบบรถเพื่อปกป้องชีวิตคน ถึงกับลงทุนวิจัยเข็มขัดนิรภัย ที่เราใช้อยู่กันทุกวันนี้ โดยไม่สนใจตัวเลขต้นทุน พอทำได้แล้ว ก็ไม่ยอมจดสิทธิบัตร หากมอบนวัตกรรมนี้ให้มนุษยชาติ  ในเรื่องความปลอดภัยคุณจะเห็นว่ารถญี่ปุ่น รถอเมริกัน ถือว่า ความปลอดภัยเป็นเพียง “อ๊อปชั่น” แน่นอนมีเข็มขัดนิรภัย แต่ถุงลม นิรภัยคุณต้องจ่ายเพิ่ม แต่วอลโว่ติดให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน เห็นไหมครับ ยังไม่พอแทนที่จะตั้งเป้าเป็นที่หนึ่งของโลก วอลโว่ตั้งวิสัยทัศน์ว่า “ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า วอลโว่จะไม่ยอมให้คนตายเพราะวอลโว่ ซึ่งครอบคลุมถึงคนในถนนด้วย” เป็นไงครับ ตอนนี้เคยเห็นบริษัทใหญ่ๆ บริษัทไหนในไทยคิดอะไรแบบนี้ไหม 


                   

          Cr: http://stuffpoint.com/funny/image/161281/good-company-volvo-picture/


ในอินเดียบริษัทแห่งหนึ่งเคยมีผลประกอบการณ์แย่มากๆ จนผู้บริหารท่านหนึ่งคิดใหม่ทำใหม่ คือคุณจะเห็นวลีที่ติดปากกันมาตลอดคือ “Customer Comes First” คัสตอมเมอร์ คัมส์ เฟิร์ส” ฝรั่งผมทอง เอเชียผมดำ คิดเหมือนกันเลย ได้ผลครับ ลูกค้าคือพระเจ้า พนักงานคือคนชั้นสอง ไม่สนใจพนักงาน ไม่อบรมให้ดี ที่สุดพนักงานที่มีความรู้ไม่พอ หรือมีทัศนะคติไม่ดีก็ไปสร้างความประทับใจแย่ๆ ให้ลูกค้า คราวนี้แหละ ต่อให้คุณให้ความสำคัญยังไง เขาก็ไม่ซื้อคุณเป็นครั้งที่สองแน่ๆ...” ที่สุดผู้บริหารชาวอินเดียท่านนี้คิดใหม่ ประกาศเลย เขาจะให้ความสำคัญกับพนักงานก่อน ลูกค้ามาที่สอง ประกาศเลย Employee First Customer Second เอ็มพลอยยี่ เฟิร์ส คัสตอมเมอร์ เซ็กกัน นี่กลายเป็นวลีใหม่ๆ ที่เปลี่ยนมุมมองคนไปสิ้นเชิง เขาลงทุนดูแลพนักงานอย่างดี ทั้งความรู้ ทัศนคติ เพียงปีเดียวครับ บริษัทเริ่มพลิกฟื้น ต่อมากลายเป็นบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก จนกระทั้งมหาวิทยาลันชื่อดังอย่างฮาเวิร์ดต้องเชิญเจ้าของบริษัทเขียนเป็นตำราออกมา และบอกว่าเป็นแนวคิดพลิกโลก หนังสือชื่อ Employee First Customers Second ครับ นี่ไง ผลการมองแบบองค์รวม ไม่แยกส่วน

                                       

                                      Cr: http://www.ranjitpatel.com/2010/01/


ในวงการวิชาการตอนนี้ต้องยืนยันครับว่าส่วนใหญ่ คิดแบบแยกส่วน หรือแบบชาวประมงพม่า แต่เท่าที่ผมประเมินมีวิชาที่ใช้สมองแบบองค์รวมเกิดขึ้นใหม่ๆ เช่น วิชาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ได้เน้นเรื่องนี้ไว้ชัดเจน เรื่องการคิดเป็นระบบ วงการด้าน OD (พัฒนาองค์กร) ก็มองแบบองค์รวม  Appreciative Inquiry (AI) นี่ก็ชัดเจน เพราะคนทุกเสียง ทุกระบบมีค่า มีการดึงศักยภาพมาใช้ทั้งหมด คนทั้งหมดมีส่วนร่วม นี่ไงก็มีครับ แต่อย่าลืมตัวศาสตราจารย์ปีเตอร์ เซ็งเก้ คนคิด Learning Organization ก็บอกเองว่าเขาได้แนวคิดจากศาสนาพุทธ คนคิด U-theory คืออ๊อตโต้ ชามเมอร์ ก็ศึกษาแนวคิดของกวีญี่ปุ่น แล้วค้นพบว่าวิธีการทำงานของกวีญี่ปุ่น เป็นวิธีที่แสนพิเศษ ที่คนตะวันตกไม่มี จึงเป็นที่มาของการสร้าง U-theory (ผมจะเขียนในรายละเอียดในภาคต่อไป) ศาสตราจารย์เดวิดคนที่คิด AI เวลาทำงานจะเน้น Whole System โฮล ซิสเต็ม ดึงคนทั้งหมดมีส่วนร่วม ใช้สมองของทุกคน ท่านนี้เคยทำงานร่วมกับองค์ดาไล ลามะครับ นอกจากนี้ยังมีแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Science)  นี่ก็มาใหม่

ในแวดวงวิชาการบ้านเราที่กำลังพัฒนาขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมก็คือแนวจิตตปัญญาศึกษา แนวพัฒนาองค์กร (OD) เป็นต้น อาจารย์เช่นดร.วรภัทร์ ภู่เจริญจะเน้นเรื่องนี้มาก เช่นท่านเคยวิพากษ์การศึกษาไทยว่า สอนเรื่องใบเลี้ยงเดี่ยวใบเลี้ยงคู่ เกิดภาวะอดอยากมานี่เด็กไทยตายอย่างเดียว เพราะมีความรู้แค่ใบเลี้ยงคู่ใบเลี้ยงเดี่ยว ท่านบอกว่าชาวเขา พวกแม้ว ที่สอนลูกหลานว่าใบไม้มีสองประเภท กินได้กับไม่ได้ พวกนี้สิเอาตวรอดได้ แล้วขำ เป็นตลกร้าย แต่ว่านี่สะท้อนระบบการศึกษาแบบแยกส่วนและแบบใช้สมองแบบองค์รวม ที่เด่นๆก็มีอีกเช่นอาจารย์ชัยวัฒน์ แห่ง CivicNet อาจารย์วิศิษย์ วังวิญญู  อาจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี อาจารย์วิจารณ์ พาณิชย์ อาจารย์อาจอง และอีกมากๆ ศาสตร์เหล่านี้เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ผมว่าในอนาคตคงจะเห็นการคานอำนาจระหว่าง ศาสตร์แบบองค์รวมและศาสตร์แบบแยกส่วน ที่สมดุลย์กันมากขึ้น 


                                             

Cr: http://soulselfhelp.on.ca/selfmastery/2010/04/mind-brain-connection-neuroplasticity-of-the-brain/


จริงๆแล้วผมไม่ได้สนับสนุนให้ต้องใช้สมองแบบใดแบบหนึ่ง หากแต่อยากสนับสนุนให้มีการสร้างสมดุลย์ และข่าวดีคือตามทฤษฎีสมองเปลี่ยนตัวเองได้ เราสามารถเปลี่ยนสมองได้ครับ ถ้าหัดเราก็เปลี่ยนได้ นั่นหมายความว่าตอนนี้ไม่ว่าสังคมมันจะบ้าคลั่งอย่างไร ถ้าเราทำให้คนรู้จักใช้สมองแบบแยกส่วนได้ นั่นหมายถึงว่าเราสร้างวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์แบบยั่งยืนขึ้นได้  

ส่วนการหัดใช้สมองแบบองค์รวม คร่าวๆครับ ก็ลองเรียนรู้ศาสตร์เบื้องต้นที่ว่ามาแล้ว ตอนนี้มีเป็นปริญญาโท เอกเลยครับ เช่น OD มีที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จิตตปัญญาศึกษามีที่มหิดล ตรงนี้เป็นแบบทางการ ไม่ทางการก็ลองไปติดตามอ่านงานของท่านอาจารย์ที่ กล่าวมาเบื้องต้น มีการทำ Workshop เกิดขึ้นมากมาย ที่เสมสิกขาลัยก็บ่อยๆ หรือเชิญท่านมาบรรยายก็ได้ ทำวิจัยในระดับป.ตรี โทเอก ก็ได้ ถ้าสนใจ AI ก็มาที่เครือข่าย AI Thailand ก็ได้ (จริงๆ มีทั้งหมดที่กล่าวมา ดูที่ www.aithailand.org) ครับ ส่วนท่านใดจะเสนอ ว่ามีที่ใดบ้าง มีใครสอนอีกบ้าง ก็ลองบอกเพิ่มเติมมาได้ครับ หรือจะเข้าไปใน YouTube ก็เจอคลิ๊ปอาจารย์วรภัทร์ อาจารย์อาจองครับ มีเพียบ

สรุปวันนี้เราพูดถึงระบบการคิดของสมองที่เป็นผลจากวัฒนธรรม ที่ผ่านการศึกษาจากปรากฏการณ์การใช้สมอง เราเห็น Sea Gypsy เป็นตัวแทนของสมองแบบองค์รวม ชาวประมงพม่าที่มัวสนใจแต่”ปลาหมึก” จนตัวตาย ที่เป็นตัวแทนของสมองแยกส่วน เราได้พูดถึงสังคมโลก สังคมไทยที่เอนเอียงคลั่งไคล้สมองแยกส่วนมากไป โดยยกตัวอย่างจริงที่เห็นไกล้ตัวประกอบ ขณะเดียวกันก็ได้พูดถึงสมององค์รวมพร้อมตัวอย่าง จากนั้นก็เป็นข้อเสนอ ทางเลือกที่จะสร้างสมดุลย์การใช้สมอง ที่ทำให้มากเข้าก็จะกลายเป็นค่านิยมร่วมกัน ที่จะกลายเป็นวัฒนธรรมดีๆ ที่จะสร้างสังคมดีๆ ในที่สุด ที่สำคัญสมอง เปลี่ยนตัวเองได้ เพียงแค่คิดจะเปลี่ยน

เพียงเล่าให้ฟัง ลองพิจารณาดูนะครับ 


หมายเลขบันทึก: 521165เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2013 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2013 07:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณครับ จะเข้าไปเรียนรู้จากยูทูปครับ

มาชวนอาจารย์ไปคิดแบบองค์รวมของคนไทยในปริศนาคำทาย (http://www.gotoknow.org/posts/520926) มีแต่คนไทยเท่านั้นที่มีจินตนาการแบบนี้

ธีรกานต์ โพธิ์แก้ว

เข้ามาให้กำลังใจค่ะ  พอดีสนใจเรื่องนี้  กำลังศึกษา  และเขียนหนังสือ เกี่ยวกับวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงตนเองในเชิงการพัฒนาตนเองโดยใช้พลังปัญญา ด้วยทฤษฎีสปริงชีวิต  เชิญแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้นะค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ตัวเองก็ดูเหมือนจะเป็นคนคิดแยกส่วนอ่ะค่ะ 

ต้องคิดแบบองค์รวม นะคะ 

รอยหยักในสมองของ kunrapee คงเพิ่มขึ้นแล้ว ขอบคุณค่ะ

แวะมาอ่านต่อจนจบและคิดว่า "การฝึกสมองสองส่วนในกิจกรรมเชิงการยอมรับความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย" ขอบคุณมากๆ ครับดร.ภิญโญ บันทึกของอาจารย์ทำให้ CoPกิจกรรมบำบัดตื่นตัวมากขึ้นครับผม

อ่านตอนที่ 2 ก่อนไปอ่านตอนที่ 1 แต่ยังไม่ได้ตามไปอ่านและดูในยูทูป ได้ข้อคิดหลายอย่าง สมองน่าจะฝึกได้คล้ายทักษะนะคะอาจารย์ จินตนาการและสิ่งแวดล้อมน่าจะช่วยในการพัฒนาสมองด้วยเช่นกันค่ะ :) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท