มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

ปรัชญาแนวตะวันตก


 

  โครงการธรรมศึกษาวิจัย

ปรัชญาโลกตะวันตก   

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐  พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ

คำนิยามที่ข้าพเจ้าได้ทำการค้นคว้านี้ เป็นปรัชญาแนวตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งอารธรรมของโลกแห่งหนึ่ง และเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า เนื้อหาของปรัชญานั้นกว้างขวางมากครั้งนั้นนักปรัชญาตริตรองเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติบ้าง ตริตรองเกี่ยวกับวิธีคิดของมนุษย์บ้าง ตริตรองเกี่ยวกับปัญหาสันติสุขบ้างเป็นเรื่องของสังคมรวมทั้งการเมืองและการปกครอง หรือแม้กระทั่งปัญหาเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์ และการพ้นทุกข์ ด้วยแนวความคิดที่มีมากมายนี้เอง จึงเป็นบ่อเกิดของคำนิยามต่าง ๆ ขึ้น แม้แต่ปัญหาเดียวกันนั้นอาจมีคำตอบที่เป็นไปได้หลายคำตอบ โดยยังไม่มีการกำหนดหรือยอมรับลงไปว่า คำตอบใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ดังนั้นข้าพเจ้าหวังว่า คำนิยามพร้อมทั้งแนวทางความคิดของนักปรัชญา ที่ค้นคว้ามานี้คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใคร่ในการศึกษาได้พอสมควร หากเกิดความบกพร่องประการใด ในเนื้อหาของรายงานเล่มนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

  ธีรเมธี

  ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

  มหาบัณฑิตพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

สารบัญ


(1)  ธาเรส (thales)  

(2)  อานักซิมานเดอร์ (anaximander)  

(3)  อานักซิเมเนส (anaximenes) 

(4)  ไพธากอรัส  (pythagoras) 

(5)  เฮราคลิตุส (heraclitus) 

(6)  ปาร์มีนิเดส (parmenides) 

(7)  เอมเปรโดเคลส (empedeocles) 

(8)  อานักซาโกรัส (anaxagoras) 

(9)  เดมอคริตุส (democritus) 

(10)  โปรแทกอรัส (protagoras) 

(11)  โสคราตีส (socrates) 

(12) พลาโต (plato) 

(13)  อริสโตเติล (aristotle) 

(14)  อิมมานูแอล คานท์ (immanual kant) 

(15)  โจฮัน กอตตลิบ ฟิสต์ (johann gottlib fichte) 

(16)  ออกุส คองต์  (auguste comte) 

(17)  เฮอร์เบร์ต สเปนเซอร์ (herbert spencer) 

(18)  ฟริคริก ปอนเซ็น (friedrich paulsen) 

(19)  วิลเฮ็ล์ม วุนต์ท (wikhelm wundt) 

(20)  เอช. แอล. เอลวิน (h. l. elvin) 

(21)  จำนง ทองประเสริฐ  

  สรุป 



คำนิยามของปรัชญา

ปรัชญาเป็นศาสตร์ที่สามารถเข้ากับศาสตร์อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดียิ่งเช่น เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง เป็นต้น และปรัชญาก็เป็นแนวความคิดที่คิดไว้ครั้งแรก ซึ่งเป็นความรู้ที่สืบค้นมมาแล้วหายจากความสงสัย แนวคิดที่คิดไว้แต่แรก ต่อมาเกิดคิดค้นจนเกิดทฤษฎีที่เป็นความจริงตามหลักการของวิทยาศาสตร์แล้วย่อมเกิดเป็นวิชาต่าง ๆ และใช้คำเรียกที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น วิชาการแพทย์อย่างสมบูรณ์ที่พิสูจน์ได้แล้ว อันมีเงื่อนไขมาจากปรัชญานั่นเอง และถิ่นกำเนิดของวิชานี้ที่เราใช้เรียนก็นำมาจากแนวความคิดของชาวกรีกยุคแรก ๆ เนื้อหาของวิชาปรัชญาไม่มีขอบเขตจำกัด หมายความว่า ปรัชญามีศักยภาพสูง พอที่จะศึกษาวิทยาการทุกสาขา และในทางปฏิบัติปรัชญาบุกเบิกวิทยาการภาคทฤษฎีหลายสาขาก็เฉพาะในยุคกรีกโบราณ ต่อมาวิทยาการอื่น ๆ พัฒนาจนแยกเป็นวิชาอิสระจนกระทั้งถึงปัจจุบัน

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างนักปรัชญาที่สำคัญและเป็นที่รู้จักของนักปรัชญาชาวตะวันตกที่มีชื่อเสียงพอสังเขป สำนักไมเลตุสมีอยู่ 3 ท่าน คือ

(1) ธาเรส (thales)เกิดก่อน ค.ศ. 624 เป็นนักปรัชญาชาวกรีก ได้รับยกย่องให้เป็นบิดาของปรัชญาตะวันตก คำถามที่ว่า อะไรคือปฐมธาตุของโลก ? ท่านกล่าวว่า “น้ำนี้ดีที่สุด” (water is best) และน้ำนั่นแหละเป็นปฐมมธาตุของโลก

(2) อานักซิมานเดอร์ (anaximander) เกิดเมื่อปีก่อน ค.ศ. 611 ท่านเป็นนักปรัชญาชาวกรีก ท่านไม่เชื่อธาเรสว่า”น้ำเป็นปฐมธาตุ” อานักซิมานเดอร์ไม่เชื่อว่าน้ำเป็นปฐมธาตุ เพราะน้ำมีรูปแบบตายตัว ดังนั้นสิ่งที่เป็นปฐมธาตุของโลกควรจะมีความเป็น”กลาง”ท่านจึงให้ชื่อปฐมธาตุของท่านว่า”อนันต์”และอนันต์เป็นปฐมธาตุของโลก

(3) อานักซิเมเนส (anaximenes) เกิดเมื่อปีก่อน ค.ศ. 588 นักปรัชญาชาวกรีก ท่านบอกว่า ทั้งน้ำและอนันต์ล้วนไม่ใช่ปฐมธาตุของโลก แต่สิ่งที่เป็นปฐมธาตุได้แก่อากาศ ดังนั้นอากาศเป็นปฐมธาตุของโลก

บทสรุปการศึกษาปรัชญาสำนักไมเลตุสช่วยให้เราค้นพบว่านักปรัชญาสมัยโบราณเริ่มปรัชญาด้วยความสงสัยเกี่ยวกับโลกภายนอก หรือธรรมชาติรอบตัว และปฐมธาตุที่ทั้งสามคนเสนอ  เป็นลักษณะของสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ อาจกล่าวได้ว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เริ่มแตกหน่อแล้วในยุคนี้ภายใต้แนวคิดแห่งปรัชญา

(4) ไพธากอรัส (pythagoras) เกิดเมื่อปีก่อน ค.ศ. 570-497 นักปรัชญาชาวกรีก ท่านเป็นคนแรกที่เรียกตัวท่านเองว่า”นักปรัชญา” ผู้มีศรัทธาในตัวท่านได้ให้การยกย่องท่านเป็นศาสดาแห่งศาสนาที่สอน”วิถีแห่งการหลุดพ้น” (the way of salvation) และแนวความคิดของท่านนั้นกล่าวว่า”คนเราตาายแล้วเกิด วิญญาณของคนเราไม่ดับสูญ แต่จะเวียนว่ายตายเกิดไปตามผลกรรม” สังเกตเห็นว่า ปรัชญาของท่านจะเอียงเข้าหาศาสนา เป็นเรื่องของอมตแห่งวิญญาณว่าสามารถไปเกิดใหม่ หลังจากความตายของกายเนื้อ ซึ่งคำสอนแนวนี้มีอยู่แล้ว และไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นความเชื่อของชาวกรีก ที่มีอยู่ดั่งเดิมอยู่แล้วในยุคนั้น

(5) เฮราคลีตุส (heraclitus) เกิดเมื่อก่อน ค.ศ. 535-475 นักปรัชญาชาวกรีก ท่านไม่เห็นด้วยกับสำนักไมเลตุสที่เสนอว่า น้ำ, อนันต์, หรืออากาศเป็นปฐมธาตุของโลก ตามทัศนะของท่าน สิ่งทั้งสามเป็นสิ่งที่คงที่ถาวรไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง สิ่งใดจะเป็นปฐมมธาตุของโลก สิ่งนั้นต้องมีพลังเปลี่ยนแปลงในตัวเอง ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า”ไฟเป็นปฐมธาตุของโลก” เพราะไฟแปรรูปเป็นสรรพสิ่ง โดยระยะแรก ไฟแปรรูปเป็นลม จากลมเป็นน้ำ จากน้ำเป็นดิน หรือในทางกลับกัน ดินอาจแปรรูปเป็นน้ำ จากน้ำเป็นลมและจาากลมเป็นไฟ และไฟคือทุกสิ่ง เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า”ทุกสิ่งกลายเป็นสิ่งเดียว และสิ่งเดียวกลายเป็นทุกสิ่ง ต่อไปนี้เป็นนักปรัชญาของสำนักเอเลีย หลักปรัชญาของสำนักนี้ขัดแย้งตรงกันข้ามกับปรัชญาของเฮราคลีตุส ในขณะที่เฮราคลีตุสสอนว่า โลกเป็นอนิจจังหรือเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สำนักเอเลียกลับสอนว่า โลกเที่ยงเป็นนิจนิรันดร์ นักปรัชญาของสำนักนี้ได้แก่ 6) เซโนฟาเนส (xenophanes) เกิดเมื่อก่อน ค.ศ. 570-480 นักปรัชญาชาวกรีก ท่านกล่าวถึงพระเจ้าในทัศนะของท่านว่า เทพเจ้าไม่ได้มีหลายองค์ (gods) แต่มีเพียงองค์เดียว ที่เรียกว่า พระเจ้า และพระเจ้าไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาและชีวิตจิตใจเหมือนมนุษย์ พระเจ้ามีรูปทรงกลม มีตาทิพย์ และเป็นสัพพัญญู ทรงมีอยู่ชั่วนิรันดร พระองค์ไม่มีการอุบัติหรือจุติ ไม่มีขอบเขตจำกัด เพราะไม่มีสิ่งอื่นมาจำกัดขอบเขตพระองค์ และเซโนฟาเนสยังกล่าวว่า พระเจ้าอยู่ในโลก เพราะพระเจ้าเป็นอันเดียวกับโลก พระเจ้าคือโลก โลกคือพระเจ้า และยืนยันว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นชิ้นส่วนแห่งพระเจ้า ดังนั้น”สรรพสิ่งในโลกคือพระเจ้า” และ “พระเจ้าไม่เคยเปลี่ยนแปลง”นอกจากนี้แล้วท่านยังกล่าวถึงการกำเนิดโลกว่า ท่านได้เห็นซากพืชและสัตว์ที่แข็งจนกลายเป็นหิน พบเปลือกหอยฝังอยู่ในหิน ท่านจึงสันนิษฐานว่า โลกโผล่ขึ้นจากทะเล และต่อไปจะกลับจมหายลงทะเล จากนั้นจะโผล่ขึ้นมาใหม่ สลับกันอย่างนี้เรื่อยไป

(6) ปาร์มีนิเดส (parmenides) เกิดเมื่อก่อน ค.ศ. 515-450 นักปรัชญสชาวกรีก ท่านกล่าวว่า”ไฟกับลมโดยธาตุแท้เป็นสิ่งเดียวกัน จึงให้กำเนิดแก่กันไม่ได้ และเมื่อมันเป็นสิ่งเดียวกัน เราจะว่าสิ่งหนึ่งเปลี่ยนเป็นอีกสิ่งหนึ่งไม่ได้ เพราะมันเป็นสิ่งเดียวกันโดยธาตุแท้ ด้ววยเหตุผลนี้ ปาร์มีนิเดสจึงกล่าวว่า ธาตุแท้หรือแก่นแท้ของสรรพสิ่งไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย ความเปลี่ยนแปลงเป็นปรากฏการณ์หน้าฉากเท่านั้น แต่แก่นแท้ของโลกไม่เคยเปลี่ยนแปลง อะไรคือแก่นแท้ของโลก ? ท่านกล่าวว่า “ภาวะ” (being) เป็นแก่นแท้ของโลก ดังนั้น “ภาวะจึงเป็นปฐมธาตุของสรรพสิ่ง”

(7) เอมเปโดเคลส (empedocles) เกิดเมื่อ พ.ศ. 48-108  เป็นชาวเมืองอะกรีเจนตุม ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของเกาะซิซิลี ปรัชญาของท่าน เป็นปรัชญสแบบผสม จากหลักปรัชญายุคนั้นมาปรับปรุงรวมเป็นปรัชญาสูตรใหม่ ปัญหาเรื่องปฐมธาตุของโลกคืออะไร ? นักปรัชญายุคนั้น เช่น ธาเรสตอบว่า ปฐมธาตุได้แก่ น้ำ อานักซิเมเนสตอบว่า ปฐมธาตุคืออากาศ เฮราคลีตุสตอบว่าไฟ เซโนฟาเนสตอบว่าดิน จนเข้ามาถึงยุคของเอมเปโดเคลส ท่านไม่เห็นด้วยทั้งหมด และท่านจึงกล่าวตามทัศนะของว่า ปฐมธาตุของโลกไม่ควรจะมีอย่างเดียว จึงเสนอว่า”ปฐมธาตุมีอยู่ 4 อย่างคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ “ และเอมเปโดเคลสยังกล่าวว่าเป็นจริงเท่า ๆ กัน โลกและสรรพสิ่งแตกสลายเพราะธาตุทั้งสี่แยกตัวออกจากกัน เหตุเพราะความรัก ธาตุทั้งสี่รวมตัวกันเหตุเพราะความเกลียด ดังนั้นโลกและสรรพสิ่งจะมีขึ้นหรือแยกตัวกันก็เพราะความรักและความเกลียด

(8) อานักซาโกรัส (anaxagoras)  เกิดเมื่อ พ.ศ. 43-115 นักปรัชญาชาวกรีก ท่านกล่าวว่า “สิ่งทั้งหลายไม่อาจเกิดขึ้นจากความว่างเปล่า” โลกนี้ไม่ได้เกิดขึ้นปัจจุบันทันที แต่เนื่องจากผลแห่งการรวมตัวของวัตถุดิบที่มีอยู่ก่อนแล้ว และเรียกวัตถุดิบสำหรับสร้างโลกว่า”ปฐมธาตุ” เอมเปโดเคลสเสนอว่า “ปฐมธาตุคือ ธาตุทั้งสี่ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนทัศนะของอานักซาโกรัสแย้งว่า ปฐมธาตุควรจะมีมากกว่านี้ เช่น ดินที่มีธาตุทองปะปน เป็นต้น ท่านยังพูดไปถึงกำเนิดโลกว่า “สถาปนิกผู้วางแปลนและควบคุมการสร้างโลกนั้นคือ “จิตหรือมโน” (mind or nous)

(9) เดมอคริตุส (democritus) เกิดเมื่อ พ.ศ. 83-173 ที่เมืองอับเดรา (abdera) ในแคว้นเธรส (thrace) ท่านมีทัศนะไม่ต่างจากเอมเปโดเคลส และอานักซาโกรัส เดมอคริตุส ยอมรับการประนีประนอมระหว่างความเที่ยงแท้ถาวรกับการเปลี่ยนแปลง นั่นก็คือ แม้สรรพสิ่งในโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป ปฐมธาตุหรือส่วนประกอบดั่งเดิมสุดของโลก ไม่เคยเปลี่ยนแปลงและไม่มีวันเปลี่ยนแปลง และต่อปัญหาที่ว่า ปฐมธาตุคืออะไร ? เดมอคริตุสกล่าวว่า ปฐมธาตุไม่ใช่ดิน น้ำ ลม ไฟ อย่างที่เอมเปโดเคลสเสนอ สำหรับเดมอคริตุสแล้ว ท่านกล่าวว่า ปฐมมธาตุคือ”ปรมาณู หรือ อะตอม” (atom)

(10) โปรแทกอรัส (protagoras) เกิดเมื่อ พ.ศ. 63-133 ที่เมืองอับเดรา (abdera) แคว้นเดียวกับเดมอคริตุส ท่านกล่าวว่า ทำไมแก่นแท้ในทัศนะของนักปรัชญาเหล่านั้นจึงมีแนวความคิดแตกต่างกัน และใครเป็นผู้ตัดสินว่า ทัศนะนี้จริงหรือทัศนะนั้นเท็จ ? ผู้ทำหน้าที่ตัดสินว่าใครผิดใครถูก คือคนแต่ละคนมีสิทธิ์ตัดสินเท่าเทียมกัน ในการตัดสินโปรแทกอรัสกล่าวว่า “คนเป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง” ความจริงจึงขึ้นอยู่กับคนแต่ละคนไปกำหนดว่าจริง ความจริงตามทัศนะของท่านจึงเป็นอันเดียวกับ ทัศนะอัตนัย(subjective opinion) หรือความเห็นเฉพาะบุคคล ท่านไม่แยกทัศนะอัตนัยออกจากความจริงแบบปรนัย (objective thuth)

(11) โสคราตีส (socrates) เกิดเมื่อ พ.ศ. 73-144 ที่กรุงเอเธนส์ ท่านเป็นนักต่อต้านกลุ่มโซฟิสต์ โดยเฉพาะคำสอนของโปรแทกอรัส ที่มีคำสอนว่า ไม่มีมาตรการใด ๆ เป็นเครื่องตัดสินความจริงและความดี อะไรที่ว่าจริงหรือดีเป็นเพียงทัศนะส่วนตัวของปัจเจกบุคคล โปรแทกอรัสปฏิเสธความจริงแบบปรนัยหรือความเป็นจริงสากลที่ทุกคนยอมรับ โสคราตีสแย้งว่า แม้ว่าความรู้เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายขอลแต่ละคนจะขัดแย้งกันในบางครั้ง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีความจริงแบบปรนัยที่ทุกคนยอมรับร่วมกัน ความเป็นจริงสากลมีอยู่ โสคราตีสมีทัศนะว่า “เหตุผล (reason) เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ “ที่ช่วยให้คนเราค้นพบความจริงแบบปรนัยหรือมโนภาพของสิ่งทั้งหลาย

(12) พลาโต (plato) เกิดเมื่อ พ.ศ. 116-196 มีชื่อเดิมว่า อาริสโตเคล็ส (aristocles) ที่กรุงเอเธนส์ พลาโต้กล่าวว่า ในเรื่องทฤษฎีความรู้ ความรู้ระดับผัสสะหรือสัญชาน ไม่ใช่ “ความรู้” การรับรู้ในระดับสัญชานเป็นเพียง”ทัศนะ” การปฏิเสธสัญชานว่า เป็นบ่อเกิดความรู้นี้มีเหตุผลสำคัญอยู่ 2 ประการคือ

1)  สัญชานของแต่ละคนให้ความรู้ไม่ตรงกัน

2)  สัญชานไม่ช่วยให้เราค้นพบความจริงแท้

โดยนัยนี้ ในทัศนะของพลาโต้ ความรู้ที่แท้จริงไม่ได้มาจากผัสสะหรือสัญชาน แต่ความรู้ที่แท้จริงได้มาจากเหตุผล ในเรื่องทฤษฎีมโนคติ พลาโต้กล่าวว่า แก่นแท้ของสรรพสิ่งไม่ใช่สสาร แต่เป็นมโนคติที่ไม่กินที่ ไม่มีรูปร่าง และ“มโนคติคือมโนภาพที่มีอยู่จริงภายนอกความคิด” แต่เนื่องจากมโนภาพคือสิ่งสากล ดังนั้น มโนคติคือ “สิ่งสากลที่มีอยู่จริงภายนอกความคิด” หรือ”สิ่งสากลที่เป็นความจริงแบบปรนัย” และแนวคิดพลาโต้อีดทัศนะหนึ่งของท่านว่า  ปรัชญาคือ การศึกษาหาความรู้เรื่องสิ่งนิรันดรและความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้นหรือธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย

(13) อริสโตเติล (aristotle) เกิดเมื่อก่อน ค.ศ. 384-322 กล่าวว่า ปรัชญาคือ ศาสตร์ที่ค้นคว้าหาความแท้จริงของสิ่งที่มีอยู่โดยตัวเอง

(14) อิมมานูเอล คานท์ (immanual kant) :1724-1804 นักปรัชญาชาวเยอรมันกล่าวว่า ปรัชญาคือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้และการวิจารย์ความรู้

(15) โจฮัน กอตตลิบ ฟิสต์ (johann gottlib fichte) :1764-1814 นักปรัชญาชาวเยอรมัน กล่าวว่า ปรัชญาคือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้

(16) ออกุส คองต์ (auguste comte) :1798-1857 นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า ปรัชญาคือ ศาสตร์ต้นกำเนิดของศาสตร์ทั้งปวง

(17) เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (herbert spencer) :1820-1903 นักปรัชญาชาวเยอรมัน กล่าวว่า ปรัชญาคือ ความรู้ที่ประมวลไว้อย่างสมบูรณ์

(18) ฟริคริก ปอลเซ็น (friedrich paulsen) :1846-1908 นักปรัชญาชาวเยอรมัน กล่าวว่า ปรัชญาคือ วิชาที่รวบรวมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขา

(19) วิลเฮ็ล์ม วุนด์ท (wilhelm wundt) :1832-1920 นักปรัชญาชาวเยอรมัน กล่าวว่า ปรัชญาคือ การรวบรวมความรู้ที่ได้จากวิทยาศาสตร์ทั้งหมดไว้เป็นอันเดียวกัน เพื่อเข้าใจความจริงโดยรวบยอด

(20) เอช. แอล. เอลวิน (h.l. elvin) กล่าวว่า ปรัชญาคือ เทคนิคสำหรับคิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาสนใจที่จะตรวจสอบสมมติฐานและให้ความหมายต่อมโนทัศน์ของเรา

(21) จำนง ทองประเสริฐราชบัณฑิต สาขาปรัชญา กล่าวว่า ปรัชญาคือ ความคิดเห็นใดที่ยังพิสูจน์ไม่ได้หรือยังสรุปผลแน่นอนไม่ได้ แต่ถ้าพิสูจน์ได้จนลงตัวแล้ว เราก็จัดว่าเป็นศาสตร์

สรุปปรัชญา คือ โลกทัศน์ของปํจเจกชน วิชาปรัชญาตะวันตกจึงว่าด้วย ประมวลโลกทัศน์ ของนักปรัชญาตะวันตกทุกสมัย เป็นการพรรณาถึงความคิด และความรู้เชิงปรัชญาตั้งแต่ยุคแรก ๆ จนถึงนักปรัชญายุคปัจจุบัน การศึกษาวิชานี้ช่วยให้เราเรียนรู้ทัศน์ต่าง ๆ ในเวลาเดียวกันก็ผลิตทัศน์ที่ไม่ซ้ำแบบใคร และสิ่งที่เป็นประโยชน์คือสามารถนำวิธีคิดแบบปรัชญาไปประยุกต์แก้ปัญหาของตน และสร้างหลักปรัชญาประจำตนได้ในที่สุด.

ปรัชญา  แปลว่า  ความรอบรู้ เป็นศัพท์บัญญัติ เรียกว่า philosophyเมื่อสืบย้อนไปดูแล้วปรากฏว่าphilosophy มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า philo + sophiaแปลว่า  ความรักในความรอบรู้( love of wisdom ) ว่ากันตามอักษร ปรัชญาและ philosophy มีความหมายไม่ตรงกันแท้ แต่ก็ใช้เรียกกันได้ เพราะคำทั้งสองแสดงนัยว่า วิชานี้เกี่ยวกับความรู้ กล่าวคือการแสวงหาความรู้ก็ดี จัดเป็นปรัชญาหรือphilosophy ทั้งนั้น ปรัชญาเป็นความรู้เกี่ยวกับอะไร คำตอบมีอยู่ว่า ปรัชญาพยายามเรียนรู้ทุกสิ่ง โลกยังมีแง่มุมลึกลับอีกเท่าใด นักปรัชญาที่มักใหญ่ใฝ่สูงก้จะเรียนรู้อีกเท่านั้น เท่าที่ผ่านมานักปรัชญาเป็นผู้ค้นพบวิทยาการสาขาใหม่แห่งโลก การค้นคว้าของนักปรัชญาไม่เคยถึงจุดจบ นักปรัชญาจึงเป็นผู้บุกเบิกทางปัญญา (pioneer)

เมื่อประมาณห้าร้อยปีมาแล้ว นักปรัชญากรีกชื่อ ไพธากอรัส (pythagoras) เป็นผู้ใช้คำนี้เป็นคำแรก ชาวกรีกยุคนั้นเรียกนักปราชญ์ราชบัณฑิตว่า sophoi (ผู้รอบรู้) ไพธากอรัสได้คิดผสมคำขึ้นว่า philosophoi แปลว่า ผู้รักความรู้ (love of wisdom)เหตุนั้นนักปรัชญาในสมัยโบราณ จึงเป็นจุดกำเนิดแนวของปรัชญาทั้งหลาย และเกิดเป็นวิชาการแขนงต่างๆ จึงเกิดเป็นกลุ่มทฤษฎีขึ้นมากมาย และมีนักปราชญ์ชาวกรีกท่านหนึ่งชื่อว่า อาริสโตเติ้ล (aristotle) เกิดก่อน ค.ศ. 384-322 ได้แบ่งปรัชญาออกเป็นสองภาค คือ

ปรัชญาภาคที่หนึ่ง (first philosophy) ศึกษาเกี่ยวกับ อภิปรัชญา

ปรัชญาภาคที่สอง (second philosophy) ศึกษาเกี่ยวกับฟิสิกส์  ชีววิทยา จิตวิทยา  ดาราศาสตร์  เทววิทยา และคณิตศาสตร์

ต่อมามีการพัฒนาปรัชญาจนแยกเป็นวิชาอิสระ เรื่องที่เหลือนั้นเป็นเนื้อหาแท้ๆ ของวิชาสมัยปัจจุบันปรัชญาที่ศึกษาเรียกว่าปรัชญาบริสุทธิ์ (pure philosophy) แบ่งเป็น 3 สาขาคืออภิปรัชญา(metaphysics) ญาณวิทยา (epistemotogy) และตรรกศาสตร์ (logic) หากวิชาการเหล่านั้นหาคำตอบไม่ได้  นักปรัชญาจะช่วยตอบ โดยปรัชญาที่ทำหน้าที่อย่างนี้มีชื่อว่า ปรัชญาประยุกต์ (applied philosophy) เพราะนักปรัชญานำความรู้เชิงปรัชญาบริสุทธิ์ไปศึกษาผลสรุปของวิทยาการสาขาต่างๆ  จนเป็นวิทยาการทางการศึกษาแนวใหม่ ๆ เช่น

ปรัชญาการศึกษา (philosophy)

ปรัชญาประวัติศาสตร์  (philosophy of history)

ปรัชญากฏหมาย (philosophy of law)

ปรัชญาคณิตศาสตร์  (philosophy of mathematics)

ปรัชญาภาษา  (philosophy of language)

ปรัชญาศาสนา (philosophy of religion)

ปรัชญาจริยา (ethical philosophy)

ปรัชญาจิต  (philosophy of mind)

ปรัชญาชีวิต  (philosophy of life)

ปรัชญาศิลป  (philosophy of art)

ปรัชญาสังคม  (social philosophy)

ดังนั้นจึงเกิดนักปรัชญาขึ้นตามแนวความคิดของแต่ละท่าน นักปรัชญาตะวันตกไม่ได้กำหนดว่าตัวเองกำลังคิดปรัชญาบริสุทธิ์หรือปรัชญาประยุกต์ เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจ จึงขอแสดงความคิดของนักปรัชญาในยุกกรีกโบราณ และยุกอื่นฯ พอสังเขปดังนี้

แนวความคิดและคำนิยาม:

สำนักไมเลตุส มีนักปรัชญา 3 ท่าน คือ

ก) ธาเรส  (Thales)

ข) อานักซิมานเดอร์  (Anaximander)

ค) อานักซิเมเนส  (Anaximenes)

1.ธาเลส (thales) ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของปรัชญาตะวันตก เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ก่อน ค.ส. 585 ป็นผู้ทำนายการเกิดสุริยคราสเป็น1ใน7ของบัณฑิตกรีก ทุกท่านต่างก็มีคติพจน์ (คำนิยาม)ประจำตนและคำนิยามของธาเรสก็คือ “น้ำนี้ดีที่สุด” (water is best) โดยตั้งคำถามที่ว่า  อะไรคือปฐมธาตุของโลก ? ธาเลสมองสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัว เห็นคน ต้นไม้ ภูเขา และอื่น ๆ เขาคิดว่าสิ่งต่างๆเหล่านั้นเกิดมาจากอะไร ? แน่หละ คงไม่ใช่ฝีมือเนรมิตของเทพเจ้า โลกที่เราอาศัยอยู่คงเกิดจากการรวมตัวของผงธุลีที่เล็กที่สุด ธรรมชาติเองเป็นผู้จัดสรรนำเอาผงธุลีที่ลอยคว้างอยู่ในห้วงอวกาศมาปั้นเป็นโลก เมื่อโลกแตกสลายสรรพสิ่งก็จะกลับคืนสู่ผงธุลีดังเดิม ผงธุลีนั้นจึงเป็น“วัตถุดิบ” สำหรับสร้างโลก มันมีอยู่ก่อนสิ่งอื่นทั้งหมด “มันเป็นธาตุดังเดิม” หรือปฐมธาตุ (first element) ของโลก ซึ่งจะต้องเป็นสิ่งที่มีอนุภาคเล็กที่สุดจนแบ่งย่อยอออกไปอีกไม่ได้แล้ว ธาเลสถามตัวเองว่า แล้วอะไรคือปฐมธาตุของโลก ? ผงธุลีที่ว่านั้นมีสภาพเป็นอะไร ? และเขาคิดว่า น้ำคือละอองธุลี หรือธาตุเดิมแท้ของโลก เพราะโลกและสรรพสิ่งเกิดมาจากน้ำ ๆเป็นปฐมธาตุทรงประสิทธิ์ภาพในการแปรรูป (tranformation) เป็นสิ่งอื่นๆ น้ำจับตัวเป็นของแข็งก็ได้ ละลายเป็นของเหลวก็ได้ และระเหยกลายเป็นไอก็ได้ ธาเรสบอกว่า เมื่อน้ำระเหยขึ้นฟ้า ความเย็นของน้ำจะค่อยๆแปรสภาพเป็นความร้อน น้ำแปรรูปเป็นไฟ แต่เมื่อน้ำตกลงมาในรูปสายฝน แสดงว่าน้ำกำลังแปรรูปเป็นดิน เหตุนี้น้ำจึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นธาตุเดิมของโลก

2.อานักซิมานเดอร์ (anaximander) ท่านศึกษาวิชาดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์และจักรวาลวิทยา  เกิดก่อนปี ค.ศ. 611 และถึงแก่กรรมในปีก่อน ค.ศ.547 ท่านเขียนหนังสือปรัชญาเรื่อง “ธรรมชาติ” (on nature) หนังสือเล่มนี้เป็นปรัชญาเล่มแรกของโลก ท่านศึกษาปรัชญามาจาก  ธาเลส ท่านไม่เชื่อว่าน้ำเป็นปฐมธาตุ เพราะน้ำมีรูปแบบตายตัว มีคุณลักษณะเป็นของเหลว และมีความเย็นเป็นธรรมชาติ ดังนั้นปฐมธาตุของโลกควรจะมีความเป็นกลาง คือในตัวมันเองยังไม่เป็นอะไร ยังไม่เป็นดิน น้ำ ลม หรือไฟ ปฐมธาตุจึงเป็นสารไร้รูป (fomless material) ที่ไม่มีรูปลักษณะเหมือนสิ่งของใดๆ ที่คนเรารู้จักมันเ)นสิ่งที่มองไม่เห็นด็วยตาเปล่า แต่มันเป็นสิ่งที่อยู่เป็นนิรันดร และแผ่ซ่านไปไม่มีที่สิ้นสุด

ดังนั้นจึงใให้ชื่อปฐมธาตุของท่านเองว่า “อนันต์“ (infinite) คือเนื่องจากอนันต์นี้ยังไม่มีลักษณะที่แน่นอนตายตัวว่าเป็นอะไร มันจึงมีศักยภาพที่จะกลายเป็นอะไรก็ได้ และสรรพสิ่งในโลกล้วนมีแหล่งกำเนิดมาจากอนันต์

3.อานักซิเมเนส (anaximenes) เป็นศิษย์ของ อานักซิเมนเดอร์ ท่านสนใจปัญหาเรื่องปฐมธาตุเหมือนกัน ท่านบอกว่า น้ำและอนันต์ล้วนไม่ใช่ปฐมธาตุของโลก อากาศต่างหากเป็นปฐมธาตุของโลก เพราะอากาศแผ่ขยายออกไปไม่มีที่สิ้นสุดและมีพลังขับเคลื่อนในตัวเอง อากาศจึงเคลื่อนไหวตลอดเวลา ดังนั้นสรรพสิ่งจึงเกิดขึ้น ท่านอธิบายว่า เวลาอากาศเคลื่อนตัวออกห่างจากกันและกัน อากาศเกิดการขยายตัว (rerefaction) ปริมาณของอากาศจะเจือจางลง หากเจือจางถึงขีดอากาศจะกลายเป็นไฟ และลูกไฟที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าก็กลายเป็นดวงดาว ในทำนองกลับกัน ถ้าอากาศเคลื่อนเข้ารวมตัวกัน หรือมีอาการอัดตัว (condensation) ความเข้มข้นของอากาศมีมาก อุณหภูมิในอากาศจะลดลง อากาศจะมีความเย็นมากขึ้นแล้วจับตัวเป็นก้อนเมฆ ถ้าอัดตัวควบแน่นยิ่งขึ้น อากาศจะกลายเป็นน้ำเป็นดินเป็นหินได้ทีเดียว  ดังนั้นไม่ว่าของแข็งของเหลวและก๊าซ ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากอากาศทั้งสิ้น เหตุนี้อากาศจึงเป็นปฐมธาตุของโลก

หมายเลขบันทึก: 512750เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 07:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 07:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

 

สรุปข้อเปรียบเทียบ

เมื่อทำการศึกษาแล้วเห็นได้ว่า ปรัชญาของอานักซิมานเดอร์มีเหตุผลดีกว่าของธาเรส แต่มีปัญหาว่า อนันต์คืออะไร ถ้าเทียบอนุภาคหรือส่วนที่เล็กที่สุดของวัตถุและสสาร คือปรมาณูหรืออะตอม (atom) ซึ่งเล็กสุดจนแบ่งออกไม่ได้ ดังนั้นในทัศนของนักวิทยาศาสตร์ ปฐมธาตุของโลกจึงหน้าจะได้แก่ปรมาณูนั่นเอง อันมีส่วนประกอบย่อยสามส่วน คือโปรตรอนหรือประจุไฟฟ้าบวก อิเลคตรอนคือประจุไฟฟ้าลบ และนิวตรอนหรือประจุไฟฟ้าเป็นกลาง ดังนั้นปรมาณูจึงไม่ใช่วัตถุที่เล็กที่สุด แต่ปรมาณูเป็นพลังงานหรือประจุไฟฟ้า และอนุภาคที่เล็กที่สุดของสสารวัสดุจึงเป็นพลังงาน”(energy) ชนิดนี้นั่นเอง พลังงานนี้ไม่มีรูปร่างและไม่ปรากกแก่สายตาของคนทั่วไป มันเป็นธาตุเดิมของสรรพสิ่ง พลังงานเป็นปฐมธาตุของโลก และพลังงานนี้ก็คงเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่อานักซิมานเดอร์เรียกว่าอนันต์

ดังนั้นคำถามที่ว่า”อนันต์” คืออะไร จึงเปรียบเทียบได้ว่า “อนันต์” คือพลังงานตามแนวความคิดของนักวิทยาศาสตร์ต่อมาใน ค.ศ.ที่ 19 และ20 ในเรื่องของประจุไฟฟ้าและพลังงาน

ส่วนปรัชญาของอานักซิเมเนส อธิบายว่า อากาศกลายเป็นสรรพสิ่งได้อย่างไร เพราะท่านอ้างการขยายตัวและการอัดตัวของอากาศ ว่าเป็นตัวการให้เกิดสรรพสิ่ง ซึ่งตรงนี้ธาเรสอธิบายไม่ชัดว่า ไฉนน้ำจึงแปรรูปเป็นสรรพสิ่ง และอานักซิมานเดอร์ก็ไม่ขยายความว่า อนันต์กลายเป็นสรรพสิ่งได้อย่างไร ส่วนอานักซิเมเนส แม้จะอธิบายไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า อากาศเปรี่ยนสภาพเป็นสรรพสิ่ง ด้วยกระบวนการขยายตัวและอัดตัว ถึงกระนั้นการที่ท่านบอกว่า อากาศเป็นปฐมธาตุ ฏ็เท่ากับถอยหลังไปเรียนแบบธาเรส ผู้เสนอว่าปฐมธาตุมีรูปแบบเป็นน้ำ ต่างกันตรงที่ว่า ปฐมธาตุของอานักซิเมเนสมีรูปแบบเป็นอากาศ ดังนั้นอานักซิมานเดอร์ไปได้ไกลกว่า เพราะท่านเสนอว่า ปฐมธาตุมีรูปแบบเป็นปฐมธาตุไม่มีรูปแบบอยู่ก่อน แต่เป็นสารไร้รูปที่เรียกว่า”อนันต์”หรือ”พลังงาน”

การศึกษาปรัชญาจากสำนักไมเลตุสช่วยให้เราค้นพบว่า นักปรัชญากรีกโบราณเริ่มปรัชญาด้วยความสงสัยเกี่ยวกับโลกภายนอก หรือธรรมชาติรอบตัว ดังนั้นปฐมธาตุที่นักปรัชญาคิด จึงเป็นข้อสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ จึงกล่าวได้ว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีแนวความคิดมาจากนักปรัชญายุคโบราณนั่นเอง.

4.ไพธากอรัส (pythagoras) เกิดก่อน ค.ศ.570-497 ที่เกาะซามอส (samos) เป็นนครรัฐที่สังกัดกลุ่มไอโอเนีย ดังนั้นนครรัฐซามอสกับนครรัฐไมเลตุส จึงอยู่ในเครือเดียวกัน ไพธากอรัสเดินทางไปศึกษาที่ประเทศอียิปต์ ต่อมาได้จัดตั้งสมาคมของตนเองขึ้น เพื่อจุดประสงค์ทางศาสนา จึงไม่นับเป็นสำนักปรัชญาเพราะปฏิบัติเคร่งครัดเยี่ยงนักพรต แต่งกายแบบเดียวกัน ห้ามบริโภคเนื้อสัตว์,ถั่ว เป็นต้น

จุดประสงค์ในการปฏิบัติเช่นนี้ ก็เพื่อความหลุดพ้นจากความเวียนว่ายตายเกิด ผู้มีศรัทธาในตัวไพธากอรัสได้ยกย่องท่านเป็นศาสดาแห่งศาสนาที่สอน”วิธีแห่งการหลุดพ้น”(the way of salation) ท่านจะสอนเฉพาะสมาชิกอันเป็นสาวกของตนเองเท่านั้น ไพธากอรัสสอนว่า คนเราตายแล้วเกิด วิญญาณของคนเราไม่ดับสูญ แต่จะเวียนว่ายตายเกิดไปตามผลกรรมท่านว่าตัวท่านระลึกชาติได้ เคยเกิดเป็นต้นไม้,สัตว์,คน ท่านว่าวิญญาณของคนเราจุติมาจากสวรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า เมื่อวิญญาณได้สูญเสียความบริสุทธิ์ผ่องใส ด้วยการควบคุมความต้องการทางการตามแบบที่สมาชิกของสมาคมไพธากอรัสถือปฏิบัติ เมื่อนั้นแหละวิญญาณจึงจะบริสุทธิ์ พอที่จะคืนกลับทิพยสถานของพระผู้เป็นเจ้าและเป็นอันหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ไพธากอรัสเรียกผู้ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นว่า”นักปรัชญา” และได้แบ่งบุคคลออกเป็น 3 ประเภทเหมือนพระพุทธเจ้า เปรียบเทียบบุคคลเป็นดอกบัว 4 เหล่า และไพธากอรัสเป็นคนแรกที่เรียกตัวเองว่า”นักปรัชญา”(philosopher) และนักปรัชญาในทัศนะของไพธากอรัสก็คือ ”คนที่รักในความฉลาดรอบรู้ ” (philosophoi) คำว่า ”philosophoi” ในภาษากรีกได้กลายมาเป็น ”philosopher”(นักปรัชญา) ในภาษาอังกฤษ ไพธากอรัสเป็นนักคณิตศาสตร์ ท่านเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีบทที่ 47ของเรขาคณิตแบบยูคลิค ปรัชญาของท่านจึงว่าด้วยทฤษฎีจำนวนเลข (number) เป็นลักษณะสำคัญที่สุดของสรรพสิ่งในโลก เหตุผลมีอยู่ว่า สิ่งของต่างๆล้วนมีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือมีสี,กลิ่น,รส และความอ่อนแข็ง ดังนั้นคุณลักษณะเหล่านั้นก็ไม่ใช่สิ่งถาวร เพราะเราอาจจินตนาการถึงของบางอย่างที่ไม่มีสีและกลิ่น จำนวนต่างหากเป็นลักษณะของสิ่งทั้งหลาย เราไม่อาจจินตนาการถึงของสิ่งหนึ่งหรือสองสิ่งเสมอ คำว่า”หนึ่ง,สอง” แสดงให้เห็นว่า จำนวนเลขติดอยู่ในสรรพสิ่งตลอดเวลา

สรุปแล้ว ไพธากอรัสใช้ทฤษฎีจำนวนเลข มาเป็นเหตุผลในการอ้างถึงสรรพสิ่งในโลก โดยการกำหนดด้วยตัวเลข ให้มีจำนวนนับเท่ากับสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้เกิดแนวความคิดที่มีกฎและระเบียบเป็นแบบแผนของคนยุคต่อมาแต่ไพธากอรัสไม่ได้บอกว่า จำนวนเลขเป็นปฐมธาตุของโลกอย่างที่บางคนเข้าใจ  แล้วปฐมธาตุของโลกคืออะไร ? ปฐมธาตุของโลกคือหน่วย (unit) สิ่งทั้งหลายอันรวมถึงจำนวนเลขเกิดมาจากหน่วย หน่วยนั้นหรือจุดรวมกันทำให้เกิดเส้น เส้นรวมกันทำให้เกิดเนื้อที่ เนื้อที่รวมกันทำให้เกิดปริมาตร ใจความปรัชญาของไพธากอรัสจึงมีอยู่ว่า ปรมาณูเป็นปฐมธาตุของโลกเมื่อปรมาณูรวมตัวกันในลักษณะที่เลียนแบบจำนวนเลข สรรพสิ่งในโลกจึงเกิดขึ้น ดังนั้นไพธากอรัสจึงเป็นปรัชญาอันดับแนวหน้าของนักปรัชญากรีกโบราณ.

5.เฮราคลีตุส (heraclitus) เกิดก่อน ค.ศ.535-475 ในเมืองเอเฟซุส (ephesus) เป็น 1ใน12 นครรัฐที่สังกัดอยู่ในอาณานิคมกรีกกลู่มไอโอเนีย ท่านเป็นเชื้อพระวงค์แห่งนครรัฐเอเฟซุส ท่านสละสิทธิ์ในราชสมบัติ บำเพ็ญตนเป็นนักปรัชญา จนประสบความสำเร็จจนมีชื่อเสียง ท่านประกาศตนว่าได้พบปรีชาญาณหยั่งเห็นปรัชญา (philosophy insight) ท่านค้นพบสิ่งแปลกใหม่และดีเด่นเหนือผู้ใดทั้งหมด อย่างเช่น ไพธากอรัส และเซโนฟาเนส

ท่านได้เขียนตำราไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า “ธรรมชาติ” (on nature) ต่อมาได้กระจัดกระจายหายไปเหลือไว้แต่เศษนิพนธ์ เป็นคำพูดสั้นๆว่า “การเรียนมากไม่ช่วยให้เข้าใจมาก” หรือ ”ถ้าท่านไม่พยายามคาดคิดในแง่มุมที่คนคิดไม่ถึง ท่านจะไม่มีวันค้นพบความจริง เพราะความจริงพบได้ยากมาก”โดยท่านไม่พยายามอธิบายเหมือนจงใจให้เข้าใจยาก และอ้างว่า ท่านเขียนปรัชญาสำหรับปัญญาชน (intelligentsia) โดยเฉพาะ หากว่าสามัญชนไม่เข้าใจ ก็ถือว่าเป็นกรรมของผู้นั้น เหตุนี้ เฮราคลีตุส จึงได้ฉายาว่า “ผู้อำพราง” (the obscure)

ฉะนั้นนักปรัชญาสำนักไมเลตุสสนใจเรื่องปฐมธาตุของโลก ไพธษกอรัสศึกษาเรื่องทฤษฎีจำนวนเลข ส่วนเฮราคลีตุสค้นคิดเรื่องความเปลี่ยนแปลง (change) หรืออนิจจตาเฮราคลีตุสจึงเป็นนักปรัชญากรีกคนแรกที่คิดเรื่องนี้ เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดของธาเรสบอกว่า ปฐมธาตุคือน้ำได้แปรรูปเป็นไฟหรือดินนั้นเท่ากับว่า ธาเรสยอมรับว่า ความเปลี่ยนแปลงมีอยู่ แต่ขอไปที ท่านไม่ได้เก็บเรื่องนี้ว่าวิเคราะห์อย่างจริงจัง ต่อมาเฮลาคลีตุสเห็นว่า นักปรัชญาไม่ควรมองข้ามความเปลี่ยนแปลง ท่านได้คิดเรื่องนี้และไขความกระจ่าง

เฮราคลีตุสกล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะที่แท้จริง ของสรรพสิ่งทุกสิ่งเป็นอนิจจัง มันเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นจะเปลี่ยนสภาพหนึ่งไปสู่สภาพหนึ่ง เหมือนคนที่จะเปลี่ยนสภาพเด็กไปเป็นคนหนุ่มสาว และจากหนุ่มสาวเข้าสู่วัยชรา ไม่มีใครต้านกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ใครเล่าจะสามารถคงความหนุ่มสาวไว้เป็นศตวรรษ ไม่มีทาง มนุษย์และสรรพสิ่งมีธาตุแท้เหมือนกันคือ ต้องเปลี่ยนแปลง

เฮราคลีตุสยังได้กล่าวอีกว่า”ทุกสิ่งทุกอย่างเลื่อนใใหลไปเป็นกระแส” ดุจดังสายน้ำใหลไปไม่หยุดนิ่ง ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้คงที่แม้นาทีเดียว จุดที่เฮลาคลีตุสต้องการเน้นจากเรื่องนี้ก็คือ ในโลกนี้ไม่มีอะไรคงเดิม แม้แต่คนที่เราพบจำเจอยู่ทุกวันนั่นก็เถอะ เขาไม่ใช่คนหน้าเดิมหรอก เพราะนอกจากกระแสความคิดของเขาจะเปลี่ยนไปทุกขณะแล้ว ใบหน้าของเขาก็ยังเปลี่ยนไปตลอดเวลา จึงกล่าวได้ว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน แม้แต่ปฐมธาตุของโลก เฮลาคีลตุสคิดต่อไปว่า โลกที่ปลี่ยนแปลงตลอดเวลานี้เกิดมาจากอะไร ? และลงความเห็นว่า เนื่องจากสรรพสิ่งในโลกมีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติและไม่เห็นด้วยกับความคิดที่เสนอว่า น้ำ,อนันต์,หรืออากาศเป็นปฐมธาตุของโลก เพราะเฮราคลีตุสเห็นว่า ทั้งสามสิ่งเป็นสิ่งที่คงที่ถาวรไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง จึงคิดว่าสิ่งใดเป็นปฐมธาตุของโลก สิ่งนั้นต้องมีพลังงานเปลี่ยนแปลงในตัวเอง แต่เนื่องจากไฟมีพลังเปลี่ยนแปลง ดังนั้นไฟจึงเป็นปฐมธาตุของโลกท่านกล่าวว่า”โลกนี้ซึ่งเป็นโลกเดียวกันสำหรับทุกคน ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดหรือมนุษย์คนใดสร้างขึ้นมา แต่ทว่าโลกนี้ได้เป็น กำลังเป็น และรู้จักเป็นไฟอมตะ (everliving fire) เมื่อไฟมีลักษณะแปรปรวนเปลี่ยนได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ไฟเป็นธาตุดั่งเดิมของโลกเพราะไฟแปรรูปเป็นสรรพสิ่ง โดยระยะแรกไฟแปรรูปจากลม จากลมเป็นน้ำ จากน้ำเป็นดิน  นี่เป็นการแปรรูปแบบทางลง”(downnward path) นอกจากนี้ดินอาจแปรรูปเป็นน้ำ จากน้ำเป็นลม และจากลมเป็นไฟ เป็นการแปรรูปแบบ “ทางขึ้น” (upward path) เมื่อไฟแปรรูปเป็นสิ่งอื่นดังนี้ สรรพสิ่งจึงล้วนเป็นไฟ ดินคือไฟ หินคือไฟ วิญญาณคือไฟ และพระผู้เป็นเจ้าก็คือไฟ ทุกสิ่งคือไฟ และไฟคือทุกสิ่ง เหตุนั้น “ ทุกสิ่งกลายเป็นสิ่งเดียว และสิ่งเดียวกลายเป็นทุกสิ่ง” เพราะมีธาตุแท้อย่างเดียวคือมาจากไฟ สรรพสิ่งกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น สิ่งที่เป็นคู่ ชนิดขัดแย้งกัน, เย็นกับร้อน, ดีกับชั่ว, หรือเป็นกับตาย แต่ก็เป็นความขัดแย้งเพื่อการประสาน เป็นการแตกร้าวเพื่อการรวมตัวกันใหม่ เพื่อการดำรงอยู่ ท่านกล่าวว่า “ ความขัดแย้งก่อให้เกิดความสามัคคี การแตกร้าวก่อให้เกิดความกลมกลืนบรรเจิดสุข สรรพสิ่งเกิดมาจากความขัดแย้ง “ และ “สงครามหรือความขัดแย้งเป็นบิดาและราชาแห่งสรรพสิ่ง”

เฮราคลีตุสกล่าวว่า ถ้าเรามองโลกในมุมหนึ่ง เราจะพบแต่สิ่งขัดแย้งกัน แต่ถ้ามองโลกในมุมอื่น เราจะพบความกลมกลืนเป็นอันเดียวกันของสรรพสิ่ง คนธรรมดาจะเห็นความขัดแย้งในสิ่งทั้งหลาย แต่ผู้เข้าถึง “ วจนะ”(logos) จะพบเอกภาพในสรรพสิ่ง เขาจะเข้าใจแจ้มแจ่งว่า เย็นไม่ต่างจากร้อน สุขไม่ต่างจากทุกข์ เพราะเย็นก็คือร้อนน้อย ร้อนก็คือเย็นน้อย และสุขคือทุกข์น้อย ทุกข์ก็คือสุขน้อย มันเปลี่ยนแปลงสลับกันไปมา เพราะฉะนั้นในแต่ละคู่ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงสลับไปมา เพราะคุณสมบัติทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรคงเดิม และท่านเป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า”วจนะ” เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบมีแบบแผน เป็นดังจักรวาล(cosmos) ที่มีกฏเกณท์ สรรพสิ่งในจักรวาลเกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงและดับภายใต้”มาตรการที่แน่นอน” (fixed measure) มาตรการอันนั้นได้แก่ “กฏแห่งความเปลี่ยนแปลง”(law of change) ดังนั้นไฟจำต้องแปรรูปเป็นสรรพสิ่ง เหตุนั้นความเปลี่ยนแปลงในโลก เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเปลี่ยนแปลงเป็นของจริง ไม่ใช่เหตุบังเอิญ นี่คือหลักปรัชญาของเฮราคลีตุส

สำนักเอเลีย (the eleatic school) เป็นชื่อนครรัฐหนึ่งของกรีกดินแดนภาคใต้ของคาบสมุทรอิตาลี หลักปรัชญาของสำนักนี้ขัดแย้งตรงกันข้ามกับปรัชญาของสำนักเฮราคลีตุส ในขณะที่เฮราคลีตุสสอนว่า โลกเป็นอนิจจังหรือเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สำนักเอเลียกลับสอนว่า โลกเที่ยงเป็นนิจนิรันดร์ ความเปลี่ยนแปลงใดๆ ในโลกเป็นเพียงภาพลวงตา นักปรัชญาคนสำคัญของสำนักเอเลียประกอบด้วย เซดนฟาเนส ปาร์มีนิเดส และเซโนแห่งเอเลีย

6.เซโนฟาเนส (xenophanes) เกิดก่อน ค.ศ.570-480 เป็นนักปรัชญา โดยท่านชอบแต่งบทกวีนิพนธ์ไว้เป็นมหากาพย์ เพลงโศลก และกลอนเสียดสี ท่านไม่ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับปรัชญาโดยตรง แต่ปรัชญาของท่านมีสอดแทรกในบทกวีที่ท่านนิพนธ์นั่นเอง คำสอนของท่านมุ่งแก้ไขศรัทธาในศาสนาของประชาชน และเห็นว่าประชาชนในสมัยนั้น มีศรัทธาที่ผิดในพระเจ้า ท่านพยายามแสดงศรัทธาที่ถูกต้องแก่ประชาชน โดยมุ่งปฏิรูปศาสนาใหม่ ความเชื่อที่ผิดของชาวกรีกในยุกนั้น เชื่อว่ามวลมนุษย์อยู่ภายใต้เทวลิขิตของพระเจ้า มนุษย์ต้องบูชาบวงสรวงพระองค์ เพื่อให้พระองค์โปรดปรานประทานพร ส่วนผู้ใดบังอาจทำให้พระองค์พิโรธ ผู้นั้นจะถูกลงโทษอย่างสาสม เซโนฟาเนสกล่าวให้ความเห็นว่า เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะเทพเจ้าไม่ควรมีอารมณ์ โลภ โกรธ หลง เหมือนมนุษย์ เทพเจ้าควรบริสุทธิ์ผุดผ่องมากกว่า  ตามตำนานกรีกเล่าว่า เทพเจ้ามีการเกิดและจุติจากสวรรค์ บาวองค์ประกอบทุจริต บางองค์ประพฤติผิดในลูกเมียคนอื่น

ท่านมีทัศนะว่า เทพเจ้าอย่างนี้ไม่หน้ากราบไหว้ และเทพเจ้าในความเป็นจริงก็ไม่ได้ประพฤติอย่างนั้น การที่ภาพพจน์ของเทพเจ้าตกต่ำลงไปขนาดนี้ ก็เพราะฝีมือของกวีอย่างโฮเมอร์และเฮเสียด นักกวีทั้งสองนี้พรรณาเทพเจ้าทั้งสองผิดไปจากความเป็นจริงอย่างมาก ภาพพจน์ของเทพเจ้าจึงถูกบิดเบือนไป ท่านกล่าวว่า มนุษย์จะต้องไม่วาดภาพเทพเจ้าไปตามจินตนาการของตน มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า มนุษย์สร้างเทพเจ้าตามอำเภอใจ พระเจ้าในความจริงตามทัศนะของท่าน คือเทพเจ้าไม่ได้มีมากมายหลายองค์ (god) และพระเจ้าไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ พระเจ้ามีรูปทรงกลมมีตาทิพย์ และเป็นสัพพัญญู ทรงมีอยู่ชั่วนิรันดรกาล พระองค์ไม่มีการอุบัติและจุติ ไม่มีขอบเขตจำกัดเพราะไม่มีสิ่งอื่นมาจำกัดขอบเขตพระองค์ แต่มองอีกมุมหนึ่งจะว่าพระเจ้ามีขอบเขตจำกัดก็ใช่ เพราะพระองค์มีรูปทรงกลม แต่เป็นลูกกลมที่เต็มบริบูรณ์จนแบ่งแยกไม่ได้พระองค์ไม่มีการเคลื่อนที่และไม่มีการเปลี่ยนแปลง ท่านกล่าวว่า พระเจ้าอยู่ในโลก เพราะพระเจ้าเป็นอันเดียวกันกับโลก พระเจ้าคือโลก โลกคือพระเจ้า โดยนัยนี้ เซโนฟาเนสถือลัทธิสรรพเทวนิยม (pantheism) เพราะยืนยันว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นชิ้นส่วนของพระเจ้าองค์เดียวกัน

ส่วนเรื่องการกำเนิดโลก ท่านได้เสนอข้อสมมติฐานว่า “ท่านได้เห็นซากพืชและสัตว์ที่แข็งจนกลายเป็นหิน พบเปลือกหอยฝังอยู่ในหิน ท่านจึงสันนิฐานว่า โลกโผล่ขึ้นจากทะเล และต่อไปจะกลับจมหายลงทะเลไปอีก จากนั้นจะโผล่ขึ้นใหม่ สลับกันอย่างนี้เรื่อยไป

7.ปาร์มีนิเดส (parenides) ท่านประยุกต์คำสอนของอาจารย์ (เซโนฟาเนส) โดยได้แนวความคิดจากข้อความที่ว่า”สรรพสิ่งในโลกคือพระเจ้า” และ” พระเจ้าไม่เคยเปลี่ยนแปลง” จึงนำมาสร้างหลักปรัชญาที่ว่าด้วยความเที่ยงแท้คงที่ของโลก  และท่านได้เขียนหนังสือปรัชญาไว้เป็นบทกวีแบ่งเป็นสองภาค ภาคแรกชื่อ “วิถีแห่งความจริง”(way of truth) ภาคสองชื่อ “วิถีแห่งความลวง” (way of seeming)ท่านไม่เห็นด้วยกับการที่เฮราคลีตุสกล่าวว่าสรรพสิ่งในโลกมีอันต้องเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา เช่นไฟแปรรูปเป็นลม จากลมเป็นน้ำ จากน้ำเป็นดิน แต่ท่านมีความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ท่านยอมรับไม่ได้ ท่านบอกว่า การเปลี่ยนแปลงไม่มีอยู่จริง คิดดูว่าไฟแปรรูปเป็นลมได้โดยวิธีใด ในช่วงที่ไฟจะเปลี่ยนแปลงเป็นลมนั้น มีภาวการณ์อย่างไรเกิดขึ้น เป็นไปได้ไหมว่าไฟดับไปก่อนแล้วลมจึงเกิดขึ้นแทนที่ หรือว่าไฟไม่ได้มอดดับหายไป แต่ทว่าได้เปลี่ยนตัวเองเป็นลมโดยอัตโนมัติ ? ถ้าเป็นกรณีแรก คือไฟดับตัวเองไปก่อนแล้วลมจึงเกิดขึ้นแทนที่ นั่นหมายความว่า ลมเกิดมาจากความว่างเปล่าที่ไม่มีอะไรอยู่ก่อนเลย แต่ปาร์มีนิเดสเห็นว่า ลมจะเกิดความว่างเปล่าไม่ได้ เพราะจากความว่างเปล่าก็จะมีแต่ความว่างเปล่าตามมา ลมย่อมเกิดจากบางสิ่งบางอย่าง และในกรณีหลัง คือไฟยังไม่ดับหายไปไหน แต่ทว่าเปลี่ยนสภาพติดต่อกันไป ลมจึงจะเกิดมาจากไฟ นั่นแสดงว่าลมไม่ได้เกิดจากความว่างเปล่า แต่ลมเกิดจากบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่ก่อนแล้ว และสิ่งนั้นก็คือไฟ ลมจึงไม่ใช่สิ่งใหม่ เพราะมันเคยมีอยู่ก่อนในรูปของไฟ ดังนั้นเราจึงไม่อาจใช้คำพูดว่า “ลมเกิดมาจากไฟ” เพราะลมกับไฟโดยธาตุแท้เป็นสิ่งเดียวกัน จึงให้กำเนิดแก่กันไม่ได้ และเมื่อมันเป็นสิ่งเดียวกัน เราจะว่าสิ่งหนึ่งเปลี่ยนเป็นอีกสิ่งหนึ่งก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นสิ่งเดียวกันโดยธาตุแท้ ด้วยเหตุผลนี้ ปาร์มีนิเดสกล่าวว่า ธาตุแท้หรือแก่นแท้ของสรรพสิ่งไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย ความเปลี่ยนแปลงเป็นเพียงปรากฏการณ์หน้าฉากเท่านั้น แต่แก่นแท้ของโลกไม่เคยเปลี่ยนแปลง อะไรคือแก่นแท้ของโลก ? ปาร์มีนิเดสเแลยว่า ภาวะ (being) เป็นแก่นแท้ของโลก เหตุนั้นภาวะจึงเป็นปฐมธาตุของสรรพสิ่งภาวะไม่เคยเปลี่ยนแปลง ภาวะไม่มีการเกิด ภาวะไม่มีการดับ เพราะมันจะต้องมีอยู่ตลอดไป ดังนั้น ภาวะจึงคงเป็นอยู่นิจนิรันดร์ เหมือนกับพระเจ้าในทัศนะของเซโนฟาเนส

โลกคือภาวะ ดังนั้นโลกจึงไม่เปลี่ยนแปลง บางคนคิดว่า โลกเปลี่ยนแปลงเพราะสิ่งทั้งหลายในโลกเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป ปาร์มีนิเดสตอบว่า สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปก็จริง แต่ภาวะหรือแก่นแท้ไม่เคยเปลี่ยนแปลง เรารู้ว่าสิ่งต่าง ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงไปก็โดยอาศัยประสาทสัมผัส (senses) ทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย แต่ท่านกล่าวว่าประสาทสัมผัสให้แต่ความรู้ผิด ๆ โลกไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรอก ประสาทสัมผัสต่างหากลวงเราให้เห็นเป็นว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลง ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงในโลกเป็นเพียงภาพลวงตาหรือภาพมายาที่เกิดจากการลวงของประสาทสัมผัส บางคนอาจสงสัยว่า เราจะเข้าถึงความจริงที่ว่าโลกไม่เปลี่ยนแปลงโดยวิธีใด ? ท่านตอบว่า โดยอาศัยเหตุผล (reason) ความจริงชนิดนี้รู้ได้ด้วยเหตุผล ไม่ใช่ด้วยประสาทสัมผัส และปาร์มีนิเดสเป็นนักปรัชญาคนแรกที่ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างประสาทสัมผัสกับเหตุผล ดังนั้นปรัชญาของปาร์มีนิเดสเป็นประเภทอภิปรัชญา เพราะมู่งแสวงหาแก่นแท้หรือความจริงสูงสุดเกี่ยวกับโลก โดยนัยนี้ ปรัชญาของท่านเป็นบ่อเกิดแห่งลัทธิจิตนิยม (idealism) ที่เน้นความสำคัญของจิตเหนือวัตถุภายนอก ต่อมาพลาโต้ได้นำแนวคิดของท่านไปพัฒนาเป็นโลกแห่งมโนคติ (world of ideas) และถ้ามองอีกมุมหนึ่ง ภาวะในทัศนะของท่านเป็นสิ่งจำกัด กินที่ มีรูปเป็นทรงกลม ทำให้เข้าใจได้ว่า ภาวะเป็นวัตถุหรือสสาร เพราะเป็นสิ่งกินที่และมีรูปร่างดังกล่าว แก่นแท้ของโลกจึงเป็นวัตถุ เมื่อมองมุมนี้ปรัชญาของท่านก็เป็นวัตถุนิยม (materialism) ที่ถือว่าความจริงแท้ของสรรพสิ่งเป็นวัตถุหรือสสาร

8.เซโนแห่งเอเลีย (zeno of elea) ปรัชญาสำนักเอเลียคนนี้ เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งมีชื่อเรื่องว่า “ข้อโต้แย้ง” (disputation) จุดประสงค์ของการเขียนหนังสือเล่มนี้ก็คือ เพื่อป้องกันคำสอนของปาร์มีนิเดสจากการโจมตีของฝ่ายตรงข้าม และทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สนับสนุนอาจารย์ของตนเท่านั้น นักปรัชญารุ่นหลังเรียกวิธีโต้ตอบของเซโนว่า วิภาษาวิธี(dialectic) ซึ่งเป็นวิธีอ้างเหตุผลที่นักปรัชญายุคต่อมาอย่างเช่น โสคราตีส พลาโต้ ค้านท์ และเฮเกล นิยมใช้ อาริสโตเติ้ลยกย่องเซโนว่าเป็นบิดาแห่งวิภาษาวิธี นักปรัชญาฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับปาร์มีนิเดส เช่นนักปรัชญากลุ่มไพธากอรัสคัดค้านว่า สรรพสิ่งจะเป็นสิ่งเดียวไม่ได้ สรรพสิ่งต้องเป็นสรรพสิ่งกล่าวคือ โลกนี้เต็มไปด้วยความเป็นจริงหลายสิ่งหลายอย่าง ความมากหลายเป็นเรื่องมีอยู่จริง นอกจากนี้นักปรัชญากลู่มเฮราคลีตุสก็คัดค้านสำนักเอเลียบางว่า ความเป็นจริงไม่คงที่ถาวร โลกนี้เป็นเวทีแห่งความเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งในโลกเลื่อนไหลไปเป็นกระแสความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเป็นของจริง ความคงที่ถาวรต่างหากที่เป็นมายา

ยุทธวิธีของเซโนแห่งเอเลีย

1) ความเป็นจริงเป็นสิ่งเดียวหรือหลายสิ่ง

2) ความเป็นจริงเป็นสิ่งคงที่หรือเปลี่ยนแปลง

เพื่อสนับสนุนมติว่า ความเป็นจริงเป็นสิ่งเดียวและคงที่ถาวรท่านอภิปรายว่า ความมากหลายและความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เรายอมรับไม่ได้ จึงไม่มีอยู่จริง สังเกตว่า เซโนไม่ได้สนับสนุนทรรศนะของอาจารย์โดยตรง ท่านเพียงหักล้างมติของฝ่ายตรงข้ามลง เพื่อปกป้องคำสอนของอาจารย์เท่านั้น นี่คือยุทธวิธีของเซโน แทนที่จะทำตัวเป็นฝ่ายรับก็กลับเป็นฝ่ายรุก แทนที่จะรอเป็นจำเลย ท่านกลับฟ้องโจทก์เสียเอง เซโนไม่ได้ปฏิเสธความมากหลายไปทั้งหมด ท่านยอมรับมติของฝ่ายค้านที่ว่า ประสาทสัมผัสรายงานแก่ตาว่ามีสิ่งต่างๆ มากมายอยู่ในโลก เช่น สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา เป็นความหลากหลายที่เราพบอยู่ในชีวิตประจำวัน ท่านกล่าวว่า ความมากหลายที่เห็นก็เป็นสิ่งที่เรายอมรับไม่ได้ ถึงจะมีอยู่ก็มีอยู่ในฐานะเป็นหลอนหรือมายา ประสาทสัมผัสลวงเราให้เชื่อว่ามีความมากหลาย เหตุผลในดวงจิตต่างหากที่จะให้ความกระจ่างในเรื่องนี้แก่เรา ลองใช้เหตุผลเข้าไปวิเคราะห์ จะพบว่าข้อสมมติเรื่องความมากหลายนี้นำไปสู่บทสรุปที่ยุ่งเหยิงและขัดแย้งในตัวเอง ดังนั้เราจึงคงไม่ปฏิเสธความมากหลาย ข้ออภิปรายหรือบทพิสูจน์ไว้ 3 ประเด็น คือ

1.บทพิสูจน์เรื่องขนาด ความเป็นจริงแต่ละสิ่งย่อมจะมีขนาดใหญ่และเล็กบ้าง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ หรือภูเขาล้วนอยู่ในสภาพที่อาจถูกตัดแบ่งย่อยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และชิ้นส่วนเล็ก ๆ นั้นก็ยังสามารถถูกเฉือนให้เล็กลงเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จบ เซโนกล่าวว่า ความเป็นสิ่งแต่ละสิ่งก็พลอยมีขนาดเล็กสุดประมาณไปด้วย ทั้งนี้เพราะความเป็นจริงนั้นเป็นผลรวมของชิ้นส่วนที่เล็กสุดประมาณ

2. บทพิสูจน์เรื่องสิ่งคั่นกลาง สมมติว่า มีความเป็นจริงอยู่แค่สองสิ่งและแยกเป็นอิสระแก่กัน แต่การที่สิ่งสองสิ่งไม่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะมีสิ่งอื่นมาคั่นกลาง สิ่งคั่นกลางนั้น ย่อมไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับสิ่งทั้งสองที่มีอยู่แต่แรก ดังนั้นสิ่งคั่นกลางนั้นจึงมีค่าเท่ากับความเป็นจริงหน่วยที่สาม และในลักษณะเดียวกันในรูปแบบลำดับเดิม ถ้ามีสิ่งมาคั่นกลางในระหว่างสิ่งที่สามกับสิ่งที่สี่ หรือสิ่งที่สี่กับสิ่งที่ห้า คือยิ่งมีสิ่งมาคั่นกลางมากขึ้นเท่าไร เราก็จะได้ความจริงมากขึ้นเท่านั้นและเพิ่มไปเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จบ สังเกตว่ามีความขัดแย้งกับข้อสมมติเดิม ที่กล่าวว่า มีความจริงอยู่สองสิ่งเท่านั้น ถ้าเรายอมรับว่ามีความมากหลายอยู่ในโลก เราก็ต้องบอกได้ว่าในโลกนี้มีความจริงอยู่กี่สิ่ง ดังนั้นกรณีนี้ย่อมไม่อาจยอมรับได้ข้อสมมติว่ามีสิ่งมากหลายนั้น แล้วหันมายอมรับมติตรงกันข้ามที่ว่า ความเป็นจริงมีสิ่งเดียว

3.บทพิสูจน์เรื่องข้าวเปลือก ถ้าความมากหลายมีจริง สมมติข้าวเปลือกถังหนึ่งมีจำนวนเมล็กข้าวหลายเมล็ด ทิ้งเมล็ดหนึ่งลงบนพื้น เราจะไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย และในทำนองเดียวกันเราทิ้งเมล็ดข้าวลงบนพื้นทั้งหมด เราจะได้ยินเสียงดัง เสียงนั้นมาจากไหน ? ตอบว่าข้าวเปลือกแต่ละเมล็ดช่วยทำให้เกิดเสียง อย่าลืมว่าในตอนแรกเราได้ยอมรับว่า ข้าวเปลือกแต่ละเมล็ดไม่ทำเสียง ฉะนั้น เราจึงพบบทสรุปที่ขัดแย้งในตัวเองอีก คือเมล็ดข้าวเปลือกได้ทำเสียงและไม่ทำเสียงในเวลาเดียวกัน นั่นเป็นบทสรุปที่มาจากสมมติที่ว่า ความมากหลายมีจริง บทสรุปเช่นนี้ยอมรับไม่ได้ เพราะขัดกับเหตุผลอย่างรุนแรง ดังนั้นเราควรหันมาเชื่อว่า ความจริงมีสิ่งเดียว หลังจากปฏิเสธความมากหลายแล้ว เซโนก็หันมาปฏิเสธความเคลื่อนที่ด้วย เพราะความเคลื่อนที่เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง สิ่งต่างถ้าไม่เคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลงคงเกิดขึ้นไม่ได้ การที่เซโนปฏิเสธการเคลื่อนที่ก็เท่ากับปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงไปในตัว วิธีการนี้เป็นวิธีโจทน์ข้อโต้แย้งจากฝ่ายค้าน โดยตอนแรกฟังการตั้งประเด็นการโจทน์ ภายหลังได้บทสรุป เซโนทำให้บทที่ฝ่ายค้านกล่าวออกมาเป็นผลสะท้อนกลับไป ทำให้ฝ่ายค้านเกิดการขัดแย้งในคำกล่าวหาของตัวเอง  เซโนให้ชื่อแก่บทสรุปที่ขัดแย้งในตัวเองว่า”ประติทรรศน์”(paradox) และบทสรุปของท่านได้รับการยกย่องตลอดมาในฐานะที่เป็น “ประทรรศน์ของเซโน (zeno’s paradoxes)”

บทสรุปนักปรัชญาทั้งสามของสำนักเอเลียเสนอคำสอนที่สัมพันธ์กัน กล่าวคือ เซโนฟาเนสมีทรรศนะว่า พระเจ้าคือสรรพสิ่งและสรรพสิ่งคือพระเจ้าพระเจ้าคือความเป็นจริงประการเดียวในโลกพระองค์ทรงมีอยู่อย่างเที่ยงแท้ชั่วนิรันดร ปาร์มีนิเดสเสนอใหม่ว่า สรรพสิ่งคือสภาวะ (beimg) และสภาวะคือสรรพสิ่งความเป็นจริงในโลกมีสิ่งเดียว และสิ่งนั้นได้แก่ภาวะอันไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง เซโนสนับสนุนปาร์มีนิเดสด้วยการพิสูจน์ว่า ภาวะหรือความเป็นจริงนั้นมีอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร ความเปลี่ยนแปลงเป็นแต่เพียงภาพลวงตา หลักใจความสำคัญของสำนักเอเลียมีอยู่ว่าเนื้อแท้หรือความเป็นจริงในโลกเป็นสิ่งคงที่ถาวร  อันไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ปรัชญานี้จึงขัดอย่างตรงกันข้ามกับปรัชญาของเฮราคลีตุสที่ยืนยันว่า เนื้อที่หรือความเป็นจริงในโลกคือความเปลี่ยนแปลง หลักปรัชญาทั้งสองจึงหักล้างและโจมตีกัน ต่างฝ่ายสามารถให้เหตุผลชวนเชื่อ ต่อมานักปรัชญาที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด จึงนำเอาหลักของปรัชญาทั้งสองฝ่ายมารวมกันผสมผสานและให้ความสำคัญเท่าเทียมกันแก่ความคงที่ถาวรและความเปลี่ยนแปลง

9.เอมเปโดเคลส (empedocles) พ.ศ.48-108 เป็นชาวเมืองอะกรีเจนตุม ตั้งอยู่ภาคใต้ของเกาะซิซิลี ท่านเกิดในตระกูลมั่งคั่ง บิดาเป็นนักการเมือง ท่านเป็นนักการเมือง,นักพูด,กวี,แพทย์,นักสอนศาสนา และนักปรัชญา ท่านมีผลงานเป็นบทกวีไว้ 2 เรื่อง เรื่องแรกว่าด้วยจักวาลวิทยา มีชื่อเรื่องว่า” ธรรมชาติ” (on nature) เรื่องที่ 2 เกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา ชื่อเรื่องว่า”ชำระมลทิน” (purification) ท่านได้นำหลักปรัชญาทั้งสองอันสุดโต้งมาผสมผสานกัน สำนักแรกคือปรัชญาของเฮราคลีตุสมีทัศนะว่า โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความคงที่ถาวรไม่มีอยู่จริง สำนักที่สองคือเอเลียมีทัศนะตรงกันข้ามว่า โลกเที่ยงแท้คงที่ ความเปลี่ยนแปลงต่างหากเป็นภาพลวงตาดังนั้น เอมเปโดเคลส ท่านกล่าวว่า โลกนี้ไม่เปลี่ยนแปลงทั้งนี้เพราะปฐมธาตุของโลกเป็นสิ่งคงที่ถาวรไม่มีการเกิดดับ โลกเกิดจากการผสมผสานกันของปฐมธาตุเหล่านั้น เมื่อปฐมธาตุรวมตัวกันหรือแยกจากกันเราก็บอกว่า โลกกำลังเปลี่ยนแปลง นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวเท่านั้นเอง การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการที่ปฐมธาตุโยกย้ายตำแหน่ง แต่ปฐมธาตุเองไม่ได้เปลี่ยนแปลง ดังนั้น เมื่อมองไปที่สรรพสิ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของปฐมธาตุ เราจะพบความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะปฐมธาตุซึ่งเป็นส่วนประกอบได้โยกย้ายตำแหน่ง ถ้ามองไปที่ปฐมธาตุ เราไม่พบความเปลี่ยนแปลง ปฐมธาตุไม่มีเกิด ไม่มีดับ ใครทำลายไม่ได้ เอมเปโดเคลสจึงกล่าวย้ำว่า เมื่อมองไปที่ปฐมธาตุจะพบความเที่ยงแท้คงที่ของโลก เมื่อมองไปที่สิ่งต่าง ๆ อันเป็นส่วนผสมของปฐมธาตุ เราจะพบความเปลี่ยนแปลงของโลก ดังนั้น โลกจึงทั้งเปลี่ยนแปลงและไม่เปลี่ยนแปลงในเวลาเดียวกัน

ปฐมธาตุของโลกคืออะไร ? ธาเรสตอบว่า ปฐมธาตุได้แก่ น้ำ อานักซิเมเนสตอบว่า ปฐมธาตุ ได้แก่ อากาศ เฮราคลีตุสตอบว่า ไฟ และเซโนฟาเนสตอบว่า ดิน คำตอบเหล่านี้เตลิดไปคนละทาง และขัดแย้งกันตลอดเวลา เหตุนั้นเอเปโดเคลสจึงเสนอว่า ปฐมธาตุมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และมีสาเหตุใดที่ทำให้ธาตุรวมตัวกันและแยกตัวจากกัน ท่านตอบว่า มีพลังธรรมชาติสองชนิด พลังแรกทำหน้าที่รวมธาตุสี่เข้าด้วยกันมีชื่อว่า ความรัก (love) พลังที่สองทำหน้าที่แยกธาตุทั้งสี่ออกจากกันมีช่อเรียกว่า ความเกลียด (hate) พลังเหล่านี้ไม่ใช่กระแสจิตของพระเจ้า แต่เป็นพลังธรรมชาติ พลังทั้งสองนี้เป็นผู้เป็นผู้สร้างและทำลายโลก บทสรุป ปรัชญาของเอมเปโดเคลส ได้รวมความคิดเรื่องปฐมธาตุ ว่าประกอบด้วยปฐมธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟดังนั้นท่านจึงเป็นนักพหุนิยม (pluralist) เพราะท่านยอมรับว่าความจริงสูงสุดมีหลายอย่าง ซึ่งพ้องกับแนวคำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องมหาภูตรูปหรือธาตุสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่ต่อมาก็ม

 

ปฐมธาตุของโลกคืออะไร ? ธาเรสตอบว่า ปฐมธาตุได้แก่ น้ำ อานักซิเมเนสตอบว่า ปฐมธาตุ ได้แก่ อากาศ เฮราคลีตุสตอบว่า ไฟ และเซโนฟาเนสตอบว่า ดิน คำตอบเหล่านี้เตลิดไปคนละทาง และขัดแย้งกันตลอดเวลา เหตุนั้นเอเปโดเคลสจึงเสนอว่า ปฐมธาตุมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และมีสาเหตุใดที่ทำให้ธาตุรวมตัวกันและแยกตัวจากกัน ท่านตอบว่า มีพลังธรรมชาติสองชนิด พลังแรกทำหน้าที่รวมธาตุสี่เข้าด้วยกันมีชื่อว่า ความรัก (love) พลังที่สองทำหน้าที่แยกธาตุทั้งสี่ออกจากกันมีช่อเรียกว่า ความเกลียด (hate) พลังเหล่านี้ไม่ใช่กระแสจิตของพระเจ้า แต่เป็นพลังธรรมชาติ พลังทั้งสองนี้เป็นผู้เป็นผู้สร้างและทำลายโลก บทสรุป ปรัชญาของเอมเปโดเคลส ได้รวมความคิดเรื่องปฐมธาตุ ว่าประกอบด้วยปฐมธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟดังนั้นท่านจึงเป็นนักพหุนิยม (pluralist) เพราะท่านยอมรับว่าความจริงสูงสุดมีหลายอย่าง ซึ่งพ้องกับแนวคำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องมหาภูตรูปหรือธาตุสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่ต่อมาก็มีนักปรัชญารุ่นหลังกล่าวว่า ปฐมธาตุหน้าจะมีมากกว่านี้ นักปรัชญาที่ว่านี้คือ อานักซาโกรัส

10.อานักซาโกรัส (anaxagoras) เกิด พ.ศ.43-115 ที่เมืองคลาโซเมแน (clazomenae)เป็นนักปรัชญาคนสำคัญของนครเอเธนส์ ที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด และเป็นยุคทองกล่าวคือ มีนักปฏิมากรเอกอย่างฟีเดียส, เฮโรโดตุสผู้เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์, ท่านเป็นตระกูลที่มั่งคั่ง ได้สละสมบัติออกเดินทางแสวงหาความรู้ทางปรัชญา และวิทยาศาสตร์ และเปิดสำนักสอนปรัชญาที่กรุงเอเธนส์ ได้สร้างผลงานไว้เป็นหนังสือปรัชญามมีชื่อเรียกว่า” ธรรมชาติ” (on nature) ท่านเชื่อเช่นเดียวกับสำนักเอเลีย ท่านเห็นว่า สิ่งทั้งหลายไม่อาจเกิดมีขึ้นจากความว่างเปล่า ส่วนประกอบของโลกได้ลอยคว้างอยู่ในห้วงอวกาศ โดยผสมปนเปสับสนยุ่งเหยิง จนกระทั้งได้มีพลังอย่างหนึ่งมารวบรวมส่วนประกอบเหล่านั้นเข้าเป็นระเบียบ ดังนั้นโลกจึงเกิดขึ้นอันเป็นผลต่อเนื่องจากการผสมของส่วนประกอบเหล่านั้น และปฐมธาตุของโลกตามคำกล่าวของท่านต้องมีจำนวนมากกว่านี้ และได้อธิบายต่อไปอีกว่า ในข้าวเมล็ดหนึ่งมีธาตุของเส้นผมผสมอยู่ ธาตุนั้นได้แยกตัวไปสร้างเส้นผม ในเมล็ดข้าวนั้นยังมีธาตุอื่นๆ อีกมากผสมอยู่  เช่นธาตุกระดูกที่แยกไปสร้างกระดูก บางธาตุแยกไปสร้างเนื้อ ในเมล็ดข้าวจึงมีธาตุจำนวนนับไม่ถ้วน แต่ละธาตุก็เป็นความจริงเท่า ๆ กัน เมื่อเปรียบเทียบไปถึงสิ่งทั้งหลายในโลก แต่ละธาตุมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เป็นความจริงสูงสุดเท่า ๆ กัน ไม่มีธาตุใดเกิดมาจากธาตุอื่น สามมารถถูกตัดแบ่งออกได้ ไม่มีที่สิ้นสุด แม้แต่ธาตุทองคำแท้ ๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ยังมีธาตุอื่นแฝงผสมอยู่ เมื่อธาตุเหล่านั้นมีจำนวนมหาศาลปะปนกันอย่างมีระเบียบ จนกลายเป็นมวลสารก้อนมหึมา ที่แผ่ขยายเต็มห้วงอวกาศและมี” พลัง” ชนิดหนึ่งสร้างวงวนขึ้นที่จุดใดจุดหนึ่งแล้วค่อยขยายเส้นผ่าศุนย์กลางขึ้นเป็นลำดับ มันดึงดูดธาตุต่าง ๆ ในกลุ่มมวลสารมาไว้ กระบวนการสร้างโลกจึงเกิดขึ้น ธาตุต่าง ๆ ที่หลุดเข้าไปในวงวนจะรวมตัวกัน โดยธาตุที่เหมือนกันผสมกัน ธาตุดินเข้าผสมกับธาตุดิน ธาตุไม้ผสมกับธาตุไม้ จนกลายเป็นสรรพสิ่งในโลกเป็นสัดส่วนอย่างมีระเบียบ เอมเปโดเคลสกล่าวว่า ความเกลียดและความรักคือพลังตัวการที่แยกและรวมธาตุ แต่อานักซาโกรัส ไม่เห็นด้วย ท่านกล่าวว่า ความเกลียดและความรักเป็นพลังทางกายภาพที่ไร้ชีวิตจิตใจเหมือนสสารทั่วไป พลัทั้งสองจึงเป็นพลังตาบอดที่จะแยกและรวมธาตุอย่างไร้จุดหมาย ท่านเปรียบเทียบว่าโลกเกิดจากความคิดของสถาปนิกชั้นเยี่ยม สถาปนิกนั้นก็คือ จิต หรือ มโน (mind or nous) ตามความคิดของท่านคำว่า จิต หรือ มโน ไม่ได้หมายถึงพระเจ้า แต่มโนเป็นพลังจิตผู้อำนวยการจัดรูปแก่โลก มโนเป็นพลังตัวการแยกและรวมธาตุ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเคลื่อนไหวในจักรวาล มโนเป็นพลังจิตที่จัดระเบียบ คอยทำหน้าที่วางแผนและควบคุมการจัดรูปให้กับโลก (world ordering spirit)

มโนที่ไม่ได้สร้างโลก เพราะเป็นเพียงแต่ผู้จัดรูปให้กับโลก ไม่ได้สร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของโลกขึ้น ส่วนประกอบเหล่านั้นเป็นธาตุที่ทีจำนวนมหาศาลล่องลอยอยู่ในจักรวาลอย่างไร้ระเบียบ เพื่อคอยให้มโนนำเอาไปผลิตเป็นโลกขึ้น  ธาตุเหล่านั้นเป็นควาามจริงสูงสุดพอ ๆ กับมโน เพราะมโนไม่ได้สร้างธาตุ ทั้งธาตุก็ไม่ได้สร้างมโน สิ่งทั้งสองเป็นความจริงแท้เท่า ๆ กัน และมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะมโนเป็นจิต ในขณะที่ธาตุเป็นสสาร ปรัชญาของอานักซาโกรัสจัดเป็นทวินิยม (dualism) เพราะยอมรับว่าความจริงสูงสุดมี 2 อย่าง คือ จิต และ สสาร ท่านเป็นปรัชญาคนแรกที่พูดถึง จิตไว้ชัดเจน นักปรัชญายุคต่อมาได้นำแนวคิดนี้ไปสร้างปรัชญาจิตนิยม (idealism) ท่านเป็นผุให้กำเนิดปรัชญานิยม และเป็นนักปรัชญาคนแรกที่นำไปเผยแพร่แก่ชาวเอเธนส์ จนเป็นศุนย์กลางแห่งปรัชญาในกาลต่อมาหลายศตวรรษ

11.เดมอคริตุส (democritus) เกิด พ.ศ. 83-173 ที่เมืองอับเดรา (abdera) ในแคว้นเธรส (thrace) ท่านเป็นศิษย์ของผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญาปรมาณูนิยม (the school of atomists) มีชื่อว่าลิวซิปปุส(leucippus) ผู้มีชีวิตร่วมสมัยเดียวกันกับเอมเปโดเคลสและอานักซาโกรัส ได้ศึกษาปรัชญาจากสำนักเอเลียเป็นต้นฉบับ ท่านรุ่งเรืองถึงขีดสุดในปี พ.ศ. 103 และได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ของท่านขื่อ เดมอคริตุส ผลงานชิ้นสำคัญขิงเดมอคริตุส ที่ยังเหลือปรากฏอยู่ให้เราได้รู้จัก ผลงานของท่านมีมากที่สุดคนหนึ่งในสมัยโบราณกว่า 60 ชิ้น แต่ได้สูญหายไปเกือบหมดที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันเป็นเพียงเศษนิพนธ์ ผลงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์, อภิปรัชญญา, จริยศาสตร์, ประวัติศาสตร์, และคณิตศาสตร์

ท่านยอมรับระหว่างความเที่ยงแท้ถาวรกับการเปลี่ยนแปลง โดยมีทัศนะไม่ต่างจากเอมเปโดเคลสและอานักซาโกรัส เบื้องแรกท่านยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงในโลกเป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิสธ การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่กระทบกระเทือนต่อปฐมธาตุหรือแก่นแท้ของโลก นั่นก็คือ แม้สรรพสิ่งในโลกจะกำลังเปลี่ยนแปลง ปฐมธาตุหรือส่วนประกอบดั่งเดิมของโลกไม่เคยเปลี่ยนแปลงและจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ปัญหาที่ว่า ปฐมธาตุคืออะไร ? เดมอคริตุสกล่าวว่า ปฐมธาตุไม่ใช่ดิน น้ำ ลม ไฟ อย่างที่เอมเปโดเคลสเสนอ สำหรับเดมอคริตุสแล้ว ปฐมธาตุคือ ปรมาณู หรือ อะตอม (atom) และคำว่า ปรมาณู หมายถึง “วัตถุที่มีขนาดเล็กที่สุดไม่สามารถจะแบ่งย่อยได้อีกแล้ว จึงหมายถึงของสิ่งเดียวกับ “อะตอม” ที่แปลว่า ”สิ่งที่ไม่อาจตัดแบ่งออกไปได้อีก (uncuttable) ดังนั้น ปรมาณูหรืออะตอมจึงได้แก่ชิ้นส่วนเล็กที่สุดของสสารที่เหลืออยู่ภายหลังการตัดแบ่งสสารชิ้นหนึ่ง ๆ  ปรมาณูนั้นเป็นอนุภาคเล็กที่สุดของสสาร มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ปรมาณูเป็นวัตถุดิบสำหรับสร้างโลก มันมีอยู่ก่อนหน้าการกำเนิดของโลก เพราะปรมาณูเกิดขึ้น สรรพสิ่งจึงเกิดขึ้น เพราะปรมาณูแยกตัวออกจากกัน สรรพสิ่งจึงแตกสลาย การเกิดเป็นเพียงการรวมตัวกันของปรมาณูที่นอนรออยู่แล้ว ส่วนการดับเป็นการแยกตัวของปรมาณู โดยนัยนี้ปรมมาณูจึงมีอยู่ก่อนการเกิดโลก และจะคงอยู่ต่อไปหลังโลกแตกสลาย ปรมาณูไม่มีการเกิดดับ ปรมาณูไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ไม่มีวันถูกทำลาย ปรมาณูจึงเป็นความจริงแท้ของโลก มันมีลักษณะเช่นเดียวกับภาวะ (being) ของปาร์มีนิเดส จะต่างกันก็ตรงที่ว่า ภาวะเป็นมวลสารชิ้นเดียวมหึมาที่แผ่ติดเป็นพืดทั่วจักรวาล ส่วนปรมาณูก็คือภาวะนั่นเอง ได้ถูกสับย่อยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เหตุนั้นสิ่งทั้งสองจึงมีลักษณะเช่นเดียวกัน คือเป็นความแท้ที่คงที่ถาวรชั่วนิรันดร์

ทานกล่าวว่า ปรมาณูมีมากมายนับไม่ถ้วน พอที่จะสร้างระบบจักรวาลไม่รู้จบทีเดียว ปรมาณูแต่ละชิ้นแตกต่างกันที่ปริมาณ คืออาจมีรูปร่างต่างกัน ขนาดต่างกัน และน้ำหนักมากน้อยต่างกัน นอกจากนี้แล้วปรมาณูไม่มีข้อแตกต่างจากกันและกัน ไม่มีข้อแตกต่างทางคุณภาพ ไม่มีสี กลิ่น รส ไม่บรรจุเชื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นปรมาณูจึงไม่ใช่ดิน น้ำ ลม ไฟ เหตุนั้นจึงกล่าวได้ว่า ปรมาณูแตกต่างกันที่ปรมาณ ไม่ใช่คุณภาพ ท่านบอกว่า ปรมาณูที่เข้ารวมตัวกันจนก่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ไม่มีตัวการภายนอกทำให้ปรมาณูเคลื่อนที่ ไม่มีพลังงานแห่งความรักและความเกลียดอย่างที่เอมเปโดเคลสเสนอ ไม่มีพลังจิตหรือมโนอย่างที่อานักซาโกรัสเข้าใจ ปรมาณูเคลื่อนที่เข้าหากันเพราะมันมีพลังเคลื่อนไหวในตัวเอง ปรมาณูเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาเหมือน “ละอองฝุ่นในแสงแดด” ทานบอกว่าปรมาณูจะเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ก็เพราะมีที่ว่างหรืออวกาศ อวกาศเป็นของที่มีอยู่จริงทั้ง ๆ ที่ไม่อาจมองเห็นหรือแตะต้องได้ สิ่งที่มีอยู่จริงไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างตัวตน อวกาศไม่ใช่ของว่างเปล่า แท้จริงอวกาศและปรมาณูล้วนเป็นของจริงแท้เท่า ๆ กัน อวกาศนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับอภาวะ (non-being) ของปาร์มีนิเดส จะต่างกันตรงที่ว่าสำหรับปาร์มีนิเดส อภาวะไม่มีอยู่จริง แต่อวกาศของเดมอคริตุสเป็นของจริงแท้ ๆ พอกับปรมาณู เหตุนั้น เดมอคริตุสจึงกล่าวว่า ความจริงแท้ในโลกมีอยู่ 2 อย่างคือ ปรมาณู และ อวกาศ ท่านกล่าวว่า ก่อนกำเนิดโลก ปรมาณูจำนวนนับไม่ถ้วนลอยกระจายในห้วงอวกาศ เนื่องจากปรมาณูมีน้ำหนัก และขนาดประจำตัว ปรมาณูที่ใหญ่กว่าและหนักกว่าจะตกลงเบื้องล่าง แล้วปะทะกับปรมาณูที่เล็กกว่าเบากว่าก่อให้เกิดวงวน (vortex) วงวนนี้มีสภาพเหมือนวังน้ำวนที่พัดเอาทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาในรัศมีทำการของตน ปรมาณูภายในวงวนจะรวมตัวกันโดยปรมาณูที่มีรูปร่างและขนาดคล้ายคลึงกัน จะเกาะตัวกันเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ และสิ่งต่าง ๆ จนเป็นโลกนี้และดวงดาวในจักรวาล ดังนั้นการเกิดโลกและการเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนพื้นโลกล้วนเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของปรมาณูนั่นเอง ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้เคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงโดยความบังเอิญ เดมอคริตุสกล่าวว่า การเคลื่อนที่ของปรมาณูดำเนินตาามกฏกลศาสตร์ (mechanical law) อันตายตัว”ไม่มีอะไรเกิดขึ้นอย่างไร้เหตุผล สรรพสิ่งเกิดขึ้นตามเหตุผลและความจำเป็น” ในทัศนะเรื่องวิญญาณ ท่านกล่าวว่า วิญญาณของคนเราเกิดจากการรวมกลุ่มของปรมาณูที่กลมที่สุด ประณีตที่สุด คล่องแคล่วที่สุด เรียกปรมาณูพวกนี้ว่า “ ปรมาณูวิญญาณ.” (soul atom) มันแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ทำหน้าที่อำนวยการความเคลื่อนไหวของอวัยวะในร่างกาย ทำหน้าที่ต่างกันไป เช่น ปรมาณูส่วนสมองทำหน้าที่คิด ปรมาณูส่วนหัวใจทำหน้าที่โกรธ ดังนั้นปรมาณูวิญญาณมีการถ่ายเทเข้าออกในร่างกายของเรา เวลาหายใจออก ปรมาณูวิญญาณบางส่วนออกไปกับลมหายใจ หายใจเข้าปรมาณูวิญญาณบางส่วนเข้ามา ชีวิตคนเราจึงดำเนินไปตามปกติตราบที่ปรมาณูวิญญาณนี้มีการถ่ายเทเป็นไปสม่ำเสมอ ในเวลาตายปรมาณูมีสภาพเหมือนกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง ปรมาณูวิญญาณเหล่านี้จะคุมตัวกันเป็นสัมภเวสีที่เที่ยวหาภพชาติเกิดใหม่จึงไม่มี

ส่วนทฤษฎีความรู้ของท่าน ได้ถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ความรู้เทียมกับความรู้แท้ ความรู้อย่างแรกเกิดจากประสาทสัมผัส เช่น การเห็นภาพ, ได้ยินเสียง เกิดขึ้นเพราะวัตถุต่าง ๆ แพร่ “ภาพเหมือน”(images) ของตัวเองกระจายออกไปรอบด้าน ภาพเหมือนจะกระทบเข้าประสาทตาของเรา ประสาทตารายงานไปยังปรมาณูวิญญาณที่ทำหน้าที่เห็นภาพ การเห็นภาพจึงเกิดขิ้น และในเวลาที่ภาพเหมือนแล่นผ่านอากาศ กระทบประสาทตาปรากฏมีภาพเหมือนของวัตถุอื่นเข้าแทรกซ้อน การเห็นภาพจะสับสนกลายเป็นภาพลวงตา เดมอคริตุสกล่าวว่า ความรู้ระดับสัมผัสนี้เป็นควมรู้เทียม เพราผัสสะบิดเบือนโลกภายนอก เช่น ตารายงานว่า เห็นวัตถุสีขาวอยู่ตรงหน้า  สมมติว่ามีสตรีสวมเสื้อผ้าสีขาว ประสาทหูรายงานว่า เธอพูดกับเราด้วยเสียงมอันไพเราะ จมูกเราได้กลิ่นน้ำหอมอ่อน ๆ เราเชื่อสนิทว่า สี เสียง และกลิ่นเหล่านั้น มีอยู่จริงตรงหน้าเรา ท่านตั้งปัญหาว่า สี เสียง และกลิ่นมาจากไหน ? ไม่ใช่สตรีที่อยู่เบื้องหน้าเราอย่างแน่นอน เพราะสตรีที่อยู่เบื้องหน้าเรานั้น แท้จรริงเป็นเพียงกองแห่งปรมาณูจำนวนหนึ่งเท่านั้น สิ่งทั้งหลายในโลกเกิดจากการรวมตัวของปรมาณู ซึ่งเป็นสิ่งไม่มีสี เสียง กลิ่นหรือรส ดังนั้นวัตถุในโลกทั้งหมดจึงไร้ สี เสียง รส และกลิ่นเป็นสิ่งที่ใจเราสร้างขึ้นหลังจากที่ภาพเหมือนของวัตถุมากระทบประสาทสัมผัสของเรา คุณภาพเหล่านี้ นักปรัชญายุคต่อมาจึงเรียกว่า “คุณภาพทุติยภูมิ“ คุณภาพทุติยภูมิไม่ได้มีอยู่จริงในวัตถุ การรับรู้นั้นจึงเป็นความรู้เทียม ความรู้ที่แท้ต้องเป็นความรู้เกี่ยวกับปรมาณูตามที่เป็นจริง คือรู้ตัวคุณภาพปฐมภูมิของปรมาณูว่า มันมีรูปร่าง ขนาด และน้ำหนักเท่านั้น เพราะปรมาณูเล้กมากเราจึงไม่เห็น เราเพียงคิดถึงความมีอยู่ของปรมาณูด้วยเหตุผล (reason) ดังนั้นความรู้แท้ถึงความจริงเรื่องปรมาณู จึงเกิดขึ้นจากความคิดที่มีเหตุผล ความรู้แท้เป็นความรู้ระดับเหตุผล ไม่ใช่ระดับสัมผัส เดมอคริตุสจึงให้ความสำคัญแก่เหตุผลมากกว่าสัมผัสนักปรัชญาเรียกท่านว่า “เป็นนักเหตุผลนิยม” (ratoinalist)

เดมอคริตุส กล่าวว่า เทพเจ้าเกิดจากการรวมตัวของปรมาณูที่ประณีตมาก จึงมีอำนาจและเหตุผลเหนือมนุษย์ เทพเจ้ามีอายุยืนยาวกว่ามนุษย์ แต่ไม่เป็นอมตะ เทพเจ้ามีวันตายเหมือนกัน ท่านบอกว่า เทพเจ้าไม่นิยมมาแทรกแซงกิจการภายในของมนุษย์  ดังนั้น มนุษย์ไม่จำเป็นต้องกลัวเกรงหรือเซ่นไหว้เทพเจ้าแต่ประการใด ในเรื่องจริยศาสตร์ท่านกล่าวว่า ชีวิตทุกชีวิตมีจุดหมายคือ ความสุข ความสุขคือความสบายใจ เนื่องจากความสงบราบเรียบภายในดวงใจ ไม่ใช่ความสุขทางเนื้อหนังประเภทนี้เกิดชั่วครึ่งชั่วยาม ท่านบอกว่า คนเรายิ่งลดความทะยานอยากลงได้มากเท่าใด โอสาศที่เขาจะชอกช้ำใจ เพราะความผิดหวังก็มีน้อยลงเท่านั้น.

สรุปเดมอคริตุส เป็นนักวัตถุนิยม (materialist) เพราะเชื่อว่าความจริงสูงสุด เป็นอนุภาคของสสารหรือปรมาณู วิญญาณในทัศนะของท่านก็เป็นปรมาณู  เป็นอัจฉริยของชาวกรีกที่นัปรัชญาปรมาณูนิยม ได้คนพบปรมาณูแล้วหลายศตวรรษ และปรัชญาของท่านเป็นที่ยอมรับในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่เอง เดมอคริตุสกล่าวว่า ปรมาณูหรืออะตอมเป็นสิ่งที่แบ่งแยกไม่ได้ แต่นัวิทยาศาสตร์ได้แยกส่วนประกอบของปรมาณูออกเป็นประจุไฟฟ้าอีเลคตรอน โปรตรอน และนิวตรอน นับว่าปรัชญาของท่านมีอิทธิพลต่อแนวความคิดของนักปรัชญายุคต่อมา และได้รับการกล่าวถึงเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เป็นการสิ้นสุดปรัชญากรีกสมัยเริ่มต้น

ปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรืองซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเอเธนส์ และมีความเจริญก้าวหน้าถึงขีดสุด นักปรัชญากรีกในสมัยเริ่มต้น เป็นนักปรัชญาธรรมชาติ มีความสนใจอยู่แต่เรื่องปฐมธาตุของโลก อันเป็นปัญหาที่ไกลตัวมนุษย์ ส่วนนักปรัชญาสมัยกรีกรุ่งเรือง ได้ให้ความสนใจปัญหาใกล้ตัวมนุษย์ยิ่งขึ้น ความคิดของกลุ่มโซฟิสต์ (sophists) มีอิทธิพลมากต่อความเปลี่ยนแปลงของนักปรัชญายุคนี้ คำว่าโซฟิสต์ ในภาษาอังกฤษแปลงมาจากคำในภาษากรีกอันเป็นคำเรียก”ครู” ในสมัยที่กรีกรุ่งเรือง จึงได้แก่ครูผู้จาริกไปตามนครรัฐต่าง ๆ  เพื่อสั่งสินศิลปวิทยาการ พวกโซฟิสต์เปิดสอนวิทยาการหลายแขนง เช่น ประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปรัชญา และวาทศิลป์ นักปรัชญากลุ่มของโซฟิสต์มีหลายคน คือ

1) โปรแทกอรัส (protagoras) สอนหลักการสร้างความสำเร็จทางการเมือง

2) กอร์เกียส (gorgias) สอนวิชาวาทศิลป์และการเมือง

3) โปรดิคุส (prodicus) สอนไวยากรณ์และคณิตศาสตร์

4) ฮิปเปียส(hippias) สอนประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์

12.โปรแทกอรัส (protagoras) เกิด พ.ศ.63-133 ที่เมืองอับเดรา (abdera) ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับเดมอคริตุสเช่นกัน ปรัชญาของท่านจัดอยู่ในประเภทญาณวิทยา หรือทฤษฎีความรู้ ท่านกล่าวว่า เมื่อมีความเห็นในเรื่องใดแตกแยกออกเป็นหลายอย่าง การตัดสินใครถูกใครผิด ทุกคนมีสิทธิ์ตัดสินเท่าเทียมกัน โปรแทกอรัสกล่าวว่า คนเป็นเครื่องวัดสรรพสิ่งอะไรจริงอะไรเท็จขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละคน ใครว่าอะไรจริงก็จริงสำหรับเขาผู้นั้น คนอื่นไม่อาจคัดค้านได้ เมื่อธาเรสกล่าวว่า น้ำเป็นปฐมธาตุของโลก นั่นก็ถูกตามทัศนะของธาเรส ครั้นเฮราคลีตุสกล่าวว่า ไฟเป็นปฐมธาตุ นั่นก็ถูกตามทัศนะของเฮราคลีตุส การตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิดเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล ตามทัศนะขิงโปรแทกอรัส ความเห็นของทุกคนถูกทั้งหมด เพราะคนแต่ละคนเป็นมาตรการตัดสินความจริงเสมอกัน ความจริงสำหรับโปรแทกอรัสจึงเป็นอันเดียวกับ“ทัศนะอัตนัย” (subjective opinion) หรือความเห็นเฉพาะบุคคล ท่านไม่แยกทัศนะอัตนัยออกจากความจริง “ความจริงแบบปรนัย” (objective truth)

คำว่า ทัศนะอัตนัย”(subjective opinion) และ “ความจริงแบบปรนัย (objective truth) ต้องทำความเข้าใจทั้งสองประการนี้ให้ถูกต้องก่อน สมมติว่า ข้าพเจ้าสงสัยว่า “โลกนี้กลมหรือแบน” ในความสงสัยนี้มีองค์ประกอบสำคัญสองส่วน คือ (1) ข้าพเจ้า หรือ จิต ผู้คิดสงสัย (2) โลก หรือ วัตถุ ที่ถูกคิด

วิธีแรก เป็นแบบอัตนัยคือให้ข้อพิสูจน์จากฝ่ายผู้คิด ข้าพเจ้าตอบตัวเองว่า โลกแบน เพราะสายตาบอกข้าพเจ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้ามองไปเบื้องหน้า ข้าพเจ้าเห็นแต่ที่ราบยาวไปจรดขอบฟ้า ดังนั้นข้าพเจ้าต้องสรุปว่า โลกแบนเพราะ ข้าพเจ้าเห็นว่ามันแบน ความรู้ที่ได้จากการพิสูจน์จากฝ่ายผู้คิดนี้เป็นทัศนะอัตนัย หรือความเห็นส่วนตัว ทัศนะของข้าพเจ้าอาจต่างจากทัศนะของคนอื่น ทัศนะของข้าพเจ้าก็ถูกเพราะมันเป็นความจริงในทัศนะของข้าพเจ้า

วิธีที่สอง เป็นแบบปรนัย คือ ให้ข้อพิสูจน์จากฝ่ายวัตถุ ข้าพเจ้าอาจขอร้องให้นักวิทยาศาสตร์ส่งดาวเทียมขึ้นไปถ่ายภาพของโลก ปรากฏว่า โลกที่ปรากฏในภาพมีรูปทรงกลม ข้าพเจ้าเชื่อตามภาพนั้น ดังนั้นข้าพเจ้าต้องสรุปว่า โลกกลมโดยอาศัยหลักฐานจากโลกหรือวัตถุที่คิด ใครจะคิดว่าโลกแบนก็คิดไป แต่โลกในความเป็นจริงเป็นโลกกลม ความรู้ที่เกิดจากการอ้างหลักฐานจากวัตถุตามมที่เป็นจริงอย่างนี้ เป็นความรู้แบบปรนัย ความจริงที่ได้เป็นความจริงแบบปรนัยที่ไม่เกี่ยวกับทัศนะส่วนตัวของใคร

สำหรับโปรแทกอรัส ความรู้เป็นทัศนะอัตนัยที่แตกต่างไปตามรายบุคคล ท่านไม่ยอมรับว่า มีความจริงแบบปรนัย ท่านว่าทัศนะของแต่ละคนถูกด้วยกันทั้งคู่ ที่ว่าถูกคือถูกตามทัศนะของคนทั้งสอง ไม่มีทัศนะของใครเป็นจริงยิ่งกว่าทัศนะของคนอื่น เช่น อีกคนบอกว่า ผีมีจริง แต่อีกคนบอก ผีไม่มีจริง ย่อมเป็นความจริงตามทัศนะของทั้งคู่ อีกอย่างสำหรับคนที่เป็นโรคต่าง ๆ กับคนที่ไม่เป็นโรคนั้น โปรแทกอรัสให้ทัศนะว่าคนมีสูขภาพแข็งแรงดีกว่าการเจ็บไข้ ภาพของคนปกติย่อมดีกว่าคนวิกลจริต ทัศนะแรกจึงดีกว่าทัศนะหลัง แนวความคิดของท่านใกล้เคียงกับปรัชญาสำนักปฏิบัตินิยม (pragmatism) ที่ถือเอาการปฏิบัติเป็นมาตรการตัดสินความจริง และไม่แปลกที่ชิลเลอร์ (f. schiller พ.ศ. 2407-2480 ) ผู้ก่อตั้งสำนักปฏิบัตินิยมแบบมนุษย์ธรรม และได้ประกาศตัวเป็นศิษย์ของโปรแทกอรัส

ในส่วนทฤษฎีความรู้ด้านจริยศาสตร์ ท่านปฏิเสธความดีในตัวเอง หรือความดีอันเป็นที่ยอมรับของคนในทุกสังคม ทานเห็นว่าความดีเป็นเรื่องที่คนแต่ละคนกำหนดค่าให้ อะไรที่ว่าดี ก็เพราะมีคนไปกำหนดค่าว่าดี จึงเป็นไปได้ที่ความดีในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ใช่ความดีในสังคมอื่น เช่นถ้าใคร นำลัทธิเมียคนเดียวผัวหลายคน ซึ่งกลายเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมธิเบตมาใช้ในประเทศไทย ก็คงถูกตำหนิอย่างรุนแรง ความดีความชั่วในตัวเองไม่มี บทบัญญัติทางศิลธรรมและกฏหมายประเพณีเป็นเพียงข้อตกลงร่วมกันของคนในสังคม นี่เป็นทัศนะของท่าน แต่ท่านก็มีความเห็นเสริมว่า ทุกคนควรเคารพประเพณี และปฏิบัติตามบัญญัติทางประเพณีและศิลธรรมเป็นสิ่งทีมีประโยชน์เป็นทัศนะแบบนักปฏิบัตินิยม และทัศนะนี้เด่นชัดมากเมื่อมาถึงปัญหาเรื่องการบูชาเทพเจ้า ทั้งที่ท่านไม่แน่ใจว่า เทพเจ้ามีจริงหรือไม่ ท่านก็ยังสนับสนุนให้บูชาเทพเจ้า เพราะคนที่เคารพเกรงกลัวเทพเจ้า ย่อมไม่ประกอบกรรมชั่วโดยง่าย

แม้ว่าในเบื้องต้น โปรแทกอรัสจะกล่าวว่า ไม่มีมาตรการตัดสินใด ๆ เป็นเครื่องชี้ขาดว่า ทัศนะหนึ่งเป็นจริงกว่าทัศนะอื่น แต่ในตอนท้ายท่านกลับตั้งมาตรการตัดสินความจริงขึ้นมาอีก มาตรการอันนี้คือ ความมีประโยชน์ เพราท่านยอมรับว่า ทัศนะหนึ่งดีกว่าทัศนะอื่น ก็เพราะมีประโยชน์มากกว่า ดังนั้น โปรแทกอรัสจึงไม่ซื่อตรงต่อทัศนะของท่านที่ว่า “คนเป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง” ท่านได้ตั้งทาตรการซ้อนลงไปว่า “ ความมีประโยชน์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง” จึงเป็นความสับสนในปรัชญาของท่าน

สรุปปรัชญาของโปรแทกอรัสนั้น ไม่มีมาตรการใด ๆ เป็นเครื่องตัดสินความจริงและความดี การตัดสินว่าอะไรจริง อะไรดีขึ้นอยู่กับทัศนะส่วนตัวของแต่ละคน โวฟิสต์รุ่นหลัง ๆ ได้พัฒนาแนวคิดของเขาออกไป โพลุสและธราซีมาดุสกล่าวว่า ความดีและความยุติธรรมมไม่มีจริง กฏหมายเป็นเครื่องมือที่คนอ่อนแอสร้างขึ้นมาควบคุมคนแข็งแรง แท้ที่จริงกฏหมายคือ อำนาจ ใครมีอำนาจพอที่จะฝ่าฝืนกฏหมายโดยไม่ถูกลงโทษ เขาก็มีสิทธิฝ่าฝืน โซฟิสต์เป็นพวกแรกที่ตัดสินว่าอำนาจคือธรรม จะเห็นว่าแนวคิดของพวกเขาเป็นการบ่อนทำลายศาสนา ศิลธรรม และประเพณีของชาวกรีก เหตุนั้น นักปรัชญาคนสำคัญอย่างโสคราตีสและพลาโต้ จึงเผยแพร่ปรัชญาที่หักล้างแนวความคิดของพวกโซฟิสต์อย่าางหนักคนส่วนมากเชื่อพลาโต้ และมองเห็นโซฟิสต์เป็นนักปรัชญาจอมปลอมหรือคนตลบตะแลง จนหลังปี พ.ศ. 2473 จึงมีกลุ่มนักปรัชญารณรงค์กู้ชื่อเสียงให้กับโซฟิสต์ คาร์ล ป็อปเปอร์ (karl popper) ยกย่องโซฟิสต์เป็น “ยุคคนที่ยิ่งใหญ่ ”(the great generation) แลเป็นที่ยอมรับในฐานะที่โซฟิสต์ เป็นพวกแรกที่สนใจวิชาไวยากรณ์, ศิลปการประพันธ์, ดนตรี, และเป็นผู้ริเริมการศึกษาวิชาวาทศิลป์.

13.โสคราตีส (socrates) เกิดที่กรุงเอเธนส์ พ.ศ. 73-144 บิดาชื่อโซโฟรนิสคุส (sophromiscus) เป็นช่างแกะสลัก มารดาชื่อเฟนารีท (phaenarete) ก่อนท่านถูกประหารชีวิตในกรีก ได้รับการบันทึกไว้โดยละเอียดในบทสนทนาของฟลาโดชื่อ (phaedo) เมื่อมีผู้ถามว่า ทำไมท่านจึงไม่กลัวความตาย ท่านตอบว่า เพราะท่านเชื่อว่า “วิญญาณของคนเราเป็นอมตะถ้าท่านตาย วิญญาณของท่านจะกลับสู่สรวงสวรรค์ ยิ่งไปกว่านั้นเหตุเพราะท่านเป็นนักปรัชญา ท่านอธิบายว่า นักปรัชญา คือ ผู้ที่แสวงหาความรู้ที่สมบูรณ์ แต่นักปรัชญาไม่มีวันเข้าถึงความรู้ที่สมบูรณ์ ถ้าหากเขายังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เพราะวิญญาณของเขาถูกคุมขังอยู่ในร่างกายจึงขาดอิสรภาพในอันเข้าถึงสัจธรรม การประสบความตาย คือการได้ปลดปล่อยวิญญาณจากเครื่องพันธนาการ เมื่อนั้นวิญญาณจะเข้าถึงความรู้ที่สมบูรณ์ นักปรัชญาผู้แสวงหาความรู้ที่สมบูรณ์จึงไม่กลัวความตาย”

การประหารชีวิตโสคราตีส เป็นตราบาปอันหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยชนชาติกรีก เพราะบางครั้งประชาธิปไตยก็เป็นเผด็จการโดยเสียงข้างมาก ศาลเอเธนส์สั่งประหารท่านด้วยใจอคติว่า ท่านคือโซฟิสต์ที่พวกตนเคียดแค้น ชาวเอเธนส์ฝ่ายอนุรัษ์นิยมเชื่อว่าท่านได้ทำลายกฏหมายประเพณี และวัฒนธรรมของชาวเอเธนส์ ในกรณีจากเรื่องนี้ได้ถูกสร้างเป็นบทละครหัสนาฏกรรมเรื่อง ”เมฆ” (the clouds) ของอะริสโตฟาเนส ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ในเอเธนส์ สมัยที่โสคราตีสยังมีชีวิตอยู่ นี่เป็นความเข้าใจผิดเพราะความเขลาของชาวเอเธนส์ แท้จริงแล้วโซคราตีสเป็นคนละพวกกับโซฟิสต์ ปรัชญาของโสคราตีสเกิดขึ้นมาก็เพื่อหักล้างคำสอนของพวกโซฟิสต์โดยตรง

โสคราตีส ได้ปฏิเสธปรัชญาธรรมชาติ เพราะความรู้เรื่องปฐมธาตุของโลก หรือจักรวาลมีประโยชน์น้อยมาก ความรู้เรื่องนี้ไม่ช่วยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตได้ถูกต้องมากขึ้น ความรู้ที่นักปรัชญาแสวงหาควรเป็นความรู้เกี่ยวกับมนุษย์และหน้าที่ของมนุษย์ เพราะมนุษย์สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้นจุดมุ่งหมายของท่านอยู่ที่การปฏิบัติมากกว่าจะสร้างทฤษฎีทางอภิปรัชญา ท่านต่อต้านพวกโซฟิสต์เช่น โปรแทกอรัสสอนว่า ไม่มีมาตรการใใด ๆ เป็นเครื่องตัดสินความจริงและความดี อะไรที่ว่าจริงว่าดีเป็นเพียงทัศนะส่วนตัวของปัจเจกบุคคล โปรแทกอรัสปฏิเสธความจริงแบบปรนัยหรือความเป็นจริงสากลที่ทุกคนยอมรับ ซึ่งคำสอนนี้โสคราตีสแย้งว่า แม้ว่าความรู้เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายของแต่ละคนจะขัดแย้งกันในบางครั้งแต่นั่นไม่หมายความว่า จะไม่มีความจริงแบบปรนัยที่ทุกคนยอมรับร่วมกัน ความเป็นจริงสากลมีอยู่ แต่โซฟิสต์ค้นไม่พบ เพราะโซฟิสต์ยอมรับเพียง สัญชาน (perception) ว่าเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้แต่สัญชานให้ความรู้อย่างจำกัด โซฟิสต์จึงไม่อาจเข้าถึงความรู้แท้ได้โดยอาศัยสัญชาน โสคราตีสมีทัศนะว่า เหตุผล (reason) เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ที่ช่วยให้คนเราค้นพบความจริงแบบปรนัยหรือมโนภาพ (concept) ของสิ่งทั้งหลาย

 

สัญชานและจินตภาพ (perception and image)

สัญชานได้แก่ การกำหนดรู้ที่เกิดจากการกระทบระหว่างอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง กับอายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส และกายสัมผัส ดังนั้น สัญชานจึงเป็นความรู้ระดับผัสสะ ให้เราสามารถระบุชัดลงไปปว่า เรากำลังเห็นสิ่งนั้น หรือกำลังลิ้มรสดังกล่าวอยู่

จินตภาพคือ ภาพของสิ่งเฉพาะที่ปรากฏในใจ ยกตัวอย่าง เราเห็นรูปร่างสิ่งของบางอย่างชัดเจนมาก ภาพของสิ่งของปรากฏแก่สายตาของเราเป็นสัญชาน ทีนี้เราลองหลับตาลง ภาพสิ่งของยังคงติดตาเราอยู่ แม้หลับตาแล้วก็ยังนึกวาดภาพถึงสิ่งของและลักษณะนั้นได้ ภาพสิ่งของที่เรา “นึกเห็น” ขึ้นมานี้คือ จินตภาพ

ดังนั้น ทั้งสัญชานและจินตภาพ จึงเป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะเท่านั้น

เหตุผลและมโนภาพ (reason and concept)

ความรู้ประเภทนี้ไม่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะที่เป็นรูปธรรม ความรู้ชนิดนั้นคือ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งสากล ให้สังเกตคำพูดสองประโยคดังต่อไปนี้ “โสคราตีสเป็นสัตว์ที่ต้องตาย“ และ “มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องตาย” ผู้พูดประโยคแรกกำลังนึกถึงสิ่งเฉพาะ คือคน ๆ หนึ่งที่ชื่อโสคราตีส ในขณะที่พูดเขามีจินตภาพถึงปัจเจกบุคคล แต่ผู้พูดประโยคหลังไม่ได้กำลังนึกถึงปัจเจกบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง คำว่า “มนุษย์” ในประโยคนี้หมายถึง ประเภทของคนโดยทั่วไป นั่นคือ ผู้พูดกำลังนึกถึง”มนุษย์สากล” ที่รวมเอาลักษณะแก่นของคนทุกชาติทุกเผ่าพันธ์ เร่เรียกความนึกถึงสิ่งสากลทำนองนี้ว่า มโนภาพ (consept) โศคราตีสถือว่า เหตุผลเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ ในปรัชญาของโสคราตีส เหตุผลช่วยให้คนพบมโนภาพ ความรู้ทุกอย่างเป็นความรู้ที่ได้จากมโนภาพ คำอธิบายในตอนต้นว่า มโนภาพคือความรู้จักสิ่งสากล ดังนั้นความรู้ขั้นมโนภาพจึงเป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งสากลที่ทุกคนยอมรับ เพราะทุกคนมีเหตุผล สิ่งสากลนั้นเป็นความจริงมาตรฐานที่ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงได้ทุกคน ความรู้จึงไม่ใช่ทัศนะอัตนัย ท่านกล่าวว่า ความรู้คือการค้นพบความจริงแบบปรนัย หรือการเข้าถึงมโนภาพของสิ่งต่าง ๆ ดังนั้นเรามาลองคิดดูว่า ทำอย่างไรเราจึงจะค้นพบมโนภาพของสิ่งต่าง ๆ ได้ การค้นพบมโนภาพของสิ่งใดก็โดยอาศัยการสร้างความจำกัดความ (definition)ของสิ่งนั้น เช่น เรานำเอาลักษณะของสุนัขทุกประเภทที่เหมือนกันเข้ามาไว้ในความจำกัดความ โดยไม่คิดถึงลักษณะที่แตกต่างประเภทต่างๆของสุนัข คำจำกัดความว่า”สุนัข”จะครอบคลุมประเภทของสุนัขทั้งหมดจึงกล่าวได้ว่า มโนภาพกับคำจำกัดความเป็นสิ่งเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างกันอยู่อย่างหนึ่ง คือมโนภาพเป็นความรู้จักสิ่งสากลที่ยังอยู่ในใจ แต่คำจำกัดความเป็นการบรรยายลักษณะของสิ่งสากลนั้นออกมาเป็นคำพูด โสคราตีสมักตั้งปัญหาถามคนทั่วไปว่า คุณธรรมคืออะไร ?ความยุติธรรมคืออะไร ? แล้วท่านจะเริ่มสนทนาแบบถาม-ตอบ เพื่อหาคำจำกัดความ ท่านกระตุ้นคนอื่นให้คิดอย่างมีระบบและเฉียบแหลม เพื่อให้เกิดมโนภาพและคำจำกัดความของสิ่งเหล่านั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ท่านเรียกงานของท่านว่า “การผดุงครรภ์ทางปัญญา”(intellectual midwifery) เทคนิคการ “ผดุงครรภ์” ของท่านมีชื่อเรียกว่า “วิธีของโสคราตีส”(socratic method) วิธีนี้คือ ศิลปการสนทนาที่ท่านใช้ในการสนทนาให้ดำเนินไปสู่คำตอบของปัญหาที่กำลังอภิปรายกัน วิธีนี้มีชื่อเรียกโดยทั่ไปว่า”วิภาษวิธี”(dialectic) ซึ่งประกอบด้วยลักษณะ 5 ประการ คือ

1) สงสัย (sceptical)

2) สนทนา (conversational)

3) หาคำจำกัดความ (definitional)

4) อุปนัย (inductive)

5) นิรนัย (deductive)

โสคราตีสกล่าวว่า “ความรู้ คือ คุณธรรม” (knowledge of virtue) นั่นคือ คนที่รู้จักความดีย่อมทำความดี เป็นไปไม่ได้ที่คนรู้ว่าความดีคืออะไรแล้วยังฝืนทำความชั่ว ส่วนที่คนทำความชั่วก็เพราะขาดความรู้ ถ้าคนเราได้รับการแนะนำที่ถูกต้องแล้วเขาาจะไม่ทำผิดเลย เหตุนั้น โสคราตีสจึงกล่าวว่า “ไม่มีใครทำผิดโดยจงใจ” เราจะเห็นว่าปรัชญาของโสคราตีสขัดแย้งอย่างตรงกันข้ามกับคำสอนของกลุ่มโซฟิสต์ ดังนั้นทฤษฎีความรู้ของโสคราตีส ซึ่งเป็นไปโดยหลักจริยศาสตร์และกล่าวว่า “ ความรู้คือคุณธรรม” นี่เป็นจุดอ่อน ท่านเชื่อว่า คนที่รู้จักความถูกต้องจะไม่กระทำผิด อาริสโตเติ้ล วิจารณ์โสคราตีสว่า คนเราใช่จะทำผิดเพราะความไม่รู้จักความถูกต้องเสมอไป บางคนทำผิดเพราะเขาไม่ยับยั้งใจตัวเอง อีกอย่างโสคราตีสเฉพาะตัวของท่านแล้ว เป็นคนที่มีเหตุผลสูงสามารถควบคุมอารมณ์ได้ทุกสถานการณ์ อะไรที่ทท่านเห็นว่าถูกต้องท่านจะทำโดยไม่ลังเล ขนาดยอมให้เขาประหารชีวิต แต่ไมม่ยอมทิ้งหลักการของตน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมแล้ว ปรัชญาของโสคราตีสได้ส่งผลกระทบอย่างแรงต่อคำสอนของพวกโซฟิสต์ ต่อมาพลาโต้ได้กรัหน่ำซ้ำ จนคำสอนของโซฟิสต์ถึงสภาวะสลายตัวในที่สุด

14.พลาโต้ (plato) เกิด พ.ศ. 116-196 มีชื่อเดิมว่า อาริสโตเคล็ส (aristocles) ที่กรุงเอเธนส์ พลาโต้ได้ฟังปรัชญาจากโสคราตีสเมื่อตนได้มีอายุได้ 20 ปีแล้ว จนกระทั่งโสคราตีสถูกประหารชีวิตในปีพ.ศ.144 ต่อมาได้ศึกษาปรัชญาของยูคลิเดส (euclides) ผู้เป็นลูกศิษย์ของโสคราตีส ซึ่งได้นำปรัชญาของโสคราตีสเข้ากับปรัชญาของปาร์มีนิเดส และยังได้ศึกษาปรัชญาจากสำนักของไพธากอรัส ที่กรุงเอเธนส์นั้น ท่านวางมือจากการเมืองที่ยุ่งเหยิง และเลือกดำเนินชีวิตอย่างนักปรัชญา โดยสร้างคนให้เป็นนักปรัชาและนักปกครองที่ดี พลาโต้ตั้งสำนักแห่งหนึ่งชื่อว่า อะคาเดมี (academy) ให้การศึกษาแก่เยาวชนกรีก นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรีก โดยให้เด็กหนุ่มที่ต้องการศึกษา มุ่งมาสมัครเรียนที่นั้น พลาโต้เห็นว่า “นักปกครองที่ดีต้องมีความรู้ทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์ และปรัชญาการเมือง” วิชาหลักที่คงอยู่ที่ใช้ทำการสอน ได้แก่ คณิตศาสตร์และปรัชญาการเมือง พลาโต้มีศิษย์คนสำคัญชื่อว่า อารีสโตเติ้ล เป็นผู้ที่เข้าศึกษาที่อะคาเดมี ในเวลาต่อมาเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมาก พลาโต้ได้เขียนบทสนทนาเรื่อง “กฎหมาย” (laws) มีความยาวถึง 12 เล่ม งานนิพนธ์ของพลาโต้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ บทสนทนาระยะแรก,ระยะที่สอง,ระยะที่สามซึ่งจะมีตัวละครแสดงบทสนทนาต่างๆ โดยสมมติให้ตัวละครเป็นตัวของท่าน และบุคคลอื่น ๆ เป็นต้น คำสอนที่ถือว่าเป็นหัวใจปรัชญาของพลาโต้ คือทฤษฎีมโนคติหรือแบบคำสอนอื่น ๆ เช่น ทฤษฎีความรู้ จริยศาสตร์ ศิลป และการเมือง ล้วนมีรากฐานมาจากทฤษฎีมโนคติ ดังนั้น เราจะพบว่า ปรัชญาแต่ละประเด็นของพลาโต้ เกาะกลุ่มกันเป็นระบบโดยมีทฤษฎีมโนคติเป็นแกนกลาง พลาโต้เป็นคนแรกที่สอนปรัชญาอย่างเป็นระบบ ท่านเห็นว่าความรู้ระดับผัสสะ หรือสัญชาน ไม่ใช่ “ความรู้” การรับรู้ในระดับสัญชานเป็นเพียง “ทัศนะ” การปฏิเสธสัญชานว่าเป็นบ่อเกิดความรู้นี้มีเหตุผลสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ

1) สัญชานของแต่ละคนให้ความรู้เป็นตรงกัน

2) สัญชานไม่ช่วยให้เราค้นพบความจริงแท้

โดยนัยนี้ ในทัศนะของพลาโต้ ความรู้ที่แท้จริงไม่ได้มาจากผัสสะหรือสัญชาน แต่ความรู้ที่แท้จริงได้มาจากเหตุผล ข้อแตกต่างระหว่างอาจารย์กับศิษย์อยู่ตรงที่ว่า สำหรับโสคราตีส ความรู้หมายถึงการค้นพบมโนภาพ (concept) แต่สำหรับพลาโต้ ความรู้หมายถึงการค้นพบมโนคติ (idea) ในความคิดของพลาโต้นั้น ท่านได้แบ่งลักษณะความคิดออกเป็น 4 อันดับ คือ จินตนาการเป็นขั้นต่ำสุด ที่สูงขึ้นมาตามลำดับคือความเชื่อ และการคำนวณ ส่วนขั้นสูงสุดคือพุทธิปัญญา การจัดอันดับมีเหตุผลดังนี้ คือ

1.จินตนาการ (imagining) ให้ความหมายที่ว่า ขณะที่ตาสัมผัสกับภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งการรับรู้ได้เกิดขึ้น ประสาทตาารายงานภาพที่เห็นไปที่จิต ภาพของสิ่งนั้นที่จิตรับรู้ในขณะนั้นเป็นจินตภาพ (image) การรับรู้จินตภาพเรียกว่า “จินตนาการ” เป็นการรับรู้ขั้นต่ำสุด เพราะภาพที่จิตคิดเห็นเป็น “ภาพเหมือน” หรือ”เงา” หากใครไปยึดมั่นในภาพเหมืนหรือจินตภาพ เขาก็กำลังนี้จากความจริงนั่นเอง

2.ความเชื่อ (belief) ความหมายที่ว่า เมื่อเราคิดถึงใครสักคน เราสร้างจินตนาการคิดถึงรูปร่างหน้าตากิริยาท่าทางของเขา แต่เขาคนนั้นที่เราเห็นในจินตภาพย่อมสู้ที่เราเห็นและได้พบปะตัวจริงไม่ได้ การได้พบตัวจริง ถือว่าเป็นความรู้ระดับสัญชาน ท่านเรียกความรู้ระดับนี้ว่าความเชื่อ จะเห็นว่าสัญชานให้ความรู้ที่ขัดแย้งตัวเอง เช่น น้ำทะเลปรากฏแก่สายตาเราเป็นสีน้ำเงิน แต่พอเราเอาภาชนะตักน้ำขึ้นมาเราเห็นเป็นน้ำใสเป็นต้น ดังน้น ใครเห็นอะไรเป็นจริงจึงเป็นเพียงความเชื่อ คือยอมรับว่าจริงไปพลาง ๆ ก่อน

3. การคำนวณ (reasoning) การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เป็นก้าวจากโลกแห่งผัสสะสู่โลกแห่งเหตุผล ในโลกแห่งผัสสะ เรารับรู้สิ่งเฉพาะ แต่ในโลกแห่งเหตุผล เราค้นพบสิ่งสากล นักคณิตศาสตร์อาศัยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งเฉพาะเพื่อเป็นทางผ่านเข้าสู่สิ่งสากล  เช่น นักคณิตศาสตร์ลากเส้นตรงในหน้ากระดาษ เพื่อประกอบการคำนวณ เส้นตรงนั้นอาจจะคดเคี้ยวบ้าง แต่ไม่ทำให้การคำนวณผิดพลาด เพราะอะไร ? เพราะเส้นตรงนั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์หรือตัวแทนของเส้นที่ตรงที่สุด ในการคำนวณนักคณิตศาสตรืไม่ได้กำลังพูดถึงสิ่งเฉพาะคือเส้นตรง ที่ปรากฏในหน้ากระดาษนั้น แต่เขาพูดถึงสิ่งที่เป็นสากลอยู่ เขาแยกสัญลักษณ์หรือสิ่งที่เห็นด้วยตาออกจากมโนคติ หรือสิ่งที่เห็นด้วยเหตุผลบริสุทธิ์ ดังนั้น พลาโต้จึงจัดความรู้ของนักคณิตศาสตร์ไว้ในขั้น”ความรู้” เพราะเขาค้นพบมโนคติบางหน่วย แต่นักคณิตศาสตร์ยังอาศัยสัญลักษณ์และยังตั้งสมมติฐาน (hypothesis)  โดยยอมรับว่าสมมติฐานเป็นสิ่งที่เห็นจริงแล้ว ความรู้ของนักคณิตศาสตร์ จึงอยู่ในวงจำกัดของสัญลัษณ์และสมมติฐาน

4.พุทธิปัญญา (intelligence) หมายถึง สภาพจิดใจที่รับรู้มโนคติโดยตรง ในขั้นนี้ จิตเป็นอิสระจากสิ่งที่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส จิตเข้าถึงมโนคติได้โดยไม่ต้องผ่านสัญลักษณ์ และจิตไม่จำเป็นต้องใช้สมมติฐานในการค้นหาความจริง เมื่อไม่มีสมมติฐาน ข้อจำกัดของความรู้จึงไม่มี เหตุนี้จิตจึงค้นพบเอกภาพของมโนคติทั้งหลาย นั่นคือ จิตพบว่ามโนคติทั้งหมดอยู่ภายใต้มโนคติควาามดีและรวบรวมมโนคติทั้งหมดไว้ได้ก็ด้วยพลังของจิต พลาโต้เรียกพลังชนิดนี้ว่า “วิภาษวิธี”(dialectic) ดังนั้น พุทธิปัญญา จึงเป็นความรู้ที่แท้จริง เพราะเข้าถึงความจริงสูงสุด คือมโนคติ เราย้อนหลังไปยุคแรก ๆ นักปรัชญายุคเริ่มต้นได้สอนว่า แก่นแท้ของสรรพสิ่งเป็นสสารในรูปใดรูปหนึ่ง แต่พลาโต้เสนอใหม่ว่า แก่นแท้ของสรรพสิ่งไม่ใช่สสาร แต่เป็นมโนคติที่ไม่กินที่ ไม่มีรูปร่าง คำสอนของพลาโต้ยังได้หักล้างปรัชญาของโซฟิสสต์ผู้สอนว่า ความรู้แท้จริงอันเป็นมาตรฐานสากลไม่มี เพราะว่าสิ่งที่เรารับรู้เป็นสสารที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในที่นี้ พลาโต้แย้งว่า ความรู้ที่แท้สมบูรณ์มีอยู่ เพราะสิ่งที่เรารับรู้ไม่ใช่สสารวัตถุ แต่เป็นมโนคติที่เป็นอมตะและไม่เปลี่ยนแปลง ทัศนะมโนคติของพลาโต กล่าวว่า มโนภาพเป็นอันเดียวกับสิ่งสากล และมโนคติ คือ มโนภาพที่มีอยู่จริงภายนอกความคิดคือ ”สิ่งสากลที่มีอยู่จริงภายนอกความคิด “หรือ”สิ่งสากลที่มีอยู่จริงแบบปรนัย” พลาโตยืนยันว่า สิ่งสากลมีอยู่จริง จึงไม่ใช่สิ่งที่เราคิดขึ้นเอง มันไม่ใช่ผลผลิตของความคิด สิ่งสากลมีอยู่ก่อนหน้าที่เราคิด และแม้เราจะเลิกคิดถึง สิ่งสากลก็ยังคงมีอยู่ตลอดไปเป็นนิจนิรันดร “พลาโตเรียกสิ่งสากลอันเป็นความจริงอมตะนั้นว่ามโนคติหรือแบบดังนั้นลักษณะของมโนคติสรุปโดยทั่วไป คือ

1.มโนคติ หมายถึง สิ่งสากล

2.มโนคติ มีจำนวนมาก แต่ความหมายของมโนคติมีข้อจำกัด กล่าวคือ สิ่งเฉพาะชนิดหนึ่งมีมโนคติเพียงหนึ่งเดียว

3.มโนคติ เป็นสิ่งที่เรารู้ได้ด้วยเหตุผล

4.มโนคติเป็นความจริงปรนัย

5.มโนคติเป็นสิ่งไม่กินที่

6.มโนคติไม่ขึ้นกับเวลา

พลาโตได้ตั้งทฤษฎีสองโลกขึ้น คือโลกแห่งผัสสะกับโลกแห่งมโนคตินี่เป็นคำถามเกี่ยวข้องกันระหว่างมโนคติกับสิ่งเฉพาะ ท่านกล่าวว่า สิ่งเฉพาะเป็น “แบบจำลอง”หรือ”สิ่งเลียนแบบ” สิ่งเฉพาะขอยืมความจริงมาจากมโนคติ สิ่งเฉพาะเป็นจริงก็ต่อเมื่อมันมีส่วนเหมือนมโนคติ เช่น โสคราตีส เป็นสิ่งเฉพาะที่เป็นแบบจำลองมาจากมโนคติของคน แบบจำลองมีความเป็นจริงน้อยกว่ามโนคติ มโนคติมีความจริงแท้สูงสุด เราสังเกตเห็นว่า พลาโตเปลี่ยนทฤษฎีมโนภาพของโสคราตีสเป็นทฤษฎีมโนคติ โดยทำมโนภาพให้กลายเป็นสิ่งที่มีความจริงในตัวเอง ผลที่ออกมาก็คือ มโนภาพกลายเป็นมโนคติที่มีความจริงแบบปรนัย และเป็นสิ่งที่คงที่ถาวร ในการอธิบาย”ลักษณะ”ของมโนคติเช่นนั้น ท่านหยิบยกเอาลักษณะของภาวะ (being) ในปรัชญาของปาร์มีนิเดสมาสวมใส่ให้กับมโนคติ เหตุนั้นมโนคติจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับภาวะของปาร์มีนิเดส คือความเป็นจริงแท้สูงสุดและเป็นสิ่งคงที่ถาวรไม่เคยเปลี่ยนแปลง ท่านไม่ยอมรับทัศนัของปาร์มีนิเดสที่ว่า ความจริงแท้หรือภาวะ เป็นสิ่งเนื้อเดียวกันแบ่งแยกไม่ได้ ท่านเสนอว่าความจริงแท้หรือมโนคติมีหลายชนิดและเกาะกลุ่มกันอย่างมีระบบในโลกแห่งมโนคติ ความจริงแท้มีมากหลายแต่ก็อยูอย่างมีเอกภาพ ท่านได้แนวความคิดเรื่องเอกภาพในความมากหลายนี้มาจาก เฮราคลีตุส ผู้มีทัศนะว่า สิ่งที่แตกต่างกันรวมตัวเป็นเอกภาพ ภายใต้การควบคุมของวจนะ (logos)  ท่านนำหลักการนี้มาสร้างเป็นกฏแห่งความสัมพันธ์ระหว่างมโนคติทั้งหลาย เราได้พบร่องรอยของแนวความคิดเรื่องภาวะในปรัชญาของปาร์มีนิเดส และวจนะในปรัชญาของเฮราคลีตุสผสมผสานอยู่ในทฤษฎีมโนคติของพลาโต นี่เป็นตัวอย่างของการประนีประนอม หลักการที่ขัดแย้งกัน พลาโตยังยอมรับแนวความคิดที่ว่า ความจริงแท้เป็นสิ่งไม่เปลี่ยนแปลงมาจากปาร์มีนิเดส ท่านยืนยันว่าโลกแห่งมโนคติไม่เคยเปลี่ยนแปลง และพลาโตยังยอมรับทฤษฎีแห่งความเปลี่ยนแปลงของเฮราคลีตุสโดยกล่าวว่า โลกแห่วผัสสะเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลง แต่โลกแห่งผัสสะไม่ใช่ความจริงแท้สำหรับพลาโต ท่านให้ทัศนะเรื่องจักรวาลวิทยาว่า เป็นการศึกษาที่ว่าด้วยเรื่องวิญญาณและความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับพฤติกรรมของมนุษย์ โดยท่านได้แบ่งวิญญาณเป็น 2 ส่วนคือ

1.วิญญาณแห่งเหตุผล (rational soul ) เป็นวิญญาณที่จุติจากโลกแห่งมโนคติมาประจำอยู่ในกายเนื้อ พระเจ้าทรงสร้างวิญญาณเหล่านี้ให้เป็นอมตะ

2.วิญญาณไร้เหตุผล (irrational soul) เป็นวิญญาณที่ประจำอยู่กับร่างกายเกิดและดับพร้อมกับร่างกายจึงไม่เป็นอมตะ เทวดาเป็นผู้สร้างร่างกาย และวิญญาณส่วนนี้ของมนุษย์ ยิ่งไปกว่านี้ วิญญาณส่วนที่ 2  นี้ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วนคือ

  ก. วิญญาณฝ่ายสูง เรียกว่า วิญญาณแห่งเจตนารมณ์ (spirited soul)

ข.วิญญาณฝ่ายต่ำ เรียกว่า วิญญาณแห่งความต้องการ (appetitive soul)

รวมความว่าวิญญาณของมนุษย์มีอยู่ 3 ส่วน คือ วิญญาณแห่งเหตุผล วิญญาณแห่งเจตนารมณ์ และวิญญาณแห่งความต้องการ ดังนั้น สิ่งที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ ก็คือเหตุผล เพราะมนุษย์เท่านั้นมีวิญญาณแห่งเหตุผล ในทัศนะเรื่องความเวียนว่ายตายเกิด พลาโตกล่าวว่า วิญญาณแห่งเหตุผลเป็นอมตะจึงสามารถล่องลอยอยู่ได้ โดยไม่ต้องอาศัยกายเนื้อ ท่านเห็นว่า วิญญาณยังอยู่เป็นอมตะจึงมีอยู่เที่ยงแท้เป็นนิรันดร ความรู้ทุกอย่างเป็นการฟื้นความทรงจำถึงมโนคติที่วิญญาณเคยพบมาก่อน ที่จะถือกำเนิดในชาติปัจจุบัน เหตุนั้นวิญญาณเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนร่างกาย และสามารถจะอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยกายเนื้อ และวิญญาณไม่ใช่สิ่งที่ถูกปรุงแต่งจากส่วนประกอบ วิญญาณเป็นหน่วยย่อยที่สุด มันไม่ใช่สังขารแต่เป็นวิสังขาร เพราะเหตุนั้น วิญญาณจึงไม่ดับสลาย เพราะมันไม่ใช่ชิ้นส่วนสำหรับแตกกระจายจากกันและกัน จึงสรุปได้ว่า วิญญาณเป็นตัวการทำให้เกิดชีวิต แต่ชีวิตตรงข้ามกับความตาย ดังนั้น วิญญาณเป็นสิ่งไม่ตาย ในปัญหาด้านจริยาศาสตร์นั้น พลาโตคัดค้านโซฟิสต์ในความคิดที่โซฟิสต์เผยแพร่คำสอนโจมตีกฏเกณฑ์ทางสลศีลธรรมของชาวกรีกที่เชื่อถือและปฏิบัติสืบต่อกันตามประเพณี อันศีลธรรมนั้นเป็นบ่อเกิดของความดีงาม ท่านให้ทัศนะว่า “มีสิ่งที่เป็นความดีและสิ่งที่เป็นความพึงพอใจ แต่ความพึงพอใจไม่ใช่อันเดียวกันกับความดี และการแสวงหากับวิธีการเพื่อให้ำด้มาซึ่งสิ่งทั้งสองก็เป็นคนละอย่าง การแสวงหาความพึงพอใจเป็นอย่างหนึ่ง ส่วนการแสวงหาความดีก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง” พอสรุปได้ว่า

หากเชื่อตามที่โซฟิสต์กล่าวว่า ความดีคือความพึงพอใจของแต่ละคน ความดีในตัวเองจะไม่มีอยู่ เมื่อไม่มีมาตรการชี้ขาด การจะกำหนดลงไปว่าอะไรดีอะไรชั่วก็เป็นไปไม่ได้  ถ้าถือว่า ความดีคือสิ่งที่แต่ละคนชอบ พลาโตกล่าวว่า ความรู้สึกของคนเราที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ย่อมผิดแผกกันไป ซึ่งพลอยทำให้คนเราตัดสินความดีไม่ตรงกัน ท่านเห็นว่า ทฤษฎีทางศีลธรรมของคน มีรากฐานอยู่บนคุณลักษณะอันเป็นสากลของมนุษย์ทุกคน คุณลักษณะอันนั้นคือเหตุผล ดังนั้นเหตุผลคือ ความรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการทำความดี และท่านได้แบ่งแยกคุณธรรม หรือการทำความดีออกเป็น 2 ระดับ คือ คุณธรรมทางสังคม กับคุณธรรมทางปรัชญา การที่คนเราทำตามค่านิยมที่สังคมยอมรับ และให้การยกย่อง โดยไม่รู้เหตุผลว่าทำไมจึงเป็นความดี ในลักษณะนี้ท่านเรียกการทำความดีลักษณะนี้ว่า คุณธรรมทางสังคม และอีกประการหนึ่ง การทำความดีที่ประกอบด้วยเหตุผล มีความรู้ว่าการกระทำนั้นไปสู่จุดหมายสูงสุดอันใด การทำความดีด้วยเหตุผลนั้น พลาโตเรียกว่า คุณธรรมทางปรัชญา ดังนั้นในทัศนะของพลาโตว่า สิ่งที่เป็นความดีสูงสุด ได้แก่ มโนคติแห่งความดี (idea of the good) และท่านยังกล่าวถึง วิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดหมายสูงสุดของชีวิต ท่านเรียกว่า คุณธรรม การปลดเปลื่องหรือความหลุดพ้นจากความชั่วจะมีไมีได้ ถ้าปราศจากการได้มาซึ่งคุณธรรมชั้นสูงและปัญญา คุณธรรมที่สำคัญนี้ ได้แก่ พุทธิปัญญา

ในทัศนะของพลาโตกล่าวว่า คนดี คือ ผู้มีคุณธรรม คนดีเป็นคนมีปัญญา (wisdom) ความกล้าหาญ (courage) การรู้จักประมาณ (temperance) ความยุติธรรม (justice) นี่คือเกณฑ์ตัดสินว่าใครดีใครชั่ว คนจะดีหรือจะเลวไม่ใช่ดังที่โซฟิสต์กล่าวว่า คนจะดีหรือเลวเราดูกันที่คุณธรรม ข้อสังเกต เราจะเห็นข้อขัดแย้งปรัชญาของพลาโตเหมือนกัน คือ โลกแห่งมโนคติเท่านั้นที่ทีความจริงแท้ ส่วนโลกแห่งผัสสะไม่มีความเป็นจริงในตัวเอง สิ่งเฉพาะต่าง ๆ ที่เรามองเห็นในโลกแห่งผัสสะก็ไม่ใช่ของจริง ซ้ำยังอำพรางความจริงเกี่ยวกับมโนคติ ดังนั้น โลกแห่งผัสสะจึงเป็นดินแดนแห่งความชั่วร้าย คุณธรรมแท้จริงของมนุษย์ คือการปลดเปลื่องวิญญาณจากโลกแห่งผัสสะเพื่อกับสู่โลกแห่งมโนคติ เราควรโบยบินจากโลกนี้ไปให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าถือตามัยนนี้ ปรัชญาหรือความรู้จักมโนคติ จะเป็นความดีสูงสุดเพียงประการเดียว และหลักการอีกนัยหนึ่งที่พลาโตกล่าว คือ สิ่งเฉพาะที่เราพบเห็นด้วยประสาทสัมผัสเป็นสิ่งจำลองมโนคติ โลกแห่งผัสสะเป็นดินแดนที่มโนคติ “เปิดเผย” ตัวเอง ดังนั้น การพบเห็นสิ่งเแฑาะจะช่วยเตือนให้วิญญาณนึกถึงมโนคติขึ้นมาได้ เพราะหลักการที่พลาโตได้สอนนี้ท่านเสนอว่าเป็น”ทางสายกลาง” อันทำให้ชีวิตกลมกลืนกัน ในเรื่องทางการเมืองนั้น พลาโตได้เสนอทฤษฎีการเมืองเพื่อเป็นการตอบปัญหาเหล่านั้น คือ รัฐที่ดีควรยึดระบอบการปกครองใด ? อำนาจสิทธิ์ขาดควรอยู่ที่ใคร ? อะไรคือคุณธรรมของนักปกครอง ? ประชาชนควรมีสิทธิ์เสรีภาพมากเพียงใด ? ท่านกล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เหตุนั้น รัฐจึงเป็นสถาบันที่จำเป็นต้องมี รัฐต้องประกอบด้วยบุคคลที่มีวิญญาณ 3 ส่วน 3 ระดับ คือ

1.นักปกครองได้แก่ผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นพิเศษ เพื่อเป็นผู้นำของรัฐ

2.พิทักษชน คือ ผู้ทำหน้าที่ทหารตำรวจและข้าราชการพลเรือน

3.ราษฎร คือ ชนชั้นที่ถูกปกครอง

สรุปลักษณะสำคัญของรัฐในอุดมคติด้วยประโยคว่า“กลูคอน, สิ่งที่เราเห็นพ้องกันแล้วก็คือว่าในรัฐที่ดีสมบูรณ์ สตรีและเด็กควรเป็นของส่วนรวม, บุรุษและสตรีควรมีส่วนได้รับการศึกษา และประกอบอาชีพเท่าเทียมกันทั้งในยามสงบและยามมีศึกสงคราม, และพวกเขาควรถูกปกครอง โดยกลุ่มคนผู้เป็นเลิศในปรัชญาและการสงคราม” นี่แสดงว่า ระบอบการปกครองที่ดีที่สุดในทัศนะของพลาโต คือ อภิชนาธิปไตย (aristocracy) ที่อำนาจอยู่ใในความสิทธิ์ขาดของบุคคลชั้นสูง ผู้ถูกคัดเลือกโดยระบบการศึกษา ไม่ใช่ผู้มาจากตระกูลมั่งคั่งหรือผู้ดี ชนชั้นพิเศษนี้จะสับเปลี่ยนกันรับตำแหน่งกษัตริย์นักปรัชญา ดังนั้นเรามาสรุปปรัชญาขอพลาโตได้ดังนี้ คือ ปรัชญาของพลาโตทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน ถ้ามองในด้านอภิปรัชญาก็เป็นสัจจนิยม เพราะถือว่า ความจริงแท้มีอยู่เป็นปรนัยภายนอกจิต และเป็นมโนคตินิยม เพราะถือว่า ความจริงแท้นั้นเป็นมโนคติ ในด้านญาณวิทยา เป็นเหตุผลนิยมเพราะถือว่า บ่อเกิดความรู้อยู่ที่เหตุผลไม่ใช่ประสาาทสัมผัส คนเรารู้จักมโนคติด้วยเหตุผล ในด้านจักรวาลวิทยาปรัชญาของท่านเป็นทวินิยมเพราะเห็นว่า ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดโลกแห่งสัมผัสมี 2 อย่างคือ มโนคติและสสาร เป็นเทวนิยมเพราะยอมรับว่า มีพระเจ้าผู้สร้างโลก ในด้านจริยศาสตร์ เป็นสหัชญาณนิยม เพราะถือว่าจุดหมายสูงสุดของชีวิตอยู่ที่ความหลุดพ้นของวิญญาณที่เพ่งพินิจมโนคติ ในด้านการเมืองเป็นสังคมมนิยม พราะกำหนดให้ทรัพย์สินของนักปกครอง และพิทักษชนเป็นสมบัติส่วนกลาง ปรัชญาของพลาโตมีอิทธิพลมากต่อนักปรัชญาตะวันตกยุคนั้น ในด้านสุนทรีศาสตร์ (aesthetics) ของพลาโตนั้นคืองานด้านความงามและศิลปะ ในสมัยพลาโตยังไม่มีการแยกคำสอนด้านสุนทรีศาสตร์ออกมา ดังนั้นจึงแทรกปะปนอยู่กับสาขาอื่น ๆ ควาามงามย่อมแทรกอยู่ในงานอื่น เช่น การล่าสัตว์ การก่อสร้าง การเล่นกีฬาและการดำรงชีวิตด้วยคุณธรรม สิ่งใดมีความงาม ก็เพราะสิ่งนั้นมีส่วนรวมกับมโนคติของความงาม งานด้านศิลปะเป็นสิ่งที่งามเพราะมันเรียนแบบมโนคติขิงความงาม งานด้านศิลปะไม่อาจนับเป็นงานที่ดีที่สุด ความงามที่แท้จริงอยู่ในโลกแห่งมโนคติ เมื่อได้ชมความงามด้านศิลปะแล้ว ก็เลื่อนลำดับขั้นชมความงามของร่างกาย, วิญญาณ, สถาบันและกฏหมาย จากนั้นก็ศึกษาคณิตศาสตร์ ซึ่เป็นบันไดส่งให้ถึงมโนคติของความงาม โดยนัยนี้ ความงามที่สมบูรณ์ไม่ใช่สิ่งที่รู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส แต่เป็นสิ่งที่ต้องเพ่งพินิจด้วยเหตุผลหรือพุทธิปัญญา ในด้านศิลปะนั้นพลาโตเห็นว่า”ศิลปะคือการเลียนแบบ” ภาพคนที่ปรากฏโดยฝีมือจิตรกรเป็นสิ่งเลียนแบบมาจากคนจริง ๆ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งมาจากคนจริง เหตุนั้นสิ่งเลียนแบบเกิดจากมโนคติของคน ท่านเห็นว่าศิลปะไม่มีคุณค่าในตัวเอง ท่านไม่เชื่อเรื่องศิลปะ ในทัศนะของท่านเห็นว่า ศิลปะจะมีค่าก็ต่อเมื่อมันส่งเสริมศีลธรรมหรือให้ความรู้ด้านปรัชญาโดยท่านตั้งเงื่อนไขไว้ 3 ประการ

1.ศิลปะต้องเลียนแบบได้เหมือนของจริงต้นฉบับ

2.ศิลปะต้องส่งเสริมศีลธรรม คือเป็นเครื่องมือสั่งสอนให้ประชาชนรู้จักความดี

3.ศิลปะจะต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจ

สังเกตเห็นว่า พลาโตมองศิลปะว่ามีค่าต่ำ เพราะท่านถือเป็นเพียงทางผ่านไปสู่ปรัชญา ดังนั้นพลาโตไม่อาจให้ความเป็นธรรมแก่ศิลปะ เพราะท่านไม่อาจแยกศิลปะออกจากปรัชญานั้นเอง

15.อาริสโตเติ้ล (aristotle) เกิดเมื่อ พ.ศ. 159 ที่สตากิรา ในแคว้นเธรซ ท่านเป็นศิษย์ของพลาโต และท่านเป็นนักปรัชญาคนสุดท้ายของกรีกสมัยรุ่งเรือง ท่านเกิดในตระกูลแพทย์จึงมีนิสัยรักการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ต่อมาท่านได้ศึกษาชีววิทยา โดยเฉพาะชีวิตสัตว์ทะเล ท่านได้ตั้งสำนักของตนขึ้นเรียกว่า ลีเซอุม (lyceum) และต่อมาได้สร้างห้องสมุดเพื่อสะสมหนังสือและอุปกรณ์การสอน ส่วนที่เหมือนกันระหว่างพลาโตและอริสโตเติ้ล คือรัฐและสังคมเป็นธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ต้องมีสังคมร่วมกัน การมีรัฐและสังคมที่ดี ย่อมทำให้เกิดความสุขได้ดีที่สุด

ทัศนะนี้จึงเป็นทัศนะในเรื่องโลกแห่งประสบการณ์ของท่านนั้นเอง อีกทัศนะหนึ่งเรื่องโลกแห่งแม่แบบ ท่านเชื่อความเป็นจริงของแม่แบบ เพราะความงามเป็นแม่แบบของวัตถุงามทั้งหลาย ท่านไม่เชื่อพลาโตที่ว่า แม่แบบคือแบบของความงามอยู่แยกต่างหากจากวัตถุ ตามความคิดของอริสโตเติ้ลนั้น วัตถุงามคือวัตถุที่มีแบบของความงามอยู่ในตัวของวัตถุนั้น ไม่ใช่วัตถุนั้นเลียนแบบ แบบของความงามในโลกอื่นซึ่งอยู่แยกต่างหากออกไปจากวัตถุ และจากทัศนะนี้จึงนำไปสู่ทัศนะที่ว่า สรรพสิ่งต้องมีแบบหนึ่งแบบใดเป็นแบบประจำตัวหรือเป็นแบบเฉพาะตัว เช่น วัตถุงามต้องมีความงามเป็นแบบและสรรพสิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่แบบเฉพาะของตนในที่สุด เขาเชื่อว่าแบบของมนุษย์คือจิต

            จิตของมนุษย์มีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายคือคิดหาเหตุผลหรือมีเหตุผล ดังนั้นการมีเหตุผลจึงเป็นแบบที่มนุษย์ต้องพยายามบรรลุถึงในที่สุด เพื่อนำไปสู่แบบเฉพาะของตนนั้นเอง ซึ่งวิถีชีวิตที่แสดงถึงความสำเร็จของมนุษย์ในแง่ของการบำรุงเลี้ยงจิตแห่งเหตุผลมี 2 รูปแบบ คือ

1.ชีวิตที่มีเหตุผลหมายถึงชีวิตที่สามารถประพฤติทางสายกลาง (the mean) ไม่มากไม่น้อยอย่างเหมาะสม

2.ชีวิตที่ตริตรองถึงสัจจะไม่ใช่เพียงใช้เหตุผลเท่านั้น แต่หมายถึงการใช้ชีวิตในลักษณะที่ตริตรองถึงสัจจะที่เหนือกว่าการแสวงหาความเหมาะสมเท่านั้น อริสโตเติ้ล มีความเห็นว่า “ความสุขที่แท้จริงของมนุษย์อยู่ที่การแสวงหาสัจจะ ผู้มีชีวิตเพื่อการแสวงหาสัจจะ เรียกว่ามีคุณธรรมทางปัญญา (intellectual virtues)

สรุปความเห็นของอริสโตเติ้ลได้ว่า ชีวิตที่ดีสำหรับมนุษย์ก็คือชีวิต ที่มีคุณธรรมทางศีลธรรม คือมีความประพฤติที่เหมาะสม และชีวิตที่มีคุณธรรมทางปัญญา คือการตริตรองถึงสัจจะ ดังนั้นเมื่อโยงไปถึงสังคมและรัฐ จึงต้องมีคุณธรรมทางศีลธรรม และมีคุณธรรมทางปัญญานั่นเอง จึงเท่ากับมนุษย์ได้บรรลุแบบเฉพาะของตน และได้รับความสุขด้วย เราจะสัเกตได้ว่า ปรัชญาของท่านมีแนวโน้มเอียงทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง และในสมัยกลางก็เกิดปรัชญาการเมืองขึ้น โดยนักปรัชญารุ่นต่อมา ปรัชญาเหล่านั้นได้ถูกดึงไปเป็นเครื่องมือสำหรับอธิบายและส่งเสริมคำสอนของศาสนาคริสต์ให้ดูมีเหตุผลยิ่งขึ้น คือมีลักษณะส่งเสริมและยกย่องพระเจ้า นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยกลางที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

16) เซนต์ ออกัสติน (st. augustine ค.ศ. 354-430) ปัญหาที่ว่า อะไรคือแบบของมนุษย์ที่พระเจ้าทรงกำหนดขึ้น ? ท่านมีความเห็นว่า มนุษย์ต้องเป็นสิ่งที่แสวงหาพระเจ้าหรือรักพระเจ้าเพราะพระเจ้าเป็นผู้ปลูกฝังให้เกิดความรักในพระองค์ ด้วยปัญญาของพระเจ้า และเมื่อมนุษยืรักในพระเจ้าเขาต้องได้ความรักพร้อมทั้งความสุขอย่างแท้จริง เซนต์ ออกัสตินมีความเห็นว่า  ในตัวมนุษย์ได้เกิดการต่อสู้ระหว่างความรัก 2 แบบคือ การรักพระเจ้าและการทำตามกฏศีลธรรม กับการรักพระองค์และรักโลกนี้ ดังนั้น ท่านจึงแบ่งมนุษย์ออกเป็น 2 ค่าย คือกลุ่มที่ตัดสินใจรักในพระองค์ กับกลุ่มที่ตัดสินใจปฏิเสธพระเจ้าและรักตัวเองและรักโลกแทน จากสิ่งนี้เองท่านจึงมีทัศนะที่เชื่อมต่อเรื่องสังคมและรัฐ คือให้ทัศนะว่า รัฐ (state)  มีความสำคัญน้อยกว่าศาสนจักร (church) ท่านคิดเช่นนั้นก็เพราะว่า ศาสนจักรเป็นนครแห่งพระเจ้า ความยุติธรรมจะเกิดดฉพาะในรัฐและในสังคมที่เคารพบูชาพระเจ้าเท่านั้น ดังนั้น รัฐเป็นสิ่งไม่จำเป็น และไม่มีความสำคัญเท่าศาสนจักร เหตุผลพราะรัฐที่ไม่นับถือพระเจ้าย่อมไม่มีศีลธรรม ก่อเหตุร้ายต่าง ๆ เสมอ และหาความยุติธรรมในสังคมไม่ได้เลยนั้นเอง.

17) มาเคียเวลลี่ (nicolo machiavelli ค.ศ. 146-1527) นักปรัชญาชาวอิตาลี หลักปรัชญาการเมืองของท่าน คือ รัฐเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในตัวเองการเมืองอนุญาตให้ผู้ปกครองทำได้ทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของรัฐ นั่นหมายความว่า รัฐสามารถใช้ความรุนแรงในการปกครอง เช่นกำจัดฝ่ายตรงข้ามให้หมดไป เพื่อเสถียรภาพของรัฐ และบางครั้งต้องใช้การโกหกหลอกลวง หรือผู้ปกครองให้สัญญาแต่ไม่รักษาสัญญา นั่นหมายความว่า จริยธรรมที่คนทั่วไปยอมรับกัน เช่นการไม่พูดปดและการรักษาคำพูด เป็นสิ่งที่ไม่สามารถนำมาใช้กับการบริหารรัฐ เพราะจุดมุ่งหมายของรัฐมีอย่างเดียวคือความอยู่รอดและสันติสุข จากทัศนะดังกล่าว ทำให้ท่านถูกมองว่า เป็นผู้เสนอทฤษฎีการเมืองแบบใช้อำนาจ และเป็นผู้เพิกเฉยจริยธรรมทั้งหมดนั่นเอง และท่านก็เป็นนักปรัชญาคนสุดท้ายของปรัชญาตะวันตกสมัยกลางดังที่กล่าวแล้ว.

18) โธมัส ฮอบส์ (thomas hobbes 1588-1679) นักปรัชญาชาวอังกฤษ ท่านมีทัศนะว่า การเคลื่อนที่ (movement)เป็นมูลบทที่ทุกคนต้องยอมรับว่ามีจริง โดยแบ่งความรู้เป็น 4 แขนง คือ

1.เรขาคณิต วิชาว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทห์ (bodies)

2.ฟิสิกส์ วิชาว่าด้วยผลกระทบต่อกันของเทห์ที่เคลื่อนที่

3.จริยศาสตร์ วิชาที่ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของระบบประสาท

4.การเมือง วิชาที่ว่าด้วยผลกระทบต่อกันของระบบประสาท

ท่านได้ดึงทฤษฎีเหล่านี้เชื่อมไปที่ความมีศีลธรรมและคุณธรรมที่รัฐและรัฐควรมีต่อกัน และให้ความเห็นว่า โดยสภาพธรรมชาติ มนุษย์เป็นคนเห็นแก่ตัวยึดมั่นในตัวตน (self-assertion) และการรักษาตัวเอง (self-preservation) ทั้ง 2 อย่างนี้มนุษย์เรียกว่าสิทธิตามธรรมชาติ (a natural right)นั่นหมายความว่า มนุษย์เปรียบเหมือนอินทรีย์อื่น ๆ คือเคลื่อนไหวเพื่อตัวตนของตน และรักษาตัวเอง เพราะมันเป็นกฏของการเคลื่อนที่ของอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยเหตุดังกล่าว สภาพแรกของอินทรีย์รวมทั้งมนุษย์ที่ต้องเผชิญ คือการปะทะกันระหว่างอินทรีย์ การขัดแย้งกันของอินทรีย์ และสงครามระหว่างอินทรีย์ ทั้งนี้เพราะต่างฝ่ายต่างยึดมั่นในตัวตนของตนและต่างฝ่ายต่างรักษาตนเอง จากทัศนะข้างตน จึงเป็นการจำเป็นของรัฐที่ต้องมีขึ้นทั้ง ๆ ที่โดยสภาพธรรมชาติมนุษย์มิได้อยู่ในรัฐหรือรัฐเกิดขึ้นเพราะความจำเป็น ทำให้สภาพธรรมชาติเกิดความขัดแย้งกัน ปะทะกันและสงครามระหว่างกัน โดยไม่มีรัฐหรืออำนาจกลางใดที่คอยควบคุมดูแล ทัศนะเกี่ยวกับสังคมและรัฐของฮอบส์จึงแตกต่างจากทัศนะของอริสโตเติ้ล กล่าวคืออริสโตเติ้ลมีทัศนะว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพราะสังคมช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี คือทีคุณธรรมทางศีลธรรมทางปัญญา แต่ฮอบต์กับมีทัศนะว่า โดยธรรมชาติมนุษย์ไม่ใช่สัตว์สังคม แต่เป็นสัตว์ที่เห็นแก่ตัว เพราะต่างมีสิทธิที่จะยึดมั่นตัวตนของตนและรักษาตัวตนของตนไว้ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องตกลงจัดตั้งสังคมและรัฐขึ้น และมอบอำนาจการปกครองสูงสุดให้แก่รัฐ เมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของรัฏฐาธิปัตย์แล้วจะขัดขืนหรือต่อต้านอำนาจนั้น ๆ ไม่ได้ กฏหมายที่ออกโดยรัฐจึงยุติธรรมทั้งสิ้น.

19.จอหน์ ลอค (john locke 1632-1714) นักปรัชญาชาวอังกฤษ แสดงทัศนะทางการเมืองของเขาไว้ในหนังสือชื่อ the treatises on government ปรัชญาของเขา คือการคัดค้านทฤษฎีเทวสิทธิ์ (divine right) ซึ่งอ้างว่า พระเจ้าได้มอบอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศให้กับกษัตริย์ และสนับสนุนความคิดที่ว่ารัฐกำเนิดขึ้นตามทฤษฎีสัญญาประชาชน (social contract)และสิ่งที่ลอคนำมาใช้เป็นหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีนี้คือสภาพตามธรรมชาติ (state of nature) ของมนุษย์และกฏธรรมชาติ (natural law) ซึ่งเป็นสภาพก่อนมีรัฐ ลอคกล่าวถึงสภาพธรรมชาติว่า มนุษย์มีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ (perfect freedom) หมายความว่าโดยธรรมชาติมนุษย์มีสิทธิการกระทำของตนเองโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับคำยินยอมหรือเจตนารมณ์ของใครทั้งสิ้น มนุษย์จึงขึ้นอยู่กับกฏธรรมชาติเท่านั้น และได้มีเสรีภาพทางด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับศาสนา ชีวิตส่วนตัว สิทธิในทรัพย์สินที่เขาได้ลงแรงลงไปกับทรัพยากรของโลก นั้นหมายความว่า กฏธรรมชาติซึ่งเป็นกฏของพระเจ้าที่ให้สิทธิ์ไว้ว่า ชีวิตและทรัพย์สินส่วนตัวเป็นทรัพย์สินเอกชนต้องได้รับการเคารพ ใครจะละเมิดสิทธิมิได้ ดังนั้นความเห็นของลอคจึงมีทัศนะตรงที่ว่ามนุษย์มีสิทธิและเสรีภาพ โดยมีรัฐสามารถให้การป้องกันถึงสิทธิเสรีภาพที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้ดีกว่าต่างคนต่างใช้อำนาจบังคับตามกฏธรรมชาตินั้นเอง.

20.รุสโซ (jean – jacqnes rousseau 1712-1778 ) นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส เขาเห็นว่า สังคมร่วมสมัยตอนนั้นมีลักษณะขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์เป็นสังคมที่เสแสร้ง อุปโลกน์บิดเบือน  และฟุ่มเฟือย แม้แต่วิทยาศาสตร์กับศิลปะก็เป็นสิ่งเสแสร้ง เพราะวิทยาศาสตร์เกิดจากความรู้สึกหยิ่งผยองในตัวเองไม่ใช่เกิดจากความรู้สึกที่แท้จริง และศิลปะก็เกิดจากความรู้สึกฟุ้งเฟ้อมากกว่าความรู้สึกที่แท้จริงเช่นกัน รุสโซจึงหันไปชื่นชมการใช้ชีวิตสมัยดึกดำบรรพ์ เพราะเป็นชีวิตที่อิสระและได้ทำตามความปราถนาของตนและมีคุณธรรมอย่างง่าย ๆ  คือไม่สร้างความเจ็บปวดหรือความทุกข์ให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้นสังคมปัจจุบันในทัศนะของเขา จึงมองเป็นสังคมที่บิดเบือนให้เป็นความรู้สึกแข่งขันและเปรียบเทียบ และความรู้สึกสาใจ ถ้าคู่แข่งขันต้องพ่ายแพ้และประสบความย่อยยับลงไป

ในทัศนะของเขาเห็นว่า สิ่งที่มีความสำคัญคือ เสรีภาพต้องเป็นสิ่งควบคู่กับสังคม ถึงแม้ว่าเสรีภาพในทางสังคมจะแตกต่างจากเสรีภาพขณะที่มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพตามธรรมชาติก็ตาม แต่เสรีภาพในสังคมก็เป็นขั้นตอนของการวิวัฒนาการของมนุษย์ ดังนั้น ถ้าสังคมใดยกเลิกเสรีภาพก็เท่ากับสังคมนั้นถูกทำลายคุณสมบัติของมนุษย์โดยสิ้นเชิง เมื่อสังคมและรัฐเกิดจากเสรีภาพ และให้ความเคารพในเสรีภาพในสังคม มนุษย์ก็ไม่จำเป็นต้องเผชิญกับเผด็จการ ปัญหาดังกล่าวของรุสโซ คือการสร้างเจตน์จำนงร่วม (general will)  ซึ่งต้องกลายมาเป็นแกนนำสังคม เป็นเจตน์จำนงที่มุ่งสู่ความดีของทุกคนมิใช่การคำนึงถึงผลประโยชน์เฉพาะตนและเฉพาะกลุ่ม แต่เป็นเจตน์จำนงของคนในสังคมทั้งชาติจะเห็นว่าตามทัศนะของรุสโซนั้นเป็นบ่อเกิดของอำนาจทางการเมือง หรือเรียกว่า อำนาจอธิปไตยอันเป็นของประชาชนทั้งหมด ดังนั้นสังคมจึงเป็นองค์กรร่วม หรือเป็นเอกภาพเพื่อคนทั้งชาติ สังคมที่ดีจึงต้องอาศัยพื้นฐานสำคัญคือศีลธรรมอันยิ่งใหญ่ของสมาชิกที่มีเจตน์จำนงร่วมกันแต่เริ่มแรก จึงจะเป็นเสรีภาพและอำนาจทางอธิปไตยอย่างแท้จริง.

21.เบ็นธัม (jereny bemtham 1748-1832) นักปรัชญาชาวอังกฤษ ผู้ให้กำเนิดหลักจริยธรรมที่เรียกว่าหลักประโยชน์นิยมหรือทฤษฎีประโยชน์นิยม (Utilitarianism) คือความประพฤติที่ถูกต้องชอบธรรม และมีผลให้เกิดความสุขหรือความพึงพอใจทางกายมากที่สุดแก่คนส่วนมากที่สุด (The Greatest Happiness For The Greatest Number) จุดมุ่งหมายของเบ็นธัมก์ คือ ในสังคมนั้นรัฐต้องคำนึงถึงความสุข หรือความพึงพอใจของสังคม โดยมุ่งมีกฏหมายมาเป็นตัวบังคับสำหรับหมู่คณะ เพื่อนำไปสู่ความสุขหรือความพึงพอใจแก่คนส่วนใหญ่ ดังนั้นมนุษย์ต้องเคารพกฏหมาย เพราะนำไปสู่ความสุขของสังคมส่วนใหญ่ งานเขียนทางการเมืองที่สำคัญของเขาคือ Introduction to The Principles of Morals and Legislation

22.มิลล์ (J.S.Mill 1806-1873) เป็นนักปรัชญาที่สนับสนุนหลักประโยชน์นิยมของเบ็นธัม ท่านไม่ได้เน้นหลักประโยชน์นิยม แต่เน้นความสำคัญทางเสรีภาพและวิถีชีวิตที่อิสระเสรีโดยท่านแบ่งการกระทำของมนุษย์ออกเป็น 2 ชนิด คือ การกระทำที่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น ๆ และการกระทำที่มีผลจำเพาะต่อผู้กระทำคนเดียว เพื่อที่จะให้เป็นไปตามหลักประโยชน์นิยม คือหยุดยั้งการกระทำที่อาจนำไปสู่ผลคือ ความทุกข์ของคนส่วนใหญ่ แต่การกระทำที่มีผลต่อผู้กระทำเพียงคนเดียวนั้นเป็นอิสระ และใครเข้าไปก้าวก่ายไม่ได้ บุคคลมีสิทธิ์ที่จะนำความคิดต่าง ๆ มาอภิปรายตีแผ่ให้รู้ไปเลยว่าความคิดของใครเป็นสัจจะและเสรีภาพดังกล่าวเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้คนแสวงหาสัจจะได้.

23. มาร์กซ์(Karl Marx 1818-1883) นักปรัชญาชาวเยอรมัน เป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดในสมัยปัจจุบัน ความคิดของเขาพอที่จะสรุปได้ว่า รัฐเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเลยสำหรับสังคม หรือรัฐเป็นสิ่งที่จะต้องหายไปในที่สุดในกระแสวิวัฒนาการของสังคม มาร์กซ์มีความเห็นว่าสังคมต้องมีรัฐก็เพราะสังคมมนุษย์มีบทบาทพื้นฐานคือการผลิต  การผลิตของมนุษย์ทำให้เกิดชนชั้นขึ้น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และผู้ใช้แรงงานการผลิตแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ตัวอย่างเช่น นายทุนเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม และกรรมกรเป็นพียงผู้ขายแรงงานในโรงงาน เมื่อนั้นฝ่ายที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตจะกลายเป็นผู้มีอำนาจ และเพียรพยายามที่จะรักษาสถานภาพและอำนาจของตนไว้ จึงได้สร้างอำนาจรัฐขั้นมา รัฐจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นในแง่ที่เป็นเครื่องมือในการกดขี่ของฝ่ายมีอำนาจที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เพื่อรักษาสถานภาพและทำให้ตนมีผลประโยชน์ตอบแทนสูงที่สุด รัฐจึงจำเป็นในแง่รักษาผลประโยชน์ของชนบางกลุ่มเท่านั้น มิใช่จำเป็นตลอดไปสำหรับสังคมมนุษย์ ทั้งนี้ ถ้าวิธีการผลิตของสังคม ไม่มีใครเป็นฝ่ายยึดกุมการผลิต หรือปัจจัยการผลิตเป็นส่วนกลาง เมื่อนั้นชนชั้นทางสังคมไม่มี หรือกลายเป็นสังคมไร้ชนชั้น และไม่จำเป็นต้องสร้างรัฐขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกดขี่หรือขูดรีดอย่างใดทั้งสิ้น ด้วยเหตุดังกล่าว

จึงสามารถสรุปได้ว่า สังคมในอุดมคติของมาร์กซ์คือสังคมมที่ไม่มีชนชั้น (Classless Society) เพราะพื้นฐานการผลิตเป็นแบบคอมมูน คือไม่มีใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และเป็นสังคมที่ปราศจากรัฐ สมาชิกของสังคมสามารถปกครองดูแลตนเอง และควบคุมความประพฤติของตนเองได้ เราจะเห็นได้ว่าในสังคมปัจจุบันก็ยังมีความจำเป็นในการควบคุมหรือการจัดการเกี่ยวกับทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การจัดการเกี่ยวกับการผลิต นั่นหมายความว่า ยังคงมีอำนาจศูนย์กลางที่ควบคุมสังคมบางส่วน และยังมีแนวความคิดในกลุ่มอนาธิปไตยที่ปฏิเสธอำนาจการจัดการใด ๆ ทั้งสิ้นโดยสิ้นเชิง เพราะอำนาจหรือการควบคุมเป็นสิ่งชั่วร้ายและเป็นศัตรูตัวร้ายของมนุษย์ ถ้าขจัดอำนาจรัฐได้โดยสิ้นเชิง สิ่งที่ชั่วร้ายที่เคยเกิดกับมนุษย์ทั้งหลายจะพลอยหายไปด้วย ดังนั้นสังคมที่ดีที่สุดควรเป็นสังคมที่ไร้รัฐ และไร้องค์กรใด ๆ ทั้งสิ้น และปล่อยให้แต่ละคนร่วมมือกันจากความรู้สึกเป็นเพื่อนจากความรัก และจากความเข้าใจที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับนั่นเอง.

สรุปแนวความคิดของนักปรัชญายุคโบราณ ที่ข้าพเจ้าพอที่จะรวบรวมได้จนปรัชญาสมัยปัจจุบัน จากทัศนะดังกล่าวข้างต้น โดยแท้ที่จริงแล้ว เราไม่อาจบ่งชัดลงไปได้อย่างแน่นอนว่า ปรัชญาตริตรองในปัญหาใดกันแน่ เราสาามารถบอกได้ชัดเจนว่า ตัวเลขเป็นเนื้อหาของวิชาเรขาคณิต ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์ แต่แท้จริงเราไมม่อาจกำหนดได้ว่าอะไรเป็นเนื้อหาของวิชาปรัชญา ทั้งนี้เพราะปรัชญาหมายถึง การรัก การสงสัย การมองเห็นปัญหาที่ยังเป็นปัญหา และการพยายามหาคำตอบที่เป็นไปได้สำหรับปัญหานั้น ๆ และปรัชญาก็เริ่มตั้งแต่สมัยมนุษย์ดึกดำบรรพ์จวบจนทุกวันนี้ ดังนั้นสิ่งที่เป็นปัญหาหรือสิ่งที่มนุษย์สงสัย จึงมมีอยู่มากมายจนไม่อาจให้ข้อจำกัดลงไปได้ ขอบเขตของวิชาปรัชญาจึงมีอยู่กว้างขวางมาก และก็มีวิวัฒนาการเป็นยุคสมัยต่าง ๆ พอที่จะแบ่งออกได้ดัง เช่น

1.ปรัชญาดึกดำบรรพ์  ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ในโลกครั้งแรก ไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐาน

2.ปรัชญายุคโบราณ  หมายถึง ปรัชญาของชนชาติโบราณนับตั้งแต่เริ่มต้นมีหลักฐานและทำการบันทึกไว้

3.ปรัชญายุคกลาง  หมายถึง ปรัชญาของมนุษย์ ซึ่งอยู่ในระหว่างปี  ค.ศ. 529-ปี ค.ศ. 1500

4.ปรัชญายุคใหม่  หมายถึง ปรัชญาของมนุษย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1500 เป็นต้นจนมาถึงสมัยปัจจุบัน



  บทที่

แนวความคิดของนักปรัชญา

ปรัชญาตะวันตกยุคโบราณ

ปรัชญาตะวันตกยุคโบราณ ในที่นี้หมายถึง การรวมปรัชญากรีกและโรมันก่อนมีปัญหาเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา แบ่งเป็น ๓ สมัย คือ

. สมัยเริ่มต้น

(ประมาณ ระหว่างศตวรรษที่ ๖-๕ ก.ค.ศ.)

ธาเรส (Thales ก.ค.ศ. ๖๔๐–๕๔๕) ในยุคนี้มีปัญหาใหม่ขึ้น การที่คนเราจะสามารถเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาเองนั้น โดยไม่ต้องอ้างเทพเจ้าจะได้หรือไม่ ธาเรสคิดว่าสามารถทำได้ โดยคิดว่าโลกและเอกภพมีกฏเกรฑ์ตายตัว นั่นคือเป็นจักรวาลที่มีระเบียบ (COSMOS) ไม่ใช่เป็นเอกภพที่ไร้ระเบียบ เทพเจ้าสามารถควบคุมธรรมชาติได้ เพราะพระองค์ทรงรู้กฏของธรรมชาติอย่างดี พระองค์จึงสามารถบันดาลให้เกิดภัยธรรมชาติได้ เช่น ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ธาเรสคิดว่าถ้ามนุษย์รู้กฏธรรมชาติได้อย่างพระเจ้า ก็สามารถควบคุมธรรมชาติได้เช่นกัน ทำอย่างไรจึงจะรู้กฏธรรมมชาติได้ ธาเรสได้สร้างทฤษฎีของตนเองขึ้นมา คือพยายามค้นคว้าว่าธาตุแท้ของโลกคืออะไร และพยายามอธิบายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น โดยอาจเจอวิธีการควบคุมโลกด้วย ท่านค้นคว้าเรื่อยไปจนมีอายุมากก็ยังหาข้อชี้ชัดไม่ได้ว่าอะไร จึงได้ตั้งทฤษฎีใหม่ขึ้นมาว่าปฐมธาตุของสิ่งทั้งหลายคือน้ำ ทุกอย่างเกิดจากน้ำ โดยอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆว่ามีน้ำเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งต่าง ๆ โดยในอดีตยุคโบราณก่อนหน้านั้นคนยังมีความเชื่อเก่า ๆ อยู่ในเรื่องของน้ำ เป็นต้น.

อานักซีมันเดอร์ (Anaximander ก.ค.ศ. ๖๑๐–๕๔๕) เป็นศิษย์ของธาเรสโดยตรง และค้านอาจารย์ของตนว่า ปฐมธาตุไม่ใช่น้ำ แต่ควรเป็นสารไร้รูป และตั้งชื่อว่า อนันต์ (infinity) โดยที่ว่าสารไร้รูปยังไม่เป็นสิ่งใดเลย จึงมีสภาพที่จะเป็นอะไรก็ได้ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสิ่งอื่น เป็นต้น

อานัดซีเมเน็ส (Anaximenes ก.ค.ศ. ๕๘๘–๕๒๔) ท่านคิดว่า ถ้าปฐมธาตุเป็นสารไร้รูปจริงก็เหมือนกับไม่มีอะไรเลย เพราะถ้าเป็นของมีจริงก็ต้องเป็นอะไรสักอย่าง ท่านคิดว่าสารไร้รูปของอานักซีมันเดอร์นั้นคงได้แก่อากาศ เป็นของมองไม่เห็น ไม่มีรูปร่าง ดังนั้นท่านจึงคิดว่าอากาศจะเป็นปฐมธาตุมากกว่าน้ำ เพราะอากาศมีมากกว่าน้ำมาก

เฮราคลีตุส (Heraclitus ก.ค.ศ. ๕๓๖–๔๗๐) มีความคิดว่าปฐมธาตุคือ ไฟ มากกว่า เพราะไฟเป็นพลังในตัวเอง และแปรสภาพตัวเองเป็นอะไรก็ได้ซึ่งความจริงแล้วก็แปรสภาพตัวเองด้วยตลอดเวลา เรื่อยไปอย่างไม่หยุดยั้งหรือสิ้นสุดลง เพราะไฟเป็นสิ่งนิรันดร เป็นพระเจ้า ดิน น้ำ และหินความจริงแล้วมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด แต่ช้าเกินกว่าอายตนะของเราจะรู้สึก เปรียบเหมือนน้ำเดิมจะไหลไปและมีน้ำใหม่ไหลเข้ามาแทนที่ ทุกสิ่งทุกอย่างรอบเราก็มีการแปรสภาพอยู่ทุกขณะ เหมือนกระแสน้ำไหลอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นคำตอบนี้ของเฮราคลีตุสชัดที่สุดในทุกคำตอบที่ผ่าน ๆ มาทำให้ปัญหาว่าอะไรเป็นตัวการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ปาร์มีนีเดส (Parmenides ก.ค.ศ. ๕๑๕–๔๕๐) ท่านมีความเห็นแย้งทั้งหมดว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นมายา ไม่ได้มีอยู่จริงสภาพที่แท้จริงของสิ่งทั้งปวง คือ การอยู่นิ่ง และธาตุแท้หรือปฐมธาตุของสิ่งทั้งปวง คือ ดิน

เอ็มเปโดเคล็ส (Empedocles ก.ค.ศ. ๔๙๒–๔๓๐) ท่านมีความเห็นสนับสนุนทุกฝ่ายเป็นลักษณะการปรองดองว่าปฐมธาตุมี ๔ อย่างคือ ดิน น้ำ อากาศ ไฟ โดยว่าสิ่งเหล่านี้เกิดจากการรวมตัวของธาตุ ๔ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเปลี่ยนของอัตราส่วน และการสูญหายก็เกิดจากการแยกตัวของธาตุ ๔ นั่นเอง ธาตุ ๔ นั้นเป็นสิ่งคงตัวไม่เพิ่มไม่ลด ไม่เกิดใหม่ไม่สูญหาย

อานักซาโกรัส (Anaxagoras ก.ค.ศ. ๔๙๙–๔๒๘) ได้สอนว่าปฐมธาตุมีอยู่ ๒ อย่าง คือ จิต (MIND) และสสาร (MATER) สสารแบ่งประเภทย่อยออกไปนับชนิดไม่ถ้วน “in everything there is a portion of everything” (ในทุกสิ่งมีส่วนหนึ่งของทุกสิ่ง) เช่น การที่เรากินข้าว ส่วนไหนธาตุเนื้อแรงก็จะกลายเป็นเนื้อส่วนไหนธาตุเลือดแรงก็จะกลายเป็นเลือด เป็นอันว่าท่านเสนอจิตขึ้นมาแก้ปัญหาเรื่องตัวการของการเปลลี่ยนแปลง

ฉะนั้นปัญหาเรื่องปฐมธาตุของโลกจึงยังไม่ยุติ และมีการคิดกันมาเรื่อย ๆ นั่นคือ นักปราญช์ปัจจุบันค้นคว้ากันอยู่ว่าปะจุไฟฟ้าในปรมาณูเป็นอะไรกันแน่ เป็นอันว่าปัญหานี้ซึ่งธาเรสได้พบเมื่อ ๒๖๐๐ ปีมาแล้วและมีผู้หาคำตอบกันนมากมาย แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดและยอมรับกันทุกคน และเป็นข้อที่ดีทำให้ในสมัยต่อมาก็ยังมีการคิดค้นกันเสมอมา

. สมัยรุ่งเรือง

(ประมาณ ศตวรรษที่ ๔ ก.ค.ศ.)

ปรัชญาเอกในยุคโบราณนี้มี ๓ ท่านคือ โซคราตีสปลาโต้ และอาริสโตเติ้ล ยุคนี้มีปัญหาใหม่ว่า เรื่องสมรรถภาพของจิตของเราว่า จะรู้จริงได้หรือไม่ จะรู้ได้อย่างไร เอามาตรการอะไรมาตัดสินว่า ความรู้นี้จริง กล่าวคือเกิดปัญหาทางปรัชญานั่นเอง

นักปรัชญากลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มโซฟิสต์ กลุ่มโปรตาโกรัส ทั้ง ๒ กลุ่มมนี้มีความเห็นไม่ตรงกัน ต่างคนต่างมีเหตุผลสนับสนุน เช่นในเรื่องปฐมธาตุ ดังนั้นสังเกตได้ว่าใครนิยมความคิดของผู้ใดก็ว่าความคิดและเหตุผลของผู้นั้นถูก ส่วนของคนอื่นผิดหมด

โซคราเต็ส (Socrates ก.ค.ศ. ๔๗๐– ๓๙๙) ท่านเล็งเห็นว่าถ้าปล่อยให้ลัทธิโซฟิสต์แพร่หายคนเราจะไม่มีจุดยึดเหนี่ยว ถ้าไม่มีมาตรการตายตัว ใครอยากทำอะไรก็ทำได้ และต่อไปในภายหน้าคนเหล่านั้นก็จะถือโอกาสกดขี่ผู้อื่นให้อยู่ใต้อำนาจตนตามสบาย คนที่ฉลาดก็จะเอาเปรียบคนโง่ ทุกคนจะแข่งขันกันคุมอำนาจอย่างไร้ความรับผิดชอบ ดังนั้นท่านจึงสนทนาฟังความคิดเห็นแล้วหาทางเปลี่ยนแนวความคิดที่ผิดของบุคคลเหล่านั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคนที่มีความสุขุมรอบคอบและเจ้าปัญญา จึงทำให้ตัวของท่านเป็นคนที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา

โซคราเต็สมีความคิดว่า ความจริงและความดีจะต้องมีมาตรการแน่นอนตายตัวสำหรับมนุษย์ จิตของมนุษย์นั้นสามารถจะความจริงและความดีได้ แต่เพราะมนุษย์ทุกคนมีกิเลสทำให้จิตปั่นปวน จึงีการตัดสินใจผิดเพี้ยนกันไปแล้วแต่กิเลสจะพาโน้มไปทางไหน ดังนั้นบุคคลใดอยากคิดให้ถูกเป็นความจริงและความดีมาตรฐาน ต้องพยายามขจัดกิเลสและทำปัสนา จึงจะเห้นความจริงได้ตรงกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า “ความรู้ที่ได้ในขณะปัสนาย่อมไม่มีกิเลส” ภายหลังท่านได้ถูกประหารชีวิตโดยการดื่มยาพิษ โดยรัฐกล่าวหาท่านว่ายุยงงให้คนหนุ่มกระด้างกระเดื่อง

ปลาโต้ (Plato ก.ค.ศ.. ๔๒๘–๓๔๗) เป็นศิษย์คนสำคัญของโซคราเต็ส คิดว่าการถกเถียงปัญหากับประชาชนนั้นย่อมเป็นภัยกับตนเอง และอาจจะลงเอยเหมือนอาจารย์ของท่าน ทฤษฎีของท่านตรงกับอาจารย์ที่ว่า ความจริงและความดีต้องมีมาตรการตายตัวสำหรับทุกคน และเห็นด้วยว่าการขจัดกิเลสและทำปัสนาาเป็นทางนำไปสู่ความรู้จริง นอกจากนี้ปลาโต้ยังมีความคิดเห็นอีกว่า ทำไมเมื่อต่างคนต่างทำปัสนาอย่างไร้กิเลสแล้วจะพบความจริงได้ตรงกัน ปลาโต้เห็นปัญหานี้เพราะสังเกตเห็นว่าช่างแกะสลักฝีมือดี ลงมือแกะสลักหินอ่อนขนาดเดียวกันและเหมือนกัน จะแกะสลักได้รูปต่างกัน ปลาโต้จึงตั้งทฤษฎีแบบ (Theory of Forms) ขึ้น โดยสอนว่ามนุษย์เรามีวิญญาณอมตะ ก่อนจะจุติลงมาในโลก วิญญาณของเราสถิตอยู่ในโลกแห่งจิตหรือโลกแห่งมโนคติ ในโลกนั้นไม่มีสสาร ไม่มีวัตถุแห่งผัสสะ มีแต่มโนคติเท่านั้น มโนคติได้แก่สิ่งสากลทั้งหลายและกฏเกณฑ์สากลต่าง ๆ เช่น มีสุนัขอยู่ตัวหนึ่ง ไม่ใช่สุนัขไทย ไม่ใช่สสุนัขจู ไม่ใช่สุนัขอัลเซเชียน แต่เป็นสุนัชสากลล ซึ่งเป็นแบบของงสุนัขทุกตัวที่เกิดมาในโลกแห่งผัสสะ มีต้นไม้อยู่ต้นหนึ่งเป็นต้นไม้สากล ซึ่งเป็นแบบของตนไม้ทุกต้นในโลกแห่งผัสสะเช่นนี้เรื่อยไปสำหรับสิ่งสากลทุกอย่าง นอกนั้นยังเป็นที่รวมของกฏเกณฑ์สากลต่าง ๆ ด้วย เช่น กฏคณิตศาสตร์ กฏตรรกศาสตร์ สูตรต่าง ๆ กฏความประพฤติ ฯลฯ ต่างก็มีอยู่ในโลกแห่งมโนคติครบถ้วน สิ่งสากลมีความสมบูรณ์ครบถ้วนและคงอยู่ถาวร ไม่รู้จักเปลี่ยนแปลงและสิ่งเฉพาะหน่วย (particulars) ในโลกแห่งผัสสะของเรานี้ล้วนแต่เลียนแบบสิ่งสากลในโลกแห่งมโนคติทั้งสิ้น สิ่งเฉพาะหน่วยนั้นมีความบกพร่องไม่มากก็น้อย แล้วแต่จะเลียนแบบมาดีเพียงใด ทั้งยังเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตั้งแต่เริ่มมีขึ้นจนสลายไปในที่สุด เมื่อนำมาเปรีบยเทียบกับดวงวิญญาณที่อยู่อย่างเป็นสุขในโลกแห่งมโนคติ ซึ่งทยอยกันจุติมาเกิดเป็นมนุษย์ยังโลก โดยวิญญาณถูกกักขังอยู่ในร่างกายซึ่งเป็นการขัดขวางการกระทำของวิญญาณทุกประการ ระหว่างเวลาจุติจนถึงเวลาเกิดนั้น วิญญาณต้องอยู่ในสภาพฝืนธรรมชาติของตัวเองอย่างที่สุด ปลาโต้คิดว่าวิญญาณมีอาการสิ้นสติไปชั่วคราว และเมื่อเกิดมาแล้ววิญญาณจึงค่อย ๆ มีสติฟื้นความจำที่ละน้อย เพราะเหตุนี้ถ้าเราทำปัสนาในสภาพไร้กิเลส เราจะพบความจริงอันเดียวกันคือ ความจริงสากลนิรันดรในโลกแห่งมโนคตินั่นเอง

อาริสโตเติ้ล (Aritotle ก.ค.ศ. ๓๘๔–๓๒๒)  ท่านเป็นศิษย์ของปลาโต้ และเห็นด้วยกับอาจารย์ตอนแรก ต่อมาได้เกิดปัญหาขึ้นมาว่า “จะอธิบายสิ่งสาากลได้โดยไม่ต้องอ้างโลกแห่งมโนคติไม่ได้หรือ”  เพราะโลกแห่งมโนคติของอาจารย์เป็นเพียงสมมติฐาน ซึ่งไม่มีอะไรยืนยันว่าต้องมีจริง อาริสโตเติ้ลคิดว่าสิ่งสากลมิได้อยู่ในโลกต่างหาก แต่อยู่ในโลกแห่งผัสสะของเรา หมายถึงอยู่ในหน่วยเฉพาะทุกหน่วยคือ สิ่งสากล เรารู้ได้โดยถอดสิ่งสากล เอาาส่วนที่เหมือนกันออกมา สิ่งสาากลจึงมิได้เป็นอยู่อย่างเป็นเอกเทส แต่มันมีอยู่จริงในสิ่งเฉพาะหน่วย ดังนั้นจิตของเราสามารถถอดออกมาเป็นความรู้ได้ และสามารถรู้ได้ตรงกันหมดทุกคนด้วย แนวความคิดของอาริสโตเติ้ลนี้มีว่า คนเราจะมีกิเลสหรือไม่มีกิเลสก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร เพียงแต่ใช้วิธีให้ถูกเท่านั้น ก็จะเห็นความจริงมาตรฐานได้ตรงกันทุกคน

. สมัยเสื่อม

(หลังอาริสโตเติ้ลเสียชีวิตไปจนถึงปรัชญาคริสต์)

เป็นสมัยที่พระเจ้าอาเล็กซันเดอร์รวบรวมอำนาจกรีกทั้งหมด พวกโรมันเก่งในเรื่องรบ กฎหมาย และวิศวกรก่อสร้าง เรื่องปรัชญาก็คงเป็นของนักปราชญ์กรีกอยู่เช่นเดิม ในสมัยนั้นกฏหมายโรมันได้ให้ทุกคนมีสิทธิ์นับถือศาสนาตามใจชอบ จึงมรศาสนาและลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมามากลาวสิบลัทธิ จึงมีการแข่งขันกันในการที่จะพยายามให้คนมานับถือศาสนาหรือลัทธิของตนทั้งงแบบเก่าและแบบใหม่ ถิงงกับมีการกล่าวโจมตีกัน และว่าของตนดีกว่าของนักปราชญ์คนอื่น ด้วยความพยายามที่กล่าวนี้จึงเป็นสาเหตุแห่งการขัดแย้งของการนับถือตามความเชื่อของแต่ละคนแต่ละฝ่าย ซึ่งมีทั้งปรัชญาและศาสนา ปัญหาที่เกิดเหล่านี้มีว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำการประนีประนอมระหว่างปรัชญากับศาสนานั่นเอง ซึ่งนักปรัชญาบางคนถึงกับท้อใจจึงมีเหมือนกันที่ไม่นับถืออะไรเลย ดังนั้นจึงมีปัญหาเฉพาะตนว่า จะมีความสุขในโลกนี้ได้อย่างไร บางพวกมีความเห็นและมั่นใจความสุขเฉพาะแต่ในโลกหน้า อีกพวกหนึ่งไม่หวังเช่นนั้น มีความคิดว่าอยากจะหาความสุขในโลกนี้แทนก็มี โดยแบ่งเป็นลัทธิใใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

ลัทธิรตินิยมมีแนวความคิดว่า ความสุขอยู่ที่การมีไหวพริบ หาประโยชน์ด้วยความละโมภให้มากที่สุดทุกโอกาส

ลัทธิเอปีคูรุสมีแนวความคิดว่าความสุขเกิดจากรู้จักการที่ตนรู้จักประมาณตน มีความสุขกับสิ่งที่ตนเองพึงพอใจให้มากและนานที่สุด โดยไม่ทำให้ตนเองเกิดความเบื่อและบั่นทอนชีวิต

ลัทธิสโตอาความสุขอยู่ที่ใจมีอุเบกขา พอใจแค่สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตเฉพาะตน

ลัทธิคีโนหรือซีนิกความสุขอยู่ที่ใจมีอุเบกขาไม่มีความต้องการสิ่งใด ตัดทุกสิ่งในชีวิตไม่ให้เหลือ มีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่ง ๆ และไร้กังวลเหมือนสุนัข

  สรุป: แนวความคิดทางปรัชญา

. ปรัชญายุคโบราณ

. ปรัชญายุครุ่งเรือง

. ปรัชญายุคเสื่อม

ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง

เป็นลักษณะปรัชญาที่ผสมผสานคำสอนทางศาสนา โดยเฉพาะคริสต์ศาสนาเข้ากับปรัชญา นักปรัชญาสมัยนี้ส่วนมากเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์ โดยนำเอาปรัชญาของเปโตและอริสโตเติ้ลมาคลุกเคล้ากับคำสอนทางศาสนา และใช้ปรัชญากรีกอธิบายคำสอนแนวคิดทางศาสนาตลอดจนนำปรัชญากรีกมาตีความใหม่เพื่อให้เข้ากันได้ สมัยนี้นักปรัชญาไม่เป็นอิสระกับตัวเอง ถูกอิทธิพลของศาสนาเข้าครอบงำ และนักปรัชญาที่ควรศึกษา คือ

. เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine 354-430)

ท่านเป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ เกิดที่เมืองตากัสเต ใในปี ค.ศ. 345ในอาฟริกา เป็นนักคิดที่ยิ่งใหญ่และเป็นครูที่มีอิทธิพลทางคริสต์ศาสนา ความคิดของท่านเน้นหนักในทางเทวนิยม และปัญหาปรัชญาตลอดชีวิตเขา โลกทัศน์ของคริสต์เตียนก็ได้พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นแนวความคิดที่เด่นในปรัชญาคริสต์มมาหลายศตวรรษ ที่สำคัญคือ ลัทธิไตรเอกานุภาพ (Doctrine of The Triniity)

ญาณวิทยา (ทฤษฎีความรู้) ท่านมีความเชื่อว่า ความรู้มีค่าที่สุด หรือความรู้เกี่ยวกับพระเป็นเจ้าและวิญญาณ ความรู้ประเภทอื่น เช่น ตรรกวิทยา อภิปรัชญาและจริยาศาสตร์ จะมีค่าก็ต่อเมื่อนำมาสนับสนุนความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า เพื่อให้เข้าใจพระเจ้าเท่านั้น เพราะเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะต้องเข้าใจสิ่งที่ตนเองเชื่ออย่างแน่วแน่ และพยายามห

 

. เซนต์โธมัสอาควินัส (St. Thoomas Aguinar 1225-1274)

เป็นปรัชญามุ่งอธิบายเหตุผลของจักรวาล ปรัชญาจึงเริ่มจากความจริงไปยังพระเจ้า ส่วนในด้านเทววิทยาจะเริ่มจากพระเจ้าไปหาความจริง ระหว่างเหตุผลกับความเชื่อนั้น ท่านกล่าวทางจริยาศาสตร์ว่า ความดีกับความงามเป็นอันเดียวกัน ในด้านญาณวิทยานั้นท่านกล่าวว่า “ความรู้จริง คือ ความรู้จากความคิดอย่างลึกซึ้ง” ทั้งที่เป็นสากลและเฉพาะ รูปแบบทางปัญญาของท่านนั้นเรียกว่า  “บ่อเกิดความรู้”

สรุปปรัชญาสมัยใหม่

ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ เริ่มต้นด้วยการปฏิวัติแนวความคิดทางปรัชญายุคกลาง ที่มุ่งไปทางศาสนา ให้หันกลับไปทางสร้างสติปัญญา นักปรัชญาสมัยใหม่ได้พัฒนาแนวความคิดให้สูงขึ้น พวกเขาเป็นอิสระจากอิทธิพลต่าง ๆ ของศาสนา รัฐและสังคม มีอิสระที่จะคิด ทำและพิสูจน์ข้อเท็จจริงเป็นเหตุให้เกิดวิชาความรู้ แนวคิด หลักการและวิทยาศาสตร์อันเป็นผลต่อความเจริญ ในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ชาติ ลักษณะทั่วไป

พอสรุปได้ดังนี้

๑. มีการคิดค้นแสวงหาความจริงและพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างอิสระ (Independent)

๒. มนุษย์ยึดถือเหตุผลเป็นหลักในการแสวงหาความรู้ (Rationalistic)

๓. มนุษย์พยายามศึกษาและอธิบายธรรมชาติทั้งในและนอกโลก  โดยยึดหลักแห่งธรรมชาติ ไม่ยอมเอาความเชื่อลึกลับหรือสิ่งที่อยู่นอกเหนือเหตุผลมาเป็นข้ออ้าง

๔. มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าโดยวิธีวิทยาศาสตร์ (Scientific) ดังนี้เป็นต้น.

.ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง

. สรุปปรัชญาสมัยใหม่

วิวัฒนาการปรัชญาตะวันตกสมัยปัจจุบัน

นักปรัชญาหลังจากคานต์ส่วนมากเชื่อตามคานต์ว่า มนัสของเรามีโครงสร้างง ซึ่งแปรสภาพความเป็นจริงที่รับรู้เข้ามาเพื่อรู้ แต่ส่วนมากไม่เชื่อว่าโครงสร้างของมนัสจะเป็นดังที่คาานต์บรรยายไว้ทั้งหมด ประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดของปรัชญาปัจจุบันจึงเป็นว่า ในขณะที่เราไม่รู้โครงสร้างของมนัสเป็นอย่างไร เราจะใช้อะไรเป็นหลักยึดเหนี่ยว ดังนั้นนักปรัชญาหลังจากคานต์จึงมีเป็นจำนวนมากที่วิวัฒนาการแนวความคิด พอจัดกลลู่มได้เป็น ๘ กลุ่มดังนี้

. ลัทธิอัชฌัตติกญาณนิยม (intuitionism) ในกลุ่มนี้แบ่งกลุ่มกันผิดเพี้ยนไปหลายสาขาก็จริง แต่บางข้อที่ตรงกันคือ คิดว่าผัสสะและเหตุผลบิดเบือนความจริง จึงเชื่อไม่ได้นับว่าเห็นด้วยกับคานต์ในเรื่องนี้ เหตุผลปฏิบัติของคานต์หรืออัชฌัตติกญาณของเรา สามารถรู้ความจริงได้ทุกอย่าง แต่ต้องได้รับการฝึกฝนอัชฌัตติกญาณจนถึงขั้นอัจฉริยะ คนที่ฝึกไม่ถึงขั้นก็อาจจะได้รับความจริงไม่สมบูรณ์ จึงต้องพยายามเชื่อฟังและเข้าใจตามคำสอนของอัจฉริยบุคคลที่เข้าถึงแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เข้าถึงแล้วจะอธิบายให้ผู้เข้าไม่ถึงอย่างแจ้มแจ้งหาได้ไม่ ดังนั้นทุกคนต้องพยายามเข้าถึงให้ได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุนี้เองคำสอนของกลุ่มนี้มักคลุมเครือเข้าใจยาก เราเข้าใจด้วยสายตาของปุถุชนธรรมดา จึงแบ่งความคิดเห็นของลัทธินี้ตามที่ปรากฏเป็นคำสอนต่อไปนี้

๑.๑ ลัทธิอุดมการแบบเยอรมัน(German idealism) นักปรัชญาที่สำคัญได้แก่ เฮเกล (Hegel 1770-1831) ลัทธินี้มีอิทธิพลไปทั่วยุโรป ท่านกล่าวว่า ถ้าเราได้ฝึกอัชฌัตติกญาณของเราถึงขั้นอัจฉริยะแล้ว เราก็จะเห็นเองอย่างแจ้มแจ้งว่าเป็นจริงแท้มีแต่จิตดวงเดียวที่วิวัฒน์มาจากหมอกเพลิง เป็นสสาร เป็นชีวิต และที่สุดเป็นจิตมนุษย์ ทุกสิ่งทุกอย่างสืบเนืองมาจากจิต และจะถูกสำนึกว่าเป็นจิตในที่สุด ปรากฏกาารณ์ทั้งหลายจึงเป็นเพียงเครื่องมือให้จิตได้วิวัฒน์ตัวเองเท่านั้น

๑.๒ ลัทธิเจตจำนงนิยม(voluntarianism) นักปรัชญาสำคัญได้แก่ โชเป็นเฮาเออร์ (Schopenhauer 1788-1860) ท่านคิดว่า อัชฌัตติกญาณขั้นอัจฉริยะจริง ๆ จะไม่บอกว่าความเป็นจริงเป็นจิตดวงเดียว แต่จะบอกว่าเป็นพลังตาบอดปริมาณหนึ่งที่ดิ้นรนอย่างไร้จุดหมายในอวกาศอย่างเวิ้งว้าง โชเป็นเฮาเออร์ตั้งชื่อว่า เจตจำนงที่จะมีชีวิต (the-will-to-live) พลังนี้เป็นพลังต่าง ๆ เช่น พลังแม่เหล็ก พลังไฟฟ้า น้ำตก พายุ ฯลฯ และสูงขึ้นมาเป็นสิ่งมีชีวิตในสิ่งมีชีวิตและจิตในมนุษย์ ดังนั้นปรากฏการทั้งหลายจึงเป็นการแสดงออกของพลังดิ้นรนนี้

๑.๓ ลัทธิชีวิตนิยม (vitalism)  ได้แก่ แบร์กซ็อง (Bergson 1859-1941)ชาวฝรั่งเศส สอนว่าอัชฌัตติกญาณขั้นอัจฉริยะให้ความจริแก่เราว่า ความเป็นจริงแท้นั้นได้แก่ พลังทะยานแห่งชีวิต (e¢lan vital or vital impulse) พลังนี้ซึมแทรกอยู่ในสสาร มีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนกระทั่งมีชีวิต และมีชชีวิตที่สมบูรณ์แบบขึ้นเรื่อยไป

๑.๔ ลัทธิสสารนิยมแบบปฏิพัฒนา (dialactic materialism) นักปรัชญาได้แก่ เอ็งเก็ลส์ (Engels 1820-1895) สอนว่าอัชฌัตติกญาณขั้นอัจฉริยะให้ความจริงแก่เราว่า ความเป็นจริงเป็นสสารที่พัฒนาไปเรื่อย ๆ ด้วยการขัดแย้ง แม้พัฒนาถึงขั้นเป็นมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมแล้ว ก็ยังต้องการความขัดแย้งในระหว่างชนชั้นในสังคมเพื่อความก้าวหน้าต่อไปของสสาร

. ลัทธิปฏิบัตินิยม (pragmatism) มีความเห็นว่า เรายังเห็นไม่ได้ว่ามนัสของเรามีโครงสร้างอย่างไร จะยืนยันว่าอะไรจริงก็ยังไม่ได้ ทางที่ดีควรหาหลักยึดเหนี่ยวไปชั่วคราวก่อน จนกว่าจะรู้โครงสร้างของมนัสจึงค่อยกำหนดความรู้กันให้แน่นอนต่อไป ลัทธินี้เห็นว่าไมม่มีอะไรจะดีไปกว่าการเพ็งเล็งถึง ประสิทธิภาพทางปฏิบัติ (practical efficiency) อะไรให้ประสิทธิภาพก็ให้ถือว่าจริงไปก่อน อะไรทำลายประสิทธิภาพก็ให้ถือว่าไม่จริงต้องแก้ไข

. ลัทธิอัตถิภาวนิยม (existentialism) ลัทธินี้ก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน เห็นว่าในมนัสของเรามีโครงสร้างซึ่งเราไม่รู้ว่าทำการอย่างไร เราอาจจะไม่มีวันแก้ปัญหานี้ตกได้เลยก็ได้ ทางที่ดีควรหาหลักยึดถือไว้พลาง ๆ ก่อน หลักที่ลัทธินี้เห็นว่าควรยึดถือก็คือ การส่งเสริมเสรีภาพส่วนบุคคล คือมนุษย์เราเกิดมาเพื่อเสรีภาพ แต่ละคนมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพ เพราะฉะนั้นอะไรที่ส่งเสริมเสรีภาพส่วนบุคคลก็ให้ถือว่าจริงและมีค่าควรยึดถือ อะไรขัดขวางหรือทำลายเสรีภาพส่วนบุคคล สิ่งนั้นไม่จริงไม่มีคุณค่า ต้องแก้ไข ต่อมาลัทธินี้ได้แตกเป็น ๒ ฝ่ายคือ ปัญหาบ่อเกิดแห่งเสรีภาพ

ฝ่ายหนึ่งถือว่า เสรีภาพเป็นสิ่งที่มีติดตัวมาเอง แต่เมื่อเราสำนึกถึงความมีของเรา ก็พบว่าต้องมีเสรีภาพโดยจำเป็น เรียกลัทธิของตนว่า “อัตถิภาวนิยมแบบอเทวะ” (atheistic existentialism) ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งถือว่า เสรีภาพที่แท้จริงจะมีได้ก็โดยมีความเชื่อในพระเจ้า พระองค์เป็นผู้ค้ำประกันเสรีภาพของบุคคลแต่ละบุคคล เรียกลัทธินี้ว่า “อัตถิภาวะนิยมแบบเทวะ” (theistic existentialism) นักปรัชญาที่สำคัญ ได้แก่ คีร์เคกอร์ด ชาวเดนมาร์ก/ ยัสเปิร์ส ชาวเยอรมัน/ บาร์ท ชาวสวิส/ มาร์เซ็ล ชาวฝรั่งเศส

. ลัทธิสัจนิยมใหม่ (neo-realism) ลัทธินี้มีความเห็นว่ามนัสของเราทำการอย่างไร เราควรยึดถือหลักการไปพลาง ๆ ก่อนว่าอะไรที่เราสามารถโดยการประนีประนอม วิธีรู้ได้มากทางที่สุดก็ให้เชื่อว่าจริงไปก่อนจะปลอดภัยที่สุด นักปรัชญาส่วนใหญ่ของลัทธินี้ไม่เชื่อว่ามีความรู้โดยวิธีเหนือธรรมชาติ จึงเรียกลัทธิว่า ธรรมชาตินิยม (naturalism)

. ลัทธิปฏิฐานนิยม (positivism) ถือว่าความจริงมีเท่าที่รู้ได้ด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์ คือสังเกตทดลองและคำนวณเท่านั้น ความรู้ใดนอกเหนือไปจากนี้ เช่นว่า ศาสนาและปรัชญา ล้วนแต่เป็นเรื่องเหลวไหล มีขึ้นชั่วคราว เพื่อตอบสนองความมักรู้ของมนุษย์ ในระดับปัญญาที่ยังอ่อนอยู่เท่านั้น เมื่อมีปัญญาถึงขั้นวิทยาศาสตร์แล้ว ก็ควรเลิกเชื่อสิ่งเหลวไหลของศาสนาและปรัชญาเสีย มิฉะนั้นจะเป็นอุปสรรคถ่วงความก้าวหน้า ผู้นำของลัทธินี้ได้แก่ โอกุสต็ ก็องต์ (Auguste come 1798-1857)

. ลัทธิปฏิฐานนิยมใหม่ (neo-positivism) เห็นว่าหลักที่ควรยึดถือไปพลาง ๆ ก่อนได้แก่ วิธีการพิสูจน์ของวิชาฟิสิกส์ (physical varification) อะไรที่ถือว่าพิสูจน์ได้ตามวิชาฟิสิกส์ ก็ควรถือว่าจริงได้ มิฉะนั้นก็ให้ถือว่าไร้ความหมายไปก่อน

. ลัทธิภาษาวิเคราะห์ (language analysis) เห็นว่า ความสับสนของปรัชญาตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน อยู่ที่การไม่ระวังความหมายที่ใช้ และไม่ระวังลักษณะของประโยคและกาารดำเนินเหตุผล จึงเห็นว่าวิธีแก้ไขไม่มีอะไรดีกว่าการวิเคราะห์ภาษาที่ใช้สื่อสารกันหรือวิเคราะห์ภาษา (linguistic analysis) และวิเคราะห์เหตุผลหรือตรรกวิเคราะห์ (logical analysis) โดยการวิเคราะห์ให้ละเอียดถี่ถ้วนแล้วจะลดปัญหาที่ไม่จำเป็นลงได้มาก ลัทธินี้ถือว่าเรื่องใดที่วิเคราะห์ได้ด้วยวิธีการดังกล่าวก็เชื่อถือได้ มิฉะนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือ แต่ลัทธินี้นักปรัชญายังตกลงวิธีการวิเคราะห์ให้แน่นอนลงไปไม่ได้ ยังคงวิจัยกันต่อไป นักปรัชญาที่สำคัญได้แก่ วิตเก็นสไตน์ (Wittgenstein 1889-1951) ชาวเยอรมัน

. ลัทธิอัสสมาจาารย์นิยมใหม่ (neo-scholasticism) ปรัชญาอัสสมาจารย์นิยมของยุคกลางนี้มีพื้นฐานดีอยู่แล้ว ควรจะรื้อฟื้นขึ้นมาปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัย โดยเพิ่มเรื่องราวของวิชาการที่ค้นพบใหม่ ๆ เข้าไปร่วมพิจารณาด้วย ส่วนดีของระบบปรัชญาอื่น ๆ แม้นอกวงการปรัชญาตะวันตก เช่น ปรัชญาอินเดีย ปรัชญาจีนก็ควรได้รับพิจารณาอย่างเป็นธรรม เพื่อสร้างปรัชญาที่ครบถ้วนบนพื้นฐานของปรัชญายุคกลาง วิธีการนี้ได้รับการสนับสนุนจากวงการคริสต์ศาสนามากขึ้นโดยลำดับ

สรุปประวัติปรัชญาเปรียบได้กับรากตึก ปรัชญาบริสุทธิ์เปรียบได้กับพื้นล่างซึ่งรองรับตึกทั้งหลัง ปรัชญาประยุกต์แต่ละแขนงเปรียบได้กับห้องที่สร้างไว้ใช้สอยเพื่อปรระโยชน์ต่าง ๆ กันดังนี้เป็นต้น.

  วิวัฒนาการของปรัชญาสมัยปัจจุบัน

ปรัชญาเรียนเพื่อรู้ ๓ อย่างคือ

๑. เพื่อรู้จักปัญหาที่เป็นปัญหา

๒. เพื่อรู้คำตอบทุกคำตอบที่เป็นไปได้

๓. เพื่อรู้จักเก็บส่วนดีทุกคำตอบมาเป็นหลักยึดเหนี่ยวของตน

คำตอบข้อ ๑  ต้องเป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก และจะต้องพยาายามรู้ต่อไปว่า ปัญหาเหล่านั้นมีคำตอบที่ใดบ้าง และพอจะรับฟังได้ อีกทั้งต้องมีเหตุผลสนับสนุนให้เห็นว่าเป็นไปได้ ไม่ขัดแย้งตัวเองและไม่ไร้ความหมาย เช่น .” สสารเป็นสิ่งอยู่นิ่งที่กำลังเคลื่อนที่” เป็นต้น

คำตอบข้อ ๒  ต้องดูมติของคนทั่วไป ถ้าถือเหมือนกันก็ไม่ถือเป็นปัญหาปรัชญา ถ้ายังลงมติกันไม่ได้โดยทั่วไป ถือว่าเป็นปัญหาปรัชญา ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนิ่งลงมติมาชี้ขาดไม่ได้

คำตอบข้อ ๓  เพื่อรู้ปัญหาและพยายามพิจารณาคำตอบทุกคำตอบที่สามารถสืบเสาะหามาได้ นำมาเปรียบเทียบและดูความแตกต่าง แล้วแยกเป็นพวก ๆ เพื่อสะดวกในกาารทำความเข้าใจต่อไปอย่างมีเหตุผล และนักปรัชญาต้องวางตัวเป็นกลางด้วย พยาายามรวบรวมเก็บเฉพาะส่วนที่ดี ไว้เป็นคำตอบของงตนเองง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกับใคร ฯลฯ

ปรัชญาต่างจากศาสนาอย่างไร ?

๑. ศาสนามุ่งเน้นสอนให้เชื่อตามคำสอน โดยยกหาเหตุผลและหลักฐานต่าง ๆ มาสนับสนุนให้เห็นจริง ถ้าไม่มีเหตุผลจริง ๆ แล้วจะอยู่ได้ไม่นาน นี่เป็นข้อเท็จจริงงที่นักปรัชญาควรสังเกตไว้

๒. ปรัชญาที่แท้จริงนั้นผู้สอนจะต้องวางตัวเป็นกลาง จะต้องเสนอปัญหาตามมติของคนทั่วไป พยายามบรรยายให้เข้าใจเหตุผลของแต่ละคำตอบตามทรรศนะของฝ่ายนั้นจริง ๆ ให้เข้าใจทุกฝ่าย

บรรณานุกรม

เมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต), พระ. ปรัชญากรีกโบราณ ตอนที่ 1–2 : เนื่องในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2532,โรงพิมพ์มหาจุฬาฯ กรุงเทพฯ

วิธาน สุชีวคุปต์.และคณาจารย์ภาควิชาปรัชญา,ปรัชญาเบื้องต้น. มหาวิทยาลัยรามคำแหง :กรุงเทพ ฯ, 2534.

กีรติ บุญเจือ ปรัชญาสำหรับผู้เริ่มเรียน กรุงเทพฯ, ไทยวัฒนาพานิช, 2523

วิทย์ วิศทเวทย์ ปรัชญาทั่วไปกรุงเทพฯ, อักษรเจริญทัศน์, 2520

  ประวัติผู้รวบรวมและเขียน

ชื่อสกุล    นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท