มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

วิธีการสอนพระพุทธศาสนา


 

โครงการธรรมศึกษาวิจัย

วิธีการสอนพระพุทธศาสนา

: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก

อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการ

ทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐ พิมพ์ครั้งที่ ๑๕๐๐ เล่ม เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

บทที่ ๑

วิธีการสอนพระพุทธศาสนา

จำเป็นต้องอาศัยองค์รวมของสถานศึกษาและความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียนโดยมีรายละเอียดที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้คือ

การเสริมสร้างความศรัทธา

การสอนสาระพระพุทธศาสนาแก่ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งเป็นช่วงวัยรุ่นนั้นผู้สอนควรพึงระวังถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากและควรจัดให้เหมาะสมสอดคล้องกับวุฒิภาวะความสนใจตลอดจนควรเอื้อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระศาสนาอีกด้วยดังนั้นจึงควรเริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยวิธีการสร้างศรัทธา (สุมนอมรวิวัฒน์, อ้างถึงในกระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ 2546 : 181) ความเชื่อมั่นที่ผู้เรียนควรมีต่อการเรียนรู้สาระพระพุทธศาสนามี 3 ประการดังต่อไปนี้คือ

(1) เชื่อมั่นว่าหลักพระพุทธศาสนาเป็นความรู้จริงความดีจริงและความงามที่แท้จริงพระธรรมคำสั่งสอนล้วนเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้

(2) เชื่อมั่นว่าการปฏิบัติตนตามหลักของพระพุทธศาสนาย่อมเกิดผลที่มีคุณค่าที่แท้จริงแก่ชีวิตและ (3) เชื่อมั่นว่าการศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นการเรียนสาระความรู้ที่มีเหตุผลสามารถใช้ปัญญาพิสูจน์ให้เห็นจริงได้การเสริมสร้างศรัทธานั้นครูผู้สอนสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางต่อไปนี้

1. บุคลิกภาพของครูบุคลิกภาพของครูเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างศรัทธาดังนั้นบุคลิกภาพของครูที่สอนศีลธรรมจึงควรมีลักษณะดังนี้

(1.1) บุคลิกภาพทางกายมีความสะอาดแจ่มใสสงบและสำรวม

(1.2) เป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดีและมีจิตใจอิสระที่ปลอดโปร่งจากปัญหาและ

(1.3) มีความมั่นใจในตนเองไม่มีปมเด่นหรือปมด้อยในการที่ต้องมาสอนพระพุทธศาสนา

2. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับศิษย์และระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันผู้สอนต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เรียนนักเรียนน่าจะเกิดความรู้สึกอบอุ่นถ้าครูเดินเข้าห้องเรียนด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสในระหว่างดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ก็เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งความจริงใจอีกทั้งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นครูควรได้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มี

ส่วนร่วมกับทุกคนนักเรียนต่างได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันสิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งช่วยทำให้กระบวนการเรียนการสอนสามารถดำเนินไปได้จนบรรลุจุดประสงค์ที่ผู้สอนได้วางไว้แต่แรกเริ่ม

3. การเสนอสิ่งเร้าและจูงใจนักเรียนโดยทั่วไปมักมีเจตคติต่อสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาว่าเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ที่คอยควบคุมมิให้ทำสิ่งใดได้ดั่งใจตนดังนั้นการที่จะสร้างศรัทธาให้นักเรียนเกิดความรู้สึกตระหนักในความสำคัญของการนับถือศาสนาจึงต้องใช้สื่อสิ่งเร้าเชื่อมโยงให้เห็นว่าพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของเขาและสามารถช่วยให้เขาประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างแท้จริงสื่อสิ่งเร้าที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนร่วมกันเกิดความสนใจต่อสาระพระพุทธศาสนากันมากขึ้นไปกว่าเดิมคือ

(3.1) ธรรมชาติและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ผู้เรียนได้พบเห็นอยู่ทุกวันและมิได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนเช่นใบไม้ที่เขียวชอุ่มใบไม้แก่ที่เหลืองจัดเป็นต้นสื่อสิ่งเร้าเหล่านี้ครูผู้สอนสามารถที่จะหยิบมาใช้สอนได้อยู่เสมอ

(3.2) ข่าวและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตทุกเพศทุกวัยในแต่ละวันของการดำเนินชีวิต

(3.3) การใช้สื่อและวิธีการจัดทำนำเสนอสื่อต่างๆเพื่อเร้าความสนใจเช่นการจัดป้ายนิเทศการจัดนิทรรศการเป็นต้นและ

(3.4) คำวิจารณ์อย่างมีเหตุผลคำชมเชยการให้รางวัลการประกาศเกียรติคุณเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเสริมแรงจูงใจนักเรียนต่อการเรียนสาระพระพุทธศาสนา

การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม

บรรยากาศของการเรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งสามารถช่วยให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูและนักเรียนได้ดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาให้ประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดายดังนั้นการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของการเรียนนั้นต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้คือ

(1) จัดลักษณะการวางโต๊ะเรียนในห้องเรียนให้ใหม่อยู่เสมอเพื่อใช้ฝึกการปฏิบัติในการเรียนรู้เรื่องมารยาทชาวพุทธหรือการบริหารจิตและเจริญปัญญา

(2) ให้นักเรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือมีส่วนร่วมในการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ห้องพุทธศาสตร์บ้างตามวาระโอกาสที่เหมาะสม

(3) ถ้าสถานที่อำนวยครูอาจเปลี่ยนบรรยากาศโดยการพานักเรียนไปนั่งเรียนที่สนามใต้ร่มไม้ท่ามกลางธรรมชาติที่มีความสงบเพียงพอและ

(4) ถ้าโรงเรียนอยู่ใกล้วัดและมีโบสถ์วิหารที่กว้างขวางครูควรนำนักเรียนไปเรียนที่โบสถ์วิหารหรือศาลาการเปรียญเป็นบางครั้งบางคราวเพราะวัดและพระสงฆ์เป็นแหล่งวิทยาการที่ดีในการเรียนรู้สาระพระพุทธศาสนา

สรุปได้ว่าบรรยากาศในการเรียนรู้นั้นสำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายควรจะมีลักษณะแจ่มใสร่าเริงปะปนคละเคล้าไปด้วยลักษณะของสาระเชิงวิทยาการจึงจะเหมาะสมที่สุด

บทที่ ๒

รูปแบบของการเรียนรู้

รูปแบบการเรียนรู้เป็นโครงสร้างที่ใช้เป็นแนวในการสร้างกระบวนการเรียนรู้การสอนและจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ลักษณะเด่นของรูปแบบการเรียนการสอนมีดังต่อไปนี้

(1)ครูควรพยายามเพิ่มศักยภาพทางความคิดแก่ผู้เรียนควรใช้คำถามกระตุ้นให้ใช้ความคิดระดับสูงตลอดจนการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วย

(2) คำถามหรือแบบฝึกควรเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้นักเรียนได้คิด

อย่างกว้างขวางและหลากหลายไม่ควรเป็นเรื่องที่มีคำตอบข้อถูกเพียงคำตอบเดียว

(3) ส่งเสริมกรณีศึกษาให้สามารถค้นพบวิธีการแก้ปัญหากรณีพบทางออกของชีวิตด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้มาก

4ควรส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้วัดเป็นแหล่งการเรียนรู้

อันจะเป็นหนทางในการหล่อหลอมความเป็นไทยของเยาวชนของชาติได้อีกวิธีหนึ่งด้วย

(5)ส่งเสริมให้นักเรียนมีอิสระในการเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเช่นเลือกศึกษาเรื่องเกี่ยวกับพระไตรปิฎกเป็นต้นทั้งนี้เพื่อช่วยสร้างนิสัยรักอิสระและเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนและ

(6) ครูควรจัดระยะเวลาเรียนให้พอเหมาะและมีความหลากหลายของวิธีการสร้างกิจกรรมที่ท้าทายความสามารถของเด็กคาดคะเนเวลาอย่างเหมาะสมและเข้าใจหลักการของการบูรณาการเชื่อมโยงหัวข้อความรู้ไปสู่ความคิดรวบยอดที่เป็นองค์รวม

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ

มาตรฐานการเรียนรู้นี้จะประกอบไปด้วยสิ่งที่สำคัญ 3 ประการคือองค์ความรู้ (Knowledge) กระบวนการเรียนรู้ (Performance) และ คุณธรรม (Attribute) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักสูตรที่ต้องการเน้นความรู้คู่คุณธรรมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนการเรียนรู้ตามหลักสูตรจะเน้นที่กระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติกระบวนการของสาระพระพุทธศาสนาได้แก่กระบวนการต่างๆเหล่านี้คือ

(1) กระบวนการความคิดรวบยอดซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดในสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างถูกต้องและชัดเจน

(2) กระบวนการคิดวิเคราะห์โดยใช้การคิดที่ถูกวิธีคือโยนิโสมนสิการ

(3) กระบวนการสืบค้น

(4) กระบวนการฝึกปฏิบัติบริหารจิตและเจริญปัญญา

(5) กระบวนการขัดเกลาทางสังคม

(6) กระบวนการเผชิญสถานการณ์เพื่อการตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมและ

(7) กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ

จะเห็นได้ว่าวิธีการสอนสาระพระพุทธศาสนานั้นประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญหลายส่วนด้วยกันดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนสาระการเรียนรู้กลุ่มนี้ที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของการสอนแบบต่างๆทั้งนี้เพราะมีจุดประสงค์ที่เพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ร่วมกันของครูและนักเรียนกล่าวโดยสรุปก็คือในการจัดการเรียนการสอนนั้นเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุดครูผู้สอนควรต้องคำนึงถึงหลักการและแนวทางในการสอนที่มีประสิทธิภาพควรมีการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนของตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาอีกประการหนึ่งด้วย

การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป

การนำบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นมาแล้วผ่านการทดลองพิสูจน์และพัฒนาอย่างเป็นระบบแล้วนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนนั้นถือได้ว่าผู้สอนได้มีการพัฒนาในการทำงานของตนด้วยการนำนวัตกรรมทางการศึกษาหรืออีกนัยหนึ่งได้นำเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาเสริมสร้างคุณภาพในการจัดกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียนสำหรับการแก้ไขปัญหาของการเรียนการสอนในครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรงเข้ามาใช้ในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเพราะสะดวกและประหยัดเวลาพร้อมกันนี้ก็ได้กำหนดสาระการเรียนรู้เรื่องพระไตรปิฎกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ช่วงชั้นที่ 4 (ม.4 – ม.6) โดยการนำมาสร้างเป็นบทเรียนเพราะเป็นสาระที่สำคัญต่อการที่ผู้เรียนจะได้นำความรู้ที่ได้ศึกษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและต่อสังคมในวันข้างหน้าได้ซึ่งในการกระทำครั้งนี้ผู้วิจัยได้คำนึงถึงความเหมาะสมของเนื้อหาและวัยของผู้เรียนอีกด้วยเช่นกัน

พัฒนาการของบทเรียนสำเร็จรูป

จุดเริ่มต้นของการสร้างบทเรียนรูปได้เริ่มต้นเกิดขึ้นจากความพยายามของมนุษย์ในการที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยตนเองตามแนวคิดที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณยุคที่ประเทศกรีซเจริญรุ่งเรืองเพราะมีนักปราชญ์ชาวกรีกนามว่าโสเครติส (Socratis, อ้างถึงในอำภาพันธุ์ธานินทร์ธราธาร 2542: 29) โสเครติสได้อบรมสั่งสอนพวกลูกทาสให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาของทฤษฎี

เรขาคณิตด้วยการใช้ไดอะแกรมแบบง่ายๆซึ่งเป็นการสอนไปทีละขั้นจากง่ายไปสู่หลักการใหญ่นับตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้บทเรียนสำเร็จรูปก็ได้มีการพัฒนาจนกลายเป็นประเภทหนึ่งของนวัตกรรมทางการศึกษาที่ครูผู้สอนได้นำเอามาใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของตนตามสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วประเทศไทยของเรานี้

ความหมายของบทเรียนสำเร็จรูป

นักการศึกษาจากต่างประเทศและนักการศึกษาไทยได้พยายามที่จะแสวงหาวิธีการปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพด้วยการคิดค้นหาวิธีสอนเพื่อเปลี่ยนบทบาทของครูและผู้เรียนรวมทั้งพยายามเสาะแสวงหาสื่อการสอนมาช่วยในการเปลี่ยนพฤติกรรมของครูและผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดหมายปลายทางสำหรับความหมายของบทเรียนสำเร็จรูปนั้น

ดิกคินสัน (Dickinson 1987: 5-6, อ้างถึงในอัจฉราศิริอาชารุ่งโรจน์ 2542 : 35 ; กมลาสุริยพงศ์ประไพ 2546 : 19) กล่าวว่าบทเรียนสำเร็จรูปคือการเรียนรู้ด้วยตนเองในสถานการณ์ที่ผู้เรียนเรียนเป็นกลุ่มหรือเรียนเดี่ยวโดยปราศจากผู้สอนอาจจะเป็นการเรียนในช่วงเวลาสั้นๆเพียงบทเดียวหรืออาจจะเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดทุกบทเรียนผู้เรียนเรียนโดยอิสระและการเรียนด้วยตนเองนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความรับผิดชอบต่อการเรียนผู้เรียนที่เรียนจากบทเรียนสำเร็จรูปต้องมีความรับผิดชอบสูงในการเรียนรู้จากสื่อกิจกรรมหรือสถานการณ์ต่างๆที่ผู้สอนจัดให้

ณฐพรบัวผัน (2545 : 9) ได้กล่าวสรุปถึงบทเรียนสำเร็จรูปไว้ว่าหมายถึงสื่อการสอนที่ได้เตรียมการสอนไว้โดยจัดในรูปของบทเรียนที่แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆให้ผู้เรียนได้เรียนทีละส่วนจากง่ายไปหายากตามลำดับมีคำถามที่ผู้เรียนได้คิดและคำตอบที่ผู้เรียนได้ทราบผลในทันทีเป็นการเสริมแรงในการเรียนผู้เรียนจะเรียนได้เร็วหรือช้าตามความสามารถของตัวเอง

ไพจิตรทองพันธ์ (2545 : 5) กล่าวว่าบทเรียนโปรมแกรมหมายถึงบทเรียนที่มีการเตรียมบทเรียนไว้ล่วงหน้าและจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นขั้นตอนให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาทีละน้อยตามความสามารถโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและผู้เรียนสามารถเห็นความก้าวหน้าตลอดเวลามีการตอบสนองระหว่างผู้เรียนและบทเรียนอย่างสม่ำเสมอถ้าหากผลการเรียน

ไม่ผ่านก็ต้องกลับมาเรียนในเนื้อหาเดิมก่อนก่อนที่จะเรียนในเนื้อหาใหม่ได้ไปเป็นขั้นๆ

เอื้องฟ้ายืนยั่ง (2545 : 4) ได้ให้ความหมายของบทเรียนสำเร็จรูปว่าบทเรียนโปรแกรมหมายถึงลำดับประสบการณ์ที่จัดวางไว้สำหรับนำผู้เรียนไปสู่ความสามารถโดยอาศัยหลักความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับการสนองตอบซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ

กมลาสุริยพงศ์ประไพ (2546 : 20) ได้กล่าวสรุปถึงบทเรียนสำเร็จรูปว่าหมายถึงสื่อการสอนที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยเรียงลำดับเนื้อหาแต่ละกรอบจากง่ายไปหายากแต่ละกรอบจะมีการเสนอเนื้อหาคำถามต่อเนื่องกันไปเมื่อผู้เรียนทำแต่ละกรอบเสร็จแล้วก็สามารถตรวจคำตอบได้ทันทีผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความสามารถ

ของแต่ละบุคคลจากความหมายที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่าบทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนแบบโปรแกรมเป็นเครื่องมือการศึกษาอย่างหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีทางการศึกษาสมัยใหม่ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการคิดแก้ปัญหาตลอดจนคิดสร้างสรรค์ได้อย่างมีเหตุผลรวมทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนหาความ

รู้ได้ตามกำลังความสามารถและความสนใจของแต่ละบุคคลอีกด้วย

ลักษณะสำคัญของบทเรียนสำเร็จรูป

ได้มีผู้กล่าวถึงลักษณะของบทเรียนสำเร็จรูปไว้หลายท่านด้วยกันเช่น

กุศยาแสงเดช

(2545 : 9) ราตรีหาญอาษา (2545 : 15) เอื้องฟ้ายืนยั่ง (2545 : 15) และกมลาสุริยพงศ์ประไพ (2546: 20-21) เป็นต้นซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับสาระของบทเรียนสำเร็จรูปต่างๆดังกล่าวสามารถสรุปลักษณะที่สำคัญของบทเรียนสำเร็จรูปได้ดังนี้

1. เนื้อหาวิชาถูกแบ่งเป็นขั้นย่อยๆซึ่งเรียกว่า “กรอบ” (Frame) และกรอบเหล่านี้จะเรียงลำดับจากง่ายไปหายากโดยมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ประโยคหนึ่งจนถึงข้อความเป็นตอนๆเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนไปทีละน้อยๆจากสิ่งที่รู้แล้วไปสู่ความรู้ใหม่เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียนไปในตัว

2. ภายในแต่ละกรอบจะต้องให้นักเรียนมีการตอบสนอง (Response) เช่นตอบคำถามหรือเติมข้อความลงในช่องว่างทำให้นักเรียนแต่ละคนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้จากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของบทเรียน

3. นักเรียนได้รับเสริมแรงย้อนกลับทันทีซึ่งทำให้นักเรียนทราบว่าคำตอบของตนถูกหรือผิดและสามารถแก้ไขความเข้าใจผิดของตนได้ทันที

4. การจัดเรียงลำดับหน่วยย่อยๆของบทเรียนต้องต่อเนื่องกันไปตามลำดับจากง่ายไปหายากการนำเสนอเนื้อหาแต่ละกรอบควรลำดับขั้นของเรื่องให้ชัดเจนเพื่อง่ายต่อการเข้าใจและทำให้ผู้เรียนตอบสนองเรื่องนั้นได้โดยตรง

5. ผู้เรียนต้องปฏิบัติหรือตอบคำถามแต่ละกรอบไปตามวิธีการที่กำหนดให้

6. ผู้เรียนค่อยๆเรียนเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆทีละขั้น

7. ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนด้วยตนเองโดยไม่จำกัดเวลาการใช้เวลาในการศึกษา

บทเรียนนั้นขึ้นอยู่กับสติปัญญาและความสามารถของนักเรียนแต่ละคน

8. บทเรียนสำเร็จรูปได้ตั้งจุดมุ่งหมายเฉพาะเอาไว้แล้วมีผลทำให้สามารถวัดได้ว่าบทเรียนนั้นๆได้บรรลุเป้าหมายหรือไม่

9. บทเรียนสำเร็จรูปยึดนักเรียนเป็นสำคัญกล่าวคือการคำนึงถึงผู้เรียนเป็นเกณฑ์นั้นคือต้องนำเอาบทเรียนที่เขียนขึ้นไปทดลองใช้กับผู้ที่สามารถใช้บทเรียนนั้นได้เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องและปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้นก่อนที่จะนำไปใช้จริงจากลักษณะและแนวคิดหลายทัศนะที่กล่าวมาแล้วสามารถกล่าวได้ว่าบทเรียนสำเร็จรูปมีลักษณะที่สำคัญ 3 อย่าง (พระสมชายคำอินทร์ 2543 : 26-27) คือวิธีจัดลำดับเนื้อหาวิธีการใช้และประโยชน์ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. วิธีจัดลำดับเนื้อหามีวิธีการจัดคือ

1.1 เนื้อหาแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ

1.2 จัดลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก

1.3 เนื้อหาและคำอธิบายดึงดูดความสนใจของผู้เรียนเนื้อหานั้นจะต้องประกอบไปด้วยลำดับขั้นของหน่วยการสอนที่มีความหมายเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเฉพาะกรอบต่างๆจะต้องเรียงลำดับจากขั้นหนึ่งไปยังอีกขั้นหนึ่งจนถึงจุดมุ่งหมายที่ต้องการและมีลักษณะต่อเนื่องกัน

2. วิธีการใช้มีลักษณะดังนี้คือ

2.1 ผู้เรียนมีโอกาสกระทำขณะที่เรียน

2.2 การเรียนเป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องกัน

2.3 ผู้เรียนสนองตอบสิ่งที่เรียนโดยการเติมคำลงในช่องว่างหรือเลือกคำตอบที่

ถูกต้องผู้เรียนจะก้าวจากสิ่งที่รู้แล้วไปสู่ความรู้ใหม่ที่บทเรียนเตรียมไว้ให้ผู้เรียนจะทราบทันทีว่าผลการตอบสนองของตนนั้นถูกหรือผิด

3. ประโยชน์บทเรียนสำเร็จรูปมีประโยชน์ดังนี้

3.1 ผู้เรียนได้ทราบผลการเรียนได้ด้วยตนเองทันที

3.2 ผู้เรียนได้รับความพอใจในความสำเร็จจากการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป

3.3 บทเรียนสำเร็จรูปเป็นบทเรียนที่ใช้ส่งเสริมหรือสนับสนุนให้นักเรียนใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง

3.4 บทเรียนสำเร็จรูปให้โอกาสนักเรียนเรียนไปอย่างรวดเร็วหรือช้าตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนกล่าวสรุปได้ว่าลักษณะที่สำคัญของบทเรียนสำเร็จรูปก็คือลักษณะที่เป็นข้อความรู้ที่

แบ่งออกเป็นขั้นตอนย่อยๆเรียงลำดับต่อเนื่องกันไปโดยเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปยังสิ่งที่ยากขึ้นผู้เรียน

จะต้องศึกษาไปตามขั้นตอนในแต่ละขั้นซึ่งมีคำถามคำตอบไว้เพื่อให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้

ความเข้าใจมีการเสริมแรงเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มากยิ่งขึ้นในขั้นต่อไปเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ขึ้น

อยู่กับความสามารถทางสมองของผู้เรียนแต่ละคน

คุณค่าของบทเรียนสำเร็จรูป

บทเรียนสำเร็จรูปที่ดีนั้นย่อมเป็นที่ยอมรับจากนักการศึกษาว่ามีคุณค่าต่อการเรียนการสอนยิ่งนักสมควรที่จะได้รับการสนับสนุนให้มีการนำมาใช้ในวงการศึกษากันอย่างกว้างขวางแต่อย่างไรก็ตามก็อาจจะมีข้อจำกัดบ้างในบางเรื่องหรือบางสถานการณ์ซึ่งถ้าเราศึกษากันอย่างจริงจังแล้วก็จะพบว่าบทเรียนสำเร็จรูปทุกแบบมีคุณค่าทางการศึกษามากมายนอกจากนี้ยังสามารถช่วย

แก้ปัญหาทางการศึกษาในด้านต่างๆได้อีกด้วยซึ่ง

เพ็ญศรีสร้อยเพชร (2542 : 78-79) ได้กล่าวถึงคุณค่าของบทเรียนสำเร็จรูปไว้ดังนี้คือ

1. ส่งเสริมให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะบทเรียนสำเร็จรูปที่นำมาใช้จะต้องผ่านกระบวนการทดสอบประสิทธิภาพมากมายหลายขั้นตอน

2. นักเรียนมีโอกาสศึกษาด้วยตนเองและดำเนินการเรียนไปตามความสามารถของตนคล้ายกับได้มีโอกาสเรียนกับครูแบบตัวต่อตัว

3. ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาได้ใช้ศึกษาด้วยตนเองไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด

4. ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปนั้นใช้หลักจิตวิทยาเข้าช่วยทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้โดยไม่เบื่อหน่ายเพราะมีการเสริมแรงในบทเรียนอยู่ตลอดเวลา

5. ช่วยเสริมการเรียนรู้ในกรณีที่ผู้เรียนมีสติปัญญาต่ำหรือผู้ที่ขาดเรียนให้เรียนทันเพื่อนได้

6. การถ่ายทอดเนื้อหาที่เริ่มจากง่ายไปยากทำให้ผู้เรียนทุกระดับสามารถศึกษาเนื้อหาบทเรียนได้ง่ายขึ้น

7. ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนเพราะมีการเร้าให้ตอบและถึงแม้จะตอบผิดก็ไม่มีผู้ใดเยาะเย้ยและเมื่อตอบผิดแล้วสามารถแก้ไขความเข้าใจผิดได้ในทันที

8. ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูเพราะครูคนเดียวสามารถคุมนักเรียนให้เรียนบทเรียนสำเร็จรูปได้คราวละหลายสิบคน

9. สนองความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลเด็กที่เรียนช้ามีเวลาศึกษามากขึ้นและเด็กที่เรียนเร็วก็ใช้เวลาศึกษาน้อยมีโอกาสใช้เวลาที่เหลือไปทำงานอื่นโดยไม่ต้องเสียเวลารอเพื่อน

10. เป็นการทุ่มเทเวลาในการสอนบทเรียนหนึ่งๆเพราะผลจากการวิจัยหลายฉบับพบว่าบทเรียนสำเร็จรูปสามารถสอนเนื้อหาได้มากเท่ากับวิธีสอนแบบอื่นโดยใช้เวลาน้อยกว่า

11. จากการให้ผู้เรียนเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปจะทำให้ครูมีเวลาศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนได้มากและง่ายขึ้นนอกจากนี้ครูยังมีเวลาในการเตรียมบทเรียนอื่นๆที่จะใช้สอนต่อไปอีก

12. ช่วยแก้ปัญหาในด้านการลดรายจ่ายในการใช้สื่อการเรียนอื่นเพราะบทเรียนสำเร็จรูปสามารถผลิตขึ้นใช้จำนวนมากๆในต้นทุนที่ต่ำกว่า

13. เป็นการปลูกฝังความมีประชาธิปไตยแก่นักเรียนเพราะการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปผู้เรียนจะต้องมีคารวะธรรมคือไม่แอบดูคำตอบก่อนมีสามัคคีธรรมคือผู้เรียนไม่เกิดการแก่งแย่งกันทางการเรียนเพราะแต่ละคนก็จะเรียนไปตามความสามารถของตนเองและมีปัญญาธรรมเพราะเมื่อผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาจากบทเรียนสำเร็จรูปแล้วก็จะเกิดการเรียนรู้จากการตอบสนองด้วยตนเองได้จากความเห็นที่ได้กล่าวมาแล้วจึงสามารถสรุปได้ว่าบทเรียนสำเร็จรูปเป็นนวัตกรรมหรือเป็นเทคโนโลยีทางด้านการศึกษาที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการถูกนำมาใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้าหรือทดลองเพื่อหาหลักการที่ดีและเหมาะสมที่สุดต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของครูให้ได้ผลดียิ่งขึ้นและสามารถทำให้ผลการเรียนรู้ของนักเรียนสูงขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 512714เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

ข้อจำกัดของบทเรียนสำเร็จรูป

ถึงแม้ว่าบทเรียนสำเร็จรูปจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการศึกษาอย่างมากมายหลายประการก็ตามแต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับสื่อชนิดนี้ดังที่

จีรารัตน์ชิรเวทย์ (2542 : 23)ได้กล่าวถึงข้อจำกัดของบทเรียนสำเร็จรูปไว้ดังนี้

1. บทเรียนสำเร็จรูปเหมาะสำหรับเนื้อหาบางวิชาที่เป็นข้อเท็จจริงหรือความรู้พื้นฐานมากกว่าเนื้อหาวิชาที่ต้องการแสดงความคิดเห็นหรือความคิดสร้างสรรค์เช่นวิชาเรียงความ

2. บทเรียนสำเร็จรูปไม่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพราะผู้เรียนทำตามเนื้อหาที่กำหนดให้เท่านั้น

3. ผู้ที่เรียนเก่งอาจเกิดความเบื่อหน่ายเพราะไม่มีสิ่งท้าทายภายนอก

4. ผู้เรียนขาดการติดต่อซึ่งกันและกันเพราะต้องการทำงานด้วยตนเองขาดการปรึกษาและอภิปรายร่วมกัน

5. บทเรียนสำเร็จรูปไม่อาจใช้แทนครูได้อย่างสิ้นเชิงเพราะผู้เรียนยังต้องการคำชี้แจงแนะนำจากครูอยู่จึงเป็นได้เพียงผู้ช่วยครูเท่านั้น

6. ผู้เรียนขาดทักษะในการเขียนหนังสือเพราะเขียนแต่คำตอบเฉพาะบางคำเท่านั้น

7. การสร้างบทเรียนสำเร็จรูปต้องใช้ผู้ที่มีความสามารถและต้องการเวลาในการสร้างและการทดสอบภาคสนามบางแห่งอาจทำไม่ได้เพราะขาดบุคลากรและเวลาไม่อำนวยจากข้อคิดเห็นที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นแนวคิดที่น่าสนใจสำหรับผู้สอนหรือผู้ที่ต้องการจะสร้างและใช้บทเรียนสำเร็จรูปในการพัฒนาการเรียนการสอนซึ่งสิ่งทั้งหลายย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียปะปนกันสำหรับข้อเสียควรปรับปรุงแก้ไขด้วยเทคนิคการเขียนบทเรียนและกลวิธีในการเรียน (กมลาสุริยพงศ์ประไพ 2546 : 35) ข้อเสียหรือข้อจำกัดนั้นก็จะหมดไปหรือเหลือน้อยลงกล่าวโดยสรุปบทเรียนสำเร็จรูปมีคุณค่าและมีประโยชน์เพราะสามารถเป็นองค์ประกอบของกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนได้ดีช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูอีกทั้งผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองได้และช่วยแบ่งเบาภาระของครูเช่นเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนครูอาจแนะนำให้อ่านบทเรียนสำเร็จรูปที่มีอยู่เป็นการบ้านหรือนอกเวลาเรียนเพื่อทำความเข้าใจให้ทันกับเพื่อนคนอื่นในชั้นโดยครูไม่ต้องเสียเวลามาอธิบายผู้เรียนสามารถเรียนในเวลาใดที่ใดก็ได้ตามความพอใจของผู้เรียนเองซึ่งจะช่วยให้ครูทำงานน้อยลงในด้านการสอนและจะได้มีเวลาไปเตรียมบทเรียนที่ยุ่งยากลึกซึ้งกว่าอีกได้

หลักในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปไว้ 13 ขั้นตอนดังนี้

1. กำหนดกลุ่มผู้เรียนให้แน่นอนชัดเจนเพื่อที่จะได้เขียนบทเรียนสำเร็จรูปให้เหมาะสมกับวัยพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์เดิมทักษะความสามารถในการเรียนและความต้องการของผู้เรียนอย่างเด่นชัด

2. กำหนดวัตถุประสงค์ให้เด่นชัดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรโดยเขียนออกมาในรูปวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเพื่อที่จะให้ง่ายต่อการสร้างและการประเมินผลบทเรียนสำเร็จรูป

3. คำนึงถึงแบบของบทเรียนว่าควรจะเสนอในรูปแบบใดคือแบบเส้นตรงหรือแบบสาขาหรือแบบไม่แยกกรอบเพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาผู้เรียนและวัตถุประสงค์เช่นเนื้อหาประเภทความรู้ความจำหรือความคิดเห็นผู้เรียนเป็นนักเรียนเก่งหรืออ่อนเป็นต้น

4. เนื้อหาวิชาจะต้องจัดแบ่งเป็นหัวข้อเรื่องใหญ่ๆก่อนแล้วแบ่งเป็นหัวข้อย่อยๆเขียนเนื้อหาเป็นหน่วยย่อยเล็กๆแต่ละหน่วยย่อยจะต้องทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหน่วยย่อยถัดไปเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ดำเนินไปทีละน้อยๆทีละขั้นพยายามอย่าให้มีการกระโดดข้ามลำดับของเนื้อเรื่องจัดลำดับเรียงจากเนื้อหาง่ายๆไปหาเนื้อหาที่ยากขึ้นตามลำดับ

4.1 ผู้เรียนจะได้เรียนและพัฒนาขึ้นไปตามขั้นตอนอย่างมั่นคงจากสิ่งที่รู้หรือทำได้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้หรือสิ่งที่ทำไม่ได้หรือจากจุดที่ง่ายไปสู่จุดที่ยาก

4.2 ช่วยพัฒนาให้วัสดุการเรียนง่ายต่อการที่ผู้เรียนจะได้ความรู้

4.3 ลดความผิดพลาดของผู้เรียนเพราะเนื้อหาที่มีมาก่อนแต่เดิมนั้นจะช่วยเตรียมความรู้สำหรับผู้เรียนให้สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าใหม่ได้อย่างถูกต้อง

4.4 เน้นธรรมชาติของการเรียนที่เรียนเป็นลำดับขั้นจากง่ายไปหายากและจะเป็นการเชื่อมโยงจากความรู้หนึ่งไปยังความรู้ใหม่ต่อไปทำให้ข้อมูลความรู้ที่ผู้เรียนได้รับนั้นไปพัฒนาไปทางแนวลึกและกว้างอันจะส่งผลให้ได้ผลทางการศึกษาทั้งคุณภาพและปริมาณ

5. เนื้อหาแต่ละกรอบควรเขียนด้วยภาษาที่ชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษาและเหมาะสมกับเนื้อหาความรู้และอายุของผู้เรียนเนื้อเรื่องถูกต้องตามหลักวิชาการและมีความต่อเนื่องในแต่ละกรอบ

6. แต่ละกรอบจะต้องนำเสนอเนื้อหาเฉพาะเรื่องอย่างชัดเจนและมีคำถามหรือคำสั่งให้ผู้เรียนตอบสนองต่อเรื่องนั้นโดยตรงและไม่ควรมีความรู้ใหม่เกินกว่า 1 อย่าง

7. ให้มีการย้ำทบทวนและทดสอบตนเอง

8. มีการชี้แนะคู่กันไปกับการตอบสนอง

9. ลดการชี้แนะและการนำทางออกไปทีละน้อยจนกว่าจะหมดโดยสิ้นเชิงเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถตอบสนองด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องในที่สุด

10. การตอบคำถามโดยผู้เรียนจะต้องตอบคำถามในแบบที่บทเรียนสำเร็จรูปกำหนดให้ซึ่งอาจจะมีหลายแบบด้วยกันเช่นแบบเติมคำเติมตัวเลขแบบเลือกตอบเป็นต้น

11. จะต้องให้ผู้เรียนทราบคำตอบที่ทำไปได้ทันทีภายหลังจากที่ผู้เรียนตอบคำถามเสร็จแล้วถ้าผู้เรียนตอบถูกการเฉลยคำตอบดังกล่าวจะเป็นการเสริมแรงต่อไปแต่ถ้าหากตอบผิดก็จะเป็นการลดสภาวะคือผู้เรียนต้องหยุดเรียนอยู่ชั่วขณะหนึ่งเพื่อตรวจสอบในจุดที่ผิดพลาดดังกล่าวก่อนที่จะก้าวไปเรียนยังเนื้อหาย่อยต่อไปการที่ผู้เรียนได้ทราบคำตอบเช่นนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้เรียนทำผิด

12. ไม่มีการจำกัดเวลาของผู้เรียนอัตราความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันไปตามแต่ละเนื้อหาวิชาขึ้นอยู่กับว่าผู้เรียนต้องการเวลาทบทวนการศึกษาเพิ่มเติมจากวัสดุอื่นๆมากน้อยแค่ไหนทั้งนี้เพราะบทเรียนสำเร็จรูปได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคนศึกษากรอบแต่ละกรอบได้ภายในเวลาที่เขาต้องการโดยไม่คำนึงถึงการทำเสร็จก่อนเสร็จหลัง

13. การประเมินผลที่ผู้สอนควรคำนึงถึงมีอยู่ 2 ประการคือ

13.1 เกี่ยวกับบทเรียนสำเร็จรูปจากการตรวจสอบผลการตอบของผู้เรียนทำให้เราได้ทราบว่าผู้เรียนทำได้มากน้อยเพียงใดความผิดพลาดส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของบทเรียนสำเร็จรูปนั่นเองทั้งนี้อาจเป็นเพราะการจัดเนื้อหาไม่เรียงลำดับหรือใช้ภาษาไม่เหมาะสม

13.2 ความก้าวหน้าของผู้เรียนครูผู้สอนจะต้องคอยช่วยเหลือผู้เรียนเมื่อพบปัญหาต่างๆทั้งนี้เพื่อจะได้ทราบถึงข้อบกพร่องและจะได้แก้ไขบทเรียนสำเร็จรูปให้มีความสมบูรณ์

ยิ่งขึ้นสำหรับผู้เรียนคนอื่นต่อไป

เพ็ญศรีสร้อยเพ็ชร (2542 : 67) ได้เสนอขั้นตอนการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปไว้ว่าการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปนั้นเป็นสิ่งที่ต้องเสียเวลามากทั้งในการสร้างบทเรียนและการทดสอบคุณภาพดังนั้นก่อนที่จะลงมือสร้างจึงควรพิจารณาถึงความเหมาะสมในด้านต่างๆเสียก่อนเช่นเนื้อหาวิชานั้นมีความเหมาะสมที่จะทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูปหรือไม่หากเป็นวิชาที่มีเนื้อหาเปลี่ยนแปลงบ่อยก็ไม่ควรนำมาสร้างหรือวิชาที่ต้องการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ก็ควรจะหลีกเลี่ยงที่จะให้นักเรียนเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปและถ้าหากพิจารณาแล้วว่าเนื้อหานั้นเหมาะสมที่จะทำเป็น

บทเรียนสำเร็จรูปก็ควรจะคิดต่อไปอีกว่าจะสร้างบทเรียนแบบใดแบบเส้นตรงแบบแตกกิ่งหรือแบบไม่แยกกรอบหลังจากนั้นจึงลงมือสร้างบทเรียนตามขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นวางแผนทางวิชาการ (2) ขั้นดำเนินการเขียนและ (3) ขั้นการใช้ผลิตผล

1. ขั้นวางแผนทางวิชาการเป็นขั้นที่สำคัญมากผู้สร้างจะต้องพิจารณาตัดสินใจให้ดีเสียก่อนที่จะเลือกเนื้อหาวิชาใดมาสร้างเป็นบทเรียนสำเร็จรูปจึงจะเหมาะสมซึ่งสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงคือ

1. กำหนดเนื้อหาวิชาและระดับชั้นเมื่อผู้เขียนตกลงใจจะเขียนบทเรียนสำเร็จรูปแล้วก็จำเป็นจะต้องเลือกเนื้อหาวิชาที่จะเขียนเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปต่อไปและจะต้องกำหนดด้วยว่าเนื้อหานั้นเป็นวิชาอะไรใช้สอนวิชาอะไรใช้สอนในระดับไหนเพื่อจะ

ได้ดำเนินการสร้างให้เหมาะสมกับระดับผู้เรียนและตรงแนวของวิชานั้นๆ

2. ตั้งจุดมุ่งหมายเมื่อได้กำหนดเนื้อหาวิชาแล้วขั้นต่อไปที่ผู้เขียนบทเรียนจะต้องทำคือตั้งจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเขียนว่าจะเขียนไปทางไหนจึงจะบรรลุตาม

จุดมุ่งหมายที่วางไว้จุดมุ่งหมายที่นิยมใช้ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปคือจุดมุ่งหมายเชิง59

พฤติกรรมเนื่องจากจุดมุ่งหมายประเภทนี้เป็นจุดมุ่งหมายที่กระจ่างชัดที่สุดลักษณะของ

จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมมีดังนี้

2.1 เป็นการกระทำของผู้เรียน

2.2 เป็นการกระทำที่สังเกตได้

2.3 กล่าวถึงเงื่อนไขสิ่งที่กำหนดให้หรือสถานการณ์ในสภาวะที่การกระทำนั้นเกิดขึ้น

2.4 กำหนดมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ยอมรับไว้ด้วย

3. วิเคราะห์เนื้อหาเป็นการแตกเนื้อหาให้ละเอียดและเรียงลำดับจากง่ายไปสู่ยากโดยการใช้วิธีวิเคราะห์ภารกิจเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อหาที่จะเขียนนั้นกระโดดห่างกันและทำให้เนื้อหาแตกย่อยเรียงลำดับกันดี

4. สร้างแบบทดสอบในเนื้อหาที่จะเขียนเพื่อนำมาใช้ทดสอบผู้เรียนทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนแบบทดสอบนี้จะเป็นเครื่องมือที่บอกให้เราทราบว่าบทเรียนสำเร็จรูปที่เราสร้างขึ้นนั้นใช้ได้หรือไม่และแบบทดสอบนี้จะต้องวัดได้ครบตามจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้

ขั้นตอนการหาประสิทธิภาพ

การหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปโดยการนำบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างไปทดลองใช้ตามขั้นตอนดังนี้ (สุรพลโคตรนรินทร์ 2541 : 16, อ้างถึงในอนุชิตกลั่นประยูร 2545 :45)

1. แบบเดี่ยว (1 : 1) คือทดลองกับผู้เรียนเก่งปานกลางอ่อนอย่างละ 1 คนคำนวณประสิทธิภาพเสร็จแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยปกติคะแนนที่ได้จากการทดลองแบบเดี่ยวนี้จะได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์มากแต่ไม่ต้องวิตกเมื่อปรับปรุงแล้วจะสูงขึ้นก่อนนำไปทดลองแบบกลุ่มในขั้นนี้ E1/E2 ที่ได้จะมีค่าประมาณ 60/60

2. แบบกลุ่ม (1 : 10) คือทดลองกับผู้เรียน 6-10 คน (คละผู้เรียนเก่งกับอ่อน) คำนวณหาประสิทธิภาพแล้วปรับปรุงในขั้นนี้คะแนนของผู้เรียนจะเพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าเกณฑ์โดยเฉลี่ยจะห่างจากเกณฑ์ประมาณร้อยละ 10 นั่นคือ E1/E2 ที่ได้จะมีค่าประมาณ 70/70

3. แบบภาคสนาม (1 : 100) เป็นการทดลองกับผู้เรียนทั้งชั้น 40 – 100 คนทำการหาประสิทธิภาพแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขผลลัพธ์ที่ได้ควรใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้หากต่ำกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 2.5 ก็ยอมรับหากแตกต่างกันมากผู้สอนต้องกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปใหม่โดยยึดสภาพความเป็นจริงเป็นเกณฑ์เช่นเมื่อทดสอบหาประสิทธิภาพแล้วได้ 83.50/85.40 แสดงว่าบทเรียนสำเร็จรูปนั้นมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเกณฑ์ 85/85 ที่ตั้งไว้แต่ถ้าตั้ง

เกณฑ์ไว้ 75/75 เมื่อผลการทดลองเป็น 83.50/85.40 ก็อาจเลื่อนเกณฑ์ขึ้นมาเป็น 85/85 ได้ (สมนึก สุวรรณมูล 2540 : 33 –34)

สุมิตราฉันทานุรักษ์ (2543 : 62 –63, อ้างถึงในกมลาสุริยพงศ์ประไพ 2546 : 32) ได้ทำการเปรียบเทียบผลการเรียนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเรื่องพืชของนักเรียนชั้นประถม

ศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบภาพการ์ตูนและวิธีสอนตามปกติซึ่งการหา

ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปได้ดำเนินการดังนี้

1. ขั้นทดลองในรายบุคคล (Individual testing) ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนชุมชนวัดประสิทธิ์จำนวน 1 คนให้ได้รับการสอนโดยบทเรียนสำเร็จรูปประกอบภาพการ์ตูนพร้อมทั้งมีการทดลองระหว่างเรียนและทดสอบหลังปฏิบัติครบทุกกิจกรรมและหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 60/60 จากนั้นปรับปรุงแก้ไขบทเรียนให้เหมาะสมโดยการปรับความยากง่ายของภาษาและกิจกรรมที่กำหนดในแต่ละกรอบ

2. ขั้นทดลองกลุ่มเล็ก (Small group testing) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดประสิทธิ์จำนวน 10 คนประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถสูง 3 คนปานกลาง 4 คนและต่ำ 3 คนทดลองเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบภาพการ์ตูนมีการทดสอบระหว่างเรียน69

และทดสอบหลังปฏิบัติกิจกรรมครบผู้วิจัยนำคะแนนที่ได้มาคำนวณหาค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์70/70 แล้วปรับปรุงแก้ไขด้านเนื้อหาและกิจกรรมตลอดจนปรับปรุงแบบทดสอบประจำบทเรียน

แล้วจึงนำไปทดลองกลุ่มใหญ่

3. ขั้นทดลองกลุ่มใหญ่ (Big group testing) ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนวัดประสิทธิ์จำนวน 30 คนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างทดลองเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป

ประกอบภาพการ์ตูนทำการทดสอบระหว่างเรียนและทดสอบความสามารถหลังปฏิบัติจนครบกิจกรรมหลังจากนั้นผู้วิจัยนำคะแนนที่ได้มาคำนวณหาค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

สรุปขั้นตอนการหาประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพควรดำเนินการหาประสิทธิภาพ 3 ขั้นตอนคือแบบรายบุคคลแบบกลุ่มเล็กและแบบภาคสนามอนึ่งเนื่องจากผู้วิจัยได้ทำการวิจัยในวิชา 42102 สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเรื่องพระไตรปิฎกลักษณะของ

เนื้อหาวิชาจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ความรู้ความจำจึงได้กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปไว้ 80/80

หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป

หลักการและทฤษฎีที่มาจากจิตวิทยาการเรียนการสอนซึ่งนำมาสู่การผลิตบทเรียนสำเร็จรูปมีดังนี้คือ

1. ทฤษฎีของธอร์นไดค์

ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike, อ้างถึงในจีรารัตน์ชิรเวทย์ 2542 : 41-45)

นักการศึกษาและนักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งได้เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์มีชื่อว่าทฤษฎีสัมพันธ์

ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) หรือ S-R Bond Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการวางเงื่อนไขแล้วให้การเสริมแรงจากทฤษฎีนี้เขาได้เสนอกฎการเรียนรู้ที่สำคัญขึ้นมา 3 กฎซึ่งเราสามารถนำมาใช้ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปคือ

1. กฎแห่งการฝึกหัดหรือกระทำซ้ำ (The Law of Exercise or Repetition) ซึ่ง

กล่าวว่ายิ่งมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากครั้งหรือบ่อยครั้งเท่าใดการเรียนรู้นั้นก็จะอยู่ได้นานคงทนและถ้าหากว่าไม่ได้สิ่งเร้าและการสนองตอบการเรียนรู้นั้นก็จะค่อยเลือนหายไปจากกฎแห่งการฝึกหรือกระทำซ้ำผู้สร้างบทเรียนสำเร็จรูปโดยทั่วไปเชื่อว่าผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ก็โดยทำการฝึกในบทเรียนนั้นหรือทำซ้ำๆในบทเรียนนั้นเพื่อให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าวผู้สร้างบทเรียนสำเร็จรูปอาจสร้างแนวการคิดเพื่อตอบปัญหาในปัญหาเดียวกันนั้นได้หลายแนวเพื่อให้ผู้เรียนมี

แนวคิดกว้างขวางและช่วยเสริมให้เกิดการเรียนรู้ย้ำการเรียนรู้ให้เกิดความมั่นใจและแน่ใจยิ่งขึ้น70

นอกจากเป็นการย้ำความรู้ดังกล่าวแล้วกฎแห่งการฝึกหรือการกระทำซ้ำๆจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะและความชำนาญในการแก้ปัญหา

2. กฎแห่งผล (The Law of Effect) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนได้ถ้าสิ่งเร้าและการตอบสนองที่เกิดปฏิสัมพันธ์แล้วสร้างสภาพความพึงพอใจหรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือการสนองตอบจะเพิ่มแรงขับภายในถ้าหากเกิดพึงพอใจและแรงขับเพื่อการสนองตอบจะลดลงเมื่อเกิดความไม่พึงพอใจธอร์นไดค์กล่าวถึงสิ่งเร้าและการสนองตอบว่าสิ่งเร้าและการสนองตอบจะเชื่อมโยง

กันได้ถ้าสามารถสร้างสภาพน่าพึงพอใจแก่ผู้เรียนโดยที่ผู้เรียนเกิดความมั่นใจและแน่ใจว่าการสนองตอบหรือพฤติกรรมที่ตนแสดงออกนั้นถูกต้องสภาพการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นมาได้ถ้าหากมีการเสริมแรง (Reinforcement) หรือให้รางวัลในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปนั้นการเสริมแรงก็คือ

การให้ผู้เรียนได้สนองตอบต่อสิ่งเร้าหรือได้ตอบคำถามสำหรับกฎแห่งผลนี้ธอร์นไดค์ได้เน้นว่าวิธีการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดที่ให้ผู้เรียนเติมคำตอบต้องให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบถูกมากที่สุดเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพอใจที่จะเรียนและเพื่อเป็นการเพิ่มแรงขับเพื่อการตอบสนองขั้นต่อไปหรือเพื่อสร้างสถานการณ์ให้สิ่งเร้าและการสนองตอบของผู้เรียนมีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกัน

3. กฎแห่งความพร้อม (The Law of Readiness) ธอร์นไดค์กล่าวว่าในภาวะการ

จัดการเรียนการสอนนั้นถ้าสามารถจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมที่จะเรียนแล้วการจัดการเรียนการสอนนั้นก็จะบังเกิดผลดีหรือการเรียนการสอนจะบังเกิดผลดีและเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าให้ผู้เรียนสนใจที่จะเรียนหรือติดตามบทเรียนโดยตลอดในเชิงจิตวิทยาคือแรงขับที่จะเพิ่มพลังให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาเพื่อแสดงพฤติกรรมหรือเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน

ปรีชาเนาว์เย็นผล (2520 : 14, อ้างถึงในจีรารัตน์ชิรเวทย์ 2542 : 42) ได้กล่าวว่าทฤษฎีความต่อเนื่องอาศัยหลักการทางจิตวิทยาในเรื่องของพฤติกรรมธอร์นไดค์ได้นำมาใช้เป็นแนวทางสร้างบทเรียนสำเร็จรูปโดยวางหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้

1. กำหนดสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือเป็นสิ่งเร้าให้กับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนแสดงอาการตอบสนองหรือพฤติกรรมออกมา

2. ผู้เรียนจะแสดงอาการตอบสนองหลายอย่างเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

3. การตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจจะถูกตัดทิ้งการตอบสนองที่ใช้

ได้ผลดีที่สุดจะถูกเลือกไว้ใช้ในคราวต่อไป

จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้สามารถสรุปรายละเอียดของข้อมูลดังแสดงไว้ที่แผนภูมิที่ 11 ดังนี้คือ71

คำถามในแต่ละกรอบการค้นหาคำตอบคำตอบความพึงพอใจหรือ

(สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข) (พฤติกรรมโต้ตอบ (สิ่งเร้าที่เป็นรางวัล) ผิดหวังในคำตอบที่มีเงื่อนไข) (ปฏิกิริยาตอบสนอง

แบบไม่มีเงื่อนไข)

การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปทั้งการสอนใช้เครื่องสอนและใช้บทเรียนสำเร็จรูปตำราผลไม่แตกต่างกันนักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหามากพอสมควรการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีต่อเมื่อได้มีการฝึกฝนหรือการกระทำซ้ำการนำบทเรียนสำเร็จรูปมาเป็นสื่อช่วยในการเรียนการสอนสาระพระพุทธศาสนาจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและเกิดทัศนคติที่ดีต่อวิชาที่ตนเรียนได้ในที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท