ตลาดสินค้าผักปลอดสารพิษ : เรื่องเล่าจาก "กาดวันติ๊ด"


เรามุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับวิถี ในส่วนขององค์ความรู้ เกษตรกรได้รับการพัฒนาศักยภาพทั้งในด้านวิชาการและภาคปฏิบัติเป็นอย่างดี

ผมกับน้องแหม่ม เดินตลาดเพื่อซื้อของเล็กๆน้อยๆ เตรียมเพื่อจะใช้ในเวทีการพูดคุย "การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน" ที่ ชุมชนไทยใหญ่ เมืองปอน อ.ขุนยวมแม่ฮ่องสอน

 

ที่หน้าตลาด ผมเห็นพ่อค้า แม่ค้าผักสวมเสื้อม่อฮ่อม ที่มีโลโก้เครือข่ายเกษตรทางเลือกแม่ฮ่องสอน (คุ้นๆผมก็มี ผมได้มาจาก งานจุลกรรมเกษตรทางเลือก ในวันที่ไปเป็นพิธีกร)

 

เมื่อเดินเข้าไป ก็พบพี่น้องเกษตรกร ที่คุ้นหน้าคุ้นตาในงานพัฒนา ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มานั่งขายผักด้วยหน้าตายิ้มแย้ม ผักเขียวสด น่ากิน เป็นผักปลอดสารพิษ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

น้องแหม่มบอกผมว่า "เป็นการทดลองตลาด" ของเครือข่ายเกษตรทางเลือกแม่ฮ่องสอน" เป็นโครงการวิจัย ชิ้นหนึ่งภายใต้การทำงานเกษตรยั่งยืน

พี่น้องเกษตรกรจาก อำเภอขุนยวม จึงนำสินค้า มาจำหน่าย ยังตัวเมืองแม่ฮ่องสอน สินค้าประกอบด้วย  ผักปลอดสารพิษ สมุนไพร ข้าวกล้อง ผลไม้ในสวน แชมพู น้ำยาล้างจานอินทรีย์  และเอกสาร หนังสือและอื่นๆอีกมากมาย ที่ผมเห็น

 

ผมสังเกตมีลูกค้า เข้ามาซื้อผักกันมากมาย ไม่ขาดสาย เป็นกำลังใจให้พี่น้องเกษตรกร ของเราได้เป็นอย่างดี

เราเคยคุยกันหลายครั้ง เรื่องของการตลาด ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การไม่มีตลาดรองรับ สินค้าเกษตรขายไม่ออก  แรงจูงใจจึงไม่มี

น้องแหม่มคุยต่อว่า "จริงๆแล้วที่แม่ฮ่องสอน เรามีการทดลองทำตลาดปลอดสารพิษ แบบนี้มาระยะหนึ่งแล้ว ปัญหาที่พบ กลับไม่ใช่ตลาดที่เกษตรกรร่ำร้อง แต่กลับเป็น ผลผลิตที่เกษตรกรผลิต ไม่เพียงพอ กับแรงซื้อของผู้บริโภค"

เกษตรกรเองมีข้อจำกัดหลายประการ เพราะมีผักเกษตรอินทรีย์ ต้องผลิตในฤดู หากผลิตนอกฤดูก็มีโรค แมลงเยอะ ดังนั้น การขายผัก ขายผลผลิตจึงขึ้นอยู่กับ ผลผลิตที่มีในขณะนั้น

มีผลผลิตที่เกษตรกรรายอื่นๆสนใจ และอยากเข้ามาร่วมขาย เพราะเห็นว่าขายได้ดี แต่กระบวนการตรวจสอบเพื่อเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ที่ปลอดสารพิษจริงๆ ต้องใช้เวลาพิสูจน์ การดำเนินการตรงนี้จึงค่อยเป็นค่อยไป 

ตลาดทดลองใน "ตลาดนัดวันติ๊ด" (ตลาดวันอาทิตย์) ไม่เพียงแต่เป็นการเปิดตลาดสู่ผู้บริโภคอาหารปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพเท่านั้นแต่ยังเป็น การเปิดโอกาสให้เกษตรกรให้ได้สื่อสารกับผู้บริโภค มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน 

 

เรามุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับวิถี ในส่วนขององค์ความรู้ เกษตรกรได้รับการพัฒนาศักยภาพทั้งในด้านวิชาการและภาคปฏิบัติเป็นอย่างดี

การสื่อสารที่เกิดในตลาดสด...วันติ๊ด  จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้อีกรูปแบบที่เราอยากให้เกิดขึ้น

ยิงปืนนัดเดียวได้นกตั้งหลายตัว 

หมายเลขบันทึก: 51536เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2006 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
น่าเดินชม   ผักสดน่ากิน
เรื่องราคาของผัก  เป็นไงค่ะ
ส่วนใหญ่ที่เห็นผักปลอดสาร (ผักกางมุ้ง)  ที่ขายๆ กันในห้างฯ    มาในถุงพลาสติกสวยงาม    ราคาจะแพงกว่าผักทั่วไป  เพราะเค้าต้องลงทุนราคามุ้ง 
.
เอ๊..หรือว่าเพราะ package  สวยเกินไป
เปลี่ยนชื่อ blog ตั้งแต่เมื่อไหร่กันเนี่ย..ไม่ทันสังเกต
.
เกือบหาไม่เจอแน่ะ

พอดีน้องแหม่ม อ่านบันทึกด้วยฝากบอก พี่ Nidnoi ว่า

เราเน้น Package ชาวบ้าน ใช้ใบตองห่อครับ เราไม่อยากให้เกิดขยะที่ไม่พึงประสงค์มากเกินไป

ราคา ถูกมากครับ ส้มโอลูกละ ๑๐ บาท ผักสดๆกำละ ๕ บาท, ๓ บาท  แตงไทยลูกโตๆลูกละ ๑๐ บาท ผมซื้อมาหลายอย่างเลยครับ

ชื่อ Blog เป็นชื่อเดิมครับ แต่เปลี่ยนภาษา เพราะมีเพื่อนต่างชาติ บอกว่า จะได้หาได้ง่ายเวลา search และความหมายเดิมๆ คนเดิมๆครับผม 

เรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ มีความสุขมากเลยครับ

ผักสด ๆ น่ารับประทานทั้งนั้น ..

เเหมตลาดนี้ไม่ใช่แค่ขายผักอย่างเดียวซะแล้วสิ..

อาจารย์ค่ะตลาดนี้มีตลอดไหมค่ะ ?และการนัดมาขายกัน เขาเริ่มกันอย่างไรค่ะ.? (ถามอีกแล้ว)

ขอบคุณมากค่ะ

  • พออยู่พอกิน
  • ชีวิตเรียบง่าย
  • ไร้สารพิษ
  • เกษตรยั่งยืน

          ครบสูตรครับพี่ชาย...

ช่วงนี้ออกเดินทางตะลอนทัวร์ เก็บข้อมูลชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แบบนันสตอป...

ถึงบ้านค่ำนี้เองครับ...

น้องสุภัทร

การได้เรียนรู้และอยู่กับะรรมชาติ ทำให้เรารู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง และมีความสุข

ขอบคุณมากครับ

คุณ Chah

ในการขายผักของกลุ่มนี้ จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับลูกค้าด้วย ซึ่งบรรยากาศการเรียนรู้แบบธรรมชาติแบบนี้ ...น่าสนใจมากครับ

ที่แม่ฮ่องสอนเรา ทดลองตลาดทางเลือกแบบนี้ไปเรื่อยๆ ๑ วันต่อ สัปดาห์ครับ...อาจจะถอดบทเรียน และขยายต่อในอนาคตอันใกล้ครับ

น้องสิทธิเดช

เกษตรยั่งยืน เพื่อสุขภาพ เกษตรปราณีตเพื่อความสุข ความพออยู่พอกินครับผม 

โอ้ เห็นแล้วอิจฉาจริงๆ ครับ

  • ที่แถวที่ทำงานผมแตงโมลูกละ 45 บาท!!
  • ผักกำละ 10 บาท
  • แถมสารพิษอีกต่างหาก
  • ต้องบวกค่าล้างน้ำทิ้งหลายๆ รอบด้วย
  • เรื่องผักไม่พอนี่จริงครับ เพราะแถวบ้านผมทำมาทีแป๊ปเดียวหมด ผมว่าคนสมัยนี้สนใจสุขภาพมากขึ้นยอมจ่ายแพงถ้าได้ของดีๆ ไร้สารพิษครับ

คุณจันทร์เมามาย 

ดูละครช่วงค่ำ เรื่อง "ตะวันรุ่งที่ทุ่งกระทิง" ช่อง ๗ แล้วชื่นใจมากครับ ละครดีๆที่สร้า้งสรรค์แบบนี้ อยากให้มีละครแบบนี้เยอะๆ 

- -ผักราคาแพง แถมสารพิษ เป็นกรรมของผู้บริโภคจริงๆ- -

เราต้องช่วยกันสนับสนุนผักปลอดสารพิษครับ  

 

 

ดีจัง ผักสดๆ สะอาดๆ ถูกๆ มีขายมากมายในเมืองไทย อยู่ที่นี่กินผักต้องมีกะตังค์เยอะหน่อย เพราะมะนาว (Lime) ลูกละ 20 กว่าบาท มะพร้าวลูกละ 90 บาท กล้วยหอมผลละ 30 บาท ผักชีกำที่โชวรืในรูปเค้าตัดรากขาย (กลัวเราเอาไปปลูกกินเอง) กำละ 60 บาท

เมืองไทยอุดมสมบูรณ์จริงๆ ผักสดๆ ราคาแสนย่อมเยา รับประทานผักกันให้เยอะๆ นะคะ เมื่อผักแพงแล้วพอจะอยากรับประทาน อาจจะทานไปกระเป๋าแห้งไปค่ะ

คุณ IS

อยู่เมืองไทย สบายมาก ครับ

ของดีๆทั้งนั้นเลย ครับ ถูก ดี....หากราคาแพง ขนาดที่ออสเตรเลีย เหมือนที่คุณ ISบอกเล่า คงซื้อกันไม่ลง

ทานผักเพื่อสุขภาพกันครับ 

  ขอเอี่ยวด้วยคนนะค่ะ  อยู่แม่ฮ่องสอนค่ะแต่ก็ไม่ได้กินของถูกทุกวัน อย่างที่ทุกคนเข้าใจ  ผักปลอดสารพิษนาน...นานถึงจะมีมาที  พอมีมาทีก็ต้องแห่ไปซื้อค่ะ  เขาเอามาจากต่างอำเภอ  ไกลค่ะกว่าจะขับรถไปซื้อ  แปลกนะค่ะคนแม่ฮ่องสอนส่วนใหญ่ซื้อผักจากเชียงใหม่  ราคาก็แพงมากเพราะบวกค่าขนส่ง  คนแม่ฮ่องสอนไม่ค่อยปลูกผักขาย(อำเภอเมืองนะค่ะ)  ผักพื้นบ้านที่เอามาขายก็จะมีไม่มาก มีตามฤดูเท่านั้น  มีความรู้สึกที่ไม่ดีว่า  สนง.เกษตรไม่ได้ส่งเสริมเกษตรกรเลย  การประชาสัมพันธ์ก็ไม่ดี  จริงๆแล้วคนแม่ฮ่องสอนเป็นคนรักสุขภาพค่ะ  สังเกตจากการออกกำลังกายตอนเย็น มีกลุ่มแม่ค้ามาเต้นแอโรบิคเยอะมาก  ส่วนกลุ่มข้าราชการมีน้อยมาก  อยากให้มีการส่งเสริมกันอย่างจริงจัง   แม่ฮ่องสอนอากาศดี หายใจได้เต็มปอด ถ้ามีอาหารดี  มีการออกกำลังกาย  อายุต้องยืนเป็นร้อยปีแน่ๆๆๆ

ดีใจครับที่มีคนแม่ฮ่องสอน มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วงหลังมีโรงเรียนเปิด Blog คุณครูจึงเข้ามาเขียนบันทึกมากขึ้น ดีครับ จะได้มีเวทีที่คนแม่ฮ่องสอนแลกเปลี่ยนกันครับ

ที่เปิดกันแล้วมี

  • โรงเรียนบ้านเมืองแปง อ.ปาย
  • โรงเรียนบ้านวนาหลวง อ.ปางมะผ้า (มี ๑ Blog)
  • โรงเรียนบ้านทุ่งหลวงวัฒนาคาร อ.ปางมะผ้า (มี ๑ Blog)
  • โรงเรียนบ้านเมืองปอน (แข็งขันกันดีครับ)
  • และ โรงเรียนห้องสอนศึกษา (เปิดกันมากมาย แล้วค่อยๆหายไป) 

..................

ผมเห็นด้วยกับครูกรุณาครับ 

ตอนนี้ที่ตลาดวันอาทิตย์เรามีผักปลอดสารพิษจาก เกษตรกรขุนยวมมาขายทุกวันอาทิตย์ครับ

และยังมีผักจากเกษตรกรในเมืองแถบนั้น มาขายด้วยสอบถามได้ว่าเป็นผักปลอดสารพิษ แต่ต้องตรวจสอบกันอีกหลายขั้นตอนครับ

หมู่บ้านข้างนอก ตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ปลูกครับ แต่ส่วนใหญ่ก็จะปลูกกินกันในครอบครัว กินผักพื้นบ้าน ผักริมรั้ว

พื้นที่ในเขตเทศบาลจริงๆก็แคบ ไม่มีพื้นที่ และมีข้าราชการ คนทำงานอยู่เยอะครับ กลุ่มนี้เองที่เป็นลูกค้าร้านผัก อาบสารพิษจากเชียงใหม่ ... ซึ่งน่าเห็นใจเพราะไม่ค่อยมีทางเลือกเท่าไหร่

ครูกรุณา ช่วยประชาสัมพันธ์ด้วยนะครับ ว่าที่ตลาดวันอาทิตย์ เรามีผักปลอดสารพิษขายที่นั่น อุดหนุนกันมากๆครับ เขาขายไม่แพง ครับ..ผมซื้อมาด้วยตนเอง ผักหลากหลาย

ให้กำลังใจครับ

แสงแดดอ่อนแย้มรับอรุณยิ้ม
พื้นยอดหญ้าเอมอิ่มปริ่มน้ำค้าง
มวลเมฆขาวอาบอวลเนื้อนวลปราง
พรายสะพร่างเก็จพราวราวกลางวัน

ทุกวันคืนพ้นผ่านบันดาลพบ
ดั่งประสบวิมานผ่านความฝัน
ดวงดอกไม้ผลิรอล้อตะวัน
หลากสีสันผ่านฟ้าทะเลดาว

ผ่านเส้นสายพริ้มพรายในวันรุ่ง
แสงสีรุ้งทอทาบอาบเมฆขาว
เหมือนมอบร้อยใยรักพักสักคราว
หลายเรื่องราวเหนื่อยนักแวะพักล้า

ให้ธรรมชาติรักษาคราทนทุกข์
มาปลอบปลุกกล่อมขวัญสู้วันหน้า
แล้วสู้ต่ออย่าท้อต่อชะตา
ธรรมชาติรักษาใจหายสักวัน

สวัสดียามเช้าครับ

ขอบคุณ คุณ Pompier   ตลาดเมืองนอก น่าสนใจดีครับ ที่บ้านผมที่ปาย หากมีเเขกเมืองมาเที่ยวก็ชอบที่จะพาเดินชมตลาดครับ

ตลาดเป็นการเรียนวิถีชีวิตคนท้องถิ่น แบบ ฉบับย่อๆครับ

ขอบคุณบทกลอนดีๆจาก น้องเอ๊ะ คนพลัดถิ่น~natachoei(หน้าตาเฉย)  ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท