ความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ Rheumatoid Arthritis


ความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ Rheumatoid Arthritis

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) เชื่อว่าเกิดจาก  autoimmune เป็นโรคข้ออักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic inflammatory arthritis) ที่มีการอักเสบของร่างกายร่วมกับการอักเสบเรื้อรังของเยื่อหุ้มข้อ (synovitis) การอักเสบนี้ก่อให้เกิดการทำลายของกระดูกอ่อน (cartilage) กระดูกรอบข้อ (subchondralbone) และนื้อเยื่อรอบข้อ เช่น ถุงน้ำ (bursa) ligament และเส้นเอ็น (tendon)

ลักษณะทางคลินิกที่บ่งถึงการอักเสบของอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น

  • ไข้
  • อ่อนเพลีย
  • ซีด
  • เยื่อหุ้มหัวใจ
  • และปอดอักเสบ (serositis)
  • รวมทั้งหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis)

ลักษณะที่สำคัญของข้ออักเสบรูมาตอยด์คือ

  • ข้ออักเสบ คือมีอาการปวด บวม แดง ร้อน และกดเจ็บบริเวณข้อที่ปวดที่ข้อ
  • มักจะปวดข้อและขยับข้อลำบากในตอนเช้าเป็นเวลานาน 30 นาที
  • มักจะมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัวร่วมด้วย
  • ข้อที่อักเสบมักจะเป็นสองข้างเหมือนกัน
  • ส่วนมากอาการตอนเริ่มเป็นมักจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
  • ข้อที่พบมีการอักเสบได้บ่อย ได้แก่ ข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อนิ้วมือส่วนต้น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อระหว่างกระดูกเท้า ข้อโคนนิ้วเท้า
  • ผู้ป่วยเหล่านี้มีอาการปวดข้อ ร่วมกับข้อฝืดขัดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน (morning stiffness) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มโรคข้ออักเสบ โดยทั่วไปผู้ป่วยมักมีข้อฝืดขัดตอนเช้านานกว่า30นาทีถึง 1 ชั่วโมง

แนวทางการรักษา โรครูมาตอยด์
1.การทำกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดของข้อ

2. ยากลุ่มระงับการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
3. ยากลุ่มสเตียรอยด์
4. ยากลุ่มยับยั้งข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ออกฤทธิ์ช้า
5. การผ่าตัด

การเพิ่มความสามารถในการดำเนินชีวิต (Occupational Performance) ของผู้ป่วยรูมาตอยด์

บทบาททางกิจกรรมบำบัด

สำหรับผู้ป่วย Rheumatoid Arthritis โดยใช้กรอบอ้างอิงของทาง กิจกรรมบำบัด (Model of Occupational Therapy) 

Person-Environment-Occupation-Performance Model (PEOP)


1.Person(P)คือ บุคคล เราจะพิจารณาถึงตัวบุคคล  สำหรับผู้ป่วยรูมาตอยด์  จะมีลักษณะความผิดปกติทางร่างกายที่เห็นได้เด่นชัด คือการผิดปกติของรูปกระดูก อาจเกิดได้ทั้งข้อต่อใหญ่ แต่โดยส่วนมากจะเกิดกับข้อต่อเล็ก เช่น ข้อนิ้วมือและข้อนิ้วเท้า

 2.Environment(E)คือสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งแบ่งเป็น

2.1)สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ,สิ่งแวดล้อมภายนอก

ปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม เช่น ก๊อกน้ำควรเป็นแบบคันโยก ไม่ควรใช้แบบบิด-หมุน ประตูควรเป็นแบบเลื่อนเปิด-ปิด ไม่ควรใช้ลูกบิด

2.2)สิ่งแวดล้อมภานใน

ปัจจัยภายในตัวบุคคล คือ อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด

ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม คือ การให้กำลังใจของ ครอบครัว ญาติ เพื่อนฝูง หรือผู้ดูแล ควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เข้าร่วมกิจกรรมสังคม

3. Occupation(O) กิจกรรมการดำเนินชีวิตทั่วไปจำเป็นที่จะต้องใช้มือในการทำกิจกรรมแทบทุกอย่าง

และ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวข้อต่อเล็กๆได้ เช่นข้อนิ้วมือ ข้อมือ เราจึงเน้นให้ผู้ป่วยใช้มือในการหยิบจับสิ่งของในกิจกรรมต่างๆ ตามระดับความสามารถของผู้ป่วย และอาจมีการใช้อุปกรณ์เสริมร่วมด้วย

  4.Performance(P) คือ การส่งเสริมฟื้นฝูความสามารถ หรือ การคงความสามารถของผู้ป่วย ให้สามารถทำกิจกรรมง่ายๆได้ด้วยตัวเอง โดยอาจให้มีการเคลื่อนไหวข้อต่อที่มีการผิดรูป  

-  ขยับข้อให้เคลื่อนไหวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันข้อติดแข็ง

-  ใช้อุปกรณ์เสริม เช่น splint ตอนกลางคืน เพื่อลดอาการปวดและป้องกันข้อติด

-  ใช้อุปกรณ์เสริมด้าม เพื่อช่วยในการจับ เช่น เสริมด้ามแปรงสีฟัน ช้อนส้อม

-  ออกกำลังให้กล้ามเนื้อแข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อนิ้วมือ มือ และแขน ซึ่งอาจจะใช้วิธีบีบฟองน้ำ ลูกบอลยาง

-  ใช้ข้ออย่างถูกวิธี พยายามกระจายแรงไปหลายๆ ข้อ เช่น ใช้มือสองข้างช่วยกันจับสิ่งของแทนการใช้มือข้างเดียว ใช้ข้อใหญ่ออกแรงแทนข้อเล็ก เช่น ใช้แขนเปิดประตูแทนใช้ข้อมือ หรือ ใช้อุ้งมือเปิดฝาขวดแทนใช้นิ้วมือ

การที่ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ตามที่ตนเองต้องการ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข

biomechanical model


ใช้หลักการทางbiomechanic ในการรักษาผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ได้แก่

-  การออกแบบสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เช่น ราวจับบันได ชั้นวางของให้อยู่ระดับที่เหมาะสม

-  การออกแบบ splint หรือเครื่องดาม ให้เหมาะสมสำหรับการผิดรูปของข้อต่อ วัดองศาการดามหรือการคงท่าที่เหมาะสมของผู้ป่วยในแต่ล่ะคน

-  ออกแบบและดัดแปลงอุปกรณ์การออกกำลังกายที่เหมาะสมต่อข้อและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ




เอกสารอ้างอิง

อาการและอาการแสดงโรครูมาตอยด์.เข้าได้ถึงจาก/ Available from:http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/rheumatoid/ra/symtom.htm







หมายเลขบันทึก: 520893เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2013 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2013 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท