ประเพณีไทย : ประเพณี 12 เดือนของชาวเหนือ


ประเพณีไทย 12 เดือนของชาวเหนือ

สำหรับบทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับประเพณีไทยของชาวเหนือ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประเพณีตลอดระยะเวลา 12 เดือนของชาวเหนือว่าเค้ามีประเพณีอะไรบ้างและแต่ละเดือนเค้าเรียกว่าอย่างไร มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

  • เดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนเมษายน) เดือนนี้มีประเพณีการเล่นสงกรานต์ ประเพณีดำหัว - ปอย บวชลูกแก้ว (บวชเณร) - ขึ้นเรือนใหม่ - เลี้ยงผีปู่ย่า
  • เดือน 8 เหนือ (ตรงกับเดือนพฤษภาคม) มีปอยบวชเณร - ปอยหลวง (งานสมโภชทานวิหาร โบสต์ กำแพง ฯลฯ) ขึ้นบ้านใหม่ - แต่งงาน - วิสาขะบูชา - ไหว้พระธาตุ
  • เดือน 9 เหนือ (ตรงกับเดือนมิถุนายน) เดือนนี้อากาศมักร้อนจัด มีคำพังเพยว่า "เดือนเก้า หมาเฒ่านอนน้ำ" หมายถึงอากาศร้อนจัด จนสุนัขแก่ๆ ต้องไปนอนในน้ำ เดือนนี้มีประเพณีการไหว้พระธาตุ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ ในเดือน 9 เพ็ญ เดือนนี้หากฟ้าฝนดีก็เริ่มทำนา - ทำพิธีแฮกนา - หว่านกล้า
  • เดือน 10 เหนือ (ตรงกับเดือนกรกฎาคม) เดือน 10 เพ็ญ เข้าพรรษา - การทำนาเริ่มไถคราด หว่านกล้า - เริ่มเข้าฤดูฝน
  • เดือน 11 เหนือ (ตรงกับเดือนสิงหาคม) ปลูกนา - ดำนา - ทานข้าว คนเฒ่าจำศีล
  • เดือน 12 เหนือ (ตรงกับเดือนกันยายน) ฝนตกหนังน้ำมักท่วมในเดือนนี้ ประเพณีทางศาสนามีการทานข้าวสลากหรือก๋วยสลากในวันขึ้น 8-15 ค่ำ ถึงเดือน 12 แรม 15 ค่ำ - ในเดือน 12 เพ็ มีการทานอุทิศส่วนกุศลแด่คนตาย ถือว่ายมบาลปล่อยผีออกมารับของทานได้ ชีวิตประจำวันของชาวบ้านนอกจะเริ่มหว่านพันธุ์ผักเพื่อทำสวนต่อไป
  • เดือนเกี๋ยงเหนือ โบราณว่าเดือนเจียง (ตรงกับเดือนตุลาคม) ทำบุญออกพรรษา การทานสลากภัต - ทานกฐิน จนถึงเดือนยี่เพ็ญ ชาวบ้านเริ่มทำสวนปลูกผัก
  • เดือนยี่เหนือ (ตรงกับเดือนพฤศจิกายน) มีทานกฐินถึงวัน 15 ค่ำ ประเพณีลอยกระทงตามประทีป - ทอดผ้าป่า - ตั้งธรรมหลวงเทศน์มหาชาติ - เดือนนี้เป็นฤดูการทำสวนของชาวบ้าน
  • เดือน 3 เหนือ (ตรงกับเดือนธันวาคม) มีประเพณีเทศน์มหาชาติทานทอด (ทอดผ้าป่า) ชาวบ้านก็จะเริ่มเกี่ยวข้าวดอ เดือน 3 แรม เกี่ยวข้าวปี ในด้านชาวสวนก็จะเริ่มปลูกพืชล้มลุก เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอกและอื่นๆ
  • เดือน 4 เหนือ (ตรงกับเดือนมกราคม) ในเดือนนี้การเก็บเกี่ยวจะแล้วเสร็จ และเก็บเกี่ยวข้าวเข้ายุ้งฉาง เสร็จฤดูการทำนา เมื่อเก็บข้าวเสร็จแล้ว ก็มีการทำบุญเรียกว่า ทานข้าวจี่่ข้าวหลาม และประเพณีขึ้นเรือนใหม่แต่งงาน
  • เดือน 5 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์) มาฆะบูชามีการทำบุญปอยหลวง (งานมหกรรมฉลองสมโภช) หากมีศพพระก็มักจะทำพิธีเผาในเดือนนี้ เรียกว่าลากปราสาทศพพระ หรือทางไทยใหญ่เรียกว่า "ปอยล้อ" อากาศเริ่มร้อน
  • เดือน 6 เหนือ (ตรงกับเดือนมีนาคม) ในเดือนนี้มีการทำบุญปอยน้อย (บวชเณร - อุปสมบท) ขึ้นบ้านใหม่ - แต่งงาน

ก็เป็นประเพณีไทยคร่าวๆ ของชาวเหนือนะครับ แต่ละเดือนตลอดทั้งปีนั้นมีประเพณีอยู่ตลอดชาวเหนือจะเริ่มนับเดือนเหมือนในอดีตครับ จากด้านบนเราจะเห็นได้ว่าชาวเหนือติดอยู่กับประเพณีตลอดทั้งปีทำให้ชาวเหนือนั้นมีลักษณะนิสัยหรืออัธยาศัยที่ค่อนข้างดีครับ ก็แบบว่าได้เข้าวัดเข้าวัดทำบุญฟังธรรมกันอยู่เป็นประจำทำให้จิตใจนั้นสะอาด นิสัยโอบอ้อมอารี วันหลังจะเอาเนื้อหาประเพณีไทยของภาคอื่นๆ มาแนะนำกันนะครับว่าในปีๆ หนึ่งนั้นชาวไทยในแต่ละภูมิภาคมีประเพณีอะไรให้ทำกันบ้าง ท่านสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลฉบับเต็มได้ที่ url นี้เลยนะครับ http://thaicus.blogspot.com/2012/11/blog-post_28.html

หมายเลขบันทึก: 511400เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2012 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2016 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท