สรุปสิ่งที่ได้จากการสัมมนา Book Club ครั้งที่ 1


Part I ใน Chapter 1-2 (วิทยากร รศ ดร ดุษฎี โยเหลา, ดร นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล)



ส่วนที่ 1 (อ ดุษฎี)

  ของหนังสือของ Leedy ในส่วนแรกจะเป็นการอธิบายให้เข้าใจว่า “วิจัย(Research)” คืออะไร ซึ่งจะหมายถึงสิ่งที่เรียกว่าเป็น Academic Research เนื่องจากเดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะรวบรวมข้อมูลอะไรก้จะเรียกว่าเป็นวิจัยกันหมด เช่น ก.เด็กทำการบ้างส่งครูก็เรียกว่าทำวิจัย ข.นายหน้าขายบ้านจะตั้งราคาขายก็ไปทำวิจัย : ซึ่งทั้ง ก และ ข อาจจะไม่ใช่การวิจัย (ในความหมายของ Leedy)
ก.เด็กทำการบ้างส่งครูก็เรียกว่าทำวิจัย ข.นายหน้าขายบ้านจะตั้งราคาขายก็ไปทำวิจัย
: ซึ่งทั้ง ก และ ข อาจจะไม่ใช่การวิจัย (ในความหมายของ Leedy)


ในคำถามที่ถามว่าการทำโพลเป็นการทำวิจัยหรือไม่นั้น?
การทำโพลไม่น่าจะใช่การวิจัยตามความหมายของLeedy
ซึ่งในสมาชิก Book Club ได้ให้เหตุผลใน 2
แบบ คือ 1)ไม่ครบขั้นตอนการวิจัยของ Leedy(หน้า 3) และ 2)ตรงกับสิ่งที่ไม่ใช่การวิจัย(หน้า 1-2)
ทั้งนี้ อ ดุษฎี ได้เน้นย้ำถึงความหมายResearchว่าจุดสำคัญคือ
1. หา Un-answered
Questions --- คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ   หรือ
2. หา Un-resolved
Problems --- ปัญหาที่ยังไม่ได้แก้


  - สำหรับบางคนที่สับสนระหว่างคำถามงานวิจัยกับปัญหางานวิจัย --- อ ดุษฎี ให้ความกระจ่ายว่า คำถามงานวิจัยนั้นต้องเขียนในลักษณะประโยคคำถาม ส่วนปัญหางานวิจัยจะเป็นลักษณะข้อความ ที่เรียกว่า Statement of Problems
ส่วนปัญหางานวิจัยจะเป็นลักษณะข้อความ ที่เรียกว่า Statement of Problems
  

-Research is not mere information gathering การวิจัยไม่ใช่แค่กิจกรรมของการรวบรวมข้อมูล
แต่การรวบรวมข้อมูลเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวิจัย
 

- การตั้ง Main problems และ Sub Problems ถ้ามีคำถามงานวิจัยหลัก และมีคำถามการวิจัยรอง à คำถามงานวิจัยรองควรเป็นส่วนประกอบ เหมือน Jigsaw ของคำถามงานวิจัยหลัก และควรเป็น Researchable Unit ที่สมบูรณ์ในตัวมันเอง

อ ดุษฎีเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ของ Primise--> Assumption (สิ่งที่ยอมรับว่าเป็นจริง)--> Conclusion (บทสรุป หรือ สมมติฐาน)

ส่วนที่ 2 (อ นำชัย)

  อ นำชัย เปิดประเด็นเรื่องข้อความตอนหนึ่งในหนังสือ Leedy ที่เขียนว่า To merely observe the behavior of individuals in a particular situation is not to measure it หรือแปลว่า “เพียงแค่สังเกตพฤติกรรม ยังไม่ใช่การวัด ซึ่ง อ นำชัยอธิบายเพิ่มเติมว่า การวัด เป็นการจำกัดขอบเขตของข้อมูล ซึ่งเป็นทั้งสิ่งที่เห็นได้ และมองไม่เห็น --- Substantial or insubstantial---ซึ่งจะเป็นการวัดได้มันต้องมีความชัดเจนในตัว ตัวอย่างทางพฤติกรรมศาสตร์ เช่น

จะวัดพฤติกรรมการตั้งใจเรียน จากอะไร? สมาชิกใน book club บอกว่าจะวัดโดยการพยักหน้า (จะเห็นว่าการพยักหน้าอาจจะไม่ใช่ตัวแทนความตั้งใจเรียนก็ได้ เพราะอาจจะกำลังง่วงอยู่ ก็เลยสัปหงกหัวอยู่ก็ได้) ทั้งนี้ การจะวัดอะไรก็ตามต้องมีการวางแผน มีการทำความเข้าใจของสิ่งที่ต้องการจะวัด เพราะการวัด เป็นการจำกัดขอบเขตของสิ่งที่เราจะวัด ผู้วิจัยต้องเข้าใจในสิ่งที่ตนเองจะวัดให้ดี (ต้องมี “สมอง”)

ทั้งนี้ จากตัวอย่างข้างต้นถ้าจะวัดพฤติกรรมการตั้งใจเรียน โดยดูจากการแค่พยักหน้าคงไม่พอ อาจจะต้องพิจารณาจากสิ่งอื่นๆประกอบด้วย

ตรรกะที่ใช้ในการวิจัย จะใช้ทั้ง Deductive และ Inductive โดยในขั้นการทบทวนวรรณกรรม เราจะใช้หลัก Deductive ในการลดทอนเนื้อหาทฤษฎี หยิบเอาบางส่วนมาใช้ แต่เมื่อทำการวิจัยเสร็จสิ้น เราจะใช้หลัก Inductive ในการอธิบายผลเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่

ประเด็นเรื่องสถิติชั้นสูง ไม่สามารถมาชดเชยงานวิจัยที่อ่อนด้อยได้นั้น อ นำชัยอธิบายโดยยกตัวอย่างงานวิจัยที่วัดจำนวนเสาไฟฟ้ากับการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งใช้สถิติทดสอบแล้วปรากฏว่ามีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างจำนวนเสาไฟกับอุบัติเหตุ ซึ่งการศึกษาในเรื่องดังกล่าวไม่มีตรรกะทางเหตุผลรองรับ ผลการวิจัยจึงดูด้อยค่าลงไป

ซึ่ง อ นำชัย สรุปให้นิสิตเข้าใจว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการวิจัยที่ Leedy พยายามเน้นย้ำคือ ตัวนักวิจัยเอง (Human Mind) ไม่ว่าจะมีสถิติที่ล้ำลึกแค่ไหน สุดท้ายการจะสรุปตีความ ให้ความหมายต่อผลการวิจัยนั่นก็คือ มนุษย์เอง สถิติเป็นเพียงเครื่องมือช่วย และถ้าป้อนขยะเข้าไปก็ต้องได้ขยะออกมา (หลัก G-I-G-O)

จะเห็นว่าความหมายของการวิจัยของ Leedy จะให้ความสำคัญของการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนเป็นอย่างมาก โดยมีความคาดหวังให้ผู้ทำวิจัยต้องมีการคิดอย่างเป็นระบบตั้งแต่การระบุปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การดำเนินการวิจัย และสรุปผลวิจัย 

คำสำคัญ (Tags): #book club#วิจัย
หมายเลขบันทึก: 512451เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท