บันทึกสร้าง 'จิตที่น่าไว้วางใจ'


 

เมื่อแรกพดถึง 'องค์กรที่น่าไว้วางใจ' ข้าพเจ้าซึ่งไม่ใช่นักบริหาร นึกไม่ออกว่าจะเขียนอะไร 
จนอาจารย์จัน ผู้ไม่เคยละความพยายามให้เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กรุณาทำโจทย์ให้ชัดเจนในบันทึกนี้
  1. สิ่งที่ท่านได้บันทึกไว้ใน  GotoKnow ท่านคิดว่าบันทึกใดบ้างที่มีประโยชน์ในการสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยหรือครอบครัวผู้ป่วย 
  2. ท่านอยากเห็นประชาชนบันทึกอะไรบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ค่ะ

ข้อแรก = "เขียนบันทึกทำให้เกิดพลังบางอย่าง..บันทึกของ อสม." http://www.gotoknow.org/posts/512005   โดย คุณอดิเรก เร่งมานะวงษ์​ คะ

 

 

ข้อสอง = อยากอ่านว่า แต่ละท่าน มีเคล็ดลับ บำรุง เสริมสร้าง ความคิดการตัดสินใจให้เฉียบคม ( Mental fitness) ขณะที่งานที่เหนื่อยล้า มีความเสี่ยงสูง ได้อย่างไร

สำหรับเหตุผล จะเล่าต่อไปนี้คะ

###

เมื่อหลายปีก่อน ข้าพเจ้าเป็นแพทย์ฝึกหัด ประจำห้องฉุกเฉินแห่งหนึ่ง
เข้าเวรไม่กี่นาที ก็มีเด็กหญิงวัยรุ่น มาด้วยอาการปวดท้องน้อย
หลังจากที่เมื่อคืนมาครั้งหนึ่ง ได้ยาไปรับประทานแล้วยังปวดมากขึ้น
เมื่อค้นประวัติเก่า ก็พบว่าเธอมาครั้งแรกตอนตีสอง
ด้วยอาการปวดท้องน้อยเสียดๆ
แพทย์ให้ยารักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบกลับบ้าน
แล้วนัดมาห้องตรวจผู้ป่วยนอกอีก 3 วัน
...
เมื่อซักประวัติประจำเดือน จึงพบว่า ขาดไป 2 เดือน 
ผู้ป่วยบอกไม่มีแฟน แต่เคยมีเพศสัมพันธ์
เมื่อส่งปัสสาวะตรวจการตั้งครรภ์ ผลออกมาเป็นบวก
ปรากฎว่าเธอมีภาวะ "ตั้งครรภ์นอกมดลูก" (ectopic pregnancy)
และต้องรับการผ่าตัด
เนื่องจากหากตัวอ่อนที่เกาะอยู่ในท่อนำไข่แตก 
ผู้ป่วยอาจมีภาวะตกเลือดในท้องจนอันตรายถึงชีวิตได้
...
ที่กล่าวมานี้ มิได้มีเจตนายกตนข่มท่าน
เพราะหากข้าพเจ้า พบผู้ป่วยรายนี้ตอนที่อาการยังน้อย ในเวลา..ตีสอง
ก็อาจตัดสินใจผิดพลาดไม่ต่างกัน
ขณะเดียวกัน หากแพทย์ท่านนั้น เพิ่งเข้าปฎิบัติงานตอน 8 โมงเช้า
ก็คงวินิจฉัยได้เช่นกัน
ที่พลาดไปนั้น ก็ด้วยความล้า โดยเฉพาะจิตที่ล้า (mental fatigue)

การมีสติ ตื่นตัว และใคร่ครวญ ในงานที่ทำของแต่ละคน
นำไปสู่ 'ภาวะตื่นรู้ - state of mindfulness' ขององค์กร



ที่มา : http://www.ahrq.gov/qual/hroadvice/hroadvice.pdf
...
การตรวจสุขภาพบุคลากรทางการแพทย์
เป็นการตรวจเช็ค ความพร้อมร่างกาย (Physical fitness) 
เช่นตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด ฯลฯ
หากใครเข้ากลุ่มเสี่ยง ก็มีแนวทางส่งเสริม,รักษา,ฟื้นฟู
ในขณะที่ประสิทธิภาพของจิต และความคิด (Mental fitness)

มีวิธีการใดที่จะตรวจเช็ค ?
มีวิธีการใดส่งเสริม, รักษา, ฟื้นฟู ?

###
เร็วๆ นี้มีการใช้ IT เพื่อประเมินและเพิ่มประสิทธิภาพของสมอง เช่น www.lumosity.com
โดยเปิดให้คนทั่วไปเข้าไปเล่นเกมส์ที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญระบบประสาท นักจิตวิทยา นักจิตบำบัด
เขาก็ใช้ผลลัพธ์ของเราเป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูล
แล้วเอาฐานข้อมูลนั้นเองมาเป็น 'ตัวตัดเกรด'
ว่า 'Brain Performance Index- BPI' เราอยู่ระดับไหนเมื่อเทียบกับคนอายุ เพศ เดียวกัน

###

แล้วเกี่ยวกับบันทึกนี้ คุณหมออดิเรก อย่างไร
.. เกมส์ฝึกสมองป้องกัน จิตเสื่อม (demantia)
 ที่เข้าถึงง่ายยิ่งกว่า Lumosity ก็คือการบันทึก นั่นเอง
บันทึกในกระดาษ​ หรือบันทึกใน Gotoknow 
นอกจากจะฝึกสมอง ในการเรียบเรียงข้อมูลแล้ว
ยังสร้างแรงบันดาลใจ 'เราทำงานนี้ เพื่ออะไร' อีกด้วย

..แรงกายอาจอ่อนล้า ขอเพียงแรงใจไม่ท้อถอย 
องค์กรที่น่าไว้วางใจ เกิดจากคนในองค์กรมีจิตที่น่าไว้วางใจ...

หมายเลขบันทึก: 520482เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2014 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

มี ทัศนคติ ที่น่าไว้วางใจด้วยมั้ยคะ ขออนุญาตเพิ่มเติม

:-)

ขอบคุณค่ะขอบคุณ คุณหมอป.  ร่างกายอ่อนล้า มีผล ให้จิตใจอ่อนล้าได้  ขอเพียงแค่ ใจไม่ท้อ. ใจาก็จะเข้มแข็ง. 

พอใจคนเข้มแข็ง   องค์กรก็จะแข็งแรงตาม ใช่มั้ยคะ

เป็นประเด็นที่น่าคิดมากค่ะ

ส่วนตัวก็ใช้การ บันทึก/เขียน/พิมพ์ เมื่อคิดปิ๊งแวบได้ แล้วจึงนำมาเขียนต่อยอดให้สมบูรณ์

และตอนรู้สึกเหนื่อย (ทั้งเหนื่อยกายและใจหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) ก็จะชอบเขียน บันทึก และเดิน.... ค่ะ

เขียนจากประสบการณ์ของคุณหมอ
ทำให้คนทั่วไปอย่างเรา เข้าใจได้ง่ายขึ้น

Happy Ba ครับ ;)...

อ่านแล้วได้ความรู้สึกไว้วางใจน้องหมอป...การศึกษาประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียดช่วยการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำกว่าเพียงดูอาการป่วยเท่านั้น..

ได้เรียนรู้ไปด้วยค่ะ

ขอบคุณบันทึกนี้

ที่ทำให้ได้เรียนรู้มิติของคนทำงานโดยตรง

อุดมการณ์แรงจูงใจที่เหมาะสม

จะทำให้เกิดผลงานดีๆและความคิดริเริ่มที่เหลือเชื่อ

เหนื่อก็ต้องได้พัก

ริเริ่มก็ต้องมีคนคอยเชียร์นะคะ

ดูเหมือนองค์กรควรเป็นที่น่าไว้วางใจในระดับต้นๆๆนะครับ มาเชียร์คุณหมอครับ

ขอบพระคุณอาจารย์หมอ ป. มากครับ...กับการกล่าวถึงบันทึกของผม...ผมก็ได้ครุ่นและเติบโตจากบันทึกของผมเองกับโกทูโนว์ และการอ่านบันทึกของชีวิตพี่ๆ น้อง อสม. ของผมทุกครั้ง....บางบันทึกทำให้เห็นความวางใจของเจ้าของบันทึกที่มอบให้กับผม...ความวางใจต่อกัน...เหมือนพลังที่ยิ่งใหญ่ในการช่วยเหลือกูลเกื้อกันในทุก ๆ เรื่องครับ

อ่านบันทึกของคุณหมอ ป. แล้วมี Mindfulness มากขึ้นในการทำงาน ขอบคุณมากครับที่ร่วมบันทึกใน CoP กิจกรรมบำบัด 

                                       *** ... มาศึกษาสาระดีๆ จากคุณหมอ ค่ะ  ... *** 


ขอบคุณคะพี่หมอเล็ก เปลี่ยนไอคอนใหม่เป็นรูปการ์ตูนสดใสเลยนะคะ

ทัศนคติที่น่าไว้วางใจ..น่าสนใจคะ  

ส่วนตัวชอบวิธีอธิบายของคุณ John Maxwell จึงไปค้นคว้าที่นี่ เป็นการบ้านมาตอบคะ

แทนที่จะบอกว่า ทัศนคติ (attitude) คืออะไร เขาเปรียบเปรยให้เห็นภาพดังนี้

" You can’t control the length of your life—but you can control its width and depth.
You can’t control the contour of your face—but you can control its expression.
You can’t control the weather—but you can control the atmosphere of your mind"

Attitude ไม่ใช่ทุกอย่าง เพราะไม่สามารถทดแทน พลังงาน  ความเฉลียวฉลาด แต่เป็น หางเสือ ในเหตุการณ์เดียวกัน จะตอบสนองออกมาในรูปไหน  เช่น ตรวจ OPD คนไข้เยอะ จะตอบสนองด้วยการรีบๆ ตรวจให้เสร็จไป
หรือ ใช้เป็นโจทย์ปรับปรุงระบบทำงาน

สรุป จึงเป็นสำคัญมาก ขอบคุณมากคะที่เพิ่มเติมให้


สุขภาพคนเข้มแข็ง องค์กรเข้มแข็ง

องค์กรเข้มแข็ง สุขภาพคนเข้มแข็ง

เชื่อว่าเป็นส่วนของกันและกันคะ

ความเครียดจากที่ทำงาน อาจมีผลให้หูอักเสบได้เหมือนกันนะเออ


สวัสดีคะ  เมื่ออ่านบันทึกของอาจารย์หยั่งรากฯ แล้วสบายใจ
รู้สึกได้ว่าผู้เขียนสามารถจัดการความเหนื่อยล้าภายในตนได้อย่างดี
จนไม่มีความรุ่มร้อน เจือปนเข้ามาในบันทึกคะ 
...
สมัยเรียน เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งสอนว่า
อย่าเขียนด่าใคร ทางโซเชียลมีเดีย
เพราะเป็นสิ่งบ่งชี้วุฒิภาวะ 
(วุฒิภาวะ คือ การรู้จักคิดถึงผู้อื่นมากขึ้น)

ขอบคุณคะ


ขอบคุณคะอาจารย์วัส  
ตอนนี้ หูหายดีแล้ว เชิญมาเผาอีกทีได้เลยคะ 555


เต็มที่ครับ คุณหมอบางเวลากิ๊บก๊าบ ;)...


ขอบคุณคะ พี่ใหญ่ อ่านความเห็นแล้ว ปิ๊งแวบ
บอก 'วิธีให้' Palliative care ให้แพทย์เข้าใจในระยะเวลาสั้นๆ
คือ 'ทำเต็มที่' = รักษาให้ดีที่สุด *พร้อมๆ กับ* สื่อสารกับผู้ป่วยและญาติให้ดีที่สุด  เท่าที่เราจะทำได้





ขอบคุณคะครูตูม  ที่ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน

เรื่อง Mindfulness กับสิ่งที่จะทำตรงหน้า เป็นเรื่องพูดง่ายแต่ทำยากมาก 

วันนี้ มีสิ่งกระทบปมในใจ ทำเอาเครื่องรวนไปชั่วโมงเศษ กว่าจะดึงตัวเองกลับมา 

"อดีตผ่านไปไม่อาจหวน ได้เพียงบทเรียน ให้เราทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้านี้ให้ดีที่สุด"


ขอบคุณคะ พี่หมอรุ่ง
เห็นด้วยคะ 'ริเริ่มก็ต้องมีคนคอยเชียร์'  กำลังใจในปริมาณเหมาะสม ก่อให้เกิดพลังทำงาน

ในวันนี้ที่ปมโดนสะกิด ทำเอาขาดสมาธิจดจ่อกับงานตรงหน้า (ซึ่งจ่อจริงๆ)
ก็ได้เยียวยาตนเอง โดยมาเขียนตอบความเห็นในนี้
การเขียน ก็เหมือนคุยกับตัวเรานั่นเอง
ในโลกทีผู้คน สาละวนกับเรื่องของตัวเอง ปรารถนาความสนใจจากผู้อื่น...จนลืมใส่ใจผู้อื่น
ไม่่มีใครให้กำลังใจเรา ได้ดีเท่ากับตัวเอง นะคะ


ขอบคุณคะอาจารย์เดชา เสียดายวันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมาไม่ได้พบกันนะคะ


ขอบคุณคะอาจารย์ขจิต

คิดว่า องค์กรที่น่าไว้วางใจจากรากฐาน คือคนทำงานมีสมาธิในงานตรงหน้าคะ

เหตุการณ์เร็วๆ นี้ ทำให้เห็นผลเสียของการฟุ้งซ่าน

และการเขียนช่วยให้เราเห็นความคิดตัวเอง จนสะสางได้

 "I write to discover what I think"  Joan Didlon



  ขอบคุณคะ คุณหมออดิเรกมีส่วนร่วมปลูกบล็อกเกอร์ในที่นี้ รวมทั้งตัวเองด้วย 

ดูภาพที่บันทึกสิ่งเล็ก สิ่งน้อย แสดงถึงความละเอียดช่างสังเกต สิ่งรอบตัวน่าชื่นชมยิ่งนักคะ


ขอบคุณ ดร.ป๊อป เช่นกันคะ ที่กรุณาสร้างสรรค์พื้นที่ความสุขด้วยกิจกรรมบำบัด

ย้อนมองไป ตอนที่เราขาด Mindfulness เราก็ขาด Maturity ไปด้วยคะ

รู้สึกตัวเอง เมื่ออายุมากขึ้น ประสบความสำเร็จมากขึ้น ยิ่งอันตรายที่จะหลุดกลับไปมีนิสัยเด็กๆ (Self center)

เพราะไม่ค่อยมีใครกล้าเตือน :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท