นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Healthy Public Policy)


นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

(Healthy Public Policy)


พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550

•  มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช) นายกฯ เป็นประธาน

•  กรรมการมาจากการสรรหา จากตัวแทนจากทุกภาคส่วน

•  มีสำนักงานเลขาธิการ (สช)

•  ให้มีกลไกการจัดสมัชชาสุขภาพ ทุกระดับ

•  มติจากสมัชชาสุขภาพ เสนอเข้าสู่ คสช. สู่ ครม.

•  มีกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ จาก นโยบายสาธารณะ

•  มีกลไกการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ปรับปรุงทุกห้าปี

•  เพิ่มสิทธิและหน้าที่ของ ปชช. ด้านสุขภาพ

      1.  ข้อมูลสุขภาพเป็นความลับ

      2.  บุคลากรสุขภาพต้องแจ้งข้อมูลให้ทราบ

      3.  สิทธิปฏิเสธการรักษา

     4.  สิทธิปฏิเสธไม่เข้าร่วมการทดลอง/วิจัย

                                     นโยบายสาธารณะ (Public Policy)

              นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จากภาคประชาชน ภาคเอกชน ชุมชน และสังคมความหมายคือ "ทิศทาง หรือแนวทางที่สังคมโดยรวมเห็นว่า หรือเชื่อว่า ควรจะดำเนินการไปในทิศทางนั้น" หัวใจสำคัญของนโยบายสาธารณะ หัวใจสำคัญของนโยบายสาธารณะ อยู่ที่ "กระบวนการ" ของการดำเนินการให้ได้มา โดยกระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะที่ดี ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องในสังคม เข้ามาทำงานร่วมกัน โดยร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างๆ ร่วมกำหนดทิศทาง แนวทางของนโยบายสาธารณะ ร่วมดำเนินการตามนโยบายเหล่านั้น ร่วมติดตามผลและร่วมทบทวนนโยบายสาธารณะ เพื่อปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาต่อเนื่อง จุดอ่อนของนโยบายสาธารณะในสังคมไทย นโยบายสาธารณะที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ส่วนใหญ่ออกมาจากฝ่ายการเมือง ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายราชการ โดยภาคประชาชน และวิชาการมีส่วนร่วม

                     นโยบายสาธารณะเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศของรัฐบาล และ องค์กร หน่วยงาน     ในด้านต่าง ๆ ได้แก่

      1. เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ
      2. เป็นเครื่องมือในการตอบสนองความต้องการของประชาชน
      3. เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของประชาชน
      4. เป็นเครื่องมือในการสรรค่านิยมทางสังคม ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของสังคม
      5. เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม
      6. เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเสมอภาคในโอกาสแก่ประชาชน
      7. เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน
      8. เป็นเครื่องมือในการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท
      9. เป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     10. เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

        กลยุทธ์ของการส่งเสริมสุขภาพ

กฎบัตรออตตาวา ได้สรุปให้มีกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพ 5 ประการ

  1. การให้การศึกษา และข้อมูลข่าวสารแก่สาธารณสุข (Public education and public information) การให้การศึกษา และให้ข้อมูลแก่สาธารณะเป็นกลยุทธ์พื้นฐานของงานส่งเสริมสุขภาพ ทั้งนี้อาจทำได้ผ่านสื่อต่างๆซึ่งมีหลากหลายประเภท ในยุคข้อมูลข่าวสารปัจจุบันนี้
  2. การชี้แนะ (Advocate)สุขภาพดี เป็นทรัยากรที่สำคัญ สำหรับการพัฒนาบุคคลสังคม และเศรษฐกิจ และเป็นมิติสำคัญอันหนึ่ง ของคุณภาพชีวิต ปัจจัยทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม พฤติกรรม และชีววิทยา สามารถให้ทั้งคุณและโทษต่อสุขภาพ งานส่งเสริมสุขภาพมีเป้าหมาย ที่จะทำให้ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวเป็นผลดี โดยการชี้แนะเพื่อสุขภาพ
  3. การตลาดสังคม (Social marketing)การเปลี่ยนแปลงของสังคมในเรื่องสุขภาพอาจทำได้โดยนำหลักวิชาการตลาด ซึ่งใช้ได้ผลในธุรกิจทั่วไป มาประยุกต์ขึ้นเป็นการตลาดสังคม ตัวอย่างในประเทศไทยของการตลาดสังคม ที่ประสบความสำเร็จ ก็คือโครงการวางแผนครอบครัว ซึ่งได้ดำเนินการ จนสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากรได้
  4. การทำให้มีความสามารถ (Enable)การส่งเสริมสุขภาพมุ่งที่การทำให้มีความเสมอภาคในสุขภาพ (Equity in health) ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพมีเป้าหมาย ที่จะลดความแตกต่างในสถานภาพทางสุขภาพ (Health status) และให้มีโอกาส และทรัพยากรเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชนทั้งมวลมีความสามารถใช้ศักยภาพทางสุขภาพ (Health potential) ของตนเองได้ประโยชน์สูงสุดรวมถึงการมีหลักมั่นคง ในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทักษะชีวิต และโอกาสที่จะตัดสินใจเลือก ประชาชนจะไม่สามารถบรรลุถึงศักยภาพทางสุขภาพได้สูงสุด จนกว่าเขาจะสามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ที่กำหนดสุขภาพของเขาทั้งนี้ต้องใช้ชายกับหญิง อย่างเท่าเทียมกันด้วย
  5. การไกล่เกลี่ย (Mediate)สิ่งที่ได้มาเพื่อสุขภาพที่ดีมิได้เกิดจากภาคสุขภาพแต่ฝ่ายเดียวเสมอไป อุปสงค์ทางการส่งเสริมสุขภาพต้องการปฏบัติการประสานกัน โดยส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด คือ โดยรัฐบาล ภาคสุขภาพภาคสังคม ภาคเศรษฐกิจ โดยองค์กรที่มิใช่รัฐ โดยองค์กรท้องถิ่น โดยภาคอุตสาหกรรมและโดยสื่อ ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีความเกี่ยวข้องกัน ในฐานะปัจเจกบุคคล ครอบครัวและชุมชน นักวิชาชีพ กลุ่มสังคม และบุคลากรทางสุขภาพ มีความรับผิดชอบสำคัญในการไกล่เกลี่ยระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ในสังคม เพื่อผลดีต่อสุขภาพ
คำสำคัญ (Tags): #health#public policy
หมายเลขบันทึก: 514483เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท