วัด กับ สหกรณ์


วัดกับสหกรณ์

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554  ที่หอประชุมจุฬา  สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายพิเศษตอนหนึ่งพระองค์ท่านทรงเล่าถึงการเสด็จ ฯ เยี่ยมโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่จังหวัดน่าน แล้วมีสามเณรน้อย องค์หนึ่ง เดินตรงมา เฝ้า ฯพระองค์ท่านแล้วกราบบังคมทูลพระองค์ท่านว่า   โยมแม่  ที่วัดไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ใช้เลย อาตมาอยากมีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ใช้ที่วัดบ้างพระองค์ท่านทรงเล่าว่า โยมแม่ ก็ต้องรีบจัดให้ผู้ที่เข้าฟังการบรรยายก็ถวายการฮา โดยพร้อมเพรียง  เสียงดังลั่น หอประชุมจุฬา เลยครับ รวมทั้งผมด้วย  เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในโรงเรียนครับซึ่งตอนนี้โครงการส่งเสริมสหกรณ์ในโรงเรียน ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตน์ ฯ ก็มีการทำสหกรณ์เล็ก ๆ ให้เด็กที่เป็นเณรฝึกทักษะด้านการสหกรณ์

ได้ไปงานบวชลูกชายของพี่ที่ทำงาน ที่วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม  ก็ได้รับบุญและความรู้กลับมาครับ พบว่า  วัดมีสหกรณ์แบบเข้มข้นอยู่แล้ว (คิดว่าแนวคิด คิบบุตซ์นำไปจากวัดในอินเดียครับ)   แต่ไม่ได้เรียกว่าสหกรณ์ครับ   ลองดูนะครับ
(คิบบุตซ์ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนอิสราเอลมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 แล้ว(ประมาณปี ค.ศ. 1907 ) เป็นสังคมที่มีอุดมการณ์ร่วมกันมาอยู่รวมกันเพื่อความอยู่รอด ถือคติว่า “ do – it – ourselves ” พัฒนามาถึงปัจจุบันนี้นับได้ประมาณ3 ชั่วอายุคนแล้วทรัพย์สินทั้งหมดถือเป็นของส่วนกลาง ใช้ร่วมกัน แบ่งหน้าที่กันทำงานโดยใช้การเกษตรเป็นแกนหลัก อาจเรียกว่า อยู่กันแบบนารวม )

เมื่อมีคนเข้าบวชพระ ก็เหมือนมีการสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์  ก็จะมีการตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิกตอนที่พระคู่สวด ถาม นะครับ คำถามว่า  กุดถัง (โรคติดต่อชนิดหนึ่ง) ผู้บวชต้องตอบว่า นัตถิ ภันเตแปลว่า ไม่ได้เป็นโรค กุดถัง  ก็จะได้บวช เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิก

ตอนถามว่า  มนุษยโสสิ แปลว่า เธอเป็นมนุษย์หรือไม่  ก็ต้องตอบว่า  อามะ ภันเต แปลว่าเป็นมนุษย์ นะครับ  ถึงจะบวชได้  (ในสมัยก่อนมีพญานาคปลอมตัวจะเข้ามาบวชพระ  บวชไม่ได้ครับ)ถ้าตอบผิดอุปัชฌาย์ไม่บวชให้นะครับ ถือว่า คุณสมบัติของสมาชิกไม่ผ่าน

หลังจากที่ตรวจคุณสมบัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ก็มีการประชุมสงฆ์  (พระทั้งหมดในวัดมาประชุมใหญ่)เพื่อพิจารณา รับสมาชิก คือ  ผู้ที่จะบวชเข้ามาเป็นพระใหม่ในการนี้ก็จะสวดญัตติ  ประกาศรับเป็นพระใหม่ เป็นสมาชิก เท่ากับเป็นการลงมติ รับสมาชิกเพิ่มด้วยการทำ สังฆกรรมลงมติ ครับญัตติ แปลว่าการประกาศให้สงฆ์ทราบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำเผดียงสงฆ์ญัตติที่ใช้เฉพาะในพระวินัยหมายถึงคำเสนอหรือข้อเสนอที่ใช้ในกรรมวาจาโดยพระคู่สวดประกาศให้สงฆ์ทราบในการประชุมกันทำสังฆกรรมอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่งถ้าสวดญัตติแล้วไม่มีการเสนอในลงมติเรียกว่า ญัตตติกรรม
เมื่อที่ประชุมสงฆ์ประกาศรับเป็นพระ แล้วก็จะมีการ บอกกล่าวถึงการ ดำรงตนเยี่ยงสงฆ์ แก่พระบวชใหม่ วิธีปฏิบัติต่าง ๆ การวางตน อากัปกริยา การพูดการจาการนุ่งห่มผ้าครองให้เป็นปริมณฑล  ซึ่งจะมีการบอกกล่าวเป็นภาษาบาลีและก็ภาษาไทยด้วย กันไม่เข้าใจ   เป็นการอบรมผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิก สงฆ์หลังจากรับเข้าเป็นสมาชิก

เป็นการอบรมที่มีประสิทธิภาพเพราะ การขอเข้าเป็นสมาชิกสงฆ์ โดยสมัครใจ ผู้นั้นมีกำลังศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยมจึงทำให้รับรู้และจดจำเรื่อที่บอกกล่าวได้ด้วยความตั้งใจ
ต่อจากนี้พระใหม่ก็จะสามารถใช้ทรัพย์สินส่วนกลาง ของสงฆ์  (แบบคิบบุตซ์ คิดเองเล่น ๆนะครับ)ได้แล้ว หากยังเป็นพระก็ใช้ได้ สึกไปก็ต้องคืนสงฆ์ไปใครบวชแล้วได้รับการถวายปัจจัย ก็ถือว่าเป็นของสงฆ์ ลาสิกขาแล้วต้องคืนสงฆ์ไปไม่นำติดตัวออกมา จากวัด (สมาชิกของคิบบุตซ์ก็ปฏิบัติเหมือนสงฆ์ครับ) จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และแสดงว่าผู้ที่บวชผู้นั้นเข้าใจการจัดการทรัพย์สินส่วนกลางและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นอย่างดี  สมกับเป็นบัณฑิต หรือเรียกกันว่า ทิดหลังสึกแล้ว
ทรัพย์สินส่วนกลางของสงฆ์  ไม่ต้องมีกำไร ขาดทุน มีแต่เพิ่ม กับลด  มี Surplus ส่วนเกินกับ ส่วนขาด deficit  หาก  มีส่วนเกินพัฒนาความเป็นอยู่ของสงฆ์ให้พอเพียงเหมาะควรแก่สมณะสารูป และก็พัฒนาบริการให้ญาติโยมให้มาปฏิบัติธรรมฟังเทศน์ทำบุญได้สะดวกมีความสุขกายสุขใจ หากมีส่วนขาด(deficit) ก็ไปโปรดญาติโยม  ขอบิณฑบาต ญาติโยมตามกำลังศรัธทา ไม่สะสม ไม่มีวัดทุนนิยม เรื่องหลัก ๆ คือการ จรรโลงพระพุทธศาสนา เพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของราษฏรให้มีความสุข   เผยแผ่พระศาสนาให้คนมีความสุขความเจริญทั้งในทางโลกและในทางธรรมจนถึงขั้นพระนิพพาน  สหกรณ์ก็มุ่งสู่ความสุขความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม(เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม) เช่นเดียวกัน
ผู้เขียนเองคิดว่าเหตุที่ไม่มีการตั้งสหกรณ์ในวัดโดยมีพระเป็นสมาชิก เพราะในวัดนั้นมีการจัดการแบบสหกรณ์ที่แท้จริงอย่างเข้มข้นอยู่แล้วทำกันมานานตั้งแต่ครั้งพุทธกาล (สหกรณ์วัดจันทร์ ฆราวาสเป็นสมาชิกนะครับไม่ใช่พระ)ไม่ต้องจัดตั้งโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ และไม่ต้องจดทะเบียน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ไม่ต้องเข้าตรวจบัญชี ไม่ต้องรับรองงบอยู่กันด้วยธรรม ด้วยใจ  มีข้อบังคับ(ศีล) 227 ข้อ วันพระใหญ่ก็มีการสวดปฏิโมกข์  คือนำข้อบังคับ 227 ข้อมาท่องให้ฟังทบทวนกันทุกวันพระขึ้น 15 ค่ำ หากสหกรณ์ในประเทศไทยมีการทบทวนหลักการสหกรณ์ 7 ข้อ ทุกๆ วันพระใหญ่ บ้างก็น่าจะดีความเป็นสหกรณ์ของกลุ่มจะไม่ขาดตกบกพร่องสหกรณ์ไหนขาดข้อไหน ก็ปลงอาบัติ แล้วหาวิธีการทำให้ถูกต้องครบถ้วน ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เลยยังคิดต่อไปอีกว่าการจัดการแบบสหกรณ์ที่ถูกต้องน่าจะมีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล คงจะมีในอินเดียก่อนเป็นแน่แท้  อิสราเอล ค้าขายกับ อินเดียคงรับเรื่องการจัดการแบบสหกรณ์แบบวัดไปด้วย แล้วกลายเป็นคิบบุตซ์

ในจีนคงไม่พ้นเรื่องไซอิ๋ว พระถังซำจั๋ง เดินทางปราบมารมาตลอดทาง มาอินเดียเพื่อนำพระไตรปิฏกไปเผยแผ่(ใช้คำว่าเผยแผ่ กับศาสนา)คงจะรับวิธีการจัดการแบบในวัดไปด้วยเป็นแน่แท้

ในเกาหลีแต่ก่อนก็มาดูงานการสหกรณ์ที่เมืองไทยน่าจะเป็นที่หุบกะพง ตอนหลัง กลายเป็น แซมาอึล อุนดง ซึ่งหมายถึงขบวนการและแบบอย่างในการพัฒนาหมู่บ้าน เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศเกาหลีซึ่งรึเริ่มโดยรัฐบาล ในช่วงปี 1970 และยังคงดำเนินการอยู่จวบจนถึงปัจจุบันนับว่ามีส่วนช่วยอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลี : ที่มา ราเจชวอร์ เกียวาลี ,เนปาลและในอีกคำอธิบายหนึ่ง  แซมาอึล อุนดง  คือขบวนการหนึ่งของความรักที่มีต่อประเทศชาติ และประชาชนของเราความเสียสละในเรื่องส่วนตัว และการอุทิศตนเองเพื่อความผาสุกของประเทศ : ที่มาประธานธิบดี ปาร์ก จุง อี ,เกาหลี
อังกฤษ เยอรมัน ไม่ต้องพูดถึง น่าจะมาทีหลังเลยล่ะครับแต่จดบันทึกเก่งกว่า  เก็บหลักฐานต่าง ๆ ได้ดีกว่าจึงกล่าวอ้างกันว่าเป็นประเทศต้นแห่งการสหกรณ์  ผู้เขียนเองคิดว่าเอาวิธีการจากอินเดียไปจัดการคนแถวโรงงานทอผ้ามากว่า
เสียดายคำว่า ลงแขก เป็นคำที่แสดงถึงการร่วมแรงร่วมใจ จากคนที่มีน้ำใจ  เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานแบบสหกรณ์อย่างไทย ๆ ก็ถูกแปรความหมาย  ไปในทางเสียหายอาจเพราะต้องการขายเครื่องเกี่ยวข้าวรึเปล่าก็ไม่ทราบ ธุรกิจบางอย่างก็ไม่คำนึงถึงผลเสีย ทาง  สังคม ทางวัฒนธรรมมุ่งแต่ผลตอบแทนของธุรกิจตนเอง  โดยไม่คำนึงถึง social cost  และ social benefit เลยการที่คนได้เกี่ยวข้าวเองจะรู้จะทราบถึงความเหนื่อยยากของการเกี่ยวข้าว ว่า ร้อน หนัก เมื่อยเช่นไร ก็จะกินข้าวอย่างพอเพียง
บางทีการสหกรณ์ซึ่งใช้วิธีการประชาธิปไตยในการจัดการยุคหนึ่งในประเทศไทย อาจต้องเขียนประวัติว่า เกิดขึ้นจากประเทศอังกฤษเพราะเชื่อว่าอังกฤษเป็นประเทศต้นแบบประชาธิปไตย เพื่อหลบหลีก ข้อกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ก็ได้

ในช่วงหนึ่งของประเทศไทยขนาดพระเกจิอาจารย์ ซึ่งมาในท้ายที่สุดก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ (พระสุปฏิปันโณ)  ยังโดยกล่าวหาว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แล้วการสหกรณ์ซึ่งจำลองรูปแบบเหมือนการบริหารจัดการในวัดที่ใช้วิธีการประชาธิปไตยจะไม่โดนกล่าวหา จะเป็นไปได้อย่างไร
ตอนนี้การสหกรณ์ในประเทศไทยเหมือนพระทองคำวัดไตรมิตร ตอนที่ถูกปูนปิดทับไว้ แต่โดนฟ้าผ่ารู้แล้วว่าเป็นพระทองคำ  เรามาช่วยกันกะเทาะปูนออกกันดีกว่า  กะเทาะแรงก็จะโดนเนื้อพระกะเทาะเบาปูนก็ไม่หลุด  ต้องช่วยกันกะเทาะพร้อม ๆ กันแบบสหกรณ์ เรื่องกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วิธีปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องเอาออกไปจะได้เหลือแต่เนื้อทองคำอันงดงามเรามาช่วยกันนะครับ
เล่าถึงเรื่องความงดงามแล้วเมื่อเข้าไปในโบสถ์วัดไร่ขิง แล้วก็ให้คิดว่า  ในโบสถ์นั้นมี wall paper แปะอยู่เต็มกำแพงโบสถ์เลยเป็น wall paper แบบแผ่นเดียวในโลก เพราะใช้มือทำ (hand made) มีคุณค่ามากคนวาด จะต้องวาดรูปให้จบลงพอดีกับกำแพง ตรงมุม จะมีการจบของภาพได้พอเหมาะกับกำแพง ที่จริงเค้าเรียก จิตรกรรมฝาผนัง  เหมือนที่วัดมหาธาตุเพชรบุรีที่มีจิตรกรรมฝาผนังและปูนปั้นอันลือชื่อ  นี้เป็นวัฒนธรรมของคนไทยที่ไม่มีใครเหมือนในเรื่องความละเอียด อ่อนช้อยแสดงถึงความมีจิตใจที่ดีงามของคนไทยครับ

 Peeraphong  Varasen 

คำสำคัญ (Tags): #วัด#สหกรณ์
หมายเลขบันทึก: 514711เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2013 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2018 12:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท