ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 24


**บทนี้มีที่ผิดหลายแห่งในตอนแรก ตอนนี้แก้ไขแล้ว ท่านที่เข้ามาอ่านตอนแรกๆ โปรดตรวจสอบอีกครั้ง**
  • การแจกคำนาม เพศหญิง อิ และ อุ การานต์
  • การใช้คุณศัพท์ อิ และ อุ การานต์

1. คำนามเพศหญิง ลงท้ายเสียง อิ และ อุ

     1) ลงท้าย อิ และ อุ นั้น แจกรูปคล้ายกันมาก ที่แตกต่างกันก็ตรง อิ การานต์จะมีกลุ่มเสียง อิ ย เอ อยฺ ส่วนอุ ก็จะเป็นเสียง อุ ว โอ อวฺ ในลักษณะที่เทียบเคียงกันได้ ลองสังเกตดูได้ ไม่ยาก

     2) คำนามเพศหญิง อิ การานต์ ใช้ มติ (ความคิดเห็น) เป็นแบบ ดังนี้

การก

เอกพจน์

ทวิพจน์

พหูพจน์

อาลปน

มเต mate

มตี matī

มตยสฺ matayas

กรฺตฺฤ

มติสฺ matis

มตี matī

มตยสฺ matayas

กรฺม

มติมฺ matim

มตี matī

มตีสฺ matīs

กรฺณ

มตฺยา matyā

มติภฺยาม matibhyām

มติภิสฺ matibhis

สมฺปฺรทาน

มตเย mataye

มตฺไย matyāi *

มติภฺยาม matibhyām

มติภฺยสฺ matibhyas

สมฺพนฺธ

มเตสฺ mates

มตฺยาสฺ matyās *

มติภฺยาม matibhyām

มติภฺยสฺ matibhyas

อปาทาน

มเตสฺ mates

มตฺยาสฺ matyās *

มตฺโยสฺ matyos

มตีนามฺ matīnām

อธิกรฺณ

มเตา matāu

มตฺยามฺ matyām *

มตฺโยสฺ matyos

มติษุ matiṣu

* เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง (แจกตาม อี การานต์ เพศหญิง)

     3) คำนามเพศหญิง อุ การานต์ ใช้ เธนุ (แม่โค) เป็นแบบ ดังนี้

การก

เอกพจน์

ทวิพจน์

พหูพจน์

อาลปน

เธโน dheno

เธนู dhenū

เธนวสฺ dhenavas

กรฺตฺฤ

เธนุสฺ dhenus

เธนู dhenū

เธนวสฺ dhenavas

กรฺม

เธนุมฺ dhenum

เธนู dhenū

เธนูสฺ dhenūs

กรฺณ

เธนฺวา dhenvā

เธนุภฺยาม dhenubhyām

เธนฺภิสฺ dhenubhis

สมฺปฺรทาน

เธนเว dhenave

เธนฺไว dhenvāi *

เธนุภฺยาม dhenubhyām

เธนฺภฺยสฺ dhenubhyas

สมฺพนฺธ

เธโนสฺ dhenos

เธนฺวาสฺ dhenvās *

เธนุภฺยาม dhenubhyām

เธนฺภฺยสฺ dhenubhyas

อปาทาน

เธโนสฺ dhenos

เธนฺวาสฺ dhenvās *

เธนฺโวสฺ dhenvos

เธนูนามฺ dhenūnām

อธิกรฺณ

เธเนา dhenāu

เธนฺวามฺ dhenvām *

เธนฺโวสฺ dhenvos

เธนุษุ dhenuṣu

* เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง(แจกตาม อู การานต์ เพศหญิง จะกล่าวถึงในบทถัดๆ ไป)

     4. การใช้คุณศัพท์ที่ลงท้ายเสียง อิ และ อู นั้น มักแจกรูปตามแบบ มติ และ เธนุ ตามลำดับ

  * คุณศัพท์ “ลงท้ายด้วยอุ และมีพยัญชนะนำหน้าตัวเดียว” หากจะแจกรูปนามเพศหญิงโดยเติม อี เข้าไปหลัง อุ แล้วทำสนธิตามปกติ เช่น

  • พหุ bahu > พหุ + อี  bahu + ī > พหฺวี bahvī
  • คุรุ guru > คุรุ + อี guru + ī > คุรฺวี gurvī

  เมื่อได้รูปที่ลงท้ายด้วยอีแล้ว ก็แจกตามแบบ เพศ หญิง อีการานต์ (แบบ นที) ได้เลย

  ** หากคุณศัพท์ที่ลงท้าย อุ นำไปขยายคำนามเพศชาย หรือ เพศกลาง ไม่ต้องเพิ่มเสียง อี เข้ามา**


คำศัพท์

บทนี้ไวยากรณ์น้อย จึงให้ศัพท์เยอะหน่อย

ธาตุ

  • √กฺฦปฺ , kálpate ตามลำดับ, ชักนำ เป็นไปเพื่อ
  • (ใช้กับ สัมปทานการก) เป็นธาตุตัวเดียวที่ใช้สระ ฦ
  • √ทิศฺ + อุป upadiśáti สอน
  • √วิทฺ2 vindáti, vindáte ได้รับ (คนละตัวกับ วิทฺ ที่แปลว่า รู้)

นาม

  • กลห ปุ. การทะเลาะ
  • กีรฺติ ส. เกียรติ
  • โคป ป. คนเลี้ยงวัว
  • ชาติ ส. ชาติ, วรรณะ, ชนิด
  • ธฺฤติ ส. ความสุขุม, ความหนักแน่น, ความกล้า
  • ปารฺถิว ป. พระเจ้าแผ่นดิน
  • พุทฺธิ ส. ความรอบคอบ ความฉลาดปัญญา
  • ภกฺติ ส. ความจงรักภักดี การบูชา
  • ภาค ปุ. ภาค ส่วน
  • ภูติ ส. ความมั่งคั่ง ความจริง การมีอยู่
  • ภูมิ ส. แผ่นดิน ดิน โลก
  • มกฺษิกา ส. แมลงวัน ริ้น
  • มุกฺติ ส. การปลดปล่อย ความหลุดพ้น
  • ยษฺฏิ ส. ไม้ ไม้เท้า
  • รศฺมิ ปุ. รัษมี ลำแสง สายบังเหียนม้า
  • ราตฺริ ส. กลางคืน
  • วฺรณ ปุ. บาดแผล
  • ศานฺติ ส. ความสงบ
  • ศฺรุติ ส. การได้ยิน คัมภีร์พระเวท
  • สฺมฺฤติ ส. ธรรมเนียม กฎหมาย
  • สฺวปฺน ป. การหลับ ฝัน
  • หนุ ส. คาง
คุณศัพท์
  • นีจ ปุ.นปุ., ส. นีจา  ต่ำ
  • มุขฺย ปุ.นปุ., ส. มุขฺยา สำคัญ
  • ลฆุ ปุ.ส.น., หรือ ลฆฺวี (ส.)เบา

แบบฝึก

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

  मक्षिका व्रणमिच्छन्ति धनमिच्छन्ति पार्थिवाः.

  नीचाः कलहमिच्छन्ति शान्तिमिच्छन्ति साधवः  ॥1 ॥

  • शान्त्यर्षय इह शोभन्ते.  1.
  • श्रुतौ बह्वीषु स्मृतिषु च धर्म उपदिश्यते.  2.
  • रात्र्यां स्वप्तां न लभामहे.  3. 
  • बह्वीं कीर्तिं धृत्याविन्दन्नृपतिः.  4. 
  • पुण्येन मुक्तिं लभध्वे.  5. 
  • बहूनिषून्रणे रिष्वक्षिपन्नृपतिः.  6.
  • हन्वामश्वां लघ्वा यष्ट्याताडयम्.  7.
  • नृपतेर्बुद्या क्षत्रियाणां कल्हो |शाम्यत्.  8.
  • श्रूदाणां जातयो नीचा गण्यन्ते.  9.
  • द्वीजातिनां जातिषू ब्राह्मणा मुख्याः.  10.
  • धर्मो भूत्यै कल्पते.  11.
  • जात्या क्षत्रियौ वर्तेथे.  12.
  • भूमेर्भागं ब्राह्मणायायच्छत्पार्थिवः.  13.
  • अश्वा अश्राम्यन्भूमावपतंश्च.  14.

2. แปลไทยเป็นสันสกฤต

  1. วิษณุ3 ยินดี4 กับการอุทิศตน2 ของเหล่าสาธุ1 และ6 ประทาน7 การหลุดพ้น5
  2. ชน3 หลาย1 วรรณะ(สัมพันธการก)2 อาศัย5 ในเมือง4
  3. นกทั้งหลาย1 เห็น3 นายพราน2 และ5 บินขึ้น6 จากพื้นดิน4
  4. ด้วยอำนาจ2 แห่งปัญญา1 เราเอาชนะ4 ทุกข์3
  5. คนเลี้ยงโค1 ดูแล4 โคทั้งหลาย3 ในป่า2
  6. ด้วยความฉลาด1 และ3 ความขยัน2 ท่านได้รับ6 เกียรติยศ5 มากมาย4
  7. บทกวี1 เป็นไปเพื่อ4 ชื่อเสียง2 แห่งฤษี3 (ใช้สัมปทานการก 2 คำ)
  8. เพื่อความมั่งคั่ง1 เราน้อมไหว้3 พระศิวะ2
  9. สายบังเหียนทั้งหลาย1 ถูกรัด4 (พนฺธฺ) ที่คาง2 ของม้า3
  10. ในตอนกลางคืน1 เราทั้งสองอ่าน3 คัมภีร์ศรุติ2 แล้ว
หมายเลขบันทึก: 511252เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2012 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

3) คำนามเพศหญิง อุ การานต์ ใช้ เธนุ (แม่โค) เป็นแบบ การกที่ 1 2 3 ทวิพจน์ ทำไมตัวโรมันของอาจารย์ถึงเป็นมตีละค่ะ

คุณศัพท์ “ลงท้ายด้วยอุ และมีพยัญชนะนำหน้าตัวเดียว” หากจะแจกรูปนามเพศหญิงโดยเติม อิ เข้าไปหลัง อุ แล้วทำสนธิตามปกติ

วิธีนี้ปกตินิยมกันมากไหมค่ะ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปหรือไม่ ?

  • นามหญิงอิการานต์ การกที่ 4 เอกพจน์ ตัวโรมันไม่ตรงกับไทยคะ แล้วก็การกที่ 8 กับ 1 ก็ไม่ตรงกันคะ รู้สึกอาจารย์จะตกจุดไป

ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด บาลีน่าจะง่ายกว่า

ขอบคุณครับ คุณ ศรีฯ ที่่่ช่วยดูที่ผิดให้

พอดีไป ตจว ไม่สะดวกใช้เน็ตเลยครับ

แก้ที่ผิดตามที่บอกแล้ว

 

การใช้คุณศัพท์ตามที่บอกนั้น มีมากครับ พบได้ทั่วไป

 

ขอบคุณมากครับ คุณ pap2498

  1. แปลไทยเป็นสันสกฤต

2.) ชน3 หลายวรรณะ(สัมพันธการก)2 อาศัย5 ในเมือง4

ข้อนี้คำไหนเป็นอันดับที่ 1 ค่ะ ?

ขออนุญาตข้ามข้อสองไปก่อนนะค่ะ รอคำตอบจากอาจารย์หมูอีกทีว่าคำไหนเป็นลำดับที่หนึ่ง ..

  1. แปลไทยเป็นสันสกฤต

1.) วิษณุ3 ยินดี4 กับการอุทิศตน2 ของเหล่าสาธุ1 และ6 ประทาน7 การหลุดพ้น5 = สาธูนำ ภกฺตฺยา วิษฺณุะ ตุษฺยติ มุกฺติ จ ยจฺฉติ

3.) นกทั้งหลาย1 เห็น3 นายพราน2 และ5 บินขึ้น6 จากพื้นดิน4 = วิหคา วฺยาธํ ปศฺยนฺติ ภูเมะ จ อุตฺปตนฺติ

4.) ด้วยอำนาจ2 แห่งปัญญา1 เราเอาชนะ4 ทุกข์3 = พุทฺเธาธฺฤตฺยา ทุะขํ ชยามิ

5.) คนเลี้ยงโค1 ดูแล4 โคทั้งหลาย3 ในป่า2 = โคโป วเน เธนูรฺรกฺษติ

6.) ด้วยความฉลาด1 และ3 ความขยัน2 ท่านได้รับ6 เกียรติยศ5 มากมาย4 = พุทฺธฺยา อุทฺโยคะ จ _ กีรตํ ลภสิ ( ส่วนที่เว้นไว้คือคุณศัพท์ที่แปลว่ามากมาย ข้อนี้คือหนูต้องผันคุณศัพท์ให้ตรงกับคำว่าเกียรติยศ (กีรฺติ)หรือเปล่าค่ะ , ถ้าใช่หนูอาจจะยังผันไม่ได้เพราะอาจารย์ยังไม่เคยให้คุณศัพท์ที่ลงท้ายสระอิเลยคะ มีแค่ ปฺรภูต - ปฺรภูตา )

7.) บทกวี1 เป็นไปเพื่อ4 ชื่อเสียง2 แห่งฤษี3 (ใช้สัมปทานการก 2 คำ) = กาวฺยํ กีรฺตฺเย ฤเษา ภวติ

8.) เพื่อความมั่งคั่ง1 เราน้อมไหว้3 พระศิวะ2 = ภูตเย ศิวํ นมามิ

9.) สายบังเหียนทั้งหลาย1 ถูกรัด4 (พนฺธฺ) ที่คาง2 ของม้า3 = รศฺมีนฺหเนา อศฺวสฺย พธฺยนฺเต

10.) ในตอนกลางคืน1 เราทั้งสองอ่าน3 คัมภีร์ศรุติ2 แล้ว = ราเตฺรา ศฺรุติํ อปฐาวเห

1.) พระวิษณุ3 ยินดี4 กับการอุทิศตน2 ของเหล่าสาธุ1 และ6ประทาน7การหลุดพ้น5 = สาธูนำ ภกฺตฺยา วิษฺณุะ ตุษฺยติ มุกฺติ จ ยจฺฉติ. => สาธูนำ ภกฺตฺยา วิษฺณุสฺตุษฺยติมุกฺติมุกฺตึ จ ยจฺฉติ.

3.) นกทั้งหลาย1 เห็น3 นายพราน2 และ5 บินขึ้น6 จากพื้นดิน4 = วิหคา วฺยาธํ ปศฺยนฺติ ภูเมะภูเมศฺจ อุตฺปตนฺติ. (จ อุตฺปตนฺติ > โจตฺปตนฺติ)

4.) ด้วยอำนาจ2 แห่งปัญญา1 เราเอาชนะ4 ทุกข์3 =พุทฺเธาพุทฺเธรฺธฺฤตฺยา ทุะขํ ชยามิ.

6.) ด้วยความฉลาด1 และ3 ความขยัน2 ท่านได้รับ6 เกียรติยศ5 มากมาย4 = พุทฺธฺยา อุทฺโยคะอุทฺโยเคน พหฺวีมฺกีรตึ ลภสิ. มากมาย ใช้ พหุ เติม อี เป็น พหฺวี แล้วแจกเหมือน นที

(พหฺวีมฺ ตรงนี้ มฺ ควรเป็นนิคหิต แต่แป้นพิมพ์นี้ใส่ไม่ได้)

7.) บทกวี1 เป็นไปเพื่อ4 ชื่อเสียง2 แห่งฤษี3 (ใช้สัมปทานการก 2คำ) = กาวฺยํ กีรฺตเย ฤเษาฤเษะภวติกลฺปเต(√กฺฦปฺ)

9.) สายบังเหียนทั้งหลาย1 ถูกรัด4 (พนฺธฺ) ที่คาง2 ของม้า3 =รศฺมีนฺหเนา อศฺวสฺย พธฺยนฺเต.

รศฺมยสฺ หเนา อศฺวสฺย พธฺยนฺเต > รศฺมโย หนฺวาศฺวสฺย พธฺยนฺเต)

สายบังเหียนต้องเป็นกรรตุการก ประธานของประโยค

(สายบังเหียนหลายเส้น ม้าควรเป็นพหูพจน์ = รศฺมโย หนุษฺวศฺวานำ พธฺยนฺเต)

10.) ในตอนกลางคืน1 เราทั้งสองอ่าน3 คัมภีร์ศรุติ2 แล้ว = ราเตฺราศฺรุติํ ศฺรุติมปฐาวเห.

ศฺรุติ เป็นกรรม > ศฺรุติมฺ (ข้อนี้กริยาถูกแล้ว แต่ลืมสนธิ)

 

สีเขียวคือ ที่ผิด เพราะแจกรูปตามที่ผมให้ไว้ผิด ให้แก้ใหม่นะครับ

(เที่ยวนี้ขออภัยจริงๆ รีบๆ แล้วใช้เครื่องไม่สะดวก)

อ่อ..ไม่เป็นอะไรหรอกคะอาจารย์ ไว้อาจารย์ว่างๆสะดวกแล้วค่อยมาตรวจก็ได้ หนูรอได้คะ จะได้ทบทวนของเก่าแล้วก็ท่องศัพท์ไปด้วย

  • อาจารย์ช่วยแยกคำนี้ให้ดูหน่อยคะ หนุษฺวศฺวานำ ?

  • คุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วยสระอุมีไหมค่ะ ?

  • ข้อสี่ พุทฺเธสฺ การกที่เท่าไหร่และเป็นพจน์ไหนค่ะ ?

ขอบคุณคะ..

พหุ กับ คุรุ เป็นคุณศัพท์แปลว่าหนักนะค่ะ

หนุษฺวศฺวานำ < หนุษุ อศฺวานามฺ

พุทฺธิื > พุทฺเธสฺ  5-6 เอกพจน์, ใช้ พุทฺธฺยาสฺฺ ก็ได้

คุณศัพท์ลงอุก็มีมาก แต่ถ้าใช้เป็นเพศหญิง มักจะเติมอีก่อนเท่านั้นเองครับ

พหุ แปลว่ามาก, คุรุ แปลว่า หนัก

 

  1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

शान्त्यर्षय इह शोभन्ते. 1. = ความสุขสงบทั้งหลายส่องสว่างโดดเด่นในโลก

श्रुतौ बह्वीषु स्मृतिषु च धर्म उपदिश्यते. 2. = กฎหมายและธรรมะถูกสอนกันมากในคัมภีร์พระเวท

रात्र्यां स्वप्तां न लभामहे. 3. = เราทั้งหลายไม่ได้รับความฝันในตอนกลางคืน

बह्वीं कीर्तिं धात्याविन्दन्नृपतिः. 4. -

पुण्येन मुक्तिं लभध्वे. 5. = ท่านทั้งหลายรับการปลดปล่อยด้วยผลบุญ

बह्व्निषून्रणे रिष्वक्षिपन्नृपतिः. 6. -

हन्वामश्वां लघ्वा यथ्याताडयम्. 7. -

नृपतेर्बुद्या क्षत्रियाणां कल्हो |शाम्यत्. 8. -

श्रूदाणां जातयो नीचा गण्यन्ते. 9. -

द्वीजातिनां जातिषू ब्राह्मणा मुख्याः. 10. = พราหมณ์ทั้งหลายมีความสำคัญสำหรับชาวอารยัน

धर्मो भूत्यै कल्पते. 11.= ธรรมมะเป็นไปเพื่อความจริง

जात्या क्षत्रियौ वर्तेथे. 12. = กษัตริย์ทั้งสองดำรงอยู่ได้ด้วยวรรณะ

भूमेर्भागं ब्राह्मणायायच्छत्पार्थिवः. 13. พระเจ้าแผ่นดินได้มอบแผ่นดินบางส่วนให้แก่พราหมณ์แล้ว

अश्वा अश्राम्यन्भूमावपतंश्च. 14. -

ได้แค่นี้เองค่ะ .. ^ - ^

ทำไม √สทฺ ถึงเป็น สีทติ ละค่ะ หนูลืมแล้ว อิอิ ไปเปลี่ยนเป็นสระอีตรงช่วงไหน

 

शान्त्यर्षय इह शोभन्ते. 1. = ความสุขสงบทั้งหลายส่องสว่างโดดเด่นในโลก

ศานฺตฺยา ฤษยสฺ อิห โศภนฺเต. ด้วยความสุขสงบ ฤษีทั้งหลายส่องสว่างในโลก

बह्वीं कीर्तिं धृत्याविन्दन्नृपतिः. 4. - พหฺวีมฺ กีรฺติมฺ ธฺฤตฺยา อวิทตฺ(√วิทฺ2) นฺฤปติสฺ

(โจทย์เขียน धृत्या ผิด) พระราชาทรงได้รับเกียรยศมากแล้ว เพราะ/ด้วยความกล้าหาญ

बहूनिषून्रणेsरिष्वक्षिपन्नृपतिः. 6. (โจทย์เขียน बहूनि ผิด) พหูนฺ อิษูีนฺ รเณ อริษุ อกฺษิปตฺ(√กฺษิปฺ) นฺฤปติสฺ

ในสงคราม พระราชาทรงยิงศรจำนวนมากไปยังอริทั้งหลาย

हन्वामश्वां लघ्वा यष्ट्याताडयम्. 7. หนฺวามฺ อศฺวานฺ ลฆฺวา่ (โจทย์เขียน यष्ट् ผิด) ยษฺฏฺยา อตาฑยมฺ(√ตฑฺ)

ฉันตีม้าทั้งหลายแล้วเบาๆด้วยไม้ ที่คาง (ทั้งหลาย). ลฆุ เป็น ลฆฺวา แปลว่า อย่างเบา (ด้วยความเบา)

โปรดสังเกต อศฺวามฺ ตรงนี้งงกันมาก อศฺวานฺ ลฆฺวา > อศฺวาลฺ ลฆฺวา (अश्वाल्ँ लघ्वा) ตรง ลฺ ตัวแรกมีัเสียงนาสิก แต่เขียนยุ่งยาก จึงมักเขียนไม่มีเสี้ยวจันทร์และลบ ลฺ ออกไป เป็น อศฺวำ (अश्वां)

नृपतेर्बुद्या क्षत्रियाणां कल्होsशाम्यत्. 8. นฺฤปเตสฺ พุทฺธฺยา กฺษตฺริยาณามฺ กลฺหสฺ อศามฺยตฺ

ด้วยพุืทธิปัญญาของพระราชา การทะเลาะของนักรบทั้งหลายได้สงบ(ยุติ)แล้ว.

*โปรดสังเกต การทะเลาะ เป็นเอกพจน์ กริยาเป็นเอกพจน์ แต่นักรบเป็นพหูพจน์

श्रूदाणां जातयो नीचा गण्यन्ते. 9. ศฺรูทาณามฺ ชาตยสฺ นีจา คณฺยนฺเต.

ชาติกำเนิดของศรูททั้งหลาย ถูกถือว่าต่ำ.

*คณฺ แปลว่า นับ แต่แปลว่า เห็นว่า ก็ได้

द्वीजातिनां जातिषू ब्राह्मणा मुख्याः. 10. = พราหมณ์ทั้งหลายมีความสำคัญสำหรับชาวอารยัน

พราหมณ์(ทั้งหลาย)เป็นใหญ่/สำคัญ ในบรรดาชาติกำเนิดทั้งหลายแห่งอารยัน

*จะแปลว่า พราหมณ์เป็นใหญ่ที่สุดในหมู่ทวิช (ทวิช คือ ผู้ที่เ้ข้าพิธีอุปนยนะ ได้แก่ 3 วรรณะแรก)

जात्या क्षत्रियौ वर्तेथे. 12. = กษัตริย์ทั้งสองดำรงอยู่ได้ด้วยวรรณะ

ชาตฺยา กฺษตฺริเยา วรฺตเถ(√วฺฤตฺ). โดยชาติกำเนิด ท่านทั้งสองกลา่ยเป็น(ได้เป็น)กษัตริย์/นักรบ

अश्वा अश्राम्यन्भूमावपतंश्च. 14. - อศฺวาสฺ อศฺรามฺยนฺ ภูเมา อปตนฺ จ. (โปรดสังเกตสนธิ)

ม้าทั้งหลายท่องไปแล้วบนพื้น และ(ม้าทั้งหลายนั้น)ล้มแล้ว

 

अश्वा अश्राम्यन्भूमावपतंश्च. 14.แปลว่า ม้าทั้งหลายท่องไปแล้ว และ(ม้าทั้งหลายนั้น)ล้มแล้ว"บนพื้น" ดีกว่า..

สทฺ > สีทฺ เป็นรูปพิเศษครับ ให้ไว้ในบทแรกๆ เลย


मक्षिका व्रणमिच्छन्ति धनमिच्छन्ति पार्थिवाः.

नीचाः कलहमिच्छन्ति शान्तिमिच्छन्ति साधवः ॥1 ॥

ไม่ยากครับ ลองแปลดู  แยกสนธิให้ก็ได้


มกฺษิกาสฺ วฺรณมฺ อิจฺฉนฺติ  ธนมฺ อิจฺฉนฺติ ปารฺถิวาสฺ

นีจาสฺ กลหมฺ อิจฺฉนฺติ  ศานฺติมฺ อิจฺฉนฺติ สาธวสฺ.

แมลงวันทั้งหลายต้องการบาดแผล  พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายปราถนาทรัพย์สมบัติ

ความต่ำช้าต้องการการทะเลาะ       นักบวชทั้งหลายปราถนาความสงบสุข

"คน"ต่ำช้าต้องกา่รการทะเลาะ, ที่เหลือถูกแล้วครับ

อาจารย์ค่ะบาลีเขามีสนธิกันสะบั้นหั่นแหลกแบบสันสกฤตนี้ไหมเอ่ย ทั้งสนธิภายนอกและภายใน

บาลีสนธิไม่หนักขนาดนี้ครับ สนธิภายในน่าจะใกล้เคียงกัน แต่สนธิภายนอกไม่ยุ่งยากเท่า เน้นสนธิสระมากกว่า 

ตอนนี้หลักสนธิเกือบหมดแล้วครับ ;)

แจกรูปนามก็เกือบหมดแล้ว เหลือแต่รูปพิเศษ ค่อยทยอยเรียนกันไป

ที่เหลือมากหน่อยก็แจกรูปกริยา และสรรพนาม..

อาจารย์ค่ะ भगवते มันมาจากธาตุอะไรอะค่ะ เห็นแต่ เต ที่แจกเป็นอาตมเนบท ที่เหลือลองหาดูแล้วไม่เจอคะ.. อิอิ

เข้าใจว่าความหมายคงจะเหมือนกับธาตุ √नम्    เอ๊ะ!!  หรืออาจารย์เคยบอกมาแล้วแต่หนูลืมเอง แหะๆ

ภควเต คำนี้ไม่ใช่กริยา เป็นนาม

เดิมมาจากคำว่า ภค ที่แปลว่าโชค เติม วตฺ เข้าไป เป็น "ผู้มี.." ได้รูป ภควตฺ แล้วนำไปแจกการก

ภควเต ก็การกที่ 4 แด่พระผู้มีพระภาค

ในตำราสวดภาษาบาลี บางทีแปลว่า ผู้แจกจ่าย(ธรรมะ)  เพราะเชื่อว่ามาจากธาตุ ภชฺ ที่แปลว่า แบ่ง


เล่าไว้แล้ว เรื่อง "ภควาน ในวรรณคดีสันสกฤต" http://www.gotoknow.org/posts/476274

ขอบคุณคะ.. อีกสักเรื่องคะคือหนูอยากจะทราบว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะต้องใส่จุดตรงที่หน้าพยัญชนะที่อยู่หน้าสระ ฤ หรือเปล่าเช่น กฤษฺณ / कृष्ण กับ นฺฤปติ / नृपति  เหมือนกันเป๊้ยบเลยเทวนาครี เลยสับสนคะ

อาจารย์ตอบข้อนี้ด้วยคะ รออยู่ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท