มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

ธรรมที่นำมาใช้กับชีวิตปัจจุบัน


 

โครงการธรรมศึกษาวิจัย

ธรรมที่นำมาใช้กับชีวิตปัจจุบัน

 

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐  พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ

การศึกษา ธรรมที่นำมาใช้กับชีวิตปัจจุบัน ช่วยให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงความจริงในหลักธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ สร้างความลึกซึ้งการจะเข้าถึงธรรมได้อย่างดี เพราะใน  มีการแสดงเปรียบเทียบความจริงกับสิ่งปรากฏให้รู้ได้เพื่อให้เป็นอย่างเข้าใจ ผู้เขียนจึงนำธรรมที่นำมาใช้กับชีวิตปัจจุบันสกัดเนื้อธรรม และภาษาให้เข้าถึงธรรมได้อย่างง่ายๆและไม่เสียเนื้อความ อันที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์นี้ สามารถสร้างเข้าใจได้อย่างง่ายขึ้น

  หนังสือนี้เชื่อว่าจะยังคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน ด้วยผลแห่งกุศลที่ประสงค์จะดำรงพระสัทธรรมให้ดำรงคงมั่นในอยู่จิตใจชาวพุทธ สร้างเสริมปัญญาเป็นบารมี จงเป็นบุญญาบารมีให้บิดามารดาครูอาจารย์ญาติพี่น้องตลอดจนสหายธรรมทุกท่านเป็นผู้ดำรงคงมั่น ในสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และให้ศาสนาแห่งพระบรมศาสดาดำรงคงอยู่ตลอดกาลนาน เป็นแสงสว่างนำพาชีวิตของสรรพสัตว์ออกจากห้วงมหรรณพภพสงสารพ้นกองทุกข์กองโศกกองกิเลสเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ด้วยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกคนเทอญ

  ธีรเมธี

  ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

  มหาบัณฑิตพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมที่นำมาใช้กับชีวิตปัจจุบัน

อคติ  4

อคติ  แปลว่า  ทางที่ไม่ควรดำเนิน หมายถึงความลำเอียง  ความไม่ยุติธรรมอันเป็นข้อห้าม  สำหรับผู้ปกครอง

อคติ  4  ประกอบด้วยคำลำเอียง  4  ประการคือ

1.  ฉันทาคติ  คือ  ความลำเอียงเพราะชอบหรือเพราะรัก  มักเกิดกับบุคคลที่ใกล้ชิด

2.  โทสาคติ  คือ  ความลำเอียงเพราะโกรธหรือไม่ชอบ

3.  หาคติ  คือ  ความลำเอียงเพราะหลง  รู้เท่าไม่ถึงการณ์

ภยาคติ  คือ  ความลำเอียงเพราะความกลัว  หรือเกรงใจผู้มีอำนาจ

  ทศพิธราชธรรม

  ทศพิธราชธรรม  แปลว่า  ธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์มี  10  ประการได้แก่

1.  ทาน หมายถึงการให้  แบ่งออกเป็น  วัตถุทาน  คือการให้วัตถุสิ่งของส่วนธรรมทานคือการให้ความถูกต้องยุติธรรม  และอภัยทาน  เป็นการยกเว้นโทษต่อบุคคลและสตรีที่มีคุณประโยชน์

2.  ศีล  คือ ข้อปฏิบัติทางกาย  วาจา  ใจ  ในทางที่ชอบที่ควร

3.  บริจาค  หมายถึง  การเสียสละ  และปล่อยวาง  สิ่งของที่ควรบริจาคได้แก่  การสละวัตถุสิ่งของเพื่อสังคม,สละกิเลสเพื่อความถูกต้องยุติธรรม,การสละตนเพื่อส่งเสริมการทำความดีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

4.  อาชวะ  คือ  ความซื่อตรงไม่หลอกลวงปฏิบัติอย่างที่พูด  บุคคลควรซื่อตรงกับสิ่งต่อไปนี้ซื่อตรงต่อบุคคล,เวลาและหน้าที่

5.  มัทวะ  คือ  ความอ่อนโยน  ตามเหตุผล  ไม่ดื้อดึงด้วยอำนาจอุปกิเลส

6.  ตบะ คือ  ความแผดเผากิเลส  โดยเฉพาะความเกียจคร้านดังนั้นตบะจึง  หมายถึง  ความเพียรการตั้งใจ

7.  อักโกธะ คือการไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ  หมายถึงการไม่พยาบาทมุ่งร้ายผู้อื่น

8.  อวิหิงสา  คือ  การไม่เบียดเบียนและไม่ก่อความทุกข์ยากแก่ผู้อื่น

9.  ขันติ  คือ ความอดทน  อันเป็นการระงับจิตใจไม่ให้เป็นไปตามอำนาจกิเลส

10.อวิโรธนะ  หมายถึง  การไม่ประพฤติผิดตามธรรมนองครองทำ

2.1  มงคลชีวิต

มงคลชีวิต  หมายถึง  เหตุแห่งความสุข  และความเจริญก้าวหน้าของชีวิตที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติซึ่งมีอยู่  38  ประการ  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

-  ความไม่ประมาท  คือ  ความมีสติ  อันเป็นการระลึกได้ก่อนทำ  ก่อนพูด  อีกทั้งยังจดจำได้ภายหลังการกระทำหรือการพูดล่วงไปแล้ว  สำหรับลักษณะของความไม่ประมาท  คือ ต้องบำเพ็ญกายให้สุจริต  วจีสุจริต  และมโนสุจริต  และทำความเห็นให้ถูกต้อง

-  ความเคารพ  คือกิริยาที่ยกย่องเชิดชูในบุคคลหรือสิ่งอันควรอันเหมาะสม  การเคารพสามารถแสดงได้ด้วยกิริยาอาการต่าง ๆ ตามพื้นฐานของแต่ละวัฒนธรรมความเคารพตรงข้ามกับการดูหมิ่นเหยียดหยาม  สำหรับสิ่งที่ควรเคารพ  ได้แก่  การเคารพในบุคคล และการเคารพในธรรม

-  ความอ่อนน้อมถ่อมตน  หมายถึง  การนำเอาความเย่อหยิ่งออกไป  จึงเป็นการลดตนหรือถ่อมตัวลงซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่า  ความเย่อหยิ่ง  อันหมายถึง  การทะนงตนว่าดีกว่าผู้อื่น  ไม่รู้จักที่สูงหรือที่ต่ำ  สำหรับสาเหตุแห่งความเย่อหยิ่งนั้นมีหลายประการด้วยกัน  เช่น  ชาติกำเนิดสูง , ความมั่งมีทรัพย์สิน , เกิดในวงค์ตระกูลที่มีชื่อเสียงและผู้ที่มีภูมิความรู้สูงเป็นต้น

-  ความสันโดษ  คือ  ความชอบใจ  พอใจ  หรือยินดีกับสิ่งของที่ตนมีอยู่ ปราศจากความโลภในสิ่งของผู้อื่น  ความสันโดษจำแนกได้เป็น  3  ลักษณะด้วยกันคือ

1.  ยินดีกับสิ่งของของตน  ที่หามาได้ด้วยความสามารถ  ความสุจริต  ซื่อสัตย์

2.  ยินดีกับสิ่งของที่มีอยู่  จะมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม  ก็พอใจที่ตนมีอยู่เท่านั้น

3.ยินดีกับสิ่งของที่ควรแก่ตน  คือสิ่งของที่เรามีอยู่และเป็นของเราโดยชอบธรรมพระพุทธเจ้าได้ตรัสชมเชย  ความสันโดษไว้หลายประการ  เช่น  ความสันโดษเป็นมงคลชีวิตอันสูงสุด  ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างสูงสุด  เป็นต้น

-  ความอดทน  คือ  ความอดกลั้น  อดทนระงับจิตใจต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องประสบ  ความอดทนจำแนกได้ดังนี้

1.ความอดทนต่อทุกขเวทนา  อันเนื่องมาจากเจ็บไข้โดยอดทนอยู่อย่างสงบ  ซึ่งสามารถปฏิบัติได้โดยการฝึกใช้ปัญญา  พิจารณาให้เห็นว่าความดิ้นรน กังวลจะไม่ทำให้ความเจ็บป่วยคลายลงได้  ดั่งพุทธภาษิตที่ว่า  “ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์”

2.ความอดทนต่อการทำงานหนัก  และความยากลำบาก  เพราะผู้ที่ทำงานหนักนั้นย่อมจะต้องเหนื่อยล้า  การอดทนด้วยการพักผ่อนเป็นระยะ ๆ และการใช้หลักแห่งขันติ  มีความพอใจในการทำงาน  บากบั่นย่อมจะทำให้งานสำเร็จลงได้ดังพุทธภาษิตที่ว่า  “ความอดทนนำประโยชน์สุขมาให้”

3.ความอดทนต่อความเจ็บใจ  หรือการถูกกล่าวร้าย  การอดกลั่นได้ด้วยการมีสติยับยั้งอำนาจความโกรธได้  ซึ่งจะต้องรู้จักฝึกอบรมจิตใจให้มีโทสะน้อยลงหรือสามารถที่จะชนะกิเลสของตนได้  ดังพุทธภาษิตที่ว่า “ความอดทนคือความอดกลั่นเป็นตบะอย่างยิ่ง”

ความหมายและธรรมชาติของอคติ  4

  อคติ  แปลว่า  ไม่ใช่ทางไป  ไม่ใช่ทางเดิน  ไม่ควรไป  ไม่ควรเดิน  ในภาษาไทย  หมายถึง  ความลำเอียงความไม่ยุติธรรม  ความไม่เป็นธรรม

  อคติเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังมีกิเลสซึ่งจะต้องมีด้วยกันทุกคน  เพราะปกติคนเราจะทำอะไรก็ตาม  มักจะคิดถึงประโยชน์ของตนเอง  ญาติพี่น้อง  หรือพวกพ้องก่อนเสมอ  ซึ่งการกระทำในลักษณะเช่นนี้เป็นสาเหตุทำให้ความถูกใจอยู่เหนือความถูกต้อง  ความผิดอยู่เหนือความถูกหรือเห็นผิดเป็นชอบ

ประเภทของอคติ  4

  พระพุทธศาสนาแบ่งอคติออกเป็น  4  ประเภท  ตามพื้นฐานแห่งจิตใจ  คือ

  1.  ฉันทาคติ  ความลำเอียงเพราะความรักใคร่  หมายถึง  การทำให้เสียความยุติธรรม  เพราะอ้างเอาความรักใคร่หรือความชอบพอกัน  ซึ่งมักเกิดกับตัวเอง  ญาติพี่น้อง  และคนสนิทสนม  การแก้ไขฉันทาคติต้องทำใจให้เป็นกลางโดยการปฏิบัติต่อทุกคนให้เหมาะสมเหมือน ๆ กัน

  2.  โทสาคติ  ความลำเอียงเพราะความไม่ชอบ  เกลียดชัง  หรือโกรธแค้น  หมายถึง  การทำให้เสียความยุติธรรม  เพราะความโกรธ  หรือลุอำนาจโทสะ  การแก้ไขโทสาคติทำได้ด้วยการทำใจให้หนักแน่น  รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา  และพยายามแยกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกัน

  3.  โมหาคติ  ความลำเอียงเพราะความไม่รู้  หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์  หมายถึง  การทำให้เสียความยุติธรรมเพราะความสะเพร่า  ความไม่ละเอียดถี่ถ้วน  รีบตัดสินใจก่อนพิจารณาให้ดี  วิธีแก้ไขทำได้โดยการเปิดใจให้กว้าง  ทำใจให้สงบ  มองโลกในแง่ดี  และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

  4.  ภยาคติ  ความลำเอียงเพราะความกลัว  หมายถึง  การทำให้เสียความยุติธรรม  เพราะมีความหวาดกลัวหรือเกรงกลัวภยันอันตราย  วิธีแก้ไขทำได้ด้วยการพยายามฝึกให้เกิดความกล้าหาญ  โดยเฉพาะความกล้าหาญทางจริยธรรม  คือ  กล้าคิด  กล้าพูดในสิ่งที่ดีงาม

แนวทางปฏิบัติเพื่อชีวิตและสังคม

  อคติเป็นทางที่ไม่ควรปฏิบัติ  ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงโดยการพิจารณาถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมา หากพิจารณาว่าเรากำลังมีจิตใจลำเอียงก็ให้ปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองใหม่ให้ตรงกันข้ามคือความไม่ลำเอียง

  โดยปกติคนเราชอบความซื่อสัตย์  ความยุติธรรม  และเกลียดความลำเอียง  แต่การที่เราจะสร้างความซื่อสัตย์  ความยุติธรรม  และหลีกเลี่ยงความลำเอียงได้นั้นค่อนข้างยาก  วิธีเดียวที่ทำได้คือ  ฝึกฝนจิตใจโดยถือหลักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา  เราเกลียดความยุติธรรม  ความไม่ชอบธรรมอย่างไร  คนอื่นก็เช่นเดียวกับเราเกลียดความลำเอียงชอบความยุติธรรมเหมือนกัน

มงคลที่  21

ความไม่ประมาทในธรรมเป็นมงคลอันอุดม

ความไม่ประมาทในธรรม  หมายถึงการที่มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาให้ระลึกที่จะทำความดี  และขับไล่  ความคิดที่ไม่ดี  ออกไป

การฝึกสติให้เป็นคนไม่ประมาท

1.  มีสติระลึกถึงการละเว้นทุจริตทางกาย  วาจา  ใจ  อยู่เนือง ๆ มิได้ขาด 

2.  มีสติระลึกถึงการประพฤติสุจริตทางกาย  วาจา ใจ  อยู่เนือง ๆ

3.  มีสติระลึกถึงความทุกข์ในอบายภูมิ อยู่เนือง ๆ  มิได้ขาด

4.  มีสติระลึกถึงความทุกข์  อันเกิดจากการเวียนว่ายตายเกิดของ

  สัตว์ในวัฏฏสงสารอยู่เนือง ๆ  มิได้ขาด

5.  มีสติระลึกถึงกรรมฐานภาวนาที่จะละราคะ  โทสะโมหะให้ขาดจากสันดานอยู่เนือง ๆ มิได้ขาด

สิ่งที่ไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง

1.  ไม่ประมาทในเวลา  มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า

“วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่”

2.  ไม่ประมาทในวัย  อย่าคิดว่าตัวเองยังเป็นเด็กอยู่

3.  ไม่ประมาทในความไม่มีโรค  อย่าคิดว่าเราจะ  แข็งแรงอย่างนี้ตลอดไป

4.  ไม่ประมาทในชีวิต  อย่าคิดว่าเรามีชีวิตอยู่สุข  สบายดี  และยังมีชีวิตอยู่อีกนาน

5.  ไม่ประมาทในการงาน  ทำงานอย่างทุ่มเท ทำงานไม่คั่งค้างไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

6.  ไม่ประมาทในการศึกษา  ขวนขวายหาความรู้อย่างเต็มที่

7.  ไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม  จะปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ  ไม่ย่อท้อ

อานิสงส์การไม่ประมาทในธรรม

1.  ทำให้ได้รับมหากุศล

2.  ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ตายสมดังพุทธวจนะ

3.  ทำให้ไม่ตกไปสู่อบายภูมิ

4.  ทำให้คลายจากความทุกข์

5.  ทำให้เพลิดเพลินไม่เบื่อหน่ายในการสร้างความดี

6.  ย่อมมีสติอันเป็นทางมาแห่งการสร้างกุศลอื่น ๆ

7.  ย่อมได้รับความสุขในการดำรงชีพ

8.  เป็นผู้ตื่นตัว  ไม่เพิกเฉยละเลยในการสร้างความดี

9.  ความชั่วความไม่ดีต่าง ๆ ย่อมสูญสิ้นไปโดยพลัน

“เวลาใด  บัณฑิตกำจัดความประมาท  เมื่อนั้น  เขานับว่าได้ขึ้นสู่ปราสาท  คือ  ปัญญา  ไร้ความเศร้าโศกสามารถมองเห็นประชาชนโง่เขลา  ผู้ยังต้องเศร้าโศกอยู่

เสมือนคนยืนอยู่บนยอดเขา  มองลงมาเห็นฝูงชน  ที่ยืนอยู่บนพื้นดินฉะนั้น

(จากหนังสือ  มงคลชีวิต  ฉบับธรรมทายาท  โดยพระสมชาย  ฐานวุทโฒ  หน้า  33 –35)

มงคลที่  22

  ความเคารพ  หมายถึง  ความตระหนัก  ซาบซึ้ง  รู้ถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของบุคคลอื่นยอมรับ  นับถือความดีของเขาด้วยใจจริง  แล้วแสดงความนับถือต่อผู้นั้นด้วยการแสดงความอ่อนน้อม  อ่อนโยน  อย่างเหมาะสมทั้งต่อหน้าและลับหลัง

  สิ่งที่ควรเคารพอย่างยิ่ง  มี  7  ประการ ได้แก่

  -  ให้มีความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คือตระหนักถึงพระคุณความดีอันมีอยู่ในพระองค์ได้แก่  พระปัญญาธิคุณ  พระกรุณาธิคุณ  และพระบริสุทธิคุณ  แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพดังนี้ไปไหว้พระเจดีย์  สังเวชนียสถานตามโอกาสเคารพพระพุทธรูป  เขตพุทธาวาส  ไม่สวมรองเท้าไม่กางร่มในลานพระเจดีย์  ปฏิบัติตามพุทธโอวาทอยู่เป็นนิตย์

ความเคารพในพระธรรมคือตระหนักถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลของพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพดังนี้ไปฟังธรรมและฟังด้วยความสงบไม่ดูหมิ่นพระธรรมไม่วางหนังสือธรรมะไว้ในที่ต่ำ  บอกและสอนธรรมด้วยความระมัดระวังไม่ผิดพลาด

ความเคารพในพระสงฆ์คือ  ตระหนักถึงคุณความดีของพระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา  แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพดังนี้ กราบไหว้โดยกิริยาอาการเรียบร้อย  ไม่สวมรองเท้าไม่กางร่มในที่ประชุมสงฆ์  ไม่อวดรู้แก้ปัญหาธรรม  ดูแลท่านด้วยจิตเลื่อมใส  ต้อนรับท่านด้วยไทยธรรม  ไม่ยืน  เดิน  นั่ง เบียดพระเถระ

ความเคารพในการศึกษาคือตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาหาความรู้  แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ  โดยตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่ทั้งทางโลกและทางธรรม

ความเคารพในสิทธิคือตระหนักถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลของการทำสมาธิแล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ  โดยตั้งใจฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอให้มากที่สุด

ความเคารพในความไม่ประมาทคือตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการมีสติกำกับตัวในการทำงานต่าง ๆ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพโดยหมั่นฝึกสติเพื่อให้ไม่ประมาท  ด้วยการเจริญภาวนาอยู่เนื่อง ๆ มิได้ขาดความเคารพในการต้อนรับแขกคือตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการต้อนรับแขก  ว่าทำให้ไม่ก่อศัตรู  เราจึงต้องให้ความสำคัญแก่ผู้มาเยือน ด้วยการต้อนรับ  2  ประการ  คือ

1.  อามิสปฏิสันถาร  ต้อนรับด้วยสิ่งของ  เช่น อาหาร  น้ำดื่ม  เลี้ยงดูอย่างดี

2.  ธรรมปฏิสันถาร  ต้อนรับด้วยธรรม  เช่น  สนทนาธรรมกัน  แนะนำธรรมะให้แก่กัน

อานิสงส์การมีความเคารพ

1.  ทำให้เป็นคนน่ารัก  น่าเอ็นดู  น่าเกรงขาม

2.  ทำให้ได้รับความสุขกาย  สบายใจ

3.  ทำให้ผิวพรรณผ่องใส

4.  ทำให้ไม่มีความเดือดร้อนไม่มีเวร  ไม่มีภัย

5.  ทำให้สามารถถ่ายทอดความดีจากผู้อื่นได้ง่าย

6.  ให้ผู้อื่นอยากช่วยเหลือเพิ่มเติมคุณความดีให้

7.  ทำให้สติดีขึ้น  เป็นคนไม่ประมาท

8.  ทำให้เป็นคนมีปัญญาละเอียดอ่อน  รู้จริงและทำได้จริง

9.  ทำให้เกิดในตระกูลสูงไปทุกภพทุกชาติ

10.  ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย

มงคลที่  23

ความอ่อนน้อมถ่อมตน  มาจากภาษาบาลีว่า  นิวาโต  ซึ่งแปลว่า  ไม่พองลม  เอาลมออกแล้ว  คือเอามานะทิฏฐิออก  มีความสงบเสงี่ยม  ไม่ทะนงตนไม่เย่อหยิ่งจองหอง  ความอ่อนน้อมถ่อมตน  เป็นการปรารภตนเอง  คือคอยตามพิจารณาข้อบกพร่องของตนเองสามารถประเมินค่าของตนเองได้ถูกต้องตามความเป็นจริง  สามารถน้อมตัวลงเพื่อถ่ายทอดคุณความดีของผู้อื่นเข้าสู่ตนเองได้อย่างเต็มที่  คนที่มีความเคารพอาจขาดความถ่อมตนก็ได้ชอบเอาตัวเข้าไปเทียบด้วย  คอยคิดว่าข้าวิเศษกว่าทุกที

ลักษณะของผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน

  ครั้งหนึ่ง  พระสารีบุตรถูกพระภิกษุรูปหนึ่งใส่ความว่า  ทนงตนว่าเป็นอัครสาวกแล้วแกล้งมาเดินกระทบตน  พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามพระสารีบุตรในที่ประชุมสงฆ์ว่าเป็นจริงหรือไม่

  พระสารีบุตรทูลว่า  “ข้าพระพุทธเจ้ามีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ  ระมัดระวังตน  ประคองสติอันเป็นไปในกาย  เสมือนบุรุษประคองถาดซึ่งบรรจุน้ำมันอยู่เต็มเปี่ยม  และมีคนถือดาบอยู่เบื้องหลังพร้อมขู่ว่า  ถ้าน้ำมันหกจะประหารเสีย  ข้าพระองค์ประพฤติตนเสมือนผ้าเก่าสำหรับเช็ดภาชนะเสมือนโคที่ขาดเขาเสียแล้ว  เสมือนเด็กจัณฑาลที่พลัดเข้าไปในหมู่บ้านย่อมไม่มีอำนาจที่จะแกล้วกล้าอาจหาญประการใด……”

  เมื่อพระสารีบุตรพูดเช่นนี้พระภิกษุรูปนั้นก็เกิดความเร้าร้อนในสรีระเหมือนมีไฟมาเผาตัวอดรนทนไม่ได้  ต้องลุกขึ้นขอโทษพระสารีบุตร  และยอมรับสารภาพต่อหมู่สงฆ์ว่ากล่าวขู่ใส่ความพระสารีบุตร

  พระพุทธเจ้าสรรเสริญว่า  “พระสารีบุตรมั่นคงเหมือนแผ่นดิน  เหมือนเสาหิน  เป็นผู้ไม่แสดงอาการยินดียินร้าย  เป็นผู้คงที่และมีวัตรดี  เป็นผู้ใสสะอาดเหมือนน้ำที่ไม่มีฝุ่นหรือโคลนตมสังสารวัฏย่อมไม่มีแก่บุคคลเช่นนี้

มงคลที่  24

เรื่อง  “ความสันโดษทำให้เกิดสุข”

  สันโดษ  หมายถึง  ให้รู้จักพอ  รู้จักประมาณ

  ลักษณะของความสันโดษ มี 3  อย่าง  ดังต่อไปนี้

1.  สเกนสันโดษ  ยินดีตามมี  หมายถึงยินดีกับสิ่งที่คนมีอยู่แล้ว  บุคคลเมื่อพอใจในสิ่งใดเขาย่อมก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งในสิ่งนั้น

    สันโดษข้อนี้  จะเป็นเครื่องกำจัดความเกียจคร้านเบื่อหน่าย  และโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน

2.  สันเตนสันโดษ  ยินดีตามได้  หมายถึงยินดีกับของส่วนที่ตนได้มา  คือเมื่อแสวงหาประโยชน์อันใดแล้วได้เท่าไรก็พอใจเท่านั้น  ไม่กระวนกระวายเป็นทุกข์

คนที่ขาดสันโดษข้อนี้  มักจะคิดเสมอว่าสิ่งที่ตนไม่ได้มาย่อมดีกว่าที่มีอยู่เสมอ

3.  สเมนสันโดษ  ยินดีตามควร  หมายถึง  ยินดีกับของที่สมควรกับตนเท่านั้น  โดยพิจารณาจากหลัก  3  ประการ  ดังนี้

3.1ยถาลาภะ  ควรแก่ฐานะ  คือให้พิจารณาว่าเรามีฐานะเป็นอะไร

3.2ยถาพละ  ควรแก่สมรรถภาพ  คือคนเรามีความสามารถไม่เท่ากัน

3.3ยถาสารุป  ควรแก่ศีลธรรม  คือของใดก็ตามที่ควรกับฐานะของเรา  ควรแก่ความสามารถของเรา  แต่ถ้าไปยินดีกับของนั้นแล้วจะทำให้เราผิดศีลธรรมไม่เป็นคนลุแก่อำนาจความมักได้

ข้อเตือนใจ

  สันโดษเป็นคุณธรรมอันประเสริฐ  เป็นไปเพื่อความเจริญสุขทั้งแก่ตนเอง  ครอบครัวและสังคมประเทศชาติ  ถ้าแต่ละคนรู้จักสถานภาพของตนเอง  สำนึกในฐานะ  ความสามารถ  และความมีคุณธรรมของตนอยู่เสมอแล้ว  ความมีสันโดษจะเกิดขึ้นเอง

สิ่งที่คนทั่วไปไม่รู้จักพอ

1.  อำนาจวาสนา

2.  ทรัพย์สมบัติ

3.  อาหาร

4.  กามคุณ

นิทานสอนใจเรื่องความสันโดษ

มีสุนัจอดโซตัวหนึ่งเดินพลัดหลงทางเข้ามาในบ้าน  เจ้าของบ้านสงสารหาน้ำข้าวให้กินพอกินน้ำข้าวได้  7  วัน  วันที่  8  จะกินข้าว  พอเจ้าของบ้านหาข้าวให้กิน  กินข้าวได้  7  วันวันที่  8  ก็จะกินกับ  พอเจ้าของบ้านหากับให้กิน  กินกับได้  7  วัน  วันที่  8  จะขึ้นโต๊ะกินร่วมกับเจ้าของบ้านจึงถูกไล่เพ่นออกจากบ้าน  เพราะมันเป็นโรคไม่รู้จักพอ

วิธีฝึกให้มีสันโดษ

1.  ให้หมั่นพิจารณาถึงความแก่  ความเจ็บ  ความตาย  อยู่ตลอดเวลา  ว่าเราจะหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ไปไม่ได้  เมื่อพิจารณาบ่อยเข้าความโลภก็จะลดลงความสันโดษก็จะเกิดขึ้น

2.  ให้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร  กินเพื่ออยู่ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน  เป็นการฝึกสันโดษขั้น  พื้นฐาน

3.  ให้หมั่นให้ทานอยู่เสมอ ๆ เป็นการฆ่าความตระหนี่  ความโลกในตัว

4.  ให้หมั่นรักษาศีล  โดยเฉพาะศีล  8  จะช่วยให้เกิดความสันโดษในหลายเรื่อง

5.  ให้หมั่นทำสมาธิเป็นประจำ  จิตใจจะสงบนุ่มนวลขึ้น  ความอยากได้ในทางที่ไม่ชอบก็จะได้ค่อย ๆ หายไป

อานิสงส์การมีสันโดษ

1.  ทำให้ตัดกังวลต่าง ๆ เสียได้  6.  ทำให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง

2.  ทำให้ออกห่างจากอกุศลธรรม  7.  ทำให้มีกำลังใจสูง  รู้ว่าสิ่งใด  ไม่ดีก็ไม่ฝ่าฝืนทำ

3.  ทำให้มีความสบายกายสบายใจ  8.  นำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ตน

4.  ทำให้พ้นจากความผิดพบแต่สิ่งที่ถูกต้อง  9.  ทำให้มีโอกาสกระทำแต่สิ่งดี ๆ

5.  ทำให้ศีลธรรมเกิดในใจได้ง่าย    ยิ่ง  ๆ  ขึ้น

10. ได้ชื่อว่านำพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 512713เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

เรื่อง  มีความอดทน  (มงคลที่  27)

  ความอดทน  มาจากคำว่า  ขันติ  หมายถึง  การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้  ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม  มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน  ไม่หวั่นไหว  ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป  ของเสีย  ของหอม  ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม

  งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่  ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว  ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมข้อหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้  คุณธรรมข้อนั้นคือ  ขันติ

  ถ้าขาดขันติเสียแล้ว  จะไม่มีงานชิ้นใดสำเร็จได้เลย  เพราะขันติเป็นคุณธรรมสำหรับทั้งต่อต้านความท้อถอยหดหู่  ขับเคลื่อนเร่งเร้าให้เกิดความขยันและทำให้เห็นอุปสรรคต่าง ๆ เป็นเครื่องท้าทายความสามารถ  ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า  ความสำเร็จของงานทุกชิ้น  ทั้งทางโลกและทางธรรม  คืออนุสาวรีย์ของขันติทั้งสิ้น

  โดยเหตุนี้  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

  “ยกเว้นปัญญาแล้ว  เราสรรเสริญว่าขันติเป็นคุณธรรมอย่างยิ่ง

วิธีฝึกให้มีความอดทน

  1.  ต้องคำนึงถึงหิริโอตตัปปะให้มาก  เมื่อมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอย่างเต็มที่  ความอดทนย่อมจะเกิดขึ้น  ดังตัวอย่างในเรื่องของพระเตมีย์ใบ้

  เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  มีอยู่ชาติหนึ่ง  พระองค์ประสูติเป็นโอรสกษัตริย์  ทรงพระนามว่าพระเตมีย์  ขณะมีพระชนม์ได้  6 – 7 ชันษา  ได้เห็นพระราชบิดาสั่งประหารโจรโดยใช้ไฟครอกให้ตาย  ด้วยบุญบารมีที่ทำมาดีแล้ว  ทำให้พระเตมีย์ระลึกชาติได้ว่าภพในอดีตพระองค์ก็เคยเป็นกษัตริย์  และก็เคยประหารโจร  ทำให้ต้องตกนรกอยู่ช้านาน  จึงคิดว่า  ถ้าชาตินี้เราต้องเป็นกษัตริย์อีก  ก็ต้องฆ่าโจรอีก  แล้วก็จะตกนรกอีก

  ตั้งแต่วันนั้นมา  พระเตมีย์จึงแกล้งทำเป็นใบ้  ทำเป็นง่อยเปลี้ยเสียขา  ไม่ขยับเขยื้อนร่างกายพระราชบิดาจะเอาขนมเอาของเล่นมาล่อ  ก็ไม่สนใจ  จะเอามดมาไต่ไรมากัด  เอาไฟมาเผารอบตัวให้ร้อน  เอาช้างมาทำท่าจะแทงก็เฉย  ครั้งถึงวัยหนุ่ม  เอาสาว ๆ  สวย ๆ มาล่อ  ก็เฉย  เพราะคำนึงถึงภัยในนรกหิริโอตตัปปะเกิดขึ้นเต็มที่  จึงมีความอดทนอยู่ได้

  นานวันเข้าพระราชบิดาเห็นว่า  ถ้าเอาพระเตมีย์ไว้ก็จะเป็นกาลกิณีแก่บ้านเมือง  จึงสั่งให้คนนำไปประหารเสียนอกเมือง  เมื่อออกมาพ้นเมืองแล้ว  พระเตมีย์ก็แสดงตัวว่าไม่ได้พิการแต่อย่างใด  มีพละกำลังสมบูรณ์พร้อม  แล้วก็ออกบวช  ต่อมาพระราชบิดา  ญาติพี่น้อง  ประชาชนก็ได้ออกบวชตามไปด้วย  และได้สำเร็จฌานสมบัติกันเป็นจำนวนมาก

  2.  ต้องรู้จักเชิดอารมณ์ที่มากระทบนั้นให้สูงขึ้น  คือนึกเสียว่าที่เขาทำแก่เราอย่างนั้นน่ะดีแล้ว  เช่น  เขาด่าก็นึกเสียว่าเขาตี  เขาตีก็นึกเสียว่าเขาฆ่า  เมียมีชู้ยังดีกว่าเมียที่ฆ่าผัว  ผัวมีเมียน้อยก็ยังดีกว่าผัวที่ฆ่าเมีย  เพราะเห็นแก่หญิงอื่น  ถ้าเปรียบกับการชกมวย  การสู้แบบนี้ก็คือการหลบลบหมัดของคู่ต่อสู้  โดยวิธีหมอบลงต่ำให้หมัดเขาคร่อมหัวเราไปเสีย  เราไม่เจ็บตัว  ตัวอย่างในเรื่องนี้  ดูได้จากพระปุณณะเถระ

  พระปุณณะเดิมเป็นชาวสุนาปรันตะ  ไปค้าขายที่เมืองสาวัตถี  ได้ฟังเทศน์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงออกบวช

  ครั้นบวชแล้วการทำสมาธิภาวนาไม่ได้ผล  เพราะไม่คุ้นกับสถานที่  ท่านคิดว่าภูมิอากาศที่บ้านเดิมของท่านเหมาะกับตัวท่านมากกว่า  จึงทูลว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตรัสถามว่า

  “เธอแน่ใจหรือปุณณะ  คนชาวสุนาปรันตะนั้นดุร้ายมากนัก  ทั้งหยาบคายด้วย  เธอจะทนไหวหรือ

  “ไหวพระเจ้าข้า”

  “นี่ปุณณะ  ถ้าคนพวกนั้นเขาด่าเธอ  เธอจะมีอุบายอย่างไร

  “ข้าพเจ้าก็คิดว่าถึงเขาจะด่าก็ยังดีกว่าเขาตบต่อยด้วยมือพระเจ้าข้า”

  “ถ้าเผื่อเขาต่อยเอาล่ะ  ปุณณะ

  “ก็ยังดีพระเจ้าข้า  ดีกว่าเขาเอาก้อนดินกว้างเอา

  “ถ้าเขาเอาก้อนดินกว้างเอาล่ะ”

  “ข้าพระองค์ก็จะคิดว่า  ก็ยังดีพระเจ้าข้า  ดีกว่าเอาไม้ตะพดตีเอา

  “เออ  ถ้าเผื่อเขาหวดด้วยตะพดล่ะ

  “ก็ยังดีพระเจ้าข้า  ดีกว่าถูกเขาแทงหรือฟังด้วยหอกดาบ

  “เอาล่ะ  ถ้าเผื่อคนพวกนั้นเขาจะฆ่าเธอด้วยหอกด้วยดาบล่ะ  ปุณณะ

  “ข้าพระองค์ก็จะคิดว่า  มันก็เป็นการดีเหมือนกันพระเจ้าข้า

  “ดีอย่างไร  ปุณณะ

  “ก็คนบางพวกที่คิดอยากตาย  ยังต้องเสียเวลาเที่ยวแสวงหาศัสตราวุธมาฆ่าตัวเอง  แต่ข้าพระองค์มีโชคดีกว่าคนพวกนั้น  ไม่ต้องเสียเวลาไปเที่ยวหาศัสตราวุธอย่างเขา

  “ดีมาก  ปุณณะ  เธอคิดได้ดีมาก  เป็นอันตกลง  เราอนุญาตให้เธอไปพำนักทำความเพียรที่ตำบลธรรมกายไปตามลำดับ  จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

  นี่คือเรื่องของพระปุณณะ  นักอดทนตัวอย่าง  ซึ่งอดทนได้โดยวิธีเชิดอารมณ์ที่มากระทบนั้นให้สูงขึ้น

  3.  ต้องฝึกสมาธิมาก ๆ เพราะทั้งขันติและสมาธิเป็นคุณธรรมที่เกื้อหนุนกัน  ขันติจะหนักแน่นก็ต้องมีสมาธิมารองรับ  สมาธิจะก้าวหน้าก็ต้องมีขันติเป็นพื้นฐาน  ขันติอุปมาเหมือนมือซ้าย  สมาธิอุปมาเหมือนมือขวา  จะล้างมือ  มือทั้งสองข้างจะต้องช่วยกันล้าง  จึงจะสะอาดดี

  มีตัวอย่างของผู้มีความอดทนเป็นเลิศอีกท่านหนึ่ง  คือพระโลมสนาคเถระ

  พระโลมสนาคเถระ  เป็นพระที่ทำสมาธิจนสามารถระลึกชาติได้แต่ยังไม่หมดกิเลส  วันหนึ่งท่านนั่งสมาธิอยู่กลางแจ้ง  พอถึงตอนเที่ยงแดดส่องเหงื่อไหลท่วมตัวท่าน  พวกลูกศิษย์จึงเรียนท่านว่า

  “ท่านขอรับ  นิมนต์ท่านนั่งในที่ร่มเถิด  อากาศเย็นดี

  “พระเถระกล่าวตอบว่า”

  “คุณ  ฉันนั่งในที่นี้  เพราะกลัวต่อความร้อนนั่นเอง

  แล้วนั่งพิจารณาอเวจีมหานรกเรื่อยไป  เพราะเคยได้ตกนรกมาหลายชาติ  เห็นว่าความร้อนในอเวจีที่เคยตก  ร้อนกว่านี้หลายร้อยหลายพันเท่า  ท่านจึงไม่ลุกหนี  ตั้งใจทำสมาธิต่อไป  จนในที่สุดได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

  พวกเราก็ควรนำมาเป็นข้อคิดเตือนใจว่า

  “ที่อ้างร้อนนักหนาวนัก  ขี้เกียจภาวนา  ระวังจะไปร้อนหมกไหม้ในอเวจี  หนาวเสียดกระดูกใน  โลกันต์

อานิสงส์การมีความอดทน

1.  ทำให้กุศลธรรมทุกชนิดเจริญขึ้นได้

2.  ทำให้เป็นคนมีเสน่ห์  เป็นที่รักของคนทั้งหลาย

3.  ทำให้ตัดรากเหง้าแห่งความชั่วทั้งหลายได้

4.  ทำให้อยู่เย็นเป็นสุขทุกอิริยาบถ

5.  ชื่อว่าได้เครื่องประดับอันประเสริฐของนักปราชญ์

6.  ทำให้ศีลและสมาธิตั้งมั่น

7.  ทำให้ได้พรหมวิหารโดยง่าย

8.  ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่ายฯลฯ

1.  อคติ 4  แปลว่า  ทางที่ไม่ควรดำเนิน  หมายถึง  ความลำเอียงความไม่ยุติธรรม  อันเป็นข้อห้ามสำหรับ  ผู้ปกครองและผู้บังคับบัญชาทั้งปวง  สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความลำเอียงคือความยุติธรรม  ฉะนั้นบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องหรือให้คุณให้โทษผู้อื่นจึงควรหลีกเลี่ยงอคติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่หมู่คณะและ  ส่วนรวม

ลำดับที่

ตัวอย่างการกระทำ

ผลเสีย

ข้อเสนอแนะวิธีแก้ไข

ฉันทาคติ

พ่อแม่รักน้องมากกว่าพี่

-  พี่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่

-  พี่ทำตัวประชดพ่อแม่

-  พี่ทำตัวไม่ดีต่อพ่อแม่

พ่อแม่ต้องรักพี่และน้องเท่าๆ  กัน

โทสาคติ

เมื่อเราโกรธเพื่อนเวลาให้ของรางวัลมักจะให้ของไม่ดีหรือให้น้อยกว่าหรือให้หลังคนอื่น

-  ตัวเราจิตไม่สงบ

-  เพื่อนเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ

-  ควรปฏิบัติเช่นเดียวกับเพื่อนคนอื่น ๆ

โมหาคติ

ในขณะที่เห็นคนหน้าตาดีก็คิดว่านิสัยดี  แต่เมื่อเห็นคนหน้าตาไม่ดีคิดว่าเขาเป็นคนร้าย

-  ตัวเราอาจถูกหลอกลวงได้ง่าย

-  ไม่ยุติธรรมต่อคนที่หน้าตาไม่ดี

-  ไม่ควรมองคนที่หน้าตา  ต้องศึกษานิสัยใจคอกันก่อน

ภยาคติ

เช่นการช่วยเหลือลูกหลาน  ผู้มีอำนาจเมื่อเขาทำผิดกฏจราจรเขาทำผิดกฎจราจรโดยให้โทษสถานเบา

-  ทำให้เด็กเกิดความ  หึกเหิมไม่เกรงกลัวกฎหมาย

-  ควรปฏิบัติตามกฎหมายและควรอบรมสั่งสอนให้เขามีกฎระเบียบมากขึ้น

สรุป  ผลของการกระทำที่มีอคติ4

1.  ทำให้ไม่มีเพื่อน

2.  ทำให้สังคมขาดความเป็นธรรม

3.  ทำให้สุขภาพจิตเสื่อมโทรม

4.  ทำให้เกิดการแตกความสามัคคีในหมู่คณะ

ลำดับที่

พฤติกรรมที่ไม่มีอคติ  4

ตัวอย่างการกระทำ

ผล

1

ฉันทาคติ

ลำเอียงเพราะความรัก

พ่อแม่แบ่งมรดกให้ลูก ๆ ทุกคน  โดยไม่ลำเอียงให้คนใดคนหนึ่งมากกว่า

จะทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่ญาติพี่น้อง

2

โทสาคติ

ลำเอียงเพราะความโกรธ

ในกรณีแจกรางวัลควรแจกรางวัลให้ทุกคนเท่า ๆ กัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

จะเกิดความยุติธรรมในหมู่คณะ

3

โมหาคติ

ลำเอียงเพราะความหลง

ในกรณีที่ครูตรวจกระดาษคำตอบของนักเรียนต้องตรวจอย่างละเอียดและไม่ลำเอียง

จะเกิดความยุติธรรมในห้องเรียน

4

ภยาคติ

ลำเอียงเพราะความกลัว

เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม  ผู้กระทำผิดโดยไม่เกรงกลัวว่าบุคคลนั้นจะมีอำนาจบารมีสูงเพียงใด

เกิดความยุติธรรมในสังคม























พฤติกรรมที่สัมพันธ์กับหลักธรรม

หลักธรรม

พฤติกรรมที่ปฏิบัติได้

ผลการปฏิบัติ

ทาน

รู้จักการให้การแบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน

มีความสุขทางใจ

ศีล

ปฏิบัติตามกฎระเบียบวินัยไม่ฆ่าสัตว์

เป็นคนมีระเบียบวินัยกับการไม่เบียดเบียน

บริจาค

บริจาคทรัพย์

ทำให้ผู้ได้รับบริจาคมีฐานะดีขึ้น

อาชวะ

ไม่พูดโกหก

มีความเชื่อถือ  ได้รับความไว้วางใจ

มัทวะ

มีสัมมาคารวะ

มีแต่คนรักใคร่

ตบะ

มีความเพียรในการทำงาน

ประสบความสำเร็จในการทำงาน

อักโกธะ

ร่าเริงตลอดเวลา

ทำให้สุขภาพจิตดี  มีคนรักใคร่

อวิหิงสา

ไม่เบียดเบียนผู้อื่น

ทำให้เป็นที่เคารพของผู้อื่น

ขันติ

อดทน  เข้มแข็ง  ไม่ย่อท้อ

ได้มาซึ่งความสำเร็จ

อวิโรธนะ

ไม่ประพฤติผิดทำนองคลองธรรม

มีคนสรรเสริญยกย่อง

สิ่งที่ไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง มี 7  ประการ  ในมงคลชีวิตบอกมาให้ครบ

1.1  ไม่ประมาทในเวลา

1.2  ไม่ประมาทในความไม่มีโรค

1.3  ไม่ประมาทในการงาน

1.4  ไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม

1.5  ไม่ประมาทในวัย

1.6  ไม่ประมาทในชีวิต

1.7  ไม่ประมาทในการศึกษา

2.  ความไม่ประมาทในธรรมชั้นต่ำ  ได้แก่การไม่ประพฤติปฏิบัติ  ความชั่ว  4  ประการ  ได้แก่อะไรบ้าง

2.1  ในการละกายทุจริต

2.2  ในการละมโนทุจริต

2.3  ในการละวจีทุจริต

2.4  ในการละความเห็นผิด

3.  ความไม่ประมาทในธรรมชั้นสูง  ได้แก่การปฏิบัติตนเพื่อรักษาจิต  4  ประการ  ได้แก่อะไรบ้าง

3.1  ระวังรักษาจิตไม่ให้กำหนด

3.2  ระวังรักษาจิตไม่ให้ขัดเคือง

3.3  ระวังรักษาจิตไม่ให้ลุ่มหลง

3.4  ระวังรักษาจิตไม่ให้มัวเมา

  เรื่อง  ความอ่อนน้อมถ่อมตน

1.  สิ่งที่คนทั่วไปหลงถือเอาแบบปฏิบัติมี  6  ประการ  คืออะไรบ้าง

1.1ชาติตระกูล

1.2ยศตำแหน่ง

1.3รูปร่างหน้าตา

1.4ความรู้ความสามารถ

1.5ทรัพย์สมบัติ

1.6บริวาร

2.  บอกโทษของการอวดดื้อถือดีมาให้ครบ  และควรมีวิธีแก้ความอวดดื้อถือดีนี้อย่างไร

1.  ทำให้เสียคน

2.  ทำให้เสียหมู่คณะ

3.  ทำให้เสียมิตร

ควรแก้ความอวดดื้อถือดีดังนี้

1.  รู้จักมองสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผล

2.  รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

3.  ให้เกียรติบุคคลรอบข้างด้วยความจริงใจ

4.  รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

5.  บุคคลที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนมักจะได้รับตอบแทนเช่นไร 

5.1จะได้ยศถาบรรดาศักดิ์

5.2จะมีคนรักใคร่นับถือ

5.3มีแต่มิตร

เรื่องความอดทน

ความอดทน  จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จในชีวิตจริงหรือไม่เพราะเหตุใด

จริง  เพราะความอดทน  หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้  ไม่ว่าจะถูกกระทบ  กระทั่ง ด้วยสิ่งใด  ก็ยังมีความมั่นคงหนักแน่น  อันก่อให้เกิดความสำเร็จในชีวิตและการงาน

1.  ความอดทนมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

1.1ทำให้ศีล  สมาธิ  มั่นคง

1.2ทำให้กุศลธรรมทุกชนิดเจริญขึ้น

1.3ทำให้เป็นคนมีเสน่ห์เป็นที่รักของคนทั้งหลาย

1.4ตัดรากเหง้า  แห่งความชั่วทั้งหลายได้

1.5ทำให้อยู่เย็นเป็นสุขทุกอริยาบถ

1.6ทำให้ได้พรหมวิหารได้ง่าย

1.7ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ง่าย

2.  เห็นด้วยหรือไม่  คนที่มีความอดทนในการทำสมาธิ  จะก่อให้เกิดปัญญา  เพราะเหตุใด

เห็นด้วย  เพราะเมื่อสมาธินิ่งก็จะเกิดปัญญาพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงหรือรู้เท่าทันธรรมดาของสังขาร

3.  มีสำนวนไทยว่า  “ด้านได้  อายอด  และตื้อเท่านั้นที่ครองโลก”  สำนวนทั้งสองนี้มีความหมายแตกต่างจากความอดทนอย่างไร

ด้านได้  อายอด  สำนวนนี้  ไม่ต้องอาศัยความอดทนแต่อาศัยความกล้าก็จะทำให้ได้สิ่งที่ต้องการ  ส่วนความอดทน  ก็ต้องอาศัยการรอคอย  จังหวะเวลา  ตื้อเท่านั้นที่ครองโลก  สำนวนนี้ต้องอาศัยความพยายามเท่านั้นจึงจะสำเร็จ  ส่วนความอดทนก็ต้องรอจนกว่าจะได้สิ่งที่สมหวังไม่ช้าหรือเร็ว

4.  คนที่อดทนต้องเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เท่านั้น  และผู้ชายอดทนกว่าผู้หญิง  คนอ่อนแอ  ขี้โรคย่อมอดทนไม่ได้  คำกล่าวเช่นนี้จริงหรือไม่

ไม่จริง  เพราะ  ความอดทนไม่ได้อยู่ที่ร่างกายแต่อยู่ที่จิตใจ

5.  คนเราย่อมมีความอดทนไม่เท่ากัน  เราควรจะมีขีดสุดของความอดทนแค่ไหนเพียงไร  จงยกตัวอย่างสภาวะที่ทนไม่ได้

ขีดสุดของความอดทนอยู่ที่การฝึกอบรมจิตของแต่ละคนบางคนรู้จักยับยั้งความโกรธไว้ได้บางคนก็ยับยั้งความโกรธไม่ได้ผู้ที่สามารถยับยั้งความโกรธไว้ได้แสดงว่ามีการฝึกอบรมจิตให้โทสะมีน้อยลง  เพื่อชนะกิเลสของตนและผู้อื่น  ตัวอย่างสภาวะที่นักเรียนทนไม่ได้ เช่นถูกเพื่อนรังแก


  ประวัติผู้รวบรวมและเขียน

ชื่อสกุล    นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท