ตามรอยการพัฒนาเวทีสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับสมัชชา สุขภาพ คนเมืองลุง (3)


ข้อเสนอการพัฒนาเมืองพัทลุงภาคประชาชน ภายใต้การขับเคลื่อนขบวนสุขภาพ

 ๑.  ตรวจสอบสภาวะแวดล้อมของจังหวัดพัทลุง


๒.  ตรวจสอบสภาวะสุขภาพของประชาชนจังหวัดพัทลุงและในพื้นที่เฉพาะที่ได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่


๓. เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมและการมีพื้นที่อุตสาหกรรม


๔ กระบวนการทบทวนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดพัทลุง


๕. ยกเลิกเขตอุตสาหกรรมและพื้นที่สีม่วง


๖. จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดที่ยั่งยืนของพัทลุง๗.จัดให้มีหลักสูตรการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีคนเมืองลุง


๗.จัดให้มีหลักสูตรการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีคนเมืองลุง
  - ให้เป็นนโยบายของจังหวัดที่ไม่ติดยึดกับบุคคล
  - ตัดหลักสูตรที่ตอบสนองระบบทุนนิยม
  - ให้มีหลักสูตรประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ท้องถิ่น


๘.ให้มีสถาบันการศึกษาภาคประชาชนเพื่อจัดการความรู้ของชุมชนท้องถิ่น


๙.ให้มีแผนพัฒนาจังหวัดภาคประชาชนควบคู่กับแผนของภาครัฐ


๑๐.การศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาตามนโยบายของรัฐต้องมีการศึกษาของภาคประชาชนควบคู่ไปด้วย๑๑.ภาคประชาชนควรมีการจัดตั้งเป็นองค์กรเครือข่ายที่ชัดเจนมีความต่อเนื่องเพื่อประสานความร่วมมือเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเขานาเลเพื่อประสานพลังกันอย่างจริงจังและมีฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายองค์กรที่ชัดเจน


๑๒.ควรมีการสรุปบทเรียนถอดบทเรียนพัฒนาการการต่อสู้ของกลุ่มต่างๆในจังหวัดพัทลุง


๑๓.มีเป้าหมายที่ชัดเจนในเรื่องอาหารปลอดภัยและความมั่นคงด้านอาหาร


๑๔.มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างเหมาะสม



คนพัทลุงคิดว่าภาคใต้ควรจะพัฒนาแบบยั่งยืนโดยมีข้อเสนอดังนี้(เวที๓๐ตค.
๕๒)


๑.เสนอให้รัฐบาลยกเลิกร่างแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืนที่กำหนดด้วยสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและจากการผลักดันโดยกลุ่มทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศในประเด็นเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่รวมถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวครบวงจรและเสนอให้ชะลอการดำเนินงานโครงการอุตสาหกรรมดังกล่าวทั้งที่เป็นการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐและเอกชนโดยเฉพาะโครงการที่มีเสียงคัดค้านจากประชาชน


๒.เสนอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมาชุดหนึ่งประกอบด้วย ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม โดยให้มีสัดส่วนตัวแทนจากภาคประชาชนเกินกว่ากึ่งหนึ่งเพื่อกำหนดร่างแผนแม่บทพัฒนาภาคใต้และเมื่อเสร็จสิ้นให้มีการจัดทำประชามติเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีแผนฯที่มีหลักการสำคัญดังนี้


  ๒.๑ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีฐานเดิมอยู่แล้ว ได้แก่อุตสาหกรรมการแปรรูปเกษตร อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมสัตว์น้ำและมีรูปแบบการลงทุนที่ให้ความสำคัญในการลงทุนจากวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ท้องถิ่น


  ๒.๒ ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตและการกระจายรายได้ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ


  ๒.๓ ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางอาหารและการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมพืชเศรษฐกิจหลัก เพื่อเพิ่มผลผลิตและเป็นกลไกช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะความผันผวนของตลาด


๒.๔ ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง ในการรับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้เสนอความต้องการและได้มีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นในการพัฒนาด้วยตนเอง


๒.๕ กิจการตามร่างแผนฯเดิมที่อยู่ระหว่างการดำเนินการหรือดำเนินการแล้วเสร็จต้องมีมาตรการป้องกันบำบัดฟื้นฟูผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาวะของประชาชนภายใต้กลไกที่ภาคประชาชนสามารถเข้าไปควบคุมกำกับได้


๓.เสนอให้คณะกรรมการดังกล่าวภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น


 เป็นกระบวนการผลักดันให้ร่างแผนแม่บทพัฒนาภาคใต้ที่ผ่านกระบวนการตามข้อแล้ว ถูกนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังต่อไป 


(ข้อมูลจากคุณเสณี จ่าวิสูตร คณะทำงานสมัชชาสุขภาพคนเมืองลุง และเมืองลุงสร้างสุข)

หมายเลขบันทึก: 511766เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

สุขภาพดี...วิถีเมืองลุง .... ดีจังเลยค่ะบัง

สวัสดีครับคุณหมอเปิ้น ขอบคุณครับที่มาให้กำลังใจ 18- 20  นี้ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ไบแทค บางนาครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์แผ่นดิน พลังที่จ่ายออกไป ย่อมได้รับพลังเข้ามา

เหมือนเคยให้ข้อคิดคนชุมชน ที่บ่นเรื่องคนมาดูงานมาก จนไม่มีเวลาพัฒนางานต่อไว้ว่า

"คนที่มาดูงาน ย่อมต้องนำสิ่งดีๆมาแลกเปลี่ยนเสมอ" อยู่ที่เราจะรับการแลกเปลี่ยนนั้นมาพัฒนาต่อเติมงานอย่างไร

ขอบคุณที่ต่อเติมพลังแก่กัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท