การวางแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)


การวางแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ 

  (Strategic Planning)


 ความหมายของกลยุทธ์ (strategy) มาจากคำว่า

  STRATOS   =  กองทัพ /   LEGEI  =  การนำ

การนำกองทัพเข้าทำลายล้างศัตรู ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 

              แผนกลยุทธ์เป็นแผนที่รวมทุกอย่างซึ่งสามารถรวมทิศทางการดำเนินในอนาคตได้ สามารถกำหนดการใช้ทรัพยากรขององค์การได้บรรลุตามภารกิจและวัตถุประสงค์ ซึ่งสามารถแข่งขันอยู่ในตลาดได้ หากกล่าวอย่างสั้นๆ แผนกลยุทธ์คือ แผนที่ทำให้องค์การอยู่รอดในระยะยาวและได้เปรียบการแข่งขันในตลาด ผู้วางแผนกลยุทธ์จะต้องสามารถมองไปข้างหน้า มองไปในอนาคตได้อย่างถูกต้อง เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น รักษาฐานะทางการบริหารและการแข่งขันให้เหนือกว่าองค์การอื่นและดำรงอยู่ในธุรกิจนั้นตลอดไป

   การบริหารเชิงกลยุทธ์

      1.  สังเคราะห์กลยุทธ์

      2.  ดำเนินการตามกลยุทธ์

      3.  การกำกับและประเมินกลยุทธ์

     ลักษณะแผนกลยุทธ์แตกต่างจากการวางแผนอื่นๆอย่างไร?

  เป็นแผนระยะยาว  เป็นการตัดสินใจ(ทำ /ไม่ทำ) ในปัจจุบันที่จะส่งผลในอนาคตคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อม การดำเนินการเป็นทีม เพื่อการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์

    1.  ผู้บริหารประกาศเจตนารมณ์และความมุ่งมั่น

    2.  หัวหน้างานให้การยอมรับและ เข้าร่วมดำเนินการอย่างเต็มใจ 

    3.  กำหนด วิสัยทัศน์  พันธกิจ  ค่านิยม (VISION,  MISSION,  VALUE)

    4.  วิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT ANALYSIS)

    5.  กำหนด เป้าประสงค์ 

    6.  สังเคราะห์กลยุทธ์

    7.  เลือกกลยุทธ์ 

    8.  วางแผนควบคุมกำกับกลยุทธ์

  เงื่อนไขความสำเร็จของแผนเชิงกลยุทธ์

   1.  ผู้นำองค์กรต้องถือเป็นพันธะสัญญา

   2.  เป็นแผนของทั้งหน่วยงาน ทุกคนผูกพัน 

   3.  ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษร ย้ำเตือนเสมอ

   4.  ยืดหยุ่นพอเหมาะตามสถานการณ์

วิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT ANALYSIS)

  การวิเคราะห์จุดแข็ง(Strength-S) และจุดอ่อน (Weakness-W) เป็นการการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ส่วนการวิเคราะห์โอกาส(Opportunity-O) และอุปสรรค (Threat-T)เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก

·  S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายใน

·  W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ จะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น

·  O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกที่เอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน เราจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น

·  T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง

อ้างอิง: Armstrong.M Management Processes and Functions, 1996, London CIPDISBN 0-85292-438-0

ปัญหามักเกิดขึ้นในการนำกลยุทธ์ไปปฎิบัติ

1. วิสัยทัศน์ พันธกิจ(ภารกิจ) ไม่ชัดเจน รวมถึงวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และภารกิจหลักขององค์กรทำให้เกิดการขัดแย้งเชิงกลยุทธ์

2. การขาดภาวะผู้นำและทิศทางที่ชัดเจนของผู้บริหาร

3. สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป มีปัจจัยภายนอกซึ่งไม่สามารถควบคุมได้เกิดขึ้น โดยที่องค์กรไม่มีแผนฉุกเฉินรองรับ

4. หน่วยธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ขาดการประสานงานที่ดีในองค์กร มีระบบสารสนเทศที่ไม่สามารถติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ ได้

5. การพัฒนาความสามารถของพนักงานไม่เพียงพอ ไม่มีการระบุงานทั้งหมดไว้ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

การวางแผนเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ

     1.จัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ที่เป็นระบบและเป็นกระบวนการที่มีความชัดเจนทุกขั้นตอน สามารถทำซ้ำได้ สามารถวัดผลได้ และกระบวนการมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามวงจร
Plan – Do – Check – Act (PDCA)

     2.จัดทำแผนที่มีทิศทางเดียวกันและมีการบูรณาการการเชื่อมโยงระหว่างแผนกลยุทธ์ แผนปฎิบัติ การนำแผนไปปฎิบัติ และระบบปฎิบัติการ

     3.กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่มีความสมดุลตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ได้แก่ ค่านิยมด้านลูกค้า ค่านิยมด้านพนักงาน ค่านิยมด้านธุรกิจ ค่านิยมด้านชุมชน

       

คำสำคัญ (Tags): #strategic planning#swot
หมายเลขบันทึก: 514487เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท