มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

การบรรลุธรรมของพระอรหันต์


 

  โครงการธรรมศึกษาวิจัย

การบรรลุธรรมของพระอรหันต์ 

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐  พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ

การศึกษา  การบรรลุธรรมของพระอรหันต์ ช่วยให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงความจริงในหลักธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ สร้างความลึกซึ้งการจะเข้าถึงธรรมได้อย่างดี วางใจเพื่อบรรลุธรรม เพราะในมีการแสดงเปรียบเทียบความจริงกับสิ่งปรากฏให้รู้ได้  เพื่อให้การศึกษา การบรรลุธรรมของพระอรหันต์ เป็นอย่างเข้าใจ ผู้เขียนจึงสกัดเนื้อธรรม และภาษาให้เข้าถึงธรรมได้อย่างง่ายๆและไม่เสียเนื้อความ อันที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์นี้ สามารถสร้างเข้าใจได้อย่างง่ายขึ้น

  หนังสือนี้เชื่อว่าจะยังคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน ด้วยผลแห่งกุศลที่ประสงค์จะดำรงพระสัทธรรมให้ดำรงคงมั่นในอยู่จิตใจชาวพุทธ สร้างเสริมปัญญาเป็นบารมี จงเป็นบุญญาบารมีให้บิดามารดาครูอาจารย์ญาติพี่น้องตลอดจนสหายธรรมทุกท่านเป็นผู้ดำรงคงมั่น ในสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และให้ศาสนาแห่งพระบรมศาสดาดำรงคงอยู่ตลอดกาลนาน เป็นแสงสว่างนำพาชีวิตของสรรพสัตว์ออกจากห้วงมหรรณพภพสงสารพ้นกองทุกข์กองโศกกองกิเลสเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ด้วยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกคนเทอญ

  ธีรเมธี

  ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

  มหาบัณฑิตพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

การบรรลุธรรมของพระอรหันต์

  อุปติสสะมาณพ
ย่อความจากพระไตรปิฎก :พระวินัยปิฎก เล่ม 4 มหาวรรค ภาค 1มหาขันธกะเรื่องพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา

[๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล สญชัยปริพาชก อาศัยอยู่ในพระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ จำนวน ๒๕๐ คน.ก็ครั้งนั้น อุปติสสะมาณพประพฤติพรหมจรรย์อยู่ในสำนักสญชัยปริพาชก.
ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอัสสชินุ่งอันตรวาสก แล้วถือบาตร จีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียวคู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลงถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ.
อุปติสสะปริพาชกได้เห็นท่านพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขนเหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถครั้นแล้วได้มีความดำริว่า บรรดาพระอรหันต์ หรือท่านผู้ได้บรรลุพระอรหัตมรรคในโลกภิกษุรูปนี้คงเป็นผู้ใดผู้หนึ่งแน่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้ แล้วถามว่าท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร? แล้วได้ดำริต่อไปว่ายังเป็นกาลไม่สมควรจะถามภิกษุรูปนี้ เพราะท่านกำลังเข้าละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาตผิฉะนั้น เราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไปข้างหลังๆเพราะเป็นทางอันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลายจะต้องสนใจ.
ครั้งนั้นท่านพระอัสสชิเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ถือบิณฑบาตกลับไป.จึงอุปติสสะปริพาชกเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ ถึงแล้วได้พูดปราศรัยกับท่านพระอัสสชิครั้นผ่านการพูดปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณที่ควรส่วนหนึ่ง. อุปติสสะปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอัสสชิ
ว่า :อินทรีย์ของท่านผ่องใสผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่านหรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ?
อ.มีอยู่ท่านพระมหาสมณะศากยบุตร เสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูลเราบวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเราและเราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.
อุป.ก็พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?
อ.เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่าน ได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ.
อุป.น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิดท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการใจความอย่างเดียวท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม.

[๖๕] ลำดับนั้นท่านพระอัสสชิได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่อุปติสสะปริพาชก ว่าดังนี้:-

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุพระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้นพระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้.

[๖๖] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดาได้เกิดขึ้นแก่ อุปติสสะปริพาชกธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น ท่านทั้งหลายจงแทงตลอดบทอันหาความโศกมิได้บทอันหาความโศกมิได้นี้ พวกเรายังไม่เห็น ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัลป์.
อุปติสสะปริพาชกนี้ต่อมาได้บวชในพระพุทธศาสนา คนทั่วไปเรียกท่านว่าพระสารีบุตร (เพราะมารดาของท่านชื่อสารี) และได้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าได้รับการยกย่องว่าเป็นสาวกที่มีปัญญามากที่สุด
วิเคราะห์
เนื่องจากอุปติสสะปริพาชกนั้นเป็นผู้มีปัญญามาก และได้สร้างสมบุญบารมีเพื่อการหลุดพ้น มาจนเต็มรอบแล้วจิตใจจึงน้อมไปเพื่อความหลุดพ้นอย่างเต็มที่แล้วเมื่อได้รับการสะกิดอีกเพียงนิดเดียว ก็คลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงลงไปได้ซึ่งธรรมที่พระอัสสชิแสดงนั้นได้กระตุ้นให้อุปติสสะปริพาชกเห็นแจ้งในความจริงของสิ่งทั้งหลายว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วในไม่ช้าก็ต้องดับไปเป็นธรรมดา สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นนั้นเป็นเพียงสภาวะที่เกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น อีกไม่นานก็จะเปลี่ยนแปรไปเหมือนฟองสบู่ที่เกิดขึ้นชั่วขณะ แล้วก็แตกดับไปจิตของอุปติสสะปริพาชกจึงคลายความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวงลงไปกลายเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบัน.

พระสารีบุตร
ย่อความจากพระไตรปิฎก :พระสุตตันตปิฎก เล่ม 5 มัชฌิมนิกายมัชฌิมปัณณาสก์ ทีฆนขสูตร

[๒๖๙] ... สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏเขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.ได้กราบทูล
ว่า :ท่านพระโคดมความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า : อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้นก็ไม่ควรแก่ท่าน.
ท.ท่านพระโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นแม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.
พ.อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่าแม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้นแม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้และยังยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้. อัคคิเวสสนะชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้นแม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้น ละความเห็นนั้นได้และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.

[๒๗๐]พ. (ต่อ)อัคคิเวสสนะสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เราดังนี้ ก็มี. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่าบางสิ่ง ควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้นความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่าสิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัดใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลินใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น. อัคคิเวสสนะบรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัดใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลินใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืนใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้วทีฆนขปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า :ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า.
พ.อัคคิเวสสนะในความเห็นนั้นๆ ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่าบางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรานั้น ส่วนที่เห็นว่าควร ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืนใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น ส่วนที่เห็นว่าไม่ควรใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืนใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.

[๒๗๑]พ. (ต่อ)อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่าเราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า

เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้

มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑

สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑.

เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกันความแก่งแย่งกันก็มี. เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี.วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันและความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วยไม่ยึดถือทิฎฐิอื่นด้วย การละการสละคืนทิฎฐิเหล่านี้ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
พ.อัคคิเวสสนะบรรดาความเห็นนั้น ในทิฎฐิของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่นซึ่งทิฎฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า

สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑

สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เราบางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มีเมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกันความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกันความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฎฐินั้นเสียด้วยไม่ยึดถือทิฎฐิอื่นด้วย. การละ การสละคืนทิฎฐิเหล่านั้นย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
พ. อัคคิเวสสนะบรรดาความเห็นนั้น ในทิฎฐิของสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่าบางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่าถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น ซึ่งทิฎฐิของเราว่า บางสิ่งควรแก่เราบางสิ่งไม่ควรแก่เราดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริงสิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑.เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกันความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี.วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันและความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฎฐินั้นเสียด้วยไม่ยึดถือทิฎฐิอื่นด้วย การละการสละคืนทิฎฐิเหล่านั้นย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.

[๒๗๒]พ. อัคคิเวสสนะ ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่

มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจมีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศรเป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตน.เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่นเป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่ ท่านย่อมละความพอใจในกายความเยื่อใยในกาย ความอยู่ในอำนาจของกายในกายได้.

[๒๗๓]พ. (ต่อ)อัคคิเวสสนะเวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑.

อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนาในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนาได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนาในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนาได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนาในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น.
พ. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.
พ. อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนาทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
พ. อัคคิเวสสนะภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆโวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฎฐิ.

[๒๗๔]ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณเบื้องพระปฤษฎางค์พระผู้มีพระภาค ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่าพระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ทีฆนขปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.

[๒๗๕] ลำดับนั้นทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันถึงแล้ว มีธรรมอันทราบแล้วมีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลงถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดาได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่าผู้มีจักษุเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.
จบทีฆนขสูตร
วิเคราะห์
พระพุทธเจ้าทรงโปรดทีฆนขปริพาชกไปตามลำดับขั้นจากขั้นหยาบไปถึงขั้นประณีต ดังนี้คือ

ทรงทำให้ละทิฏฐิเดิม ที่เห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เราและทรงแสดงให้เห็นโทษ ของการยึดถือทิฏฐิประเภทต่างๆและวิธีพิจารณาเพื่อละทิฏฐิเหล่านั้น

ทรงแสดงให้ละความยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย โดยแสดงเหตุที่ทำให้กายเกิดขึ้นเจริญขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป โทษของร่างกาย และวิธีละความยึดมั่นในกาย

ทรงแสดงให้ละความยึดมั่นถือมั่นในเวทนา โดยทรงจำแนกประเภทของเวทนาการเกิดขึ้น และดับไปของเวทนาแต่ละประเภท และวิธีละความยึดมั่นในเวทนา

เมื่อได้รับการชี้ทาง พระสารีบุตรจึงเกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอดเข้าใจในธรรมชาติของสรรพสิ่ง ที่มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจอย่างชัดเจน จนไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ เหลืออยู่อีกเลยจึงละความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงลงไปได้ บรรลุเป็นพระอรหันต์อยู่ ณที่ตรงนั้น

ปิงคิยมาณพ
ย่อความจากพระไตรปิฎก :พระสุตตันตปิฎก เล่ม 17 ขุททกนิกาย อุทานปรายนวรรคที่ 5 ปิงคิยปัญหาที่๑๖

[๔๔๐] ปิงคิยมาณพทูลถามปัญหาว่า ข้าพระองค์เป็นคนแก่แล้ว มีกำลังน้อยผิวพรรณเศร้าหมอง นัยน์ตาทั้งสองของข้าพระองค์ไม่ผ่องใสหูสำหรับฟังก็ไม่สะดวก ขอข้าพระองค์อย่างได้เป็นคนหลง ฉิบหายเสียในระหว่างเลยขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมที่ ข้าพระองค์ควรรู้ซึ่งเป็นเครื่องละชาติและชราในอัตภาพนี้ เสียเถิดฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรปิงคิยะชนทั้งหลายได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้เดือดร้อนอยู่ เพราะรูปทั้งหลายแล้วยังเป็นผู้ประมาทก็ย่อยยับอยู่เพราะรูปทั้งหลาย ดูกรปิงคิยะเพราะเหตุนั้นท่านจงเป็นคนไม่ประมาทละรูปเสีย เพื่อความไม่เกิดอีก ฯ
ปิ.ทิศใหญ่สี่ ทิศน้อยสี่ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ รวมเป็นสิบทิศ สิ่งไรๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง ไม่ได้ทราบ หรือไม่ได้รู้แจ้งมิได้มี ขอพระองค์จงตรัส บอกธรรมที่ข้าพระองค์ควรรู้ เป็นเครื่องละชาติและชราในอัตภาพนี้เถิด ฯ
พ.ดูกรปิงคิยะเมื่อท่านเห็นหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เกิดความเดือดร้อน อันชราถึงรอบข้างดูกรปิงคิยะ เพราะ เหตุนั้น ท่านจงเป็นคนไม่ประมาทละตัณหาเสีย เพื่อความไม่เกิดอีกฯ



[๔๔๓] ... พราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์ถามพระปิงคิยะว่า ท่านปิงคิยะพระโคดมพระองค์ใด ได้ทรงแสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาลเป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีจัญไร หาอุปมาในที่ไหนๆ มิได้แก่ท่าน เพราะเหตุไรหนอท่านจึงอยู่ปราศจากพระโคดมพระองค์นั้น ผู้มีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏดุจแผ่นดินมีพระปัญญากว้างขวาง สิ้นกาลแม้ครู่หนึ่งเล่าฯ
พระปิงคิยะตอบพราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์ว่า ท่านพราหมณ์ พระโคดมพระองค์ใดได้ทรงแสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีจัญไรหาอุปมาในที่ไหนๆ มิได้แก่อาตมา อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระโคดมพระองค์นั้นผู้มีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏดุจแผ่นดิน มีพระปัญญากว้างขวาง สิ้นกาล แม้ครู่หนึ่งท่านพราหมณ์ อาตมาไม่ประมาททั้งกลางคืน กลางวันเห็นอยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยจักษุ ฉะนั้นอาตมานมัสการอยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้นตลอดราตรี อาตมามาสำคัญความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้น ด้วยความไม่ประมาทนั้น ศรัทธา ปีติมานะ และสติของอาตมา ย่อมน้อมไปในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้โคดมพระพุทธเจ้าผู้โคดมผู้มีพระปัญญากว้างขวาง ประทับอยู่ยังทิศาภาค ใดๆอาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศาภาคนั้นๆ นั่นแล ร่างกายของอาตมาผู้แก่แล้วมีกำลังและเรี่ยวแรงน้อยนั่นเอง ท่านพราหมณ์อาตมาไปสู่พระพุทธเจ้าด้วยการไปแห่งความ ดำริเป็นนิตย์เพราะว่าใจของอาตมาประกอบแล้วด้วยพระพุทธเจ้านั้น อาตมานอนอยู่บนเปือกตม คือกามดิ้นรนอยู่ (เพราะตัณหา) ลอยจากเกาะหนึ่งไปสู่เกาะหนึ่ง ครั้งนั้นอาตมาได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ ฯ


(ในเวลาจบคาถานี้พระผู้มีพระภาคทรงทราบความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ ของพระปิงคิยะและพราหมณ์พาวรีแล้วประทับอยู่ ณ นครสาวัตถีนั้นเอง ทรงเปล่งพระรัศมีดุจทองไปแล้วพระปิงคิยะกำลังนั่งพรรณนาพระพุทธคุณแก่ พราหมณ์พาวรีอยู่ได้เห็นพระรัศมีแล้วคิดว่า นี้อะไร เหลียวแลไปได้เห็นพระผู้มีพระภาคประหนึ่งประทับอยู่เบื้องหน้าตน จึงบอกแก่พราหมณ์พาวรีว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว พราหมณ์พาวรีได้ลุกจากอาสนะประคองอัญชลียืนอยู่แม้พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงแผ่พระรัศมีแสดงพระองค์แก่พราหมณ์พาวรีทรงทราบธรรมเป็นที่สบายของพระปิงคิยะและพราหมณ์พาวรีทั้งสองแล้ว เมื่อจะตรัสเรียกแต่พระปิงคิยะองค์เดียว จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า)
ดูกรปิงคิยะพระวักกลิ พระภัทราวุธะ และพระอาฬวีโคดม เป็นผู้มีศรัทธาน้อมลงแล้วฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาลง ฉันนั้น ดูกรปิงคิยะเมื่อท่านน้อมลงด้วยศรัทธาปรารภวิปัสสนา โดยนัยเป็นต้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงก็จักถึงนิพพาน อันเป็นฝั่งโน้นแห่ง วัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมัจจุราชฯ
พระปิงคิยะเมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของตนจึงกราบทูลว่าข้าพระองค์นี้ย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง เพราะได้ฟังพระวาจาของ พระองค์ผู้เป็นมุนีพระองค์มีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้ว ตรัสรู้แล้วด้วยพระองค์เองไม่มีกิเลสดุจเสาเขื่อน ทรงมีปฏิภาณ ทรงทราบธรรมเป็นเหตุกล่าวว่าประเสริฐยิ่งทรงทราบธรรมชาติทั้งปวง ทั้งเลวและประณีตพระองค์เป็นศาสดาผู้กระทำที่สุดแห่งปัญหาทั้งหลายแก่เหล่าชนผู้มีความสงสัยปฏิญาณอยู่ นิพพานอันกิเลสมีราคะเป็นต้นไม่พึงนำไปได้เป็นธรรมไม่กำเริบ หาอุปมาในที่ไหนๆ มิได้ข้าพระองค์จักถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแน่แท้ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในนิพพานนี้เลย ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้ว (ในนิพพาน) ด้วย ประการนี้แล ฯ
จบปารายนวรรคที่๕

หมายเลขบันทึก: 512456เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 

วิเคราะห์
เนื่องจากพระปิงคิยะเป็นผู้ยิ่งด้วยศรัทธาพระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้ท่านใช้ศรัทธา นำหน้าปัญญาในการเข้าถึงธรรมคือท่านมีปัญญาเห็นแจ้งในธรรมชาติทั้งปวง (เช่น สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นต้น)อยู่ระดับหนึ่ง แล้วอาศัยศรัทธาน้อมใจเชื่อคำสอนอื่นๆ ของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงลงไป จนกลายเป็นพระอรหันต์ซึ่งผู้ที่บรรลุธรรมด้วยวิธีนี้ ที่กล่าวถึงไว้ในพระไตรปิฎกมีเพียงไม่กี่รูปเท่านั้น เช่น พระวักกลิ พระภัทราวุธะ และพระอาฬวีโคดมรวมถึงพระปิงคิยะรูปนี้ด้วย.

พระวักกลิ
ย่อความจากพระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกายอปทาน ภาค 2 วักกลิเถราปทานสูตร

[๑๒๒] ... (ท่านพระวักกลิเถระได้เล่าประวัติของท่านเองดังนี้) ...ได้เกิดในสกุลหนึ่งในพระนครสาวัตถีมารดาของเราถูกภัยปีศาจคุกคาม มีใจหวาดกลัว จึงให้เราผู้ละเอียดอ่อนเหมือนเนยข้นนุ่มนิ่มเหมือนใบไม้อ่อนๆ ซึ่งยังนอนหงายให้นอนลงแทบบาทมูลของพระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ กราบทูลว่า ข้าแต่พระโลกนาถหม่อมฉันขอถวาย ทารกนี้แด่พระองค์ ข้าแต่พระโลกนายกขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของเขาด้วยเถิด
ครั้งนั้นสมเด็จพระมุนีผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์ผู้หวาดกลัวพระองค์ได้ทรงรับเราด้วยฝ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม มีตาข่ายอันท่านกำหนดด้วยจักร
จำเดิมแต่นั้นมาเราก็เป็นผู้ถูกรักษาโดยพระพุทธเจ้า จึงเป็นผู้พ้นจากความป่วยไข้ทุกอย่างอยู่โดยสุขสำราญ เราเว้นจากพระสุคตเสียเพียงครู่เดียวก็กระสัน

พออายุได้ ๗ ขวบ เราก็ออกบวชเป็นบรรพชิตเราเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการดูพระรูปอันประเสริฐ เกิดพระบารมีทุกอย่าง มีดวงตาสีเขียวล้วนเกลื่อนกล่นไปด้วยวรรณสันฐานอันงดงาม
ครั้งนั้น พระพิชิตมารทรงทราบว่าเรายินดีในพระพุทธรูป จึงได้ตรัสสอนเราว่า อย่าเลยวักกลิประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียดซึ่งชนพาลชอบเล่า ก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรมบัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็นกายมีโทษไม่สิ้นสุด เปรียบเสมอด้วยต้นไม้มีพิษ เป็นที่อยู่ของโรคทุกอย่างล้วนเป็นที่ประชุมของทุกข์ เพราะฉะนั้น ท่านจงเบื่อหน่ายในรูปพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลายจักถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้โดยง่าย
เราอันสมเด็จพระโลกนายกผู้แสวงหาประโยชน์พระองค์นั้นทรงพร่ำสอนอย่างนี้ ได้ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ เพ่งดูอยู่ที่ซอกเขาพระพิชิตมารผู้มหามุนีประทับยืนอยู่ที่เชิงเขา เมื่อจะทรงปลอบโยนเรา
ได้ตรัสเรียกว่า วักกลิเราได้ฟังพระดำรัสนั้นเข้าก็เบิกบาน ครั้งนั้นเราวิ่งลงไปที่เงื้อมเขาสูงหลายร้อยชั่วบุรุษแต่ถึงแผ่นดินได้โดยสะดวกทีเดียวด้วยพุทธานุภาพ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมเทศนาคือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ ทั้งหลายอีก เรารู้ธรรมนั้นทั่วถึงแล้วจึงได้บรรลุอรหัต
... เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
จบวักกลิเถราปทาน.

>>>>> พระวักกลิรูปนี้ได้รับการรับรองจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุสาวกของพระองค์ทั้งหลายในด้านเป็นผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา (พระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก เล่ม 12 อังคุตตรนิกาย ข้อ 147)

พระวักกลิ (อีกรูปหนึ่ง)
ย่อความจากพระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม 9 สังยุตตนิกายขันธวารวรรควักกลิสูตร

ว่าด้วยการเห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า

[๒๑๕] สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์.สมัยนั้นแล ท่านพระวักกลิอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนาพักอยู่ที่นิเวศน์ของนายช่างหม้อ.
ครั้งนั้น ท่านพระวักกลิเรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมา แล้วกล่าวว่า มาเถิดอาวุโส ท่านทั้งหลายจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ จงถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราแล้ว ทูลว่า พระเจ้าข้า วักกลิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนาท่านถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า และพวกท่านจงทูลอย่างนี้ว่าพระเจ้าข้า ได้ยินว่า ท่านขอประทานวโรกาส ขอทูลเชิญพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จเข้าไปหาท่านวักกลิถึงที่อยู่เถิด.
ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านวักกลิแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า พระเจ้าข้าวักกลิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนัก ... ฯลฯ ... พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.

[๒๑๖] ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคทรงครองผ้าแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปหาท่านพระวักกลิถึงที่อยู่ท่านพระวักกลิได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ก็ลุกขึ้นจากเตียง.ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระวักกลิว่า อย่าเลยวักกลิเธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะเหล่านี้ ที่เขาปูลาดไว้มีอยู่ เราจะนั่งที่อาสนะนั้น.พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้.
ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระวักกลิว่า ดูกรวักกลิ เธอพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือทุกขเวทนานั้น ปรากฏว่าทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ.
ท่านพระวักกลิกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ไม่สามารถยังอัตภาพให้เป็นไปได้ทุกขเวทนาของข้าพระองค์แรงกล้า มีแต่กำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลยทุกขเวทนาปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย.
พ.ดูกรวักกลิ เธอไม่มีความรำคาญ ไม่มีความเดือดร้อนอะไรบ้างหรือ?
ว.พระเจ้าข้า ที่แท้จริง ข้าพระองค์มีความรำคาญไม่น้อยมีความเดือดร้อนอยู่ไม่น้อยเลย.
พ.ดูกรวักกลิก็ตัวเธอเอง ไม่ติเตียนตนเองได้โดยศีลบ้างหรือ?
ว.พระเจ้าข้า ตัวข้าพระองค์เอง จะติเตียนได้โดยศีลก็หาไม่.
พ.ดูกรวักกลิถ้าหากว่า ตัวเธอเองติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นเธอจะมีความรำคาญและมีความเดือดร้อนอะไร?
ว.พระเจ้าข้า จำเดิมแต่กาลนานมาแล้ว ข้าพระองค์ประสงค์จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแต่ว่าในร่างกายของข้าพระองค์ไม่มีกำลังพอที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้.
พ.อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้จะมีประโยชน์อะไร? ดูกรวักกลิผู้ใดแล เห็นธรรมผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม. วักกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม. วักกลิเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ว.ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ว.เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.
พ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรานั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ว.ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ.เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ว.ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ว.เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.
พ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรานั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ว.ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ.เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระวักกลิ ด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จไปยังภูเขาคิชฌกูฏ.

[๒๑๗] ครั้งนั้นแล พระวักกลิเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ได้เรียกภิกษุอุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า มาเถิด อาวุโส ท่านจงช่วยอุ้มเราขึ้นเตียงแล้วหามไปยังวิหารกาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ก็ภิกษุผู้เช่นกับเรา ไฉนเล่าจะพึงสำคัญว่าตนพึงทำกาละ ในละแวกบ้านเล่า? ภิกษุอุปัฏฐากเหล่านั้นรับคำท่านวักกลิ แล้วอุ้มท่านพระวักกลิขึ้นเตียงหามไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ.

[๒๑๘] ครั้นพอราตรีนั้นผ่านไปพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลายจงพากันเข้าไปหาวักกลิภิกษุถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจงบอกวักกลิภิกษุอย่างนี้ว่าอาวุโสวักกลิ ท่านจงฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคและคำของเทวดา ๒ องค์ อาวุโส ณราตรีนี้ เมื่อปฐมยามผ่านไปแล้ว เทวดา ๒ องค์ ผู้มีฉวีวรรณงดงามทำภูเขาคิชฌกูฏให้สว่างทั่วไปทั้งหมด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วเทวดาองค์หนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า วักกลิภิกษุคิดเพื่อความหลุดพ้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้าก็วักกลิภิกษุนั้น หลุดพ้นดีแล้ว จักหลุดพ้นได้แน่แท้. อาวุโสวักกลิแต่ว่าพระผู้มีพระภาค ตรัสกะท่านอย่างนี้ว่า อย่ากลัวเลย วักกลิ อย่ากลัวเลย วักกลิจักมีความตายอันไม่ต่ำช้าแก่เธอจักมีกาลกิริยาอันไม่เลวทรามแก่เธอ.
ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาท่านพระวักกลิถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านวักกลิว่า อาวุโสวักกลิ ท่านจงฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคและคำของเทวดา ๒ องค์.

[๒๑๙] ครั้งนั้นแลท่านพระวักกลิเรียกภิกษุอุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า มาเถิด อาวุโสท่านจงช่วยกันอุ้มเราลงจากเตียง เพราะว่าภิกษุผู้เช่นกับเรานั่งบนอาสนะสูงแล้วจะพึงสำคัญว่าตนควรฟังคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคนั้นอย่างไรเล่า?
ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระวักกลิแล้วก็ช่วยกันอุ้มท่านพระวักกลิลงจากเตียง แล้วกล่าวว่า ณ ราตรีนี้เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดา ๒ องค์ ฯลฯ ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.ครั้นแล้ว เทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า วักกลิภิกษุคิดเพื่อความหลุดพ้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้าก็วักกลิภิกษุนั้น หลุดพ้นแล้ว จักหลุดพ้นได้แน่แท้. อาวุโสวักกลิแต่ว่าพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถึงท่านอย่างนี้ว่า อย่ากลัวเลย วักกลิ อย่ากลัวเลยวักกลิ จักมีความตายอันไม่ต่ำช้าแก่เธอจักมีกาลกิริยาไม่เลวทรามแก่เธอ.
พระวักกลิกล่าวว่า อาวุโส ถ้าเช่นนั้นท่านจงช่วยถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของผมด้วยว่าพระเจ้าข้า วักกลิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนักได้รับทุกขเวทนาเธอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าและยังได้สั่งมากราบทูลอย่างนี้ว่า พระเจ้าข้าข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลงว่ารูปไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่าสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่สงสัยว่าสิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์.ข้าพระองค์ ไม่เคลือบแคลงว่า เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยงไม่สงสัยว่าสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่สงสัยว่าสิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความพอใจก็ดี กำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดีในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์ ดังนี้.
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระวักกลิแล้วหลีกไป ครั้งนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นหลีกไปไม่นานท่านพระวักกลิก็นำเอาศาตรามา.

[๒๒๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วักกลิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนักได้รับทุกขเวทนา ท่านขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าและยังได้สั่งมากราบทูลอย่างนี้ว่า ... ฯลฯ ...

[๒๒๑] ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา รับสั่งว่า มาไปกันเถิด ภิกษุทั้งหลายเราจะพากันไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิซึ่งเป็นที่ที่วักกลิกุลบุตรนำเอาศาตรามา. ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พร้อมด้วยภิกษุเป็นจำนวนมาก. ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระวักกลินอนคอบิดอยู่บนเตียงแต่ไกลเทียว.
ก็สมัยนั้นแล ปรากฏเป็นกลุ่มควันกลุ่มหมอก ลอยไปทางทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำและอนุทิศ. ลำดับนั้นเอง พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายมองเห็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไปทางทิศบูรพา ฯลฯและอนุทิศหรือไม่?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ.ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นแหละคือมารใจหยาบช้าค้นหาวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ด้วยคิดว่าวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ตั้งอยู่ ณที่แห่งไหนหนอ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วักกลิกุลบุตรมีวิญญาณไม่ได้ตั้งอยู่ปรินิพพานแล้ว.
จบวักกลิสูตร.
วิเคราะห์

"ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเราผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม."ทั้งนี้เพราะพระพุทธเจ้าที่แท้จริงแล้วไม่ใช่เป็นที่พระวรกายของพระองค์แต่เป็นที่พระปัญญาธิคุณที่ทรงเห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาวะที่แท้จริง (คือความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา) ด้วยตัวพระองค์เอง อันเป็นผลให้พ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ต่างหาก
ดังนั้น ผู้ที่เกิดปัญญาเช่นนั้นขึ้นมาแล้วได้ดวงตาเห็นธรรม เช่นเดียวกับที่ทำให้พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้วได้เห็นสภาวะที่แท้จริงของพระองค์แล้วจึงจะได้ชื่อว่าเห็นพระองค์
ส่วนผู้ที่ได้เห็นเพียงพระวรกายของพระองค์โดยไม่เคยเกิดปัญญาเห็นธรรมเลย (ยังเป็นปุถุชน คือผู้ที่หนาด้วยกิเลสอยู่)ย่อมได้ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า เพียงอาการสมมติเท่านั้นและเขาย่อมไม่อาจคาดเดาได้อย่างชัดเจน ว่าพระพุทธเจ้าที่แท้นั้นเป็นอย่างไร

การฆ่าตัวตายโดยทั่วไปแล้ว เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิเพราะเป็นสิ่งที่มีโทษมาก เนื่องจากการที่คนทั่วไปจะฆ่าตัวตายได้นั้นในขณะนั้นจิตจะต้องอยู่ในสภาวะของโทสะ (ความโกรธ ความขัดเคืองใจ ความผิดหวังความเสียใจ ฯลฯ) อย่างแรงกล้า จึงจะสามารถทำลายชีวิตอันเป็นที่รักยิ่งของตนเองได้เมื่อใกล้จะตายเมื่อจิตอยู่ในสภาวะเช่นนั้นเมื่อตายไปแล้วก็ย่อมจะต้องไปเกิดในภพภูมิที่เร่าร้อน เช่นนรกภูมิอย่างแน่นอนทั้งนี้เพราะ เมื่อตายแล้วจะไปเกิดในภูมิใดนั้นขึ้นกับสภาพจิตตอนใกล้ตายที่เรียกว่ามรณาสันนวิถีเป็นสำคัญ คือถ้าขณะนั้นจิตมีสภาพเป็นอย่างไรก็จะส่งผลให้ไปเกิดใหม่ ในภูมิที่มีสภาพใกล้เคียง กับสภาพจิตนั้นมากที่สุด
แต่มีการฆ่าตัวตายชนิดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตำหนิคือการฆ่าตัวตายที่ไม่ต้องเกิดใหม่อีกซึ่งมีภิกษุหลายรูปได้ทำเช่นนี้โดยที่ส่วนใหญ่จะอาศัยการพิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นก่อนตายเพื่อละความยินดีพอใจในการเกิดใหม่ รวมถึงความยินดีพอใจและความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามทั้งหลายลงไป เพราะเห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากรูปนามนั้น

พระโสณะ
ย่อความจากพระไตรปิฎก : พระวินัยปิฎก เล่ม ๕มหาวรรค ภาค ๒จัมมขันธกะ

เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร


[๑] โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์.


..... ก็สมัยนั้น ในเมืองจัมปา มีเศรษฐีบุตรชื่อโสณโกฬิวิสโคตร เป็นสุขุมาลชาติที่ฝ่าเท้าทั้งสองของเขามีขนงอกขึ้น .....
เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะออกบวช


[๒] ครั้งนั้นเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า ด้วยวิธีอย่างไรๆเราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ไฉนหนอ เราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต


..... เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้รับบรรพชาอุปสมบทในพุทธสำนักแล้ว ก็แลท่านพระโสณะอุปสมบทแล้วไม่นาน ได้พำนักอยู่ ณ ป่าสีตวันท่านปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรมจนเท้าทั้ง ๒ แตกสถานที่เดินจงกรมเปื้อนโลหิต ดุจสถานที่ฆ่าโค ฉะนั้น.
ครั้งนั้นท่านพระโสณะไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่าบรรดาพระสาวกของพระผู้มีพระภาค ที่ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นรูปหนึ่งแต่ไฉนจิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นเล่าสมบัติในตระกูลของเราก็ยังมีอยู่ เราอาจบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล ถ้ากระไรเราพึงสึกเป็นคฤหัสถ์แล้วบริโภคสมบัติ และบำเพ็ญกุศล
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของท่านด้วยพระทัยแล้ว .....


..... คราวนั้น พระองค์พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวจาริกตามเสนาสนะได้เสด็จเข้าไปทางสถานที่เดินจงกรมของท่านพระโสณะได้ทอดพระเนตรเห็นสถานที่เดินจงกรมเปื้อนโลหิตครั้นแล้วจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายสถานที่เดินจงกรมแห่งนี้ของใครหนอ เปื้อนโลหิต เหมือนสถานที่ฆ่าโคภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ท่านพระโสณะปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรมจนเท้าทั้ง ๒แตก สถานที่เดินจงกรมแห่งนี้ของท่านจึงเปื้อนโลหิต ดุจสถานที่ฆ่าโค ฉะนั้นพระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปทางที่อยู่ของท่านพระโสณะครั้นแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่จัดไว้ถวายแม้ท่านพระโสณะก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งเฝ้าอยู่.
ตั้งความเพียรสม่ำเสมอเทียบเสียงพิณ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระโสณะผู้นั่งเฝ้าอยู่ว่าดูกรโสณะ เธอไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ได้มีความปรีวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่าบรรดาพระสาวกของพระผู้มีพระภาค ที่ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นรูปหนึ่ง แต่ไฉนจิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นเล่าสมบัติในตระกูลของเราก็ยังมีอยู่ เราอาจบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล ถ้ากระไรเราพึงสึกเป็นคฤหัสถ์ แล้วบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล ดังนี้มิใช่หรือ?
ท่านพระโสณะทูลรับว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า
ภ.ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนเมื่อครั้งเธอยังเป็นคฤหัสถ์ เธอฉลาดในเสียงสายพิณ มิใช่หรือ?
โส.อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนคราวใดสายพิณของเธอตึงเกินไปคราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?
โส.หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนคราวใดสายพิณของเธอหย่อนเกินไปคราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?
โส.หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนคราวใดสายพิณของเธอไม่ตึงนัก ไม่หย่อนนัก ตั้งอยู่ในคุณภาพสม่ำเสมอ คราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?
โส.เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ดูกรโสณะเหมือนกันนั่นแลความเพียรที่ปรารภเกินไปนักย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่ย่อหย่อนนัก ก็เป็นไปเพื่อเกียจคร้านเพราะเหตุนั้นแล เธอจงตั้งความเพียรแต่พอเหมาะจงทราบข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายเสมอกัน (อินทรีย์ 5 = ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิปัญญา : เสมอกัน คือมีความสมดุลกัน ทำงานเกื้อหนุนกันอย่างพอเหมาะ - ธัมมโชติ)และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น
โส.จะปฏิบัติตามพระพุทธโอวาทอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า .....

พระโสณะสำเร็จพระอรหัตผล
ครั้นกาลต่อมาท่านพระโสณะได้ตั้งความเพียรแต่พอเหมาะ ทราบข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายเสมอกันและได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอ ครั้นแล้วได้หลีกออกอยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาทมีเพียร มีตนส่งไป ไม่นานเท่าไรนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งคุณพิเศษอันยอดเยี่ยมเป็นที่สุดพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องประสงค์ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่แล้ว ได้รู้ชัดแล้วว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลบรรดา พระอรหันต์ทั้งหลายท่านพระโสณะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งแล้ว
พรรณนาคุณของพระขีณาสพ

[๓]ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้คิดว่าถ้ากระไรเราพึงพยากรณ์อรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ครั้นแล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาค ว่าดังนี้:-
พระพุทธเจ้าข้าภิกษุใดเป็นพระอรหันต์มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้วมีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ของตนได้ถึงแล้วโดยลำดับมีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบภิกษุนั้นย่อมน้อมใจไปสู่เหตุ ๖ สถาน คือ
๑. น้อมใจไปสู่บรรพชา๒.น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด๓. น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน๔.น้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน (อุปาทาน = ความยึดมั่นถือมั่น - ธัมมโชติ)๕.น้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา๖. น้อมใจไปสู่ความไม่หลงไหล
พระพุทธเจ้าข้าก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญเห็นเช่นนี้ว่าท่านผู้นี้อาศัยคุณแต่เพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชาดังนี้พระพุทธเจ้าข้า ก็ข้อนี้ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลยภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้วจึงน้อมใจสู่บรรพชาโดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะจึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชาโดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้าก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ สำคัญเห็นเช่นนี้ว่าท่านผู้นี้ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมใจไปในความเงียบสงัดดังนี้ พระพุทธเจ้าข้าข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้วมีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำหรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจไปสู่ความเงียบสงัดโดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความเงียบสงัดโดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความเงียบสงัดโดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้าก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้เชื่อถือสีลัพพตปรามาส (ดูเรื่องสัญโยชน์ 10 ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา)ประกอบ - ธัมมโชติ)โดยความเป็นแก่นสารเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียนดังนี้ พระพุทธเจ้าข้าข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้วมีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำหรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียนโดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียนโดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียนโดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ

... จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทานโดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะจึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะจึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ ...
จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหาโดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหาโดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหาโดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ ...
จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหลโดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะจึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะจึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากโมหะเพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลยจิตของภิกษุนั้น อันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหวและภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็น ความเกิดและความดับของจิตนั้น
แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ....แม้หากรสารมณ์ ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ....แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย ....
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลยจิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหวและภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิด และความดับของจิตนั้น
พระพุทธเจ้าข้าภูเขาล้วนแล้วด้วยศิลา ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบอันเดียวกันแม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันออกก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านไม่ได้เลยแม้หากลมฝนอย่างแรงพัดมาแต่ทิศตะวันตก ....แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศเหนือ ....แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศใต้ ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ไม่ได้เลย แม้ฉันใด. พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ย่อมไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลยจิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหวและภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น.
แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบด้วยฆานะ ....แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบด้วยชิวหา ....แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย ....แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ..ฉันนั้นเหมือนกันแล.
นิคมคาถา
[๔] ภิกษุน้อมไปสู่บรรพชา ๑ผู้น้อมไปสู่ความเงียบสงัดแห่งใจ ๑ ผู้น้อมไปสู่ความไม่เบียดเบียน ๑ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นอุปาทาน ๑ ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา ๑ผู้น้อมไปสู่ความไม่หลงไหลแห่งใจ ๑ ย่อมมีจิตหลุดพ้นโดยชอบ เพราะเห็นความเกิดและความดับแห่งอายตนะ (ดูเรื่องอายตนะ 12 ในหมวดธรรมทั่วไปประกอบ - ธัมมโชติ) ภิกษุมีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบมีจิตสงบนั้น ไม่ต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็ไม่มีเปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลาเป็นแท่งทึบอันเดียวกัน ย่อมไม่สะเทือนด้วยลมฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์ ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาทั้งสิ้น ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้นจิตของท่านตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว ท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้นด้วย.
ทรงอนุญาตรองเท้า

[๕] ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ด้วยวิธีอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลายที่พวกกุลบุตรพยากรณ์อรหัตกล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมเข้าไปหาตน ก็แต่ว่าโมฆบุรุษบางจำพวกในธรรมวินัยนี้พยากรณ์อรหัต ทำทีเหมือนเป็นของสนุกภายหลังต้องทุกข์ เดือดร้อนดังนี้.
ต่อแต่นั้นพระองค์รับสั่งกะท่านพระโสณะว่า ดูกรโสณะเธอเป็นสุขุมาลชาติ เราอนุญาตรองเท้าชั้นเดียวแก่เธอ. ท่านพระโสณะกราบทูลว่าข้าพระพุทธเจ้าละเงินประมาณ ๘๐ เล่มเกวียน และละกองพล กอปรด้วยช้าง ๗ เชือกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว จักมีผู้กล่าวแก่พระพุทธเจ้าว่าโสณโกฬิวิสะละเงินประมาณ ๘๐ เล่มเกวียน และละกองพลกอปรด้วยช้าง ๗ เชือกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว เดี๋ยวนี้ยังข้องอยู่ในเรื่องรองเท้าชั้นเดียวถ้าพระผู้มีพระภาคจักได้ทรงอนุญาตแก่พระภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระพุทธเจ้าจักใช้สอยถ้าจักไม่ทรงอนุญาตแก่พระภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็จักไม่ใช้สอยพระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าชั้นเดียว ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้า ๒ ชั้นไม่พึงสวมรองเท้า ๓ ชั้น ไม่พึงสวมรองเท้าหลายชั้น รูปใดสวมต้องอาบัติทุกกฏ.
วิเคราะห์
ความเพียร (วิริยะ)กับสมาธินั้นเป็นปฏิปักษ์กัน คือถ้าความเพียรมากเกินไปสมาธิจะไม่เกิดขึ้นเพราะความเพียรที่มากเกินไปจะทำให้เคร่งเครียด จิตจะหยาบกระด้างและจิตจะไม่อยู่กับปัจจุบัน เพราะมัวแต่ไปจดจ่ออยู่กับผลสำเร็จซึ่งยังไม่เกิดขึ้นจิตจะพุ่งไปที่อนาคต เมื่อจิตไม่อยู่ที่ปัจจุบันสมาธิก็ไม่เกิดขึ้นจิตจึงมีแต่ความฟุ้งซ่านวิปัสสนาปัญญาจึงเกิดได้ยากตามไปด้วย
แต่ถ้าความเพียรย่อหย่อนเกินไปก็จะทำให้เกียจคร้าน ซึ่งก็ไม่ดีเช่นกัน
สำหรับสมาธินั้นถ้ามากเกินไปก็อาจทำให้เพลิดเพลินอยู่กับความสุขของสมาธิจนไม่ทำวิปัสสนาต่อไป
ส่วนศรัทธานั้นถ้ามากเกินไป ปัญญาก็จะไม่เกิดเพราะน้อมใจเชื่อไปเสียทุกเรื่องจึงไม่มีอะไรที่รู้เห็นด้วยปัญญาที่แท้จริงของตนเองเลย
แต่ถ้าปัญญามากเกินไปก็จะไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ทำให้ต้องเสียเวลามากเพราะต้องให้รู้ให้เห็นด้วยตนเองไปทุกเรื่อง
ในการทำกรรมฐานจึงต้องคอยปรับอินทรีย์ทั้ง 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาให้สมดุลกันอยู่เสมอ ถ้าตัวใดน้อยเกินไปก็พยายามยกขึ้นมาถ้ามากเกินไปก็พยายามข่มลงไป ตัวใดเหมาะสมดีแล้วก็พยายามประคองเอาไว้ คือยกจิตเมื่อควรยก ข่มจิตเมื่อควรข่ม ประคองจิตเมื่อควรประคองกรรมฐานก็จะก้พระปัญจวัคคีย์
ย่อความจากพระไตรปิฎก :พระวินัยปิฎก เล่ม 4มหาวรรค ภาค 1 อนัตตลักขณสูตร

[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายรูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้วรูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดรูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตาฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่ารูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดรูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธและบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดเวทนาของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตาฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่าเวทนาของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิดเวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธและบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้นสัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่าสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดสัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตาดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้วสังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่าสังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดสังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลายก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธและบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดสังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
วิญญาณเป็นอนัตตาดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ววิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่าวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลยดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธและบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดวิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

[๒๑]พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉนรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป.เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตนของเรา?
ป.ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า.
ภ.เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป.ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป.เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตนของเรา?
ป.ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า.
ภ.สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป.ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป.เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตนของเรา?
ป.ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า.
ภ.สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป.ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป.เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตนของเรา?
ป.ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า.
ภ.วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป.ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป.เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า.
ภ.ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตนของเรา?
ป.ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

[๒๒]พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีตไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.
สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลายพึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.

[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนาย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลายย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัดจิตก็พ้น (จากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง - ธัมมโชติ) เมื่อจิตพ้นแล้วก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว (ชาติ = การเกิด :สิ้นแล้วคือไม่ต้องเกิดอีกแล้ว - ธัมมโชติ) พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๔]พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. (อาสวะ =กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่อง หรือดองอยู่ในสันดาน -ธัมมโชติ)
จบอนัตตลักขณสูตร
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖องค์. (พระพุทธเจ้า 1 + พระปัญจวัคคีย์ 5)

ยสกุลบุตร
ย่อความจากพระไตรปิฎก :พระวินัยปิฎก เล่ม 4มหาวรรค ภาค 1 เรื่องยสกุลบุตร

[๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครพาราณสี มีกุลบุตรชื่อยส เป็นบุตรเศรษฐีสุขุมาลชาติ ยสกุลบุตรนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาวหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝนยสกุลบุตรนั้นรับบำเรอด้วยพวกดนตรี ไม่มีบุรุษเจือปน ในปราสาทฤดูฝนตลอด ๔ เดือนไม่ลงมาเบื้องล่างปราสาท.
ค่ำวันหนึ่งเมื่อยสกุลบุตรอิ่มเอิบพร้อมพรั่งบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ได้นอนหลับก่อนส่วนพวกบริวารชนนอนหลับภายหลัง ประทีปน้ำมันตามสว่างอยู่ตลอดคืนคืนนั้นยสกุลบุตรตื่นขึ้นก่อน ได้เห็นบริวารชนของตนกำลังนอนหลับบางนางมีพิณตกอยู่ที่รักแร้ บางนางมีตะโพนวางอยู่ข้างคอ บางนางมีเปิงมางตกอยู่ที่อกบางนางสยายผม บางนางมีน้ำลายไหล บางนางบ่นละเมอต่างๆปรากฏแก่ยสกุลบุตรดุจป่าช้าผีดิบ.
ครั้นแล้วความเห็นเป็นโทษได้ปรากฏแก่ยสกุลบุตรจิตตั้งอยู่ในความเบื่อหน่าย จึงยสกุลบุตรเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ แล้วสวมรองเท้าทองเดินตรงไปยังประตูนิเวศน์ ..... ลำดับนั้น ยสกุลบุตร เดินตรงไปทางประตูพระนคร .....เดินตรงไปทางป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน.


[๒๖] ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรีพระผู้มีพระภาคตื่นบรรทมแล้ว เสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้งได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรเดินมาแต่ไกลครั้นแล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้.
ขณะนั้นยสกุลบุตรเปล่งอุทานในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคว่าท่านผู้เจริญที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอทันทีนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสกะยสกุลบุตรว่าดูกรยส ที่นี่ไม่วุ่นวายที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยส นั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอที่นั้นยสกุลบุตรร่าเริงบันเทิงใจว่า ได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ดังนี้แล้วถอดรองเท้าทองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เมื่อยสกุลบุตรนั่งเรียบร้อยแล้วพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาคือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา (กล่าวถึงเรื่องทาน ศีล และสวรรค์ตามลำดับ -ธัมมโชติ) โทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลายและอานิสงส์ในความออกจากกาม.
เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตสงบมีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดาได้เกิดแก่ยสกุลบุตร ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น. (บรรลุธรรมขั้นต้นอาจเป็นได้ตั้งแต่โสดาบันจนถึงอนาคามีบุคคล -ธัมมโชติ)

 

 

บิดาของยสกุลบุตรตามหา

[๒๗] ครั้นรุ่งเช้ามารดาของยสกุลบุตรขึ้นไปยังปราสาท ไม่เห็นยสกุลบุตร จึงเข้าไปหาเศรษฐีผู้คหบดีแล้วได้ถามว่า ท่านคหบดีเจ้าข้า พ่อยสกุลบุตรของท่านหายไปไหน? ฝ่ายเศรษฐีผู้คหบดีส่งทูตขี่ม้าไปตามหาทั้ง ๔ ทิศแล้วส่วนตัวเองไปหาทางป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ได้พบรองเท้าทองวางอยู่ครั้นแล้วจึงตามไปสู่ที่นั้นพระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นเศรษฐีผู้คหบดีมาแต่ไกล .....
ครั้งนั้นเศรษฐีผู้คหบดีได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ..... ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. เมื่อเศรษฐีผู้คหบดีนั่งเรียบร้อยแล้วพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาคือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลายและอานิสงส์ในความออกจากกาม. เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าเศรษฐีผู้คหบดี มีจิตสงบมีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้วจึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่เศรษฐีผู้คหบดี ณ ที่นั่งนั้นแลดุจผ้าที่สะอาดปราศจาก มลทิน ควรได้รับน้ำย้อมฉะนั้น.
ครั้นเศรษฐีผู้คหบดีได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้วได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้วปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนักพระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.ก็เศรษฐีผู้คหบดีนั้นได้เป็นอุบาสกกล่าวอ้างพระรัตนตรัยเป็นคนแรกในโลก.
ยสกุลบุตรสำเร็จพระอรหัตต์

[๒๘]คราวเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตร จิตของยสกุลบุตรผู้พิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว ก็พ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น... เศรษฐีผู้คหบดีได้เห็นยสกุลบุตรนั่งอยู่ครั้นแล้วได้พูดกะยสกุลบุตรว่า พ่อยส มารดาของเจ้าโศกเศร้าคร่ำครวญถึงเจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด.
ครั้งนั้นยสกุลบุตรได้ชำเลืองดูพระผู้มีพระภาคๆ ได้ตรัสแก่เศรษฐีผู้คหบดีว่า ดูกรคหบดีท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ยสกุลบุตรได้เห็นธรรมด้วยญาณทัสสนะเพียงเสขภูมิเหมือนท่าน เมื่อเธอพิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้วจิตพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น (คือตอนแรกบรรลุเสขภูมิต่อมาบรรลุเป็นพระอรหันต์ - ธัมมโชติ) ดูกรคหบดียสกุลบุตรควรหรือเพื่อจะกลับเป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม เหมือนเป็นคฤหัสถ์ครั้งก่อน? เศรษฐีผู้คหบดีกราบทูลว่า ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า .....
เศรษฐีผู้คหบดีกราบทูลว่าการที่จิตของยสกุลบุตรพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นนั้น เป็นลาภของยสกุลบุตรยสกุลบุตรได้ดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคมียสกุลบุตร เป็นปัจฉาสมณะจงทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าเพื่อเสวยในวันนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ ครั้นเศรษฐีผู้คหบดีทราบการรับนิมนต์ของพระผู้มีพระภาคแล้วได้ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้วกลับไป.
กาลเมื่อเศรษฐีผู้คหบดีกลับไปแล้วไม่นานยสกุลบุตรได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิดแล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด.พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น สมัยนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๗ องค์. มารดาและภรรยาเก่าของพระยสได้ธรรมจักษุ

[๒๙]ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรมีท่านพระยสเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเศรษฐีผู้คหบดี ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย ลำดับนั้น มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสพากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถาแก่นางทั้งสอง .....ทรงประกาศ .....ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่นางทั้งสอง ณ ที่นั่งนั้นแลได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ..... หม่อมฉันทั้งสองนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำหม่อมฉันทั้งสองว่าเป็นอุบาสิกาผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป. ก็มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยส ได้เป็นอุบาสิกากล่าวอ้างพระรัตนตรัยเป็นชุดแรกในโลก.....
สหายคฤหัสถ์ ๔คนของพระยสออกบรรพชา

[๓๐] สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของท่านพระยส คือ วิมล ๑ สุพาหุ ๑ปุณณชิ ๑ ควัมปติ ๑ เป็นบุตรของสกุลเศรษฐีสืบๆ มา ในพระนครพาราณสีได้ทราบข่าวว่ายสกุลบุตรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว. ครั้นทราบดังนั้นแล้ว ได้ดำริว่าธรรมวินัยและบรรพชาที่ยสกุลบุตรปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วนั้น คงไม่ต่ำทรามแน่นอน ดังนี้ จึงพากันเข้าไปหาท่านพระยสอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงท่านพระยสพาสหายคฤหัสถ์ทั้ง ๔ นั้นเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง .....
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา ..... ทรงประกาศ .....ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล .....ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าพวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วพวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.
ต่อมาพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา. (คำอธิบายธรรม -ธัมมโชติ) เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถาจิตของภิกษุเหล่านั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น. สมัยนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๑๑ องค์.
สหายคฤหัสถ์ ๕๐ คนของพระยสออกบรรพชา

[๓๑] สหายคฤหัสถ์ของท่านพระยส เป็นชาวชนบทจำนวน ๕๐ คนเป็นบุตรของสกุลเก่าสืบๆ กันมา ได้ทราบข่าวว่ายสกุลบุตรปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ..... พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา ..... ทรงประกาศ .....ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล .....ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าพวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วพวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแลได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.
ต่อมาพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา. เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถาจิตของภิกษุเหล่านั้นพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น. สมัยนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ องค์.
เรื่องพ้นจากบ่วง

[๓๒] ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลกเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดจงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย มีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อมผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม.

[๓๓] ครั้งนั้นมารผู้มีใจบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่าท่านเป็นผู้อันบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ผูกพันไว้แล้วท่านเป็นผู้อันเครื่องผูกใหญ่รัดรึงแล้ว แน่ะสมณะท่านจักไม่พ้นเรา.พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวงทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกใหญ่ดูกรมาร ท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว.มารกราบทูลว่า บ่วงนี้เที่ยวไปได้ในอากาศเป็นของมีในจิต สัญจรอยู่ เราจักผูกรัดท่านด้วยบ่วงนั้น แน่ะสมณะท่านจักไม่พ้นเรา.พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราปราศจากความพอใจในอารมณ์เหล่านี้คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ ดูกรมารท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว.ครั้งนั้น มารผู้มีใจบาปรู้ว่าพระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้แล้ว มีทุกข์ เสียใจหายไปในที่นั้นเอง.
วิเคราะห์
การที่จะเห็นแจ้งแทงตลอดในธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง ประณีต ละเอียดอ่อนได้นั้น จิตจะต้องมีความพร้อมในทุกด้านคือนอกจากจะได้สะสมปัญญาบารมีมามากพอแล้ว ในขณะนั้นจิตจะต้องมีความประณีตละเอียดอ่อน สงบ ปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน ผ่องใสอย่างเพียงพออีกด้วย
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าจิตของผู้ฟังยังไม่พร้อมก็จะทรงแสดงอนุปุพพิกถา เพื่อปรับสภาพจิตให้พร้อมก่อน โดยเริ่มจากเรื่องง่ายๆใกล้ตัว คือเรื่องของทาน แล้วต่อด้วยกุศลขั้นสูงขึ้นคือเรื่องของศีลจากนั้นก็ตรัสถึงที่สุดของความสุขระดับกามคุณ คือสวรรค์แล้วจึงทรงแสดงให้เห็นโทษของกาม เมื่อผู้ฟังเบื่อหน่ายในกามแล้วก็ทรงน้อมนำให้ออกจากกาม โดยทรงแสดงให้เห็นคุณของการออกจากกาม คือการออกบวชเมื่อสภาพจิตของผู้ฟังพร้อมแล้วจึงตรัสธรรมขั้นสูงเพื่อการหลุดพ้นต่อไป

ชฎิล 3 พี่น้อง
ย่อความจากพระไตรปิฎก : พระวินัยปิฎกเล่ม 4มหาวรรค ภาค 1 อาทิตตปริยายสูตร

[๕๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา ตามพระพุทธาภิรมย์แล้วเสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลคยาสีสะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑๐๐๐ รูปล้วนเป็นปุราณชฎิล.
ได้ยินว่าพระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยานั้น พร้อมด้วยภิกษุ ๑๐๐๐ รูป. ณที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อนก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน?ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อนรูปทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อนความเสวยอารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้นก็เป็นของร้อน
ร้อนเพราะอะไร?เรากล่าวว่าร้อน เพราะไฟคือราคะเพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และความตายร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจเพราะความคับแค้น.
โสตเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ...ชิวหาเป็นของร้อนรสทั้งหลายเป็นของร้อน ...กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน ...
มนะเป็นของร้อน ธรรม ทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยมนะเป็นของร้อนสัมผัสอาศัยมนะเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุขที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้นก็เป็นของร้อน
ร้อนเพราะอะไร?เรากล่าวว่าร้อน เพราะไฟคือราคะเพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และความตายร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจเพราะความคับแค้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลายย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยจักษุย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุขที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ...ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ...ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ...ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยมนะย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุขที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย.
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัดเพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี.
ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุ ๑๐๐๐ รูปนั้นพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
จบอาทิตตปริยายสูตร

พระอนุรุทธะ
พระไตรปิฎก

: พระสุตตันตปิฎกอังคุตรนิกาย  ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ ทุติยอนุรุทธสูตร

ว่าด้วยพระอนุรุทธะสนทนากับพระสารีบุตร
[๕๗๐] ครั้งนั้นท่านพระอนุรุทธะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ครั้นเข้าไปถึงแล้วก็ชื่นชมกับท่านพระสารีบุตร กล่าวถ้อยคำที่ทำให้เกิดความชื่นบานต่อกันเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง แล้วกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่าอาวุโสสารีบุตร ข้าพเจ้า ในที่นี้ตรวจดูสหัสสโลก ได้ด้วยจักษุทิพย์อันบริสุทธิ์เกินจักษุมนุษย์สามัญ อนึ่งความเพียรข้าพเจ้าก็ทำไม่ท้อถอย สติก็ตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือนกายก็รำงับไม่กระสับกระส่าย จิตก็มั่นคงเป็นหนึ่งแน่วแน่ เออก็เหตุไฉนจิตของข้าพเจ้าจึงยังไม่สิ้นอุปาทาน หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเล่า.
ท่านพระสารีบุตรตอบว่าอาวุโสอนุรุทธะ ข้อที่ท่านว่า ข้าพเจ้าตรวจดูสหัสสโลกได้ด้วยจักษุทิพย์อันบริสุทธิ์เกินจักษุมนุษย์สามัญ นี้เป็นเพราะมานะ
ข้อที่ว่า อนึ่งความเพียรข้าพเจ้าก็ทำไม่ท้อถอย สติก็ตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือนกายก็รำงับไม่กระสับกระส่าย จิตก็มั่นคงเป็นหนึ่งแน่วแน่ นี้เป็นเพราะอุทธัจจะ
ข้อที่ว่า เออก็เหตุไฉน จิตของข้าพเจ้าจึงยังไม่สิ้นอุปาทานหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเล่า นี้เป็นเพราะกุกกุจจะ ทางที่ดีนะ ท่านอนุรุทธะจงละธรรม ๓ ประการนี้เสีย อย่าใส่ใจถึงธรรม ๓ ประการนี้แล้วน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุเถิด.
ภายหลังท่านอนุรุทธะก็ละธรรม ๓ ประการนี้ ไม่ใส่ใจถึงธรรม ๓ ประการนี้น้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ อยู่มาท่านหลีกจากหมู่อยู่คนเดียว ไม่ประมาท ทำความเพียรมีตนอันส่งไปอยู่ ไม่ช้าเลย กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการเพื่อประโยชน์อันใด ท่านก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันนั้นซึ่งเป็นคุณที่สุดแห่งพรหมจรรย์อย่างเยี่ยมยอด ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนั่น ท่านรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก.ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระอรหันต์ทั้งหลายแล้ว  จบทุติยอนุรุทธสูตร

พระโมคคัลลานะพระไตรปิฎก :พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตตรนิกายสัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาตโมคคัลลานสูตร

[๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลา มิคทายวันใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ ก็สมัยนั้นแล ท่านมหาโมคคัลลานะนั่งโงก ง่วงอยู่ ณบ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธพระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณบ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ครั้นแล้วทรงหายจากเภสกลามิคทายวัน ใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะเสด็จไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธเปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้วครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกร โมคคัลลานะ เธอง่วงหรือดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้าฯ
ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มากข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้าเธอยังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณา ถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้วด้วยใจข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้ว ได้เรียนมาแล้วโดยพิสดารข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
ถ้ายังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัวข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืนเอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึงอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญในกลางวัน ว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไรกลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิดข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
ถ้ายังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์มีใจไม่คิดไปในภายนอก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้ามีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอันจะลุกขึ้น พอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่าเราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละเธอพึงศึกษาอย่างนี้อีกว่า เราจักไม่ชูงวง [ถือตัว] เข้าไปสู่ตระกูล  ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แลถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล และในตระกูลมีกรณียกิจหลายอย่างซึ่งจะเป็นเหตุให้มนุษย์ไม่ใส่ใจถึงภิกษุผู้มาแล้ว เพราะเหตุนั้นภิกษุย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ใครหนอยุยงให้เราแตกในสกุลนี้เดี๋ยวนี้ดูมนุษย์พวกนี้มีอาการอิดหนาระอาใจในเรา เพราะไม่ได้อะไรเธอจึงเป็นผู้เก้อเขิน เมื่อเก้อเขิน ย่อมคิดฟุ้งซ่าน เมื่อคิดฟุ้งซ่านย่อมไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ ฯ
เพราะฉะนั้นแหละโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่าเราจักไม่พูดถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน ดูกรโมคคัลลานะเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล เมื่อมีถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกันก็จำต้องหวังการพูดมาก เมื่อมีการพูดมาก ย่อมคิดฟุ้งซ่าน เมื่อคิดฟุ้งซ่านย่อมไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ ฯ
ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่งเราหาสรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงไม่แต่มิใช่ว่าจะไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงก็หามิได้คือเราไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยหมู่ชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ก็แต่ว่าเสนาสนะอันใดเงียบเสียง ไม่อื้ออึง ปราศจากการสัญจรของหมู่ชนควรเป็นที่ประกอบกิจ ของผู้ต้องการความสงัด ควรเป็นที่หลีกออกเร้นเราสรรเสริญความคลุกคลีด้วยเสนาสนะเห็นปานนั้นฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหามีความสำเร็จล่วงส่วน มีธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะล่วงส่วน (โยคะ =กิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ, เกษมจากโยคะ คือ มีความสบายใจเพราะพ้นจากโยคะ -ธัมมโชติ) เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วนประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
พ. ดูกรโมคคัลลานะภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่นครั้นได้สดับดังนั้นแล้วเธอย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดีมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้นพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับพิจารณาเห็นความสละคืน
เมื่อเธอพิจารณาเห็นอย่างนั้นๆ อยู่ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมปรินิพพานเฉพาะตัวทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดูกรโมคคัลลานะ โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แลภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วนเป็นผู้เกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วนประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายฯ
  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล    นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท