พักสายตา




***** อีกมุมหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ภูพาน มุมทอผ้า มีหุ่นขี้ปึ้งจำลอง คุณยายนั่งทอผ้า และอุปกรณ์ต่างๆ นานา ภาษาอีสานของผู้เขียนเรียก "ตำหูก" ไม่แน่ใจว่าที่อื่นเรียกอะไร แม้คำศัพท์จะแตกต่าง แต่เชื่อแน่ว่าฝีมือที่บรรดาบรรพบุรุษและปราชญ์ชาวบ้านทั้งหลายที่ได้ทำนั้น สวยงามยิ่งนัก ขอมอบภาพที่ระลึกเพื่อเตือนความทรงจำ เพราะหลายหมู่บ้านแทบไม่มีให้เห็นอีกแล้ว 


หมายเลขบันทึก: 518405เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2013 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2013 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

หูก กี่ของแม่ยังเก็บไว้ทุกชิ้นอยู่เลยค่ะ

คุยกับเด็กๆว่า จะใช้เชือกเส้นใหญ่ ร้อยเป็นแถวแขวนใต้ถุนบ้าน

ซึ่งมีคันไถและไม้ชิ้นสารพัดเสียบเก็บไว้อยู่

จะนำกี่ที่มีไม้ชิ้นยาวๆขนาบข้างมาแอบข้างบันได

ให้เรียนรู้ ว่าการทอผ้าสมัยทวด ทำกันอย่างไร

เด็กๆ บอกไม่อาววว "รก" อีกแล้ว

จะสะสางบริเวณให้เป็นลานกีฬา วิ่งเล่นกันท่าเดียว :)

ขอบคุณ ที่นำมาให้ชมนะคะ


เครื่องใช้ไม้สอย  เหล่านี้ เป็นเทคโนโลยีของชาวบ้านโดยแท้จริง  และมักจะแฝงคุณค่าไว้มากมาย  คนในยุคใหม่น้อยคนนักที่จะมองเห็นคุณค่าเหล่านั้น  เพราะ "เงิน" ไปบดบังสายตาหมด  ชิ้นงานของภูมิปัญญาเหล่านี้กว่าจะได้มา ต้องใช้จิต วิญญาณ ใส่ลงไปในชิ้นงานแต่ละชิ้น  ความพิถีพิถันละเอียดลออ  ที่ถ่ายทอดออกมาจึงไม่ได้หมายความถึง "เงินตรา"  หากแต่เป็นคุณค่า ลองไปดูผ้าไหม ผ้าฝ้าย ที่ทอแล้วก็ได้  และเปรียบเทียบดูระหว่างเครื่องจักร กับเครื่องมือเหล่านี้  หรือว่า เริ่มจะหาดูได้ยากแล้ว

ขอบคุณที่นำภาพนี้มานำเสนอนะครับ  แม้เด็กเพียงหนึ่งคนเห็นคุณค่า  ก็เกินคุ้มแล้วครับ

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

มีอะไรที่น่าศึกษามากมาย

ขอบพระคุณผู้รู้ทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ อุปกรณ์เหล่านี้ผู้เขียนเคยได้ทำแค่ เข็นฝ้าย ง่ายสุดค่ะ นอกนั้นฝีมือไม่ถึง แม่ทำเองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท