(ร่าง) โครงการส่งเสริมการสหกรณ์ประชาคมอาเซียน


การสหกรณ์ ใน อาเซียน

                                                                                            

                                                                           (ร่าง)    
                                        โครงการส่งเสริมการสหกรณ์ประชาคมอาเซียน

1. หลักการและเหตุผล

สหกรณ์ (Cooperative) เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจเพื่อสนองความต้องการอันจำเป็นและความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจ ที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย (A co-operativeis an autonomous association of person united to meet their common economic , social }and culture needs and aspirations through a jointly-owned and democratically –controlled enterprise.)

การสหกรณ์นั้นเป็นการร่วมมือ สร้างสรรค์ แบ่งปัน ช่วยเหลือ เกื้อกูล เพื่อให้คนที่มารวมกันนั้นมีความสุขร่วมกัน จากการรวมกันด้วยวิธีการสหกรณ์  การนี้เป็นสากลทั่วโลก ประชาชนในประชาคมอาเซียน  สามารถเชื่อมโยงบริการกันผ่านบริการของเครือข่ายสหกรณ์ในประชาคมอาเซียนได้ตามหลักการสหกรณ์ที่ 6 การร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์ : สหกรณ์สามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้ โดยการประสานความร่วมมือในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ (6 th Principle : Co-operation among Co-operatives Co-operatives serve their members most effectively and strengthen the co-operative movement by working together though local, national, regional and international structure)

 การรวมกลุ่มประชาชนในประเทศไทยนั้น ทุกกลุ่มสามารถใช้วิธีการสหกรณ์ในการรวมกันเพื่อความสุขร่วมกันได้ทุกกลุ่ม และการรวมกลุ่มกันโดยวิธีการสหกรณ์ก็เป็นสิ่งที่คนไทยได้รับรู้รับทราบจากการปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันของสงฆ์เป็นคณะสงฆ์ ร่วมกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งถูกถ่ายทอดมาจากบรรพชน  เป็นเรื่องที่คนไทยคุ้นเคยดีทำได้ง่ายอยู่แล้ว  แต่เครือข่ายระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนและทั่วโลกที่เป็นสากลและทุกประเทศในภูมิภาคใช้อยู่คือ เครือข่ายสหกรณ์(Co-operative) และเครือข่ายกลุ่มเกษตรกร (Farmer group) ดังนั้นกรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมการรวมกลุ่มโดยใช้วิธีการสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการสหกรณ์ในประเทศอาเซียนขึ้น

2. วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้เครือข่ายสหกรณ์ประชาคมอาเซียน และเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรประชาคมอาเซียน เป็นเครือข่ายแห่งการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เกื้อกูล กัน เพื่อความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อความสุขจากการร่วมมือกัน ของประชาชนในประเทศอาเซียน

2.  เพื่อให้เครือข่ายสหกรณ์ประชาคมอาเซียน มีการแลกเปลี่ยนบริการทางสินค้า และบริการทางการเงิน ระหว่างกัน

3.  เพื่อให้เครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประชาคมอาเซียน เป็นเครือข่ายทางความรู้ วิทยาการ ที่เหมาะสม แก่สมาชิกสหกรณ์ และสมาชิกกลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป  รวมทั้งทำวิจัยเพื่อพัฒนากลุ่มประชาคมอาเซียน

4.  เพื่อให้ราษฎรในประชาคมสามารถช่วยเหลือกันได้ด้วยวิธีการสหกรณ์ โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศลดการช่วยเหลือแบบให้เปล่าลง

5.   เพื่อก้าวสู่การเป็น สหภาพอาเซียน (ASEAN Union) ด้วยวิธีการสหกรณ์เป็น ทางเลือกหนึ่ง

6.  เพื่อเผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านเครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และเผยแพร่ความรู้เรื่องทฤษฏีใหม่ แก่ประชาคมอาเซียนเพื่อนำไปใช้ให้เกิดความสุขความเจริญ

3. เป้าหมายโครงการ เมื่อสิ้นสุดโครงการในปี 2560

  1. มีเครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในประชาคมอาเซียนที่ทำหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็ง บนเงื่อนไขวิชาการ และคุณธรรม

  2. ประชาคมอาเซียนมีการแลกเปลี่ยนบริการสินค้า และบริการทางการเงิน ผ่านเครือข่ายสหกรณ์ ระหว่างกัน ครบทุกประเทศในประชาคมอาเซียน

  3.  มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างกันทางวิชาการ  มีการทำวิจัยร่วมกัน มีการให้การศึกษาอบรม ระหว่างกัน  ผ่านเครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในกลุ่มประเทศ อาเซียน อย่างสม่ำเสมอ

  4.  รัฐบาลของประเทศในภูมิภาคอาเซียนสามารถลดการช่วยเหลือแบบให้เปล่า

  5. สามารถเผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านเครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และเผยแพร่ความรู้เรื่องทฤษฏีใหม่ แก่ประเทศในภูมิภาคอาเซียน

4. วิธีการดำเนินงาน

  1. ส่งเสริมและสร้างความแข็งแกร่งของเครือข่ายสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรในภูมิภาคอาเซียน ตามหลักการสหกรณ์ที่ 6:การร่วมมือระหว่างสหกรณ์  (6th Principle: Co-operation among Co-operatives)

  2. ร่วมมือสร้างเครือข่าย การวิจัยทางสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร ในภูมิภาคอาเซียน ตามหลักการสหกรณ์ที่ 5:การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร  (5th Principle: Education, Training and Information)

  3. สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร ในภูมิภาคอาเซียน ตามหลักการสหกรณ์ที่ 5:การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร  (5th Principle: Education, Training and Information)

  4.  ขยายแดนดำเนินงานของสหกรณ์ในภูมิภาคอาเซียนเป็น ทั่วอาเซียน ตามหลักการสหกรณ์ที่ 1 โดยมีการให้บริการทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการประชุมทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ จัดสรรผลประโยชน์ผ่านเครือข่ายอีเล็คโทรนิคส์

  5.  สร้าง เครือข่ายการสื่อสารระหว่างสหกรณ์ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยภาษาสหกรณ์

  6.   เชื่อมโยง สังคม วัฒนธรรม ผ่านเครือข่ายสหกรณ์  ตามเสาหลัก  ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC pillar)

  7. แบ่งปัน แลกเปลี่ยนบริการทางการเงิน ผ่านเครือข่ายสหกรณ์ ตามเสาหลักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (AEC  pillar)

  8.  แบ่งปัน  แลกเปลี่ยนบริการในรูปสินค้า  ผ่านเครือข่ายสหกรณ์  ตามเสาหลักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC pillar)

  9. พัฒนากฎเกณฑ์ กฎหมาย ให้สอดคล้องกับการดำเนินกิจการสหกรณ์ ในสภาพแวดล้อมประชาคมอาเซียน (AC  ASEAN Community) และสามารถรองรับได้จนถึง  สภาพแวดล้อม สหภาพอาเซียน (AU ASEAN Union)ได้ด้วย 

  10. เอื้ออาทรต่อชุมชนอาเซียน ตามหลักการสหกรณ์ที่  7 :ความเอื้ออาทรต่อชุมชน (7th Principle: Concern for Community)

5. พื้นที่ดำเนินงาน  

  จำนวนรวม 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน

6. ระยะเวลาดำเนินการ

  ปี 2556 – 2560 รวม 5 ปี

7. งบประมาณ ใช้งบประมาณรัฐบาลไทย และเงินสนับสนุนจากต่างประเทศ (ถ้ามี)

8. หน่วยงานรับผิดชอบ

  กรมส่งเสริมสหกรณ์

9. หน่วยงานสนับสนุน

  กรมวิชาการเกษตร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม  สำนักนายกรัฐมนตรี ฯลฯ

10. ประโยชน์ของโครงการ

  เมื่อสิ้นสุดโครงการประชาชนในประชาคมอาเซียนมีความสุขจากการรวมกันเป็นเครือข่าย สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และ 
  1. มีเครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในประชาคมอาเซียนที่ทำหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็ง บนเงื่อนไขวิชาการ และคุณธรรม

    2. ประชาคมอาเซียนมีการแลกเปลี่ยนบริการสินค้า และบริการทางการเงิน ผ่านเครือข่ายสหกรณ์ ระหว่างกัน ครบทุกประเทศในประชาคมอาเซียน

    3.  มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างกันทางวิชาการ  มีการทำวิจัยร่วมกัน มีการให้การศึกษาอบรม ระหว่างกัน  ผ่านเครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในกลุ่มประเทศ อาเซียน อย่างสม่ำเสมอ

    4.  รัฐบาลของประเทศในภูมิภาคอาเซียนสามารถลดการช่วยเหลือแบบให้เปล่า

    5. สามารถเผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านเครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และเผยแพร่ความรู้เรื่องทฤษฏีใหม่ แก่ประเทศในภูมิภาคอาเซียน

-----------------------------------

หมายเลขบันทึก: 516004เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2013 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2014 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท