KM-DMHT 2012 : การป้องกันการเกิดแผลด้วยรองเท้าเบาหวาน


การเดินทางของกิจการขยายพันธุ์คนรักเท้า

วันที่ 25 ธันวาคม 2555 (ต่อ)

จบกิจกรรมเชฟกะทะเหล็ก เราพักให้ผู้เข้าประชุมได้เข้าห้องน้ำและเลือกอาหารว่างมื้อพิเศษจากมูลนิธิเพื่อพัฒนาการบริบาลผู้ป่วยเบาหวาน อาหารว่างมื้อนี้จัดอยู่ในกล่องสวยงาม มี 3 เมนู แต่ละเมนูมีอาหารว่างและเครื่องดื่มสมุนไพร บอกสัดส่วนอาหารว่ามีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และพลังงานจำนวนเท่าใด 



ผู้เข้าประชุมเลือกอาหารว่างมื้อเย็น



แซนด์วิชทูน่า น้ำตะไคร้ ผลไม้รวม แค่นี้ = 220 kcal


ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เทพ หิมะทองคำ เปิดกิจกรรมพิเศษนี้ บอกเล่าประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน คุณธัญญา หิมะทองคำ บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางของกิจการขยายพันธุ์คนรักเท้า (Download ไฟล์นำเสนอ ) จุดเริ่มต้น จุดแตกหน่อขอทุนต่างชาติ (World Diabetes Foundation, WDF) 


 

ซ้าย ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เทพ หิมะทองคำ ขวา คุณธัญญา วรรณพฤกษ์


ปี 2550 ได้จัดอบรมความรู้พื้นฐาน 4 รุ่น แม้จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ก็หาคนเข้ายาก ต่อมาในปี 2552 จัดอบรมในระดับที่สูงขึ้นและให้สมัครรับทุนไปทำงานต่อ มีคนสนใจมากขึ้น ให้ทุน 5 เครือข่าย (ร้อยเอ็ด แพร่ สมุทรปราการ สุรินทร์ นครราชสีมา) ไปอบรมคนต่อ

ปี 2555 ได้รับทุนจาก WDF อีก เป็นทุน 4 ปี จะอบรมพยาบาลทำงานด้านเท้าและคนทำงานดัดแปลงรองเท้า มูลนิธิฯ เป็นองค์กรเล็กๆ จะแน่ใจได้อย่างไรว่าคนทำงานจะได้รับการสนับสนุน จึงไปร่วมงานกับ สปสช. เน้น 2 เรื่องคือการดูแลเท้าและการปรับวิถีชีวิตประจำวัน พร้อมเครื่องมือเสริมความเข้าใจ ช่วยในการถ่ายทอดและการเริ่มงาน




ผู้ฟังยามเย็น


กำหนดการอบรมในปี 2556 

  • 11-12-13 กุมภาพันธ์ 2556
  • 27-28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2556
  • 11-12-13 มีนาคม 2556
  • 8-9-10 เมษายน 2556

ช่วงต่อไปมีนายแพทย์การุณย์ คุณติรานนท์  ผู้อำนวยการสำนักบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการกองทุน สปสช. มาบอกเล่าเรื่องการขอรับค่าใช้จ่ายกรณีรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยง (Download ไฟล์การนำเสนอ ) และอาจารย์สมเกียรติ มหาอุดมพร พูดถึงรองเท้าป้องกันแผลเบาหวาน


 

ซ้าย นายแพทย์การุณย์ คุณติรานนท์   ขวา อาจารย์สมเกียรติ มหาอุดมพร


นายแพทย์การุณย์ คุณติรานนท์ กล่าวว่านโยบายของ สปสช. ในเรื่องรองเท้าเป็นอย่างไร... จะทำอะไรแต่ละเรื่องต้องนึกถึงความคุ้มทุน เพราะงบประมาณมีจำกัด... สปสช. ตั้งกองทุนโรคเรื้อรังเพื่อดูแลผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง

กรอบแนวทางพัฒนาการจัดการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอย่างไร ข้อเสนอแผนการดำเนินงานระยะแรกปี 2555-2556 มุ่งพัฒนาศักยภาพบุคลากร และพัฒนาคุณภาพการจัดบริการดูแลเท้าในหน่วยบริการและเครือข่ายการส่งต่อ

ข้อมูลการตัดขาในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีสูง การชดเชยค่าอุปกรณ์รองเท้า ตั้งแต่ปี 2551 จ่ายรวมข้างละ 2,000 บาท โดยไม่ได้แยกกลุ่มผู้ป่วย ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงมาก ปี 2555 มีการแยกกลุ่มผู้ป่วย มีรหัสอุปกรณ์ คือ รหัส 8612อุปกรณ์สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง รหัส 8813 รองเท้าสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง รหัส 8814 รองเท้าสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงฯ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติม สิทธิเบิกคนละไม่เกิน 1 คู่ ภายในระยะเวลา 1 ปี มีประกาศ สปสช. เกณฑ์และมาตรฐานการจ่ายชดเชยรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงฯ ในระบบหลักประกันสุขภาพ มีผลบังคับใช้ 1 เมษายน 2555

จากเดือนมีนาคม-พฤศจิกายน 2555 มีหนังสือขออนุมัติ 641 ฉบับ รพช. เล็กๆ มีการเบิกเยอะ... ปัญหาที่พบในการพิจารณาอนุมัติมีอะไรบ้าง ข้อมูลการจ่ายชดเชยรองเท้าปี 2551-2555 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปี 2555 จำนวนชิ้นมากขึ้น แต่ใช้งบประมาณน้อยลง เพราะมีการแยก category (ลดงบได้ 72 ล้านบาท โดยการเข้าถึงเพิ่มขึ้น)

สุดท้าย สรุปประเด็นปัญหาการเบิกจ่ายรองเท้าว่า ข้อมูลการเบิกจ่ายผิดปกติ ต้อง audit ขั้นตอนการขออนุมัติก่อนจ่ายรองเท้า ข้อดี-ข้อเสียต่อกองทุน หน่วยบริการ ผู้ป่วย… อยากให้ช่วยกัน เพื่อให้ระบบการเบิกจ่ายดีขึ้น

อาจารย์สมเกียรติ มหาอุดมพร เป็นผู้เติมความรู้ในช่วงสุดท้าย กล่าวถึงรองเท้าป้องกันแผลเบาหวาน risk category ความจริงและผลกระทบ (incidence ของแผล amputation กระทบคุณภาพชีวิต healthcare costs) หลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก 

การจัดการ diabetic foot นั้น จะต้องมีการตรวจดู (inspection) อย่างสม่ำเสมอ ค้นหาเท้าที่มีความเสี่ยง ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่สุขภาพ เลือกรองเท้าที่เหมาะสม และให้การรักษาปัญหาของเท้าอย่างรวดเร็ว

รองเท้าที่เหมาะสมจะลดอัตราการเกิดปัญหาเท้าซ้ำซาก จนนำไปสู่การตัดขาและความพิการ เพิ่มคุณภาพชีวิตและลดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ดีรองเท้าต้องเหมาะกับวิถีชีวิตและสิ่งที่ผู้ป่วยอยากได้ มีการติดตามผลลัพธ์ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น (ขออภัยไม่มีไฟล์นำเสนอให้ Download)

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 515027เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2013 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท