ลปรร. เรื่องการจัดการความรู้ ของกองทันตฯ (20) ... KM กลุ่มคุ้มครองฯ สรุปการเรียนรู้


ความรู้ที่เราเอามาใช้ในการดำเนินการเรื่อง ยาสีฟัน 1,500 ppm ก็มีหลายเรื่อง เพราะไม่ได้ใช้เรื่องของวิชาการฟลูออไรด์ หรือยาสีฟันอย่างเดียว

 

เป็นเรื่องยากมาก สำหรับการทำงานในเรื่อง ฟลูออไรด์ นี้ แต่ว่า หมอหวี่ ผู้เล่า ก็บอกว่า ในเรื่องนี้ก็มีเบื้องหลังการทำงานให้สำเร็จมากมาย คงต้องไปแคะเอาจากทีมทำงานกลุ่มนี้ต่อยอดเอาละค่ะ

ตรงนี้ก็เป็นข้อสรุปการเรียนรู้ของผู้เล่า ที่ได้บอกกล่าวไว้

  1. ในกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนถึงอาเซียน มีความรู้เกิดขึ้นเยอะจากการประชุมหลายครั้ง เพราะว่าเป็นการประชุม 2 ด้านที่จะต้องหาข้อสรุป ร่วมกับมีการสำรวจหลายครั้ง เพื่อเอาข้อมูลมาใช้ จึงมีการสะสมความรู้ขึ้นในเรื่องนี้
  2. การ ลปรร. เกิดขึ้น ทั้งผู้ผลิตก็มีความรู้เรื่องฟันตกกระ เพราะปกติเขาก็ไม่ได้ concern ในเรื่องนี้ มีการ ลปรร. เรื่องยาสีฟัน 1,500 ppm ทั้งข้อมูลที่เราหา ข้อมูลจากอาจารย์ต่างประเทศ ข้อมูลระบาดวิทยาของเราเอง ข้อมูลของอาเซี่ยน
  3. พฤติกรรมการใช้ยาสีฟันของคนไทย ก็เป็นสิ่งที่หามา support เรื่องนี้
  4. และเกิดการจุดประเด็นขึ้นในเรื่อง ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ในเขตอาเซียน เพื่อการหารือ หรือตกลงกัน

ความรู้ที่เราเอามาใช้ในการดำเนินการเรื่อง ยาสีฟัน 1,500 ppm ก็มีหลายเรื่อง เพราะไม่ได้ใช้เรื่องของวิชาการฟลูออไรด์ หรือยาสีฟันอย่างเดียว ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่ยาสีฟันปริมาณฟลูออไรด์ 1,500 ppm แต่เป็นพฤติกรรมคนไทย ที่อาจจะบอกได้ว่า การใช้ฟลูออไรด์ ในปริมาณ 1,500 ppm ไม่เหมาะสมกับบริบทของคนไทย ... ทั้งในเรื่องสภาพภูมิศาสตร์ และพฤติกรรมดำเนินชีวิตของไทยไม่เหมือนประเทศในเขตตะวันตก หรือเขตสากล

 

หมายเลขบันทึก: 51426เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2006 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท