กิจกรรมบำบัดกับสุขภาวะ


ทุกคนต้้องการพลังชีวิตเพื่อให้ กาย จิต และใจสามารถพัฒนาไปสู่ความสุข

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2556 ได้มีโอกาสเข้าร่วมและจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะด้วยกิจกรรมบำบัด" ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 2 ที่จัดโดย อ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาจากหลากหลายอาชีพ หลากหลายบทบาท ได้แก่ เจ้าหน้าที่และพนักงานในหน่วยงานรัฐ บุคคลที่ทำงานอิสระซึ่งต้องการให้ตนเองมีสุขภาวะที่ดีทั้งใจและกาย พ่อแม่ของเด็กกลุ่มอาการออทิสติกที่ต้องการหาคำตอบเพิ่มเติมว่าแนวทางใดจะสามารถช่วยเหลือลูกของตนเองให้ได้ดีที่สุด และคุณครูที่ดูแลเด็กกลุ่มอาการออทิสติกต้องการทราบแนวทางที่จะนำไปใช้ในการช่วยเหลือเด็กที่โรงเรียน

จากการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงพลังชีวิตนั้น แต่ละคนต้องค้นหาพลังชีวิตจากจิตที่มาจากการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ดนตรี ศิลปะ และวรรณกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี หรือในวัยผู้สูงอายุ จะเห็นได้จากในช่วงวัยเด็กเป็นช่วงวัยที่มีการทำกิจกรรมเหล่านี้ เด็กๆ มีความสดใน มีพลังในการดำเนินชีวิตอย่างมา หรือแม้แต่ในวัยผู้สูงอายุเองก็จะต้องได้มีโอกาสในการทำกิจกรรมเหล่านี้ด้วยเช่นกัย เพื่อให้ยังคงความเป็นผู้สูงอายุที่มีพลังชีวิตอยู่นั่นเอง

พลังชีวิตยังสามารถฝึกได้จาก "ทักษะการทำงาน" โดยทักษะ หมายถึง ฝึกให้มีความสุข รวมกับ ความสสามารถ หากบุคคลใดรู้สึกว่าตนเองไม่มีพลังชีวิต ไม่อยากทำงาน ลองประเมินดูว่าสาเหตุที่ตนเองทำงานไม่ได้นั้นเพราะอะไร โดยการแบ่งงานเป็น 5 ขั้นตอน เช่น การดูโทรทัศน์ สามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. คิดวางแผนว่างต้องการดูอะไร
  2. ตัดสินใจ เพื่อให้เกิดการฝึกพลังชีวิต
  3. เลือกและดูโทรทัศน์
  4. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้
  5. บันทึก

หรือแม้แต่การเจ็บป่วย เช่น ปวดหัว

  1. คิดวิเคราะห์ว่าทำไมจึงปวดหัว
  2. ค้นหาสาเหตุ เช่น โรคประจำตัว แก้ปัญหาโดย การกินยา การพัก
  3. วิธีการที่แตกต่างออกไป เช่น เบี่ยงเบนความคิด
  4. พิจารณาว่ายังคงปวดหัวอยู่หรือไม่
  5. ดำเนินการกินยา อาบน้ำ น้ำอุ่
จะเห็นได้ว่าการวางแผนได้จะเป็นการฝึกกาย ฝึกจิต และฝึกใจให้คิด หรือมีสติต่อการดำเนินชีวิตและเสริมสร้างพลังชีวิตตามมานั่นเอง

การแลกเปลี่ยนจากคุณพ่อที่มีลูกเป็นAutistic Disorder (AD) ถ่ายทอดความรู้สึกที่จะนำพาครอบครัวไปสู่ความผ่อนคลายและมีพลังชีวิต โดยจะนำภาพในอดีตมาถ่ายทอดและเล่าเรื่องประสบการณ์กับลูกชาย และให้ลูกชายฟังเพลง หรือให้ลูกเล่นดนตรีที่ชอบและดูภาพ เพื่อให้มีพลังชีวิต ได้ใจที่เป็นความคิดใหม่ที่สามารถนำมาเชื่อมโยงและใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งสื่อการใช้ภาพนี้มักเรียกกันว่า empowerment media
สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางกายได้มีการนำเสนอสิ่งที่ควรทำอยู่ 5 ประเด็น ดังนี้

  • การค้นหากิจกรรมใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงความคิด โดยในช่วงแรกนั้นวิทยากรได้นำเสนอว่าแต่ละคนควรมี 3 โปรแกรมสำหรับตนเอง เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมการดำเนินชีวิตและทำใน 21 วัน เช่น โปรแกรมการเพิ่มความมั่นใจ การผ่อนคลาย หรือความจำ
  • การจัดการพลังงาน
  • การจัดการเวลา
  • การจัดการความคิด หรือจิต ให้เกิดปัญญา
  • ให้ร่างกายได้ออกกำลังกาย ออกกำลังกายเพื่อใจให้มีความสุข
จะเห็นได้ว่า ทุกคนต้้องการพลังชีวิตเพื่อให้ กาย จิต และใจสามารถพัฒนาไปสู่ความสุข การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดี แต่ทุกคนก็จะต้องสร้างพลังชีวิตให้ตนเองด้วย ถ้าเรามีพลังชีวิตมาก ผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือก็จะมีพลังชีวิตมากขึ้นตามไปด้วย


หมายเลขบันทึก: 517863เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2013 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท