แบบทดสอบ : โอกาสที่เกษตรกรชาวสวนลำไย จะประสบความสำเร็จในการราดสารฯ ปีแรก


ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

.

บทที่... ว่าด้วยแบบประเมินความรู้ ก่อนการทำสารฯ ลำไย

          เกษตรกรชาวสวนลำไย ที่ต้องการทำลำไยนอกฤดูทุกรายต้องมีช่วงเวลาของการทำสารฯ ลำไยเป็นครั้งแรกเสมอ  ซึ่งในการทำสารฯ ลำไยเป็นปีแรกนั้น เชื่อว่าเกษตรกรทุกคนจะต้องหาความรู้เพื่อเตรียมตัวที่จะทำสารฯ ลำไยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะด้วยวิธีหาจากอินเทอเน็ต หรือสอบถามพูดคุยกับผู้เคยทำสารฯ ลำไยมาก่อน

         แต่คำตอบที่ได้รับจากการหาความรู้วิธีต่างๆ นั้น จะพบว่า ไม่เหมือนกันเลย และดูว่าคำตอบที่แต่ละคนให้มานั้น ช่างดูมั่นใจกันเสียจริงๆ  ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่ได้รับฟังมานั้น ผิด หรือว่า ถูก

         ในการทำสารฯ ลำไย  ไม่มีสูตรสำเร็จหรอกค่ะ  จะว่าไปการปลูก หรือการทำสารลำไย ถ้ามีเกษตรกร หมื่นราย มันก็มีเป็นหมื่นสูตร เหมือนกันนั้นแหละ  ทั้งนี้เพราะบริบทของสวนลำไยของแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกัน ความคิดเห็น ความเชื่อของแต่ละคน ก็ย่อมต่างกัน ดังนั้นสูตรในการปลูก หรือการทำสารฯ ลำไย ก็ย่อมแตกต่างกันไป

          ดังนั้น การจะทำสารฯ ลำไย ในปีแรกให้ประสบความสำเร็จได้นั้น พื้นฐานย่อมมาจากความรู้ ที่เราได้รับ หลายๆ ทาง และนับมาปรับประยุกข์ให้เหมาะสมกับตัวเรา บริบทของสวนของเรา บางคนทำสารฯ ลำไย เดือนมีนาคม  แต่บางรายทำเดือนสิงหาคม  เพียงทำคนละเดือนบริบทก็ต่างกันแล้ว เดือนมีนาคมนั้น อีกไม่นาก็กำลังจะก้าวเข้าสู่ฤดูฝน  แต่พอราดสารเดือนสิงหาคม นั้นกำลังจะก้าวเข้าสู่ฤดูหนาว  เฉพาะเรื่องปริมาณการให้น้ำ ก็มีความแตกต่างกันแล้ว   ราดเดือนมีนาคม เขาบอกให้โกยใบออกจากทรงพุ่มเพื่อลดปริมาณความชื้น แต่เดือนสิงหาคมกลับบอกว่า ให้มีใบสุ่มโคนไว้ (เพื่อป้องกันการเสียความชื้น) ดังนั้นถ้าเราไปฟังคนที่เข้าทำสารฯ เดือนมีนาคม แต่เราทำเดือนสิงหาคม เราก็ใช้ตามวิธีของคนที่ปลูกเดือนมีนาคม ก็ย่อมไม่ถูกต้องนัก  

          แต่ที่แน่ๆ คือ ความรู้บางส่วน ที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของเราเอง จำเป็นต้องมี  ดังนั้นลองตอบคำถามเหล่านี้ดู เพื่อที่เราจะรู้ว่า ถ้าเราจะทำสารฯ ลำไยในปีแรกนั้น เราจะมีโอกาสเพียงใด ในการที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จได้


ความรู้เกี่ยวกับ "การราดสารฯ" ลำไย

คำแนะนำ : ให้เกษตรกร ตอบคำถามต่อไปนี้ ด้วยคำว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" แล้วนับจำนวนคำว่า "ใช่" เอาไว้


ระยะที่ 1.  เตรียมจะราดสารฯ


       1.  อายุการปลูก  ลำไยของคุณ  มีอายุการปลูกลงดิน  ไม่ต่ำกว่า 2 ปี 6 เดือน แ้ล้ว ( สำหรับลำไย ที่ได้เคยตัดชำไว้ในถุงมาอย่างน้อย 6 เดือน)      

            หรือถ้าคุณเพิ่งตัดกิ่งลำไยมาชำ..ปุ๊ป   ก็ยกเอามาลงแปลง..ป๊ฟ  ไม่เค๊ย...ไม่เคยชำเก็บเอาไว้ก่อนเลย   อายุลำไยของคุณที่ได้เอาเ่ลงแปลว...นั้น  ครบ 3 ปีเต็มแล้ว ใช่ หรือไม่


       2.  การดูแลลำไยของคุณ ตลอดระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน  หรือ 3 ปี  นั้น  ได้ดำเนินการให้ปุ๋ย ให้น้ำ กำจัดแมลงมาโดยตลอดใช่ หรือไม่


       3.  คุณรู้ว่า ก่อนการราดสาร ประมาณช่วงเวลาเท่าใด ที่คุณต้องใส่ปุ๋ยบ้างประเภท สำหรับการเตรียมความพร้อมให้กับใบลำไยแล้ว ใช่ หรือไม่


       4.  คุณรู้แล้วว่า "ความพร้อมของใบลำไย" ก่อนการราดสารฯ  มีเรื่องใดบ้างแล้ว ใช่ หรือไม่


       5.  ถ้าต้นลำไยของคุณ มีใบอ่อน ใบแก่ ที่มีปริมาณแตกต่างกันมาก คุณรู้วิธีทำให้ใบอ่อนรุ่นใหม่แก่พร้อมกันกับใบแก่ที่มีอยู่แล้ว ใช่ หรือไม่


       6.  คุณรู้จักชนิด และปริมาณของปุ๋ย ที่จะต้องใช้สำหรับการสะสะอาหารในใบลำใย ก่อนการราดสารแล้ว ใช่ หรือไม่                


       7.  คุณรู้จักช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ที่คุณต้องการจะเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย เพื่อขายให้ได้ราคาดี หรือไม่ดี ใช่ หรือไม่


       8.  คุณรู้เรื่อง สารเคมี  และคุณสมบัติทางกายภาพของสารฯ ที่จะใช้สำหรับลำไยว่าตัวใดเหมาะสมแล้ว ใช่ หรือไม่


       9.  คุณรู้วิธีการตรวจสอบ หรือหน่วยงานที่จะไปขอให้ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารฯ ที่ใช้ในการราดลำไยแล้ว ใช่ หรือไม่


     10.  คุณรู้อัตราส่วนในการใช้โรยสาร หรือใช้ผสมสารฯ กับน้ำ  หรับต้นลำไยที่มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มแต่ละขนาดแล้ว ไช่ หรือไม่


     11.  คุณรู้วิธี หรือ เทคนิคแต่ละแบบในการราดสารฯ ลำไยแล้ว ใช่ หรือไม่


     12.  คุณได้ตัดสินใจ เืลือกวิธีการราดสารฯ ที่เหมาะสมสำหรับสวนลำไยของคุณแล้ว ไช่ หรือไม่


     13.  คุณรู้จัก และได้เตรียมอุปกรณ์ และเรียนรู้วิธีใช้ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สำหรับวิธีการในการราดสารลำไยแล้ว ใช่ หรือไม่


     14.  คุณเรียนรู้การราดสาร ตามวิธีที่คุณเลือก สำหรับการราดสารฯ ลำไยแล้ว ใช่ หรือไม่


     15. คุณมีประสบการณ์ ได้เคยไปดู หรือ ได้ลองไปเป็นลูกมือ ได้ปฏิบัติจริง ในเรื่องการช่วยเขาราดสารลำไยแปลงอื่นๆ มาแล้ว ใช่ หรือไม่


     16. คุณรู้ว่าคุณจะต้องพักการให้น้ำลำไยเป็นเวลากี่วัน ก่อนการใช้สารฯ แล้ว ใช่ หรือไม่


     17. คุณรู้สิ่งที่เรียกว่า "่ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการราดสารฯ" ( เช้า กลางวัน หรือเย็น  ช่วงฝนกำลังจะตก  ฝนตกอยู่  ฝนตกไปแล้ว  มีแดด หรือไม่มีแดด เวลาไหนเหมาะ) แล้ว ใช่ หรือไม่


     18. คุณรู้ว่าที่เรียกใบลำไยว่าอยู่ในระยะ"เพสลาด" นั้น คือใบที่มีลักษณะ และสีสรร อย่างไรแล้ว ใช่ หรือไม่          


     19. คุณรู้ว่าเราควร หรือไม่ควรผสมสารเคมีชนิดอื่นๆ ลงในน้ำที่ผสมสารฯ ราดลำไยแล้ว ใช่ หรือไม่ 

ระยะที่ 2.  ระหว่างราดสารฯ


     20. คุณรู้ระยะ หรือตำแหน่งที่จะใช้ในการที่จะโรยสารฯ  ราดสารฯ หรือจะพ่นสารฯ แล้ว ใช่ หรือไม่


     21. คุณรู้ว่า คุณจะต้องทำการกวนสารฯในน้ำที่ผสม ให้แขวนลอยอยู่ตลอดเวลาแล้ว ใช่ หรือไม่


     22. คุณรู้ว่า เราจำเป็น หรือไม่จำเป็นต้องพ่นสารให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวกันแล้ว ใช่ หรือไม่

ระยะที่ 3.  หลังราดสารฯ


     23. คุณรู้ว่าหลังจากการราดสารฯ แล้ว กี่วันคุณจะต้องให้น้ำกับต้นลำไย ในปริมาณเท่าใดแล้ว ใช่ หรือไม่


     24. คุณรู้ว่าหลังจากราดสารแล้ว 1 - 2 วัน ่ลักษณะทางกายภาพของใบลำไย จะเป็นอย่างไรแล้ว ใช่ หรือไม่


     25. คุณรู้ว่า ถ้าลักษณะทางกายภาพของใบลำไย ไม่มีปฏิกริยาใดๆ ภายในกี่วัน คุณจำเป็นต้องราดสารฯ ซ้ำแล้ว ใช่ หรือไม่


     26. คุณรู้แล้วว่า รวมเวลาทั้งหมดกี่วัน ถ้าลำไยยังไม่แทงช่อดอกขึ้นมา แสดงว่า ผลการราดสารฯ ในปีนั้น ไม่ประสบความสำเร็จแล้ว ใช่ หรือไม่


     27. คุณรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดกับลำไยที่ราดสารฯ ไม่สำเร็จแล้วว่ามีผลอย่างไรกับรากของลำไยแล้ว ใช่ หรือไม่


     28. คุณรู้วิธีแก้ไขปัญหาผลกระทบจากข้อ  27. (ที่เกิดขึ้นกับต้นลำไย จากการราดสารฯ ปีแรกไม่สำเร็จ)  ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปแล้ว ใช่ หรือไม่


     29. คุณพร้อมแล้ว ใช่ หรือไม่  ที่จะทำใจยอมรับในความผิดพลาดของคุณเอง  หากการราดสารฯ ลำไยในปีแรกของคุณไม่ประสบความสำเร็จ 


กรณี คุณเริ่มไม่แน่ใจ และเริ่มคิดที่จะจ้างให้บุคคลอื่นมาราดสารฯ ลำไย แทนตัวของคุณเอง 

( กรุณาตอบคำถามข้อ 1-29 ด้วยนะคะ )


     30. คุณเริ่มคิด และตัดสินใจ ที่จะจ้างคนอื่น มาราดสารฯ ลำไย แทนตัวคุณเองแล้ว ใช่ หรือไม่


     31. คุณรู้จัึุก ลักษณะวิธีการจ้างเหมาการราดสารลำไยแล้ว ใช่ หรือไม่            


     32. คุณรู้จักประวัติการทำสวนลำไย หรือการราดสารฯ ลำไยของคนที่คุณจะว่าจ้างมาก่อนแล้วใช่ หรือไม่       

     33. คุณได้เคยไปตรวจสอบ หรือได้สอบถามความพึงพอใจของเจ้าของสวนลำไย รายเดิมๆ  ที่ผู้รับจ้างของคุณ เขาเคยได้ราดสารฯ ลำไยแปลงอื่นๆ มาแล้วใช่ หรือไม่     


     34. คุณมีความรู้มาพอสมควรว่า ในการราดสารฯ ลำไยนั้น จะต้องทำอย่างไรบ้าง เพียงแต่คุณไม่มั่นใจที่จะทำเอง แต่จากการพูดคุย ทดสอบความรู้ของเขา  เห็นว่าพอจะเชื่อถือได้ คุณจึงได้ตัดสินใจที่จะให้ผู้รับจ้างรายนี้ ทำการราดสารฯ ลำไยให้กับคุณใช่ หรือไม่


     35. คุณพร้อมแล้ว ใช่้ หรือไม่ ที่จะทำใจว่าต้องเสียเงินเป็นค่าจ้างเหมา แต่ผู้รับจ้างก็ยังราดสารฯ ลำไยแล้วไม่ประสบความสำเร็จในปีนี้


ในปัจจุบัน มีผู้รับจ้างเหมาทำสารฯ ลำไยรายใหม่ๆ เกิดขึ้นเยอะมาก จึงมักจะมีข้อเสนอแปลกๆ : 

( แบบว่ามาลองมาวัดใจกันดู) 


     36. คุณตัดสินใจเลือกผู้รับจ้างรายหนึ่ง ด้วยคำสัญญาของเขาที่ว่า "คุณเพียงจ่ายค่าสารฯ และค่าน้ำมันให้ผม ถ้าลำไย ไม่ออกดอก เขาจะไม่มาเอาค่าแรง" ส่วนค่าแรงว่ากันที่หลัง ให้ดูผลงานของเขาก่อน 


     37. คุณทำใจแ่้ล้วใช่ หรือไม่  ที่จะต้องเสียเงินราดสารฯ  เสียค่าน้ำมัน ในเบื้องต้น แล้วผู้รับจ้างไม่ประสบความสำเร็จในการราดสารฯ


     38. ต่อมาภายหลังลำไยของคุณออกดอกมาได้จริง  คุณพร้อมทำใจแล้วใช่ไหม ที่จำเป็นจะต้องจ่ายเงินค่าจ้าง "ในราคาที่สูง ตามจำนวนปริมาณดอกที่ออกมามาก หรือน้อย ตามปริมาณดอกลำไย ที่ติดบนต้นตามคำสัญญา" 


    39. คุณพร้อมจะเสียเงินค่าสารฯ ค่าน้ำมัน และเสียเวลาไปเปล่าๆ และมานั่งทำใจภายหลัง ได้หรือไม่ ถ้าการจ้างราดสารฯ ลำไยในครั้งแรกของคุณ ไม่ประสบความสำเร็จฯ


    40. คุณต้องมีกำลังใจ และมีความอดทนเพียงพอ ที่จะสู้ต่อ  หากการราดสารฯ ลำไยของคุณในปีนี้ ไม่ประสบความเร็จ


ผลวินิจฉัยโอกาสในการประสบความสำเร็จของคุณ :  

       ถ้าคุณจะทำการราดสารฯ ลำไยเอง คุณต้องตอบ ข้อ 1 - 29 ว่า "ใช่" ไม่น้อยกว่า 25 ข้อ 

การราดสารฯ ลำไยของคุณจะมีโอกาส ประสบความสำเร็จสูง


       ถ้าคุณคิดจะจ้างให้ผู้อื่นมารับจ้างราดสารฯ ลำไยให้คุณ คุณต้องตอบ ข้อ 30 - 35 ว่า "ใช่" ทุกข้อด้วย

       แต่ถ้ามีข้อเสนอ....วัดใจ จากผู้ราดสารฯ ลำไย คุณต้องตอบข้อ 36 - 40 ว่า "ใช่" ทั้งหมด เช่นเดียวกัน


ถ้าตอบได้เท่าที่ประเมินมา แสดงว่า คุณมีโอกาสประสบความสำเร็จในการทำสารลำไย แล้ว...ล่ะค่ะ


หนักใจแล้ว....ล่ะสิ


หุ..หุ..


ลองกลับไปหาคำตอบ จากคำถามที่ถามเหล่านี้ดู....นะคะ

ไว้ว่างเมื่อไร.... จะมาตอบคำถามแต่ละข้อ   แบบ "เล่าสู่กันฟัง"

หมายเลขบันทึก: 514467เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 01:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

นอนดึกเหมือนกันนะครับ ;)...

สวัสดีค่ะคุณครู  ช่วงนี้เช้าๆ ไม่ต้องไปมหาลัย ปิดช่วงปีใหม่ ยังไม่ได้ไปสวนลำไย ว่างค่ะ  เลยมีเวลาเขียนบทความ ขอบคุณสำหรับดอกไม้...นะคะ

ขอแสดงความยินดีกับเกษตรกรสาวสวยคนใหม่ ของประเทศไทย ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

  สวัสดีครับว่าที่บัณฑิตใหม่และปราญช์เกษตรลำไยจันทบุรี ช่วงนี้ก้อเริ่มเข้าสู่หน้าฝนแล้ว และก้อเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลทำลำไยนอกฤดูกันอีกปีหนึ่ง ผมก้อมือใหม่หัดขับเลยครับน้องยุ้ย ขออนุญาตเรียกแบบนี้ได้ไหมครับ พี่มีข้อข้องใจอยากจะปรึกษาครับว่า ถ้าที่ผ่านมาลำไยที่สวนมันแทงช่อตอนช่วงหนาวและขณะนี้ติดลูกแล้วเท่าหัวไม้ขีดไฟหรือใหญ่กว่านิดนึงเนี่ยแต่ไม่ค่อยจะสมบรูณ์เท่าที่ควรเนื่องจากอากาศร้อนต้นขาดน้ำ ถ้าพี่ต้องการตัดช่อผลทิ้งไปเพื่อที่จะราดสารในเดือนกรกฎาคมจะได้ผลไหมครับ

(มีคำตอบมาเฉลยหรือยังครับ สาวยุ้แต้มตุ่ย)ลองกลับไปหาคำตอบ จากคำถามที่ถามเหล่านี้ดู….นะคะ

ไว้ว่างเมื่อไร…. จะมาตอบคำถามแต่ละข้อ แบบ “เล่าสู่กันฟัง”

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท