มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พุทธวิธีการพ้นทุกข์


 

โครงการธรรมศึกษาวิจัย

หลักธรรมเพื่อประพฤติพรหมจรรย์

: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก

อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา

มูลนิธิเบญจนิกาย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐ พิมพ์ครั้งที่ ๑

๕๐๐ เล่ม เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ

การศึกษาพุทธวิธีการพ้นทุกข์ตามหลักฐานทางพระพุทธศาสนาช่วยให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงความจริงในหลักธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ สร้างความลึกซึ้งการจะเข้าถึงธรรมได้อย่างดี เพราะใน  มีการแสดงเปรียบเทียบความจริงกับสิ่งปรากฏให้รู้ได้  เพื่อให้การศึกษาพุทธวิธีการพ้นทุกข์ให้เข้าใจ ผู้เขียนจึงสกัดเนื้อธรรม และภาษาให้เข้าถึงธรรมได้อย่างง่ายๆและไม่เสียเนื้อความ และที่สำคัญการอุปมาที่สำคัญ อันที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์นี้ สามารถสร้างเข้าใจได้อย่างง่ายขึ้น

  หนังสือนี้เชื่อว่าจะยังคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน ด้วยผลแห่งกุศลที่ประสงค์จะดำรงพระสัทธรรมให้ดำรงคงมั่นในอยู่จิตใจชาวพุทธ สร้างเสริมปัญญาเป็นบารมี จงเป็นบุญญาบารมีให้บิดามารดาครูอาจารย์ญาติพี่น้องตลอดจนสหายธรรมทุกท่านเป็นผู้ดำรงคงมั่น ในสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และให้ศาสนาแห่งพระบรมศาสดาดำรงคงอยู่ตลอดกาลนาน เป็นแสงสว่างนำพาชีวิตของสรรพสัตว์ออกจากห้วงมหรรณพภพสงสารพ้นกองทุกข์กองโศกกองกิเลสเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ด้วยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกคนเทอญ

  ธีรเมธี

  ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

  มหาบัณฑิตพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทที่  ๑

การครองชีวิตที่ประเสริฐสุด

  การครองชีวิตที่ประเสริฐสุดและการแนะวิธีธรรมปฏิบัติ, พระผู้มีพระภาคได้แสดงกัลยาณมิตร เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ว่า

    ภิกษุทั้งหลายเมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิตฉันใด  ความมีกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ  เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรคแก่ภิกษุ  ฉันนั้นความมีกัลยาณมิตร  เท่ากับเป็นพรหมจรรย์(การครองชีวิตประเสริฐ) ทั้งหมดทีเดียวเพราะว่าผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังสิ่งนี้ได้คือ  จักเจริญจักทำให้มากซึ่งอารยอัษฎางคิกมรรคอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตรผู้มีกัลยาณมิตรย่อมกำจัดอกุศลได้และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้นความมีกัลป์ยาณมิตร

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ [1]

เมื่อมีกัลยาณมิตรแล้วสิ่งที่ดีก็จะปรากฏ ซึ่งจะมีปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ วิธีอันเป็นทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้องและเป็นต้นทางของความดีงามทั้งปวงสิ่งที่เป็นปัจจัยมี

  ๑.ปรโตโมสะ  อันได้แก่เสียงจากผู้อื่นช่วยการกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก

    ๒.โยนิโสมนสิการ  เป็นการใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจโดยแยบคายมองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้น ๆหรือปัญหานั้น ๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย“ความได้สดับแต่บุคคลอื่น๑ความทำในใจโดยแยบคาย๑เป็นปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิธรรม๒ประการนี้แลเป็นปัจจัยเมื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ”[2]

  จุดเริ่มที่เป็นบุพภาคของการศึกษาของการได้ยินได้ฟังสิ่งที่ดีที่เรียกปรโตโมสะนั้นก็คือกัลป์ยาณมิตตตาผู้มีหน้าที่การงานที่พึงกระทำสามารถ  ทำให้ประกอบกิจในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่าธุระ ซึ่งในพระพุทธศาสนามี ๒  อย่างคือ

. คันถธุระ  ธุระฝ่ายการศึกษาหรือกิจด้านการเล่าเรียน

.วิปัสสนาธุระ ธุระฝ่ายเจริญวิปัสสนาเป็นกิจด้านการบำเพ็ญภาวนาหรือเจริญกรรมฐานซึ่งรวมทั้งสมถะด้วย เรียกรวมเข้าในวิปัสสนาโดยฐานะเป็นส่วนคลุมยอดธุระ ๒ นี้[3]

โยนิโสมนสิการจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่และเป็นไปเพื่อความดำรงมั่นความไม่เสื่อมสูญและไม่อันตรธานแห่งสัทธรรมฯลฯมีธรรมที่เทียบคล้ายกับโยนิโสมนสิการนี้ ทิฏฐิสัมปทา  ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิและ อัปปมาทสัมปทาความถึงพร้อมแห่งอัปปมาทะพระพุทธองค์ทรงแสดงให้เห็นถึงการคบหามิตรที่ดีนี้เป็นสิ่งทีสร้างความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นกับบุคคลมิตรดีดังที่ทรงตรัสไว้ว่า

“ความเป็นผู้มีมิตรดีมีสหายดีมีเพื่อนดีนี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวดูกรอานนท์อันภิกษุผู้มีมิตรดีมีสหายดีมีเพื่อนดีพึงหวังข้อนี้ได้จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์๘จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์๘”[4]

  หลักธรรมเพื่อประพฤติพรหมจรรย์

การประพฤติพรหมจรรย์เพื่อยังความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นทั้งกายวาจาใจนั้นต้องอาศัยธรรมปฏิบัติที่ยังความบริสุทธิ์หรือเพื่อการประพฤติซึ่งพรหมจรรย์๑๐ ประการนี้ คือ

๑.ทาน คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการบริจาคทานเพื่อกำจัดความตระหนี่ 

๒.เวยยาวัจจะ คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการช่วยขวนขวายทำงานที่เป็นบุญ

๓.รักษาศีล คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล๑๐และศีล ๒๒๗

๔.อัปปมัญญา คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการเป็นอยู่ด้วยพรหมวิหารธรรม คือ เป็นผู้ที่มีความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาต่อคนอื่นเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

๕.เมถุนวิรัติ คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการงดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์ทุกชนิด

๖.สทารสันโดษ คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการสันโดษ ยินดีอยู่แต่ในภรรยาสามีของตัวเอง ไม่มีเพศสัมพันธ์กับภรรยาสามีของคนอื่น

  ๗.วิริยะ คือการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อเพียรพยายามละความชั่วพยายามทำ ความดี

  ๘.อุโบสถศีล คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการรักษาศีลอุโบสถ ๘ ประการ

    ๙.อริยมรรค คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการดำเนินชีวิตแบบมีอริยมรรค

  ๑๐.ศาสนา คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการประกาศศาสนา ได้แก่คำสั่งสอนดังที่แสดงไว้ใน มังคลัตถทีปนีดังนี้“พรหมจรรย์มี ๑๐ อย่าง ด้วยสามารถแห่งทาน เวยยาวัจจะ เบญจศีล อัปปมัญญา เมถุนวิรัติ สทารสันโดษ วิริยะ องค์อุโบสถ อริยมรรค และ ศาสนา”[5]

  ลำดับแห่งพรหมจรรย์  อาศัยธรรมที่เพิ่มพูนขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องศีลดังที่แสดง

ก.พรหมจรรย์เบื้องต้น ผู้ครองเรือนครองตนด้วยการรักษาศีล ๕มีความพอใจในคู่ครอง

  ข. พรหมจรรย์ขั้นกลาง ผู้ครองเรือนควรรักษาศีล ๕ เป็นประจำ และรักษาศีล ๘

ค.พรหมจรรย์ขั้นสูง สำหรับผู้ครองเรือน ถือศีล๘ ตลอดชีวิตและครองชีวิตที่ประเสริฐ

ปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด  สำหรับภิกษุก็ประพฤติสมณธรรมพรหมจรรย์ทุกขั้นจะตั้งมั่นอยู่ได้ต้องอาศัยการฝึกสมาธิเป็นหลักพื้นฐานและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นโดยการยึดหลักศีล สมาธิ ปัญญา

พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องผู้มีมิตรดี มีความเคารพ กระทำตามคำของมิตรนำพาชีวิตให้ เป็นกัลยาณมิตรและกัลยาณมิตรชื่อว่าพรหมจรรย์ดังที่ทรงตรัสไว้ว่า

    ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้นก็ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว

    ดูกรอานนท์ อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

  ภิกษุใดผู้มีมิตรดี มีความยำเกรง  มีความเคารพ กระทำตามคำของมิตรดีทั้งหลายมีสติสัมปชัญญะภิกษุนั้นพึงบรรลุธรรมอันเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงโดยลำดับฯ[6]

  จึงกล่าวได้ว่า  ”การประพฤติพรหมจรรย์ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท  เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จเขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาย่อมไม่มัวเมาไม่ถึงความประมาท...เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ[7]

  หลักธรรมไตรสิกขา

อันเป็นหลักธรรมสำคัญที่จะนำพาชีวิตให้ข้ามพ้นจากสีลัพพตปรามาสได้ ต้องเป็นผู้ได้รับศึกษาสำเหนียก อบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญาเป็นธรรมที่สร้างให้มีความสามารถข้ามพ้นสีลพัตตปรามาสเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดคือพระนิพพาน  การอบรม กาย วาจา จิตใจนี้ต้องอาศัยหลักแห่งไตรสิกขา  ความหมาย สิกขาหมายถึงการศึกษาการสำเหนียกข้อที่ต้องศึกษาข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรม ไตรแปลว่าสาม ไตรสิกขาหมายถึง สิกขา ๓เป็นข้อที่ต้องศึกษาข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษาคือฝึกหัดอบรม กาย วาจาจิตใจและปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดคือพระนิพพานประเภทสิกขา ๓ประการ คือ“๑. อธิศีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง)  ๒. อธิจิตตสิกขา(สิกขาคือจิตอันยิ่ง)  ๓. อธิปัญญาสิกขา(สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)”[8]

หลักธรรมในสติปัฏฐาน  ๔ 

หลักธรรมที่นำมาเพื่อแก้ไขให้ข้ามพ้นสีลัพพตปรามาสที่สำคัญยิ่งคือเรื่องการปฏิบัติในหนทางพ้นทุกข์หนทางนี้เป็นที่ตั้งแห่งสติชื่อว่าสติปัฏฐาน ๔  หมายเอาที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆมีความเป็นธรรมดาสติ-ปัฏฐาน ๔เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาโดยตรง  ดังนั้น  สติปัฏฐาน ๔  จึงเปรียบเป็นทางเชื่อมสำคัญ ทางเดียวที่นำไปสู่ทางเอกสุดท้าย ทางเอกนั้นคือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพราะวิปัสสนากรรมฐานมีจุดหมายปลายทางแน่นอนคือวิสุทธิเท่านั้นเมื่อถึงที่หมายคือวิสุทธิแล้วเป็นจุดสิ้นสุดการเดินทางท่องเที่ยวไปมาในวัฏฏะสงสาร กล่าวอีกนัยหนึ่ง วิปัสสนากรรมฐาน มีสติปัฏฐานเป็นเหตุ และมีวิสุทธิเป็นผล ความบริสุทธิ์มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะความเชื่อ หรือการอ้อนวอน แต่เกิดขึ้นด้วยการพิสูจน์หรือด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น วิสุทธิมรรคกล่าวถึง การตั้งอยู่ในศีล  สมาธิ  ปัญญา ภิกษุผู้ทำศีลให้บริบูรณ์ชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ในศีล เจริญอยู่ในวิปัสสนา เป็นการเจริญปัญญา และมีองค์แห่งความเพียร อาตาปี อันเป็นเหตุเผากิเลสให้เร่าร้อน การเจริญสติปัฏฐาน  ๔  นี้คือการทำงานของสติ ปัญญาและความเพียร พระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญและชี้ให้ผู้ปฏิบัติธรรมเห็นว่าหนทางนี้เป็นทางสายเอก  เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศกและปริเทวนาการ  เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส  เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานหนทางสายนี้คือสติปัฏฐาน  ๔ ประกอบด้วย

.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นเพียงกายไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา

๒.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนาให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา

    .จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิตให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงจิตมีราคะ หรือไม่มีราคะ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือ มีสติรู้ชัดจิต

    ๔.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรมให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา  คือ “มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลายได้แก่ นิวรณ์ ๕ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒  โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔  ว่าคืออะไรเป็นอย่างไรมีในตนหรือไม่เกิดขึ้นเจริญบริบูรณ์และดับไปได้อย่างไรตามที่เป็นจริงอย่างนั้นๆ[9]การเจริญธัมมานุปัสสนามีปัญญารู้เท่าทันดังที่แสดงไว้ว่า  “ธัมมานุปัสสนาใช้สติตามดูมีปัญญารู้เท่าทันเรื่องราวทั้งหลายที่รู้ที่คิดที่เกิดขึ้นในใจ”[10]การเจริญธัมมานุปัสสนามีความสำเร็จต้องอาศัยองค์แห่งปัญญาดังที่  พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า  “การพิจารณาองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โพชฌงค์๗ พิจารณาตามรู้ในขณะนั้น ๆ ว่า  โพชฌงค์  ๗ อันได้แก่  สติ  ธรรมวิจัย วิริยะ  ปีติ  ปัสสัทธิ  สมาธิ และอุเบกขา มีอยู่ในจิตใจหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเต็มบริบูรณ์ได้ โพชฌงค์๗[11]  การเจริญธัมมา-นุปัสสนาพิจารณาองค์แห่ง อริยสัจ  ๔  เห็นความเกิดดับดังที่แสดงให้เห็นว่า

“การพิจารณาองค์แห่ง อริยสัจ  ๔  คือรู้ชัดอริยสัจ  ๔  แต่ละอย่างตามความเป็นจริงว่านี้คือทุกข์  นี้เหตุให้เกิดทุกข์  นี้ความดับทุกข์  นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์[12]  พระพุทธศาสนา  ได้ให้ความสำคัญแก่สติและถือว่าสติเป็นอุปการธรรมในขั้นของศีลขั้นสมาธิ  และขั้นปัญญา การดำเนินชีวิตที่มีสติคอยกำกับนั้น  พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท หรือมีอัปปมาทธรรม  ยังประโยชน์เพื่อข้ามพ้นความเห็นผิดในทางซึ่งในปทสูตร สังยุตตนิกาย ได้แสดงความยกย่องสติและอัปปมาทธรรมอันเป็นธรรมไม่ประมาทไว้ดังนี้  “ภิกษุควรบำเพ็ญความไม่ประมาทคือการคุ้มครองรักษาใจด้วยสติด้วยตนเองในฐานะ๔  คือจิตของเราอย่าติดใจในธรรมที่ชวนให้เกิดความติดใจจิตของเราอย่างขัดเคืองในธรรมที่ชวนให้เกิดความขัดเคืองจิตของเราอย่างหลงใหลในธรรมที่ชวนให้เกิดความหลงใหล[13] ด้วยเหตุที่การกระทำใดๆของมนุษย์ทั้งดีและเลวล้วนมีที่มาจากจิตซึ่งคอยคิด ตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำ รวมทั้งจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้กระทำนั้นไว้ด้วยเป็นสำคัญ การศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับมูลเหตุและปัจจัยอันจะทำให้บุคคลสามารถดำรงชีวิตหนทางปฏิบัติในปัจจุบันและจะเป็นปัจจัยต่อไปในอนาคตกาลเป็นแนวทางให้เข้าใจความหมายของสีลพัตตปรามาสตามความเป็นจริง  และมีข้อควรปฏิบัติที่ถูก แม้การปฏิบัติจะไม่ถึงจุดประเสริฐสูงสุดทางพระพุทธศาสนา คือ มรรคผล นิพพาน แต่ฝึกพินิจพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ก็จะเห็นผลดีของข้อพึงปฏิบัติและผลเสียของข้อไม่ควรปฏิบัติ ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สุขที่แท้จริงกับชีวิตตนเองได้พระพุทธศาสนาเกิดจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบและ ผลตอบแทนที่ได้ จากการตรัสรู้เองนั้นได้ส่องประกายของความสุขแก่ มวลมนุษย์ชาติ ผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษาได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์โดยไม่จำกัดเชื้อชาติศาสนาภาษาและ  วัฒนธรรมโดยไม่เลือกชั้นวรรณะโดยให้เข้าถึงหลักธรรมอันสูงสุดและลึกซึ้งถึงคำว่านิพพานการเข้าถึงหรือ การเฉียดเข้าไปให้ใกล้พระนิพพาน มีหลากหลายวิธีตามความเชื่อของศาสนายุคโบราณแต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ได้สั่งสอนหมู่สัตว์ไปทั่วทุกแห่ง ทั้งมนุษย์ และเทวดาทั้งหลายด้วย พระพุทธองค์ทรง สามารถดึงให้คนทุกชาติ ทุกวรรณะ  ได้เข้าถึงธรรมะโดยทางเดียวกัน  นั่นคือ ความหลุดพ้น 

  หลักธรรมว่าด้วยทางสายกลาง

  พระพุทธศาสนา มีหลักธรรมต่าง ๆ  เป็นเรื่องของความเป็นจริง ตามธรรมชาติ  การเกิด  ดับ  การเปลี่ยนแปลง การพื่งพาอาศัยกัน การอยู่ร่วมกันธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและสั่งสอนสรรพสัตว์ ให้พ้นจากห้วงทุกข์ นี้เป็นสัจจธรรมที่ยิ่งใหญ่เป็นทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา)  เป็นทางอันประเสริฐ  เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ทุกกาลสมัย  เป็นหลักธรรมคำสอนอันปราศจาก ทางสุดโต่งทั้ง  ๒ ทาง  ความทุกข์  หรือความสุข และมรรคมีองค์ ๘  ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้แสดงไว้ว่า“ ภิกษุทั้งหลาย  ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจคืออริยมรรคมีองค์  ๘  คือ  สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ)  สัมมาสังกัปปะ(ความดำริชอบ)  สัมมาวาจา[14]  สัมมากัมมันตะ(การกระทำชอบ)  [15]สัมมาอาชีวะ(การเลี้ยงชีพชอบ)  [16]สัมมาวายามะ(ความพยายามชอบ)[17] สัมมาสติ(ความระลึกชอบ)สัมมาสมาธิ(ความมีจิตตั้งมั่นชอบ) “[18]



  [1] สํ.ม. ๑๙/๕-๑๒๙/๒-๓๐; องฺ.เอก. ๒๐/๗๒-๑๒๘/๑๓-๒๒; ขุ.อิติ. ๒๕/๑๙๕/๒๐๔.

[2] ม.มู. ๑๒/๔๙๗/๓๘๑; องฺ.ทุก. ๒๐/๓๗๑/๙๘.

[3] ธ.อ. ๑/๗.

[4] สํ.ม. ๑๙/๕/๒.

    [5] มหามกุฏราชวิทยาลัย, มังคลัตถทีปนีแปล, ภาค ๕,พิมพ์ครั้งที่ ๑๘, ( กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๓๗ ), หน้า ๓๗.

  [6] ขุ.อิติ. ๒๕/๑๙๕/๒๐๔.

    [7] ม.ม. ๑๒/๓๕๑/๒๖๑-๒๖๓.

[8] องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๐๕/๑๓๒.

  [9] ที.ม. ๑๐/๒๗๓-๓๐๐/๒๕๗-๒๗๗.

    [10] ที.มหา. ๑๐/๒๗๓/๒๕๗.

  [11] ที.ปา. ๑๑/๓๒๗/๒๕๓ ; อภิ.วิ. ๓๕/๕๔๒/๓๑๐.

  [12] พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม, อ้างแล้ว, หน้า ๘๑๒.

  [13]  สํ.มหา. ๑๙/๒๕๓/๖๕ ; องฺ.ทสก. ๒๔/๑๕/๒๕.

    [14]ที.ปา. ๑๑/๘๓/๙๖, ที.มหา. ๑๐/๒๙๙/๒๗๔–๒๗๖,ม.อุ. ๑๔/๗๐๔/๓๘๔–๓๘๖.

[15]ที.มหา. ๑๐/๒๙๙/๒๗๕. 

[16]องฺ.ปญจก. ๒๒/๑๗๗/๒๑๑.

[17]ที.มหา. ๑๐/๒๙๙/๒๗๕, ม.มู. ๑๒/๑๔๙/๘๖, ม.อุ. ๑๔/๗๐๔/๓๘๔.

[18] วิ.มหา. ๔/๑๓/๑๖.

หมายเลขบันทึก: 512712เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มรรคมีองค์ ๘หรืออริย-อัฏฐังคิกมรรค แปลว่า  ทางมีองค์ ๘ประการอันประเสริฐ ประกอบด้วย

  . สัมมาทิฏฐิ  เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ ๔หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือรู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท  สัมมาทิฏฐิ  คือ  ความเห็นถูกต้อง  ความรู้ถูกต้อง  ความเข้าใจถูกต้อง  หมายความว่า  การเห็นอริยสัจ  ๔  ตามความเป็นจริง  เห็นตรงตามสภาวะของธรรมชาติซึ่งเริ่มจากการรู้จักคิดใคร่ครวญและพิจารณาอันเป็นองค์ประกอบภายในตัวบุคคลเรียกว่า  โยนิโสมนสิการ  ประกอบปัจจัยภายนอกคือกัลยาณมิตร  ได้แก่สิ่งแวดล้อมที่ดีงามถูกต้อง  ช่วยชักจูงให้เกิดสัมมาทิฏฐิ การกระทำต่าง ๆ เป็นไปด้วยความถูกต้องดีงามมีพระพุทธพจน์ที่แสดงถึงความสำคัญของสัมมาทิฏฐิ  ไว้ดังนี้

    ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน  สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนคือ  แสงเงินแสงทองฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อนแห่งการตรัสรู้อริยสัจ ๔ตามความเป็นจริง  คือ  สัมมาทิฏฐิ  ฉะนั้น เหมือนกันอันภิกษุผู้มีความเห็นชอบพึงหวังข้อนี้ว่า  จักรู้ตามความเป็นจริงว่า  นี้ทุกข์นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา[1]

  สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานในมรรคมีองค์ ๘ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า

  “บรรดามรรค  ๘  นั้นสัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน  ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร  คือภิกษุรู้จักมิจฉาทิฏฐิว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ  รู้จักสัมมาทิฏฐิว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ  ความรู้ของเธอนั้นเป็น  สัมมาทิฏฐิ[2]  สัมมาทิฏฐิ  แบ่งเป็น  ๒  ระดับ  คือ  “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน เรากล่าวว่าสัมมาทิฏฐิมี ๒  อย่างคือสัมมาทิฏฐิยังมีอาสวะซึ่งจัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากขันธ์อย่างหนึ่งกับสัมมาทิฏฐิ  เป็นอริยะเป็นโลกุตตระ  และเป็นองค์มรรคอย่างหนึ่ง[3]

    .สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกียะ  คือสัมมาทิฏฐิเบื้องต้นที่เป็นฝ่ายบุญ  เช่น  ความเห็นว่า  การทำบุญมีผล  การให้ทานแล้วมีผล  กรรมที่ทำไว้ย่อมมีผล  ซึ่งความเห็นในระดับนี้สามารถกำจัดความเห็นผิดในขั้นหยาบได้  เป็นแรงชักนำให้เกิดกายกรรม  วจีกรรม  และมโนกรรมที่เป็นกุศล  สัมมาทิฏฐิขั้นนี้อาจเรียกได้ว่า  การเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม

    .  สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตระ  คือสัมมาทิฏฐิเบื้องสูงเป็นองค์มรรคเป็นตัววิชชา  ปัญญาของพระอริยเจ้า  ซึ่งความเห็นในระดับนี้สามารถกำจัดความเห็นผิดขั้นอนุสัยคืออวิชชา  เป็นต้นได้  สัมมาทิฏฐิประเภทนี้เกิดจาก  โยนิโสมนสิการ  และไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงปรโตโฆสะทีดีหรือกัลยาณมิตรด้วยการรับฟังแล้วเชื่อตามคนอื่นด้วยศรัทธา  เพราะสัมมาทิฏฐิประเภทนี้ต้องเป็นการรู้จักที่ตัวสภาวะ  ต้องเอาธรรมชาตินั่นเองมาเป็นข้อพิจารณาโดยตรง  จึงเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและชีวิตถูกต้องตามความเป็นจริง  หรือรู้เข้าใจตามสภาวะของธรรมชาตพระพุทธศาสนา  ถือว่าสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้เกิดสัมมาทิฏฐินั้น  คือความเห็นคลาดเคลื่อน  ไม่ตรงตามความเป็นจริง  เรียกว่าวิปปัลลาส  มี  ๓  อย่างคือ 

  ๑)สัญญาวิปปัลลาส  ความจำได้หมายรู้คลาดเคลื่อนจากความจริงว่าในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง  ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข  ในสิ่งที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน  ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม 

  ๒)  จิตวิปปัลลาส  ความคิดคลานเคลื่อนไปจากความจริงว่าในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข  ในสิ่งที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน  ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม

  )  ทิฏฐิวิปปัลลาส”ความเห็นคลาดเคลื่อนไปจากความจริงว่า  ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง  ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข  ในสิ่งที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน  ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม[4]

    ความรู้ธรรมชาติอันเป็นสัมมาทิฏฐิเมื่อพิจารณาตามกฏปฏิจจสมุปบาท เป็นเหตุให้การปฏิบัติเข้าถึงธรรมยังผลให้ข้ามพ้นสีลพัตตปรามาสได้ ไม่ชื่อว่าเป็น โมฆบุรุษ เหตุเพราะความเห็น ถูกต้องตามสภาวธรรมตามความเป็นจริง สัมมาทิฏฐินี้ จะเห็นได้ว่ารอบแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในปฏิจจสมุปบาทธรรมอันแสดงถึงสถานะของมนุษย์โดยไม่อิงกับ“ความเชื่อสุดโต่ง ๒ ประการคือความเชื่อในตัวตนที่ถาวรหรือสัสสตทิฐิและกับความเชื่อเรื่องการขาดสูญหรืออุจเฉททิฏฐิ”[5]แต่ได้แสดงสถานะความเป็นไปของมนุษย์ตามกระบวนแห่งปฏิจจสมุปบาทว่าเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารฯลฯกระบวนธรรมที่แสดงในท่ามกลางนี้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา

๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ได้แก่  เนกขัมมสังกัปปะ  อพยาบาทสังกัปปะ  อวิหิงสาสังกัปปะกุศลวิตก ๓

๓.สัมมาวาจา  เจรจาชอบได้แก่วจีสุจริต ๔

๔.สัมมากัมมันตะ  กระทำชอบได้แก่กายสุจริต ๓

๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบได้แก่เว้นมิจฉาชีพประกอบสัมมาชีพ 

๖. สัมมาวายามะ  ความเพียรชอบคือ มีจิตไว้มุ่งมั่นเพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันเป็น“บาปที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้นเพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดแล้วเพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นเพื่อความดำรงอยู่ไม่เลือนหายเพื่อภิญโญภาพเพื่อความ ไพบูลย์เจริญเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว[6] มีพุทธพจน์แสดงถึงความเพียรเป็นหน้าที่ไว้ว่า  “ความเพียรเป็นหน้าที่ของท่านต้องทำเองตถาคตเป็นแต่ผู้บอกทางให้”[7]  กุศลธรรมหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วในจิตใจ คอยถนอมสมาธิที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น  และกระทำในความดีให้เจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ๆ  ขึ้นไป มีพระพุทธพจน์ที่เน้นถึงความเพียรดังนี้คือภิกษุทั้งหลาย  เรารู้ชัดถึงคุณธรรม  ๒  ประการ  คือ 

  ๑)  ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย 

    ๒)  ความเป็นผู้ไม่ยอมถอยหลังให้การบำเพ็ญเพียร

    เราจักตั้งความเพียรอันไม่ถอยหลังถึงจะเหลือแต่หนัง  เอ็น  กระดูก  เนื้อ  และเลือดในสรีระจะเหือดแห้งไปก็ตามที ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุถึงด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ[8]

  องค์ประกอบของความเพียร  ที่จะกระทำให้ได้ผลดีมีดังนี้

  ๑.  คุณสมบัติของผู้ประกอบความเพียร

    ๒.  สมัยที่ควรประกอบความเพียร  และสมัยที่ไม่ควรประกอบความเพียร

  ๓.  สัปปายะคือความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ[9]

  . สัมมาสติ  ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔มีสติกำกับตน  ควบคุมจิตใจไว้และให้อยู่กับสิ่งที่กำลังกระทำหรือที่เกี่ยวข้องในเวลานั้น ๆ  ใจอยู่กับกิจ  จิตอยู่กับงาน  ระลึกได้ถึงสิ่งที่ดีงาม  เกื้อกูลเป็นประโยชน์ไม่หลงไหลเลื่อนลอย ไม่ละเลยหรือปล่อยตัวเผอเรอโดยเฉพาะ”สติที่กำกับตนให้ทันต่อพฤติกรรมของร่างกาย  ความรู้สึก  สภาพจิตใจ  และความนึกคิดของตน  ไม่ปล่อยให้อารมณ์ที่เย้ายวนหรือยุยงมาฉุดกระซากให้หลุดหลงเลื่อนลอยไปเสีย[10]

  . สัมมาสมาธิ  ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่การฝึกฝนอบรมจิตในขั้นที่ลึกซึ้ง เพื่อให้จิตมีความสงบ  ตั้งมั่นแน่วแน่ต่ออารมณ์ที่กำลังกำหนดพิจารณา  จิตที่มีสมาธิย่อมเป็นจิตที่มีคุณภาพและสมรรถภาพสูง  “ประโยชน์สูงสุดของสมาธิคือ  การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายได้แก่  การรู้เห็นตามความเป็นจริง มีอุเบกขาและสติบริสุทธิ์อยู่[11]

ข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ที่สุด ๒ ข้อปฏิบัติอันที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ต้องการนี้เรียก”ปฏิปทา มี ๓อย่างคือ

๑.อาคาฬหปฏิปทาข้อปฏิบัติอย่างหยาบช้า(กามสุขัลลิกานุโยค)

๒.นิชฌามปฏิปทาข้อปฏิบัติอย่างเหี้ยมเกรียม(อัตตกิลมถานุโยค)

๓. มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างกลาง “[12]

  มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างกลาง ในอริยมรรคนี้เป็นการดำเนินชีวิตพอดี  หรือการปฏิบัติพอดี  ในพระพุทธศาสนาเรียกว่า  หลักมัชฌิมาปฏิปทา  ซึ่งมีความหมายเป็นอันเดียวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม  กล่าวคืออริยมรรค  แปลว่า  มรรคาอันประเสริฐ  คือทางดำเนินชีวิตที่ดีงาม  ปราศจากพิษภัยไร้โทษ  นำสู่เกษมศานต์และความสุขที่สมบูรณ์พระพุทธศาสนา  แสดงให้เห็นว่า  สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะนั้นมีความสัมพันธ์กันในเชิงปฏิบัติ  กล่าวคือ  มนุษย์เมื่อจะคิดอย่างไร มักจะเป็นไปตามความเห็น หรือความรู้ของตนคือทิฏฐิ และ จะพูด จะทำอย่างไรต่อไปก็ต่อเนื่องมาจากความคิดดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าทิฏฐิหรือความเห็นเป็นรากฐานที่สำคัญของสังกัปปะหรือความคิด  อริยมรรคมีองค์ ๘ และ แนวทางการปฏิบัติเพื่อความพ้นจากทุกข์เหมือนกัน  และมีจุดหมายร่วมกันดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เจริญอริยมรรคมีใจจะโน้มไปสู่นิพพานและกล่าวถึงศีล  และ  ปัญญาว่าเป็นยอดในโลกเหมือนบุคคลล้างมือด้วยมือหรือล้างเท้าด้วยเท้าพระพุทธองค์ตรัสถึงบุรพกิจก่อนที่จะเจริญวิปัสสนาว่าศีลกับทิฏฐิต้องดีและตรงทรงแสดงว่า

  ภิกษุ ! ก่อนอื่นเธอจงทำเหตุเบื้องต้น แห่งกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อนเหตุเบื้องต้น

  ของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรงเมื่อใด ศีลของเธอบริสุทธิ์ดีแล้วและความเห็นของเธอก็ตรงดีแล้ว เมื่อนั้นเธออาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้วพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔มีกาย เวทนา จิต และธรรมต่อไป

    ภิกษุ! เมื่อใดเธออาศัยศีล และตั้งอยู่ในศีลแล้วจะเจริญสติปัฎฐาน ๔ เหล่านี้โดยส่วน ๓ อย่างนี้เมื่อนั้นเธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียวตลอดคืน หรือวันอันจะมาถึงไม่มีความเสื่อมเลย

  ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วจึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘อย่างนี้แล ฯ[13]

มัชฌิมาปฏิปทา เป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสองคือ กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค[14]

ในพระสุตตันตปิฎก  เทวทหสูตร  ได้กล่าวถึงลักษณะการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องไว้  ๓  ประการดังนี้

    ๑)  ไม่เอาทุกข์มาทับถมตน 

    ๒)  ไม่ละทิ้งความสุขที่ชอบธรรม 

    ๓)  ไม่หมกมุ่นสยบติดอยู่กับความสุขนั้น[15] 

  การถือศีลวัตรปฏิบัติของบรรพชิตพระพุทธองค์ได้ทรงวางแนวทางให้ไว้ดังนี้

  ชีวิตบรรพชิตซึ่งต้องอาศัยปัจจัยที่ชาวบ้านบริจาคให้ในการดำเนินชีวิต  การกระทำตนต้องเป็นคนมักน้อยสันโดษ  เป็นคนเลี้ยงง่าย  ยินดีในปัจจัยตามมีตามได้ไม่ว่าจะเศร้าหมองหรือปราณีต  จึงเป็นการเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง[16]

    ทรงชี้ทางการปฏิบัติในศีลวัตรโดยนัยแห่งอริยมรรคมีองค์แปดที่เป็นทางสายกลางว่าทางประเสริฐควรดำเนินดังที่แสดงใน มรรควรรค  ธรรมบท ไว้ว่า

    ทางมีองค์แปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะทางอื่นไม่มีเพราะเหตุนั้น  ท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แหละเพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลงด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้  เราทราบชัดธรรมเป็นที่สลัดกิเลสเพียงดังลูกศรออกบอกทางแก่ท่านทั้งหลายแล้วท่านทั้งหลายพึงทำความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อนพระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกชนทั้งหลาย ดำเนินไปแล้วผู้เพ่งพินิจ จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารได้ เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงเมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์นี้เป็นทางแห่งความหมดจด เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์     เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์นี้เป็นทางแห่งความหมดจด  เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมปวงเป็นอนัตตาเมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด พึงยินดีมรรคที่ฤาษีประกาศแล้ว ปัญญาเพียงดังแผ่นดินย่อมเกิดเพราะความ ประกอบโดยแท้ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพียงดังแผ่นดินเพราะความไม่ประกอบบัณฑิตรู้ทางสองแพร่งแห่งความเจริญและความเสื่อมนี้แล้วพึงตั้งตนไว้โดยอาการที่ปัญญาเพียงดังแผ่นดินจะเจริญขึ้นได้ ท่านทั้งหลายจงตัดป่าอย่าตัดต้นไม้  ภัยย่อมเกิดแต่ป่าผู้รู้เห็นประโยชน์แล้วพึงเป็นผู้สำรวมด้วยศีลพึงรีบชำระทางเป็นที่ไปสู่นิพพานพลันทีเดียวฯ [17]

มัชฌิมาปฏิปทาจึงเป็นแนวทางเพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์อย่างชัดเจนซึ่งผู้ที่เพ่งในปัญญาย่อมได้ปัญญา  ถ้าทำความเข้าใจให้ถึงหลักคำสอนแล้ว ได้มีหลักธรรมประการหนึ่งที่จะทำให้รู้ว่าแนวทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์ภายใต้ความมี มโนธรรม  คุณธรรม  และความมีจริยธรรมซึ่งจะนำมาสู่การประพฤติปฏิบัติตามครรลองคลองธรรมที่ถูกต้องเหมาะสมพระพุทธองค์จึงได้ตรัสไว้ในสติปัฏฐานว่า  “เอกายโน อยํ  ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยาภิกษุทั้งหลายหนทางสายนี้เป็นทางสายเอกเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลายดังนี้ “[18]

หลักธรรมที่ก่อให้เกิดญาณปัญญา

  หลักธรรมที่นำมาเพื่อแก้ไขหรือหาทางกำจัดเสียซึ่งทิฏฐิแห่งสีลัพพตปรามาสการจะกำจัดเสียซึ่งสีลัพพตปรามาสให้เด็ดขาดต้องปฏิบัติหนทางสติปัฏฐาน ๔เจริญวิปัสสนาผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงความเข้าใจในการประพฤติปฏิบัติและก่อให้เกิดญาณปัญญาอันเป็นความรู้ตามสภาวธรรมตามความเป็นจริงจะเป็นการบรรลุผลธรรมตามลำดับ  ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้แสดงถึงวิธีการทำพระนิพพานให้แจ้งด้วยการปฏิบัติตามแนวแห่ง”วิปัสสนาญาณ ๙ ประการ”[19]คือวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นญาณในวิปัสสนาญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้งเข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงปฏิบัติหนทางถูกตามมรรคมีองค์ ๘ นี้ผลย่อมเกิดญาณเข้าไปรู้ธรรมชาติตามความจริงที่ว่า“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา”[20]

  สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัดเพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว  รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ[21]

หลักธรรมมุ่งสู่ทางแห่งวิสุทธิ

ผลของการปฏิบัติเพื่อหนทางสู่ความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ข้ามพ้นสีลัพพตปรา-มาสนั้นคือความบริสุทธิ์ที่เรียกว่า วิสุทธิ คำว่า วิสุทธิเป็นธรรมอันปราศจากมลทินทั้งปวง และมีความบริสุทธิ์แท้จริง วิสุทธิมรรคจึงหมายถึงทางสู่ความบริสุทธิ์หรืออุบายที่เป็นเครื่องบรรลุนิพพานเมื่อสมบูรณ์ด้วยศีล มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีปัญญาย่อมถึงวิสุทธิดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

“ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีล มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีปัญญา มีความเพียรอันปรารภแล้ว มีตนอันส่งไปแล้วในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะอันยากที่จะข้ามได้”[22]  และทรงแสดงธรรมที่จะบริสุทธิ์ได้เนื่องเพราะฌานและปัญญา เช่น“ฌานย่อมไม่มีแต่ผู้หาปัญญามิได้ ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน  ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลอยู่ใกล้พระนิพพาน[23]  ปัญญาว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทางบริสุทธิ์ทรงตรัสไว้ว่า“เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นเขาย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นคือ ทางแห่งวิสุทธิ”[24]  ในรถวินีตสูตร มัชฌิมปัณณาสก์  แสดงวิสุทธิ ๗ ว่าส่งต่อกันโดยลำดับจนถึงอนุปาทาปรินิพพาน เหมือนการเดินทางกว่าจะถึงที่สุด ด้วยรถ ๗  ผลัดในวิสุทธิ  ๗ นี้ วิสุทธิ ๒  เบื้องปลาย จัดเป็นโลกุตรด้วยภาวะเป็นอริยมรรคอริยาผล  ท่วงทีเดียวกับวิมุตติในทางบริสุทธิ์แห่งทัสสนะเป็นวิสุทธิเป็นกิจแห่งปัญญาในบาลีว่าปญฺายปริสุชฺฌติย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา ดังที่อุปมาไว้ว่า ผ้าฟอกแล้วย่อมหมดมลทิน  ย่อมขาวผ่อง  ฉันใดจิตสำรอกจากกิเลสกามหรือจากอาสวะแล้วย่อมหลุดพ้นจากความเศร้าหมอง  ย่อมผ่องแผ้วฉันนั้นเหตุนั้นสำหรับผู้ปฏิบัติ  การหัดจิตไปตามทางแห่งวิสุทธิ สร้างความหมดจดแห่งความรู้ยิ่งแห่งญาณทัสสนะอันจะรู้ได้ว่านี้เป็นทางหรือมิใช่ทางด้วยญาณเป็นการข้ามพ้นการปฏิบัติที่ผิดทางซึ่งพื้นความเห็นผิดแห่งสีลัพพตปรามาส ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า 

“ในกาลนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นเพราะมารู้ธรรมเป็นไปกับเหตุ...และเพราะมารู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.”[25]และทรงให้พิจารณาแลเห็นสังขารด้วยอาการอย่างนั้น โดยใช้โยนิโสมนสิการเป็นเครื่องกำกับ  ให้รู้จักว่าน้อมจิตอย่างไรถูกทาง อย่างไรผิดทาง ดังกล่าวแล้วในอนัตตลักขณะ จัดเป็นมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ  หมดจดแห่งญาณทัสสนะว่าทางหรือมิใช่ทาง  อันอุปกิเลสแห่งวิปัสสนา มิใช่ทาง  พิจารณาแลเห็นสำเร็จเป็นอริยมรรค  จัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ  หมดจดแห่งญาณทัสสนะเป็นทาง  เมื่อพิจารณาแลเห็นเป็นอริยผล  จัดเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ  หมดจดแห่งญาณทัสสนะ ดังที่กล่าวในบาลีว่า

    “เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโ ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา

  ทางนั้นแล  ไม่มีทางอื่น  เพื่อหมดจดแห่งทัสสนะ[26]

  ในความหลุดพ้นจากกองกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวงจะพ้นและขจัดความเห็นอันผิดทางได้นั้นจะต้องอาศัยช่องทางออกได้แยกประเภทของความหลุดพ้นไว้  โดยจัดตามลักษณะการเห็น

ไตรลักษณ์  ที่ชื่อว่าวิโมกข์ มี ๓และในการปฏิบัติหนทางที่ถูกทางนี้ยังความหลุดพ้น รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองแล้ว  ยังสามารถเข้าถึงเป็นพระอริยบุคคล ข้ามพ้นและขจัดสิ้นซึ่งสีลัพพตปรามาสตามหลักในสติปัฏฐานการละทิฏฐิที่ผิดนั้นเป็นกิจสำคัญแห่งโสดาปัตติมรรคแม้สังโยชน์ที่โสดาบันละได้ก็ขึ้นต้นด้วยสักกายทิฏฐิ ตรงกันข้าม  การประกอบด้วยทิฏฐิชอบที่ลงร่องกระแสแห่งนิพพานเป็นเหตุให้ได้นามว่าโสดาบัน ก็เป็นคุณสำคัญในความเป็นอริยบุคคลชั้นต้น  จึงมีพระบาลีเรียกพระโสดาบันว่า  ”ทิฏฺิสมฺปนฺโน  ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ”.[27]สัมมาทิฏฐิความเห็นอันประเสริฐนั้นเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้เป็นญาณความรู้ยิ่ง แต่ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย  ญาณนี้จะทำให้เป็นพระโสดาบัตติผล ลักษณะที่จะยังความรู้มุ่งสู่ญาณแห่งพระอริยทั้งหลายเพื่อถอนสีลัพพตปรามาสการถือปฏิบัติเป็นธรรมดาของพระอริยสาวกที่มีผลแห่งความสำเร็จขจัดเสียซึ่งสีลัพพตปรามาส



[1] สํ.มหา. ๑๙/๑๗๒๐/๔๓๗.

  [2] ม.อุ. ๑๔/๒๕๔/๑๕๘. 

    [3] ม.อุ. ๑๔/๒๕๘/๑๕๙.

  [4] มหาวงศ์  ชาญบาลี, พระวิสุทธิมรรค, เล่มเดียวจบ, ( กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลียงเชียง, ๒๔๗๘) หน้า ๘๑๘.

  [5] พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต ), พุทธธรรม, อ้างแล้ว, หน้า ๑๓๑.

  [6]ที.มหา. ๑๐/๒๙๙/๒๗๕, ม.อุ. ๑๔/๗๐๔/๓๘๔.

  [7]ขุ.ธ. ๒๕/๓๐/๔๓–๔๔.

  [8]องฺ. ทุก.๒๐/๒๕๑/๕๘. 

  [9]องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕๓/๖๕, ที.ปา.๑๑/๔๑๑/๒๙๕, องฺ.ทสก.๒๔/๑๑/๑๗. 

  [10]ที.มหา. ๑๐/๒๘๘/๒๖๓. 

  [11]ที.มหา. ๑๐/๒๙๙/๒๗๔; ม.อุปริ.๑๔/๗๐๔/๓๘๔;อภิ.วิ. ๓๕/๑๗๐/๑๒๓,อภิ.วิ. ๓๕/๕๗๗/๓๒๖.

  [12] องฺ.ทุก. ๒๐/๕๙๖/๒๘๗-๒๘๘.

  [13] สํ. ม. ๑๙/๒๖๔/๗๖.

  [14] ที.ม. ๑๐/๒๙๙/๒๖๕.

  [15] ม.อุ. ๑๔/๑๒/๑๒.

[16] องฺ.จตุก. ๒๑/๒๘/๓๑–๓๓ ; ที.ปา. ๑๑/๒๓๗/๒๐๙–๒๑๐ ; ขุ.จู. ๓๐/๖๙๑/๒๗๑.

  [17] ขุ.ธ. ๒๕/๓๐/๔๓.

[18] ที.ม. ๑๐/๒๗๓/๓๒๕ ; ม.มู. ๑๒/๓๘/๑๑๙.

  [19] ขุ.ปฏิ. ๓๑/๑/๑.

  [20] ขุ.ธ. ๒๕/๓๐/๔๓.

  [21] สํ.สฬ. ๑๘/๑/๑.

  [22] สํ.ส. ๑๕/๗๔/๒๑.

    [23] ขุ.ธ. ๒๕/๖๕/๑๙.

    [24] ขุ.ธ. ๒๕/๕๑/๑๔.

[25] ขุ.อ. ๒๕/๓๙/๖๓.

[26] ขุ.ขุ. ๒๕/๓๐/๔๓.

[27] มหามกุฏราชวิทยาลัย, วิสุทธิมรรคแปล, ภาค ๑ ตอน ๑, อ้างแล้ว, หน้าที่ ๑๐๓.

 

 

บทที่ 

  หลักธรรมมุ่งสู่นิพพาน

  สีลัพพตปรามาสนั้นเป็นเพราะความเห็นหรือความเข้าใจผิดในการปฏิบัติที่ผิดทางไม่สามารถเป้าหมายที่สำคัญยิ่งคือ  การไม่เข้าใจเป้าหมายของการปฏิบัติ  หรือ  ธรรมอันเป็นที่สุดของจุดหมายหรือเป้าหมายอันจุดหมายของการได้ข้ามพ้นสีลัพพตปรามาสนั้นก็คือ  ถึงซึ่งพระ-นิพพานถ้าไม่เข้าใจความหมายพระนิพพานว่า คืออะไร? หรือมีเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาวธรรมตามความเป็นจริงแล้วอาจจะทำให้ความเห็นผิดทำให้เกิด การปฏิบัติตนเพื่อถึงพระนิพพานผิดไปด้วยธรรมดาความเห็นผิดในหนทางการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงมรรคผลนั้นที่เรียกว่าสีลัพพตปรามาสมีอยู่กับปุถุชนผู้แน่นหนาด้วยกิเลส สิ่งสำคัญจึงต้องศึกษาและทำเข้าใจความหมายของพระนิพพานให้ดี คำถามที่ว่าพระนิพพานคืออะไร ถ้าไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ตรงสภาวธรรมตามความเป็นจริงและเข้าใจถึงความเป็นไปของพระนิพพานแล้ว การปฏิบัติก็จะทำให้เกิดมีส่วนเบี่ยงเบนออกไปหรือถึงกับขั้น ขวางกั้นหนทางเดินที่ถูกต้องเลยที่เดียว ความเห็นผิดหรือความเชื่อว่าตายแล้วสูญ โลกนี้เที่ยง สิ้นชีวิตแล้วจะไปอยู่กับพระเจ้า แม้กระทั่งเห็นว่านิพพานเป็นพุทธเกษตรเป็นที่อยู่ภายหลังความตายของผู้ที่บูชานับถืออ้อนวอนและร้องขอฉะนั้นเพื่อให้ถึงเป้าหมายแห่งการปฏิบัติจึงจำต้องมีความเข้าใจนิพพานให้ถูกต้องเสียก่อน เรื่องพระนิพพานคนส่วนมากมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลที่เบื่อโลกเท่านั้นส่วนคนที่ยังต้องการสนุกสนานอยู่ในโลกเรื่องนิพพานไม่จำเป็น  ในมติแห่งลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนาเถรวาทได้แสดงถึงมติแห่งศาสนาพราหมณ์มีต้นเดิมเรียกว่า "ปรมาตฺมนฺ"  นิพพานอันเป็นที่สุดแห่งทุกข์ เรื่องของการวนเวียนแห่งชีวิตอันมีคติของสัตว์ผู้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏของหลักศาสนา และ ลัทธิต่างๆในโลกนั้นมีความต่างกันเป็นเหตุให้ความเข้าใจเรื่องความสิ้นสุดของการวนเวียนแห่งชีวิตจึงมีความต่างกันในเรื่องการวนเวียนแห่งชีวิตนั้นเป็นไปเพื่อหาหนทางพ้นธรรมดาพื้นแห่งจิตใจของสัตว์ทั้งหลายประกอบด้วยความเห็นผิดอันมีสีลัพพตปรามาส ทำให้ยากที่พ้นจากกองกิเลสและกองทุกข์หยุดการเวียนว่ายตายเกิดได้ โดยเฉพาะความเห็นผิดในการมีชีวิต และ  วงรอบแห่งการเวียนของชีวิตก็มีความเข้าใจต่างกัน อันกล่าวในอรรถกถาแห่งชาดก  ในเมตตสูตร กล่าวถึงแผ่เมตตาแก่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด  เรียกสัมภเวสี  คู่กับสัตว์ผู้เกิดแล้วเรียกภูตะ  สัตว์ชนิดนั้นเทียบได้กับ  อาตฺมนฺ  กำลังร่อนหาร่าง เพื่อเข้าสิง  อาตฺมนฺ  นั้นท่องเที่ยวไปในที่สุด  ย่อมถึงความบริสุทธิ์  จากบาปด้วยประการทั้งปวง  ได้ชื่อว่า  "มหาตฺมนฺ"  เทียบกับมคธว่า " มหตฺตา"  แปลว่า "อัตตาใหญ่."  คำว่า มหัตตา หมายเอาประโยชน์ใหญ่บ้าง  ความเป็นใหญ่บ้าง"มหาตฺมนฺ"  ทางลัทธินี้เชื่อว่าเมื่อตายหรือจุติจากร่างที่สุดแล้ว  ย่อมกลับเข้าหา  ปรมาตฺมนฺ อันเป็นต้นเดิม  เป็นอยู่ยืนคงทน  ไม่จุติอีกนี้เป็นที่สุดแห่งสงสารของเขา  ซึ่งลัทธินี้เรียกว่า นิรฺวาณมฺ  แปลอย่างเดียวกับนิพพานของธรรมวินัยของเราซึ่งมีแสดงในปกรณ์ชื่อ”นิรฺวาณปุราณมฺนิพพาน มีชื่อเรียกในเพื่อเข้าสิง อาตฺมนฺ นั้นท่องเที่ยวไป  ในที่สุด  ย่อมถึงความบริสุทธิ์  จากบาปด้วยประการทั้งปวง  ได้ชื่อว่า  มหาตฺมนฺ  เทียบกับมคธว่า มหตฺตา  แปลว่า อัตตาใหญ่

  ในมติแห่งศาสนาคริตส์และในอิสลามก็บัญญัติที่สุดแห่งสงสารก็ทำนองนี้ แต่โดยอาการอยู่ข้างเป็นบุคคลาธิษฐาน  นักบุญเบื้องหน้าแต่มรณะย่อมขึ้นสวรรค์  อยู่กับพระเจ้าเป็นนิรันดร  ไม่โยกย้ายแต่ปฏิเสธการได้อัตภาพเป็นมนุษย์ และเป็นดิรัจฉานต่างชนิดสับสนกัน.

  แต่มติข้างพระพุทธศาสนาเถรวาทได้แยกมูลเหตุอันแต่งสังขารเป็นต้นสายนิพพานเป็นปลายสาย  และปฏิเสธอัตตา  แต่ยอมรับความเชื่อมถึงกันแห่งจุติจิตในภพหลัง  และปฏิสนธิจิตในภพหน้า  โดยอาการอย่างสืบแห่งสันตติในชีวิตอันเดียว  ผลแห่งสันตติต้น ย่อมสืบมาสันตติหลัง  แต่เชื่อมถึงกันด้วยอย่างไรในเมื่อสันตติขาดแล้ว  เป็นข้อลี้ลับอยู่ ยอมรับการตกนรกขึ้นสวรรค์  และการถือเอากำเนิดเป็นมนุษย์  และเป็นดิรัจฉานต่างชนิดสับสนกันด้วยอำนาจกรรม  แต่บัญญัติการตกนรก  มีที่สุด  พึงเห็นในการพยากรณ์คติแห่งคนทำอนันตริยกรรมเช่นพระเทวทัตและพระเจ้าอชาตศัตรู  คงสิ้นกรรมแล้วได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธะในอวสาน  กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยประการทั้งปวงแห่งจิตอันท่องเที่ยวในสังสารวัฏ  ที่ได้แก่บรรลุพระอรหัต  โดยอาการอย่างเดียวกัน  แต่คัดค้านการค่อยบริสุทธิ์เองที่เรียกว่าสังสารสุทธิแก้ว่าต้องสำเร็จด้วยวิริยะกับปัญญาแต่ยอมรับว่าไม่สำเร็จโดยรวดเร็วในไม่กี่ภพพึงเห็นในการกล่าวถึงระยะกาลที่บำเพ็ญพระบารมีของโพธิสัตว์  ในอวสาน  กล่าวถึงการดับแห่งจิตอันบริสุทธิ์นั้น  ในปัจฉิมชาติแล้วไม่เกิดอีก  เป็นถึงที่สุดเพียงนี้  ได้ในบาลีธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่า อยมนฺติมา  ชาติ  นตฺถิทานิ  ปุนพฺภโว  นี้เป็นชาติมีในที่สุด  บัดนี้ภพอีกย่อมไม่มี  และในบาลีอนัตตลักขณสูตรเป็นต้นว่า  ย่อมรู้ว่าชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว  กรณียะทำแล้ว  กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างไม่มีอีก  นี้กล่าวคือนิพพาน  ยกย่องว่าเป็นธรรมไม่ตาย  เป็นฐานไม่จุติ  ได้ในบาลีว่า อปฺปมาโท  อมตปท ความไม่ประมาทเป็นบทไม่ตาย  นิพพานอันเป็นปลายสาย  ย่อมจัดเป็นวิสังขาร มิใช่  สังขาร  และเป็นอสังขตะ อันปัจจัยมิได้แต่ง  เพราะพ้นจากความเป็นสังขาร  และอันปัจจัยมิได้แต่งให้เกิดภาษาบาลีมาจาก

    นิอุปสรรค  (แปลว่าพ้นไปหมดไปเลิกไม่มี) วาน (แปลว่าพัดไปเป็นไปเครื่องรึงรัด)  หากใช้เป็นกิริยาของไฟหรืออาการของไฟแปลว่าดับไฟดับร้อนเย็นลงหากใช้เป็นกิริยาของจิตหมายถึงความเย็นใจ ไม่มีความกระวนกระวาย  ไร้เครื่องเสียดแทงในภาษาสันสกฤตใช้คำว่า“นิรวาน”ซึ่งมาจากคำว่านิร+วาน  คำแรกมีความหมายเชิงปฏิเสธส่วนคำหลังเป็นชื่อของกิเลสดังนั้นคำว่า “นิรวาน” จึงหมายถึงการดับกิเลส  ในพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าทรงให้ความหมายของนิพพานไว้ว่า  “ภิกษุทั้งหลายภาวะอันไม่เกิด ไม่เป็นอันปัจจัยไม่ทำไม่ปรุงแต่งมีอยู่ภิกษุทั้งหลายหากภาวะอันไม่เกิดไม่เป็นอันปัจจัยไม่ทำไม่ปรุงแต่งจักไม่มีเลยการสลัดภาวะที่เกิดที่เป็นอันปัจจัยทำปรุงแต่ง  จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย” ดังที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นธรรมชาตินี้และมีพุทธอุทาน ว่า  ”ภิกษุผู้ดุจภูเขาย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความสิ้นโมหะเหมือนภูเขาหินไม่หวั่นไหวตั้งอยู่ด้วยดีฉะนั้นฯ”[1]  พระนาคเสนเถระ  ให้ความหมายว่านิพพานเป็นอนุปาทนียะคือไม่เป็นที่ตั้งแห่งอุปทาน(ความยึดมั่น) ส่วนในคัมภีร์ปรมัตถทีปนีให้ความหมายว่า

“นิพพานนั้นเป็นที่ดับความเร่าร้อนที่เกิดจากวัฏฏทุกข์ทั้งหมด”[2] และแสดงภาวะไว้ว่า ความสิ้นไปแห่งความอยากคือ  ตัณหาภายในใจว่าเป็นภาวะของนิพพานความหมายนิพพานนั้นนำมาแสดงไว้๓นัยคือ

  ก.นัยปฏิเสธเช่นนิพพานคือความสิ้นราคะสิ้นโทสะสิ้นโมหะคือความสิ้นตัณหาคือจุดจบแห่งทุกข์คือความไม่ตายเป็นต้น 

  ข.นัยอุปมา เช่นนิพพาน เป็นเหมือนภูมิภาคอัน ราบเรียบน่ารื่นรมย์เหมือนไฟดับเพราะเชื้อเพลิงหมดเป็นต้น 

    ค.นัยไวพจน์เช่นคำว่าสงบ,ปณีต,บริสุทธิ์, เกษม, อุดมเป็นต้น นัยบรรยายภาวะโดยตรงดังพุทธพจน์ว่าภาวะที่พึงรู้ได้มองไม่เห็นด้วยตาไม่มีที่สิ้นสุดเข้าถึงได้ทุกด้านตรงนี้อาโปปฐวีเตโชและวาโย  ตั้งอยู่ไม่ได้ตรงนี้ยาวสั้นละเอียดหยาบงามไม่งามก็ตั้งอยู่ไม่ได้ตรงนี้นามรูปดับสนิทตรงนี้เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ  [3] 

  นิพพานคือวิราคธรรม  ซึ่งแปลว่า  ธรรมอันเป็นที่คลายออกซึ่งกิเลส  คือหมายความว่า  ใจของใครก็ตามเมื่อมาพบกับวิราคธรรมเข้าแล้ว  กิเลสทั้งหลาย  ย่อมจะคลายตัวออกจากใจ  จนกระทั่งในที่สุดไม่มีเหลือ และคำว่าวิราคธรรมในที่นี้ ก็หมายถึงความสงบอันประณีตนั่นเองนิพพานเป็นอสังขตธรรม ลักษณะอสังขตธรรมมี ๓ อย่างคือ

  ๑.  ไม่ปรากฏความเกิด

  ๒.  ไม่ปรากฏความสลาย

  ๓.  เมื่อดำรงอยู่ ไม่ปรากฏความผันแปร

  โดยสรุป พระนิพพานก็คือที่ๆไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจและเป็นที่สิ้นไปแห่งกองทุกข์ตามลำดับการเข้าถึงในขุททกนิกายอิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน ๒ ประเภทคือ

  (๑) สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีเชื้อเหลือดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ

  (๒) อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีเชื้อเหลือ  ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์อีก[4]

  ความเข้าใจเรื่องของพระนิพพานนี้ถ้าไม่ศึกษาก็จะไม่เข้าถึงสภาวธรรมอย่างแท้จริงซึ่งอาจจะเกิดทิฏฐิคิดว่าเป็นที่สุดแห่งทุกข์พ้นการเกิดนั้นเป็นของเที่ยงแท้เป็นนิรันดร์เป็นสัสสตทิฏฐิเข้าแอบแฝงหรือเข้าใจว่านิพพานเป็นอุจเฉททิฏฐิ และแม้เข้าใจว่าเป็นของไม่มี ก็เป็นนัตถิกทิฏฐิ ท่านนาคารชุนเข้าใจพระนิพพาน ว่า นิพพานคือรูป รูปคือนิพพานและจากหลักฐานคัมภีร์ทางศาสนามีการแสดงเรื่อง  ความหมายของพระนิพพานในศาสนาอื่นๆนั้น ก็ไม่ตรงกับสภาวธรรมของนิพพานฝ่ายเถรวาท  ความเห็นที่มองจุดเป้าหมายสูงสุดถ้ามีความเชื่ออันเกิดจากความเห็นผิดในหนทางปฏิบัติเป็นสีลัพพตปรามาสนี้ด้วยแล้ว ก็ถือว่าเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้การปฏิบัติให้ถึงผลอันเป้าหมายของผู้เดินทางเกิดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงได้ซึ่งอุปมาได้กับ ผู้ที่จะเดินทางไปเชียงใหม่แต่ไม่รู้ว่าเชียงใหม่อยู่ทิศไหนด้วยเหตุฟังหรือเชื่อก่อให้มีความคิดผิดเป็นเหตุให้ต้องตีตั๋วรถทัวร์ผิด  อาจจะตีตั๋วลงไปทางใต้การเดินทางของบุคคลดังกล่าวก็จะไม่ถึงที่หมายคือนิพพานได้เสียที การที่ไม่เข้าใจหนทางเดิน  หรือ  ทิศทางที่ถูกหรือไม่รู้ว่า  พระนิพพานคืออะไร ก็เท่ากับเป็นการขวางทางเดินที่ถูกต้องของบุคคลนั้นได้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของพระนิพพานมีคำอธิบายไว้ในหลักฐานทางพระพุทธศาสนา ซึ่งแสดงความหมายของพระนิพพานไว้หลายนัยอาทิเช่น คำว่า โมกฺโข  นิพพาน,โมกขธรรม,นิพพานเป็นที่หลุดพ้นจึงชื่อโมกขะ , นิพพานเป็นเครื่องหลุดพ้นจากราคะเป็นต้นจึงชื่อว่าโมกขะดังที่แสดงไว้ว่า

  “ธรรมอันเป็นเหตุสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งปวงสัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้วถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้วจักไม่เห็นธรรมอันละเอียดลึกซึ้งยากที่จะเห็นละเอียดยิ่งอันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน.[5] 

  หลักธรรมที่นำมาการปฏิบัติ

หนทางไปสู่เป้าหมายเพื่อขจัดความเห็นผิดข้ามพ้นสีลัพพตปรามาสเพื่อเข้าถึงมรรคผลนิพพานขอประมวลหลักธรรมที่นอกจากแสดงไว้ข้างต้นแล้วยังมีธรรมที่อนุเคราะห์การปฏิบัติดังนี้

  ๑.อริยทรัพย์ ๗เป็นหลักธรรมที่เป็นเครื่องนำพาชีวิตเราในจะแก้ไขให้ข้ามพ้นหรือขจัดซึ่งสีลัพพตปรามาส  ที่สำคัญดุจทรัพย์ที่ประเสริฐหนุนนำให้ถึงพระนิพพานได้ชื่อว่าเป็นอริยทรัพย์

ซึ่งเป็นทรัพย์อันประเสริฐอยู่ภายในจิตใจ  เพราะไม่มีผู้ใดแย่งชิง  ไม่สูญหายไปด้วยภัยอันตรายต่างๆทำใจให้ไม่อ้างว้าง ยากจน และเป็นทุนสร้างทรัพย์ที่ประเสริฐ อริยทรัพย์ ๗จึงเป็หลักธรรมที่มีอยู่ประจำใจอย่างประเสริฐ อันบุคคลนั้นได้สะสมอบรมมาเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะยังสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้นสีลพัตตปรามาสไปได้คุณธรรมประจำใจที่ประเสริฐนี้ชื่อว่าอริยทรัพย์ ๗ซึ่งเป็นที่ทรัพย์อันประเสริฐหรือทรัพย์ที่เป็นคุณธรรมประจำใจมีดังนี้

๑.ศรัทธา  ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ

๒.ศีล  การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม

๓.หิริ  ความละอายใจต่อการทำความชั่ว

๔.โอตตัปปะ  ความเกรงกลัวต่อความชั่ว

๕.พาหุสัจจะ  ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก

๖.จาคะ  ความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

๗.ปัญญา  ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผลดีชั่วถูกผิดคุณโทษ [6]

    “ธรรมที่เป็นอริยทรัพย์นี้ เป็นทรัพย์อันประเสริฐอยู่ภายในจิตใจดีกว่าทรัพย์ภายนอกเพราะไม่มีผู้ใดแย่งชิง ไม่สูญหายไปด้วยภัยอันตรายต่างๆทำใจให้ไม่อ้างว้าง ยากจน และเป็นทุนสร้างทรัพย์ภายนอกได้ด้วยธรรม ๗ นี้ เรียกอีกอย่างว่า พหุการธรรม หรือธรรมมีอุปการะมาก” [7] 

  เพราะเป็นกำลังหนุนช่วยส่งเสริมในการบำเพ็ญคุณธรรมบารมีต่างๆยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวางไพบูลย์เปรียบเหมือนคนมีทรัพย์มากย่อมสามารถใช้จ่ายทรัพย์เลี้ยงตนเลี้ยงผู้อื่นให้มีความสุข และบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆได้เป็นอันมาก ธรรม ๗นี้เรียกอีกอย่างว่า” พหุการธรรม หรือ ธรรมมีอุปการะมาก” [8]

  เพราะเป็นกำลังหนุนช่วยส่งเสริมในการบำเพ็ญคุณธรรมต่างๆยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวางไพบูลย์  เปรียบเหมือนคนมีทรัพย์มากย่อมสามารถใช้จ่ายทรัพย์เลี้ยงตนเลี้ยงผู้อื่นให้มีความสุข และบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆได้เป็นอันมาก

๒.อปัณณกปฏิปทา  เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรมเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด

    อปัณณกปฏิปทา ประกอบด้วยองค์ ๓คือ

  ก.อินทรียสังวรการสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖

  ข.โภชเน มัตตัญญุตาความรู้จักประมาณในการบริโภคคือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุกมิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา

  ค.ชาคริยานุโยคการหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือขยันหมั่นเพียรตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป[9]

๓.นวกภิกขุธรรม ๕  เป็นหลักธรรมแห่งการปฏิบัติสำหรับพระที่เพิ่งเข้ามาในธรรมวินัยที่มุ่งเข้าถึงพรหมจรรย์  หรือเป็นหลักธรรมที่ผู้ปฏิบัตินำมาใช้เพื่อมุ่งผลการปฏิบัติธรรมเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างมั่นคง, ดำรงกรรมฐานให้เข้าถึงธรรม โดยมีองค์แห่งการปฏิบัติ ๕ อย่างดังนี้   ๑.ปาติโมกขสังวรสำรวมในพระปาติโมกข์ รักษาศีลเคร่งครัด ทั้งในส่วนเว้นข้อห้ามและทำตามข้ออนุญาต  ถ้าเป็นฆราวาสให้มีศีลมั่นคง

  ๒.อินทรียสังวรสำรวมอินทรีย์ มีสติระวังรักษาใจ มิให้กิเลสคือความยินดี ยินร้ายเข้าครอบงำในเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ มีเห็นรูปด้วยตาเป็นต้น 

  ๓.ภัสสปริยันตะพูดคุยมีขอบเขต คือ จำกัดการพูดคุยให้น้อย รู้ขอบเขต ไม่เอิกเกริก

  ๔.กายวูปกาสะปลีกกายอยู่สงบคือเข้าอยู่ในเสนาสนะอันสงัด 

    ๕.สัมมาทัสสนะปลูกฝังความเห็นชอบ คือ สร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ  [10]

    การปฏิบัติเพื่อข้ามพ้นสีลัพพตปรามาสตามหลักธรรมนี้ ย่อมก่อให้เกิดความมั่งคงในการปฏิบัติพร้อม มีปฏิปทาที่เป็นส่วนที่มีแก่นสารหรือเนื้อแท้ถูกต้องและถูกทาง

  ๔.อุปัญญาตธรรม  ธรรมเป็นที่ดำเนินไปสู่อริยมรรคจนบรรลุจุดหมายสูงสุด พระพุทธองค์ได้ทรงอาศัยธรรมนี้เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ  อันมีองค์คุณ ๒ ประการคือ

  ก.อสนฺตุฏฺฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ  ความไม่สันโดษในกุศลธรรม, ความไม่รู้อิ่มไม่รู้พอในการสร้างความดีและสิ่งที่ดี

  ข.อปฺปฏิวาณิตา ปธานสฺมึ  ความไม่ระย่อในการพากเพียร, การเพียรพยายามก้าวหน้าเรื่อยไปไม่ยอมถอยหลัง [11]

  ๕.วุฑฒิธรรมบุคคลที่ประสงค์จะเจริญสติปัฏฐานและข้ามพ้นสีลัพพตปรามาสได้จะต้องสร้างธรรมอันเป็นเครื่องเจริญหรือคุณธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงามเรียกว่า

    วุฑฒิธรรม  ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการคือ

๑.สัปปุริสังเสวะคบหาสัตบุรุษ, เสวนาท่านผู้รู้ผู้ทรงคุณ

๒.สัทธัมมัสสวนะฟังสัทธรรม,เอาใจใส่เล่าเรียนหาความรู้จริง

๓.โยนิโสมนสิการทำในใจโดยแยบคาย,คิดหาเหตุผลโดยถูกวิธี

๔.ธัมมานุธัมมปฏิบัติ  ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม,ปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามหลัก คือ

  ให้สอดคล้องพอดีตามขอบเขตความหมายและวัตถุประสงค์ที่สัมพันธ์กับธรรมข้ออื่นๆ  นำสิ่งที่ได้เล่าเรียนและตริตรองเห็นแล้วไปใช้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักตามความมุ่งหมายของสิ่งนั้นๆธรรมที่เป็นไปเพื่อปัญญาวุฒิเพื่อความเจริญงอกงามแห่งปัญญา[12]

  ๖.จักร เป็นธรรมปฏิบัติที่ยังผู้เจริญวิปัสสนาจะนำพาชีวิตของตนไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย  จักร ๔ ประกอบด้วย

  ๑.ปฏิรูปเทสวาสะ  อยู่ในถิ่นที่ดี มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม

๒.สัปปุริสูปัสสยะ  สมาคมกับสัตบุรุษ

๓.อัตตสัมมาปณิธิตั้งตนไว้ชอบ, ตั้งจิตคิดมุ่งหมาย นำตนไปถูกทาง

๔.ปุพเพกตปุญญตาความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว, มีพื้นเดิมดี, ได้สร้างสมคุณความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น [13] 

  ธรรม ๔ ข้อนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพหุการธรรมคือธรรมมีอุปการะมาก เป็นเครื่องช่วยให้สามารถสร้างความดีอื่นๆ ทุกอย่าง  และช่วยให้ประสบความเจริญก้าวหน้าในชีวิต บรรลุความงอกงามไพบูลย์.

  ๗.สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม คือการปฏิบัติธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้าอันหลักธรรมอันที่จะอำนวยประโยชน์สุขขั้นสูงขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อการเจริญวิปัสสนาในการข้ามพ้นสีลัพพตปรามาส มีหลักธรรมอันว่าด้วยสัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรมมี ๔อย่างดังนี้

  ก.สัทธาสัมปทาถึงพร้อมด้วยศรัทธา 

      ข.สีลสัมปทาถึงพร้อมด้วยศีล 

    ค.จาคสัมปทาถึงพร้อมด้วยการเสียสละ

    ง.ปัญญาสัมปทาถึงพร้อมด้วยปัญญา [14]

  ๘. อนุตตริยะ  การดำเนินตามวิถีชีวิตโดยอาศัยหลักธรรมเหล่านี้  เป็นศีลวัตรในการนี้ชื่อว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสิ่งที่เป็นไปได้  เพราะว่ามนุษย์และโลกเป็นอย่างนั้นๆนั่นเอง  วิถีชีวิตดังกล่าวที่ปฏิบัติหนทางเพื่อข้ามพ้นสีลัพพตปรามาสเจริญวิปัสสนาจะช่วยให้คนได้บรรลุถึงซึ่งความดีสูงสุดการปฏิบัติและความเข้าถึงผลที่เยี่ยม  อนุตตริยะเป็นภาวะอันยอดเยี่ยม ในการเห็นเป็นการปฏิบัติเพื่อข้ามพ้นสีลัพพตปรามาส อนุตตริยะ มี ๓ ประการ คือ

  ๑.ทัสสนานุตตริยะการเห็นอันเยี่ยมปัญญาอันเห็นธรรมหรืออย่างสูงสุดคือเห็นนิพพาน

    ๒.ปฏิปทานุตตริยะการปฏิบัติอันเยี่ยม  ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่เห็นแล้วกล่าวให้ง่ายหมายเอามรรคมีองค์ ๘

  ๓.วิมุตตานุตตริยะ  การพ้นอันเยี่ยม ได้แก่ ความหลุดพ้นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัตินั้นคือความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง หรือนิพพาน  [15]

    ๙. สัปปายะ ธรรมที่ทำเกิดความสบายท่านผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ มีความคิดอย่างสัตบุรุษ มีการประพฤติปฏิบัติตนทำอย่างสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ คือ มีสัมมาทิฏฐิที่เรียกว่า สัปปุริสทิฏฐิพระพุทธองค์ทรงแสดงให้เห็นถึงการให้เป็นผู้รู้จักเหตุและผลในการกระทำดังนี้ ดังที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า

    “ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้๑.เป็นผู้รู้จักเหตุ  ๒. เป็นผู้รู้จักผล ๓.เป็นผู้รู้จักตน๔. เป็นผู้รู้จักประมาณ๕. เป็นผู้รู้จักกาล๖. เป็นผู้รู้จักบริษัท๗.เป็นผู้รู้จักบุคคล “[16]  ปัจจัยสำคัญที่จะให้มีโอกาสได้พบกับทางสายแห่งความพ้นทุกข์และข้ามพ้นสีลัพพตปรามาสได้นั้นเรียกว่า สัปปายะหรือสิ่งที่ทำเกิดความสบายมี ๔อย่าง คือ

  ๑. การปฏิบัติวิปัสสนา หาที่เป็นสัปปายะ

  ๒. บุคคลเป็นที่สัปปายะ  เพราะเป็นเสมือนผู้นำทางให้แก่คนผู้หลงทาง

  ๓. อาหารเป็นที่สัปปายะนั้น

  ๔. ธรรมสัปปายะ  [17]

  บุคคลเป็นที่สัปปายะในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้อ้างถึงลักษณะของบุคคลเป็นที่สบายอันเป็นผู้นำทางให้แก่คนผู้หลงทางที่เรียกว่ากัลยาณมิตร

  หลักธรรมเหล่านี้เมื่อผู้ปฏิบัติมีความเพียรปฏิบัติ  ย่อมยังประโยชน์สามารถนำพาชีวิตข้ามพ้นสีลัพพตปรามาสไปได้

  ประโยชน์ที่ได้จากการข้ามพ้นสีลัพพตปรามาส

  การมีชีวิตที่ยังลูบคลำศีลพรตอยู่ร่ำไป  การมีชีวิตถือศีลพรตหรือวัตรที่ปฏิบัติกันต่างๆนี้ก่อให้เกิดความเชื่อและให้ปฏิบัติตามกัน สร้างลัทธิความเชื่อต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งบางลัทธิปรารถนาความหลุดพ้นด้วยการประพฤติที่เน้น การทรมานตนเบาบ้างมากบ้าง บางลัทธิปรารถนา มีอิทธิฤทธิ์บางลัทธิปรารถนาความหมดจดด้วยอารมณ์ย่อมเชื่อถือความหมดจดความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้นความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบด้วยเหตุสักว่าศีลและวัตร พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นวัตรปฏิบัติที่ผิด เป็นมรรคอื่นหรือมรรคที่นอกธรรมวินัยนี้เป็นมรรคอันไม่หมดจด เป็นปฏิปทาที่ผิด  เป็นวัตรนอกพระพุทธศาสนาสิ่งเหล่านี้จะหมดสิ้นไปจากขันธสันดานของบุคคลที่ขจัดและข้ามพ้นจากสีลัพพตปรามาสได้  เป็นผู้ประเสริฐเป็นอริยชนก่อเกิดประโยชน์ที่ได้จากการข้ามพ้นสีลัพพตปรามาส

  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี




  [1] ขุ.อ. ๒๕/๗๖/๙๘.

  [2] พระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตฺโต ), พุทธธรรม, อ้างแล้ว, หน้า ๑๒๕.

    [3] พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม, อ้างแล้ว, หน้า ๒๓๒.

  [4] ขุ.อิติ. ๒๕/๒๒๒/๒๓๑.

[5] วิ.มหา. ๔/๗/๗.

  [6] ที.ปา. ๑๑/๓๒๖/๒๕๓; องฺ.สตฺตก.๒๓/๖/๕.

  [7] ที.ปา. ๑๑/๔๓๓/๓๐๗.

  [8] ที.ปา. ๑๑/๔๓๓/๓๑๐.

  [9] องฺ.ติก. ๒๐/๔๕๕/๑๒๙.

  [10] องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๑๔/๑๓๘-๑๓๙.

  [11] ที.ปา. ๑๑/๒๒๗/๑๙๐; องฺ.ทุก. ๒๐/๒๕๑/๕๘.

  [12] องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๒๔๘/๒๗๙.

  [13] ที.ม. ๑๐/๑๓๔/๑๓๗.

  [14] องฺ.อฏก. ๒๓/๑๔๔/๒๖๐.

  [15] ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๑๙๑; ม.มู. ๑๒/๔๐๒/๓๐๗.

  [16] ที.ปา. ๑๑/๓๓๑/๒๕๕.

    [17] องฺ.สตฺตก. ๒๗/๓๗/๑๔.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท