ไม่ได้หวังว่ารัฐมนตรีจะอ่าน


   วันนี่นอนวันหลับ ตื่นตั้งแต่ตี 3 ความจริงตื่นตี 3 ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลก แต่ว่า5 ทุ่มก็ย้งไม่ยอมหลับน้่นละซิ ในสมองครุ่นคิดแต่งานในโรงเรียน  จะพาโรงเรียนให้ไปรอดได้อย่างไร สำหรับปีการศึกษาหน้า  วิกฤตการบริหารงานบุคคลที่รอให้เราจัดการ  นักเรียนวันนี้มีจำนวน 74  คน กับครูตาม จ.18  มีอยู่ 3 คน  โรงเรียนต้องตัดสินใจจ้างครู 2 คน  1 ปีการศึกษาต้องใช้เงินเพื่อการจ้างไม่น้อยกว่า 144,000. บาท ในขณะที่งบประมาณรายหัวๆละ 1,900 บาท  คูณ 74 คน คิดดูซิว่าโรงเรียนมีงบประมาณเท่าไหร่  โรงเรียนใช้งบประมาณเพื่อการนี้มากกว่าร้อยละ 85    อีร้อยละ15 ค้องใช้ดำเนินงานใหนจะค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายทุกเดือนๆละไม่น้อยกว่า  1,300  บาท ยังมีจิปาถะที่ต้องจ่าย

ปัญหาการบริหารงานบุคคลระดับประถมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เราติดกับอยู่กับกรอบมากจำนวนครูไหนว่า 20 : ๅ  ของโรงเรียนวัดศิลาราย นักเรียน 74 คน ตามกรอบต้องให้ครู 4  คน  แล้วปีการศึกษาหน้า หลังสิ้นกันยายน ครูจะเกษียณอีก 1 คน  โรงเรียนจะอยู่อย่างไร  นั่นหมายถึงว่าโรงเรียนจะมีครูตาม จ.เพียง 2 คน   ในขณะเดียวกัน ปีหน้ามีแนวโน้มนักเรียนจะเพิ่มอีกเล๋กน้อย  หากโชคดีมีนักเรียนถึง 80 คน ขึ้นไป นั่นหมายถึงดรงเรียนมีสิทธิ์มีครูได้ 5 คน  จำนวนห้องต้องเปิดเต็ม คือ 6 ห้อง    เข้านะว่าระดับคุมนโยบายถูกคุมด้วยกรอบ กพร.  บวกอาการความรุรแรงของความขาดแคลน บางโรงเรียนขาดแคลนมากกว่า

สำหรับวิธีคิดของโรงเรียน

1.ถ้าไม่ให้คน  ก็ต้องให้เงินตามกรอบที่โรงเรียนพึงได้  เรียกว่าให้โรงเรียนจ้างครูชั่วคราวปีต่อปีไปก่อน  เมื่อไหร่นักเรียนลดต่ำกว่ากรอบ หรือสัดส่วน ก็ตัดงบนี้ไป ต้องอย่าลืมว่า กระจายอำนาจทางการศึกษา  กระทรวจคุมหลักเกณฑ์ไว้ คนที่กำกับแทนกระทรวจคือสำนักงานเขตพื้นที่ฯ  หากโรงเรียนต้องการงบนี้ไว้ก็ต้องพยายามรักษาจำนวนนี้ไว้หรือพยายามเพิ่มให้มากยิ่งขึัน  เพราะนั่นคือ การเติบโต

2.การพิจารณาให้งบประมาณจ้างครูก็ต้องเอาเกณฑ์ว่าโรงเรียนใดมีรายได้สถานศึกษามากน้อยแค่ใหน หลายๆโรงเรียนก็ไม่มีรายได้สถานศึกษาเลย  แต่หลายๆโรงเรียนก็มีรายได้สถานศึกษามากมาย  บางแห่งเรียกได้ว่าเหลือเฟื้อ  จนกลายเป็นแหล่งแวงหาผลประโยชน์เลยก็มี   ข้อเท็จจริง ในระดับพื้นที่  หน่วยงานบังคับบัญชาสำนักงานงานเขตพื้นที่สามารถรู้ได้    เรียกว่าบางโรงเรียนสามารถเอาเงินส่วนนี้จุนเจือตัวเองไอ้  แต่บางโรงเรียน จะไม่มีโอกาสอย่างนั้น  การพิจารณาจึงต้อง case  by  case

3. การทำงานของบุคลากร  คงไม่ใช่ ต้องการเพียง 2 ขั้น เสมอไป ทุกคน  แต่เหนือไปกว่านั่นคือ การที่โรงเรียนเติบโตและมีคุณภาพอยู่คู่ชุมชน   สิ่งที่เขาเหล่าต้องการคิอ ขวัญกำลังใจ เขาจะมีความรู้สึกว่า เขาไม่ได้โดดเดี่ยว เดินลุยอยู่แต่ผู้เดียว  หน่วยเหนือเห็น  และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้โรงเรียน   อยากเห็นมิติการทำงานที่เชิงสร้างสรรค์  กับบทบาท  ที่พอถึงเวลา ก็มาประเมินนั่นประเมินนี้  ฟังรายงานสะท้อนความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคแล้วก็ทุกอย่างก็เหมือนเดิม  อย่าให้โรงเรียนบางโรงเขาว่า มาโรงเรียน ฟังรายงาน  กินกาแฟ  เซ้นต์บันทึก ฯ  ไปปัสสาวะ(ไปเยี่ยว)  แล้วก็กลับ  

4. หลักการบริหาร หากมี Inputs  (เติม s เสียด้วยนะ) ที่เพียงพอ  โรงเรียนหลายๆโรงเขาบริหารได้ คนที่ตั้งใจทุ่มเทนั้นมีอยู่  แล้วไปกำกับตัว Process  และ ตัว Results ไปดู ทั้งOutputs  และ Outcomes ดูให้ถึง Impacts  เอามิติ  BSC  มาจับก็ได้  อย่างนี้เป็นไอเดียที่ดีหรือไม่

ผู้เขียนๆสิ่งเหล่านี้ในมุมมองวิชาการ  ไม่มีเจตนาว่าใคร   แม้ภาษาเป็นภาษาพูด  มันไม่ใช่บทความ  แต่ต้องการสื่อสารให้ผู้อ่านได้ร่วมรับรู้  เรียกว่า Share  ใช่ไหม

หมายเลขบันทึก: 517544เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2013 06:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2013 06:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท