ประโยชน์สาธารณะ


ประโยชน์สาธารณะ

ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย โดย คณิน บุญสุวรรณ ให้นิยามว่า

"ประโยชน์ต่อสาธารณะ หมายถึง ประโยชน์อันเกิดแก่ประชาชนทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น..."

 

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้นิยามว่า

ประโยชน์สาธารณะ(Public interest) หรือ ประโยชน์ส่วนรวมของคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่เพื่อ

ประโยชน์ของกลุ่มใดหรือคนใดโดยเฉพาะ เช่น

- การดูแลความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน การให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

- การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการดำรงชีวิต ตอบสนองความต้องการของ

ประชาชน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ถนน การศึกษา การรักษาพยาบาล

- การปกป้องดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ

สรุปว่า "ผลประโยชน์ส่วนรวมหรือผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interests) หมายถึง ... ผลประโยชน์สาธารณะยังหมายรวมถึงหลักประโยชน์ต่อมวลสมาชิกในสังคม ... "

รศ. ดร. นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้นิยามว่า

พจนานุกรมศัพท์กฎหมายมหาชน (ฝรั่งเศส-ฝรั่งเศส) ของ Philippe Foillard ได้ให้ คำจำกัดความของคำว่าประโยชน์สาธารณะ (intérêt général) ไว้ว่า ได้แก่ "ข้อพิสูจน์ข้อแรกของกิจกรรมของฝ่ายปกครอง" โดยได้อธิบายไว้ว่า หน้าที่หลักของฝ่ายปกครองคือการจัดทำกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ "ประโยชน์สาธารณะ" มิใช่เพื่อประโยชน์ของเอกชนรายหนึ่งรายใด กิจกรรมเหล่านี้เรียกว่า บริการสาธารณะ ประโยชน์สาธารณะถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของกฎหมายปกครองและเป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการวางกรอบอำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครอง กล่าวคือ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการโดยเอกชนไม่สามารถจัดได้ว่าเป็น "บริการสาธารณะ" (service public) หากมิได้จัดทำขึ้นเพื่อสาธารณชนทั่วไป งานก่อสร้างต่างๆไม่จัดว่าเป็นงานโยธาสาธารณะหากมิได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์สาธารณะ เมื่อกิจกรรมใดเป็นเรื่องประโยชน์สาธารณะก็จะอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายที่มีลักษณะพิเศษที่เป็นสิ่งที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครอง นั่นคืออำนาจฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครองในการใช้นิติกรรมฝ่ายเดียวที่มีผลบังคับกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือบุคคลทั่วไป รวมทั้งอำนาจในการแก้ไขสัญญาฝ่ายเดียว หรือการเวนคืน เป็นต้น

จากการตรวจสอบคำว่า “ประโยชน์ต่อสาธารณะ” และ “ประโยชน์แก่ส่วนรวม” หรือ “Public interest” ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 คำนิยามศัพท์ในกฎหมาย และ ศัพท์บัญญัติทางวิชาการ พบว่า มีการใช้คำศัพท์ที่แตกต่างกันไปหลายคำ อาทิเช่น

ประโยชน์แก่ส่วนรวม

ประโยชน์ต่อสาธารณะ

ประโยชน์โดยรวม

ประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะ

ประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชน

ประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน

ประโยชน์ของแผ่นดิน

ประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน

ประโยชน์สุขของประชาชน

ประโยชน์แห่งรัฐ ประโยชน์ของรัฐ

ประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน

ประโยชน์มหาชนของรัฐ คือประโยชน์ที่คนส่วนใหญ่มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน

ผลประโยชน์สาธารณะ

ผลประโยชน์แห่งชาติ

ผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวม

ผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติโดยรวม

ผลประโยชน์ชาติ

ดังรายละเอียดดังนี้

ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 
 

มาตรา 3 “ประโยชน์แก่ส่วนรวม” หมายความว่า ประโยชน์ต่อสาธารณะหรือประโยชน์อันเกิดแก่การจัดทำบริการสาธารณะหรือการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือประโยชน์อื่นใดที่เกิดจากการดำเนินการหรือการกระทำที่มีลักษณะเป็นการส่งเสริม หรือสนับสนุนแก่ประชาชนเป็นส่วนรวม หรือประชาชนส่วนรวมจะได้รับประโยชน์จากการดำเนินการหรือการกระทำนั้น”

(มาตรา 3 เพิ่มบทนิยามต่อจากบทนิยามคำว่า “สัญญาทางปกครอง” ตาม ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2551 มาตรา 3)

 

ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

มาตรา 15 องคมนตรีปฏิญาณตน ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อ “ประโยชน์ของประเทศและประชาชน” ,

มาตรา 21 วรรคแรก ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ปฏิญาณตน ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อ “ประโยชน์ของประเทศและประชาชน” ,

มาตรา 35 วรรคสอง สิทธิของบุคคล เว้นแต่ กรณีที่เป็น “ประโยชน์ต่อสาธารณะ” ,

มาตรา 42 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ “ประโยชน์สาธารณะ” ,

มาตรา 47 คลื่นความถี่ “ประโยชน์สาธารณะ” ,

มาตรา 64 วรรคสาม การจำกัดเสรีภาพของบุคคล “ประโยชน์ส่วนรวม” ,

มาตรา 74 เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษา “ประโยชน์ส่วนรวม” ,

มาตรา 77 รัฐต้องพิทักษ์รักษา “ผลประโยชน์แห่งชาติ” ,

มาตรา 78(1) บริหารราชการแผ่นดิน “ผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวม” เป็นสำคัญ ,

มาตรา 80(3) นโยบายด้านสังคมฯ “ประโยชน์โดยส่วนรวม” ,

มาตรา 84(1) นโยบายด้านเศรษฐกิจ “ประโยชน์ส่วนรวม” ,

มาตรา 85(4) นโยบายด้านที่ดินฯ “ประโยชน์ต่อส่วนรวม” ,

มาตรา 122 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องปฏิบัติหน้าที่ เพื่อ “ประโยชน์ส่วนรวม” ,

มาตรา 123 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ปฏิญาณตน ปฏิบัติหน้าที่เพื่อ “ประโยชน์ของประเทศและประชาชน”,

มาตรา 128 วรรคสาม มีความจำเป็นเพื่อ “ประโยชน์แห่งรัฐ” เรียกประชุมรัฐสภา สมัยวิสามัญ ,

มาตรา 135 วรรคสาม “ประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน” ,

มาตรา 156 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี ”ประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน” ,

มาตรา 157 “ประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน” ,

มาตรา 165(1) “ประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน” ,

มาตรา 175 รัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เพื่อ “ประโยชน์ของประเทศและประชาชน”, มาตรา ๑๗๖ วรรคสอง “ประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน” ,

มาตรา 186 วรรคแรก เพื่อรักษา “ประโยชน์ของแผ่นดิน” .

มาตรา 236(2) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีอำนาจหน้าที่ คำนึงถึงการรักษา “ประโยชน์ของรัฐ” ,

มาตรา 242 ผู้ตรวจการแผ่นดิน (คุณสมบัติ) กิจกรรมอันเป็น “ประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะ” .

มาตรา 244 วรรคสอง อำนาจหน้าที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน “เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ” .

มาตรา 257 วรรคสอง วรรคสาม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ ต้องคำนึงถึงผล “ประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชน” ,

มาตรา 282 การกำกับดูแล อปท. เพื่อการคุ้มครอง “ประโยชน์ของประชาชน” ในท้องถิ่นหรือ “ประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม” ,

มาตรา 283 อปท.มีอำนาจหน้าที่ จัดทำบริการสาธารณะเพื่อ “ประโยชน์ของประชาชน” ในท้องถิ่น ...

 

 

ลองดู ประกอบ มีคำศัพท์อยู่ 2-3 ตัว ที่เขียนบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่มาจากคำศัพท์ว่า "Public Interest" หรือ "intérêt général" (ในภาษาฝรั่งเศส) (http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?ID=461)

ซึ่งมีความหมายแนวเดียวกัน คือ ผลประโยชน์ส่วนรวมหรือผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interests) หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่ให้ประโยชน์สุขแก่บุคคลทั้งหลายในสังคม ผลประโยชน์สาธารณะ ยังหมายรวมถึงหลักประโยชน์ต่อมวลสมาชิกในสังคม

แต่... (ลองดู) ...


 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

ประโยชน์สาธารณะ

มาตรา 42 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะกิจการของรัฐเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การอันจำเป็นในการ ป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมือง การส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดิน การอนุรักษ์โบราณสถาน และแหล่งทางประวัติศาสตร์ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม ภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

...

มาตรา 47 คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และ กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ

การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและ ระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการ แข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ

การกำกับการประกอบกิจการตามวรรคสองต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงำ ระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด ซึ่งจะมีผล เป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของ ประชาชน

มาตรา 244 ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ...

การใช้อำนาจหน้าที่ตาม (1) (ก) (ข) และ (ค) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการเมื่อมี การร้องเรียน เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าการกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อความเสียหาย ของประชาชนส่วนรวมหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจพิจารณาและ สอบสวนโดยไม่มีการร้องเรียนได้

ผลประโยชน์ส่วนรวม

มาตรา 64 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์

กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น

ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจ

ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ

มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้

...

(3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

...

มาตรา 84 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้

(1) สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุน

ให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค

...

มาตรา 257 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

...

ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย

...

การขัดกันแห่งผลประชน์

มาตรา 122 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยโดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์

ส่วนที่ 2

การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์

มาตรา 265 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้อง

...

มาตรา 284 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

...

คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นจะเป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น และจะมีผลประโยชน์ขัดกันกับการดำรงตำแหน่งตามที่กฎหมายบัญญัติมิได้

...

มาตรา 303 ในวาระเริ่มแรก ให้คณะรัฐมนตรีที่เข้าบริหารราชการแผ่นดินภายหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด

...

(3) กฎหมายตามมาตรา 190 วรรคห้า โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการดำเนินการจัดทำ หนังสือสัญญาที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างคณะรัฐมนตรีและรัฐสภามีความโปร่ง ใส มีประสิทธิภาพ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยที่มีความเป็นอิสระซึ่งดำเนินการ ก่อนการเจรจาทำหนังสือสัญญา โดยไม่มีการขัดกันระหว่างประโยชน์ของรัฐกับผลประโยชน์ของผู้ศึกษาวิจัยไม่ว่าในช่วงเวลาใดของการบังคับใช้หนังสือสัญญาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามมาตรา 176

 

+++++++++++++++
 


 

อ้างอิง

[1] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

[2] คณิน บุญสุวรรณ, "ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย."

[3] ณัฐพล ลือสิงหนาท, "การกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ … ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย."สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง, http://www.admincourt.go.th/00_web/09_academic/document/05_case/180852_02.pdf

[4] ณัฐพล ลือสิงหนาท, "“ดุลพินิจ” ที่เลือกใช้ ... เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ." สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง, http://www.admincourt.go.th/00_web/09_academic/document/05_case/30-38-56.pdf

[5] นันทวัฒน์ บรมานันท์, "ความหมายของประโยชน์สาธารณะ." คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 27 ธันวาคม 2547. http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?ID=461
 

[6] นิธินันท์ สุขวงศ์, อัยการจังหวัดประจำกรม. "ข้อสังเกตบางประการ ในถ้อยคำ “ประโยชน์แก่ส่วนรวม” ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542". 8 พฤศจิกายน 2552, http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1402

[7] "ประโยชน์สาธารณะ." เดลินิวส์, คอลัมน์กฎหมายข้างตัว, 3 มีนาคม 2555. http://www.dailynews.co.th/article/345/15278

[8] โสต สุตานันท์, "เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและสังคมโดยส่วนรวม." 1 มิถุนายน 2555. http://buddhismlaw.blogspot.com/2012/01/blog-post_9000.html

[9] pirachaya werasukho, คดีปกครอง "เพื่อประโยชน์สาธารณะ", 25 มกราคม 2555, บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Sila Phu-Chaya, https://www.gotoknow.org/posts/476224

หมายเลขบันทึก: 521175เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2013 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ธันวาคม 2023 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เขียนใน GotoKnow โดย Ph Thammasarangkoon ใน Administration Lawประโยชน์สาธารณะ(1), 2 มีนาคม 2556, https://www.gotoknow.org/posts/521175ประโยชน์สาธารณะ(2), 3 มีนาคม 2556, https://www.gotoknow.org/posts/521200ประโยชน์สาธารณะ(3) : คำว่า “ประโยชน์แก่ส่วนรวม” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 26 พฤศจิกายน 2560, https://www.gotoknow.org/posts/642093

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท