โล่รางวัลที่ถูกลืม


รางวัลแรกที่ผมได้รับ ผมเก็บมันไว้จนผมลืม เพราะนานเกินไป แต่ขณะนี้ผมค้นเจอ จึงอยากจะขอเก็บประสบการณ์หนึ่งไว้ในบล็อกG2K นะครับ

                       ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า ผู้เขียนอยากจะเก็บประสบการณ์หนึ่งไว้ในบล็อกG2K เพราะว่าค้นพบโล่รางวัลและภาพถ่ายที่ถ่ายไว้นานร่วม๓o ปีแล้วครับ เมื่อครั้งนั้นผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมคณะไปศึกษาดูงานด้านการพัฒนาการเกษตร ตามโครงการปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรแห่งประเทศไทย  เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๖ ได้มีการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่มีผลงานดีเด่นในระดับจังหวัด(ซึ่งเคยได้รับโล่รางวัลจากอดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรที่ชื่อดร.พิสิษฐ์ ศศิผลิน เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๕) ได้ไปศึกษาดูงาน ณ.ประเทศอินโดนีเซียเป็นระยะเวลาประมาณ ๑ เดือน ซึ่งอาจจะเป็นการให้ขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับภาคสนาม เท่าที่จำได้คือช่วงที่ไปศึกษาดูงานเดือนมิถุนายน ๒๕๒๖   แต่มันเป็นรางวัลแรกที่ผมได้รับ ผมเก็บมันไว้จนผมลืม เพราะนานเกินไป แต่ขณะนี้ผมค้นเจอ จึงอยากจะขอเก็บประสบการณ์หนึ่งไว้ในบล็อกG2K นะครับ
                 
                                             โล่รางวัลที่เคยได้รับประจำปี ๒๕๒๕

                           หากจะย้อนถึงวิธีการทำงานด้านการส่งเสริมการเกษตรสมัยนั้น เราเรียกว่า ระบบT&V(ย่อมาจากTraining and visit system) หากจะแปลเป็นไทย ก็คือระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน นั่นเอง นักส่งเสริม ๑ คนต้องรับผิดชอบครัวเรือนเกษตรกร ประมาณ๑,ooo ครัวเรือน โดยจะต้องมีการจัดทำแผนเยี่ยมเกษตรกร ในรอบ ๒ สัปดาห์( ๑ ปักษ์) จะต้องเยี่ยมครัวเรือนเกษตรกรให้ครบ ๑,ooo ครัวเรือน


                             การออกไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรในแต่ละครั้งตามแผนเยี่ยมจะต้องเยี่ยมเป็นรายบุคคลหรือรายครัวเรือน เมื่อเราไปเยี่ยมที่บ้านเกษตรกรไม่พบบางครั้งจะต้องตามไปเยี่ยมในไร่นาเลยทีเดียว การไปเยี่ยมต้องมีประเด็นในการพบปะโดยสอบถามว่าเกษตรกรทำการเกษตรหรือประกอบอาชีพเกษตรกรรมอาจจะรวมไปถึงการจัดการฟาร์มของตนเองพบปัญหาอะไรบ้าง จากนั้นก็ต้องทำหน้าที่เป็นครูนอกระบบ ทำการให้คำแนะนำในเรื่องนั้นๆแก่เกษตรกรเป็นการเฉพาะรายบุคคล หากมีปัญหาหนึ่งปัญหาใดที่นักส่งเสริมตอบหรือให้คำแนะนำแก่เกษตรกรไม่ได้ จะต้องรีบนำตัวอย่างของจริงในปัญหานั้นๆกลับมาปรึกษานักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่อยู่ประจำสำนักงานเกษตรจังหวัด หรือบางปัญหาอาจจะแก้ไขได้ในระดับเกษตรอำเภอโดยเกษตรอำเภอจะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้วย

                  ภาพถ่ายขณะที่ไปศึกษาดูงาน ที่ประเทศอินโดนีเซียเมื่อเกือบ ๓oปี แล้วครับ
              
               ณ.บริเวณกระทรวงเกษตรและป่าไม้              ณ. สถานทูตไทยประจำกรุงจากาต้าร์
             
    ณ.หมู่บ้านบัมบังล์ บนเกาะบาหลี (หมู่บ้านพัฒนา)             ณ.บริเวณหน้ากระทรวงเกษตรและป่าไม้

                            จากนั้นในรอบ ๒ สัปดาห์(๑ ปักษ์) ในระดับจังหวัดจะมีการจัดประชุม-สัมมนาเชิงปฏิบัติการรายปักษ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบครัวเรือนเกษตรกร ได้นำประเด็นปัญหาจากการที่ได้ปฏิบัติงานที่ผ่านมาเข้าหารือในที่ประชุมครั้งนี้ เพื่อร่วมกันวินิจฉัยหรือหาแนวทางแก้ไข แล้วนักส่งเสริมที่นำประเด็นปัญหามา จะต้องนำคำตอบไปตอบให้เกษตรกรรายที่มีปัญหาอีกครั้งหนึ่ง

                             นับว่าการทำงานของนักส่งเสริมสมัยนั้น เราทำงานสนุกสนานมาก  เข้ากับชุมชนได้อย่างแท้จริง ไปที่ไหนๆคนที่อยู่ในชุมชนเขารักนักส่งเสริมการเกษตรมาก การทำงานค่อนข้างจะได้ผลดี แต่ปัจจุบันนี้ระบบT&V ก็ได้พัฒนาปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกันครับ


เขียวมรกต
๔ ก.พ.๕๖

หมายเลขบันทึก: 518402เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2013 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

  • ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ ดร.ธวัชชัย
  • ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจเสมอมา

  • ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์นุ
  • ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจ

  • ขอบคุณครับ ท่านหนุ่มกร
  • ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจ

  • ขอบคุณครับ ท่านtuknarak
  • ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจกันเสมอมา

  • ขอบคุณครับ คุณมะเดื่อ
  • ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจครับ

  • ขอบคุณครับ  ทพญ.ธิรัมภา
  • ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจเสมอมา

นานมากน่ะท่านเขียว เมื่อก่อนเกษตรคือขวัญใจชาวบ้าน 

กลุ่มเกษตรที่ขึ้นตรงต่อกรมส่งเสริมเกษตรก็มีความเข้มแข็งในการผลิต 

ปัจจุบันมาขึ้นกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ การผลิตอ่อนแอลงแต่ไปเข้มเรื่องตรวจทำบัญชี งบดุล การประชุม ตัวชี้วัดเกณฑ์มาตรฐาน 

เกษตรก็วางมือไม่ได้มาส่งเสริมกลุ่มเหมือนเมื่อก่อน ความสัมพันธ์เบาบาง

ลง 

จำเพลงยุวเกษตรสมัยก่อนที่ร้องว่า

 "เกษตรนี้หล่อจริงๆ 

ผู้หญิงเขาอยากรู้จัก 

เกษตรนี้หล่อยิ่งนัก

ถ้าใครรู้จักได้กินผักฟรี"

ยังจำได้ดี

ขอบคุณที่นำโล่ห์มาให้หวนคิดถึงเกษตรครั้งก่อนเก่า

  • ขอบคุณครับ ท่านวอญ่า
  • ที่กรุณาแวะมาเติมเต็ม  ครับ

  • เกียรติคุณจากผลการทำงาน ..ในอดีต  เป็นสิ่งที่น่าจารึก จดจำและชื่นชมยกย่อง อย่างไม่อายฟ้าอายดิน
  • ปัจจุบัน..กำลังถูกกระแสเงินไหลบ่าท่วม..จนยากแก่การเยียวยา

  • ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์สามสัก
  • ที่กรุณาให้เกียรติ์มาเติมเต็ม
  • และดีใจสุดๆๆๆที่อาจารย์แวะมาให้กำลังใจครับ

-สวัสดีครับท่านเขียวมรกต

-ตามมาอ่านบันทึกนีอีกครั้ง แม้จะผ่านมา 4 ปีแต่ก็ยังมีความรู้มากมายนะครับ

-ณ เวลานี้ระบบ T&V ถูกกลับนำมาใช้ทำงานในระบบส่งเสริมการเกษตรอีกครั้ง ตัวผมเองคงได้ร่วมใช้วิธีการส่งเสริมฯแบบนี้อย่างเต็มที่ เคยได้ฟังพี่ ๆ อายุ 50+ เล่าให้ฟังเกี่ยวกับระบบนี้ มาดูปี 2017 ว่าระบบนี้จะเป็นอย่างไรนะครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท