มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

อมตวาจา


 

อมตวาจา

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา

ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

บทที่ ๑

. คน

ปจฺเจกจิตฺตาปุถูสพฺพสตฺตา

ประดาสัตว์ต่างคนก็แต่ละจิตแต่ละใจ[๐๑.๐๑] (๒๗/๑๘๒๗∗)

คำสำคัญ (Tags): #อมตวาจา
หมายเลขบันทึก: 512597เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

.

คน

ปจฺเจกจิตฺตาปุถูสพฺพสตฺตา

ประดาสัตว์ต่างคนก็แต่ละจิตแต่ละใจ[๐๑.๐๑] (๒๗/๑๘๒๗∗)


นานาทิฏฺฐิเกนานยิสฺสสิเต

มนุษย์ทั้งหลายต่างความคิดต่างความเห็นกันท่านจะ

กำหนดให้คิดเห็นเหมือนกันหมดเป็นไปไม่ได้

ตัวเลขในวงเล็บคือ [หมวดที่. ภาษิตที่]คือที่มาในพระไตรปิฎก (เล่ม/ข้อ) [๐๑.๐๒] (๒๗/๗๓๐)


ยถาสกฺกาปฐวีสมายํ

กาตุมนุสฺเสนตถามนุสฺสา

แผ่นดินนี้ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใดมนุษย์ทั้งหลายจะทำให้เหมือนกันหมดทุกคนก็ไม่ได้ฉันนั้น[๐๑.๐๓] (๒๗/๗๓๑)


เยเนวเอโกลภเตปสํสํ

เตเนวอญฺโญลภเตนินฺทิตารํ

เหตุอย่างหนึ่งทำให้คนหนึ่งได้รับการสรรเสริญเหตุอย่างเดียวกันนั้นทำให้อีกคนหนึ่งได้รับการนินทา[๐๑.๐๔] (๒๗/๑๘๓๖)


ตเถเวกสฺสกลฺยาณํตเถเวกสฺสปาปกํ

ตสฺมาสพฺพํนกลฺยาณํสพฺพํวาปินปาปกํ

สิ่งเดียวกันนั่นแหละดีสำหรับคนหนึ่งแต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่งเพราะฉะนั้นสิ่งใดๆมิใช่ว่าจะดีไปทั้งหมดและก็มิใช่จะเสียไปทั้งหมด[๐๑.๐๕] (๒๗/๑๒๖)


อุกฺกฏฺเฐสูรมิจฺฉนฺติมนฺตีสุอกุตูหลํ

ปิยญฺจอนฺนปานมฺหิอตฺเถชาเตปณฺฑิตํ

เมื่อเกิดเหตุร้ายแรงย่อมต้องการคนกล้าหาญ

เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้นย่อมต้องการคนหนักแน่น

เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ย่อมต้องการคนที่รัก

เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้งย่อมต้องการบัณฑิต


อลโสคิหีกามโภคีสาธุ

อสญฺญโตปพฺพชิโตสาธุ

ราชาสาธุอนิสมฺมการี

โยปญฺฑิโตโกธโนตํสาธุ

คฤหัสถ์ชาวบ้านเกียจคร้านไม่ดี

บรรพชิตไม่สำรวมไม่ดีผู้ครองแผ่นดินไม่ใคร่ครวญก่อนทำไม่ดีบัณฑิตมักโกรธไม่ดี[๐๑.๐๗](๒๗/๒๑๗๕)


ทกฺขํคหปตํสาธุสํวิภชฺชญฺจโภชนํ

อหาโสอตฺถลาเภสุอตฺถพฺยาปตฺติอพฺยโถ

ผู้ครองเรือนขยันดีข้อหนึ่งมีโภคทรัพย์แล้วแบ่งปันดีข้อสองถึงทีได้ผลสมหมายไม่เหลิงลอยดีข้อสามถึงคราวสูญเสียประโยชน์ไม่หมดกำลังใจดีครบสี่[๐๑.๐๘] (๒๗/๑๑๗๕)


มชฺเชถยสํปตฺโต

ข้อหนึ่งได้ยศแล้วไม่พึงเมา

พฺยาเธปตฺตสํสยํ

ข้อสองถึงมีเหตุอาจถึงแก่ชีวิตไม่พึงใจเสีย

วายเมเถวกิจฺเจสุ

ข้อสามพึงพยายามทำกิจทั้งหลายเรื่อยไป

สํวเรวิวรานิ

ข้อสี่พึงระวังตนมิให้มีช่องเสีย[๐๑.๐๙] (๒๘/๒๒๖)


ทุลฺลโภองฺคสมฺปนฺโน

คนที่มีคุณสมบัติพร้อมทุกอย่างหาได้ยาก

สนนฺตายนฺติกุสุพฺภาตุณฺหียนฺติมโหทธิ

ห้วยน้ำน้อยไหลดังสนั่นห้วงน้ำใหญ่ไหลนิ่งสงบ

ยทูนกํตํสนติยํปูรํสนฺตเมวตํ

สิ่งใดพร่องสิ่งนั้นดังสิ่งใดเต็มสิ่งนั้นเงียบ

อฑฺฒกุมฺภูปโมพาโลรหโทปูโรวปณฺฑิโต

คนพาลเหมือนหม้อมีน้ำครึ่งเดียวบัณฑิตเหมือนห้วงน้ำที่เต็ม

โยวสฺสสตํชีเวกุสีโตหีนวีริโย

เอกาหํชีวิตํเสยฺโยวิริยํอารภโตทฬฺหํ

ผู้ใดเกียจคร้านหย่อนความเพียรถึงจะมีชีวิตอยู่ได้ร้อยปีก็ไม่ดีอะไรชีวิตของผู้เพียรพยายามจริงจังมั่นคงเพียงวันเดียวยังประเสริฐกว่า[๐๑.๑๒](๒๕/๑๘)


มาเสมาเสสหสฺเสนโยยเชถสตํสมํ

เอกญฺจภาวิตตฺตานํมุหุตฺตมปิปูชเย

สาเยวปูชนาเสยฺโยยญฺเจวสฺสสตํหุตํ

ผู้ใดใช้ทรัพย์จำนวนพันประกอบพิธีบูชาทุกเดือนสม่ำเสมอตลอดเวลาร้อยปีการบูชานั้นจะมีค่ามากมายอะไรการยกย่องบูชาบุคคลที่อบรมตนแล้วคนหนึ่งแม้เพียงครู่เดียวประเสริฐกว่า[๐๑.๑๓](๒๕/๑๘)


ชจฺจาวสโลโหติ

ใครๆจะเป็นคนเลวเพราะชาติกำเนิดก็หาไม่

ชจฺจาโหติพฺราหฺมโณ

ใครๆจะเป็นคนประเสริฐเพราะชาติกำเนิดก็หาไม่

กมฺมุนาวสโลโหติ

คนจะเลวก็เพราะการกระทำความประพฤติ

กมฺมุนาโหติพฺราหฺมโณ

คนจะประเสริฐก็เพราะการกระทำความประพฤติ[๐๑.๑๔] (๑๓/๗๐๗)

เนสาสภายตฺถสนฺติสนฺโต

สัตบุรุษไม่มีในชุมชนใดชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา[๐๑.๑๕](๑๕/๗๒๕)

กามกามาลปยนฺติสนฺโต

สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะอยากได้กาม[๐๑.๑๖](๒๕/๑๗)

สนฺโตเตเยวทนฺติธมฺมํ

ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรมผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ[๐๑.๑๗](๑๕/๗๒๕)

สุเขนผุฏฺฐาอถวาทุกฺเขน

อุจฺจาวจํปณฺฑิตาทสฺสยนฺติ

บัณฑิตได้สุขหรือถูกทุกข์กระทบก็ไม่แสดงอาการขึ้นๆลง[๐๑.๑๘](๒๕/๑๗)


เอวเมวมนุสฺเสสุทหโรเจปิปญฺญวา

โสหิตตฺถมหาโหติเนวพาโลสรีรวา

ในหมู่มนุษย์นั้นถึงแม้เป็นเด็กถ้ามีปัญญาก็นับว่าเป็นผู้ใหญ่แต่ถ้าโง่ถึงร่างกายจะใหญ่โตก็หาเป็นผู้ใหญ่ไม่[๐๑.๑๙](๒๗/๒๕๔)


เตนโสเถโรโหติเยนสฺสปลิตํสิโร

ปริปกฺโกวโยตสฺสโมฆชิณฺโณติวุจฺจติ

คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่เพียงเพราะมีผมหงอกก็หาไม่

ถึงวัยของเขาจะหง่อมก็เรียกว่าแก่เปล่า[๐๑.๒๐](๒๕/๒๙)


ยมฺหิสจฺจญฺจธมฺโมอหึสาสญฺญโมทโม

เววนฺตมโลธีโรโสเถโรติปวุจฺจติ

ส่วนผู้ใดมีสัจจะมีธรรมมีอหิงสามีสัญญมะมีทมะผู้นั้นแลเป็นปราชญ์สลัดมลทินได้แล้วเรียกได้ว่าเป็นผู้ใหญ่


นคฺคจริยาชฏาปงฺกา

นานาสกาตณฺฑิลสายิกาวา

รโชชลฺลํอุกฺกุฏิกปฺปธานํ

โสเธนฺติมจฺจํอวิติณฺณกงฺขํ

มิใช่การประพฤติตนเป็นชีเปลือยมิใช่การเกล้าผมทรงชฎามิใช่การบำเพ็ญตบะนอนในโคลนตมมิใช่การอดอาหารมิใช่การนอนกับดินมิใช่การเอาฝุ่นทาตัวมิใช่การตั้งท่านั่งดอกที่จะทำให้คนบริสุทธิ์ได้ในเมื่อความสงสัยยังไม่สิ้น[๐๑.๒๒](๒๕/๒๐)


อลงฺกโตเจปิสมํจเรยฺย

สนฺโตทนฺโตนิยโตพฺรหฺมจารี

สพฺเพสุภูเตสุนิธายทณฺฑํ

โสพฺราหฺมโณโสสมโณภิกฺขุ

ส่วนผู้ใดถึงจะตกแต่งกายสวมใส่อาภรณ์แต่หากประพฤติชอบเป็นผู้สงบฝึกอบรมตนแน่วแน่เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐเลิกละการเบียดเบียนปวงสัตว์ทั้งหมดแล้วผู้นั้นแลจะเรียกว่าเป็นพราหมณ์เป็นสมณะหรือเป็นพระภิกษุก็ได้ทั้งสิ้น[๐๑.๒๓](๒๕/๒๐)


โยพาโลมญฺญติพาลฺยํ

ปณฺฑิโตวาปิเตนโส

พาโลปณฺฑิตมานี

เวพาโลติวุจฺจติ

ผู้ใดเป็นพาลรู้ตัวว่าเป็นพาลก็ยังนับว่าเป็นบัณฑิตได้บ้างส่วนผู้ใดเป็นพาลแต่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิตผู้นั้นแลเรียกว่าเป็นพาลแท้ๆ[๐๑.๒๔](๒๕/๑๕)


สาธุโขปณฺฑิโตนามเตฺววอติปณฺฑิโต

อันว่าบัณฑิตนั้นดีแน่แต่ว่าบัณฑิตเลยเถิดไปก็ไม่ดี[๐๑.๒๕](๒๗/๙๘)


หิสพฺเพสุฐาเนสุปุริโสโหติปณฺฑิโต

อิตฺถีปิปณฺฑิตาโหติตตฺถตตฺถวิจกฺขณา

บุรุษจะเป็นบัณฑิตในทุกสถานก็หาไม่สตรีมีปัญญาหยั่งเห็นในการณ์นั้นๆก็เป็นบัณฑิต[๐๑.๒๖](๒๗/๑๑๔๑)


หิสพฺเพสุฐาเนสุปุริโสโหติปณฺฑิโต

อิตฺถีปิปณฺฑิตาโหติลหุมตฺถํวิจินฺติกา

บุรุษจะเป็นบัณฑิตในทุกสถานก็หาไม่สตรีคิดการได้ฉับไวก็เป็นบัณฑิต[๐๑.๒๗](๒๗/๑๑๔๒)

ยสํลทฺธานทุมฺเมโธอนตฺถํจรติอตฺตโน

อตฺตโนปเรสญฺจหึสายปฏิปชฺชติ

คนทรามปัญญาได้ยศแล้วย่อมประพฤติแต่การอันไม่เกิดคุณค่าแก่ตนปฏิบัติแต่ในทางที่เบียดเบียนทั้งตนและคนอื่น[๐๑.๒๘](๒๗/๑๒๒)


อุชฺฌตฺติพลาพาลา

ขุมกำลังของคนพาลคือการจ้องหาโทษของคนอื่น

นิชฺฌตฺติพลาปณฺฑิตา

ขุมกำลังของบัณฑิตคือการไตร่ตรองโดยพินิจ[๐๑.๒๙](๒๓/๑๑๗)


นินฺทนฺติตุณฺหิมาสินํ

คนนั่งนิ่งเขาก็นินทา

นินฺทนฺติพหุภาสินํ

คนพูดมากเขาก็นินทา

มิตภาณิมฺปินินฺทนฺติ

แม้แต่คนพูดพอประมาณเขาก็นินทา

นตฺถิโลเกอนินฺทิโต

คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก[๐๑.๓๐](๒๕/๒๗)


จาหุภวิสฺสติเจตรหิวิชฺชติ

เอกนฺตํนินฺทิโตโปโสเอกนฺตํวาปสํสิโต

คนที่ถูกนินทาอย่างเดียวหรือได้รับการสรรเสริญอย่างเดียวไม่เคยมีมาแล้วจักไม่มีต่อไปถึงในขณะนี้ก็ไม่มี[๐๑.๓๑](๒๕/๒๗)


ยญฺเจวิญฺญูปสํสนฺติอนุวิจฺจสุเวสุเว

โกตํนินฺทิตุมรหติ

แต่ผู้ใดวิญญูชนพิจารณาดูอยู่ทุกวันๆแล้วกล่าวสรรเสริญ … ผู้นั้นใครเล่าจะควรติเตียนเขาได้[๐๑.๓๒](๒๕/๒๗)

ครหาวเสยฺโยวิญฺญูหิยญฺเจพาลปฺปสํสนา

วิญญูชนตำหนิดีกว่าคนพาลสรรเสริญ[๐๑.๓๓](๒๖/๓๘๒)


ปริภูโตมุทุโหติอติติกฺโขเวรวา

อ่อนไปก็ถูกเขาดูหมิ่นแข็งไปก็มีภัยเวร[๐๑.๓๔](๒๗/๑๗๐๓)


อนุมชฺฌํสมาจเร

พึงประพฤติให้พอเหมาะพอดี[๐๑.๓๕](๒๗/๑๗๐๓)


. ฝึกตน-รับผิดชอบตน

สนาถาวิหรถมาอนาถา

จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจอย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง[๐๒.๐๑](๒๔/๑๗)

อตฺตาหิอตฺตโนนาโถ

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน[๐๒.๐๒](๒๕/๒๒)

อตฺตนาหิสุทนฺเตนนาถํลภติทุลฺลภํ

มีตนที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละคือได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก[๐๒.๐๓](๒๕/๒๒)

อตฺตาหิกิรทุทฺทโม

เป็นที่รู้กันว่าตนนี่แหละฝึกได้ยาก[๐๒.๐๔](๒๕/๒๒)

อตฺตานํทมยนฺติปณฺฑิตา

บัณฑิตย่อมฝึกตน[๐๒.๐๕](๒๕/๑๖)

ฝึกตน-รับผิดชอบตน

อตฺตาสุทนฺโตปุริสสฺสโชติ

ตนที่ฝึกดีแล้วเป็นเครื่องรุ่งเรืองของคน[๐๒.๐๖](๑๕/๖๖๕)

นตฺถิอตฺตสมํเปมํ

รักอื่นเสมอด้วยรักตนไม่มี[๐๒.๐๗](๑๕/๒๙)

อตฺตาหิปรมํปิโย

ตนแลเป็นที่รักอย่างยิ่ง

ฝึกตน-รับผิดชอบตน[๐๒.๐๘](๒๓/๖๑)

อตฺตานญฺเจปิยํชญฺญานํปาเปนสํยุเช

ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รักก็ไม่ควรเอาตนนั้นไปพัวพันกับความชั่ว[๐๒.๐๙](๑๕/๓๓๖)


รกฺเขยฺยนํสุรกฺขิตํ

ควรรักษาตนนั้นไว้ให้ดี[๐๒.๑๐] (๒๕/๒๒)

อตฺตานํอุปหตฺวานปจฺฉาอญฺญวิหึสติ

คนทำร้ายตนเองก่อนแล้วจึงทำร้ายผู้อื่นภายหลัง[๐๒.๑๑] (๒๒/๓๒๕)

โยรกฺขติอตฺตานํรกฺขิโตตสฺสพาหิโร

ผู้ใดรักษาตนได้ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันได้รับการรักษาด้วย[๐๒.๑๒] (๒๒/๓๒๕)

ตสฺมารกฺเขยฺยอตฺตานํอกฺขโตปณฺฑิโตสทา

ฉะนั้นบัณฑิตไม่ควรขุดโค่นความดีของตนเสียพึง

รักษาตนไว้ให้ได้ทุกเมื่อ[๐๒.๑๓] (๒๒/๓๒๕)

อตฺตนากตํปาปํอตฺตนาสงฺกิลิสฺสติ

ตนทำชั่วตัวก็เศร้าหมองเอง

อตฺตนาอกตํปาปํอตฺตนาวิสุชฺฌติ

ตนไม่ทำชั่วตัวก็บริสุทธิ์เอง[๐๒.๑๔] (๒๕/๒๒)

สุทฺธิอสุทฺธิปจฺจตฺตํ

ความบริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตัว

นาญฺโญอญฺญวิโสธเย

คนอื่นทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้[๐๒.๑๕] (๒๕/๒๒)

นตฺถิโลเกรโหนาม

ชื่อว่าที่ลับไม่มีในโลก[๐๒.๑๖] (๒๐/๔๗๙)

อตฺตาเตปุริสชานาติสจฺจํวายทิวามุสา

แน่ะบุรุษ! จริงหรือเท็จตัวท่านเองย่อมรู้[๐๒.๑๗] (๒๐/๔๗๙)

สุกรานิอสาธูนิอตฺตโนอหิตานิ

ยํเวหิตญฺจสาธุญฺจตํเวปรมทุกฺกรํ

กรรมไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตนทำได้ง่าย

ส่วนกรรมใดดีและเป็นประโยชน์กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง[๐๒.๑๘] (๒๕/๒๒)

กลฺยาณํวตโภสกฺขิอตฺตานํอติมญฺญสิ

ท่านเอ๋ย! ท่านก็สามารถทำดีได้ไยจึงมาดูหมิ่นตนเองเสีย[๐๒.๑๙] (๒๐/๔๗๙)

เวปิยํเมติชนินฺทตาทิโส

อตฺตํนิรงฺกจฺจปิยานิเสวติ

มัวพะวงอยู่ว่านี่ของเราชอบนี่ของเรารักแล้วปล่อยปละละเลยตนเองเสียคนอย่างนี้จะไม่ได้ประสบสิ่งที่ชอบสิ่งที่รัก[๐๒.๒๐] (๒๘/๓๗๕)

อตฺตาเสยฺโยปรมาเสยฺโย

ตนเองนี่แหละสำคัญกว่าสำคัญกว่าเป็นไหนๆ

ลพฺภาปิยาโอจิตตฺเตนปจฺฉา

ตระเตรียมตนไว้ให้ดีก่อนแล้วต่อไปก็จะได้สิ่งที่รัก[๐๒.๒๑] (๒๘/๓๗๕)

ตํชิตํสาธุชิตํยํชิตํอวชิยฺยติ

ชัยชนะใดกลับแพ้ได้ชัยชนะนั้นไม่ดี

ตํโขชิตํสาธุชิตํยํชิตํนาวชิยฺยติ

ชัยชนะใดไม่กลับแพ้ชัยชนะนั้นแลเป็นชัยชนะที่ดี[๐๒.๒๒] (๒๗/๗๐)

อตฺตาหเวชิตํเสยฺโย

ชนะตนนี่แลดีกว่า[๐๒.๒๓] (๒๕/๑๘)

โยสหสฺสํสหสฺเสนสงฺคาเมมานุเสชิเน

เอกญฺจเชยฺยมตฺตานํเวสงฺคามชุตฺตโม

ถึงผู้ใดจะชนะเหล่าชนได้พันคนพันครั้งในสงครามก็หาชื่อว่าเป็นผู้ชนะยอดเยี่ยมไม่ส่วนผู้ใดชนะตนคนเดียวได้ผู้นั้นแลชื่อว่าผู้ชนะยอดเยี่ยมในสงคราม[๐๒.๒๔] (๒๕/๑๘)

อตฺตนาโจทยตฺตานํ

จงเตือนตนด้วยตนเอง[๐๒.๒๕] (๒๕/๓๕)

ปฏิมํเสตมตฺตนา

จงพิจารณา(ตรวจสอบ) ตนด้วยตนเอง[๐๒.๒๖] (๒๕/๓๕)

ยทตฺตครหีตทกุพฺพมาโน

ติตนได้ด้วยข้อใดอย่าทำข้อนั้น[๐๒.๒๗] (๒๕/๔๐๙)

อตฺตานญฺเจตถากยิรายถญฺญมนุสาสติ

ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใดก็ควรทำตนฉันนั้น[๐๒.๒๘] (๒๕/๒๒)

สุทสฺสํวชฺชมญฺเญสํ

โทษคนอื่นเห็นง่าย

อตฺตโนปนทุทฺทสํ

แต่โทษตนเห็นยาก[๐๒.๒๙] (๒๕/๒๘)

ปเรสํหิโสวชฺชานิโอปุนาติยถาภุสํ

โทษคนอื่นเที่ยวกระจายเหมือนโปรยแกลบ

อตฺตโนปนฉาเทติกลึวกิตวาสโฐ

แต่โทษตนปิดไว้เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้[๐๒.๓๐] (๒๕/๒๘)

อตฺตานเมวปฐมํปฏิรูเปนิเวสเย

อถญฺญมนุสาเสยฺยกิลิสฺเสยฺยปณฺฑิโต

ทำตนนี่แหละให้ตั้งอยู่ในความดีอันสมควรก่อนจากนั้นจึงค่อยพร่ำสอนผู้อื่นบัณฑิตไม่ควรมีข้อมัวหมอง[๐๒.๓๑] (๒๕/๒๒)

อตฺตานํนาติวตฺเตยฺย

ไม่ควรลืมตน[๐๒.๓๒] (๒๗/๒๓๖๙)

นาญฺญนิสฺสายชีเวยฺย

ไม่พึงอาศัยผู้อื่นยังชีพ[๐๒.๓๓] (๒๕/๑๓๔)

อตฺตตฺถปญฺญาอสุจีมนุสฺสา

พวกคนสกปรกคิดเอาแต่ประโยชน์ของตัว[๐๒.๓๔] (๒๕/๒๙๖)

ปเรสํวิโลมานิปเรสํกตากตํ

ไม่ควรใส่ใจคำแสลงหูของผู้อื่นไม่ควรแส่มองธุระที่เขาทำและยังไม่ทำ

อตฺตโนอเวกฺเขยฺยกตานิอกตานิ

ควรตั้งใจตรวจตราหน้าที่ของตนนี่แหละทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ทำ[๐๒.๓๕] (๒๕/๑๔)

อตฺตทตฺถํปรตฺเถนพหุนาปิหาปเย

การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นถึงจะมากก็ไม่ควรให้เป็นเหตุทำลายประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของตน

อตฺตทตฺถมภิญฺญายสทตฺถปสุโตสิยา

กำหนดประโยชน์ที่หมายของตนให้แน่ชัดแล้วพึงขวนขวายแน่วในจุดหมายของตน[๐๒.๓๖] (๒๕/๒๒)

 

บทที่ ๓

. จิตใจ

มโนปุพฺพงฺคมาธมฺมา

ธรรมทั้งหลายมีใจนำหน้า[๐๓.๐๑] (๒๕/๑๑)

จิตฺเตนนียติโลโก

โลกอันจิตย่อมนำไป[๐๓.๐๒] (๑๕/๑๘๑)

ผนฺทนํจปลํจิตฺตํทุรกฺขํทุนฺนิวารยํ

จิตมีธรรมชาติดิ้นรนกวัดแกว่งรักษายากห้ามยาก[๐๓.๐๓] (๒๕/๑๓)

สุทุทฺทสํสุนิปุณํยตฺถกามนิปาตินํ

จิตนั้นเห็นได้แสนยากละเอียดอ่อนยิ่งนักมักตกไปหาอารมณ์ที่ใคร่[๐๓.๐๔] (๒๕/๑๓)

วิหญฺญติจิตฺตวสานุวตฺตี

ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมเดือดร้อน[๐๓.๐๕] (๒๘/๓๑๖)

จิตฺตสฺสทมโถสาธุ

การฝึกจิตให้เกิดผลดี[๐๓.๐๖] (๒๕/๑๓)

จิตฺตํทนฺตํสุขาวหํ

จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้[๐๓.๐๗] (๒๕/๑๓)

จิตฺตํรกฺเขถเมธาวี

ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต[๐๓.๐๘] (๒๕/๑๓)

สจิตฺตมนุรกฺขถ

จงตามรักษาจิตของตน[๐๓.๐๙] (๒๕/๓๓)

จิตฺเตสงฺกิลิฏฺเฐทุคฺคติปาฏิกงฺขา

เมื่อจิตเศร้าหมองแล้วทุคติเป็นอันต้องหวัง[๐๓.๑๐] (๑๒/๙๒)

จิตฺเตอสงฺกิลิฏฺเฐสุคติปาฏิกงฺขา

เมื่อจิตไม่เศร้าหมองสุคติเป็นอันหวังได้[๐๓.๑๑] (๑๒/๙๒)

เยจิตฺตํสญฺญเมสฺสนฺติโมกฺขนฺติมารพนฺธนา

ผู้รู้จักควบคุมจิตใจจะพ้นไปได้จากบ่วงของมาร[๐๓.๑๒] (๒๕/๑๓)

ทิโสทิสํยนฺตํกยิราเวรีวาปนเวรินํ

มิจฺฉาปณิหิตํจิตฺตํปาปิโยนํตโตกเร

โจรกับโจรคนคู่เวรกันพบกันเข้าพึงทำความพินาศและความทุกข์ใดแก่กันจิตที่ตั้งไว้ผิดทำแก่คนเลวร้ายยิ่งกว่านั้น[๐๓.๑๓] (๒๕/๑๓)

ตํมาตาปิตากยิราอญฺเญวาปิจญาตกา

สมฺมาปณิหิตํจิตฺตํเสยฺยโสนํตโตกเร

จิตที่ตั้งไว้ถูกต้องทำคนให้ประเสริฐประสบผลดียิ่งกว่าที่มารดาบิดาหรือญาติทั้งหลายใดๆจะทำให้ได้[๐๓.๑๔] (๒๕/๑๓)

บทที่

. การศึกษา

อวิชฺชาปรมํมลํ

ความไม่รู้เป็นมลทินที่สุดร้าย[๐๔.๐๑] (๒๓/๑๐๕)

วิชฺชาอุปฺปตตํเสฏฺฐา

บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมาวิชชาประเสริฐสุด[๐๔.๐๒] (๑๕/๒๐๖)

อวิชฺชานิปตตํวรา

บรรดาสิ่งที่โรยราร่วงหายอวิชชาหมดไปได้เป็นดีที่สุด[๐๔.๐๓] (๑๕/๒๐๖)

 

วรมสฺสตราทนฺตาอาชานียาสินฺธวา

กุญฺชรามหานาคาอตฺตทนฺโตตโตวรํ

อัสดรอาชาไนยสินธพกุญชรและช้างหลวงฝึกแล้วล้วนดีเลิศแต่คนที่ฝึกตนแล้วประเสริฐยิ่งกว่านั้น[๐๔.๐๔] (๒๕/๓๓)

ทนฺโตเสฏฺโฐมนุสฺเสสุ

ในหมู่มนุษย์คนประเสริฐคือคนที่ฝึกแล้ว[๐๔.๐๕] (๒๕/๓๓)

โนเจอสฺสสกาพุทฺธิวินโยวาสุสิกฺขิโต

วเนอนฺธมหึโสวจเรยฺยพหุโกชโน

ถ้าไม่มีพุทธิปัญญาแลมิได้ศึกษาระเบียบวินัยคนทั้งหลายก็จะดำเนินชีวิตเหมือนดังกระบือบอดในกลางป่า[๐๔.๐๖] (๒๗/๑๐๔๘)

อปฺปสฺสุตายํปุริโสพลิวทฺโทวชีรติ

มํสานิตสฺสวฑฺฒนฺติปญฺญาตสฺสวฑฺฒติ

คนที่เล่าเรียนน้อยย่อมแก่เหมือนโคถึกเนื้อหนังของเขาพัฒนาแต่ปัญญาหาพัฒนาไม่[๐๔.๐๗] (๒๕/๒๑)

ตสฺสสํหีรปญฺญสฺสวิวโรชายเตมหา

เมื่ออ่อนปัญญาช่องทางวิบัติก็เกิดได้มหันต์[๐๔.๐๘] (๒๗/๒๑๔๑)

กิจฺฉาวุตฺติอสิปฺปสฺส

คนไม่มีศิลปวิทยาเป็นอยู่ยาก[๐๔.๐๙] (๒๗/๑๖๕๑)

ปุตฺเตวิชฺชาสุฐาปย

จงให้บุตรเรียนรู้วิทยา[๐๔.๑๐] (๒๗/๒๑๔๑)

สํวิรุฬฺเหถเมธาวีเขตฺเตพีชํววุฏฺฐิยา

คนมีปัญญาย่อมงอกงามดังพืชในนางอกงามด้วยน้ำฝน[๐๔.๑๑] (๒๗/๒๑๔๑)

ภเวยฺยปริปุจฺฉโก

พึงเป็นนักสอบถามชอบค้นหาความรู้[๐๔.๑๒] (๒๘/๙๔๙)

สิกฺเขยฺยสิกฺขิตพฺพานิ

อะไรควรศึกษาก็พึงศึกษาเถิด[๐๔.๑๓] (๒๗/๑๐๘)

สาธุโขสิปฺปกํนามอปิยาทิสิกีทิสํ

ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยาไม่ว่าอย่างไหนๆให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น[๐๔.๑๔] (๒๗/๑๐๗)

สพฺพํสุตมธีเยถหีนมุกฺกฏฺฐมชฺฌิมํ

สพฺพสฺสอตฺถํชาเนยฺยสพฺพํปโยชเย

โหติตาทิสโกกาโลยตฺถอตฺถาวหํสุตํ

อันความรู้ควรเรียนทุกอย่างไม่ว่าต่ำสูงหรือปานกลางควรรู้ความหมายเข้าใจทั้งหมดแต่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่างวันหนึ่งจะถึงเวลาที่ความรู้นั้นนำมาซึ่งประโยชน์[๐๔.๑๕] (๒๗/๘๑๗)

ลาภกมฺยาสิกฺขติ

นักปราชญ์ไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ[๐๔.๑๖] (๒๕/๔๑๗)

กิตฺติญฺจปปฺโปติอธิจฺจเวเท สนฺตึปุเณติจรเณนทนฺโต

เล่าเรียนสำเร็จวิทยาก็ย่อมได้เกียรติแต่ฝึกอบรมด้วยิ จริยาต่างหากจึงจะสบสันติ[๐๔.๑๗] (๒๗/๘๔๒)

หีนชจฺโจปิเจโหติอุฏฺฐาตาธิติมานโร

อาจารสีลสมฺปนฺโนนิเสอคฺคีวภาสติ

คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำแต่หากขยันหมั่นเพียรมีปัญญาประกอบด้วยอาจาระและศีลก็รุ่งเรืองได้เหมือนอยู่ในคืนมืดก็สว่างไสว[๐๔.๑๘] (๒๗/๒๑๔๑)

สุสฺสูสาสุตวฑฺฒนีสุตํปญฺญายวฑฺฒนํ

ปญฺญายอตฺถํชานาติญาโตอตฺโถสุขาวโห

ความใฝ่เรียนสดับเป็นเครื่องพัฒนาความรู้ความรู้จากการเรียนสดับนั้นเป็นเครื่องพัฒนาปัญญาด้วยปัญญาก็รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ประโยชน์ที่รู้จักแล้วก็นำสุขมาให้[๐๔.๑๙] (๒๖/๒๖๘)

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโนโสเสฏฺโฐเทวมานุเส

คนที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติเป็นผู้ประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา

[๐๔.๒๐] (๑๑/๗๒)

บทที่

. ปัญญา

ปญฺญาโลกสฺมิปชฺโชโต

ปัญญาเป็นดวงชวาลาในโลก[๐๕.๐๑] (๑๕/๒๑๗)

นตฺถิปญฺญาสมาอาภา

แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี[๐๕.๐๒] (๑๕/๒๙)

ปญฺญานรานํรตนํ

ปัญญาเป็นดวงแก้วของคน[๐๕.๐๓] (๑๕/๑๕๙)

ปญฺญาชีวึชีวิตมาหุเสฏฺฐ

ปราชญ์ว่าชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญาประเสริฐสุด[๐๕.๐๔] (๑๕/๘๔๑)

ปญฺญาธเนนเสยฺโย

ปัญญาแลประเสริฐกว่าทรัพย์[๐๕.๐๕] (๑๓/๔๕๑)

ปญฺญาหิเสฏฺฐากุสลาวทนฺติ

คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาแลประเสริฐสุด[๐๕.๐๖] (๒๗/๒๔๖๘)

ปญฺญาเจนํปสาสติ

ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตัว

ราโคโทโสมโทโมโหยตฺถปญฺญาคาธติ

ราคะโทสะความมัวเมาและโมหะเข้าที่ไหนปัญญาย่อมเข้าไม่ถึงที่นั้น[๐๕.๐๘] (๒๗/๑๒๔๙)

เอวํอนาวิลมฺหิจิตฺเต

โสปสฺสติอตฺตทตฺถํปรตฺถํ

เมื่อน้ำใสกระจ่างแจ๋วก็จะมองเห็นหอยกาบหอยโข่งกรวดทรายและฝูงปลาได้ชัดเจนฉันใด

เมื่อจิตไม่ขุ่นมัวจึงจะมองเห็นประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นได้ชัดเจนฉันนั้น[๐๕.๐๙] (๒๗/๒๒๐)

ปญฺญาสุตวินิจฺฉินี

ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ได้เล่าเรียน[๐๕.๑๐] (๒๗/๒๔๔๔)

ปญฺญาสหิโตนโรอิธทุกฺเขสุขานิวินฺทติ

คนมีปัญญาถึงแม้ตกทุกข์ก็ยังหาสุขพบ[๐๕.๑๑] (๒๗/๒๔๔๔)

ยํปณฺฑิโตนิปุณํสํวิเธติ

สมฺโมหมาปชฺชติตตฺถพาโล

บัณฑิตจัดการเรื่องใดอันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนคนโง่ย่อมถึงความหลงใหลในเรื่องนั้นข้าพเจ้ามองเห็นเหตุผลนี้

ปญฺโญวเสยฺโยยสสฺสิพาโล

คนมีปัญญาประเสริฐกว่าคนโง่ถึงจะมียศก็หาประเสริฐไม่[๐๕.๑๒] (๒๗/๒๑๐๑)

อนฺโธยถาโชติมธิฏฺฐเหยฺย

ขาดตาปัญญาเสียแล้วก็เหมือนคนตาบอดเหยียบลงไปได้แม้กระทั่งไฟที่ส่องทาง[๐๕.๑๓] (๒๗/๑๗๓๔)

ปญฺญายติตฺตีนํเสฏฺฐ

อิ่มด้วยปัญญาประเสริฐกว่าความอิ่มทั้งหลาย[๐๕.๑๔] (๒๗/๑๖๔๓)

ปญฺญายติตฺตํปุริสํตณฺหากุรุเตวสํ

คนที่อิ่มด้วยปัญญาตัณหาเอาไว้ในอำนาจไม่ได้[๐๕.๑๕] (๒๗/๑๖๔๓)


สากจฺฉายปญฺญาเวทิตพฺพา

ปัญญารู้ได้ด้วยการสนทนา[๐๕.๑๖] (๒๕/๑๓๔)


สุสฺสูสํลภเตปญฺญ

รู้จักฟังย่อมได้ปัญญา[๐๕.๑๗] (๑๕/๘๔๕)


อุฏฺฐานกาลมฺหิอนุฏฺฐหาโน

ยุวาพลีอาลสิยํอุเปโต

สํสนฺนสงฺกปฺปมโนกุสีโต

ปญฺญายมคฺคํอลโสวินฺทติ

ในเวลาที่ควรลุกขึ้นทำงานไม่ลุกขึ้นทำทั้งที่ยังหนุ่มแน่นมีกำลังกลับเฉื่อยชาปล่อยความคิดให้จมปลักเกียจคร้านมัวซึมเซาอยู่ย่อมไม่ประสบทางแห่งปัญญา[๐๕.๑๘] (๒๕/๓๐)

โยคาเวชายเตภูริ

ปัญญาย่อมเกิดเพราะใช้การ[๐๕.๑๙] (๒๕/๓๐)


ชีวเตวาปิสปฺปญฺโญอปิวิตฺตปริกฺขยา

คนมีปัญญาถึงสิ้นทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้[๐๕.๒๐] (๒๖/๓๗๒)


ปญฺญายอลาเภนวิตฺตวาปิชีวติ

แต่เมื่อขาดปัญญาถึงจะมีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้[๐๕.๒๑] (๒๖/๓๗๒)


นตฺถิปญฺญาอฌายิโน

ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ[๐๕.๒๒] (๒๕/๓๕)


นตฺถิฌานํอปญฺญสฺส

ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา[๐๕.๒๓] (๒๕/๓๕)


โยนิโสวิจิเนธมฺมํ

พึงวิจัยเรื่องราวตลอดสายให้ถึงต้นตอ[๐๕.๒๔] (๒๓/๓)


ปญฺญายตฺถํวิปสฺสติ

จะมองเห็นอรรถชัดแจ้งด้วยปัญญา[๐๕.๒๕] (๒๓/๓)


ปญฺญนปฺปมชฺเชยฺย

ไม่พึงละเลยการใช้ปัญญา[๐๕.๒๖] (๑๔/๖๘๓)


ปญฺญายปริสุชฺฌติ

คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา[๐๕.๒๗] (๒๕/๓๑๑)


ปโรสหสฺสมฺปิสมาคตานํ

กนฺเทยฺยุเตวสฺสสตํอปญฺญา

เอโกวเสยฺโยปุริโสสปญฺโญ

โยภาสิตสฺสวิชานาติอตฺถํ

คนโง่เขลามาประชุมกันแม้ตั้งกว่าพันคนพวกเขาไม่มีปัญญาถึงจะพร่ำคร่ำครวญอยู่ตลอดร้อยปีก็หามีประโยชน์ไม่คนมีปัญญารู้ความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า[๐๕.๒๘] (๒๗/๙๙)


. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว

ปฏิรูปการีธุรวาอุฏฺฐาตาวินฺทเตธนํ

ขยันเอาธุระทำเหมาะจังหวะย่อมหาทรัพย์ได้[๐๖.๐๑] (๑๕/๘๔๕)


สมุฏฺฐาเปติอตฺตานํอณุอคฺคึวสนฺธมํ

ตั้งตัวให้ได้เหมือนก่อไฟจากกองน้อย[๐๖.๐๒] (๒๗/๔)


โภเคสํหรมานสฺสภมรสฺสอิรียโต

เก็บรวบรวมทรัพย์สินเหมือนผึ้งเที่ยวรวมน้ำหวานสร้างรัง[๐๖.๐๓] (๑๑/๑๙๗)


โภคาสนฺนิจยํยนฺติวมฺมิโกวูปจียติ

ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้เหมือนดังก่อจอมปลวก[๐๖.๐๔] (๑๑/๑๙๗)


อุฏฺฐาตากมฺมเธยฺเยสุอปฺปมตฺโตวิธานวา สมํกปฺเปติชีวิตํสมฺภตํอนุรกฺขติ

ขยันทำงานไม่ประมาทฉลาดในวิธีจัดการเลี้ยงชีพแต่พอดีย่อมรักษาทรัพย์สมบัติให้คงอยู่และเพิ่มทวี[๐๖.๐๕] (๒๓/๑๔๕)


นิกตฺยาธนํหเร

ไม่พึงหาทรัพย์ด้วยการคดโกง[๐๖.๐๖] (๒๗/๖๐๓)


ธมฺเมนวิตฺตเมเสยฺย

พึงหาเลี้ยงชีพโดยทางชอบธรรม[๐๖.๐๗] (๒๗/๖๐๓)


ปโยชเยธมฺมิกํโสวณิชฺชํ

พึงประกอบการค้าที่ชอบธรรม[๐๖.๐๘] (๒๕/๓๕๓)


ธิรตฺถุตํยสลาภํธนลาภญฺจพรฺาหฺมณ

ยาวุตฺติวินิปาเตนอธมฺมจรเณนวา

น่ารังเกียจการได้ยศการได้ลาภการเลี้ยงชีพด้วยการยอมลดคุณค่าของชีวิตหรือด้วยการประพฤติอธรรม[๐๖.๐๙] (๒๗/๕๓๗)


อลาโภธมฺมิโกเสยฺโยยญฺเจลาโภอธมฺมิโก

ถึงไม่ได้แต่ชอบธรรมยังดีกว่าได้โดยไม่ชอบธรรม


ยถาภุตฺตญฺจพฺยาหร

จงทำงานให้สมกับอาหารที่บริโภค[๐๖.๑๑] (๒๗/๑๓๐)


ยหึชีเวตหึคจฺเฉนิเกตหโตสิยา

ชีวิตจะอยู่ได้ที่ไหนพึงไปที่นั้นไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตนเสีย

[๐๖.๑๒] (๒๗/๒๐๖)


เทฺววตาตปทกานิยตฺถสพฺพํปติฏฺฐิตํ

อลทฺธสฺสโยลาโภลทฺธสฺสจานุรกฺขนา

ผลประโยชน์ทั้งปวงตั้งอยู่ที่หลัก๒ประการคือการได้สิ่งที่ยังไม่ได้และการรักษาสิ่งที่ได้แล้ว[๐๖.๑๓] (๒๘/๒๔๔๒)


หิจินฺตามยาโภคาอิตฺถิยาปุริสสฺสวา

โภคะของใครไม่ว่าสตรีหรือบุรุษที่จะสำเร็จเพียงด้วยคิดเอาย่อมไม่มี

[๐๖.๑๔] (๒๘/๔๕๐)


สกมฺมุนาโหติผลูปปตฺติ

ความอุบัติแห่งผลย่อมมีได้ด้วยการกระทำของตน[๐๖.๑๕]

(๒๗/๒๒๔๗)


นิทฺทาสีลีสภาสีลีอนุฏฺฐาตาโยนโร

อลโสโกธปญฺญาโณตํปราภวโตมุขํ

คนใดชอบนอนชอบมั่วสุมไม่เอางานเกียจคร้านเอาแต่โกรธงุ่นง่านนั่นคือปากทางของความเสื่อม[๐๖.๑๖] (๒๕/๓๐๔)


เลี้ยงชีพ-สร้างตัว

ปญฺญวาพุทฺธิสมฺปนฺโนวิธานวิธิโกวิโท

กาลญฺญูสมยญฺญูราชวตึวเส

คนมีปัญญาประกอบด้วยความรู้ฉลาดในวิธีจัดงานรู้จักกาลรู้จักสมัยจึงควรเข้ารับราชการ[๐๖.๑๗] (๒๘/๙๖๙)


อุฏฺฐาตากมฺมเธยฺเยสุอปฺปมตฺโตวิจกฺขโณ

สุสํวิหิตกมฺมนฺโตราชวตึวเส

คนที่ขยันในหน้าที่ไม่ประมาทเอาใจใส่สอดส่องตรวจตราจัดการงานให้เรียบร้อยเป็นอันดีจึงควรเข้ารับราชการ[๐๖.๑๘] (๒๘/๙๖๙)


อนากุลากมฺมนฺตาเอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

การงานไม่คั่งค้างสับสนเป็นมงคลอย่างสูงสุด[๐๖.๑๙] (๒๕/๓๑๘)

 

บทที่

. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่

วายเมเถวปุริโสยาวอตฺถสฺสนิปฺปทา

เป็นคนควรพยายามเรื่อยไปจนกว่าผลที่หมายจะสำเร็จ

[๐๗.๐๑] (๑๕/๘๙๑)


อนิพฺพินฺทิยการิสฺสสมฺมทตฺโถวิปจฺจติ

ทำเรื่อยไปไม่ท้อถอยผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย

[๐๗.๐๒] (๒๗/๒๔๔๔)


อาสึเสเถวปุริโสนิพฺพินฺเทยฺยปณฺฑิโต

ปสฺสามิโวหํอตฺตานํยถาอิจฺฉึตถาอหุ

เป็นคนควรหวังเรื่อยไปบัณฑิตไม่ควรท้อแท้เราเห็นประจักษ์มากับตนเองเราปรารถนาอย่างใดก็ได้สมตามนั้น[๐๗.๐๓] (๒๘/๔๕๐)


ทุกฺขูปนีโตปินโรสปญฺโญ

อาสํนฉินฺเทยฺยสุขาคมาย

คนมีปัญญาถึงเผชิญอยู่กับความทุกข์ก็ไม่ยอมสิ้นหวังที่จะได้ประสบความสุข[๐๗.๐๔] (๒๘/๔๕๐)


นาลโสวินฺทเตสุขํ

คนเกียจคร้านย่อมไม่ได้ประสบสุข[๐๗.๐๕] (๒๗/๒๔๔๐)


๗. เพียรพยายาม

ยงฺกิญฺจิสิถิลํกมฺมํตํโหติมหปฺผลํ

การงานใดๆที่ย่อหย่อนย่อมไม่มีผลมาก[๐๗.๐๖] (๑๕/๒๔๐)


ปฏิกจฺเจวกยิรายํชญฺญาหิตมตฺตโน

รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์แก่ชีวิตตนก็ควรรีบลงมือทำ

[๐๗.๐๗] (๑๕/๒๘๑)


วิริเยนทุกฺขมจฺเจติ

คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร[๐๗.๐๘] (๒๕/๓๑๑)


กยิราเจกยิราเถนํ

ถ้าจะทำก็ควรทำให้จริง[๐๗.๐๙] (๑๕/๒๓๙)


ทฬฺหเมนํปรกฺกเม

พึงบากบั่นทำการให้มั่นคง[๐๗.๑๐] (๑๕/๒๓๙)


เทวาอิสฺสนฺติปุริสปรกฺกมสฺส

ความเพียรของคนไม่ลดละถึงเทวดาก็เกียดกันไม่ได้

[๐๗.๑๑] (๒๗/๕๐๕)


วายมสฺสุสกิจฺเจสุ

จงพยายามในหน้าที่ของตน[๐๗.๑๒] (๒๗/๒๔๔๐)


อกิลาสุวินฺเทหทยสฺสสนฺตึ

คนขยันวุ่นกับงานจะได้ความสงบใจ[๐๗.๑๓] (๒๗/๒)


สงฺเกยฺยสงฺกิตพฺพานิ

พึงระแวงสิ่งที่ควรระแวง[๐๗.๑๔] (๒๗/๕๔๕)


รกฺเขยฺยานาคตํภยํ

พึงป้องกันภัยที่ยังไม่มาถึง[๐๗.๑๕] (๒๗/๕๔๕)


อปฺปมาโทอมตํปทํ

ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย[๐๗.๑๖] (๒๕/๑๒)


ปมาโทมจฺจุโนปทํ

ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย[๐๗.๑๗] (๒๕/๑๒)


อปฺปมตฺตามียนฺติ

ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย[๐๗.๑๘] (๒๕/๑๒)


เยปมตฺตายถามตา

คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว[๐๗.๑๙] (๒๕/๑๒)


มาปมาทมนุยุญฺเชถ

อย่ามัวประกอบความประมาท[๐๗.๒๐] (๒๕/๑๒)


อปฺปมาเทนสมฺปาเทถ

จงทำประโยชน์ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท[๐๗.๒๑] (๑๐/๑๔๓)


อตีตํนานฺวาคเมยฺยนปฺปฏิกงฺเขอนาคตํ

อย่าละห้อยความหลังอย่ามัวหวังอนาคต[๐๗.๒๒] (๑๔/๕๒๗)


หิยฺโยติหิยฺยติโปโสปเรติปริหายติ

อนาคตํเนตมตฺถีติญตฺวา

อุปฺปนฺนจฺฉนฺทํโกปนุเทยฺยธีโร

มัวรำพึงหลังก็มีแต่จะหดหาย

มัวหวังหน้าก็มีแต่จะละลาย

อันใดยังมาไม่ถึงอันนั้นก็ยังไม่มี

รู้อย่างนี้แล้วเมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น

คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า[๐๗.๒๓] (๒๗/๒๒๕๒)


อนาคตํปฏิกยิราถกิจฺจํ

มามํกิจฺจํกิจฺจกาเลพฺยเธสิ

เตรียมกิจสำหรับอนาคตให้พร้อมไว้ก่อนอย่าให้กิจนั้นบีบคั้นตัวเมื่อถึงเวลาต้องทำเฉพาะหน้า[๐๗.๒๔] (๒๗/๑๖๓๖)


อชฺเชวกิจฺจมาตปฺปํ

รีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้[๐๗.๒๕] (๑๔/๕๒๗)


โกชญฺญามรณํสุเว

ใครเล่ารู้ว่าจะตายวันพรุ่ง[๐๗.๒๖] (๑๔/๕๒๗)


ขโณโวมาอุปจฺจคา

อย่าปล่อยโอกาสให้ผ่านเลยไปเสีย[๐๗.๒๗] (๒๕/๓๒๗)


อโมฆํทิวสํกยิราอปฺเปนพหุเกนวา

เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่าจะน้อยหรือมากก็ให้ได้อะไรบ้าง[๐๗.๒๘] (๒๖/๓๕๙)


อโหรตฺตมตนฺทิตํตํเวภทฺเทกรตฺโตติ

คนขยันทั้งคืนวันไม่ซึมเซาเรียกว่ามีแต่ละวันนำโชค

[๐๗.๒๙] (๑๔/๕๒๗)


กถมฺภูตสฺสเมรตฺตินฺทิวาวีติปตนฺติ

วันคืนล่วงไปๆบัดนี้เราทำอะไรอยู่[๐๗.๓๐] (๒๔/๔๘)


สุนกฺขตฺตํสุมงฺคลํสุปภาตํสุหุฏฺฐิตํ

ประพฤติชอบเวลาใดเวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดีมงคลดีเช้าดีรุ่งอรุณดี

[๐๗.๓๑] (๒๐/๕๙๕)


อตฺโถอตฺถสฺสนกฺขตฺตํกึกริสฺสนฺติตารกา

ประโยชน์คือตัวฤกษ์ของประโยชน์ดวงดาวจักทำอะไรได้

[๐๗.๓๒] (๒๗/๔๙)


เวอนตฺถกุสเลนอตฺถจริยาสุขาวหา

คนฉลาดไม่ถูกเรื่องถึงจะพยายามทำประโยชน์ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลให้เกิดสุข[๐๗.๓๓] (๒๗/๔๖)


อนุปาเยนโยอตฺถํอิจฺฉติโสวิหญฺญติ

ผู้ปรารถนาผลที่หมายด้วยวิธีการอันผิดจะต้องเดือดร้อน

[๐๗.๓๔] (๒๗/๔๘)


อปิอตรมานานํผลาสาวสมิชฺฌติ

อันความหวังในผลย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้

[๐๗.๓๕] (๒๗/๘)


เวคสาหิกตํกมฺมํมนฺโทปจฺฉานุตปฺปติ

การงานที่ทำโดยผลีผลามทำให้คนอ่อนปัญญาต้องเดือดร้อนภายหลัง[๐๗.๓๖] (๒๗/๒๔๔๒)


นิสมฺมกรณํเสยฺโย

ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า[๐๗.๓๗] (น.๒๗/๒๑๗๕)


อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํตุริตาภินิปาตินํ

ตานิกมฺมานิตปฺเปนฺติอุณฺหํวชฺโฌหิตํมุเข

ผู้ที่ทำการงานลวกๆโดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดีเอาแต่รีบร้อนพรวดพราดจะให้เสร็จการงานเหล่านั้นจะก่อความเดือดร้อนให้เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก[๐๗.๓๘] (๒๗/๑๕๓)


อถปจฺฉากุรุเตโยคํกิจฺเจอาวาสุสีทติ

ถ้ามัวล่าช้าเพียรทำกิจล้าหลังไปจะจมลงในห้วงอันตราย[๐๗.๓๙] (๒๗/๒๑๔๑)


โยทนฺธกาเลทนฺเธติตรณีเยตีรเย

ที่ควรช้าก็ช้าที่ควรเร่งก็เร่งผลที่หมายจึงจะสำเร็จบริบูรณ์

[๐๗.๔๐] (๒๗/๖๘๑)


โยนิโสสํวิธาเนนสุขํปปฺโปติปณฺฑิโต

ด้วยการจัดการอย่างแยบคายบัณฑิตก็ลุสุขสมหมาย

[๐๗.๔๑] (๒๖/๓๒๙)


นิปฺผนฺนโสภิโนอตฺถา

ประโยชน์งามตรงที่สำเร็จ[๐๗.๔๒] (๑๕/๘๙๔)


อนตฺเถยุตฺโตสิยา

ไม่พึงขวนขวายในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์[๐๗.๔๓] (๒๗/๒๓๖๙)


ยญฺหิกิจฺจํตทปวิทฺธํอกิจฺจํปนกยิรติ

อุนฺนฬานํปมตฺตานํเตสํวฑฺฒนฺติอาสวา

สิ่งใดเป็นหน้าที่กลับทอดทิ้งเสียไพล่ไปทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่คนเหล่านั้นมัวชูตัวพองประมาทอยู่ความหมักหมมภายในตัวเขาก็พอกพูนยิ่งขึ้น[๐๗.๔๔] (๒๕/๓๑)


กรํปุริสกิจฺจานิปจฺฉานุตปฺปติ

เมื่อทำหน้าที่ของลูกผู้ชายแล้วไม่ต้องเดือดร้อนใจภายหลัง[๐๗.๔๕] (๒๘/๔๔๕)


อนโณญาตีนํโหติเทวานํปิตุนญฺจโส

เมื่อได้เพียรพยายามแล้วถึงจะตายก็ชื่อว่าตายอย่างไม่เป็นหนี้ใคร (คือไม่มีข้อติดค้างให้ใครติเตียนได้) ไม่ว่าในหมู่ญาติหมู่เทวดาหรือว่าพระพรหมทั้งหลาย[๐๗.๔๖] (๒๘/๔๔๕)


โยจีธกมฺมํกุรุเตปมาย

ถามพลํอตฺตนิสํวิทิตฺวา

ชปฺเปนมนฺเตนสุภาสิเตน

ปริกฺขวาโสวิปุลํชินาติ

ผู้ใดทำการโดยรู้ประมาณทราบชัดถึงกำลังของตนแล้วคิดการเตรียมไว้รอบคอบทั้งโดยแบบแผนทางตำราโดยการปรึกษาหารือและโดยถ้อยคำที่ใช้พูดอย่างดีผู้นั้นย่อมทำการสำเร็จมีชัยอย่างไพบูลย์[๐๗.๔๗] (๒๗/๖๔๑)


อชฺชสุเวติปุริโสสทตฺถํนาวพุชฺฌติ

โอวชฺชมาโนกุปฺปติเสยฺยโสอติมญฺญติ

คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่าอะไรควรทำวันนี้อะไรควรทำพรุ่งนี้ใครตักเตือนก็โกรธเย่อหยิ่งถือดีว่าฉันเก่งฉันดีคนอย่างนี้เป็นที่ชอบใจของกาฬกิณี[๐๗.๔๘] (๒๗/๘๗๔)


โยจาปิสีเตอถวาปิอุณฺเห

วาตาตเปฑํสสิรึสเป

ขุทฺทํปิปาสํอภิภุยฺยสพฺพํ

รตฺตินฺทิวํโยสตตํนิยุตฺโต

กาลาคตญฺจหาเปติอตฺถํ

โสเมมนาโปนิวิเสวตมฺหิ

คนใดไม่ว่าจะหนาวหรือร้อนมีลมแดดเหลือบยุงก็ไม่พรั่นทนหิวทนกระหายได้ทั้งนั้นทำงานต่อเนื่องไปไม่ขาดทั้งคืนวันสิ่งที่เป็นประโยชน์มาถึงตามกาลก็ไม่ปล่อยให้สูญเสียไปคนนั้นย่อมเป็นที่ชอบใจของสิริโชคสิริโชคขอพักพิงอยู่กับเขา[๐๗.๔๙] (๒๗/๘๘๑)


. ครอบครัว-ญาติมิตร

พฺรหฺมาติมาตาปิตโร

มารดาบิดาท่านเรียกว่าเป็นพระพรหม[๐๘.๐๑] (๒๕/๒๘๖)


ปุพฺพาจริยาติวุจฺจเร

มารดาบิดาท่านเรียกว่าเป็นบูรพาจารย์ (ครูคนแรก)[๐๘.๐๒] (๒๕/๒๘๖)


อาหุเนยฺยาปุตฺตานํ

และเรียกมารดาบิดาว่าเป็นอาหุไนยบุคคลของบุตร[๐๘.๐๓] (๒๕/๒๘๖)


สุขามตฺเตยฺยตาโลเก

ความเคารพรักบำรุงมารดานำมาซึ่งความสุขในโลก

[๐๘.๐๔] (๒๕/๓๓)


อโถเปตฺเตยฺยตาสุขา

การเคารพรักบำรุงบิดาก็นำมาซึ่งความสุขในโลก[๐๘.๐๕] (๒๕/๓๓)


เตปุตฺตาเยภรนฺติชิณฺณํ

ลูกที่ไม่เลี้ยงพ่อแม่เมื่อแก่เฒ่าไม่นับว่าเป็นลูก[๐๘.๐๖] (๒๘/๓๙๓)


ปุตฺตาวตฺถุมนุสฺสานํ

ลูกเป็นหลักที่ฝากฝังของหมู่มนุษย์(เด็กทั้งหลายเป็นฐานรองรับไว้ซึ่งมนุษยชาติ)[๐๘.๐๗] (๑๕/๑๖๕)


อติชาตํอนุชาตํปุตฺตมิจฺฉนฺติปณฺฑิตา

อวชาตํอิจฺฉนฺติโยโหติกุลคนฺธโน

บัณฑิตย่อมปรารถนาบุตรที่เป็นอภิชาตหรืออนุชาตย่อมไม่ปรารถนาอวชาตบุตรซึ่งเป็นผู้ทำลายตระกูล[๐๘.๐๘] (๒๕/๒๕๒)


ภริยาปรมาสขา

ภรรยาเป็นยอดสหาย[๐๘.๐๙] (๑๕/๑๖๕)


มาตามิตฺตํสเกฆเร

มารดาเป็นมิตรประจำบ้าน(แม่คือมิตรแท้คู่บ้าน[๐๘.๑๐] (๑๕/๑๖๓)


วิสฺสาสปรมาญาติ

คนคุ้นเคยไว้ใจกันได้เป็นญาติอย่างยิ่ง[๐๘.๑๑] (๒๕/๒๕)


สหาโยอตฺถชาตสฺสโหติมิตฺตํปุนปฺปุนํ

สหายเป็นมิตรสำหรับผู้มีธุระเกิดขึ้นเนืองๆ[๐๘.๑๒] (๑๕/๑๖๓)


สยํกตานิปุญฺญานิตํมิตฺตํสมฺปรายิกํ

ความดีที่ทำไว้เองเป็นมิตรตามตัวไปเบื้องหน้า[๐๘.๑๓] (๑๕/๑๕๙)


มิตฺโตหเวสตฺตปเทนโหติ

สหาโยปนทฺวาทสเกนโหติ

มาสฑฺฒมาเสนญาติโหติ

ตทุตฺตรึอตฺตสโมปิโหติ

เดินร่วมกัน๗ก้าวก็นับว่าเป็นมิตรเดินร่วมทางกัน๑๒ก้าวก็นับว่าเป็นสหายอยู่ร่วมกันสักเดือนหรือกึ่งเดือนก็นับว่าเป็นญาติถ้านานเกินกว่านั้นไปก็แม้นเหมือนเป็นตัวเราเอง[๐๘.๑๔] (๒๗/๘๓)


โสหํกถํอตฺตสุขสฺสเหตุ

จิรสนฺถุตํกาฬกณฺณึชเหยฺยํ

คนที่คบคุ้นกันมานานถึงจะเป็นกาฬกิณีจะให้เราละทิ้งเขาไปเพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัวได้อย่างไร[๐๘.๑๕] (๒๗/๘๓)


อทฺธาเอโสสตํธมฺโมโยมิตฺโตมิตฺตมาปเท

จเชชีวิตสฺสาปิเหตุธมฺมมนุสฺสรํ

การที่มิตรเมื่อระลึกถึงธรรมแล้วไม่ยอมทอดทิ้งมิตรในยามมีทุกข์ภัยถึงชีวิตข้อนี้เป็นธรรมของสัตบุรุษโดยแท้[๐๘.๑๖] (๒๘/๑๖๖)


เอวํมิตฺตวตํอตฺถาสพฺเพโหนฺติปทกฺขิณา

ประโยชน์ที่มุ่งหมายทุกอย่างของผู้มีมิตรพรั่งพร้อม

ย่อมจะสัมฤทธิ์ผลเหมือนโชคช่วย[๐๘.๑๗] (๒๘/๑๙๘,๒๔๘)


สาธุสมฺพหุลาญาตีอปิรุกฺขาอรญฺญชา

วาโตวหติเอกฏฺฐพฺรหนฺตมฺปิวนปฺปตึ

มีญาติพวกพ้องมากย่อมเป็นการดีเช่นเดียวกับต้นไม้ในป่าที่มีจำนวนมากต้นไม้ที่ขึ้นอยู่โดดเดี่ยวถึงจะงอกงามใหญ่โตสักเท่าใดลมก็พัดให้โค่นลงได้[๐๘.๑๘] (๒๗/๗๔)


. การคบหา

นยํนยติเมธาวีอธุรายํยุญฺชติ

สุนโยเสยฺยโสโหติสมฺมาวุตฺโตกุปฺปติ

วินยํโสปชานาติสาธุเตนสมาคโม

ปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำไม่ชวนทำสิ่งที่มิใช่ธุระการแนะนำดีเป็นความดีของปราชญ์ปราชญ์ถูกว่ากล่าวโดยชอบก็ไม่โกรธปราชญ์ย่อมรู้วินัยการสมาคมกับปราชญ์จึงเป็นการดี

[๐๙.๐๑] (๒๗/๑๘๑๙)


วิสฺสเสอิตฺตรทสฺสเนน

ไม่ควรไว้วางใจเพียงด้วยพบเห็นกันนิดหน่อย[๐๙.๐๒] (๑๕/๓๕๘)


มิตฺตรูเปนพหโวฉนฺนาเสวนฺติสตฺตโว

มีคนเป็นอันมากที่คบหาอย่างเป็นศัตรูผู้แฝงมาในรูปมิตร

[๐๙.๐๓] (๒๗/๑๔๒๙)


จรนฺติโลเกปริวารฉนฺนา

อนฺโตอสุทฺธาพหิโสภมานา

คนจำพวกที่งามแต่ภายนอกภายในไม่สะอาดมีบริวารกำบังตัวไว้ก็แสดงบทบาทอยู่ในโลก[๐๙.๐๔] (๑๕/๓๕๘)


อกโรนฺโตปิเจปาปํกโรนฺตมุปเสวติ

สงฺกิโยโหติปาปสฺมึอวณฺโณจสฺสรูหติ

ผู้ใดแม้หากมิได้กระทำความชั่วแต่คบหาเกลือกกลั้วกับผู้กระทำบาปผู้นั้นย่อมพลอยถูกระแวงในกรรมชั่วอีกทั้งชื่อเสียงเสื่อมเสียย่อมเพิ่มพูนแก่เขา[๐๙.๐๕] (๒๕/๒๕๔)


โสปิตาทิสโกโหติยาทิสญฺจูปเสวติ

คบคนเช่นใดก็เป็นเช่นคนนั้น[๐๙.๐๖] (๒๗/๒๑๕๒)


ปูติมจฺฉํกุสคฺเคนโยนโรอุปนยฺหติ

กุสาปิปูติวายนฺติเอวํพาลูปเสวนา

คนใดห่อปลาเน่าด้วยใบคาใบคาย่อมเหม็นกลิ่นปลา

คละคลุ้งการเกลือกกลั้วคบหาคนพาลย่อมมีผลเช่น

อย่างนั้น[๐๙.๐๗] (๒๕/๒๕๔)


ตครญฺจปลาเสนโยนโรอุปนยฺหติ

ปตฺตาปิสุรภิวายนฺติเอวํธีรูปเสวนา

ส่วนคนใดห่อกฤษณาด้วยใบไม้ใบนั้นย่อมพลอยมี

กลิ่นหอมฟุ้งการคบหาเสวนานักปราชญ์ย่อมมีผล

เช่นอย่างนั้น[๐๙.๐๘] (๒๕/๒๕๔)


ทุกฺโขพาเลหิสํวาโส

การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์

อมิตฺเตเนวสพฺพทา

เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรูตลอดเวลา[๐๙.๐๙] (๒๕/๒๕)

ธีโรสุขสํวาโ

ปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข

ญาตีนํวสมาคโม

เหมือนสมาคมแห่งญาติ[๐๙.๑๐] (๒๕/๒๕)


ยสฺมึมโนนิวิสติอวิทูเรสหาปิโส

สนฺติเกปิหิโสทูเรยสฺมาวิวสเตมโน

จิตจอดอยู่กับใครถึงไกลกันก็เหมือนอยู่ชิดใกล้

ใจหมางเมินใครถึงใกล้กันก็เหมือนอยู่แสนไกล[๐๙.๑๑] (๒๗/๑๗๕๘)


อนฺโตปิเจโหติปสนฺนจิตฺโต

ปารํสมุทฺทสฺสปสนฺนจิตฺโต

อนฺโตปิโสโหติปทุฏฺฐจิตฺโต

ปารํสมุทฺทสฺสปทุฏฺฐจิตฺโต

ถ้าใจรักแล้วถึงอยู่ห่างคนละฝั่งฟากมหาสมุทรก็

เหมือนอยู่สุดแสนใกล้ถ้าใจชังแล้วถึงอยู่สุดแสน

ใกล้ก็เหมือนอยู่ไกลคนละฟากมหาสมุทร[๐๙.๑๒] (๒๗/๑๗๕๙)


ยาวชีวมฺปิเจพาโลปณฺฑิตํปยิรุปาสติ

โสธมฺมํวิชานาติทพฺพีสูปรสํยถา

คนพาลถึงอยู่ใกล้บัณฑิตจนตลอดชีวิตก็ไม่รู้แจ้ง

ธรรมเสมือนทัพพีที่ไม่รู้รสแกง[๐๙.๑๓] (๒๕/๑๕)


มุหุตฺตมปิเจวิญฺญูปณฺฑิตํปยิรุปาสติ

ขิปฺปํธมฺมํวิชานาติชิวฺหาสูปรสํยถา

ส่วนวิญญูชนหากเข้าใกล้บัณฑิตแม้เพียงครู่เดียวก็รู้

ธรรมได้ฉับพลันเสมือนลิ้นที่รู้รสแกง[๐๙.๑๔] (๒๕/๑๕)


นิธีนํวปวตฺตารํยํปสฺเสวชฺชทสฺสินํ

นิคฺคยฺหวาทึเมธาวึตาทิสํปณฺฑิตํภเช

ตาทิสํภชมานสฺสเสยฺโยโหติปาปิโย

พึงมองเห็นคนมีปัญญาที่ชอบชี้โทษพูดจาข่มขี่เสมือนเป็นผู้บอกขุมทรัพย์พึงคบคนที่เป็นบัณฑิตเช่นนั้นแหละเมื่อคบคนเช่นนั้นย่อมมีแต่ดีไม่มีเสียเลย[๐๙.๑๕] (๒๕/๑๖)


โอวเทยฺยานุสาเสยฺยอสพฺภานิวารเย

สตํหิโสปิโยโหติอสตํโหติอปฺปิโย

พึงแนะนำตักเตือนเถิดพึงพร่ำสอนเถิดพึงห้ามปรามจากความชั่วเถิดคนที่ทำเช่นนั้นย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษและไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษ[๐๙.๑๖] (๒๕/๑๖)


  . การคบหา

ภเชปาปเกมิตฺเต

ไม่ควรคบมิตรชั่ว[๐๙.๑๗] (๒๕/๑๖)


ภเชถมิตฺเตกลฺยาเณ

ควรคบมิตรดี[๐๙.๑๘] (๒๕/๑๖)


โหติปานสขานามโหติสมฺมิยสมฺมิโย

การคบหาคนเป็นเพื่อนแต่เวลาดื่มเหล้าก็มีเป็นเพื่อนแต่ปากว่าก็มี[๐๙.๑๙] (๑๑/๑๘๕)


โยอตฺเถสุชาเตสุสหาโยโหติโสสขา

ส่วนผู้ใดเป็นสหายในเมื่อเกิดเรื่องต้องการผู้นั้นแลคือเพื่อนแท้[๐๙.๒๐] (๑๑/๑๘๕)


นตฺถิพาเลสหายตา

ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล[๐๙.๒๑] (๒๕/๓๓)


ทุกฺโขพาเลหิสงฺคโม

สมาคมกับคนพาลนำทุกข์มาให้[๐๙.๒๒] (๒๗/๑๒๙๑)


นิหียติปุริโสนิหีนเสวี

ผู้คบคนเลวย่อมพลอยเลวลง[๐๙.๒๓] (๒๐/๔๖๕)


เสยฺยํโสเสยฺยโสโหติโยเสยฺยมุปเสวติ

คบคนดีก็พลอยมีส่วนดีด้วย[๐๙.๒๔] (๒๗/๔๔๕)


เสฏฺฐมุปนมํอุเทติขิปฺปํ

เมื่อคบคนที่ดีกว่าตัวเองก็ดีขึ้นมาในฉับพลัน

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) [๐๙.๒๕] (๒๐/๔๖๕)


ตสฺมาอตฺตโนอุตฺตรึภเชถ

ฉะนั้นควรคบหาคนที่ดีกว่าตน[๐๙.๒๖] (๒๐/๔๖๕)


หีโนเสวิตพฺโพวอญฺญตฺรอนุทฺทยา

ไม่ควรคบคนเลวทรามนอกจากเพื่อให้ความช่วยเหลือ[๐๙.๒๗] (นัย๒๐/๔๖๕)


สนฺถวํกาปุริเสนกยิรา

ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว[๐๙.๒๘] (๒๗/๑๗๑)

 

อติจิรํนิวาเสนปิโยภวติอปฺปิโย

เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไปที่รักก็กลายเป็นหน่าย[๐๙.๒๙] (๒๗/๑๗๖๑)


อเปตจิตฺเตนสมฺภเชยฺย

ไม่พึงอยู่กินกับคนไม่มีใจไยดี[๐๙.๓๐] (๒๗/๒๙๖)


วิสฺสเสอวิสฺสตฺเถ

ไม่ควรไว้ใจในคนไม่คุ้นเคย[๐๙.๓๑] (๒๗/๙๓)


วิสฺสตฺเถปิวิสฺสเส

ถึงคนคุ้นเคยก็ไม่ควรวางใจ[๐๙.๓๒] (๒๗/๙๓)


นาสฺมเสกตปาปมฺหินาสฺมเสอลิกวาทิเน

นาสฺมเสอตฺตตฺถปญฺญมฺหิอติสนฺเตปินาสฺมเส

ไม่ควรไว้ใจคนที่ทำชั่วมาแล้วไม่ควรไว้ใจคนที่พูดพล่อยๆไม่ควรไว้ใจคนที่เห็นแก่ตัวถึงคนที่ทำทีสงบเสงี่ยมเกินไปก็ไม่ควรไว้ใจ[๐๙.๓๓] (๒๗/๑๔๒๒)


วิสฺสาสาภยมนฺเวติ

เพราะไว้วางใจภัยจะตามมา[๐๙.๓๔] (๒๗/๙๓)


มิตฺตทุพฺโภหิปาปโก

ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลว[๐๙.๓๕] (๒๗/๑๔๖๙)


อตฺถมฺหิชาตมฺหิสุขาสหายา

สหายช่วยให้เกิดสุขในเมื่อเกิดมีเรื่องราว[๐๙.๓๖] (๒๕/๓๓)


สเจลเภถนิปกํสหายํ

จเรยฺยเตนตฺตมโนสติมา

ถ้าได้สหายผู้มีปัญญาปกครองตนพึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา[๐๙.๓๗] (๒๕/๓๓)


โนเจลเภถนิปกํสหายํ

เอโกจเรปาปานิกยิรา

ถ้าไม่ได้สหายที่มีปัญญาปกครองตนพึงเที่ยวไปคนเดียวและไม่พึงทำความชั่ว[๐๙.๓๘] (๒๕/๓๓)


เสยฺโยอมิตฺโตเมธาวียญฺเจพาลานุกมฺปโก

มีศัตรูเป็นบัณฑิตดีกว่ามีมิตรเป็นพาล[๐๙.๓๙] (๒๗/๔๕)


๑๐. การเบียดเบียน-การช่วยเหลือกัน

สพฺพาทิสาอนุปริคมฺมเจตสา

เนวชฺฌคาปิยตรตฺตนากฺวจิ

เอวมฺปิโสปุถุอตฺตาปเรสํ

ตรวจดูด้วยจิตทั่วทุกทิศแล้วไม่พบใครที่ไหนเป็นที่รักยิ่งกว่าตนเองเลยคนอื่นก็รักตนมากเช่นเดียวกัน

ตสฺมาหึเสปรํอตฺตกาโม

ฉะนั้นผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนคนอื่น[๑๐.๐๑] (๒๕/๑๑๐)


สพฺเพตสนฺติทณฺฑสฺสสพฺเพภายนฺติมจฺจุโน

สัตว์ทั้งปวงย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญาสัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวความตาย

สพฺเพตสนฺติทณฺฑสฺสสพฺเพสํชีวิตํปิยํ

สัตว์ทั้งปวงย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญาชีวิตเป็นที่รักของทุกคน

ยถาอหํตถาเอเตยถาเอเตตถาอหํ

เราฉันใดสัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้นสัตว์เหล่านี้ฉันใดเราก็ฉันนั้น

อตฺตานํอุปมํกตฺวาหเนยฺยฆาตเย

นึกถึงเขาเอาตัวเราเข้าเทียบแล้วไม่ควรเข่นฆ่าไม่ควรให้สังหารกัน[๑๐.๐๒] (๒๕/๒๐,๓๘๙)


ทุกฺขิตสฺสสกฺกจฺจกโรติกิจฺจํ

ช่วยเหลือคนเดือดร้อนด้วยความตั้งใจ[๑๐.๐๓] (๒๗/๒๔๖๖)


สนฺโตสตฺตหิเตรตา

คนดีชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น[๑๐.๐๔] (ชา.อ.๑/๒๓๐)


สพฺเพสํสหิโตโหติ

คนดีบำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน[๑๐.๐๕] (๒๓/๑๒๘)


พหูนํวตอตฺถายปณฺฑิโตฆรมาวสํ

คนมีปัญญาอยู่ครองเรือนก็เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมาก[๑๐.๐๖] (๒๓/๑๒๘)


๑๐. การเบียดเบียนฯ

หิเวเรนเวรานิสมฺมนฺตีธกุทาจนํ

ในโลกนี้เวรระงับด้วยเวรไม่เคยมี[๑๐.๐๗] (๒๕/๑๑)


ปูชโกลภเตปูชํ

ผู้บูชาย่อมได้บูชาตอบ[๑๐.๐๘] (๒๘/๔๐๑)


วนฺทโกปฏิวนฺทนํ

ผู้ไหว้ย่อมได้การไหว้ตอบ[๑๐.๐๙] (๒๘/๔๐๑)


สุขสฺสทาตาเมธาวีสุขํโสอธิคจฺฉติ

คนฉลาดให้ความสุขย่อมได้ความสุข[๑๐.๑๐] (๒๒/๓๗)


ททํมิตฺตานิคนฺถติ

เมื่อให้ไปย่อมผูกไมตรีไว้[๑๐.๑๑] (๑๕/๘๔๕)


ททมาโนปิโยโหติ

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก[๑๐.๑๒] (๒๒/๓๕)


ทีปํหิเอตํปรมํนรานํ

ยํปณฺฑิตาโสกนุทาภวนฺติ

บัณฑิตสามารถปัดเป่าความเศร้าโศกของคนอื่นได้จึงจัดว่าเป็นที่พึ่งยอดเยี่ยมของคนทั้งหลาย[๑๐.๑๓] (๒๘/๓๓๓)


บทที่๑๐

๑๐. การเบียดเบียนฯ

สกุโณมยฺหโกนามคิริสานุทรีจโร

ปกฺกํปิปฺผลิมารุยฺหมยฺหํมยฺหนฺติกนฺทติ

นกชนิดหนึ่งเที่ยวบินอยู่ตามช่องเขาและไหล่เขามีชื่อว่านกมัยหกะมันบินไปสู่ต้นเลียบอันมีผลสุกแล้วร้องว่า “ของข้าๆ” เมื่อนกมัยหกะร้องอยู่อย่างนั้นฝูงนกทั้งหลายก็พากันบินมาจิกกินผลเลียบแล้วก็พากันบินไปนกมัยหกะก็ยังร้องพร่ำอยู่อย่างเดิมนั่นเอง

เอวมิเธวเอกจฺโจสงฺฆริตฺวาพหุธนํ

เนวตฺตโนญาตีนํยโถธึปฏิปชฺชติ

คนบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเก็บทรัพย์สะสมไว้มากมายแล้วตนเองก็ไม่ได้ใช้ทั้งไม่เผื่อแผ่เจือจานแก่ญาติทั้งหลายตามส่วนเมื่อเขาหวงแหนทรัพย์ไว้รำพึงว่า “ของข้าๆ” ราชการหรือโจรหรือทายาทก็มาเอาทรัพย์นั้นไปตัวเขาก็ได้แต่รำพันอยู่อย่างนั้นนั่นเอง

[๑๐.๑๔] (๒๗/๙๓๑)


นิวตฺตยนฺติโสกมฺหา

คนใจการุณย์ช่วยแก้ไขคนให้หายโศกเศร้า[๑๐.๑๕] (๒๗/๑๔๙๒)


เนกาสีลภเตสุขํ

กินคนเดียวไม่ได้ความสุข[๑๐.๑๖] (๒๗/๑๖๗๔)


ภุญฺเชสาธุเมกโก

ไม่พึงบริโภคของอร่อยผู้เดียว[๑๐.๑๗] (๒๘/๙๔๙)


หิทานาปรํอตฺถิปติฏฺฐาสพฺพปาณินํ

นอกจากการแบ่งปันเผื่อแผ่กันแล้วสัตว์ทั้งปวงหามีที่พึ่งอย่างอื่นไม่[๑๐.๑๘] (๒๘/๑๐๗๓)


โยมาตรํปิตรํวาชิณฺณกํคตโยพฺพนํ

ปหุสนฺโตนภรติตํปราภวโตมุขํ

คนใดมารดาบิดาแก่เฒ่าล่วงพ้นวัยหนุ่มวัยสาวไปแล้วตนเองสามารถก็ไม่เลี้ยงดูนั้นคือปากทางของความเสื่อม[๑๐.๑๙] (๒๕/๓๐๔)


ปหุตวิตฺโตปุริโสสหิรญฺโญสโภชโน

เอโกภุญฺชติสาทูนิตํปราภวโตมุขํ

คนใดมั่งมีทรัพย์สินเงินทองมีของกินของใช้มากแต่บริโภคของอร่อยคนเดียวนั้นเป็นปากทางแห่งความเสื่อม[๑๐.๒๐] (๒๕/๓๐๔)


ทเทยฺยปุริโสทานํอปฺปํวายทิวาพหุ

เกิดมาเป็นคนจะมากหรือน้อยก็ควรให้ปันบ้าง[๑๐.๒๑] (๒๗/๑๐๑๒)


อนฺนโทพลโทโหติ

ผู้ให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง

วตฺถโทโหติวณฺณโท

ผู้ให้ผ้านุ่งห่มชื่อว่าให้ผิวพรรณ

ยานโทสุขโทโหติ

ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสะดวก

โสสพฺพทโทโหติโยททาติอุปสฺสยํ

ผู้ใดให้ที่พำนักอาศัยผู้นั้นชื่อว่าให้ทั้งหมด[๑๐.๒๒] (๑๕/๑๓๘)

อมตนฺทโทโสโหติโยธมฺมมนุสาสติ

ผู้ใดสั่งสอนธรรมผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย[๑๐.๒๓] (๑๕/๑๓๘)

วิเจยฺยทานํสุคตปฺปสตฺถํ

ให้ด้วยพิจารณาพระศาสดาทรงสรรเสริญ[๑๐.๒๔] (๑๕/๙๙)


อารามโรปาวนโรปาเยชนาเสตุการกา

ปปญฺจอุทปานญฺจเยททนฺติอุปสฺสยํ

เตสํทิวารตฺโตสทาปุญฺญปวฑฺฒติ

ชนเหล่าใดปลูกสวนปลูกป่าสร้างสะพานให้แหล่งน้ำบ่อน้ำและที่พักอาศัยบุญของชนเหล่านั้นย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อทั้งคืนทั้งวัน

[๑๐.๒๕] (๑๕/๑๔๖)

หิโตพหุนฺนํปฏิปชฺชโภเค

คนดีจัดการโภคทรัพย์บำเพ็ญประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก[๑๐.๒๖] (๒๒/๔๒)

ทินฺนํโหติสุนิพฺภตํ

ของที่ให้แล้วชื่อว่านำออกไปอย่างดีแล้ว[๑๐.๒๗] (๑๕/๑๓๖)


ทินฺนํสุขผลํโหตินาทินฺนํโหติตํยถา

ของที่ให้แล้วชื่อว่าออกผลเป็นความสุขแล้วส่วนของที่ยังไม่ได้ให้ยังไม่มีผลเช่นนั้น[๑๐.๒๘] (๑๕/๑๓๖)


อทฺธาหิทานํพหุธาปสตฺถํ

ทานาโขธมฺมปทํวเสยฺโย

ทานนั้นปราชญ์สรรเสริญกันโดยมากอย่างแน่นอนแต่กระนั้นบทธรรมก็ยังประเสริฐกว่าทาน[๑๐.๒๙] (๑๕/๑๐๑)


เอตทคฺคํภิกฺขเวทานานํยทิทํธมฺมทาน

ภิกษุทั้งหลายการให้ธรรมเป็นยอดแห่งทาน[๑๐.๓๐] (๒๓/๒๐๙)


สพฺพทานํธมฺมทานํชินาติ

การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง[๑๐.๓๑] (๒๕/๓๔)


  ๑๑. สามัคคี

สมคฺคานํตโปสุโข

ความเพียรของหมู่ชนผู้พร้อมเพรียงกันให้เกิดสุข[๑๑.๐๑] (๒๕/๒๕)


สุขาสงฺฆสฺสสามคฺคี

สามัคคีของหมู่ให้เกิดสุข[๑๑.๐๒] (๒๕/๑๙๔)


สูกเรหิสมคฺเคหิพฺยคฺโฆเอกายเนหโต

สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสือโคร่งได้เพราะใจรวมเป็นอันเดียว[๑๑.๐๓] (๒๗/๑๙๘๗)


เอเตภิยฺโยสมายนฺติสนฺธิเตสํชีรติ

โยจาธิปนฺนํชานาติโยชานาติเทสนํ

ผู้ใดรู้โทษที่ตนล่วงละเมิด๑ผู้ใดยอมรับรู้โทษที่เขามาสารภาพ๑คนทั้งสองนี้ย่อมพร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้นมิตรภาพของเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย[๑๑.๐๔] (๒๗/๕๔๘)


เอโสหิอุตฺตริตโรภาราวโหธุรนฺธโร

โยปเรสาธิปนฺนานํสยํสนฺธาตุมรหติ

ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นคนเอาภาระเป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม[๑๑.๐๕] (๒๗/๕๔๙)


สเจปิสนฺโตวิวทนฺติขิปฺปํสนฺธียเรปุน

พาลาปตฺตาวภิชฺชนฺติเตสมถมชฺฌคู

ถ้าแม้สัตบุรุษวิวาทกันก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็วส่วนคนพาลทั้งหลายย่อมแตกกันเหมือนภาชนะดินเขาย่อมไม่ได้ความสงบเวรกันเลย[๑๑.๐๖] (๒๗/๕๔๗)


สมคฺคาสขิลาโหถ

จงสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน[๑๑.๐๗] (๓๓/๓๕)


๑๒. การปกครอง

วโสอิสฺสริยํโลเก

อำนาจเป็นใหญ่ในโลก(อิสรภาพคือความมีอำนาจในตัวเอง)

[๑๒.๐๑] (๑๕/๒๑๒)


สพฺพํปรวสํทุกฺขํ

การอยู่ในอำนาจของผู้อื่นเป็นทุกข์ทั้งสิ้น[๑๒.๐๒] (๒๕/๖๓)


สพฺพํอิสฺสริยํสุขํ

อิสรภาพเป็นสุขทั้งสิ้น[๑๒.๐๓] (๒๕/๖๓)


ราชารฏฺฐสฺสปญฺญาณํ

ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น(ผู้ปกครองเป็นเครื่องส่องถึงรัฐ)

[๑๒.๐๔] (๑๕/๒๐๑)

ตํมํตปฺปตีพนฺโธวโธเมตเปสฺสติ

สุขมาหริตํเตสํเยสํรชฺชมการยึ

ถึงจะถูกจองจำข้าฯก็ไม่เดือดร้อนถึงจะถูกฆ่าก็ไม่ครั่นคร้ามเพราะข้าฯได้นำความสุขมาให้แล้วแก่เหล่าชนที่ข้าฯปกครอง

[๑๒.๐๕] (๒๗/๑๐๕๕)


สพฺเพสํสุขเมตพฺพํขตฺติเยนปชานตา

ผู้ปกครองแผ่นดินมีปัญญาพึงแสวงสุขเพื่อปวงประชา

[๑๒.๐๖] (๒๗/๑๐๕๖)


ธมฺมํปมชฺชขตฺติโยรฏฺฐาจวติอิสฺสโร

ผู้ครองแผ่นดินถึงจะมีอำนาจยิ่งใหญ่ประมาทธรรมเสียแล้วก็ร่วงจากรัฐ (สูญเสียอำนาจ)[๑๒.๐๗] (๒๘/๕๑)


สาธุธมฺมรุจีราชา

ราชาชอบธรรมจึงจะดี(จะเป็นการดีต่อเมื่อมีผู้ปกครองที่นิยมธรรม)[๑๒.๐๘] (๒๘/๕๐)


อกฺโกธนสฺสวิชิเตฐิตธมฺมสฺสราชิโน

สุขํมนุสฺสาอาเสถสีตจฺฉายายสํฆเร

ในแว่นแคว้นของราชาผู้มีเมตตามีธรรมมั่นคงประชาชนจะนั่งนอนเป็นสุขเหมือนมีร่มเงาที่เย็นสบายอยู่ในบ้านของตัวเอง[๑๒.๐๙] (๒๘/๕๐)


ควญฺเจตรมานานํชิมฺหํคจฺฉนฺติปุงฺคโวฯเปฯ

สพฺพํรฏฺฐทุกฺขํเสติราชาเจโหติอธมฺมิโก

เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ถ้าโคนำฝูงไปคดโคทั้งหมดก็ว่ายคดไปตามฉันใดในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้นผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรมจะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนที่เหลือถ้าราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรมรัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นทุกข์

ควญฺเจตรมานานํอุชุคจฺฉติปุงฺคโวฯเปฯ

สพฺพํรฏฺฐสุขํเสติราชาเจโหติธมฺมิโก

เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ถ้าโคนำฝูงไปตรงโคทั้งหมดย่อมว่ายตรงไปตามฉันใดในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้นผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรมประชาชนที่เหลือก็เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึงถ้าราชาตั้งอยู่ในธรรมรัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นสุข[๑๒.๑๐_] (๒๑/๗๐)


อริโยอนริยํกุพฺพํโยทณฺเฑนนิเสเธติ

สาสนํตํตํเวรํอิตินํปณฺฑิตาวิทู

เมื่ออนารยชนก่อกรรมชั่วอารยชนใช้อาญาหักห้ามการกระทำนั้นเป็นการสั่งสอนหาใช่เป็นเวรไม่บัณฑิตทั้งหลายเข้าใจกันอย่างนี้[๑๒.๑๑] (๒๗/๓๕๗)


นิสมฺมทณฺฑํปณเยยฺยอิสฺสโร

คนที่เป็นใหญ่จะต้องใคร่ครวญให้ดีก่อนจึงลงโทษ[๑๒.๑๒] (๒๗/๒๑๗๕)


เวคากตํตปฺปติภูมิปาล

ท่านผู้ครองแผ่นดิน! การที่ทำโดยผลีผลามจะแผดเผาตัวได้[๑๒.๑๓] (๒๗/๒๑๗๕)


โยอิสฺสโรมฺหีติกโรติปาปํ

กตฺวาโสนุตฺตปเตปเรสํ

เตนโสชีวติทีฆมายุ

เทวาปิปาเปนสเมกฺขเรนํ

ผู้ใดทำความชั่วด้วยสำคัญตัวว่า “เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่”ครั้นทำแล้วก็ไม่หวั่นเกรงต่อคนทั้งหลายอื่นผู้นั้นจะดำรงชีพอยู่ยืนยาวด้วยความชั่วนั้นก็หาไม่แม้เทพทั้งหลายก็มองดูเขาด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม[๑๒.๑๔] (๒๘/๓๑)


มาตาตอิสฺสโรมฺหีติอนตฺถายปตารยิ

อย่าสำคัญตนว่าเรามีอำนาจยิ่งใหญ่แล้วทำให้ประชาชนพลอยพินาศ

[๑๒.๑๕] (๒๗/๒๔๔๒)


สยํอายํวยํชญฺญาสยํชญฺญากตากตํ

ผู้ปกครองต้องทราบรายได้รายจ่ายด้วยตนเองต้องทราบกิจการที่ทำแล้วและยังมิได้ทำด้วยตนเอง[๑๒.๑๖] (๒๗/๒๔๔๒)


นิคฺคณฺเหนิคฺคหารหํปคฺคณฺเหปคฺคหารหํ

พึงข่มคนที่ควรข่มพึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง[๑๒.๑๗] (๒๗/๒๔๔๒)


อเปตโลมหํสสฺสรญฺโญกามานุสาริโน

สพฺเพโภคาวินสฺสนฺติรญฺโญตํวุจฺจเตอฆํ

ผู้ครองแผ่นดินที่เจ้าสำราญแส่หาแต่กามารมณ์โภคทรัพย์จะพินาศหมดนี่แลที่เรียกว่าทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน[๑๒.๑๘] (๒๗/๒๔๔๒)


มหตฺตปตฺโตปินิวาตวุตฺติ

ตสฺมึหโปเสวิปุลาภวามิ

อุมฺมีสมุทฺทสฺสยถาปิวณฺณํ

ถึงจะขึ้นสู่สถานะที่ยิ่งใหญ่ก็ถ่อมตัวใฝ่ฟังบัณฑิต

ท่านผู้เช่นนั้นจะเป็นที่ชื่นชมยำเกรงเหมือนคนเห็นบรรยากาศแห่งมหาสมุทรแล้วขามเกรงต่อศักยะแห่งคลื่นใหญ่[๑๒.๑๙] (๒๗/๘๘๒)


ปฐเมเนววิตถํโกธํหาสํนิวารเย

ตโตกิจฺจานิกาเรยฺยตํวตํอาหุขตฺติย

เริ่มแรกแก้ไขข้อที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้เสร็จระงับความโกรธกริ้วและความบันเทิงไว้ก่อนจากนั้นจึงสั่งงานข้อนี้นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นวัตร(ระเบียบปฏิบัติ) ของผู้ปกครอง

[๑๒.๒๐] (๒๗/๒๔๔๐)


มทาปมาโทชาเยถ

จากความมัวเมาก็เกิดความประมาท[๑๒.๒๑] (๒๗/๒๔๑๙)


ปมาทาชายเตขโย

จากความประมาทก็เกิดความเสื่อม[๑๒.๒๒] (๒๗/๒๔๑๙)


ขยาปโทสาชายนฺติ

จากความเสื่อมก็เกิดโทษประดัง[๑๒.๒๓] (๒๗/๒๔๑๙)


มามโทภรตูสภ

ผู้มีภาระปกครองรัฐจงอย่าได้ประมาทเลย[๑๒.๒๔] (๒๗/๒๔๑๙)


ขตฺติยสฺสปมตฺตสฺสรฏฺฐสฺมึรฏฺฐวฑฺฒน

สพฺเพโภคาวินสฺสนฺติรญฺโญตํวุจฺจเตอฆํ

เมื่อผู้ครองแผ่นดินประมาทโภคทรัพย์ในรัฐทั้งหมดย่อมพินาศนี่แลเรียกว่าทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน[๑๒.๒๕] (๒๗/๒๔๔๐)


อุปสฺสุตึมหาราชรฏฺเฐชนปเทจร

ตตฺถทิสฺวาสุตฺวาตโตตํปฏิปชฺชสิ

ดูกรมหาราชพระองค์จงเสด็จเที่ยวสดับดูความเป็นอยู่ความเป็นไปในแว่นแคว้นแดนชนบทครั้นได้เห็นได้ฟังแล้วจึงปฏิบัติราชกิจนั้นๆ[๑๒.๒๖] (๒๗/๒๔๑๙)


อรกฺขิตาชานปทาอธมฺมพลินาหตา

รตฺติญฺหิโจราขาทนฺติทิวาขาทนฺติตุณฑิยา

รฏฺฐสฺมึกูฏราชสฺสพหุอธมฺมิโกชโน

ชาวชนบทไม่ได้รับการพิทักษ์รักษาถูกกดขี่ด้วยค่าธรรมเนียมไม่ชอบธรรมกลางคืนโจรปล้นกลางวันข้าราชการข่มเหงในแว่นแคว้นของผู้ปกครองชั่วร้ายย่อมมีคนอาธรรม์มากมาย[๑๒.๒๗] (๒๗/๒๔๒๒)


รกฺเขยฺยานาคตํภยํ

พึงป้องกันภัยที่ยังไม่มาถึง[๑๒.๒๘] (๒๗/๕๔๕)


สงฺเกยฺยสงฺกิตพฺพานิ

พึงระแวงสิ่งที่ควรระแวง[๑๒.๒๙] (๒๗/๕๔๕)


สกฺกาโรกาปุริสํหนฺติ

สักการะฆ่าคนชั่วได้[๑๒.๓๐] (๑๕/๖๑๐)


โยอุปฺปติตํอตฺถิขิปฺปเมวพุชฺฌติ

อมิตฺตวสมนฺเวติปจฺฉาวอนุตปฺปติ

ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้โดยฉับพลันผู้นั้นจะหลงเข้าไปในอำนาจของศัตรูและจะเดือดร้อนภายหลัง[๑๒.๓๑] (๒๗/๑๔๓๐)


อปฺปเสโนปิเจมนฺตีมหาเสนํอมนฺตินํ

ถึงแม้จะมีกำลังพลน้อยแต่มีความคิดก็เอาชนะกองทัพใหญ่ที่ไร้ความคิดได้[๑๒.๓๒] (๒๘/๖๕๕)


พาโลอปริณายโก

คนพาลเป็นผู้นำไม่ได้[๑๒.๓๓] (๒๗/๓๑๓)


สาธุพลวาพาโลยูถสฺสปริหารโก

ผู้บริหารหมู่คณะถึงจะมีกำลังอำนาจแต่เป็นคนพาลย่อมไม่เป็นผลดี[๑๒.๓๔] (๒๗/๑๐๓๑)


ธีโรพลวาสาธุยูถสฺสปริหารโก

ผู้บริหารหมู่ชนเป็นปราชญ์และมีกำลังเข้มแข็งจึงจะเป็นผลดี[๑๒.๓๕] (๒๗/๑๐๓๒)


 

๑๓. บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ชั่ว

ปุญฺญโจเรหิทูหรํ

ความดีโจรลักไม่ได้[๑๓.๐๑] (๑๕/๑๕๙)


สยํกตานิปุญฺญานิตํมิตฺตํสมฺปรายิกํ

ความดีที่ทำไว้เองเป็นมิตรติดตามตัวไปเบื้องหน้า[๑๓.๐๒] (๑๕/๑๖๓)


มาวมญฺเญถปาปสฺสมตฺตํอาคมิสฺสติ

อย่าดูหมิ่นความชั่วว่าเล็กน้อยคงจักไม่มีผลมาถึงตัว

อุทพินฺทุนิปาเตนอุทกุมฺโภปิปูรติ

เพราะน้ำหยดทีละน้อยหม้อน้ำยังเต็มได้

อาปูรติพาโลปาปสฺสโถกํโถกํปิอาจินํ

พาลชนสร้างสมความชั่วทีละน้อยก็เต็มเพียบไปด้วยความชั่ว[๑๓.๐๓] (๒๕/๑๙)


ปาปญฺเจปุริโสกยิรานํกยิราปุนปฺปุนํ

คนเรานี้ถ้ามีอันทำชั่วลงไปก็อย่าพึงทำความชั่วนั้นซ้ำเข้าอีก

ตมฺหิฉนฺทํกยิราถทุกฺโขปาปสฺสอุจฺจโย

อย่าพึงสร้างความพอใจในความชั่วนั้นการสั่งสมความชั่วเป็นการก่อความทุกข์[๑๓.๐๔] (๒๕/๑๙)


โยปุพฺเพปมชฺชิตฺวาปจฺฉาโสนปฺปมชฺชติ

โสมํโลกํปภาเสติอพฺภามุตฺโตวจนฺทิมา

บุคคลใดในกาลก่อนเคยผิดพลาดครั้นภายหลังเขากลับตัวได้ไม่ประมาทบุคคลนั้นย่อมทำโลกให้แจ่มใสเหมือนดังดวงจันทร์อันพ้นจากเมฆหมอก[๑๓.๐๕] (๒๕/๒๓)


ยสฺสปาปํกตํกมฺมํกุสเลนปิถียติ

โสมํโลกํปภาเสติอพฺภามุตฺโตวจนฺทิมา

บุคคลใดเคยทำกรรมชั่วไว้แล้ว (กลับตัวได้) หันมาทำดีปิดกั้นบุคคลนั้นย่อมทำให้โลกแจ่มใสเหมือนดังดวงจันทร์อันพ้นจากเมฆหมอก[๑๓.๐๖] (๒๕/๒๓)


ยถาปิปุปฺผราสิมฺหากยิรามาลาคุเฬพหู

เอวํชาเตนมจฺเจนกตฺตพฺพํกุสลํพหุ

ช่างดอกไม้ร้อยพวงมาลัยได้มากมายจากกองดอกไม้กองหนึ่งฉันใดคนเราเกิดมาแล้วก็ควร (ใช้ชีวิตชาติหนึ่งนี้) สร้างความดีงามให้มาฉันนั้น[๑๓.๐๗] (๒๕/๑๔)


อาปูรติธีโรปุญฺญสฺสโถกํโถกํปิอาจินํ

ธีรชนสร้างความดีทีละน้อยก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี[๑๓.๐๘] (๒๕/๑๙)


สุโขปุญฺญสฺสอุจฺจโย

การสร้างสมความดีนำสุขมาให้[๑๓.๐๙] (๒๕/๑๙)

สุขสฺเสตํภิกฺขเวอธิวจนํฯเปฯยทิทํปุญฺญานิ

คำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข[๑๓.๑๐] (๒๕/๒๐๐)


สยํกตานิปุญฺญานิตํเวอาเวณิยํธนํ

ความดีที่ทำไว้เองนี่แหละเป็นทรัพย์ส่วนเฉพาะของตัวแท้ๆ[๑๓.๑๑] (๒๗/๑๙๙๘)

ปุญฺญสุขํชีวิตสงฺขยมฺหิ

กระทั่งถึงคราวสิ้นชีพบุญก็ช่วยให้สุขได้[๑๓.๑๒] (๒๕/๓๓)


ฆาสเหตูปิกเรยฺยปาปํ

ไม่ควรทำบาปแม้เพราะเห็นแก่กิน[๑๓.๑๓] (น.๒๗/๑๒๗๕)


สกมฺมุนาหญฺญติปาปธมฺโม

คนมีความชั่วย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตน[๑๓.๑๔] (๑๓/๔๕๑)


ปาปํปาเปนสุกรํ

ความชั่วคนชั่วทำง่าย[๑๓.๑๕] (๒๕/๑๒๔)


นตฺถิปาปํอกุพฺพโต

บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ[๑๓.๑๖] (๒๕/๑๙)


ตํกมฺมํกตํสาธุยํกตฺวาอนุตปฺปติ

ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลังกรรมที่ทำนั้นไม่ดี[๑๓.๑๗] (๑๕/๒๘๑)


ตญฺจกมฺมํกตํสาธุยํกตฺวานานุตปฺปติ

ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลังกรรมที่ทำนั้นแลดี[๑๓.๑๘] (๑๕/๒๘๑)

สุกรานิอสาธูนิอตฺตโนอหิตานิจ

การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตนทำง่าย[๑๓.๑๙] (๒๕/๒๒)


ยํเวหิตญฺจสาธุญฺจตํเวปรมทุกฺกรํ

การใดเป็นประโยชน์ด้วยดีด้วยการนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง[๑๓.๒๐] (๒๕/๒๒)


สุกรํสาธุนาสาธุ

ความดีคนดีทำง่าย[๑๓.๒๑] (๒๕/๑๒๔)


สาธุปาเปนทุกฺกรํ

ความดีคนชั่วทำยาก[๑๓.๒๒] (๒๕/๑๒๔)


กมฺมุนาวตฺตตีโลโก

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม[๑๓.๒๓] (๑๓/๗๐๗)


กมฺมํสตฺเตวิภชติยทิทํหีนปฺปณีตตาย

กรรมย่อมจำแนกสัตว์คือให้ทรามและประณีต[๑๓.๒๔] (๑๔/๕๙๖)


กลฺยาณการีกลฺยาณํปาปการีปาปกํ

ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว[๑๓.๒๕] (๑๕/๙๐๓)


ปจฺฉาตปฺปติทุกฺกฏํ

กรรมไม่ดีย่อมเผาผลาญในภายหลัง[๑๓.๒๖] (๑๕/๒๔๐)


อกตํทุกฺกฏํเสยฺโย

ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า[๑๓.๒๗] (๑๕/๒๔๐)


ปาปานํอกรณํสุขํ

การไม่ทำความชั่วให้เกิดความสุข[๑๓.๒๘] (๒๕/๓๓)


กตญฺจสุกตํเสยฺโย

ความดีทำไว้แลดีกว่า[๑๓.๒๙] (๑๕/๒๔๐)


สพฺพปาปสฺสอกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา

สจิตฺตปริโยทปนํเอตํพุทฺธานสาสนํ

การไม่ทำความชั่วทั้งปวง๑การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม๑การชำระจิตใจให้ผ่องใส๑สามข้อนี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้า[๑๓.๓๐] (๒๕/๒๔)


ธมฺโมหเวรกฺขติธมฺมจารึ

ธรรมนั่นแหละรักษาผู้ประพฤติธรรม[๑๓.๓๑] (๒๖/๓๓๒)


ธมฺโมสุจิณฺโณสุขมาวหาติ

ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำมาซึ่งความสุข[๑๓.๓๒] (๒๖/๓๓๒)


ธมฺมจารีสุขํเสติ

ผู้ประพฤติธรรมย่อมนอนเป็นสุข[๑๓.๓๓] (๒๕/๒๓)


ธมฺมปีติสุขํเสติ

ผู้อิ่มใจในธรรมย่อมนอนเป็นสุข[๑๓.๓๔] (๒๕/๑๖)


ปณฺฑิตาอตฺตสุขสฺสเหตุ

ปาปานิกมฺมานิสมาจรนฺติ

บัณฑิตไม่ประกอบความชั่วเพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว[๑๓.๓๕] (๒๗/๑๔๖๗)


ทุกฺเขนผุฏฺฐาขลิตาปิสนฺตา

ฉนฺทาโทสาชหนฺติธมฺมํ

บัณฑิตนั้นถึงถูกทุกข์กระทบถึงพลาดพลั้งลงก็คงสงบอยู่ได้และไม่ละทิ้งธรรมเพราะชอบหรือชัง[๑๓.๓๖] (๒๗/๑๔๖๗)


อิจฺเฉยฺยอธมฺเมนสมิทฺธิมตฺตโน

ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จแก่ตนโดยทางไม่ชอบธรรม[๑๓.๓๗] (๒๕/๑๖)

จเชธนํองฺควรสฺสเหตุ

องฺคํจเชชีวิตํรกฺขมาโน

องฺคํธนํชีวิตญฺจาปิสพฺพํ

จเชนโรธมฺมมนุสฺสรนฺโต

พึงสละทรัพย์เพื่อเห็นแก่อวัยวะ

พึงสละอวัยวะในเมื่อจะรักษาชีวิต

พึงสละได้หมดทั้งอวัยวะทรัพย์และชีวิตในเมื่อคำนึงถึงธรรม[๑๓.๓๘] (๒๖/๓๘๒)


อลาโภธมฺมิโกเสยฺโยยญฺเจลาโภอธมฺมิโก

ไม่ได้แต่ชอบธรรมดีกว่าถึงได้แต่ไม่ชอบธรรมจะดีอะไร[๑๓.๓๙] (๒๖/๓๘๒)


มรณํธมฺมิกํเสยฺโยยญฺเจชีเวอธมฺมิกํ

ตายอย่างชอบธรรมดีกว่าอยู่อย่างไม่ชอบธรรมจะมีค่าอะไร[๑๓.๔๐] (๒๖/๓๘๐)


ธมฺเมฐิตํวิชหาติกิตฺติ

เกียรติไม่ทิ้งผู้ตั้งอยู่ในธรรม[๑๓.๔๑] (๒๒/๔๒)


๑๔. กรรม

ยานิกโรติปุริโสตานิอตฺตนิปสฺสติ

คนทำกรรมใดไว้ย่อมเห็นกรรมนั้นในตนเอง[๑๔.๐๑] (๒๗/๒๙๔)


จรนฺติพาลาทุมฺเมธาอมิตฺเตเนวอตฺตนา

คนพาลทรามปัญญาย่อมดำเนินชีวิตโดยมีตนเองนั่นแหละเป็นศัตรู[๑๔.๐๒] (๑๕/๒๘๑)


๑๔. กรรม

ธญฺญธนํรชตํชาตรูปํ

ปริคฺคหํวาปิยทตฺถิกิญฺจิ

ทาสากมฺมกราเปสฺสาเยจสฺสอนุชีวิโน

สพฺพนฺนาทายคนฺตพฺพํสพฺพํนิกฺขีปคามินํ

ธัญญาหารทรัพย์สินเงินทองหรือสมบัติที่ครอบครองไม่ว่าอย่างใดที่มีอยู่คนรับใช้คนงานคนอาศัยทั้งหลายทุกอย่างล้วนพาเอาไปไม่ได้ต้องทิ้งไว้ทั้งหมด[๑๔.๐๓] (๑๕/๓๙๒)


ยญฺจกโรติกาเยนวาจายอุทเจตสา

ตํหิตสฺสสกํโหติตญฺจอาทายคจฺฉติ

กรรมใดทำไว้ด้วยกายด้วยวาจาหรือด้วยใจกรรมนั่นแหละเป็นสมบัติของเขาซึ่งเขาจะพาเอาไป[๑๔.๐๔] (๑๕/๓๙๒)


มาชาตึปุจฺฉจรณญฺจปุจฺฉ

อย่าถามถึงชาติกำเนิดจงถามถึงความประพฤติ[๑๔.๐๕] (๑๕/๖๖๐)


กมฺมํวิชฺชาธมฺโมสีลํชีวิตมุตฺตมํ

เอเตนมจฺจาสุชฺฌนฺติโคตฺเตนธเนนวา

การงาน๑วิชา๑ธรรม๑ศีล๑ชีวิตอันอุดม๑คนบริสุทธิ์ด้วยสิ่งทั้ง๕นี้หาใช่ด้วยตระกูลหรือด้วยทรัพย์ไม[๑๔.๐๖] (๑๕/๑๔๗)


    ๑๕. กิเลส

อิจฺฉาหิอนนฺตโคจรา

ความอยากได้ไม่มีที่จบสิ้นเลย[๑๕.๐๑] (๒๓/๓๓๙)


วิคติจฺฉานํนโมกโรมเส

ท่านที่ตัดความอยากเสียได้ข้าพเจ้าขอกราบไหว้เลยทีเดียว[๑๕.๐๒] (๒๗/๓๓๙)


ลทฺโธธมฺมํปสฺสติ

โลภเข้าแล้วมองไม่เห็นธรรม

อนฺธตมํตทาโหติยํโลโภสหเตนรํ

เมื่อความโลภเข้าครอบงำคนเวลานั้นมีแต่ความมืดตื้อ[๑๕.๐๓] (๒๕/๒๖๘)


อิจฺฉานรํปริกสฺสติ

ความอยากย่อมชักพาคนไปต่างๆ[๑๕.๐๔] (๑๕/๒๑๖)


กาเมหิโลกมฺหิหตฺถิติตฺติ

ความอิ่มด้วยกามทั้งหลายไม่มีในโลก[๑๕.๐๕] (๑๓/๔๕๑)


ภยมนฺตรโตชาตํตํชโนนาวพุชฺฌติ

คนโกรธไม่รู้ทันว่าความโกรธนั้นเป็นภัยที่เกิดขึ้นภายใน[๑๕.๐๖] (๒๕/๒๖๘)


กุทฺโธธมฺมํปสฺสติ

โกรธเข้าแล้วมองไม่เห็นธรรม[๑๕.๐๗] (๒๕/๒๖๘)


ยํกุทฺโธอุปโรเธติสุกรํวิยทุกฺกรํ

คนโกรธจะผลาญสิ่งใดสิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย[๑๕.๐๘] (๒๓/๖๑)


หนฺติกุทฺโธสมาตรํ

คนโกรธฆ่าได้แม้แต่มารดาของตน[๑๕.๐๙] (๒๓/๖๑)


ปจฺฉาโสวิคเตโกเธอคฺคิทฑฺโฒวตปฺปติ

ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้วเขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้[๑๕.๑๐] (๒๓/๖๑)


โกธโนทุพฺพณฺโณโหติ

คนมักโกรธย่อมมีผิวพรรณไม่งาม[๑๕.๑๑] (๒๓/๖๑)


โกธํฆตฺวาสุขํเสติ

ฆ่าความโกรธได้ย่อมนอนเป็นสุข[๑๕.๑๒] (๑๕/๑๙๙)


ยถาปิรุจิรํปุปฺผํวณฺณวนฺตํอคนฺธกํ

เอวํสุภาสิตาวาจาอผลาโหติอกุพฺพโต

วาจาสุภาษิตไม่มีผลแก่ผู้ไม่ปฏิบัติเหมือนดอกไม้งามที่มีแต่สีไม่มีกลิ่น[๑๕.๑๓] (๒๕/๑๔)


ยถาปิรุจิรํปุปฺผํวณฺณวนฺตํสคนฺธกํ

เอวํสุภาสิตาวาจาสผลาโหติสุกุพฺพโต

วาจาสุภาษิตย่อมมีผลแก่ผู้ปฏิบัติเหมือนดังดอกไม้งามที่มีทั้งสีสวยและกลิ่นอันหอม[๑๕.๑๔] (๒๕/๑๔)


สุภาสิตายาวาจาเอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

พูดดีเป็นมงคลอันอุดม[๑๕.๑๕] (๒๕/๖)


กุทฺธํอปฺปฏิกุชฺฌนฺโตสงฺคามํเชติทุชฺชยํ

ผู้ไม่โกรธตอบคนโกรธชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก[๑๕.๑๖] (๒๖/๓๕๘)


อุภินฺนมตฺถํจรติอตฺตโนปรสฺส

ปรํสงฺกุปิตํญตฺวาโยสโตอุปสมฺมติ

ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้วมีสติระงับได้ผู้นั้นชื่อว่าบำเพ็ญประโยชน์แก่คนถึง๒คนคือทั้งแก่ตนเองและแก่คนอื่นนั้น[๑๕.๑๗] (๒๖/๓๕๘)


    ๑๖. คุณธรรม

สจฺจํเวอมตาวาจา

คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย[๑๖.๐๑] (๑๕/๗๔๐)


สจฺจํหเวสาธุตรํรสานํ

สัจจะเป็นรสดียิ่งกว่าประดารส[๑๖.๐๒] (๒๕/๓๑๑)


สทฺธาทุติยาปุริสสฺสโหติ

ศรัทธาเป็นมิตรคู่ใจของคน[๑๖.๐๓] (๑๕/๑๗๕)


สุขาสทฺธาปติฏฺฐิตา

ศรัทธาตั้งมั่นแล้วนำสุขมาให้[๑๖.๐๔] (๒๕/๓๓)


สติโลกสฺมิชาคโร

สติทำให้ตื่นอยู่ในโลก(ในโลกนี้มีสติจึงจะนับว่าตื่น)[๑๖.๐๕] (๑๕/๒๑๗)

สติมโตสทาภทฺทํ

คนมีสติเท่ากับมีสิ่งนำโชคตลอดเวลา[๑๖.๐๖] (๑๕/๘๑๒)

  ๑๖. คุณธรรม

สติมโตสุเวเสยฺโย

คนมีสติย่อมดีขึ้นทุกวัน[๑๖.๐๗] (๑๕/๘๑๒)


อาทิสีลํปติฏฺฐากลฺยาณานญฺจมาตุกํ

ปมุขํสพฺพธมฺมานํตสฺมาสีลํวิโสธเย

ศีลเป็นเบื้องต้นเป็นที่ตั้งอาศัยเป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลายเป็นประมุขของธรรมทั่วไปฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์[๑๖.๐๘] (๒๖/๓๗๘)


สีลํอาภรณํเสฏฺฐ

ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ[๑๖.๐๙] (๒๖/๓๗๘)


สีลํกวจมพฺภุตํ

ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์[๑๖.๑๐] (๒๖/๓๗๘)


ปรํนาปิอตฺตานํวิหึสติสมาหิโต

ผู้มีจิตใจตั้งมั่นย่อมไม่เบียดเบียนคนอื่นและแม้ตนเอง[๑๖.๑๑] (๒๗/๖๒๑)


๑๗. วาจา

ยํหิกยิราตํหิวเทยํกยิราตํวเท

อกโรนฺตํภาสมานํปริชานนฺติปณฺฑิตา

จะทำสิ่งใดพึงพูดสิ่งนั้นสิ่งใดไม่ทำไม่พึงพูดถึง

บัณฑิตย่อมหมายเอาได้ว่าคนไม่ทำดีแต่พูด[๑๗.๐๑] (๒๗/๘๖๐)


ยถาวาทีตถาการี

พูดอย่างใดทำอย่างนั้น[๑๗.๐๒] (๒๗/๖๐๕)


หทยสฺสสทิสีวาจา

วาจาเช่นเดียวกับใจ[๑๗.๐๓] (๒๗/๕๖๐)


ปุริสสฺสหิชาตสฺสกุธารีชายเตมุเข

ยายฉินฺทติอตฺตานํพาโลทุพฺภาสิตํภณํ

คนเกิดมาชื่อว่ามีขวานเกิดติดปากมาด้วยสำหรับให้คนพาลใช้ฟันตัวเองในเวลาที่พูดคำชั่ว[๑๗.๐๔] (๒๕/๓๘๗)


โยนินฺทิยํปสํสติตํวานินฺทติโยปสํสิโย

วิจินาติมุเขนโสกลิกลินาเตนสุขํวินฺทติ

ผู้ใดสรรเสริญคนควรนินทาหรือนินทาคนควรสรรเสริญผู้นั้นเอาปากเก็บกาลีไว้จะไม่ได้พบสุขเพราะกาลีนั้น[๑๗.๐๕] (๒๑/๓)


เอกํธมฺมํอตีตสฺสมุสาวาทิสฺสชนฺตุโน

วิติณฺณปรโลกสฺสนตฺถิปาปํอการิย

คนที่ก้าวล่วงสัจธรรมอันเป็นหนึ่งเดียวเสียแล้วพูดจามีแต่คำเท็จไม่คำนึงถึงปรโลกความชั่วที่เขาจะไม่ทำเป็นไม่มี[๑๗.๐๖] (๒๕/๒๓)


สํโวหาเรนโสเจยฺยํเวทิตพฺพํ

ความสะอาดพึงทราบด้วยถ้อยคำสำนวน[๑๗.๐๗] (น.๒๕/๑๓๔)


สณฺหํคิรํอตฺถวตึปมุญฺเจ

ควรเปล่งวาจาไพเราะที่มีประโยชน์[๑๗.๐๘] (๒๗/๑๓๘๓)


วาจํปมุญฺเจกุสลํนาติเวลํ

ถึงวาจาดีก็ไม่ควรกล่าวให้เกินกาล[๑๗.๐๙] (๒๕/๔๒๓)


นาติเวลํปภาเสยฺยตุณฺหีสพฺพทาสิยา

อวิกิณฺณํมิตํวาจํปตฺเตกาเลอุทีรเย

ไม่ควรพูดจนเกินกาลไม่ควรนิ่งเสมอไปควรกล่าววาจาที่ไม่ฟั่นเฝือพอดีๆในเมื่อถึงเวลา[๑๗.๑๐] (๒๘/๙๖๖)


อพทฺธาตตฺถพชฺฌนฺติยตฺถพาลาปภาสเร

คนพาลยังไม่ถูกผูกแต่พอพูดในเรื่องใดก็ถูกมัดตัวในเรื่องนั้น

พทฺธาปิตตฺถมุจฺจนฺติยตฺถธีราปภาสเร

คนมีปัญญาแม้ถูกผูกมัดอยู่พอพูดในเรื่องใดก็หลุดได้ในเรื่องนั้น[๑๗.๑๑] (๒๗/๑๒๐)


๑๘. ชีวิต-ความตาย

วโยรตฺตินฺทิวกฺขโย

วัยสิ้นไปตามคืนและวัน[๑๘.๐๑] (๑๕/๑๗๓)


ยํยํวิวหเตรตฺติตทูนนฺตสฺสชีวิตํ

วันคืนล่วงไปชีวิตของคนก็พร่องลงไปจากประโยชน์ที่จะทำ[๑๘.๐๒] (๒๖/๓๕๙)


รตฺโยอโมฆาคจฺฉนฺติ

คืนวันไม่ผ่านไปเปล่า[๑๘.๐๓] (๒๘/๔๓๙)


อจฺเจนฺติกาลาตรยนฺติรตฺติโย

วโยคุณาอนุปุพฺพํชหนฺติ

กาลเวลาล่วงไปวันคืนผ่านพ้นไปวัยก็หมดไปทีละตอนๆตามลำดับ[๑๘.๐๔] (๑๕/๓๐๐)


รูปํชีรติมจฺจานํนามโคตฺตํชีรติ

รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไปแต่ชื่อและโคตรไม่เสื่อมสลาย[๑๘.๐๕] (๑๕/๒๑๐)


ทหราปิเยวุฑฺฒาเยพาลาเยปณฺฑิตา

อฑฺฒาเจวทลิทฺทาสพฺเพมจฺจุปรายนา

ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ทั้งคนพาลทั้งบัณฑิตทั้งคนมีทั้งคนจนล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด[๑๘.๐๖] (๑๐/๑๐๘)


มิยฺยมานํธนมนฺเวติกิญฺจิ

เมื่อตายทรัพย์สักนิดก็ติดตามไปไม่ได้[๑๘.๐๗] (๑๓/๔๕๑)


กาโลฆสติภูตานิสพฺพาเนวสหตฺตนา

กาลเวลาย่อมกลืนกินสัตว์ทั้งหลายพร้อมกันไปกับตัวมันเอง[๑๘.๐๘] (๗/๓๔๐)


ตํตญฺเจอนุโสเจยฺยยํยํตสฺสวิชฺชติ

อตฺตานมนุโสเจยฺยสทามจฺจุวสํปตฺตํ

ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงคนที่ไม่มีอยู่แก่ตนคือผู้ที่ตายไปแล้วไซร้ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเองซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา[๑๘.๐๙] (๒๗/๖๑๑)


เหวติฏฺฐนาสีนํสยานํปตฺถคุ

อายุสังขารใช่จะประมาทไปตามสัตว์ผู้ยืนนั่งนอนหรือเดินอยู่ก็หาไม่[๑๘.๑๐] (๗/๖๑๒)


ยาวุปฺปตฺตินิมิสฺสติตตฺราปิสรตีวโย

วัยย่อมเสื่อมลงเรื่อยไปทุกหลับตาทุกลืมตา[๑๘.๑๑] (๒๗/๖๑๒)


๑๘. ชีวิต-ความตาย

ตตฺถตฺตนิวตปฺปนฺเถวินาภาเวอสํสเย

ภูตํเสสํทยิตพฺพํจวิตํอนนุโสจิยํ

เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ความพลัดพรากจากกันก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัยหมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ควรเมตตาเอื้อเอ็นดูกันไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้ว[๑๘.๑๒] (๒๗/๖๑๓)


ยถาปิทารโกจนฺทํคจฺฉนฺตํอนุโรทติ

เอวํสมฺปทเมเวตํโยเปตมนุโสจติ

ทยฺหมาโนชานาติญาตีนํปริเทวิตํ

ตสฺมาเอตํโสจามิคโตโสตสฺสยาคติ

ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตายก็เหมือนเด็กร้องไห้ขอพระจันทร์ที่โคจรไปในอากาศคนตายถูกเผาอยู่ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึงเพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกเขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา[๑๘.๑๓] (๒๗/๗๒๐)


ผลานมิวปกฺกานํนิจฺจํปตนโตภยํ

เอวํชาตานมจฺจานํนิจฺจํมรณโตภยํ

ผลไม้สุกแล้วก็หวั่นแต่จะต้องร่วงหล่นไปตลอดเวลาฉันใดสัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วก็หวั่นแต่จะตายอยู่ตลอดเวลาฉันนั้น[๑๘.๑๔] (๒๗/๑๕๖๘)


สายเมเกทิสฺสนฺติปาโตทิฏฺฐาพหูชนา

ปาโตเอเกทิสฺสนฺติสายํทิฏฺฐาพหูชนา

ตอนเช้ายังเห็นกันอยู่มากคนพอตกเย็นบางคนก็ไม่เห็นเมื่อเย็นยังเห็นกันอยู่มากคนตกถึงเช้าบางคนก็ไม่เห็น[๑๘.๑๕] (๒๗/๑๕๖๙)


เอโกวมจฺโจอจฺเจติเอโกวชายเตกุเล

สํโยคปรมาเตฺววสมฺโภคาสพฺพปาณินํ

จะตายก็ไปคนเดียวจะเกิดก็มาคนเดียวความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลายก็เพียงแค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้น

[๑๘.๑๖] (๒๗/๑๕๗๓)


สนฺติปุตฺตาตาณายปิตานปิพนฺธวา

อนฺตเกนาธิปนฺนสฺสนตฺถิญาตีสุตาณตา

เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำไม่ว่าบุตรไม่ว่าบิดาไม่ว่าญาติพวกพ้องถึงจะมีก็ช่วยต้านทานไม่ได้จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติเป็นอันไม่มี[๑๘.๑๗] (๒๕/๓๐)


หิรุณฺณํวาโสโกวายาวญฺญาปริเทวนา

ตํเปตานมตฺถายเอวํติฏฺฐนฺติญาตโย

การร้องไห้ความเศร้าโศกหรือการคร่ำครวญร่ำไรใดๆย่อมไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วผู้ที่ตายแล้วก็คงอยู่อย่างเดิมนั่นเอง[๑๘.๑๘] (๒๕/๘)


หิรุณฺเณนโสเกนสนฺตึปปฺโปติเจตโส

ภิยฺยสฺสุปฺปชฺชเตทุกฺขํสรีรํจุปหญฺญติ

การร้องไห้หรือเศร้าโศกจะช่วยให้จิตใจสงบสบายก็หาไม่ทุกข์ยิ่งเกิดเพิ่มพูนทับทวีทั้งร่างกายก็พลอยทรุดโทรม[๑๘.๑๙] (๒๕/๓๘๐)

กีโสวิวณฺโณภวติหึสมตฺตานมตฺตนา

เตนเปตาปาเลนฺตินิรตฺถาปริเทวนา

เมื่อโศกเศร้าไปก็เท่ากับทำร้ายตัวเองร่างกายจะผ่ายผอมผิวพรรณจะซูบซีดหม่นหมองส่วนผู้ที่ตายไปแล้วก็เอาความโศกเศร้านั้นไปช่วยอะไรตัวไม่ได้ความร่ำไรรำพันย่อมไร้ประโยชน์[๑๘.๒๐] (๒๕/๓๘๐)

โสกมปฺปชหํชนฺตุภิยฺโยทุกฺขํนิคจฺฉติ

อนุตฺถุนนฺโตกาลกตํโสกสฺสวสมนฺวคู

คนที่สลัดความเศร้าโศกไม่ได้มัวทอดถอนถึงคนที่จากไปแล้วตกอยู่ในอำนาจของความโศกย่อมประสบความทุกข์หนักยิ่งขึ้น[๑๘.๒๑] (๒๕/๓๘๐)

อญฺเญปิปสฺสคมิเนยถากมฺมูปเคนเร

มจฺจุโนวสมาคมฺมผนฺทนฺเตวิธปาณิโน

ดูสิ! ถึงคนอื่นๆก็กำลังเตรียมตัวเดินทางไปตามยถากรรมที่นี่สัตว์ทั้งหลายเผชิญกับอำนาจของพญามัจจุราชเข้าแล้วกำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น[๑๘.๒๒] (๒๕/๓๘๐)


ตสฺมาอรหโตสุตฺวาวิเนยฺยปริเทวิตํ

เปตํกาลกตํทิสฺวาเนโสลพฺภามยาอิติ

เพราะฉะนั้นสาธุชนสดับคำสอนของท่านผู้ไกลกิเลสแล้วพึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสียเห็นคนล่วงลับจากไปก็ทำใจได้ว่าผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้[๑๘.๒๓] (๒๕/๓๘๐)


สุปิเนนยถาปิสงฺคตํปฏิพุทฺโธปุริโสปสฺสติ

เอวมฺปิปิยายิกํชนํเปตํกาลกตํปสฺสติ

คนที่รักใคร่ตายจากไปแล้วย่อมไม่ได้พบเห็นอีกเหมือนคนตื่นขึ้นไม่เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน[๑๘.๒๔] (๒๕/๔๑๓)


ยสฺสรตฺยาวิวสาเนอายุอปฺปตรํสิยา

วันคืนเคลื่อนคล้อยอายุเหลือน้อยเข้าทุกที[๑๘.๒๕] (๒๘/๔๓๗)


มจฺจุนาพฺภหโตโลโกชรายปริวาริโต

สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่นถูกชราปิดล้อม[๑๘.๒๖] (๒๘/๔๓๙)


ยถาวาริวโหปูโรคจฺฉํปริวตฺตติ

เอวมายุมนุสฺสานํคจฺฉํปริวตฺตติ

แม่น้ำเต็มฝั่งไม่ไหลทวนขึ้นที่สูงฉันใดอายุของมนุษย์ทั้งหลายย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีกฉันนั้น[๑๘.๒๗] (๒๘/๔๓๙)


ตสฺมาอิธชีวิตเสเส

กิจฺจกโรสิยานโรมชฺเช

เพราะฉะนั้นในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่และไม่พึงประมาท[๑๘.๒๘] (๒๕/๓๘๗)


ปาปญฺจเมนตฺถิกตํกุหิญฺจิ

ตสฺมาสงฺเกมรณาคมาย

ข้าพเจ้าไม่มีความชั่วซึ่งทำไว้ณที่ไหนๆเลยฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง[๑๘.๒๙] (๒๘/๑๐๐๐)


ธมฺเมฐิโตปรโลกํภาเย

ตั้งอยู่ในธรรมแล้วไม่ต้องกลัวปรโลก[๑๘.๓๐] (๑๕/๒๐๘)


๑๙. พ้นทุกข์-พบสุข

ลาโภอลาโภยโสอยโส

นินฺทาปสํสาสุขํทุกฺขํ

เอเตอนิจฺจามนุเชสุธมฺมา

มาโสจิกึโสจสิโปฏฺฐปาท

ได้ลาภเสื่อมลาภได้ยศเสื่อมยศนินทาสรรเสริญสุขและทุกข์สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอนอย่าเศร้าโศกเลยท่านจะโศกเศร้าไปทำไม[๑๙.๐๑](๒๗/๖๑๕)


อสาตํสาตรูเปนปิยรูเปนอปฺปิยํ

ทุกฺขํสุขสฺสรูเปนปมตฺตมติวตฺตติ

ผู้ที่มัวเพลินประมาทอยู่กับสิ่งที่ชอบใจสิ่งที่รักและสิ่งที่เป็นสุขจะถูกสิ่งที่ไม่ชอบไม่รักและความทุกข์เข้าครอบงำ[๑๙.๐๒] (๒๓/๑๐๐)

หิรญฺญเมสุวณฺณํเมเอสารตฺตินฺทิวากถา

ทุมฺเมธานํมนุสฺสานํอริยธมฺมํอปสฺสตํ

พวกมนุษย์ผู้อ่อนปัญญาไม่เห็นอารยธรรมสนทนาถกเถียงกันทั้งวันทั้งคืนแต่ในเรื่องว่าเงินของเราทองของเรา[๑๙.๐๓] (๒๗/๒๘๗)


ยาวเทวสฺสหูกิญฺจิตาวเทวอขาทิสุ

ตราบใดยังมีชิ้นเนื้อคาบไว้นิดหน่อยตราบนั้นก็ยังถูกกลุ้มรุมยื้อแย่ง[๑๙.๐๔] (๒๗/๖๑๙)


หึสนฺติอกิญฺจนํ

ไม่มีอะไรเลยไม่มีใครเบียดเบียน[๑๙.๐๕] (๒๗/๖๑๙)


นาพฺภตีตหโรโสโกนานาคตสุขาวโห

ความโศกนำสิ่งล่วงแล้วคืนมาไม่ได้ความโศกไม่อาจนำมาซึ่งความสุขในอนาคต[๑๙.๐๖] (๒๗/๗๒๓)


๑๘. ชีวิต-ความตาย

โสจํปณฺฑุกิโสโหติภตฺตญฺจสฺสรุจฺจติ

อมิตฺตาสุมนาโหนฺติสลฺลวิทฺธสฺสรุปฺปโต

มัวเศร้าโศกอยู่ก็ซูบผอมลงอาหารก็ไม่อยากรับประทานศัตรูก็พลอยดีใจในเมื่อเขาถูกลูกศรแห่งความโศกเสียบแทงย่ำแย่อยู่[๑๙.๐๗] (๒๗/๗๒๔)


โยอตฺตโนทุกฺขมนานุปุฏฺโฐ

ปเวทเยชนฺตุอกาลรูเป

อานนฺทิโนตสฺสภวนฺติมิตฺตา

หิเตสิโนตสฺสทุกฺขีภวนฺติ

ผู้ใดพอใครถามถึงทุกข์ของตนก็บอกเขาเรื่อยไปทั้งที่มิใช่กาลอันควรผู้นั้นจะมีแต่มิตรชนิดเจ้าสำราญส่วนผู้หวังดีต่อเขาก็มีแต่ทุกข์[๑๙.๐๘] (๒๗/๑๗๘๒)

๑๘. ชีวิต-ความตาย

กาลญฺจญตฺวานตถาวิธสฺส

เมธาวินํเอกมนํวิทิตฺวา

อกฺเขยฺยติปฺปานิปรสฺสธีโร

สณฺหํคิรํอตฺถวตึปมุญฺเจ

คนฉลาดพึงรู้จักกาลอันควรกำหนดเอาคนมีความคิดที่ร่วมใจกันได้แล้วจึงบอกทุกข์ร้อนโดยกล่าววาจาสละสลวยได้ถ้อยได้ความ[๑๙.๐๙] (๒๗/๑๓๘๓)


อนาคตปฺปชปฺปายอตีตสฺสานุโสจนา

เอเตนพาลาสุสฺสนฺตินโฬวหริโตลุโต

ชนทั้งหลายผู้ยังอ่อนปัญญาเฝ้าแต่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึงและหวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงแล้วจึงซูบซีดหม่นหมองเสมือนต้นอ้อสดที่เขาถอนทึ้งขึ้นทิ้งไว้ที่ในกลางแดด[๑๙.๑๐](๑๕/๒๒)


๑๘. ชีวิต-ความตาย

ชคฺคํนสงฺเกมินปิเภมิโสตฺตุ

รตฺตินฺทิวานานุปตนฺติมามํ

หานึนปสฺสามิกุหิญฺจิโลเก

ตสฺมาสุเปสพฺพภูตานุกมฺปี

เราเดินทางไปในแดนสัตว์ร้ายก็ไม่หวาดหวั่นถึงจะนอนหลับในที่เช่นนั้นก็ไม่กลัวเกรงคืนวันผ่านไปไม่มีอะไรให้เราเดือดร้อนเรามองไม่เห็นว่ามีอะไรที่เราจะเสียณที่ไหนในโลกเพราะฉะนั้นเราจึงนอนสบายใจก็คิดแต่จะช่วยเหลือปวงสัตว์[๑๙.๑๑] (๑๕/๔๕๔)


สุขํวตตสฺสโหติกิญฺจิ

ผู้ไม่มีอะไรค้างใจกังวลย่อมมีแต่ความสุขหนอ[๑๙.๑๒] (๒๕/๕๕)


สกิญฺจนํปสฺสวิหญฺญมานํ

ดูสิ! คนมีห่วงกังวลวุ่นวายอยู่[๑๙.๑๓] (๒๕/๕๕)


อตีตํนานุโสจนฺตินปฺปชปฺปนฺตินาคตํ

ปจฺจุปฺปนฺเนนยาเปนฺติเตนวณฺโณปสีทติ

ผู้ถึงธรรมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้วไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึงดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบันฉะนั้นผิวพรรณจึงผ่องใส[๑๙.๑๔] (๑๕/๒๒)

สุขิโนวตารหนฺโต

ท่านผู้ไกลกิเลสมีความสุขจริงหนอ[๑๙.๑๕] (๑๗/๑๕๓)

ยถาปิอุทเกชาตํปุณฺฑรีกํปวฑฺฒติ

โนปลิปฺปติโตเยนสุจิคนฺธํมโนรมํ

ตเถวโลเกชาโตพุทฺโธโลเกวิหรติ

โนปลิปฺปติโลเกนโตเยนปทุมํยถา

ดอกบัวเกิดและเจริญงอกงามในน้ำแต่ไม่ติดน้ำทั้งส่งกลิ่นหอมชื่นชูใจให้รื่นรมย์ฉันใดพระพุทธเจ้าทรงเกิดในโลกและอยู่ในโลกแต่ไม่ติดโลกเหมือนบัวไม่ติดน้ำฉันนั้น[๑๙.๑๖] (๒๖/๓๘๔)


  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท