มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

ภูมิของเปรต


 


ภูมิของเปรต


 คำว่า เปรต แปลว่า ผู้ละไปแล้วสถานที่อยู่ของเปรตท่านเรียกว่า เปตโลก แปลว่า โลกของเปรตหรือโลกของผู้ที่ละจากโลกนี้ไปแล้ว เปต โลกเป็นอบายภูมิคือภูมิที่หาความเจริญหรือความสบายไม่ได้ บางคราวท่านเรียกว่า ปิตติวิสัย คือภูมิแห่งเปรต พวกเปรตนั้นผลกรรมไม่แรงพอที่จะตกนรกแต่ไม่มีมากพอที่จะเกิดในกำเนิดมนุษย์ จึงต้องเกิดในกำเนิดของเปรตเปรตบางตนต้องเสวยผลกรรมหรือเศษกรรมที่เหลือจากตกนรก ซึ่งตนยังใช้ไม่หมดแต่ก่อนนั้นท่านจัดเปรตเข้าในพวก สัมภเวสี แปลว่า แสวงหาที่เกิดแต่ปรากฏในภายหลังว่า คำว่าสัมภเวสีนั้นเป็นคำที่ใช้คลุมไปหมดจากพระอนาคามีลงมาได้ชื่อว่าเป็นสัมภเวสีทั้งนั้น
 สถานที่อยู่ของเปรตบางพวก อาศัยอยู่ในมนุษยโลกก็มี แต่เป็นจำพวกอทิสสมานกาย คือ มีกายไม่ปรากฏ จากหลักฐานที่มีในที่ต่างๆ บอกให้ทราบว่า คนอาจเห็นเปรตได้
 ๑. เปรตเหล่านั้นแสดงตนเองให้ปรากฏเพื่อต้องการขอส่วนบุญหรือบอกกล่าวเรื่องบางอย่างด้วยความห่วงใยในคนที่แสดงให้เห็นเช่นเปรตอันพระญาติของพระเจ้าพิมพิสารเป็นต้น
 ๒. ท่านผู้มีทิทยจักษุมองเห็นเปรตเหล่านั้นด้วยทิพยจักษุของตน เช่นเปรตที่พระอรหันต์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าพระโมคคัลลานเถระเพราะนารถเถระเป็นต้นพบเห็นแต่มีอยู่หลายเรื่องที่ท่านพบเห็นด้วยมังสจักสุ คือตาธรรมดา
 ๓.คนธรรมดาทั่วไป อาจได้เห็นได้ยินเสียงเปรตเหล่านั้นอาจจะเป็นการบังเอิญหรือเขาต้องการให้ได้ยินเสียงด้วยเหตุผลในข้อที่๑
 เรื่องของเปรตเป็นส่วนหนึ่งในวังคสัตถุศาสน์ ปรากฏในพระไตรปิฎกขุททกนิกาย ลำดับที่ ๗ เรื่องของเปรตที่นำมาแสดงเกิดขึ้นจากเหตุ ๒ ประการคือ
 - อตฺถุปฺติ มีเรื่องเกี่ยวกับเปรตเกิดขึ้น
 - ปุจฺฉาวสิกา เกิดขึ้นจากการทราบทูลถามส่วนมากเป็นการถามของพระอรหันต์ทั้งหลายที่ท่านไปพบเปรตเหล่านั้นมานำมากราบทูลถามพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องของเปรตนั้นให้พิสดารออกไปโดยเฉพาะคือกรรมที่ทำให้สัตว์เหล่านั้นเกิดเป็นเปรต
 อาจจะมีปัญหาว่าพระอรหันต์ไม่รู้บุพกรรมของเปรตเหล่านั้นด้วยญาณของตนเองหรือ ? เมื่อว่าโดยองค์ญาณแล้ว พระอรหันต์ท่านมีจตูปปาตญาณ คือการรู้จิตและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นเพราะกรรมอะไรเหมือนกันแต่ไม่ลึกซึ้งเหมือนพระพุทธญาณที่สำคัญคือท่านจะไม่แสดงอะไรในสำนักของพระพุทธเจ้านอกจากจะได้รับพระพุทธานุญาตเสียก่อน ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้าจนกลายเป็นแบบที่ยึดถือปฏิบัติกันในหมู่พระสงฆ์คือ ใครจะเทศน์จะสวดปาติโมกข์เป็นต้นจะต้องได้รับอนุมัติจากพระสังฆเถระในที่ประชุมนั้นเสียก่อน
 เปตวัตถุคือเรื่องของเปรตนั้น ท่านแสดงไว้ในเปตวัตถุเพียง ๕๑ เรื่องแต่ได้เก็บจากคัมภีร์อื่นมาแสดงไว้ด้วยรวมแล้วเป็น ๙๐ เรื่องการเรียบเรียงจึงจะเน้นไปในประเด็นของ
 ความทุกข์ทรมาน รูปร่างของเปรตเหล่านั้น
 ผลกรรมที่ทรงแสดง และที่เปรตเหล่านั้นเล่าให้ฟังว่าตนทำกรรมอะไรไว้ แต่จะเลือกเฉพาะประเด็นหลักของเรื่องนั้น ๆตามลำดับไป
 เปตวัตถุ ท่านแบ่งออกเป็น ๔ วรรค มีอุรควรรคเป็นต้นโดยเริ่มจากเขตตูปมาเปรตเป็นต้นไป จบลงที่มหาวรรคคือวรรคใหญ่ ซึ่งมีเรื่องถึง ๑๖เรื่อง ซึ่งจะได้เรียบเรียงไปตามลำดับ ดังต่อไปนี้

  เปตวัตถุ
  เรื่องของเปรต

เปตวัตถุ

๑ เขตตูปมาเปตวัตถุ

  เรื่องผู้ละไปแล้วอุปมาพระอรหันต์เหมือนนา


 เรื่องนี้คำว่าเปรตใช้ในความหมายว่าผู้ละไปแล้วเท่านั้นมีข้อความอันเป็นเบื้องต้นโดยสรุปว่า
 เศรษฐีในกรุงราชคฤห์คนหนึ่งมีทรัพย์มาก จึงไม่ให้ลูกศึกษาศิลปวิทยาอะไรเพราะคิดว่าทรัพย์ที่ตนสะสมไว้ใช้สอยสักร้อยปีก็ไม่หมดแต่เมื่อตนตายไปพร้อมกับภรรยา ลูกชายและภรรยาของตนคบคนพาลเป็นมิตรมีแต่จ่ายทรัพย์ไปอย่างเดียว ในเรื่องที่เป็นอบายมุขจนกลายเป็นคนยากจนและต้องขอทานเขาเลี้ยงชีพในที่สุดถูกพวกโจรชักชวนไปให้ช่วยดูต้นทาง เพื่อตนจะได้เข้าปล้นชาวบ้านเขาถูกชาวบ้านจับได้ และถูกตัดสินประหารชีวิตในที่สุด เขาถูกมัดมือไพล่หลังสวมคอด้วยดอกไม้แดง ทาศีรษะด้วยขี้อูฐ พร้อมด้วยถูกเฆี่ยนตีด้วยหวายแห่ประจานไปตามถนนตรอกซอยต่าง ๆแล้วนำไปสู่ตะแลงแกง
 หญิงนครโสเภณีคนหนึ่งสงสาร จึงให้ขนมเขากิน ๔ ก้อนพร้อมกับขอร้องให้เขากินขนมก่อนตาย พระโมคคัลลานเถระเห็นเขาด้วยทิพจักษุ รู้ว่าคน ๆนี้ไม่เคยทำบุญอะไรไว้เลยตายไปต้องตกนรกแน่จึงมาปรากฏต่อหน้าเขาขณะที่เขากำลังจะกินขนมเขาเห็นพระเถระแล้วเกิดความเลื่อมใน จึงถวายขนมทั้งหมดนั้น หลังจากถูกตัดศีรษะแล้วเขาได้เกิดเป็นรุกขเทวดาเพราะในขณะถวายขนมเกิดความเสียดายเล็กน้อยเพราะตนมีความรักในนางสุลสานครโสเภณีจึงทำให้จิตเศร้าหมองไป จึงเป็นได้เพียงรุกขเทวดา รุกขเทวดานึกถึงนางสุลสาได้นำนางไปอยู่วิมานถึง ๗ วัน และนำนางไปส่งในวันที่ ๗ในขณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ ณ พระเวฬุวันเมื่อพวกญาติของนางสุลสาถามถึงการหายไปของนาง นางก็เล่ารายละเอียดให้ฟังแต่ไม่มีใครเชื่อ เพราะไม่ปรากฏว่าบุตรเศรษฐีได้ทำบุญอะไรไว้จะเกิดเป็นรุกขเทวดาได้อย่างไรเมื่อทราบว่าเกิดเป็นรุกขเทวดาเพราะถวายขนมแก่พระโมคคัลลานเถระก่อนถูกฆ่าตายคนทั้งหลายต่างอัศจรรย์ในผลทานที่ถวายแก่พระอรหันต์พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงคาถาในที่ประชุมนั้นว่า
 " พระอรหันต์ทั้งหลายเปรียบเหมือนนา ทายกเปรียบเหมือนชาวนา ไทยธรรมเปรียบเหมือนพืชผลทานย่อมเกิดแต่การบริจาคไทยธรรมของทายก และปฏิคาหกผู้รับพืชที่บุคคลหว่านลงในนานั้น ย่อมเกิดผลแก่เปรตทั้งหลายและทายกเปรตทั้งหลายย่อมบริโภคผลนั้น ย่อมเกิดผลเเก่เปรตทั้งหลายเเละทายกเปรตทั้งหลายย่อมบริโภคผลนั้น ฝ่ายทายกย่อมเจริญด้วยบุญทายกทำกุศลในโลกนี้อุทิศให้เปรตทั้งหลายครั้นทำกรรมดีแล้วย่อมไปสู่สวรรค์
 ข้อที่ควรศึกษาในเรื่องนี้
 ๑.เศรษฐีคนนี้เป็นตัวอย่างของคนที่รักลูกไม่ถูกทางปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาหลายคน บุตรเศรษฐีคนนี้เป็นคนมีบารมีสูงมากแต่เพราะการสร้างเพิ่มเติมไม่มี ในที่สุดเสื่อมหมดทั้งโลกิยสมบัติ และโลกุตตรสมบัติเพราะท่านแสดงว่า หากเศรษฐีบุตรเรียนรู้เรื่องการทำงาน เริ่มทำงานในวัยแรกมัชฌิมวัย หรือปัจฉิมวัย จะได้เป็นมหาเศรษฐี และคฤหบดีตามลำดับถ้าหากว่าออกบวชในปฐมวัย มัชฌิมวัย หรือปัจฉิมวัย จะได้บรรลุอรหัตตผลอนาคามิผลหรือสกทาคามิผล และโสดาปัตติผลตามลำดับแห่งวัย แต่ต้องเสื่อมหมดเพราะขาดกัลยาณมิตร แม้ในครอบครัวของตนเอง
 ๒.การตัดสินคดีในสมัยนั้นโทษแรงมาก ทั้ง ๆ ที่จับได้โดยไม่มีของกลางอะไรเพราะเป็นแต่เพียงคนดูต้นทาง แต่โทษถึงประหารชีวิตการปฏิบัติต่อนักโทษประหารใช้วิธีสร้างสำนึกให้แก่คนที่พบเห็นไม่ให้ถือเป็นแบบอย่างด้วยวิธีที่น่ากลัวพอสมควร
 ๓.รุกขเทวดานำคนไปอยู่ด้วยตั้ง ๗ วัน ออกจะเป็นเรื่องแปลกมากแต่มีประสบการณ์ของคนบางคนยืนยันถึงเรื่องนี้ได้ทุกยุคทุกสมัยรุกขเทวดาเป็นประเภทอทิสสมานกายเช่นกัน เพราะในขณะที่ท่านนำนางสุลสาไปส่งคนธรรมดาไม่มีใครเห็นตัวท่าน
 พระพุทธดำรัสที่ตรัสในเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าความเจริญงอกงามของพืช จะเกิดขึ้นจากการที่มีคนปลูกพืชนั้นลงในเนื้อนาที่ดีการทำบุญแล้วอุทิศกาลนั้น ทรงแสดงว่าอำนวยประโยชน์ให้แก่คนทั้งสองฝ่าย คือทั้งแก่เปรต และทายกคือผู้ให้ ในกรณีนี้ มีองค์ประกอบ ๓ ประการคือ
 ๑.ทายกบริจาคทานวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง จัดเป็น ทานมัย
 ๒.ทายกอุทิศกุศลให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว จัดเป็น ปัตติทานมัย
 ๓.ผู้ที่จากไปรับทราบและอนุโมทนาผลบุญนั้น จัดเป็นปัตตานุโมทนามัย
 องค์ประกอบทั้ง ๓ ข้อนั้นข้อแรกอาจเป็นการทำความดีอย่างอื่นก็ได้ แต่ ๒ ข้อหลังนั้นต้องมีพร้อมขาดไม่ได้อันเป็นการแสดงว่าการอุทิศให้แก่คนที่ตายไปนั้นบุญของทายกกลับเพิ่มขึ้นแทนที่จะหายไปเพราะได้กระทำบุญเพิ่มขึ้น คือ ปัตติทานมัยบุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ อันจัดเป็นธรรมทาน ทำหน้าที่ขจัดธัมมมัจฉริยะคือความตระหนี่ในธรรม เพิ่มขึ้นจากการขจัดลาภมัจฉริยะ ในกรณีที่ให้วัตถุทานบุญจึงได้เพิ่มขึ้นและช่วยนำตนไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ตามที่ทรงแสดงไว้
 ๔.เศรษฐีบุตรน่าจะบังเกิดในสวรรค์ที่สูงกว่านี้ แต่เพราะจิตเศร้าหมองดังกล่าวทำให้ผลบุญเสื่อมลงไป อาสันนกรรม คือกรรมเมื่อจวนตายจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการบ่งชี้ภพที่สัตว์จะต้องไปอุบัติ ท่านจึงสอนให้ระมัดระวังจิตในช่วงนั้นด้วยการสร้างความคุ้นเคยกับกุศลธรรม จนสามารถทำให้ผ่องแผ้วได้ก่อนตายเพราะทรงแสดงไว้ ว่า "เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวังได้เมื่อจิตผ่องแผ้วก็หวังสุคติได้"

๒. สุกรเปตวัตถุเปรตปากเหมือนสุกร


 พระนารทเถระได้พบเปรตตนหนึ่งร่างกายเหมือนทอง แต่ปากเหมือนสุกร จึงสอบถามถึงบุพพกรรม สุกรเปรตได้เรียนถวายว่าในอดีตชาติ ข้าพเจ้าสำรวมกาย แต่ไม่ได้สำรวมวาจาพร้อมกับได้เรียนเตือนท่านว่า
 "ท่านอย่าได้ทำบาปด้วยปากถ้าท่านเป็นคนปากกล้ากระทำบาปด้วยปาก ท่านจะมีปากเหมือนดังสุกร ฉะนั้นท่านอย่าได้ทำบาปด้วยปากเลย"

๓. ปูติมุขเปตวัตถุเรื่องของเปรตปากเน่า


 พระนารทเถระได้พบเปรตตนหนึ่งมีร่างกายสวยงามเหมือนทองแต่ปากมีกลิ่นเหม็น มีหนอนไหลออกจากปาก และชอนไชปากของเปรตนั้นอยู่จึงได้สอบถามบุพพกรรมว่าทำกรรมอะไรไว้
 เปรตเรียนให้ทราบว่ากายของตนมีพรรณเหมือนทอง เพราะผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์แต่ที่มีปากเหม็นและมีหนอนชอนไชปากนั้น เพราะการเป็นสมณะลามกมีวาจาชั่วส่อเสียดและมุสาและได้กล่าวแนะนำไม่ให้พระนารทเถระประพฤติตนเช่นที่เขาเคยประพฤติมาความว่า
 "ท่านผู้ฉลาดอนุเคราะห์กล่าวไว้ว่าท่านอย่าพูดส่อเสียดและอย่าพูดมุสา ถ้าท่านละคำส่อเสียดและคำมุสาแล้ว สำรวมวาจาท่านจักเป็นเทพเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าใคร่"
 เปรตตนนี้ทำบาปกรรมอะไรไว้จึงเป็นเช่นนี้ ?
 ในสมัยศาสนาของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ กุลบุตร ๒คนออกบวชในพระพุทธศาสนา เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอาจาระมรรยาทและมีความประพฤติเคร่งครัด อาศัยอยู่วัดแห่งหนึ่ง พระอาคันตุกะรูปหนึ่งมาที่วัดท่านทั้งสองให้การต้อนรับเป็นอย่างดีพระอาคันตุกะเห็นความสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะในที่นั้นจึงอยากจะอยู่แทนที่จะอาศัยอยู่กับพระเถระทั้งสอง กลับคิดว่าถ้าพระเถระอยู่ด้วยตนจะเป็นเหมือนลูกศิษย์ ไม่ใหญ่โตตามต้องการจึงวางแผนยุแหย่ให้พระเถระทั้งสองระแวงกัน จนถึงโกรธและไม่ปรารถนาจะอยู่รวมกันได้แยกย้ายกันไปตามความพอใจของตน พระอาคันตุกะจึงได้อยู่แทนเพราะบาปกรรมที่เกิดจากมุสาส่อเสียด พระเถระผู้สมบูรณ์ด้วยคุณเช่นนั้นหลังจากตายไปแล้วต้องตกนรกสิ้นพุทธันดรหนึ่งการเกิดเป็นเปรตจึงเป็นเพียงเศษแห่งบาปกรรมที่เหลือจากตกนรกเท่านั้น

๔. ปิฏฐิธีตลิกเปตวัตถุเรื่องเปรตตุ๊กตาแป้ง


 คำว่า เปรตในเรื่องนี้มีความหมายเพียงละไปหรือแตกไปเท่านั้น มีข้อความอันเป็นเบื้องต้นว่าพี่เลี้ยงของหลานสาวของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ทำตุ๊กตาซึ่งทำด้วยแป้งของเธอแตกเธอร้องไห้ไปบอกตา ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีปลอบหลานสาวไม่ให้ร้องไห้เมื่อตุ๊กตาตายไปแล้ว จะทำบุญอุทิศกุศลไปให้ท่านจึงนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ไปฉันในนิเวศน์แล้วกราบทูลเหตุแห่งการทำบุญคราวนี้ให้ทรงทราบพระพุทธเจ้าจึงตรัสเป็นพระคาถาว่า
 "บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ปรารภเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นบุรพเปตชน เทวดาผู้สถิตอยู่ในเรือน หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ ผู้รักษาโลก มียศคือท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวกุเวร ให้เป็นอารมณ์ แล้วถึงให้ทานท่านเหล่านั้นเป็นผู้ดันบุคคลได้บูชาแล้วและทายกก็ไม่ไร้ผล"
 จากพระพุทธดำรัสตรัสตอบนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่าหลักของพระพุทธศาสนาในระดับนี้ไม่ได้ใส่ใจว่าคนจะปรารภอะไรแล้วกระทำบุญก็ตาม เมื่อการกระทำนั้นเป็นบุญแล้วย่อมได้ชื่อว่าเป็นการสั่งสมความดีด้วยตน และบูชาต่อผู้ที่ควรบูชาในระดับของผู้ครองเรือนนั้นทรงยอมรับถึงความมีอยู่ของเทวดาประจำเรือนหรือที่เรียกกันว่าผีเรือนเป็นต้นไปการทำพลีกรรมแก่ท่านเหล่านั้นทรงแสดงว่าเป็นเทวตาพลีคือพลีกรรมที่บุคคลควรทำให้แก่เทวดา เพื่อแสดงออกซึ่งความเมตตา กรุณากตัญญูและสร้างไมตรีจิตต่อกัน เพื่อให้เกิดผลอย่างที่ทรงแสดงว่าผู้ให้ย่อมได้รับการให้ตอบ ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ

๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุเรื่องเปรตผู้มายืนอยู่ที่นอกฝาเรือน


 พระพุทธเจ้าทรงปรารภเปรตพระญาติในอดีตของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งได้เล่าไว้พิสดารแล้วในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกายในที่นี้จะพูดเฉพาะพระพุทธดำรัสที่ตรัสเรื่องเปรต อันเป็นคาถาที่ใช้ในการอนุโมทนาปรารภการทำบุญชนิดทักษิณานุปทาน คือ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พระเจ้าพิมพิสารทำบุญอุทิศกุศลให้แก่ญาติของพระองค์แล้วทรงแสดงการมาสู่เรือนญาติของพวกเปรตทั้งหลายความว่า
 "เปรตทั้งหลายมาสู่เรือนของตนแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ต่าง ๆทั้งที่ข้าวน้ำของบริโภคเป็นอันมากเขาจัดตั้งไว้แล้ว แต่ญาติไร ๆไม่ได้ระลึกถึงเปรตเหล่านั้น เพราะกรรมของพวกเขาเป็นปัจจัยเหล่าชนผู้มีจิตอนุเคราะห์ ย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาดประณีตสมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล ดุจทานที่มหาบพิตรถวายแล้ว ฉะนั้นด้วยเจตนาอุทิศว่า
 - ขอทานนี้แล จงสำเร็จแก่ญาติของเราขอญาติทั้งหลายของเรา จงเป็นสุขเถิด
 - ญาติผู้เป็นเปรตเหล่านั้นซึ่งมาประชุมกันเมื่อข้าวและน้ำมีอยู่โดยบริบูรณ์ย่อมอนุโมทนาโดยความเคารพว่าเราได้สมบัติเพราะญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้นจงมีชีวิตอยู่ยืนนาน
 - การบูชาอันพวกญาติทั้งหลายได้กระทำแล้วแก่เราและญาติทั้งหลายผู้ให้ก็ไม่ไร้ผล
 จากนั้นทรงแสดงลักษณะทางสังคมของเปรตว่าในเปตโลกนั้นไม่มีงานอาชีพอย่างใดเลย พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ด้วยผลแห่งทานที่ญาติอุทิศให้จากโลกนี้ เหมือนน้ำฝนที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ลุ่มฉะนั้นทานที่ญาติมิตรบริจาคให้แต่มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตเหมือนห้วงน้ำยังมหาสมุทรให้เต็มฉะนั้น
 กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะที่ท่านทำแล้วในกาลก่อนว่าญาติมิตรสหายได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ได้ช่วยกิจนี้ของเราพึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลายความเศร้าโศกหรือร่ำไรอย่างอื่นไม่ควรทำลายเพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่เปรตทั้งหลายญาติทั้งหลายคงดำรงอยู่ตามปกติ
 ทักษิณานี้แลที่ท่านตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ให้แล้วย่อมสำเร็จประโยชน์แก่เปรตโดยพลันสิ้นกาลนาน ญาติธรรมท่านได้แสดงให้ปรากฏแล้วการบูชาอันยิ่งเพื่อเปรตทั้งหลายท่านได้กระทำแล้วการให้กำลังแก่ภิกษุทั้งหลายท่านก็ได้เพิ่มให้แล้ว บุญมีประมาณไม่น้อยอันท่านได้ขวนขวายแล้ว"

๖. ปัญจปุตตขาทกเปตวัตถุเรื่องเปรตกินลูกมื้อละ ๕คน


 พระนารทได้เห็นเปรตตนหนึ่ง มีผิวพรรณน่าเกลียดกลิ่นเหม็นฟุ้งไป มีแมลงวันตอมเกลื่อนอยู่ จึงสอบถามว่าเป็นใครและทำบาปกรรมอะไรจึงต้องเป็นเช่นนี้
 นางเปรตบอกว่านางจุติจากทุคติมาเกิดเป็นเปรต เพราะเศษกรรมที่ได้ทำไว้ โดยตอนเช้าคลอดบุตร ๕ คนตอนบ่าย ๕ คน แล้วกินบุตรเหล่านั้นมื้อละ ๕ คน แต่ไม่อาจบรรเทาความหิวได้จิตใจเร่าร้อนเป็นนิตย์เพราะความหิวและไม่ได้ดื่มน้ำเลยทั้งนี้เพราะบาปกรรมที่แอบปรุงยาทำให้แท้งลูก เมื่อทราบว่าสตรีร่วมผัวมีครรภ์จนนางต้องตายไปเพราะแท้งลูก ญาติพี่น้องเขาจับได้ว่าตนเป็นคนปรุงยานี้แต่ตนไม่ยอมรับสารภาพ พร้อมด้วยสบถว่าหากตนทำจริง ขอให้เกิดเป็นเปรตกินบุตรดังกล่าวด้วยบาปกรรมที่ทำให้ครรภ์ของหญิงอื่นตกไป และกล่าวสบถด้วยคำมุสาจึงต้องเกิดมาเป็นเปรตด้วยเศษแห่งกรรมนั้น

๗. สัตตปุตตขาทกเปตวัตถุเรื่องนางเปรตกินลูกมื้อละ ๗คน


 รูปร่างหน้าตาของนางเปรตนี้ ตลอดถึงการกินลูกเหมือนกับนางเปรตตนก่อน แต่ละคนนี้กินมื้อละ ๗ คน ผลกรรมก็เป็นเช่นเดียวกันแต่นางเปรตตนนี้ทำไปด้วยริษยากลัวว่าภรรยาของสามีอีกคนหนึ่งซึ่งกำลังมีท้องเมื่อคลอดบุตรออกมาแล้วจะแย่งสมบัติจากบุตรของนางสองคน จึงปรุงยาให้หญิงร่วมผัวกัน ในขณะที่เธอมีภรรภ์ได้๓ เดือนแล้ว ทำให้ตกโลกหิตตาย และนางได้สาบานไว้ว่าหากนางทำเช่นนั้นจริงให้เกิดเป็นเปรตกินลูกตนเองมื้อละ ๗ คนทุกข์ทรมานที่นางกำลังประสบอยู่เป็นผลของ "การทำครรภ์ให้ตกไป สบถด้วยคำมุสา"แต่เป็นเพียงเศษกรรมที่เหลือจากนรกอย่างนางเปรตตนก่อน
 ปัญหาเรื่องการทำแท้งที่มักจะพูดกันมากนั้นจะพบว่าการทำแท้งเป็นบาปมาก เพราะทำลายชีวิตเด็กไม่มีความผิดบางคราวก็เป็นลูกของตนเองเสียด้วย ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลอย่างไรก็ตามในโลกนี้ไม่อาจจะกำหนดเงื่อนไขกันขึ้นมาอ้างได้แต่เมื่อต้องตายไปนั้นเงื่อนไขเหล่านั้น ไม่อาจใช้ได้ในปรโลกเรื่องนี้จึงไม่น่าเสี่ยง ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม

๘. โคณเปตวัตถุเรื่องเปรตโค


 คำว่า เปรตโคใช้ในความหมายว่าโคตายเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องเปรตจริง ๆ คือพราหมณ์คนหนึ่งบิดาตายเสียใจมากจนไม่เป็นอันกินอันนอนพระพุทธเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของเขาจึงเสด็จไปเล่าเรื่องในอดีตให้ฟังเมื่อสมัยที่พระองค์เกิดเป็นสุชาตกุมารปู่ตายลงพ่อร้องไห้เสียใจเหมือนพราหมณ์คนนี้สุชาตกุมารหาอุบายวิธีสอนพ่อ ด้วยการนำเอาโคที่ตายแล้วมาเคี่ยวเข็ญให้กินหญ้าแม้ใครจะห้ามปรามก็ไม่ฟัง บิดาจึงต้องมาดุและตำหนิว่า ไม่น่าจะทำอะไรแบบคนบ้า ๆ บอๆ อย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นคนฉลาด เป็นบัณฑิตมีปัญญาสุชาตกุมารเห็นได้จังหวะจึงกล่าวแก่บิดาว่า
 จะอย่างไรก็ตามรูปร่างของโคยังปรากฏอยู่แต่กระดูกของปู่ยังอยู่ในสถูปแล้วพ่อยังร้องไห้ถึงกระดูกปู่อยู่อีกเราทั้งสองใครจะทำสิ่งที่โง่กว่ากันเล่า ? จากเหตุผลที่ลูกชายได้กล่าวนี้เองบิดาหายเศร้าโศกได้ ยกย่องสรรเสริญลูกชายด้วยประการต่าง ๆท่านได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของพระคาถาว่า "ชนเหล่าใดมีปัญญามีจิตคิดอนุเคราะห์ต่อพ่อแม่ ควรช่วยให้ท่านหายเศร้าโศกด้วยวิธีอย่างนี้"เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า คำพูดของลูก ๆที่จริงมีประโยชน์เป็นเรื่องดี ที่พูดถูกกาลนั้นสามารถช่วยเหลือพ่อแม่ของตนได้แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยากจะเปลี่ยนแปลงได้ก็ตาม เช่น
 - เด็กคนหนึ่งพ่อเป็นนักเลงการพนัน ขายนาไปเพื่อเอาเงินมาเล่นการพนันหลายแปลงลูกชายคิดหาทางแก้ไข จึงไปจับโคมาให้กินน้ำในไห บิดามาด่าว่าเสียอย่างรุนแรงว่าทำไมจึงทำโง่ อย่างนี้ ปากโคโตกว่าปากไหมันจะกินเข้าไปได้อย่างไร ลูกชายจึงบอกว่าทำไมจะทำไม่ได้ นาเป็นแปลง ๆ ยังเข้าไปในรูโปได้นี่นา บิดาต้องจำนนและเกิดสำนึกเลิกเล่นการพนันแต่นั้นมา
 - พ่อกับลูกเดินเที่ยวกันพ่อถือปืนติดมือไปด้วย เมื่อเห็นนกคู่หนึ่งเกาะอยู่ที่ต้นไม้จึงยิงตกลงมาตายตัวหนึ่ง ลูกถามว่ามันไปทำอะไรให้พ่อ พ่อจึงได้ยิงมัน เป็นคำถามซื่อๆ แต่กินใจมาก พ่อเลยเลิกยิงนกจากวันนั้นเป็นต้นมา ประเด็นสำคัญคือผู้น้อยจะให้สติผู้ใหญ่ ต้องคำนึงถึง "เรื่องจริง ดี มีประโยชน์ได้จังหวะที่อำนวยให้" เมื่อพูดไปตามเงื่อนไขดังกล่าวย่อมอำนวยประโยชน์ให้ถ้าท่านผู้นั้นมีความเคารพในเหตุพอควร

๙. มหาเปสการเปตวัตถุเรื่องเปรตอดีตภรรยานายช่างหูกใหญ่


 ภิกษุรูปหนึ่งได้ไปพบเห็นเปรตตนหนึ่งซึ่งรุกขเทวดาพยายามช่วยเหลือ แต่ช่วยไม่ได้ นางคงกินมูตรคูถและหนองเปลือยกายอยู่เป็นนิตย์ แม้รุกขเทวดาจะให้ผ้าทิพย์แต่พอนางรับผ้ากลับเป็นแผ่นเหล็กร้อนไปทุกคราวท่านจึงถามว่าเป็นเช่นนี้เพราะผลกรรมอะไร ?
 ท่านผู้เจริญในอดีตหญิงนี้เป็นภรรยาของข้าพเจ้า มีความตระหนี่เหนียวแน่น เมื่อข้าพเจ้าให้ทานแกก็ด่าว่าให้ข้าพเจ้าต้องกินมูตรคูถเลือดหนองเมื่อถวายผ้าก็แช่งให้ข้าพเจ้ามีผ้าเป็นแผ่นเหล็กด้วยผลกรรมนั้นทำให้นางต้องเป็นดังที่ท่านเห็น
 ความเดิมมีว่า ช่างหูก๑๑ ครอบครัวอยู่ใกล้เคียงกัน มีพระจรมาเพื่อบำเพ็ญเพียรในที่ใกล้ ๆ บ้านพวกเขาจึงช่วยกันบำรุงพระเหล่านั้นแต่ภรรยาหัวหน้าช่างหูกตระหนี่มากจึงคอยขัดขวางด่าว่าสามีอยู่เสมอทั้งในขณะที่ให้อาหารบิณฑบาตและถวายผ้าเป็นทานด้วยคำด่าดังกล่าวเมื่อตายไปแล้วสามีเกิดเป็นรุกขเทวดาภรรยาเกิดเป็นเปรต กินมูตรคูถเลือดหนองของตนเอง และเปลือยกาย รุกขเทวดาพยายามช่วยแต่อาหารถึงมือนางกลายเป็นมูตรคูถเลือดหนองหมด ให้ผ้าไปกลายเป็นแผ่นเหล็กดังกล่าวในที่สุดได้แนวคิดคือเทวดาถวายอาหารทิพย์แก่ภิกษุพร้อมด้วยผ้าทิพย์และยังฝากไปถวายพระพุทธเจ้าด้วย โดยอุทิศกุศลที่เกิดจากทานนั้นให้แก่นางเปรตซึ่งนางเปรตได้อนุโมทนาพ้นจากความทุกข์ทรมานที่เคยประสบอยู่

คำสำคัญ (Tags): #เปรต
หมายเลขบันทึก: 512445เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 

๑๐. ลาตยเปตวัตถุเรื่องหญิงเปรตหัวโล้น


 เปรตตนนี้เป็นเวมานิกเปรตคือเปรตที่อยู่วิมาน พวกพ่อค้ามาพบนางที่วิมานแต่นางไม่กล้าออกมาให้ดูเพราะนางเปลือยกายในที่สุดนางขอให้พ่อค้าเหล่านั้นให้ผ้าแก่อุบาสกผู้มีศีลคนหนึ่งในกลุ่มพ่อค้าโดยขอให้อุทิศกุศลให้แก่นางเมื่อพวกพ่อค้าได้กระทำเช่นนั้น นางได้อนุโมทนาในการให้ผ้านั้นผลบุญนั้นเสร็จก็เกิดผ้าทิพย์ขึ้นแก่นางตกแต่งสวยงามดุจเทพธิดาเมื่อพวกพ่อค้าถามถึงบุพกรรมนางได้เล่าให้ฟังว่า
 ชาติก่อนนางเป็นหญิงอาศัยรูปเลี้ยงชีพคนหนึ่งมีผมสวยมากจนเป็นที่ริษยาของหญิงอื่นจึงถูกหลอกให้ทายาจนผมร่วงหมด มีความละอายจึงหนีออกจากที่นั้นได้แอบขโมยผ้าของพวกนักเลงแล้วหนีไปพบพระอรหันต์ ได้ถวายขนมเป็นทานแก่ท่านเมื่อท่านกล่าวอนุโมทนา ตนได้อธิษฐานขอให้ผมงามเหมือนเดิมหลังจากนั้นผมของนางกลับงามสาวสลวยมีปลายงอนขึ้นเมื่อตายไปบังเกิดในวิมานเปรตกลางทะเลทราย ผมสวยงามและได้อยู่ในวิมานเพราะผลแห่งทานแต่ต้องเปลือยกายเพราะผลแห่งการขโมยผ้า และบอกว่านางกำลังจะทำบุญ ตายไปจะต้องตกนรกอุบาสกคนนั้นจึงได้อนุโมทนาผลทานเหล่านั้น อุทิศกุศลให้แก่นางแนะนำให้นางให้ผ้าทิพย์แก่อุบาสกคนอื่น พร้อมกับฝากถวายถึงพระพุทธเจ้าเพื่อสร้างสมบัติทิพย์ให้เกิดขึ้นนางได้ทำตามคำแนะนำแล้วตายไปเกิดเป็นเทพธิดาบนดาวดึงส์
 เวมานิกเปรตตนนี้ทำบาปกับบุญในเวลาใกล้เคียงกันผลแห่งอทินนาทานส่งให้เกิดเป็นเปรตไม่มีผ้านุ่ง ผลแห่งการถวายขนมแก่พระอรหันต์ทำให้เป็นเปรตอยู่วิมานมีผมสวยงามตามแรงอธิษฐาน

๑๑. นาคเปรตเปรตผู้มีแรงเหมือนช้าง


 เปรตในเรื่องนี้ปนกันไปกับเรื่องเทวดาพระสังกิจจเถระบันดาลให้สามเณรซึ่งเป็นศิษย์ของตนผู้ต้องการจะสึกไปเป็นฆราวาสเพราะเกิดรักหลานสาวของลุงแต่พระเถระขอผลัดไว้จนลมพัดบ้านลุงพังตายกันหมดทั้งครอบครัวท่านจึงบันดาลให้สามาเณรพบครอบครัวนั้นที่ตายไปด้วยกัน แต่แตกต่างกันในด้านกำเนิดคือ
 ลูกชายสองคนกับลูกสาว เนื่องจากก่อนตายได้ทำบุญกุศลด้วยการให้ทานบำรุงพระสังกิจจเถระและภิกษุทั้งหลายตายไปแล้วได้เกิดเป็นรุกขเทวดามีข้างม้าวอเป็นพาหนะตามลำดับฝ่ายพราหมณ์สองสามีภรรยา นอกจากไม่ยอมทำบุญทำกุศลเหมือนลูก ๆ แล้วยังขัดขวางรุกรานคนอื่น ๆ ตลอดถึงพระอริยเจ้า จึงเกิดเป็นเปรตทั้งคู่เมื่อเจอหน้ากันต่างฝ่ายต่างมีค้อนเหล็กในมือ ทุบตีกันอย่างเอาเป็นเอาตายเมื่อสามเณรได้เห็นแล้วจึงสอบถามเปรตทั้งสองบอกรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมของแต่ละคนให้ฟังดังกล่าวและบอกว่าตนเองนั้นต้องกินเลือดหนองของตน ไม่รู้จักคำว่าอิ่มเลย หิวโหยอยู่ตลอดเวลาพร้อมกับกล่าวแนะนำ ความว่า "คนที่มีทรัพย์สมบัติไม่ใช้สอยเองและไม่บำเพ็ญกุศลตายไปแล้วต้องประสบความหิวโหยในปรโลก คนที่ทำบาปกรรมไว้ย่อมได้รับความเดือนร้อนคนฉลาดเข้าใจว่าชีวิตกับทรัพย์ไม่เป็นอันเดียวกันแล้วใช้ทรัพย์เหล่านั้นบำเพ็ญบุญกุศลเพื่อเป็นที่พึ่งแห่งตน คนฉลาดในธรรมฟังคำของพระอรหันต์แล้วมารู้ความจริงเช่นนี้ย่อมไม่ประมาทในทาน"
 คำกล่าวของเปรตทั้งสองนี้แสดงว่าเปรตเข้าใจเหตุผลของสุจริต ทุจริตแต่ไม่อาจประพฤติในส่วนที่เป็นสุจริตธรรมได้ สำหรับในกรณีนี้เป็นเพราะความประมาทและความตระหนี่ การทำกรรมให้ผลออกในรูปของการทุบตีกันนั้นท่านอธิบายว่าเพราะคนที่ตระหนี่จัด จะมีความรู้สึกว่าคนอื่นจะมาเอาของ ๆ ตนทำให้ทรัพย์สมบัติของตนน้อยลง เมื่อความฝังใจมากเข้าแม้กับคนในครอบครัวเดียวกันและเคยประทุษร้ายคนอื่นเพราะหวง และตระหนี่ในทรัพย์ทั้งของตนของคนอื่นกรรมจึงบันดาลให้เห็นอีกฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรูพบกันเข้าก็ทุบตีกันเรื่อยไป
 เรื่องที่น่าสังเกตอยู่ประการหนึ่งคือพระสังกิจจเถระเป็นพระอรหันต์ที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่เกิด บรรลุอรหันต์ตั้งแต่อายุ๗ ขวบ เคยทำงานสำคัญ ๆ สำเร็จมาแต่เป็นสามเณรน้อย ที่สำคัญคือสามเณร

เรื่องของเปรต

เปรตมิจฉาทิฐิ


 ยังมีพราหมณ์ผัวเมียคู่หนึ่งซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิ ในพระนครพาราณสี มีบุตรชาย ๒ คน บุตรหญิง ๑ คนมาณพผู้เป็นบุตรชายคนใหญ่นั้น ได้เป็นสหายของพระภิกษุรูปหนึ่งแต่ยังมิได้เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา ครั้งนั้นอุบาสกผู้หนึ่งเที่ยวชักชวนประชาชนทั้งหลาย ให้พากันถวายนิจภัตต์แก่พระสังกิจเถระบอกบุญเรื่อยมาจนมาถึงมาณพบุตรชายคนใหญ่ของพราหมณ์นั้นแล้วชักชวนให้ทำบุญ
 " ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ จะทำบุญแก่พระสมศากยะบุตรมิได้"เขากล่าวปฎิเสธ
 อุบาสกผู้ชาญฉลาดนั้นหวังใจจะให้เขาเกิดความเลื่อมใสในพระบวรพระพุทธศาสนาคิดอุบายได้แล้วจึงมอบสิ่งของต่างๆที่ตนบอกบุญเรี่ยไรมาได้ให้แก่เขาแล้วกล่าวว่า
 "ท่านทำบุญแก่พระสมณะมิได้ก็ไม่เป็นไรแต่ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านเป็นคนมีหลักฐาน จึงจะขอวานท่านช่วยเป็นตัวแทนของพวกข้าพเจ้าคือขอท่านจงช่วยจัดแจงกระทำสิ่งของเหล่านี้ให้เป็นอาหารแล้วมอบถวายแก่พระภิกษุสงฆ์อันมีพระสังกิจเถระสหายของท่านเป็นประธานนั้นแทนพวกข้าพเจ้าด้วยเถิดข้าพเจ้าไว้วางใจพวกท่านยิ่งกว่าคนอื่น" มาณพนอกศาสนาแต่ว่าอัธยาศัยดี ครั้นได้ฟังคำของอุบาสกดังนี้ก็มีใจยินดีรับสิ่งของที่อุบาสกให้มาให้คนในบ้านช่วยจัดแจงปรุงแต่งเป็นอาหารครั้นถึงเพลาบิณฑบาตก็ได้ถวายทานเป็นนิจยภัตต์แก่พระภิกษุสงฆ์เสมอมาทุกวันเมื่อมาณพกระทำดังนี้มาช้านาน น้องชายและน้องหญิงของเขาได้เห็นอาจาระของพระภิกษุทั้งหลาย ก็ค่อยมีใจเลื่อมใสไปกับพาชายและเมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาที่พระภิกษุแสดง พี่น้องทั้งสามก็เลยเป็นผู้เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาเต็มอกเต็มใจช่วยจัดแจงอาหารถวายพระสงฆ์แทนชาวบ้านทั้งหลายยิ่งกว่าเก่าบางคราวถ้าขาดเหลือสิ่งใดตนก็ช่วยแสวงหาเพิ่มเติมให้บริบูรณ์ไม่บกพร่อง
 เมื่อเห็นทั้งพี่ทั้งน้องอันเป็นบุตรรักของตนประพฤตินอกรีตนอกรอยเสียเช่นนี้พราหมณ์และพราหมณีผู้เฒ่าผู้เป็นพ่อเป็นแม่ของเขา ซึ่งถือเคร่งครัดในศาสนาของตน ก็ให้เจ็บซ้ำในน้ำใจนักแม้จะเฝ้าบ่นว่าชักชวนให้เลิกถวายทานอย่างไร พวกลูก ๆ ทั้งหลายก็หาเชื่อฟังไม่ในที่สุดก็เลยพาลพาโลเกลียดชังพระสงฆ์อันเปรียบประดุจหนามแทงซึ่งมารับบิณฑบาตในบ้านของตนทุกๆ วัน ครั้นอดใจมิได้ทั้งสองตายายก็เลยด่าว่าเอาตามประสาที่ใจมิใคร่จะชอบ
 กาลต่อมาบุตรของน้องชายพราหมณ์เฒ่ามิจฉาทิฐินั้น ได้ฟัง ธรรมในสำนักของพระสังกิจเถระแล้วก็บังเกิดความเลื่อมใสและเบื่อหน่ายในฆราวาสวินัยจึงขอบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา อยู่ในสำนักของพระมหาเถระพออรุณรุ่งเช้าก็เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตที่บ้านลุงมิจฉาทิฐิทุก ๆ วัน ในไม่ช้าก็กระสันใคร่จะสึกจึงเข้าไปหาพระอุปัชฌายะ แล้วกราบเรียนว่า
 " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ! บัดนี้ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะสึกออกจากเพศสามเณรขอพระผู้เป็นเจ้า จงอนุญาตให้แก่ข้าพเจ้าเถิด "
 พระเถรเจ้าพิจารณาดู
  ก็ทราบว่าสามเณรนั้นมีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตจึงกล่าวขัดเสียว่า "มิได้ เราไม่อนุญาต "
 สามเณรนั้น เมื่อไม่ได้รับอนุญาตให้สึกก็จำใจต้องทนบวชอยู่ต่อไป ด้วยความเกรงกลัวและเคารพในพระอุปัชฌายะครั้นทนอยู่ไปได้ถึง ๑๕ วันแล้ว ก็ให้กระสันใคร่ที่จะลาสิกขาบทอีกจึงเข้าไปกราบลาพระอุปัชฌายะ แต่ก็ถูกพระอุปัชฌายะกล่าวห้ามปรามอีกเหมือนครั้งแรกจึงจำใจต้องทนอยู่ในเพศสามเณรต่อไป อยู่มาได้ไม่ช้า ความที่อยากจะลาสิกขาบทก็เกิดขึ้นรบกวนจิตใจอีก จึงตัดสินใจเข้าไปกราบลาพระอุปัชฌายะยืนยันอย่างเด็ดขาดว่าตนต้องการจะสึกอย่างแน่ ๆ พระสังกิจเถระผู้เป็นพระอุปัชฌายะจึงบอกว่า " ให้รอไปก่อนอีก ๗ วัน จึงค่อยลาสิกขาบท" สามเณรนั้นเห็นว่าเป็นเวลาไม่นานนัก ก็รับคำด้วยดี
 ราตรีนั้น ได้เกิดมหาวาตภัยลมพายุใหญ่พัดกระหน่ำมาอย่างหนัก บ้านเรือนของราษฎรในแถบนั้นได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบ้านของพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฐิซึ่งเป็นลุงของสามเณร นับว่าเคราะห์ร้ายกว่าบ้านอื่นเพราะถูกพายุใหญ่อันบังเกิดขึ้นในราตรีที่ฝนตกหนักพัดให้เรือนหักพังทลายคนทั้งหลายซึ่งกำลังนอนอยู่ในเรือนนั้นก็ถูกเรือนหักทับตายหมดทั้งสิ้น
 ทันทีที่ขาดใจตายคนทั้งหลายก็แยกย้ายกันไปเกิดใหม่ตามยถากรรม มาณพผู้เป็นบุตรชายทั้งคนใหม่และคนเล็กพร้อมทั้งน้องสาวคนสุดท้อง ผู้ซึ่งมีใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาให้ทานเป็นประจำได้อุบัติเป็นภุมเทวดา มาณพพี่ชายใหญ่นั้น มีกุญชรชาติเป็นยานพนะมาณพน้องชายเกิดเป็นเทวดา มีรถเทียมด้วยสินธพชาติเป็นพาหนะส่วนน้องสาวเกิดเป็นเทพนารี มีวอทองเป็นพาหนะ ส่วนบิดามารดาผู้เป็นมิจฉาทิฐิด้วยอำนาจแห่งอกุศลกรรมที่ได้ด่าว่าพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล ได้เกิดเป็นเปรตทั้งสองคนนับวันแต่เกิดเป็นเปรตแล้วตลอดเวลาไม่ต้องทำอะไร ได้แต่ถือฆ้อนเหล็กอันใหญ่ไล่ตีไล่ประหารซึ่งกันและกันอยู่ไม่เว้นแต่ละวัน สรีระร่างกายที่ถูกฆ้อนทุบตีนั้นก็พองขึ้นเท่ากระออมลูกใหญ่ ครู่หนึ่งก็แตกออกเป็นน้ำเลือดน้ำหนองเปรตทั้งสองต่างก็ดื่มกินซึ่งปุพโพโลหิต ที่ไหลออกมานั้นเป็นอาหารแล้วก็เริ่มประหาร ทุบตีกันต่อไปใหม่คล้ายกับเป็นเปรตบ้า เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลาจะหาเวลาพักผ่อนนั้นมิได้
 รุ่งเช้าสามเณรผู้กระสันใคร่จะสึกได้เข้าไปในบ้านเพื่อบิณฑบาต เห็นบ้านของลุงหักพังและทราบว่าลุงของตนตายเสียแล้วเช่นนั้น ก็มีความเสียใจ จึงกลับไปวิหารเข้าไปกราบเรียนแก่พระอุปัชฌายะว่าจะขอลาไปบ้านตน ซึ่งอยู่อีกตำบลหนึ่ง พอครบกำหนด๗ วันแล้วจะกลับมาสึก พระอุปัชฌายะก็ห้ามว่า
 "ดูกรสามเณร!วันนี้เป็นแรม ๑๔ ค่ำ อย่าเดินทางเลย มา ! เราจะไปเที่ยวป่าด้วย" ว่าดังนี้แล้วก็พาสามเณรนั้น เดินลัดเลาะออกทางหลังวิหาร เข้าไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สมัยนั้นภุมเทวดา ๓ องค์พี่น้อง ซึ่งเพิ่งอุบัติใหม่จะไปประชุมเทวสันนิบาดจึงผ่านมามรรคานั้น เปรตผู้เป็นบิดามารดาของเทวดาทั้ง ๓ซึ่งบัดนี้มีรูปร่างน่าเกลียดเป็นที่สุด มีมือถือไม้ฆ้อนใหญ่ มีเกสาอันยาวมีกายดำน่าเกลียดน่ากลัว ทั่วทั้งร่างเปื่อยเน่า มีปุพโพโลหิตไหลเยิ้มน่าขยะแขยงครั้นเห็นบุตรธิดาของตนผ่านมาก็จำได้ จึงไล่ติดตามมาข้างหลังพระเถระเห็นเป็นโอกาสดีเช่นนั้น จึงแสดงด้วยฤทธิ์แห่งพระอริยเจ้าบันดาลให้สามเณรนั้นเกิดตาสว่างเห็นเปรตและเทพยดาเหล่านั้นแล้วถามว่า
 "ดูกรสามเณร !เธอเห็นเปรตและเทวดาเหล่านั้นหรือไม่"
 "เห็น ขอรับ ท่านเจ้าขา"สามเณรกล่าวตอบด้วยความอัศจรรย์ใจ
 "เธอจงถามซึ่งบุรพกรรมคือกุศลและอกุศลที่เขาทั้งหลายได้กระทำไว้แต่ครั้งเป็นมนุษย์ดูบ้างเป็นไร"พระเถระบอก
 "ดีซิ ขอรับ" สามเณรรับคำพระอุปัชฌายะแล้วก็เรียกให้เปรตและเทพยดาเหล่านี้นั้นหยุดก่อนแล้วถามขึ้นว่า
 "ผู้หนึ่งขี่ช้างเผือกไปข้างหน้าผู้หนึ่งขี่รถเทียมด้วยม้าอัสดรไปในท่ามกลางนางสาวน้อยเทพนารีขึ้นวอทองไปข้างหลังเปล่งรัศมีสว่างไสว ไปทั่วทุกส่วน
 ท่านทั้งหลายมีมือถือฆ้อนเดินร้องไห้มีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตามีตัวเป็นแผลแตกพัง
 ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบาปกรรมอะไรไว้ท่านทั้งสองดื่มกินปุพโพโลหิตของกันและกัน เพราะกรรมอะไร"
 เปรตทั้ง ๒ได้ฟังสามเณรผู้หลานถามฉะนี้จึงมีวาทีตอบว่า
 "ผู้ที่ขี่ช้างเผือกชาติกุญชรไปข้างหน้านั้นเป็นบุตรชายคนโตของข้าพเจ้า ทั้งสองเมื่อเป็นมนุษย์เขาได้ถวายทานแก่พระสงฆ์จึงได้รับความสุขบันเทิงใจ
 ผู้ใดขี่รถเทียมด้วยม้าอัสดร ๔ ม้าแล่นเรียบไปท่ามกลาง ผู้นั้นเป็นบุตรคนกลางของข้าพเจ้าทั้งสองเมื่อเขาเป็นมนุษย์เป็นคนไม่ตระหนี่ เป็นทานบดีรุ่งโรจน์อยู่จึงได้รับความบันเทิงใจเมื่อตายแล้ว ส่วนเทพนารีผู้มีปัญญา ดวงตากลมงามรุ่งเรืองดุจตาเนื้อ ซึ่งขึ้นวอมาข้างหลังนั้น เป็นธิดาคนสุดท้องของข้าพเจ้าทั้งสองนางมีความสุขเบิกบานใจ เพราะส่วนแห่งทานกึ่งส่วน เมื่อก่อนเขาทั้ง ๓มีจิตเลื่อมใส ได้ให้ทานแก่สมณะพราหมณ์ทั้งหลาย ส่วนข้าพเจ้าทั้งสองเป็นคนตระหนี่ไม่มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ได้บริภาษด่าว่าสมณะพราหมณ์เอาไว้ฉะนั้นไซร้บุรพกรรมแห่งเราทั้งหลายจึงไม่เหมือนกันโดยที่เขาทั้งสองผู้เคยเป็นบุตรธิดาแห่งเรานั้นได้ถวายทานจึงได้รับการบำรุงบำเรอด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ส่วนข้าพเจ้าทั้งสองไม่ได้ให้ทานทั้งบริภาษสมณะพราหมณ์ผู้ทรงศีลจึงได้รับความทุกข์เกิดเป็นเปรตอดอยากมีผิวพรรณหม่นหมองซูบซีดดุจไม้อ้อที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น"สามเณรจึงถามต่อไปว่า
 "อะไรเป็นอาหารของท่านอะไรเป็นที่นอนของท่าน และท่านผู้มีบาปเป็นอย่างยิ่งมีชีวิตอยู่ได้อย่างไรเหตุไฉนเมื่อท่านเป็นมนุษย์ จึงไม่ประกอบกองการกุศลไว้เล่า"เปรตทั้ง ๒ นั้น จึงตอบว่า
 "ดูกรพ่อสามเณร ! เราทั้งสองทุบตีกันและกันแล้วกินหนองและเลือดของกันและกันเป็นอาหาร ได้ดื่มหนองและเลือดเป็นอันมากก็ยังไม่หายอยากมีความหิวเป็นนิตย์ สัตว์ทั้งหลายไม่ได้ทาน เมื่อตายไปแล้วย่อมเสียใจร่ำไรอยู่เหมือนกับข้าพเจ้าทั้งสองนี้ สัตว์เหล่าใดได้ประสพโภคสมบัติต่าง ๆ แล้วไม่ใช้สอยเอง ทั้งไม่ได้ประกอบการบุญ สัตว์เหล่านั้นจักต้องได้รับความหิวโหยในปรโลกภายหน้าย่อมจักต้องถูกความหิวโหยเผาไหม้อยู่สิ้นกาลช้านาน และเมื่อทำกรรมทั้งหลายอันมีผลเผ็ดร้อน และทุกข์เป็นกำไรแล้วย่อมได้เสวยทุกข์
 ก็บัณฑิตทั้งหลายรู้ทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นอย่างหนึ่งรู้ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลกนี้เป็นอย่างหนึ่งรู้ทรัพย์ข้าวเปลือกและชีวิตมนุษย์เป็นอีกอย่างหนึ่งนอกจากสิ่งนี้แล้วพึงทำที่พึ่งของตน ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดในธรรมฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลายแล้วมารู้ชัดอย่างนี้ชนเหล่านั้นย่อมไม่ประมาทให้ทาน"
 ครั้นให้การอย่างกระท่อนกระแท่นแก่สามเณรผู้เป็นหลานรักอย่างนี้แล้ว เปรตผู้มิจฉาทิฐิทั้ง ๒ ก็บอกลาไปตามยถากรรมฝ่ายสามเณรได้ฟังแล้ว ก็เกิดความสังเวชสลดใจบรรเทาเสียซึ่งความกระสันใคร่จะสึกจึงอภิวาทแทบบาทพระอุปัชฌายะแล้วกราบเรียนว่า
 "ข้าแต่พระเดชพระคุณ !ขอพระเดชพระคุณจงเป็นที่พึ่งพาอาศัย จงให้ความอนุเคราะห์แก่เกล้ากระผม ๆไม่ต้องการด้วยฆราวาสวิสัยกระผมมีใจยินดีในการที่จะประพฤติพรหมจรรย์อีกต่อไป"
 พระเถรเจ้าองค์อรหันต์ครั้นได้ฟังดังนั้น ก็พาสามเณรกลับมายังวิหารแล้วบอกกรรมฐานที่ควรแก่อัธยาศัยบุพพวาสนาสามเณรนั้นก็อุตสาหะเจริญวิปัสสนาบำเพ็ญกรรมฐานอันพระเถระบอกให้แล้ว ไม่ช้านานก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผล เป็นอริยบุคคลชั้นสูงสุดในพระบวรพุทธศาสนา
 เรื่องที่เล่ามานี้ ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายก็คงจะเห็นแล้วว่า บรรดาเปรตในเปตวิสัยภูมินี้ นอกจากจะมีเปรตประเภทเศษบาปแล้วก็ยังมีเปรตประเภทที่ตายจากมนุษย์แล้ว ก็ตรงไปเกิดเป็นเปรตเลยทีเดียวดังเปรตพราหมณ์และพราหมณีสองผัวเมียผู้มิจฉาทิฐิเป็นตัวอย่างและเพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้ดียิ่งขึ้น จะขอยกเอาเรื่องของมนุษย์ผู้ซึ่งพอดับจิตตายลง ก็ตรงไปเกิดเป็นเปรต มาเล่าไว้อีก ดังต่อไปนี้

เวมานิกเปรต


 ณราชสำนักแห่งสมเด็จพระราชาธิบดี ทรงพระนามว่าพิมพิสาร ในพระนครราชคฤห์นั้นมีบุรุษผู้ทรงปัญญามีความรู้มากผู้หนึ่งซึ่งได้รับพระมหากรุณาทรงแต่งตั้งในตำแหน่งผู้พิพากษาอรรถคดีครั้งแรกที่ดำรงตำแหน่งใหม่ ๆ ก็ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อมาภายหลังเกิดความโลภเข้าครอบงำดวงจิต ประพฤติทุจริตในหน้าที่โดยการรับสินบนแห่งชนอันมีคดีแก่กันหนักเข้า เลยกลายเป็นคนหยาบช้าสาหัสสากรรจ์ไม่พิพากษาอรรถคดีไปโดยยุติธรรม วันหนึ่งเป็นวันอุโบสถครั้นสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารราชาธิบดีทรงสมาทานอุโบสถศีลแล้วก็มีพระราชดำรัสสั่งให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ทั้งหลายสมาทานพร้อมกันท่านผู้พิพากษามิค่อยจะมีศรัทธานัก แต่ด้วยความเกรงกลัว ก็ต้องจำใจสมาทานศีลด้วยครั้นออกมาพ้นราชสำนักแล้ว จึงกล่าวแก่อำมาตย์ผู้ใหญ่ซึ่งเป็นสหายสนิทคนหนึ่งว่า
 "ความจริงข้าพเจ้าไม่ต้องการที่จะสมาทานศีลในวันนี้เลย แต่เกรงพระราชอาญา ก็จำใจต้องสมาทานและคิดว่าจะไม่รักษาศีลที่สมาทานวันนี้ดอกเพราะข้าพเจ้าไม่เคยรักษาศีลเลย"
 อำมาตย์ผู้เป็นสหายของเขาจักกล่าวแนะนำขึ้นว่า
 "ท่านสมาทานศีลแล้ว จะทิ้งเสียไม่คิดรักษานั้นมิสมควร ด้วยว่าท่านเป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่รับศีลต่อพระพักตร์แห่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ลับหลังจักกลับสัตย์เสียนั้นย่อมเป็นการอำพรางเจ้าอำพรางนาย ไม่เป็นการสมควรเลยและการรักษาอุโบสถศีลนี้ไซร้ก็เป็นประโยชน์แท้ขอท่านจงอดใจรักษาสักวันหนึ่งเถิด"
 ท่านผู้พิพากษาครั้นฟังคำแนะนำของสหายดังนี้ ก็มีจิตยินดีน้อมรับเอาคำแนะนำนั้น กลับมาถึงแล้วก็ตั้งใจรักษาศีลอุโบสถ อดอาหารมิได้บริโภคในเวลาเย็น บ้วนปากเสร็จแล้วเข้าสู่ที่นอน ย่างเข้าสู่ไปในความหลับในไม่ช้า เพราะเหตุที่เขามิเคยอดอาหารเย็นก็เลยเป็นลมตายในเที่ยงคืนวันนั้น
 แล้วก็ไปอุบัติเกิดเป็นเวมานิกเปรตเสวยทุกขเวทนาอยู่ ณ ภูเขาแห่งหนึ่ง ก็เวมานิกเปรตอดีตผู้พิพากษานั้นได้อยู่วิมานแวดล้อมไปด้วยนารีเป็นบริวารมากมาย และเสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ ทั้งนี้ก็เพราะอำนาจแห่งกุศลที่ตนรักษาอุโบสถศีลก่อนตายกึ่งราตรี แต่ที่ต้องมาเกิดเป็นเปรตก็เพราะอกุศลกรรมที่ตนเคยเป็นคนโกหก พิพากษาความเป็นเท็จไม่ยุติธรรมโดยเห็นแก่สินบนและโทษที่ตนเคยเจรจาส่อเสียดวจีทุจริต จึงได้มาเกิดเป็นเปรต มีสภาวะน่าทุเรศ คือต้องเอาเล็บมืออันยาว จิกทึ้งเนื้อสันหลังของตนกินเป็นอาหาร ทั้ง ๆที่ได้อยู่ในวิมานเช่นนั้น
 วันหนึ่ง ท่านพระนารทเถรเจ้า ลงมาจากภูเขาได้แลเห็นเปรต ซึ่งมีอาการเสวยทุกข์และสุขเจือปนกันอยู่เช่นนั้นจึงได้ถามขึ้นว่า
 "ตัวท่านทัดทรงดอกไม้ ใส่ชฎา สวมกำไลทองมีสีหน้าผ่องใสลูบไล้ด้วยจุณจันทร์ งดงามดุจสีพระอาทิตย์อันอุทัยขึ้นมาในอากาศมีนางฟ้า ๑,๐๐๐ เป็นบริวารบำรุงบำเรอตัวท่านนางฟ้าเหล่านั้นล้วนสวมกำไลทองคำ นุ่งผ้าอันขลิบด้วยทองคำท่านเป็นผู้มีอานุภาพมากมีรูปเป็นที่ให้เกิดขนชูชันแก่ผู้พบเห็นแต่ท่านจิกเนื้อที่หลังของตนกินเป็นอาหาร ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจหรือ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงจิกเนื้อหลังของตนเองกินเป็นอาหาร" เปรตตนนั้นจึงให้การแก่พระนารทเถรเจ้าว่า
 "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า !กระผมได้ประพฤติทุจริตด้วยการส่อเสียดพูดเท็จและพูดหลอกลวง เพื่อความฉิบหายแก่ตนเองเมื่อครั้งยังอยู่ในมนุษยโลก กระผมไปสู่บริษัทในมนุษยโลกนั้นแล้วเมื่อเวลาควรจะพูดความจริง ก็ละเหตุผลเสีย ประพฤติคล้อยอธรรม พูดวจีทุจริตผู้ใดประพฤติทุจริต มีกล่าวคำส่อเสียดเป็นต้น ผู้นั้นจักต้องจิกเนื้อหลังของตนกินเหมือนกับกระผมจิกเนื้อหลังของตนกินอยู่ในขณะนี้
 ฉะนั้นข้าแต่พระคุณพระนารทเถระ ทุกข์ที่กระผมได้รับอยู่ท่านได้เห็นเองก็เป็นการดีแล้วขอท่านผู้เป็นคนฉลาด มีจิตใจใคร่อนุเคราะห์แก่ผู้อื่นจงกล่าวตักเตือนสั่งสอนคนทั้งปวงว่า "ท่านอย่าพูดส่อเสียด อย่าพูดเท็จอย่าเป็นผู้มีเนื้อหลังของตนเป็นอาหารเลย" ดังนี้พระนารทเจ้า ผู้มีทิพยจักษุได้สดับวาทะของเวมานิกเปรตฉะนี้แล้วก็รู้สึกสังเวชสลดใจยิ่งนักในชีวิตความเป็นอยู่ของเปรตนั้น แต่มิอาจจะช่วยเหลือประการใดได้จึงกล่าวคำอำลาแล้วมุ่งหน้าลงจากภูเขา เพื่อจักไปเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามประสงค์เดิมต่อไป จึงเป็นอันว่า "กูฏวินิจฉยกเปตวัตถุ"หรือเรื่องเปรตอดีตผู้พิพากษาอรรถคดีไม่ยุติธรรม ก็จบลงเพียงแค่นี้

เปรตหลุมคูถ


 ณ เขตพระนครพาราณสีมีคหบดีผู้มีทรัพย์มากคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาได้สร้างอารามเป็นที่อยู่แห่งพระภิกษุสงฆ์ขึ้นอารามหนึ่งแล้วก็นิมนต์พระภิกษุประจำตระกูลของตนไปเป็นเจ้าอาวาส ครานั้น ได้มีพระภิกษุหลายรูปเดินทางมาจากชนบทแดนไกล แล้วเข้าไปขออาศัยพักอยู่ในอาวาสนั้นประชาชนทั้งหลายต่างมีใจยินดี เลื่อมในศรัทธา พากันบำรุงพระภิกษุต่างถิ่นด้วยจตุปัจจัยอันประณีตเป็นอันมากทำให้อาคันตุกะภิกษุต่างถิ่นได้รับความสะดวกสบายไม่ขัดสนจึงคิดจะพักอยู่ในอาวาสนั้นนาน ๆ
 แต่ท่านเจ้าอาวาสเกิดความไม่พอใจด้วยคิดไขว้เขวไปว่า
 "ลาภสักการะเหล่านั้นเป็นของเราเกิดขึ้นในวัดของเรา หากไม่ให้เราแล้ว ภิกษุเหล่านี้ก็คงไม่ได้อยู่และไม่ได้รับความสบายอย่างเป็นอยู่ขณะนี้ อย่าเลยเราอย่าให้ภิกษุเหล่านี้อยู่ในอาวาสของเรานี้เลย"
 คิดอิจฉาริษยาฉะนี้แล้วก็เริ่มดำเนินนโยบายที่จะขับไล่พระภิกษุเหล่านั้นออกไปเสียจากอาวาสจึงเข้าไปหาท่านผู้สร้างวัด คือคหบดีผู้มีทรัพย์มาก กล่าวโทษพระอาคันตุกะต่าง ๆนานา และบอกความประสงค์แห่งตนที่ไม่ปรารถนาจะให้ภิกษุเหล่านั้นอยู่คหบดีผู้หูเบาเจ้าของวัด ครั้นได้ฟังพระภิกษุของตนมาว่าให้ฟังก็เชื่อถือจึงรีบไปยังอาวาสแล้วออกปากขับไล่พระสงฆ์ทั้งหลายให้ออกไปจากวัดของตนเมื่อเห็นพระสงฆ์ยังไม่ออกไปตามคำสั่งยังชักช้าก็ด่าว่าเอาบ้างตามประสาแห่งคนโทสะจริตใจร้อน
 ด้วยอำนาจแห่งอกุศลกรรมเพียงครั้งเดียวเท่านี้ครั้นเขาดับขันธ์ถึงแก่ชีพิตักษัยแล้วก็ไปเกิดเป็นเปรตอยู่ในหลุมคูถแห่งหนึ่งต้องทนทุกขเวทนาเป็นเปรตอยู่เช่นนั้นเป็นเวลานาน กาลครั้งหนึ่งพระมหาโมคคัลลานเถระองค์อรหันต์อัครสาวกเบื้องซ้าย แห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเดินผ่านมาทางนั้น เปรตอดีตคหบดีผู้มีทรัพย์มาก จึงโผล่ขึ้นมาจากหลุมคูถเพื่อให้พระเถรเจ้าผู้มีทิพยจักษุเห็น ครั้นพระเถรเจ้าเห็นเปรตนั้นแล้วจึงมีเถรวาทีไต่ถามว่า
 "ท่านเป็น ใครหนอโผล่ขึ้นมาจากหลุมคูถให้เราเห็นเช่นนี้ท่านร้องครวญ
 ครางอื้ออึงไปทำไมเล่า ท่านคงเคยทำกรรมชั่วช้าลามกไว้เป็นแน่"เปรตนั้นตอบว่า
 "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ !ข้าพเจ้าเป็นเปรตเปรตที่ต้องเสวยทุกข์ เพราะได้ทำกรรมอันชั่วช้าลามกไว้จึงต้องมาเกิดเป็นเปรตในเปตโลกนี้จริงแล้ว"พระมหาโมคคัลลานเถระจึงถามว่า
 "ดูกรเปรต ! ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือ เพราะผลแห่งกรรมชั่วอะไรท่านจึงได้ประสบทุกข์เช่นนี้" เปรตอดีตคหบดีตอบว่า
 "ท่านเจ้าขา !ชาติก่อนข้าพเจ้าเป็นคหบดีผู้มีทรัพย์มากมีภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในอาวาสที่ข้าพเจ้าสร้างไว้ ท่านมีปรกติริษยาตระหนี่ตระกูล มีใจกระด้าง มักด่าบริภาษได้มายกโทษอาคันตุกะภิกษุทั้งหลายที่เรือนของข้าพเจ้าข้าพเจ้าฟังคำของภิกษุเจ้าอาวาสนั้นแล้ว ได้ด่าพระอาคันตุภิกษุทั้งหลายเพราะผลแห่งกรรมชั่วนั้นข้าพเจ้าจึงต้องจากมนุษยโลกมาสู่เปตโลกนี้เจ้าข้า"พระมหาโมคคัลลานเถระ จึงถามขึ้นอีกว่า
 "ดูก่อนเปรต !ก็พระภิกษุเจ้าอาวาสที่เข้าไปสู่ตระกูลท่าน ผู้ซึ่งเป็นคนมีปัญญาทรามไม่ใช่มิตรแท้เป็นมิตรเทียมนั้น ครั้นทำลายขันธ์ ตายไปแล้วไปสู่ภูมิไหนหนอ"
 "ข้าแต่พระคุณเจ้า !บัดนี้ข้าพเจ้ายืนอยู่บนศีรษะของภิกษุผู้มีกรรมอันลามกนั้นเธอมาเกิดเป็นเปรตในหลุมคูถอยู่ใต้เท้าของข้าพเจ้าเป็นเปรตบริวารของข้าพเจ้าข้าแต่พระคุณเจ้า !มนุษย์ทั้งหลายพากันมาถ่ายมูตรคูถลงในหลุมคูถนี้มูตรคูถเหล่านั้นเป็นอาหารของข้าพเจ้าและเมื่อข้าพเจ้ากินมูตรคูถนั้นแล้ว ถ่ายมูตรคูถสิ่งใดลงไปเปรตเจ้าอาวาสเก่าย่อมกินมูตรคูถที่ข้าพเจ้าถ่ายลงไปนั้นเจ้าข้า"
 พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้าครั้นได้สดับคำบอกเล่าของเปรตนั้นดังนี้แล้วก็มีใจกรุณาแต่ว่ามิรู้จะช่วยเหลือประการใด จึงได้กล่าวคำอำลามุ่งหน้าไปสู่ประเทศที่ประสงค์ต่อไป
 เท่าที่ได้เล่าเรื่องเปรตมาซึ่งดูรู้สึกว่าค่อนข่างจะยืดเยื้อไปสักหน่อยนี้จุดประสงค์ต้องการที่จะชี้ให้ท่านทั้งหลายได้เห็นว่า บรรดาเปรตทั้งหลายที่มีชีวิตอยู่ในเปตวิสยภูมินั้น เมื่อจะกล่าวอย่างรวม ๆ ก็มีอยู่ ๒ ประเภทคือ
 ๑. เปรตที่มาจากภูมิอื่น เช่นนิรยภูมิเป็นต้น แต่เศษกรรมชั่วยังมีจึงต้องมาเกิดเป็นสัตว์เปรต อยู่ในเปตติวิสยภูมินี้
 ๒.เปรตที่ไปจากมนุษยโลกเรานี้ คือผู้ที่มีกรรมชั่วช้า พอถึงแก่กาลกิริยาตายแล้วก็ตรงไปเกิดเป็นสัตว์เปรตอยู่ในเปตติวิสยภูมินี้
 ก็สัตว์เปรตทั้งหลายไม่ว่าจะมาจากภูมิใด โลกใด ก็ตาม เมื่อมาอุบัติเกิดเป็นเปรตในเปตติวิสยภูมินี้แล้วก็ตั้งแต่จะเสวยทุกขเวทนาไปตามอำนาจแห่งกรรมที่ตนได้กระทำไว้ตราบใดที่ยังไม่สิ้นกรรมชั่ว ก็ต้องเสวยทุกขเวทนา เป็นเปรตไปตราบนั้นไม่มีใครที่จะช่วยเหลือให้เขาพ้นจากความเป็นเปรตไปได้ต้องทนทุกข์ทรมานไปจนกว่ากรรมชั่วแห่งตนหมดสิ้นไปแล้วจึงจะตายจากเปตติวิสยภูมินี้ไปเกิดในภูมิอื่นต่อไปตามยถากรรมเป็นอันพ้นสภาพจากความเป็นเปรตทนทุกข์ทรมานได้
 ฉะนั้นขอให้เราท่านทั้งหลาย พึงเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า บรรดาเปรตทั้งหลายที่กล่าวมานั้นต้องเสวยทุกขเวทนาทนทุกข์ทรมาน ด้วยอำนาจแห่งบาปกรรมของตนใครจะช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ ก็ไม่ได้ทั้งสิ้น แม้แต่ญาติมิตรในถิ่นมนุษยโลกเรานี้จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ก็หาได้รับส่วนกุศลอันนั้นไม่ ก็จะได้รับอย่างไรเล่าเพราะพวกเขามัวแต่ก้มหน้าก้มตาเสวยกรรมชั่วของตนจนไม่มีเวลาที่จะรับส่วนกุศลของใครและอีกประการหนึ่งไซร้เพราะเขาเป็นเปรตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งอกุศลกรรมและเศษแห่งบาปอกุศลกรรมของตนเองฉะนั้น จึงจำเป็นอยู่เอง ที่จะต้องเสวยผลกรรมชั่วของตนไปจนกว่าจะสิ้นกรรมจะรับส่วนบุญส่วนกุศลของใครไม่ได้ จิตใจยังไม่เลื่อมใสใคร่ที่จะรับส่วนบุญของใครถึงแม้ญาติมิตรจะใจดี ทำบุญแล้วกรวดน้ำอุทิศแผ่ส่วนกุศลไปให้ด้วยความเป็นห่วงจะทำให้ใหญ่โตมโหฬารสักเท่าใดก็ดี ก็ไม่สามารถที่จะรับส่วนบุญนั้นได้ ต่อเมื่อใดสิ้นเวรกรรมตายจากความเป็นเปรตที่ต้องทนทุกข์ทรมานนั้นแล้วมาเกิดเป็นเปรตอีกประเภทหนึ่งจึงจะคอยรับส่วนบุญที่พวกญาติมิตรอุทิศให้ได้เปรตประเภทที่ว่านี้ มีชื่อว่าปรทัตตูปชีวี

เปรตปรทัตตูปชีวี


 เปรตประเภทปรทัตตูปชีวีนี้จำพวกเดียวเท่านั้นจึงจะสามารถรับส่วนบุญกุศลที่พวกญาติมิตรของตนอุทิศให้แต่มนุษยโลกนี้ ทั้งนี้ก็เพราะเปรตพวกนี้มีอกุศลอันบางเบา จึงมีจิตยินดีที่จะอนุโมทนาส่วนกุศลโดยที่ตนมีความอยากข้าวและน้ำเป็นกำลัง จึงท่องเที่ยวเซซังไปมานึกถึงหมู่ญาติของตนว่า ใครผู้ใดอยู่ที่ไหนบ้าง ครั้นนึกได้และพบเจอเข้าแล้วก็จะคอยอยู่ใกล้ ๆ คอยท่าอยู่โดยหวังว่า
 "เมื่อใด ญาติของตูทำบุญกุศลแล้ว เขาคงอุทิศให้ตูบ้าง"
 ครั้นญาติมิตรผู้นั้นทำบุญกุศลแล้ว แต่ลืมอุทิศให้ หรืออุทิศให้แต่คนอื่น ไม่ได้อุทิศให้ตนเขาก็เดินวนไปวนมา ใบหน้าหม่นหมองเศร้าสร้อยด้วยความผิดหวังบางทีมีความน้อยใจถึงกับล้มซบสลบลงด้วยความหิวโหยสุดประมาณและก็ได้แต่หวังอยู่อีกต่อไปว่า
 "ครั้งต่อไปเขาคงไม่ลืมตู เขาคงอุทิศให้แก่บ้าง ครั้งต่อไปเขาคงไม่ลืมตูเขาคงมีแก่ใจอุทิศให้แก่ตูบ้าง"
 เขาได้แต่หวังอยู่อย่างนี้นานแสนนานบางทีก็ได้สำเร็จสมประสงค์ บางทีก็ไม่สำเร็จสมความปรารถนาเพราะพวกญาติมิตรที่ตนฝากความหวังไว้นั้นไม่ประกอบกองการกุศลเพราะเป็นคนมิจฉาทิฐิไม่เชื่อบุญเชื่อบาปไปเสีย หรือว่าญาติมิตรนั้นเป็นคนมีศรัทธาทำบุญกุศลแล้ว แต่หลงลืมไม่อุทิศให้ เช่นนี้เขาก็ย่อมไม่ได้อนุโมทนาส่วนกุศล ต้องทนทุกข์อดอยากหิวโหยอยู่นานนักหนาดังเปรตตัวอย่างที่จะว่าให้ฟัง ต่อไปนี้

 

เปรตกินของสงฆ์


 กาลเมื่อองค์สมเด็จพระมิ่งมงกุฎพระปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติตรัสในโลกนี้ในอดีตกาลซึ่งนับย้อนหลังตั้งแต่ภัทรกัปป์แห่งเรานี้ไปได้๙๒ กัป กาลครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นพระราชาธิบดีแห่งพระนครราชคฤห์ในสมัยพุทธกาลพระองค์ได้ถือกำเนิดเกิดเป็นขุนคลัง รับจัดการถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์อันมีองค์สมเด็จพระปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข ตามพระบัญชาของพระราชกุมาร ๓พระองค์ผู้เป็นเจ้านาย ขุนคลังนั้นครั้นรับหน้าที่ใหญ่ต้องจัดการเลี้ยงพระสงฆ์มากมายทุกวันจึงไปเรียกเอาญาติของตนหลายคนมาช่วยกันทำงานในโรงครัว และเลี้ยงพระคนพวกนี้พอมาช่วยทำงานตอนแรก ๆ ก็ดีอยู่แต่พอหลายวันผ่านไป ชักเกิดความประมาณขึ้นแอบบริโภคอาหารก่อนพระสงฆ์บ้าง แอบนำอาหารที่เขาทำไว้เพื่อถวายแก่พระสงฆ์ไปให้บุตรภรรยาของตนที่บ้านบ้าง ทำอยู่ดังนี้เป็นนิตย์เสมอมาตามวินัยของคนโลภและประมาท ครั้นถึงคราวตาย พระราชกุมารทั้ง ๓ พร้อมกับท่านขุนคลังก็ได้เกิดเป็นเทพบุตรเสวยสุขอยู่ ณ สรวงสวรรค์แต่ว่าพวกคนโลภที่แอบเอาของสงฆ์ไปบริโภคเหล่านั้น ต้องลงไปเกิดที่นรกสิ้นกาลช้านานครั้นพ้นโทษจากนรกแล้ว จึงมาเกิดในเปตติวิสัยภูมิแล้วสุดท้ายได้บังเกิดเป็นเปรตปรทัตตูชีวีคือเปรตประเภทที่กำลังพูดถึงกันอยู่นี่
 เปรตปรทัตตูชีวีพวกนั้นต้องหิวโหยอยากอยู่เป็นเวลานาน เพราะไม่มีใครทำบุญอุทิศให้ครั้นจำเนียรกาลนานมาถึงสมัยแห่งสมเด็จพระมิ่งมงกุฎกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ที่๑ ในภัทรกัปนี้ประชาชนทั้งหลายได้สดับพระธรรมเทศนารู้ธรรมะแล้วจึงพากันก่อสร้างก่อการกุศลทำบุญสุนทรทานแล้วแผ่ส่วนกุศลไปถึงญาติมิตรของตนในเปรตวินัย เปรตทั้งหลายที่เป็นญาติของใครครั้นเขาอุทิศส่วนบุญไปให้ต่างก็ดีเนื้อดีใจ ยกหัตถ์ขึ้นท่วมหัวอนุโมทนาสาธุการส่วนก็พ้นจากเปรตวินัยไปบังเกิดในภูมิอื่นตามยถากรรม
 เบื้องว่าเปรตทั้งหลายที่เป็นญาติของขุนคลังเห็นหมู่เพื่อนญาติของตนได้อนุโมทนาสาธุส่วนกุศล ส่วนบุญแห่งญาติแล้วพ้นทุกข์ไปตามเดิม ก็มีความน้อยใจเสียใจอย่างสุดซึ้งในที่สุดถึงกับพากันไปเฝ้าสมเด็จพระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วทูลถามว่า
 "พวกข้าพระบาทจักได้อาหารและจักพ้นความเป็นเปรตนี้เมื่อใดหนอพระเจ้าข้า"
 สมเด็จพระมหากรุณากกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
 "ในศาสนาของเรานี้ หากท่านจักยังไม่พ้นก่อนต่อเมื่อใดเราตถาคตนิพพานไปแล้วนานแสนนาน แผ่นดินสูงขึ้นได้ ๑ โยชน์พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโกนาคมน์ จักเสด็จมาอุบัติตรัสในโลกขอพวกท่านจงค่อยเข้าไปถามพระโกนาคมน์พระองค์นั้นเถิด
 ครั้นศาสนาแห่งสมเด็จพระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้าเสื่อมสิ้นสูญหายไปจากโลกนี้แล้วเป็นเวลานานนับได้พุทธันดรหนึ่งสมเด็จมาอุบัติตรัสในโลก เปรตเหล่านั้นจึงเข้าไปทูลถามพระพุทธองค์ผู้ทรงมีพระมหากรุณาก็ทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
 "แม้ในศาสนาของเรานี้ท่านทั้งหลายก็ยังไม่พ้นจากเปรตวินัยก่อน ต่อเมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้วแผ่นดินสูงขึ้นได้ ๑ โยชน์ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปพุทธเจ้าจักเสด็จมาอุบัติตรัสในโลก ขอให้ท่านทั้งหลายจงอดใจคอยถามพระพุทธกัสสปะนั้นเถิด"
 เปรตทั้งหลายก็อดกลั้นเสียซึ่งความอยากพยายามอดทนต่อความลำบากหิวโหยอยู่ตลอดกาลนานจนกระทั่งสมเด็จพระมิ่งมงกุฎพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติตรัสในโลกแล้วก็พากันเข้าไปทูลถามพระองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาตรัสบอกว่า
 "แม้ในศาสนาของเรานี้ท่านทั้งหลายก็ยังไม่พ้นเปรวินัยยังไม่ได้รับส่วนบุญต่อเมื่อเราตถาคตเข้าสู่นิพพานไปแล้ว แผ่นดินสูงขึ้นได้ ๑ โยชน์จักมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ซึ่งพระนามว่าพระศรีศากยมุนีโคดมมาตรัสในโลกในกาลนั้น จักมีขัตติยาธิบดีผู้เป็นญาติเก่าของท่านทั้งหลายพระนามว่าพิมพิสารจักถวายทานแล้ว อุทิศส่วนแผ่ผลบุญให้แก่พวกท่าน ๆก็จักพ้นจากเปรตวินัยและจะได้รับบริโภคอาหารในกาลครั้งนั้น"
 ครั้นสมเด็จพระกัสสปทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้ เปรตปรทัตตูปชีวีทั้งหลายเหล่านั้นก็กระหยิ่มยิ้มย่องดีเนื้อดีใจ รวมกับว่าตนจะได้ในวันพรุ่งยับยั้งอยู่สิ้นพุทธันดรหนึ่ง ครั้นถึงพุทธุปบาทกาลนี้เมื่อสมเด็จรพะมิ่งมงกุฎพระศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้าแห่งเราทั้งหลายได้เสด็จมาอุบัติตรัสในโลกโปรดพระเจ้าพิมพิสารราชาบดีให้ได้สำเร็จพระโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลตั้งอยู่ในอจลศรัทธามีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัยแล้วท้าวเธอก็ทรงจัดแจงเครื่องบิณฑบาตถวายแด่พระพุทธองค์พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมากแต่หาได้ทรงกรวดน้ำอุทิศส่วนไม่ ทั้งนี้ เพราะองค์ขัตติยาธิบดีมีพระทัยขวนขวายไปด้วยความเลื่อมใสศรัทธาทรงครุ่นคิดอยู่แต่ว่าจะก่อสร้างพระคันธกุฎีถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างไรและกรรมของเปรตยังบังอยู่จึงเป็นเหตุให้ทรงลืมแผ่ส่วนพระราชกุศล
 เปรตปรทัตตูปชีวีพวกนั้นมารออยู่ตั้งนานแล้ว เพราะพระดำรัสแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้ายังก้องอยู่ในโสตแห่งตนว่าจักพ้นจากเปรตวินัยได้บริโภคข้าวปลาอาหารในสมัยที่พระเจ้าพิมพิสารทรงบำเพ็ญกุศลทานในศาสนาของพระสมรโคดมของเรานี้ จึงต่างก็หวังอยู่เต็มที่ ดีเนื้อดีใจว่าเวลาวันนี้จักได้ส่วนบุญจึงพากันคอยอยู่รอบกำแพงพระราชวังเพื่อจะคอยอนุโมทนาส่วนกุศลครั้นเห็นพระองค์ทรงเฉยไม่อุทิศให้แต่ประการใด ก็เสียใจเศร้าใจยิ่งนักผิดหวังไม่สมความคิดที่ตนตั้งหน้ารอคอยมานานนักหนาจึงในเวลาราตรียามดึกสงัด ได้พากันร้องโอดสำแดงอาการหิวโหยขึ้นให้ได้ยินแต่เฉพาะองค์ขัตติยาธิบดีพิมพิสาร พระองค์พอได้สดับเสียงเปรตทั้งหลายก็ให้ทรงสะดุ้งตกพระทัยเป็นกำลัง รุ่งขึ้นเช้าจึงทรงเข้าไปเฝ้าทูลถามสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
 "พระเจ้าข้า !หม่อมฉัน ได้สดับเสียงอันพิลึกในยามราตรีดังนี้ให้เหตุผลจะมีดังฤา"
 สมเด็จพระพุทธองค์จึงทรงชี้แจงว่า
 "ดูกรบพิตรพระราชสมภาร ! อย่าได้ทรงตกพระทัยเลยลามกอันใดอันหนึ่งที่จะพึงบังเกิดมีแก่มหาบพิตรนั้นหามิได้ สำเนียรที่สดับนั้นเป็นเสียงแห่งฝูงเปรตผู้เป็นญาติเก่าของพระองค์ ซึ่งได้รับความลำบากอดอยากมาช้านานมาคอยรับส่วนบุญ ที่บพิตรพระราชสมภารทรงบำเพ็ญแล้วอุทิศให้ครั้นมิได้รับส่วนกุศลดังตนปรารถนาจึงพากันมาร้องทวงด้วยเสียงอันดัง"
 ครั้นได้ทรงฟังพระพุทธฎีกาฉะนี้องค์ขัตติยาธิบดีพิมพิสาร จึงถวายทานอีกแล้วถวายน้ำทักษิณากรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลว่า

อิทํ โน ญาตินํ โหตุ.ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่หมู่ญาติ ของข้าพเจ้าด้วยเถิดสุขิตา โหนฺตุญาตโย.ขอหมู่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเป็นสุขเป็นสุขเถิด


 สระโบกขรณีดาดาษด้วยปทุมชาติทั้งหลายก็ปรากฏเกิดขึ้นแก่เหล่าเปรตปรทัตตุปชีวีในขณะมาตรว่าพระองค์ออกพระโอฐอุทิศจบลงเปรตทั้งหลายหิวระหายรำงับไปหมดสิ้น สมเด็จพระภูมินทร์จึงถวายข้าวยาคูข้าวสวยและสรรพาหาร แล้วอุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต ขณะนั้นโภชนาหารอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดแก่เปรตทั้งหลาย ต่อมาเมื่อองค์ขัตติยาธิบดีถวายผ้าเสนาสนะคันธกุฎีแล้วทรงอุทิศให้ ผ้าทิพย์และวิมานก็บังเกิดขึ้นแก่พวกเขาตามจำนวนวัตถุทานที่อุทิศอันเกิดจากการอนุโมทนาส่วนบุญที่คนอื่นทำแล้วอุทิศให้ตนเปรตทั้งหลายก็พ้นจากเปรตวินัยภูมิโลกเปรต เปลี่ยนเพศไปอุบัติบังเกิดเป็นเทพยดา ณสรวงสวรรค์
 เรื่องที่พรรณนามานี้เป็นเรื่องของเปรตปรทัตตูปชีวีซึ่งมีเศษบาป คือเปรตที่ทำกุศลอย่างหนักแล้วไปตกนรกหมกไหม้อยู่สิ้นกาลนาน ครั้นหมดกรรมในนรกแล้ว เศษบาปยังมีอยู่จึงต้องมาบังเกิดเป็นเปรตเสวยกรรมอยู่แล้วจึงมาเกิดเป็นเปรตปรทัตตูปชีวีคอยรับอนุโมทนาส่วนกุศลที่ญาติมิตรอุทิศให้ตนต่อไปนี้จะกล่าวถึงเปรตปรทัตตูปชีวีอีกจำพวกหนึ่งซึ่งไม่ต้องผ่านความเป็นเปรตประเภทอื่นแต่พออุบัติเกิดก็เป็นเปรตปรทัตตูปชีวีเลยทีเดียวดังเช่นในกรณีที่มนุษย์เราที่ทำกุศลกรรมไว้บางเบา อกุศลกรรมอันนั้นไม่มีอำนาจพอที่จะนำไปเกิดในนรกหรือนำไปเกิดในเปรตวินัยที่มีการเสวยทุกขเวทนาอย่างหนักแต่เป็นอกุศลกรรมที่สามารถชักนำให้ไปเกิดเป็นปรตปรทัตตูปชีวีได้พอตายไปแล้ว เขาย่อมไปอุบัติบังเกิดเป็นเปรตประเภทนี้ มีเรื่องตัวอย่างอันปรากฏในเปตวัตถุดังต่อไปนี้

เปรตห่วงหลาน


 ณ พระนครไพศาลีมีนายพาณิชย์ผู้หนึ่ง ซึ่งตามปรกติเป็นคนมีศีลมักโกรธ พูดจาอ่อนหวานมักสรรเสริญผู้อื่นตามความเป็นจริงเขาจึงมีตนรักใคร่ชอบพอในอัธยาศัยและมีมิตรสหายมาก วันหนึ่งเขาเห็นหนทางเดินแห่งหนึ่ง เต็มไปด้วยโคลนเลน ทำให้ประชาชนผู้เดินไปมาไม่สะดวกจึงไปนำเอากะโหลกศีรษะโคซึ่งมีสีขาวที่เขาทิ้งแล้ว มาวางไว้ในที่นั้นเป็นอันมากทำให้ประชาชนที่เดินไปมาได้รับความสะดวก ไม่ลุยโคลนเลนเหมือนเก่าเขาก็ได้รับความอิ่มใจในการขวนขวายอันเล็กน้อยของตนนี้เป็นยิ่งนัก ครั้นวันหนึ่งเขาได้พาสหายหลายคนไปอาบน้ำที่แม่น้ำ และได้ขึ้นมาจากน้ำก่อนเห็นผ้านุ่งที่สหายถอดกองไว้ ก็เลยให้เกิดอารมณ์สนุก จึงเอาผ้านุ่งของสหายเหล่านั้นไปซ่อนเสียในที่แห่งหนึ่งแล้วเดินกลับบ้านและลืมเหตุการณ์ตนทำไว้ด้วยความคะนองใจเสียสิ้นหารู้ไม่เลยว่าเมื่อเหล่าสหายขึ้นมาจากน้ำแล้ว ก็ได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากเพราะไม่มีผ้านุ่งห่มกลับบ้านต้องพากันนุ่งใบไม้กลับมา
 ฝ่ายพาณิชย์ผู้มีอารมณ์สนุกเมื่อกลับมาถึงบ้าน ก็บังเอิญเกิดเรื่อง คือหลายชายของเขาได้ไปขโมยของอันมีค่าของคนอื่นมาซ่อนไว้ในร้านเมื่อพวกเจ้าของตามมาค้นก็พบของนั้นจึงจับพ่อค้าผู้เป็นเจ้าของร้านพร้อมทั้งหลานชายนำไปถวายสมเด็จพระราชาธิบดีให้ทรงลงพระราชอาญา สมเด็จพระราชาธิบดี ทรงไต่สวนพิจารณาแล้ว มีพระบรมราชโองการตัดสินให้ประหารชีวิตพ่อค้านั้น โดยให้ตัดศีรษะเสียทันทีส่วนหลานชายให้ลงอาญารองลงมาคือให้เสียบหลาวทั้งเป็นเหล่าเพชฌฆาตก็ทำตามพระบรมราชโองการ นำนายพาณิชย์ไปตัดศีรษะยังตะแลงแกงในวันนั้นแล้วจัดการลงโทษเสียบหลายทั้งเป็นแก่หลานชาย ณที่นั้นเอง
 นายพาณิชผู้ไม่มีความผิด ครั้นถูกประหารชีวิตตายไปแล้วด้วยอกุศลกรรมเล็กน้อยทีตนทำไว้ ก่อนที่จะตายจึงไปอุบัติเกิดเป็นเปรตประเภทปรทัตตูปชีวี มีม้าอาชาไนยสีขาวเป็นพาหนะมีกลิ่นหอมฟุ้งออกจากกาย ด้วยผลแห่งการทำสะพานด้วยกะโหลกศีรษะโคและผลแห่งการสรรเสริญคนอื่น แต่ไม่มีเครื่องนุ่งห่มเป็นเปรตเปลือยกายเพราะวิบากแห่งกรรม ที่ตนขโมยเสื้อผ้าแห่งสหายทั้งหลายเอาไปซ่อนไว้ เมื่อเปรตพานิชเล็งดูกรรมความผิดเล็กน้อยที่ตนทำไว้อันได้รับผลชั่วถึงเพียงนี้จึงให้ห่วงหลานชายของตนว่าเจ้าหลานนั้นมันประพฤติทุจริตล่วงอทินนาทาน ลักขโมยของ ๆ คนอื่นผู้อื่นคงจักได้รับผลกรรมชั่วอันหนักนรกแน่ เมื่อคิดห่วงดังนี้จึงขึ้นม้าอาชาไนยขี่ไปเยี่ยมเจ้าหลานชาย ซึ่งกำลังถูกลงโทษเสียบหลาวทั้งเป็นในเวลาเที่ยงคืน แล้วก็บอกแต่เพียงว่า
 "เจ้าหลานรัก !เจ้าจงมีชีวิตอยู่ การมีชีวิตอยู่เป็นมนุษย์เห็นการดี"
 (๑)ก่อนหน้าเหตุการณ์ที่กล่าวมานี้ ๒-๓ วันสมเด็จพระราชาธิบดีซึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าอัมพสักขร ในพระนครไพศาลีนั้นได้ทรงช้างพระที่นั่งเลียบพระนคร ทอดพระเนตรเห็นหญิงงามคนหนึ่งซึ่งเปิดหน้าต่างดูการเสด็จ ทรงพอพระทัย จึงตรัสสั่งให้ราชบุรุษไปถามดูว่านางมีสามีหรือยัง เมื่อได้ทรงทราบว่ามีสามีของนางมาเฝ้าแล้วให้เขาปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไม่นานก็ทรงมีรับสั่งให้เขาไปเอาดินแดงและดอกบัวแดงจากสระโบกขรณีแห่งหนึ่งมาให้ทันในวันนั้นหากไม่ทันจักฆ่าเสียบุรุษผู้เคราะห์ร้ายเพราะเมียงามกลัวความตายก็รีบออกไปแต่เช้าตรู่ แต่พอเขาออกไปแล้วพระราชาก็รับสั่งให้ปิดประตูพระนครเสียก่อนเวลาเขาไปถึงสระโบกขรณีแล้วเที่ยวเดินวนเวียนอยู่ในสระนั้นเป็นเวลานานจึงนำเอาดินแดงและดอกบัวแดงได้แล้วก็เร่งรีบเดินทางกลับมาถึงประตูพระนครแต่ยังไม่สิ้นแสงตะวันแต่ว่าเข้าไปในพระไม่ได้เพราะประตูปิดเสียก่อนเขาก็เลยเดินวนเวียนด้วยความกระวนกระวายอยู่ ณ บริเวณนั้น ในที่สุดได้แลบุรุษหลานเปรต ซึ่งถูกเสียบหลาวอยู่ใกล้ประตูพระนครและยังไม่ตาย จึงเข้าไปมาและให้เป็นพยานว่า เขาได้มาถึงก่อนเวลาแต่ว่าเข้าไปในพระนครไม่ได้เพราะประตูปิดเสียก่อน
 "ข้าพเจ้าจักเป็นพยานให้ท่านได้อย่างไรเล่า"บุรุษหนุ่มนั้นตอบ"เพราะว่าข้าพเจ้าถูกเสียบหลาวอยู่และเห็นทีจักต้องตายในไม่ช้านี้เกรงจักเป็นพยานให้ท่านไม่ได้"
 "ถ้าอย่างนั้น จักทำอย่างไรดีเล่า"หนุ่มผู้เข้าเมืองไม่ได้กล่าวขึ้นคล้ายรำพึง
 บุรุษผู้ถูกเสียบหลาวนึกขึ้นได้จึงบอกแก่เขาไปว่า
 "เมื่อท่านไม่มีใครเป็นพยานจริง ๆก็เห็นมีอยู่แต่ทางเดียว คือว่า มีเปรตตนหนึ่งมีฤทธิ์มากเขามาหาข้าพเจ้าเมื่อคืนนี้ และข้าพเจ้าเข้าใจว่า ในคืนนี้เขาก็คงจักมาอีก ถ้าเขามาท่านจงขอให้เขาเป็นพยานก็แล้วกัน"
 "ข้าพเจ้าจักเห็นเปรตนั้นได้อย่างไรเล่าท่าน"เขาถามขึ้นอย่างเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง
 บุรุษผู้ต้องโทษจึงกล่าวว่า
 "ถ้าท่านต้องการให้เปรตนั้นเป็นพยานแล้ว จงเชื่อข้าพเจ้าคือท่านจงอดใจรออยู่บริเวณนี้แหละ แล้วพอตกเที่ยงคืน เปรตผู้มีฤทธิ์มากนั้นจักมาเยี่ยมข้าพเจ้าแล้วเขาจักสำแดงกายให้เราทั้งสองเห็นเอง"
 หนุ่มเมียงามผู้กำลังถูกพระราชอาญาคุกคาม ถึงแม้ว่าจะมิค่อยเชื่อ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำประการใดก็ได้แต่เดินวนเวียนไปมาใกล้ ๆ บุรุษผู้ถูกเสียบหลาวนั้นจนล่วงเข้ามัชฌิมยามท่ามกลางราตรี ก็เห็นมีเปรตตนหนึ่งขี่ม้าขาวเหาะมาจริงตามคำบอกเล่า และหลังจากได้ขอร้องให้เป็นที่เข้าใจกันแล้วเปรตนั้นก็รับคำยอมที่จะเป็นพยานให้เขา พอรุ่งเช้าสมเด็จพระราชาผู้ปรารถนาภรรยาแห่งบุรุษนั้น ก็ตรัสเรียกเขาให้เข้ามาเฝ้าตรัสบอกว่าจักทรงลงพระราชอาญาถึงตายในกรณีที่เขานำเอาสิ่งที่ต้องประสงค์มาไม่ทันตามพระราชโองการ แต่บุรุษนั้นได้กราบบังคมทูลตามความเป็นจริงว่า ตนมาถึงก่อนเวลา แต่ว่าประตูพระนครปิดเสียก่อนจึงเข้ามาไม่ได้และการนี้มีเปรตเปลือยกายซึ่งมาหาบุรุษผู้ถูกเสียบหลาวในเพลาราตรีเป็นพยาน
 "เราจักเชื่อเจ้าได้อย่างไร"พระราชาธิบดีตรัสถามขึ้น
 "ขอเดชะ ถ้าเช่นนั้น เพลาราตรีวันนี้ขอเชิญเสด็จพระองค์ไปกับข้าพระบาทแล้วจักทรงทราบเองว่าข้าพระบาทได้กล่าวเท็จหรือไม่" บุรุษนั้นกราบบังคมทูล
 ตกลงว่าคืนวันนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีพร้อมกับด้วยหมู่อำมาตย์ผู้ใกล้ชิดและบุรุษผู้อ้างเปรตเป็นพยานนั้นได้พากันไปยังที่ประหาร นอกประตูพระนครเพื่อพิสูจน์ว่าจักเท็จจริงประการใดและแล้วในเพลาเที่ยงคืนคนเหล่านั้นก็ได้เห็นเปรตตนหนึ่ง ขี่ม้าอาชาไนย สีขาว มีผิวพรรณรุ่งเรืองแต่ว่าเปลือยกายเหาะมาในอากาศ และเมื่อมาถึงชายที่ถูกเสียบหลาวทั้งเป็นแล้วก็ดึงม้าให้หยุดแล้วกล่าวว่า
 "เจ้าหลานรัก ! เจ้าจงมีชีวิตอยู่การมีชีวิตอยู่เป็นมนุษย์เป็นการดี"
 สมเด็จพระราชาธิบดีอัมพสักขระผู้มีพระทัยกล้าครั้นได้ทรงประสบเหตุการณ์เช่นนั้น ให้ทรงมีความสงสัยเป็นกำลังจึงทรงย่างพระบาทเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามว่า
 "ดูกรท่าน !บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบนี้ มีร่างกายเปื้อนด้วยเลือด ตัวทะลุเป็นช่อง ๆชีวิตของบุรุษนี้ จักดับไปในวันนี้พรุ่งนี้ เหมือนกับหยาดน้ำค้างอันตกอยู่บนปลายหญ้าฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุไร ท่านจึงพูดกับบุรุษผู้ถึงความลำบากอย่างยิ่ง นอนหงายอยู่บนหลาวไม้สะเดาเช่นนี้ว่าการมีชีวิตอยู่เป็นมนุษย์เป็นการดีเป็นการประเสริฐแท้เล่า"
 "ข้าแต่พระราชา"เปรตนั้นกล่าวขึ้นพร้อมกับหันหน้ามองสมเด็จพระราชาผู้เพิ่งมีพระดำรัสสั่งให้ตัดศีรษะของตนอย่างจ้อง ๆ "ก็บุรุษนี้เป็นญาติสายโลหิตเป็นหลานของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ระลึกชาติก่อนได้ข้าพระองค์เห็นแล้ว มีความกรุณาแก่เขาว่า "ขออย่าให้บุรุษหลานผู้เลวทรามมีนิสัยลักขโมยนี้ ไปตกนรกเลย" ข้าแต่กษัตริย์ลิจฉวีบุรุษผู้ทำกรรมชั่วนี้ ตายจากอัตภาพมนุษย์นี้แล้ว จักไปบังเกิดในนรกอันยัดเยียดไปด้วยสัตว์ผู้ทำบาป เป็นสถานร้ายกาจ มีความเร่าร้อนมาก เผ็ดร้อนให้เกิดความน่ากลัว หลาวนี้ประเสริฐกว่านรกนั้นตั้งหลายร้อยหลายพันเท่าขออย่าให้บุรุษหลานรักนี้ ไปตกนรกอันมีแต่ความทุกข์มีแต่ความเผ็ดร้อนโดยส่วนเดียวให้เกิดความน่ากลัวเป็นนักหนานั้นเลย ฉะนั้นข้าพระองค์จึงมาพูดบอกเขาว่าเจ้าจงมีชีวิตอยู่ การมีชีวิตอยู่เป็นมนุษย์เป็นการดีเป็นการประเสริฐดังนี้"
 เมื่อเปรตบอกความดังนี้แล้ว สมเด็จพระราชาธิบดีจึงทรงไต่ถามความเป็นไปของเปรตนั้นอีกต่อไปว่า
 "ดูกรท่าน !เรื่องราวของบุรุษนี้ เรารู้แล้ว แต่เราปรารถนาจะถามท่านถึงเรื่องอื่นถ้าท่านให้โอกาสแก่เรา สิ่งที่เราจะถามท่านก็คือว่าท่านขี่ม้าขาวอันประดับประดาแล้ว ม้าขาวตัวนี้เป็นม้าอัศจรรย์ท่านได้ม้านี้เพราะผลแห่งกรรมอะไร"
 เปรตนั้นจึงกราบทูลว่า
 "ข้าแต่พระองค์ ! ที่กลางเมืองไพศาลีนี้ มีหลุมที่หนทางลื่นเต็มไปด้วยโคลนเลนข้าพระองค์มีน้ำใจขวนขวาย ได้นำเอาศีรษะโคมาวางทอดที่หลุมทำให้เป็นสะพานข้าพระองค์และคนอื่นเหยียบศีรษะโคเดินไปโดยสะดวก ม้านี้เป็นม้าอัศจรรย์ น่าดูน่าชมข้าพระองค์ได้เพราะผลแห่งกรรมนั้น"
 พระเจ้าอัมพสักขระจึงตรัสถามต่อไปว่า
 "ท่านมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศและมีกลิ่นหอมฟุ้งตลบไป ท่านได้สำเร็จฤทธิ์แห่งเทวดา เป็นผู้มีอานุภาพมากแต่ท่านเปลือยกาย นี่เพราะผลแห่งกรรมอะไร"
 เปรตนั้นจึงกราบทูลว่า
 "ข้าแต่พระราชา ! เมื่อก่อน ข้าพระองค์พูดกับคนทั้งหลายด้วยวาจาอ่อนหวาน เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมีรัศมีเป็นทิพย์สว่างไสวอยู่เนืองนิตย์และข้าพระองค์เห็นยศและชื่อเสียง ของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรมมีจิตเลื่อมใสกล่าวสรรเสริญอยู่เป็นนิตย์ ฉะนั้นข้าพระองค์จึงมีกลิ่นทิพย์หอมฟุ้งตลบอยู่เสมอแต่การที่ข้าพระองค์ต้องเป็นเปรตเปลือยกายอยู่อย่างนี้ก็เพราะเมื่อพวกสหายของข้าพระองค์อาบน้ำข้าพระองค์ได้ลักเอาผ้าของเขาเหล่านั้นซ่อนไว้ทำให้เขาได้รับความลำบากเดือดร้อนเพราะกรรมนั้นของข้าพระองค์เอง จึงเป็นเปรตเปลือยกายได้รับความทุกข์มีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง ดังที่ข้าพระองค์เห็นอยู่นี้พระเจ้าข้า"
 เปรตนั้นครั้นกราบทูลบุรพกรรมของตนดังนี้แล้วได้กราบทูลต่อไปอีกว่า
 "ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ขอพระองค์จงเชื่อฟังข้าพระองค์เถิดว่า เมื่อตายไปแล้วมนุษย์เหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรกในสัมปรายภพโดยไม่ต้องสงสัย ส่วนชนเหล่าใดมีใจปรารถนาสุคติยินดียิ่งในทาน เมื่อเขาเหล่านี้ ตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติในสัมปรายภพโดยไม่ต้องสงสัย"
 เมื่อเปรตนั้น ชี้แจงจำแนกผลกรรมแต่โดยย่อดังนี้สมเด็จพระราชาธิบดีก็หาได้ทรงเชื่อไม่จึงตรัสถามเปรตผู้ปรทัตตูปชีวีต่อไปว่า
 "ดูกรเปรต !เราจะพึงรู้เรื่องนั้นได้อย่างไรว่า "นี้เป็นผลของกรรมดีและนี่เป็นผลของกรรมชั่วหรือเราจะพึงเห็นอย่างไร จึงจะเชื่อถือได้หรือแม้ใครจะพึงทำให้เราเชื่อถือได้ในเรื่องนี้เล่า"
 "ข้าพระองค์นี้แหละเป็นผู้ที่พระองค์ควรจะเชื่อถือ" เปรตกล่าวยืนยัน แล้วกราบทูลต่อไปอีกว่า "ขอพระองค์จงทรงเชื่อถือเถิดว่า ผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยแท้ก็เพราะเมื่อมีผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วทั้งสองนี้ สัตว์จึงไปสู่สุคติ และทุคติถ้าสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลกนี้ ไม่ทำกรรมดีและกรรมชั่วแล้ว สัตว์ผู้ไปสู่สุคติและทุคติ เป็นสัตว์ที่เลว และประณีต ก็จักไม่มีในมนุษยโลกนี้แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลก ได้ทำกรรมดีและกรรมชั่วเอาไว้ ฉะนั้นจึงไปสู่สุคติบ้าง ไปสู่ทุคติบ้าง เป็นสัตว์เลวบ้าง เป็นสัตว์ประณีตบ้างตัวอย่างเช่น ในชาติก่อน กรรมที่ข้าพระองค์ทำเองซึ่งจะเป็นเหตุให้ได้เครื่องนุ่งห่มในบัดนี้มิได้มีและบุคคลผู้ที่ให้ผ้านุ่งผ้าห่มแก่สมณะพราหมณ์ทั้งหลายแล้วพึงอุทิศส่วนบุญมาให้ข้าพระองค์ก็มิได้มี เพราะเหตุนั้นข้าพระองค์จึงเป็นผู้เปลือยกายมีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคืองอยู่ในขณะนี้"
 "ดูกรผีเปรต ! ก็เหตุอะไร ๆที่ท่านจะได้เครื่องนุ่งห่มมีอยู่บ้างหรือไม่ ถ้ามีก็จงบอกแก่เราเถิดถ้าพอจะช่วยเหลือได้ เราก็จะช่วยเหลือแก่ท่านเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผลแห่งกรรมดีนี้อุทิศให้แก่กันได้" พระราชาธิบดีผู้มิใคร่จะเชื่อถือในเรื่องผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วตรัสถามขึ้น
 "ก็ดีนะซิ ถ้าพระองค์จะทรงคิดอย่างนั้น"ปรทัตตูปชีวีกล่าวขึ้นอย่างดีใจ แล้วกราบทูลต่อไปว่า
 ณ เมืองไพศาลีนี้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง นามว่าพระกัปปิตกเถระ ท่านเป็นผู้ได้ฌาน มีศีลบริสุทธิ์เป็นพระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากกองกิเลส มีอินทรีย์ที่คุ้มครองดีแล้วสำรวมในพระปาติโมกข์ เยือกเย็น บรรลุผลอันสูงสุดในพระบวรพุทธศาสนา มีวาจาสละสลวยรู้ความประสงค์ของผู้ขอ เป็นผู้ว่าง่าย มีหน้าเบิกบาน เป็นผู้มาดีไปดีพูดจาโต้ตอบดี เป็นเนื้อนาบุญ ของโลก มีปรกติอยู่ด้วยเมตตาเป็นทักขิไณยบุคคลของเทวดาและมนุษย์ สงบระงับ กำจัดมิจฉาวิตกได้ ไม่มีทุกข์ไม่มีตัณหา ไม่ถือเราถือเขา ไม่คดกายวาจาใจ ไม่มีอุปธิสิ้นกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้าทั้งปวง ได้บรรลุไตรวิชชา มีความรุ่งเรืองไม่มีชื่อเสียงปรากฏ เพราะความเป็นผู้มีคุณวิเศษอันปกปิดไว้ แม้ใคร ๆเห็นก็ไม่รู้ว่าเป็นคนดีในหมู่ชนชาววัชชี เขาพากันเรียกท่านว่า "มุนี"รู้กันแต่ว่าท่านเป็นผู้ประเสริฐ หนักแน่นไม่หวั่นไหว มีธรรมอันดีงาม เที่ยวไปในโลกถ้าพระองค์ทรงถวายผ้า ๑ คู่ หรือ ๒ คู่แก่พระคุณเจ้าพระกัปปิตกเถระนั้นแล้วอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระองค์แล้ว ข้าแต่พระราชาเมื่อพระองค์ทรงถวายผ้า และท่านรับผ้านั้นแล้วพระองค์ก็จะทรงเห็นข้าพระองค์นุ่งห่มผ้าเรียบร้อยพระเจ้าข้า"
 "ดูกรผีเปรต ! เราจักไปทำตามคำแนะนำของท่านเดี๋ยวนี้จักดูทีหรือว่า เมื่อเราให้สมณะนั้นรับประเคนผ้าแล้วจักได้เห็นท่านนุ่งห่มผ้าเป็นอันดีตามคำของท่านหรือไม่?"
 ครั้นตรัสดังนี้แล้วสมเด็จพระราชาธิบดีผู้มีพระทัยร้อนก็ไม่ทรงรอช้ารีบกลับมายังพระบรมมหาราชวังรับสั่งให้ตระเตรียมผ้าเนื้อดี ๘ คู่ไว้ให้เรียบร้อยพอรุ่งอรุณรุ่งเช้าก็ทรงให้ราชบริพารถือเอาผ้าเหล่านั้นแล้วพระองค์ทรงนำหน้าดำเนินไปหมายจักพบองค์อรหันต์ตามที่เปรตบอก ก็เป็นโอกาสเหมาะเพราะได้ทรงพบพระกัปปิตกเถระเพิ่งกลับจากที่โคจรบิณฑบาตและกำลังนั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง เพื่อจะฉันภัตตาหารจึงทรงเข้าไปหาแล้วน้อมถวายผ้าเนื้อดีนั้นด้วยการกล่าวว่า
 "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์อยู่ในเมืองไพศาลีนี้ ชาวเมืองเรียกชื่อว่าพระเจ้าอัมพสักขระขอท่านจงรับผ้า ๘ คู่นี้ ข้าพเจ้ามาในที่นี้ ด้วยความประสงค์เพียงเท่านี้ถ้าพระคุณท่านรับผ้านี้แล้ว ข้าพเจ้าจักมีความปลื้มใจนัก"
 "รู้แล้วอาตมาทราบแล้วว่า มหาบพิตรเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าอัมพสักขระพระกัปปิตกเถระองค์อรหันต์กล่าวตอบ แล้วกล่าวอีกว่า "นอกจากนั้นอาตมภาพยังทราบต่อไปอีกว่า สมณะพราหมณ์ทั้งหลายต่างพากันละเว้นหลีกหนีจากพระราชนิเวศน์ของมหาบพิตรเสียแต่ไกลทีเดียวทั้งนี้ก็เพราะว่า ในพระราชนิเวศน์ของมหาบพิตรมีภัยน่ากลัวสำหรับสมณะพราหมณ์เป็นอันมาก เช่นเมื่อเข้าไปย่อมถูกทุบบาตรเสียจนแตกบ้าง สังฆาฏิก็ถูกเขาฉีกขาดบ้างมหาบพิตรได้เบียดเบียนบรรพชิตแล้ว ไม่เคยพระราชทานแม้แต่น้ำมันสักหยดหนึ่งเลยสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมทราบกันทั่วไปว่ามหาบพิตรเป็นคนตระหนี่ไม่ยินดีในการบริจาคทาน แต่บัดนี้ เพราะเหตุอะไรเล่า? มหาบพิตรทรงเห็นผลอะไรจึงได้นำเอาผ้าเนื้อดีถึง ๘ คู่มาประเคนแก่อาตมาภาพดังนี้เล่า"
 "ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ !ข้าพเจ้าขอสารภาพผิด ข้าพเจ้าได้เบียดเบียนสมณะทั้งหลายดังคำที่ท่านพูดนั้นจริงแล้ว แต่ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะล้อเล่นไม่ได้มีจิตประทุษร้าย แต่ถึงกระนั้นกรรมอันชั่วช้า ข้าพเจ้าก็ได้กระทำแล้ว"สมเด็จพระราชาธิบดีทรงสารภาพผิดในกรรมแต่หนหลังแล้วก็ตรัสเล่าถึงการที่พระองค์ได้ทรงพบเปรตและถูกเปรตนั้นแนะนำให้เอาผ้ามาถวายแก่พระเถระอย่างถี่ถ้วนแล้วตรัสขึ้นว่า
 "ข้าแต่พระคุณเจ้า ! ขอท่านจงรับผ้า ๘ คู่นี้ทักษิณาที่ข้าพเจ้าถวายนี้จงสำเร็จแก่เปรตนั้น เพราะการให้ทานนักปราชญ์ทั้งหลายมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้วโดยมากเป็นแน่แท้ ขอพระคุณจงอนุเคราะห์ในการนี้เถิด"
 "อาตมภาพ จะรับผ้า๘ คู่นี้ของมหาบพิตร ของทักษิณาทานนี้ จงสำเร็จผลแก่เปรตนั้นตามพระประสงค์เถิด"องค์อรหันต์พระกัปปิตกเถรเจ้ากล่าวแล้วก็เอื้อมหัตถ์รับผ้าที่สมเด็จพระราชาธิบดีทรงประเคน
 แต่พอพระเถรเจ้ารับประเคนผ้าเหล่านั้นแล้วก็ให้บังเกิดอัศจรรย์ เพราะว่าสมเด็จพระเจ้าอัมพสักขระผู้มิค่อยจะทรงเชื่อในผลแห่งทานมาก่อนได้ทอดพระเนตรเป็นเปรตผู้ซึ่งพระองค์ตรัสให้ลงพระอาญาตัดศรีษะนั้นนุ่งห่มผ้าเรียบร้อย ลูบไล้ด้วยจุณจันทร์แดง มีผิวพรรณเปล่งปลั่งประดับประดาด้วยสรรพาภรณ์ ขี่ม้าอาชาไนยสีขาวงามสง่า มีบริวารห้อมล้อมสำเร็จมหิทธิฤทธิ์เหมือนเทพยดา ปรากฏกายขึ้นให้ทอดพระเนตรเห็นเฉพาะพระพักตร์ครั้นทรงเห็นประจักษ์เช่นนั้นแล้ว ก็ทรงปลาบปลื้มพระทัย เกิดปีติปราโมทย์มีพระทัยร่าเริงเบิกบานจึงเป็นอันว่าพระองค์ได้ทรงเห็นกรรมและผลกรรมและผลวิบากแห่งกรรมอย่างแจ้งประจักษ์ชัดในวันนี้ด้วยพระองค์เองแล้วจึงทรงยืนขึ้นเสด็จเข้าไปใกล้ตรัสกับเปรตนั้นว่า
 "ดูกรท่านเราได้เห็นผลแห่งทานอย่างชัดแจ้งในวันนี้เองต่อไปนี้เราจักให้ท่านแก่สมณะพราหมณ์ทั้งหลาย เราควรให้ทานทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ดูกรเปรต ท่านมีอุปการะแก่เราเป็นอันมาก"
 "ข้าแต่บรมกษัตริย์ทานนี้แม้พระองค์จะทรงเพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์ ถึงกระนั้นการพระราชทานก็มิได้ไร้ผลสำหรับพระองค์ จะอย่างไรก็ดีบัดนี้ข้าพระองค์เป็นเทวดาแล้ว และจักขอทำความเป็นสหายกับพระองค์ผู้เป็นมนุษย์"เทวดาผู้เพิ่งพ้นจากภาวะเป็นปรทัตตูปชีวีเปรตตอบ
 "ดูกรเทวดาท่านเป็นคติ เป็นเผ่าพันธุ์ เป็นมิตร และเป็นเทวดาของเรา เราขอทำอัญชลีแก่ท่านและปรารถนาที่จะได้พบเห็นท่านบ่อย ๆ"พระราชาตรัสตามที่ทรงนึก
 "ข้าแต่บรมกษัตริย์ถ้าพระองค์จักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีจิตไม่มีความเลื่อมใสเต็มไปด้วยความตระหนี่แล้วไซร้ พระองค์จักไม่ได้พบเห็นข้าพระองค์เลยเป็นอันขาดและข้าพระองค์ก็จักไม่ได้เห็น ไม่ได้เจรจากับพระองค์อีกเป็นแน่" เทวดาขี่ม้าขาวกล่าวทูลดังนี้แล้วก็แนะนำให้สมเด็จพระราชาธิบดีเอาพระทัยใส่ไต่ถามอรรถธรรมแก่พระกัปปิตกเถรเจ้าตามคราวตามโอกาสในกาลต่อไปพร้อมกับกำชับให้พระองค์ทรงประกอบแต่การบุญการกุศลแล้วก็กล่าวคำอำลาหายวับไปในอากาศ ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาสมเด็จพระเจ้าอัมพสักขระราชาธิบดี ก็ทรงเป็นอุบาสกสำคัญคนหนึ่งในพระนครไพศาลีทรงมีศรัทธามีพระหฤทัยอ่อนโยน ทรงทำอุปการะบำรุงพระภิกษุสงฆ์โดยเคารพในที่สุดเมื่อได้สดับธรรมจากสำนักแห่งองค์อรหันต์พระกัปปิตกเถรเจ้าคราวหนึ่งก็ได้ทรงบรรลุพระโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา

 

เปรตและอสุรกาย
 เมื่อกล่าวถึงสัตว์ในเปรตวิสัยภูมิ คือประเภทแห่งเปรตทั้งหลายแล้ว

ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงสัตว์อีกประเภทหนึ่งซึ่งมีชีวิตความเป็นอยู่และการเสวยทุกขเวทนาคล้ายคลึงกับสัตว์อีกประเภทเปรตเป็นอันมากสัตว์ประเภทที่ว่านี้ ก็คือ "อสุรกาย" สัตว์ทั้งหลายที่กรรมชั่วนำให้ไปอุบัติเกิดเป็นสัตว์อสุรกายแล้วย่อมจะไม่มีความร่าเริงเลยเป็นอันขาดตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกอสุรกายนี้ย่อมไม่มีความสนุกสนานชื่นบานไม่มีการเล่นหัวให้ได้รับความบันเทิงในกาลบางครั้งบางคราวเหมือนในมนุษยโลกเรานี้แม้แต่สักนิดหนึ่งเลย เพราะฉะนั้นภูมิที่ใกล้ชิดกับเปรตนี้จึงได้ชื่อว่าอสุรกายภูมิภูมิที่อยู่ของสัตว์อันปราศจากความร่าเริงสนุกสนาน
 เมื่อกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ของอสุรกายทั้งหลายก็มีชีวิตอยู่อย่างแสนลำเค็ญเช่นเดียวกับเหล่าเปรตเป็นส่วนมาก เช่นบางอสุรกายมีสรีระร่างกายแลน่าทุเรศพิลึกเพราะมีกายาผ่ายผอมนักหนาแต่ว่าสูงชะลูดนับได้เป็นร้อยเป็นพันวาขึ้นไปเนื้อและโลหิตในสรีระร่างของเขามาตรว่าสักนิดหนึ่งเป็นไม่มีเลยเขามีแต่หนังหุ้มกระดูก เขาเป็นสัตว์ตายซาก ประดุจใบไม้แห้งเหม็นสาบเหม็นสางสุดประมาณ ดวงตาของเขานั้น มีประมาณเล็กนักหนาเท่ากับตาแห่งปูที่เราเห็นกันอยู่ในมนุษยโลกนี้เท่านั้นและตาของเขานั้นมิได้ตั้งอยู่ที่ใบหน้าเหมือนอย่างตาของมนุษย์ว่าแต่ว่าตั้งอยู่บนศีรษะตรงกระหม่อมของเขา แม้ปากของเขาก็เช่นเดียวกันคือเขามีมุขทวารช่องปากเล็กยิ่งนัก ประมาณเท่ารูเข็มเท่านั้นตั้งอยู่บนศีรษะกลางกระหม่อมใกล้ ๆกับดวงตาของเขานั้นเอง
 นอกจากจะมีรูปร่างแปลกพิลึกน่าทุเรศดังกล่าวมาแล้วอสุรกายทั้งหลายยังมีความเป็นอยู่อย่างแสนจะลำบากยากเย็นต้องสู่กับความหิวกระหายอยู่ตลอดเวลา เพราะการแสวงหาอาหารของเขานั้นเป็นไปโดยยากยิ่งนักหนา ก็จะไม่ยากอย่างไรได้เล่า เพราะตาของเขาเล็กเหลือเกินไม่สมกับร่างที่สูงชะลูด มิหนำซ้ำยังไพล่ไปตั้งอยู่บนศีรษะกลางกระหม่อมเสียอีกอย่างนี้แล้ว จะมองเห็นอาหารได้ง่าย ๆ อย่างไรกันแม้เมื่อพบเจออาหารตามอสุรกายวินัยแล้ว จะบริโภคแต่ละครั้งแต่ละหนก็ให้แสนจะลำบากยากเย็นเป็นอันมาก เพราะปากของเขาตั้งอยู่บนกลางกระหม่อมศีรษะเวลาจะบริโภคอาหาร จึงต้องเอาหัวปักลงมาข้างล่าง เอาตีนชี้ฟ้า ต้องตั้งท่าอย่างนี้จึงจะบริโภคเข้าไปได้ และกว่าอาหารจะเข้าปากไปได้ ก็แสนลำเค็ญเพราะเขามีปากเท่ารูเข็มเท่านั้นเอง ต้องเสวยกรรมเป็นอสุรกายสัตว์น่าสงสารทนทุกข์ทรมานหิวกระหายอยู่อย่างนี้ นับเป็นเวลาหลายพันหลายหมื่นปีจนกว่าจะสิ้นอกุศลกรรมที่ทำไว้
 ในกรณีนี้หากจะมีปัญหาว่า
 เหล่าสัตว์ทำกรรมอะไรไว้จึงได้พากันมาถือกำเนิดเป็นสัตว์อสุรกายภูมินี้
 คำถามปัญหานี้ก็มีอยู่ว่า
 เท่าที่ปรากฏโดยมากอกุศลกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำด้วยโลภเจตนาย่อมส่งผลให้เกิดเป็นอสุรกายสัตว์นี้เช่นเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ มีความโลภประจำดวงจิต ประกอบด้วยการปล้นลักขโมยหรือทำกระทำการฉ้อโกงทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ไม่รู้จักประกอบอาชีพทำมาหากินเห็นผู้อื่นมีทรัพย์สมบัติก็เกิดอิจฉาริษยาปรารถนาจะทำลายล้างหรืออยากจะเอามาเป็นสมบัติของตนแล้วลงมือประกอบอกุศลกรรมเพื่อจะให้ได้มาซึ่งสมบัติอันตนปรารถนานั้นหรือมิฉะนั้นก็เป็นคนละโมบโลภมากจนหน้ามืดฉ้อโกงเอาทรัพย์อันเป็นของสงฆ์ซึ่งคนอื่นเขามีศรัทธาอุทิศเป็นทานวัตรนับเข้าในสังฆทานหรือมิฉะนั้น เห็นเขาขุดบ่อขุดสระ สร้างสาธารณะสถานสำหรับคนทั่วไปก็อยากจะได้เอามาเป็นของตน เมื่อไม่ได้ ก็หาทางทำลายล้าง ไม่ให้ผู้อื่นบริโภคใช้สอยด้วยน้ำจิตริษยาเป็นพาลชน ครั้นแตกกายทำลายตน อกุศลกรรมเหล่านี้ก็ฉุดกระชากลากลงไปเกิดในนรก ต้องหมกไหม้อยู่ด้วยไฟนรกสิ้นกาลช้านานครั้นพ้นจากนรกแล้วเศษบาปยังไม่สิ้น จึงต้องมาถือกำเนิดเกิดในภูมิอสุรกายนี้ต้องเสวยทุกขเวทนาไปจนกว่าจะสิ้นกรรม
 ตามที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าอสุรกายสัตว์นี้ มีภาวะที่ละม้ายเหมือนกับสัตว์เปรตเป็นส่วนมากทั้งชีวิตความเป็นอยู่ และอกุศลกรรมที่เขาได้ทำไว้แต่ชาติปางก่อน ทั้งนี้ก็เพราะว่าภูมิทั้ง ๒ นี้ ใกล้ชิดติดกันมาก ฉะนั้น จึงมีชื่อเรียกติดต่อกันไปว่า "เปรตอสุรกาย" แต่จะอย่างไรก็ตาม เปรตกับอสุรกายนี้ก็มีความแตกต่างกันพอที่จะสังเกตได้ดังนี้คือ
 ๑. ในเปติวินัยภูมินั้นสัตว์ทั้งหลายที่ไปเกิดในโลกนี้ นอกจากต้องเสวยผลกรรมชั่วที่ตัวทำไว้มีลักษณะการต่าง ๆ ตามแต่ประเภทแห่งกรรมที่ชักนำมาให้บังเกิดเป็นเปรตแล้วยังต้องประสพทุกขเวทนา เพราะความอดอยากอาหารเป็นส่วนมากตลอดเวลามิได้บริโภคโภชนาหารเลย ต้องเสวยทุกข์ทรมานถูกโหยหิวเข้าครอบงำอย่างเหลือประมาณ กรรมยังไม่สิ้นตราบใดก็ต้องได้รับความโหยหิวอยู่ตราบนั้น
 ๒. ในอสุรกายหมู่นั้นสัตว์ทั้งหลายที่ไปบังเกิดในโลกอสุรกายนี้ ย่อมประสพทุกขเวทนาเพราะความกระหายน้ำเป็นส่วนมาก แท้จริงสัตว์ทั้งหลายในอสุรกายภูมินั้นเพราะวิบากแห่งอกุศลแต่กระแสชลจะได้หยดถูกปลายชิวหามาตรว่าจะให้เปียกสักนิดเป็นไม่มีเลย ตลอดเวลา ๒-๓พุทธันดร บางทีเห็นชโลทรคือบ่อบึงและมหานที ก็ยินดีว่าจะได้ดื่มกินซึ่งน้ำพยายามตะเกียกตะกายไป แต่พอไปถึงกระแสชลก็มิได้มีทรายในท้องนทีก็กลับกลายเป็นเพลิงรุ่งโรจน์โชตนาการเผาตนหรือบางทีก็กลับกลายเป็นแผ่นศิลาอันแห้งผาก อสุรกายเหล่านั้นก็มีจิตเหือดแห้งเพราะกระหายน้ำต้องเสวยทุกขเวทนาเพราะความกระหายน้ำอยู่อย่างนี้จนกว่าจะสิ้นอกุศลกรรมที่ทำไว้แต่ปางหลัง
 ข้อความที่กล่าวมานี้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ก็คงจะเห็นได้แล้วว่าแม้เปรตกับอสุรกายนี้จะมีชีวิตความเป็นอยู่เหมือน ๆ กันก็จริง ถึงกระนั้นก็มีภาวะแตกต่างกันพอที่จะสังเกตได้คือ เปรตทั้งหลายมีความอดอยากเป็นลักษณะเครื่องทรมาน แต่อสุรกายทั้งหลายมีความกระหายน้ำเป็นลักษณะเครื่องทรมาน สัตว์ในภูมิทั้ง ๒ นี้ต้องประสบกับความลำบากในการครองชีวิตอย่างแสนสาหัส เพราะว่าเขาเป็น สัตว์ในอบายภูมิภูมิที่มีแต่ความฉิบหาย ไม่มีความสุข
 ได้พรรณนาถึงประเภทแห่งเปรตอสุรกายพร้อมทั้งแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่แห่งสัตว์ผู้ไปอุบัติเกิดในภูมินี้มาพอสมควรแล้วต่อจากนี้ จักได้กล่าวถึงปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ภาวะเป็นเปรตอสุรกายซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ แห่งการพรรณนาในเปติวิสยภูมิปฏิปทานี้สืบต่อไปขอท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย จงอดใจติดตามอ่านต่อไปอีกเถิด

บาปที่ให้เกิดเป็นเปรต
 ก็การที่มนุษย์ทั้งหลายจักได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเปรตอสุกาย

ต้องเสวยความทุกข์ทรมาน เพราะความอดอยากได้รับความหิวกระหายอย่าแสนสาหัสนั้นใช่ว่าอยู่ ๆ แล้วจะเกิดเอง โดยมิต้องอาศัยเหตุปัจจัยอะไรนั้นหามิได้โดยที่แท้การมนุษย์ทั้งหลายจะต้องเกิดเป็นสัตว์เปรตอสุรกาย มีชีวิตอยู่ในอบายภูมิหลังจากที่ได้ล้มหายตายจากมนุษย์ โลกนี้แล้วก็เพราะมีเหตุมีปัจจัยก็เหตุปัจจัยหรือปฎิปทาอันยังสัตว์ให้ไปถึงเปรตอสุรกายนั้นก็ได้แก่ อกุศลกรรมกล่าวคือ ความชั่วที่ทำไว้ทางกายวาจาใจเช่นเดียวกับเหตุปัจจัยอันเป็นปฎิปทายังสัตว์ให้ไปสู่นรกดั่งที่กล่าวมาแล้วเหมือนกันแต่เพื่อให้เข้าใจได้อย่างแม่นยำ จักขอนำเอาอกุศลกรรมบถมากล่าวซ้ำไว้อีกครั้งหนึ่งดังนี้
 อกุศลกรรมบถ ๑๐
 ก.กายกรรม ทำบาปทางกาย มี ๓ คือ
 ๑.ฆ่าสัตว์
 ๒. ลักทรัพย์
 ๓.ประพฤติผิดในกาม
 ข. วจีกรรม ทำบาปทางปาก มี ๔คือ
 ๑. พูดเท็จ
 ๒.พูดส่อเสียด
 ๓. พูดคำหยาบ
 ๔.พูดเพ้อเจ้อ
 ค. มโนกรรม ทำบาปทางใจ มี ๓ คือ
 ๑.โลภอยากได้ของเขา
 ๒.พยาบาทปองร้ายเขา
 ๓. มิจฉาทิฐิเห็นผิดจากครองธรรม
 รวมเป็นอกุศลกรรมบถ ๑๐ประการ
 เมื่อผู้ใดประพฤติอกุศล ๑๐ ประการนี้ผู้นั้นก็ชื่อว่านำเดินไปตามปฎิปทาทางไปสู่โลกเปรตอสุรกายแล้วและเมื่อเขาขาดใจตายไปจากมนุษย์โลกนี้หากว่าอกุศลกรรมนั้นสามารถนำเขาไปสู่นิรยภูมิคือโลกนรกได้ เขาก็จักต้องไปเสวยทุกข์โทษอยู่ในนรกก่อนพอสิ้นกรรมพ้นจากนรกแล้ว เศษบาปยังมีจึงจะได้มีโอกาสไปเกิดเป็นเปรตอสุรกายต่อภายหลัง นี่จำพวกหนึ่งกับอีกจำพวกหนึ่งนั้นมีอกุศลกรรมบางเบา ไม่ถึงขั้นที่จะต้องตกนรกก็ไม่ต้องไปผ่านแดนนรก แต่จะตรงไปเกิดในแดนเปรตอสุรกายเลยทีเดียว ซึ่งในกรณีหลังนี้มีข้อที่ควรจะทราบดังต่อไปนี้

เปรตวิสัย
 เมื่อมนุษย์ผู้มีจิตไม่บริสุทธิ์ประพฤติอกุศลกรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นการนำตนเดินไปตามปฎิปทาทางไปสู่เปรตวินัยแล้วในขณะที่จะขาดใจตายจากมนุษย์ไปผุดเกิดเป็นเปรตอสุรกายในแดนเปรตวิสัยนั้นย่อมจะมีเหตุการณ์อันแสดงว่าตนจักได้ไปเกิดเป็นเปรตอสุรกายแน่ ๆ ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนในมรณาสันนวิถีคือวิถีจิตที่ใกล้จะตายก็เหตุการณ์ที่เป็น

เครื่องบอกล่วงหน้า ให้รู้ว่าจักได้ไปเกิดเป็นเปรตอสุรกายนั้นก็ได้แก่ "คตินิมิต" คือใจรับอารมณ์ปรากฏเป็นนิมิตต่าง ๆอันบ่งออกถึงคติแห่งโลกเปรตอสุรกายที่ตนจักต้องไปเกิดเช่น
 บางที่ก็ให้เห็นเป็นหุบเขาหรือถ้ำอันมืดมิดเป็นสถานที่วิเวกวังเวงและปลอดเปลี่ยว
 บางที่ก็ให้เห็นเป็นแกลบและข้าวลีบมากมายให้รู้สึกหิวโหยอาหารและกระหายน้ำเป็นกำลัง
 บางที่ก็ให้เห็นเป็นน้ำเลือดน้ำหนองน่ารังเกียจสะเอียนเป็นยิ่งนักและให้เห็นไปว่าตนได้ดื่มกินซึ่งน้ำเลือดน้ำหนองเหล่านั้นของตนเองเป็นอาหาร
 บางที่ก็ให้เห็นเป็นเปรตอสุรกาย มีสรีระร่างกายผ่ายผอมน่ารังเกลียดน่ากลัวเนื้อตัวสกปรกรกรุงรัง ซึ่งตนไม่เคยเห็นมาก็
 ภาพเหล่านี้มาปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนแจ่มใสในมโนทวารคือทางใจจิตยึดหน่วงไว้เป็นอารมณ์เมื่อดับจิตตายลงไปในขณะนั้นแล้ว ก็น้อมนำไปเกิดในทุคติภูมิ คือก็เป็นเปรตอสุรกายต้องเสวยทุกขเวทนา ตามสมควรแก่กรรมชั่วที่ตนได้ทำไว้ เพราะคตินิมิตเหล่านี้เป็นเรื่องชี้ให้รู้ว่า เขาผู้นั้นจะต้องไปเกิดเป็นเปรตอสุรกายอย่างแน่นอนและเมื่อเขาได้ไปเกิดเป็นเปรตอสุรกายแล้วไซร้ ก็เป็นอันแสดงว่า บัดนี้เขาผู้ประพฤติอกุศลกรรม ซึ่งนำตนเดินทางไปตามปฏิปทาทางไปสู่เปรตอสุรกายได้บรรลุถึงถิ่นที่ต้องไปอย่างเที่ยงแท้แล้ว
 ขอสรุปความเพื่อให้จำง่ายๆ ว่า เปตติวิสัยภูมินี้ สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเปรียบไว้ว่าเหมือนกับต้นไม้ในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อน และใบแก่โปร่งบาง มีร่มเงาอันโปร่งเป็นสถานที่ที่ไม่รื่นรมย์ เพราะแห้งแร้งเต็มไปด้วยความทรมานเมื่อบุคคลผู้ใดใครผู้หนึ่ง ประพฤติอกุศลกรรมนำชีวิตของตนไปในทางอกุศลกรรมผู้นั้นก็ชื่อว่านำตนไปสู่ปฎิปทาทางไปสู่ต้นไม้อันหาความสุขสบายมิได้คือเปตติวิสัยภูมินั้นอย่างแน่นอน ทีนี้หวนกลับมานึกถึงตัวเรานี่บ้างเราท่านทั้งหลาย ผู้มีโชคดีเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระบวรพุทธศาสนาในชาตินี้เมื่อได้รับฟังคำชี้แจง คำบอกเล่า จากองค์สมเด็จพระบรมครูเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งพระญาณอันพิเศษสุดของเราดังนี้แล้ว การที่จะมัวโง่งมงายประพฤติอกุศลกรรมอันเป็นบาปหยาบช้าลามกทั้งหลายไปด้วยความดื้อรั้นเพราะอำนาจแห่งทิฐิมานะ ไม่เชื่อมั่นในคำแห่งพระบรมครูแล้วเดินทางเซวังไปสู่ดินแดนแห่งต้นไม้แห้งโกร๋นที่มีแต่ความโศกาอาดูรคือแดนเปรตอสุรกายนั้นย่อมเป็นการไม่สมควรแก่วินัยแห่งเราผู้เป็นพุทธสาวกยิ่งนักโดยที่แท้ควรจักนำตนหลีกออกจากทางอันชั่วเลวทรมานนั้นเสียโดยรวดเร็วก่อนที่เราจักขาดใจตายไปจากโลกนี้จะดีกว่า

ลักขณสังยุตสูตรว่าด้วยคำถามของพระลักขณเถระ
 เรื่องความสงสัยของพระลักขณเถระที่ได้เห็นอาการแย้มของพระมหาโมคคัลลานเถระ ในขณะที่เดินลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏด้วยกันท่านได้เรียนถามพระเถระในขณะนั้นแต่พระมหาโมคคัลลานเถระบอกให้ไปถามในที่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าท่านจะตอบในที่เฉพาะพระพักตร์เป็นพระสูตรที่เกิดขึ้นต่างกรรรมต่างวาระกันแต่ทั้งหมดทรงแสดง

เมื่อประทับ ณ พระเวฬุวันกลันทกนีวาปสถานเมื่อพระลักขณเถระถามแต่ละคราวพระโมคคัลลานเถระจะเล่าให้ฟังว่าท่านเห็นเปรตมีรูปร่างต่าง ๆ กันพระพุทธเจ้าได้รับสั่งยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง พระองค์ก็ได้เคยเห็นมาแล้วและได้รับสั่งเล่าถึงบุพพกรรมของเปรตเหล่านั้นทุกตนในที่นี่จะขอกล่าวเพียงเปรตพร้อมด้วยลักษณะที่พระโมคคัลลานในเถระบอกพระลักขณะตามที่ท่านได้เห็นและพระพุทธดำรัสตรัสเล่าบุพพกรรมของ

เปรตเหล่านั้นไปตามลำดับดังนี้
 ๑. ได้เห็นโครงกระดูกลอยอยู่ในเวหาสพวกสัตว์ต่าง ๆ มีแร้ง กา นกตะกรุม ต่างโผถลาเข้าจิก เจาะทิ้งโครงกระดูกนั้นโครงกระดูกนั้นส่งเสียงร้องไห้ครวญครางด้วยความเจ็บปวด
 - สัตว์นี้เคยเป็นคนฆ่าโคอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เองด้วยผลกรรมอันนั้นเขาต้องหมกไหม้อยู่ในนรกสิ้นกาลนานเขาเกิดเป็นเปรตเพราะเศษกรรมที่เหลือจากการฆ่าโคนั้น
 ๒.เห็นชิ้นเนื้อลอยอยู่ในเวหาสถูกสัตว์ต่าง ๆ มีแร้งกานกตะกรุมรุมจิก เจาะทิ้งชิ้นเนื้อนั้น
 - สัตว์นี้เป็นคนฆ่าโคในกรุงราชคฤห์มาก่อนเป็นเปรตเพราะเศษกรรมนั้น
 ๓.เห็นก้อนเนื้อลอยในอยู่ในเวหาสมีสัตว์ดังกล่าวจิก เจาะทิ้งส่งเสียงร้องไห้ครวญคราง
 - สัตว์นี้เคยเป็นคนฆ่านกขายในกรุงราชคฤห์นี้มาก่อน
 ๔.เห็นบุรุษไม่มีผิวหนังลอยไปในเวหาสถูกสัตว์ดังกล่าวทำอันตรายร้องไห้ครวญคราง
 - สัตว์นั้นเป็นคนฆ่าแกะขายอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้มาก่อน
 ๕.เห็นบุรุษมีขนเป็นดาบลอยอยู่ในเวหาสดาบนั้นลอยขึ้นไป ๆแล้วตกลงที่กายของบุรุษนั้นแหละเขาส่งเสียงร้องไห้ครวญคราง
 - สัตว์นี้เคยเกิดเป็นคนฆ่าสุกรขายในกรุงราชคฤห์นี้มาก่อน
 ๖.บุรุษมีขนเป็นหอกลอยอยู่ในเวหาสมีขนเป็นลูกธนู มีขนเป็นปฏักมีขนเป็นเข็มลอยอยู่ในเวหาส ลูกธนู หอก ปฏัก ลอยขึ้น ๆ บนอากาศแล้วตกลงที่กายของบุรุษนั้น ส่วนเข็มนั้นได้เข้าไปทางศีรษะออกทางปาก เข้าทางปากออกทางอกเข้าทางอกออกทางท้อง เข้าทางท้องออกทางขาอ่อน เข้าทางขาอ่อนออกทางแข้งเข้าทางแข้งออกทางเท้าแต่ละคนส่งเสียงร้องไห้ครวญครางด้วยความเจ็บปวด
 - สัตว์ขนเป็นหอกเคยเกิดเป็นคนฆ่าเนื้อขาย ขนเป็นธนูเคยเกิดเป็นเพชฌฆาตขนเป็นปฏักเคยเกิดเป็นคนฝึกม้า สัตว์ขนเป็นเข็มเคยเป็นคนพูดส่อเสียดยุยงคนอื่นให้แตกจากกัน
 ๗.เห็นบุรุษมีอัณฑะใหญ่เท่าหม้อลอยอยู่ในเวหาสเมื่อเดินไปก็แบกอัณฑะไว้บนบ่า เมื่อนั่งก็นั่งทับอัณฑะ ถูกสัตว์มีแร้ง กานกตะกรุงรุมจิก เจาะ ทิ้งส่งเสียงร้องไห้ครวญคราง
 -สัตว์ตนนี้เคยเป็นผู้พิพากษาตัดสินอรรถคดีไม่เป็นธรรมมาก่อน ในกรุงราชคฤห์นี้เอง
 ๘.เห็นบุรุษจมอยู่ในหลุมคูถจมทิดศีรษะ และบุรุษจมอยู่ในหลุมคูถใช้มือกอบคูถกิน
 - สัตว์ตนแรกเป็นชู้กับภรรยาของชายอื่น สัตว์ตนที่ ๒ในชาติที่เป็นมนุษย์ นิมนต์พระไปฉันภัตตาหารที่บ้านให้คนเอาคูถใส่เต็มรางแล้วบอกให้คนมานิมนต์พระไปฉันคูถนั้นและบอกให้นำไปด้วย
 ๙. เห็นผู้หญิงไม่มีผิวหนังเเละหญิงมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดลอย อยู่ในเวหาสถูกสัตว์มีเเร้งกานกตะกรุมรุมจิกทิ้งร้องไห้ครวญครางด้วยเสียง โหยหวน
 - หญิงคนเเรกประพฤตินอกใจสามี หญิงคนที่ ๒ ทําตนเป็นเเม่มดหมอผีอยู่ในกรุงราชคฤห์มาก่อน
 ๑๐.เห็นหญิงมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มเต็มไปด้วยถ่านเพลิงและตัวกะพันธ์ไม่มีศีรษะมีตาและปากอยู่ที่อก ถูกสัตว์ดังกล่าวรุมทิ้งจิกเจาะกายร้องไห้ครวญครางน่าสงสาร
 - หญิงนั้นในอดีตเคยเป็นมเหสีของพระเจ้ากาลิงค์ ริษยาในหญิงร่วมสามีจึงเอาถ่านเพลิงเทรดศีรษะหญิงเหล่านั้นส่วนตัวกะพันธ์เคยเป็นเพชฌฆาตฆ่าโจรชื่อหาริกอยู่ในกรุงราชคฤห์มาก่อนเช่นกัน
 ๑๑. เห็นภิกษุ ภิกษุณีนางสิกขมานา สามเณร สามเณรีมีผ้าสังฆาฏิ บาตร ประคดเอวจนถึงร่างกายถูกไฟไหม้ลุกโชติช่วงแต่ละตนส่งเสียงร้องครวญครางลอยไปในเวหาส
 - เปรตแต่ละคนทั้งเคยเป็นภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรีและนางสิกขมานาผู้มีความประพฤติชั่วช้าในศาสนาของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะในอดีตกาล
 ทุกสูตรพระมหาโมคคัลลานเถระจะกล่าวถึงเหตุที่ท่านกระทำการแย้มหลังจากได้เห็นเปรตเหล่านั้นว่า "ผมคิดว่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาสัตว์เห็นปานนี้จักมี ยักษ์มีลักษณะนี้และการได้อัตภาพอย่างนี้ก็มีจึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ
 ก่อนที่จะทรงเล่าอดีตกรรมของสัตว์เหล่านั้นพระพุทธเจ้าจะรับสั่งความว่า " สาวกทั้งหลายเป็นผู้มีจักขุมีญาณอาจรู้เห็นสัตว์เหล่านี้หรือจักเป็นพยานได้เปรตเหล่านี้พระองค์เคยเห็นมาด้วยพระองค์เองแต่ไม่ได้รับสั่งเล่าให้ใครฟังเพราะหากจะรับสั่งเล่า คนบางพวกก็จักไม่เชื่อซึ่งการไม่เชื่อนั้นเองจะไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่คนเหล่านั้นมีแต่ความทุกข์โดยส่วนเดียว แต่เมื่อพระโมคคัลลานเถระมากล่าวขึ้นพระองค์จึงรับรองว่าเรื่องทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องจริงสัตว์แต่ละตนนั้นหลังจากทำกรรมดังกล่าวแล้วต้องเสวยทุกข์ในนรกสิ้นกาลนานการบังเกิดเป็นเปรตในรูปต่าง ๆ นั้นเป็นเพียงเศษกรรมที่เหลือจากตกนรกเท่านั้นแต่ก็ต้องได้อัตภาพและทุกข์เวทนาสาหัสดังกล่าวแล้ว
 ข้อควรกำหนดในพระสูตรนี้
 ๑.พระลักขณเถระ เป็นพระในกลุ่มของปราณชฏิล ๑,๐๐๐รูปได้บรรลุอรหัตเพราะฟังพระธรรมเทศนาเรื่องอาทิตตปริยายสูตรท่านบวชก่อนพระโมคคัลลานเถระ และสำเร็จอรหัตก่อนด้วยเนื่องจากท่านมีลักษณะสง่างามมาก จึงได้เรียกชื่อตามลักษณะของท่าน อาจจะมีปัญหาว่าทำไมในเมื่อเป็นพระอรหัตด้วยกัน เดินทางลงมาด้วยกัน องค์หนึ่งเห็นเปรตอีกองค์หนึ่งไม่เห็นเล่า?
 การเห็นเปรตของพระโมคคัลลานเถระท่านเห็นด้วยทิพพจักขุคือตาทิพย์ไม่ใช่ตาธรรมดา อันเป็นการแสดงว่าในขณะเดินทางลงมานั้นท่านได้ทิพพจักขุ ตรวจดูสรรพสัตว์ด้วยแต่พระลักษณะไม่ได้กำหนดใช้ทิพพจักขุจึงไม่ได้เห็นหากจะอุปมาอย่างในปัจจุบันแล้วเหมือนกับคนเดินถือโทรทัศน์ขนาดเล็กใช้ถ่านไป ๒ คนคนหนึ่งเปิดเครื่องดูไปด้วย อีกคนหนึ่งทั้ง ๆที่มีเครื่องแต่ไม่ได้เปิดเครื่องจึงไม่เห็นว่าในจอโทรทัศน์มีเรื่องอะไรเห็นเพื่อนยิ้มจึงไม่ทราบว่ายิ้มเรื่องอะไรกันจึงต้องถามฉันใด เรื่องพระเถระทั้ง ๒ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันฉันนั้น ตาทิพย์นั้นเปรียบเหมือนโทรทัศน์ถึงแม้จะมีภาพเต็มไปหมดในอากาศแต่หากไม่เปิดเครื่องก็ไม่อาจเห็นภาพได้ทิพพจักขุของพระอรหัตจึงต้องกำหนดจะใช้ดูจึงจะเห็นภาพอันเป็นวิสัยของทิพพจักขุได้ ยามปกติท่านก็ดูสรรพสิ่งด้วยมังสจักขุคือดวงตาธรรมดาเช่นเดียวกับสามัญชน
 ๒. เปรต หรือ เปต แปลว่าผู้ละไปแล้วท่านใช้ใน ๒ ความหมายถึง
 - หมายถึงคนที่ตายจากโลกนี้ไปทุกคนอย่างที่ทรงแสดงไว้ในนิธิกัณฑสูตรที่พระนำใช้อนุโมทนาในงานเกี่ยวกับคนตายบทหนึ่งว่า เปตานํ ปูชา จ กตา อุฬาราบูชาอันยิ่งอันท่านทำแล้วแก่ญาติทั้งหลายผู้ละโลกนี้ไปแล้ว และประโยคว่า เปตานทกฺขิณํ ทชฺชาควรให้ทักษิณาทานเพื่อที่ละโลกนี้ไปแล้ว
 หมายถึงท่านผู้เสวยผลกรรมในนรกมาจนผลกรรมน้อยลงมากแล้ว แต่ยังไม่มีกุศลกรรมที่จะได้กำเนิดที่สูงขึ้นไปได้จึงต้องมาเกิดเป็นเปรต ตามที่ปรากฏแล้วในเปรตทั้ง ๒๑พวกที่กล่าวในพระสูตร
 ปัญหาที่น่าสนใจ คือคนเราสามารถเห็นเปรตได้อย่างไรบ้าง ?
 ข้อนี้จากหลักฐานในที่ต่าง ๆที่ท่านแสดงไว้อาจสรุปได้ว่า เปรตนั้นเกิดในกำเนิดที่ ๔ คือ โอปปาติกำเนิดคือเกิดโดยผุดขึ้นตามแรงกรรรม รูปร่างจริง ๆ จริงเป็น อทิสสมานกายคนจึงกายไม่ปรากฏในสายตาธรรมดา หรือเรียกว่าเป็นวัตถุโปร่งแสงคนจริงอาจเห็นเปรตหรือแม้อสุรกายได้ด้วย
 - ท่านผู้ได้อภิญญามีทิพยจักษุน้อมใจไปเพื่อจะเป็นเปรตเหล่านั้นก็จะเห็นได้
 - ไม่ถึงทิพยจักษุแต่มีกำลังสมาธิแก่กล้าพอ อาจน้อยใจไปเพื่อเห็นเปรตเหล่านั้นได้แต่ต้องเป็นการเห็นในสมาธิจะเห็นได้ชัดมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิของคนนั้น ๆ
 - เห็นจากเจตจำนงของเปรตเอง คือเปรตแสดงตนให้ปรากฏแก่ญาติ เพื่อขอส่วนบุญอย่างเปรตยาติของพระเจ้าพิมพิสาร หรือเปรตมีเจตจำนงเป็นอย่างอื่นเช่นห้ามปรามคนที่รัก หรือมาบอกกล่าวเรื่องบางอย่างให้ทราบแต่จะปรากฏได้ไม่นานนัก
 - เห็นเพราะแรงกรรมบันดาล อย่างมิตตวินทุกกะประทุษร้ายมารดาผู้รักและหวังดีตน ออกเดินทางเพื่อไปค้าขายเรือแตกระหว่างทางขึ้นไปบนฝั่งเห็นเปรตที่กำลังจะสิ้นกรรมว่าเขาประดับศีรษะด้วยเครื่องประดับจึงเข้าไปขอแม้เปรตจะบอกว่าเป็นกงจักรไม่ยอมเชื่อเปรตนั้นรู้ว่าตนสิ้นกรรมจึงมอบจักรให้แก่เขาจนคนไทยเรานำมาใช้พูดถึงคนที่ไม่รู้จักดีชั่วว่า "เห็นกงจักรเป็นดอกบัวเห็นความชั่วเป็นความดี"
 การเห็นเปรตและอาจทราบรายละเอียดเรื่องเปรตได้จึงต้องมีเพียงวิธีเดียวคือทิพยจักษุ หรือจุตูปปราตญาณ อันเป็นคุณสมบัติของท่านผู้ผ่านการปฏิบัติทางจิตจนได้อภิญญา ๕ เป็นต้นไป
 ๓. อีกเรื่องหนึ่งคือ เปตโลกคือโลกเปรตนั้นอยู่ที่ไหน?
 ให้สังเกตว่าในพระสูตรที่กล่าวมา เปรตทั้ง๒๑ ประเภท นอกจากเปรตที่กินคูถแล้ว พระโมคคัลลานเถระยังบอกว่าลอยไปในเวหาสคือในอากาศนั่นเอง เปตโลกจึงน่าจะเป็นมิติหนึ่งในโลกนี้เป็นทำนองโลกซ้อนโลก ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องอ้างว่า มนุษย์อวกาศขึ้นไปแล้วไม่พบวิมานหรือเปรตแต่ประการใด เพราะการเห็นเปรตต้องอาศัยเครื่องมือดังกล่าวแล้วซึ่งนักวิทยาศาสตร์ไม่ว่าประเภทใดก็ตามไม่มีเครื่องมือเหล่านี้การจะเห็นภาวะหรือสิ่งที่ละเอียดต้องอาศัยเครื่องมือสำหรับดูสิ่งนั้นโดยเฉพาะเช่นเดียวกับการดูเชื้อโรค ไวรัสต่าง ๆ ด้วยกล้องจุลทัศน์และดูกลุ่มจักรดารกาด้วยกล้องโทรทัศน์ เครื่องมือทั้ง ๒ นี้จะใช้ดูกลับกันไม่ได้เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ดูเฉพาะสิ่งนั้น ๆ ฉันใดการดูเปรตก็ต้องอาศัยเครื่องมือดังกล่าวแล้วฉันนั้น
 ๔.พระอรหันต์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั้น จะไม่มีการยิ้ม หัวเราะ แบบสามัญชนพระพักตร์และสีหน้าของท่านจะเอิบอิ่มด้วยความบริสุทธิ์และกรุณาเป็นปกติหากเกิดเรื่องอะไรขึ้นมาจะกระทำการแย้ม ไม่ถึงกับการยิ้มอย่างที่พูดกันว่า"ยิ้มเห็นแก้ม แย้มเห็นไรฟัน"การที่พระโมคคัลลานเถระกระทำการแย้มเมื่อเห็นเปรตเหล่านั้น พระอรรถกถาจารย์บอกว่าเพราะปรารภเหตุ ๒ ประการคือ
 - ระลึกถึงคุณสมบัติของตนว่าเราได้พ้นแล้วจากอัตภาพเช่นนี้ซึ่งเป็นอัตภาพอันคนผู้ไม่รู้ยิ่งเห็นจริง อาจจะได้อัตภาพเช่นนี้ข้อนี้จัดเป็นลาภของเราโดยแท้
 - ระลึกถึงพระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้าว่าเรื่องของกรรมวิบากกรรมอันเกิดขึ้นจากพระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ทรงหยั่งรู้เรื่องนี้ตามความเป็นจริงพระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้าจึงเป็นอจินไตย ใคร ๆ ไม่ควรคิดเดาเอาเองเพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเห็นสิ่งนั้นประจักษ์แจ้งด้วยพระองค์เองก่อนแล้วจึงทรงแสดง พระองค์ได้รู้แจ้งแทงตลอดธรรมชาติทั้งสิ้น
 ๕. เปรตทั้ง ๒๑จำพวกนั้นเกิดเป็นเปรต เพราะเศษแห่งอกุศลกรรมที่ตนทำไว้ ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วกรรมเหล่านั้นอยู่ในแวดวงของอกุศลกรรมบถ ๑๐ และผลที่ปรากฏแก่เปรตเหล่านั้นเป็นเช่นเดียวกับที่ตนทำแก่คนอื่นมาก่อน เช่นเปรตชายหญิงที่ไม่มีผิวหนังท่านบอกว่าเพราะประพฤติผิดในภรรยาสามีของคนอื่น อันถือว่าเป็นการขโมยสัมผัสทำให้พวกเปรตเหล่านั้นต้องประสบสัมผัสอันสร้างทุกข์ทรมานหรือว่าเปรตที่เป็นชิ้นเนื้อ ก็ปรากฏในรูปของชิ้นเนื้อเหมือนชิ้นเนื้อสัตว์อื่นที่ตนเคยฆ่าเป็นต้น
 ที่น่าสังเกตอีกตนหนึ่งก็คือเปรตอดีตมเหสีของพระเจ้ากาลิงคราช ที่เคยเอาถ่านไฟร้อน ๆ รดใส่เพื่อนหญิงร่วมสามีเศษวิบากกรรมทำให้ตนมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มและเต็มไปด้วยถ่านเพลิงนั้นทรงเล่าประวัติในอดีตของพระนางโรหิณี พระกนิฏฐภคินีของพระอนุรุทธเถระและเป็นราชธิดาของพระเจ้าอาของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นสตรีสวยงามมากแต่เป็นโรคเรื้อนว่าเป็นผลกรรมที่เกิดจากริษยาสตรีร่วมสามีเช่นกันแต่นำเอาขุยหมามุ่ยไปโรยบนที่นอนของสตรีอื่น ทำให้เธอคันไปทั่วตัวเการ่างกายจนเกิดเป็นผื่นไปหมด เศษวิบากกรรมนั้นทำให้พระนางโรหิณีต้องเป็นโรคเรื้อนและเรื่องนี้ยังโยงไปหาเรื่องโรค ๓ ชนิดที่ทรงแสดงไว้ข้อสุดท้ายคือ
 "โรคบางอย่างจะรักษาหรือไม่รักษาก็ไม่หายซึ่งทรงหมายถึงโรคที่เกิดขึ้นจากอดีตกรรม อันบุคคลนั้นจะต้องชดใช้เมื่อชดใช้หมดแล้วโรคนั้นจะหายไปเอง"
 อย่างพระนางโรหิณีนั้นพระอนุรุทธเถระแนะให้ขายเครื่องประดับองค์ นำเอาเงินจากรายได้นั้นมาสร้างเป็นศาลาเป็นที่พำนักอาศัยและเลี้ยงดูพระสงฆ์ โดยให้พระนางทำหน้าที่บำรุงปัดกวาดเสนาสนสงฆ์นั้นด้วยตนเอง โรคเรื้อนหายไปในที่สุดผิวพรรณกลับเปล่งปลั่งสวยงามตามปกติจากหลักฐานส่วนนี้เป็นการชี้ให้เป็นอีกประเด็นหนึ่ง คือในกรณีที่เกิดโรคเรื้อรังเพราะอิทธิพลของอกุศลกรรมในอดีตนั้นการดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาทรีบเร่งสร้างสมบุญกุศลอาจอำนวยผลให้โรคนั้นหายไปได้เพราะอำนาจแห่งกุศลเท่านั้นที่จะทำลายอำนาจแห่งอกุศลได้เหมือนแสงสว่างเท่านั้นจะขจัดความมืดได้ฉะนั้น
 ๖.ชนิดของเปรตนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ๒๑ ชนิด ท่านยังได้แสดงไว้ในที่ต่าง ๆ อีกมากเช่น ในอรรถกถาเปตวัตถุ ท่านจำแนกเป็น ๔ ชนิด คือ
 - ปรทัตตูปชีวิกเปรตเปรตที่มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเซ่นไหว้จากญาติและถือว่าเป็นเปรตประเภทเดียวที่จะได้รับส่วนกุศลอันสำเร็จจากอนุโมทนาส่วนบุญที่ญาติอุทิศให้ ตามที่ทรงแสดงไว้แก่ชานุสโสณีพราหมณ์และพระองค์เองรับสั่งแก่พราหมณ์ท่านหนึ่งว่า พระองค์เป็นเหมือน ปรทัตตูปชีวิกเปรตในกรณีของการเที่ยวบิณฑบาต และได้แนะให้พระภิกษุทำความรู้สึกว่าตนเป็นเช่นนี้ด้วยเพื่อควบคุมจิตให้ยินดีในปัจจัยที่ทายกบริจาคให้จะดีหรือเลวก็ตาม อย่าได้ดูหมิ่นลาภอันทายกบริจาคให้แล้วโดยธรรม
 - ขุปปิปาสิกเปรตเปรตที่อดอยากหิวโหยอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้สึกว่าอิ่มหรือพอในการกิน
 - นิชฌามตัณหิกเปรตเปรตที่ถูกไฟเผาให้เร่าร้อนอยู่เสมอ
 - กาลกัญจิกเปรตเปรตที่อยู่ในจำพวกอสุรกาย เปรตประเภทนี้เองที่คนเข้าใจว่าผีหลอกเมื่อเขาเข้าพบเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
 ในคัมภีร์โลกบัญญัติปกรณ์ปละฉคติทีปนีปกรณ์ท่านจำแนกออกเป็น ๑๒ ประเภท ตามลักษณะอาหารและทุกข์ทรมาน ดังนี้
 ๑. วันตาสเปรตเปรตที่กินน้ำลาย เสมหะ อาเจียนเป็นอาหาร
 ๒.กุณปาสเปรตเปรตที่กินซากศพคนหรือสัตว์เป็นอาหาร
 ๓.คูถขาทกเปรตเปรตที่กินอุจจาระเป็นอาหาร
 ๔.อัคคิชาลมุขเปรตเปรตที่เปลวไฟลุกอยู่ในปากเสมอ
 ๕.สุจิมุขเปรตเปรตที่มีปากเท่ารูเข็ม
 ๖.ตัณหัฏฐิกเปรตเปรตที่ถูกความอยากในอาหารเป็นต้นเบียดเบียนกระหายหิวเสมอ
 ๗. สุนิชฌามกเปรตเปรตที่มีตัวดำเหมือนตอไม้เผาไฟ
 ๘.สุตตังคเปรตเปรตที่มีเล็บมือเล็บเท้ายาวเหมือนมีด
 ๙.ปัพพตังคเปรตเปรตที่มีร่างกายสูงใหญ่เท่าภูเขา
 ๑๐.อชครังคเปรตเปรตที่มีร่างเหมือนงูเหลือม
 ๑๑.เวมานิกเปรตเปรตที่กลางวันเสวยทุกข์กลางคืนเสวยสุขในวิมาน
 ๑๒. มหิทธิเปรตเปรตที่มีอำนาจฤทธิ์เป็นพิเศษ
 เปรตทุกชนิดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ตัวเหตุที่ให้เป็นเปรต คือการประพฤติผิดศีลธรรมในระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความทุศีลโดยของความทุศีลนั้น ทรงแสดงไว้แก่ชาวบ้านปาฏลิคามเมื่อพระองค์เสด็จผ่านไปเพื่อปรินิพพาน ณ เมืองกุสินาราว่า
 - คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเสื่อมจากโภคสมบัติ เพราะความประมาทเป็นเหตุ
 - ชื่อเสียงอันชั่วทรามของคนทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมฟุ้งขจรไป
 - คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมหลงทำกาลกิริยา
 - คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้วเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตและนรก
 โทษเหล่านี้จะพบว่า ไม่จำเป็นจะต้องไปรอคอยชาติหน้าแต่เป็นผลที่คนจะพบได้ในปัจจุบันนี้ ยกเว้นข้อสุดท้ายเท่านั้นซึ่งผู้ที่มีเหตุผลในการดำรงชีวิต จำต้องยึดหลักตถาคตโพธิสัทธาเป็นแนวในการดำรงชีวิตไว้ เพราะเป็นความปลอดภัยที่สุดสำหรับคนที่ยังไม่ได้ญาณปัญญาด้วยตนเอง
 ดังนั้นความเป็นเปรตในรูปแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว หากคนทุศีลมีจิตประกอบด้วยอกุศลธรรมในส่วนที่เป็นมโนทุจริตแล้ว เขาพร้อมที่จะเป็นเป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท