มารู้จัก ICF ในการบำบัดรักษา


มารู้จัก ICF ในการบำบัดรักษา


มารู้จัก ICF (International Classification of Functioning,
Disability and Health) จาก 3 กรณีตัวอย่าง และความเห็นในการแก้ไขปัญหา

 ICF คือบัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงานความพิการและสุขภาพ ใช้อธิบายสุขภาพในมิติการทำงานของร่างกายโครงสร้าง กิจกรรม และการมีส่วนร่วม

ICF สนใจใน 3 มิติ คือ

 1. การรักษาร่างกาย(Body Function& Structure) เชื่อมกับร่างกายบกพร่อง (Impairments)

2. การทำกิจกรรม(Activity) เชื่อมกับ ทำกิจกรรมอย่างจำกัด(Limitation)

3. การมีส่วนร่วม(Participation) เชื่อมกับทำส่วนร่วมไม่ได้(Restrictions)

หมายเหตุ

- การทำกิจกรรมและการมีส่วนร่วมนั้นจัดเป็น area of occupation

- สิ่งแวดล้อมที่เราสนใจนั้นประกอบไปด้วย
ทางกาย ทางสังคม และทางความคิด

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(Contextual Factors)

1.สิ่งแวดล้อม(Environment Factors) เช่น
ครอบครัวให้กำลังใจ , ทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นต้น

2.บุคคล(Personal Factors) เช่น มีส่วนร่วม , สามารถทำกิจกรรมได้
, ใช้เวลาว่างได้

ประโยชน์ของ ICF

1.รวบรวมบันทึกข้อมูลสถิติ

2.วัดผลลัพธ์ของคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

3.การประเมินความต้องการและผลลัพธ์การฟื้นฟูสุขภาพ

4.แผนประกันสิ่งแวดล้อมและสังคม

5.วางหลักสูตร

กรณีตัวอย่างที่ 1 คนไข้เป็นโรคหัวใจมีเครื่องหมาย ICF code ว่า
มีหัวใจโตเกินไป ทำ ADL (กิจวัตรประจำวัน) ไม่ได้ และ
สิ่งแวดล้อมในบ้านไม่เหมาะสม

- ในกรณีนี้ มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย อาจต้องรู้ว่าโรคหัวใจมีสาเหตุมาจากอะไร
แล้วประเมินกิจกรรมของผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ว่ามีความสามารถในการทำกิจกรรมได้มากน้อยเพียงใด
เราอาจสอบถามว่าผู้ป่วยชอบทำกิจกรรมอะไรเป็นพิเศษ แล้วคำนวณแรงของกิจกรรมที่ทำ
ว่ากิจกรรมใดสามารถทำได้บ้าง แล้วอาจต้องปรับสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ให้สถานที่หรือสิ่งของที่จะใช้
อยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถ และหยิบจับได้สะดวก
ไม่ต้องออกแรงมาก และสามารถใช้อุปกรณ์เสริมมาช่วยในการผ่อนแรงของผู้ป่วยในการทำกิจกรรม
เพื่อไม่ให้คนไข้เหนื่อยง่าย

กรณีตัวอย่างที่ 2 คุณยายเป็นโรคมะเร็ง จะตายภายใน 3 เดือนนี้ อยู่โรงพยาบาลตลอด

- ในกรณีนี้เราสามารถปรับสิ่งแวดล้อมทางจิตใจของผู้ป่วยและปรับสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น ให้ครอบครัวและคนในสังคมของผู้ป่วยให้กำลังใจผู้ป่วยเพื่อให้ดีขึ้นหรืออยู่ได้นานมากขึ้น,
หากิจกรรมที่ชอบและอยากทำ ให้ผู้ป่วยมีความสุขมากที่สุด,เปลี่ยนบรรยากาศ
หาสถานที่ที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทำกิจกรรมที่ชอบกับเพื่อนๆ และคนในสังคม
เพื่อที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกว่าเบื่อและเหมือนกับว่าตนเองอยู่คนเดียว , หากรณีตัวอย่างที่เป็นโรคมะเร็งเหมือนกัน
แล้วให้แลกเปลี่ยนความคิดของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยมีความคิดในทางบวกมากขึ้นเป็นต้น


กรณีตัวอย่างที่ 3 นักศึกษาปีที่1 ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ แต่อยากเป็นหมอ

- ในกรณีนี้อาจพิจารณาถึง Body Functions ของผู้ป่วยในทางด้านต่างๆ
เช่น มีความกบพร่องในเรื่องอะไรบ้าง และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกของตัวผู้ป่วย
ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกมามีผลดีหรือส่งผลเสียให้ผู้ที่อยู่รอบข้างหรือเปล่า ด้วยการหากิจกรรมที่ให้เขาได้รู้จักตนเองมากขึ้น
ว่าที่อยากเป็นหมออยากเป็นเพราะตัวของเขาเอง หรือมีใครมาบังคับให้เป็นหรือเปล่าโดยการเปลี่ยนทัศนคติของเขา และให้เขาได้รู้ถึงคุณสมบัติของหมอ ว่าเขาสามารถเป็นได้หรือเปล่า
ถ้าไม่ได้ควรบอกด้วยเหตุผล สาเหตุต่างๆ ให้เข้าใจหรือแนะนำอาชีพสายทางการแพทย์อื่นๆ
ให้เขาฟัง

- ด้านสังคม ควรกระตุ้น เข้าใจและช่วยเหลือเขา ในเหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ ควรดูพฤติกรรมเรื่อยๆ , เปิดใจคุย ,
เก็บความรู้สึกหรือลดอารมณ์ให้ใจเย็นๆใช้เหตุผลคุยกันหรือแนะนำให้เขากิจกรรม เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬา เข้าชมรม เป็นต้น

- สำหรับสิ่งแวดล้อมในครอบครัว ควรให้เวลาให้กำลังใจ ดูแลอย่างใกล้ชิด- 
ด้าน Capacity  เราดูที่ความสามารถที่ทำในระหว่างทาง ถ้ามีความสามารถที่ดีให้ส่งเสริม
ถ้าถ้าพฤติกรรมที่ไม่ดีก็ให้ลดลง



ใครอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมของ ICF ไปได้ที่ www.who.int/classification/icf/en

หมายเลขบันทึก: 510757เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2012 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท