KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๘๔. ใช้ KM ให้พรปีใหม่


เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่ จัด “วงอวยพรปีใหม่จากการทำงาน” ให้ทุกคนในหน่วยงานย่อย เปิดใจตนเอง และชื่นชมเพื่อนร่วมงาน ว่าเมื่อคำนึงถึงเป้าหมายของหน่วยงาน และขององค์กรในภาพรวม ตนเองชื่นชมผลงานใดของหน่วยงาน และของเพื่อนร่วมงาน และคิดว่าผลงานนั้นเกิดขึ้นได้เพราะอะไร และตนเองภูมิใจผลงานอะไรของตนเอง คิดว่าผลงานนั้นเกิดขึ้นได้เพราะอะไร


          วันที่ ๑๖ ม.ค.​ ๕๖ ผอ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม รศ. ดร. สุรีย์พร พันพึ่ง, ศ. ดร. อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ (อดีต ผอ.) และคณะ มาสวัสดีปีใหม่ และขอพร   ผมจึงได้โอกาสสร้างนวัตกรรมในการให้พร 

          เป็นการเสนอให้ทุกคนในสถาบันให้พรตนเอง และร่วมกันให้พรแก่กัน  โดยใช้เครื่องมือ KM

           ผมบอกว่าที่จริงเราสามารถให้พรตนเอง และให้พรแก่กันได้ทุกวัน  และในโอกาสใหญ่คือช่วงปีใหม่ของทุกปี  โดยเชื่อมโยงกับการทำงาน 

          บรรยากาศของการให้พร เป็นบรรยากาศของความสุข ความปรารถนาดีต่อกัน  การทำงานควรสร้างบรรยากาศนี้ได้  หรือ เราควรช่วยกันทำให้การทำงานสร้างบรรยากาศนี้ได้ ... บรรยากาศของ Happy Workplace

          เนื่องจากการจัดการสมัยใหม่ มีการกำหนด Common Goals ของหน่วยงานไว้อย่างชัดเจนมาก  และมีการทำข้อตกลงเป้าหมายผลงาน (Performance Agreement) ของหน่วยงาน และของบุคคล ไว้อย่างชัดเจนด้วย

          ทุกคนจึงควรได้ให้พรความสุขแก่กัน และรับพรความสุขจากกัน  เชื่อมโยงกับเป้าหมายการทำงาน

          วิธีการทำโดยในเดือนกุมภาพันธ์ จัด “วงแลกเปลี่ยนเป้าหมายความสุขจากการทำงาน”  ให้ทุกคนในหน่วยงานย่อยๆ(สมาชิก ๑๐ - ๓๐ คน) มารับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน  และ ‘เปิดใจ’ (dialogue) ต่อกัน ว่า  ตามเป้าหมายผลงานของหน่วยงานที่ไปสัญญากับหัวหน้าหน่วยเหนือขึ้นไปนั้น  ตนเองจะมีความสุขมากในตอนปีใหม่ถัดไป หากผลงานของตนบรรลุสิ่งต่อไปนี้ .....  โดยตนเองมีแผนจะทำงานดังต่อไปนี้ .....

          ทุกคนเปิดใจ และบันทึกไว้ 

          เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่  จัด “วงอวยพรปีใหม่จากการทำงาน”  ให้ทุกคนในหน่วยงานย่อย  เปิดใจตนเอง และชื่นชมเพื่อนร่วมงาน ว่าเมื่อคำนึงถึงเป้าหมายของหน่วยงาน และขององค์กรในภาพรวม  ตนเองชื่นชมผลงานใดของหน่วยงาน และของเพื่อนร่วมงาน  และคิดว่าผลงานนั้นเกิดขึ้นได้เพราะอะไร  และตนเองภูมิใจผลงานอะไรของตนเอง  คิดว่าผลงานนั้นเกิดขึ้นได้เพราะอะไร 

          นี่คือรูปแบบหนึ่งของการใช้ KM สร้าง Collective Happiness

          เป็นเครื่องมือ เปลี่ยนวัฒนธรรม หรือ mindset  ว่าความสุขอยู่กับงานได้  ไม่ใช่อยู่กับการไม่ทำงาน



                                                                                                                            วิจารณ์ พานิช

                                                                                                                           ๑๗  ม.ค. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 516535เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2013 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2013 08:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

..... มีความสุขกับการทำงาน ..... ไม่ใช่มีความสุขกับ "ไม่ได้มำงาน" ......

ขอบคุณมากค่ะท่านอาจารย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท