"ข้าวต่อ" คือขนม / อาหารว่าง / การต่อเครือญาติ ???


จากการศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์และทางสังคม วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และจากตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน ที่มี พญานาค 2 ตัว  และดอกบานชื่น  จึงพบว่า อำเภอนี้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของพื้นที่เวียงพิงค์ทางด้านตะวันออกของเมือง

               จึงเป็นที่มาว่าทำไมหมู่บ้านในสันทรายทำ " ข้าวแต๋น" กันมากมาย มีข้าวสารเหนียวไว้ทุกบ้าน มีผืนนาที่กว้างใหญ่มหาศาล ( สมัยก่อนนั้น) มีหมู่บ้านชื่อ "บ้านข้าวแท่นน้อย ข้าวแท่นหลวง  "  คงมาจากหมู่บ้านที่ทำข้าวแต๋นมานาน เพราะทุกวันนี้ยังทำกันทุกวัน 

              และทางหมู่บ้านตำบลแม่แฝกออกไปทางทิศเหนือมีการทำ " ข้าวต่อ"  ที่เป็นขนมชื่อมงคล และใช้แบ่งปันกันในเทศกาลต่างๆ  ปัจจุบันทำกันไม่มากเพราะมีอุปกรณ์ที่สำคัญที่หายาก คือ " ครกมอง" ใช้การตำแบบกระดานหก"ครกกระเดื่อง"  ใช้เทคนิคในการตำข้าวสุกให้ละเอียดเหนียว จึงขอเล่าตามภาพนะคะ

                    ใช้ข้าวเหนียวนึ่งสุกนะคะ  

  

นำข้าวสารเหนียวที่แช่แล้วไปนึ่งให้สุก(นึ่งไข่ไปด้วย)


เคี่ยวน้ำอ้อยเพื่อใช้ผสมในข้าวให้สีและรสชาติกลิ่นหอม


นำข้าวสุกร้อนๆไปตำด้วย "ครกมอง" ครกกระเดื่อง


ใส่น้ำอ้อยที่เคี่ยวไว้คนและตำต่อไปให้เป็นเนื้อเดียวกัน


นำขึ้นมาเตรียมรีดเป็นแผ่น


ก่อนจะรีดใช้ไข่แดงสุกผสมน้ำมันหมูทาที่รองและมือไม่ให้ติดไม้คลึง(ไข่ใบที่นึ่งในไหข้าว)


รีดคลึงเป็นแผ่นบางพอสมควร


นำออกตากแดด 2 ชั่วโมง



เมื่อแห้งนำมาตัดเป็นชิ้นๆ


นำออกตากแดดให้แห้ง


เตรียมคั่วด้วยทรายหยาบ การคั่วทรายให้ร้อน ( เตาภูมิปัญญาจริงๆ ปิ๊บคือปล่องควัน)


ตักทรายที่ร้อนใส่หม้ออลูมิเนียมใส่ข้าวต่อในหม้อทรายร้อน


เขย่าๆๆ...เทคนิคเฉพาะตัว ทำให้ข้าวต่อพองตัว


ลูกๆก็หัดจนได้ ประทับใจครู  อิอิ


ว๊าวๆๆ..ออกมาแล้วโดนทรายร้อนข้าวต่อก็พองผุดออกมาน่าอัศจรรย์ใจ 


ยกหม้อเทลงตะกร้าให้ทรายหลุดออกไป ข้าวต่อยังอยู่ในตะกร้า (  รู้จักทำจริงๆ  ไม่มีทรายติดนะคะ สะอาดมากๆ ร้อนๆ

 ต่อจากนั้นนำไปบรรจุในถุงที่ปิดปากแน่นไม่ให้ดดนอากาศ งั้นก็จะไม่กรอบ มีรสดั้งเดิม  แต่ๆๆๆ...  ( กำลังดัดแปลงทำรสชาตินะคะ)

                                        ขอขอบคุณพี่คนดีบ้านแม่แต ตำบลแม่แฝก  อ. สันทราย จ. เชียงใหม่  มากๆนะคะ 

   แล้วในสถานศึกษาจะต้องคิดต่อไปว่าจะสืบทอดภูมิปัญญานี้ไว้แบบใดบ้าง และทำอะไรที่จะช่วยชาวบ้านไม่ให้ทิ้งอาชีพทำข้าวต่อไปกลัวสูญหาย

    จะมีน้อยมากที่คนจะรู้จักข้าวต่อ   บางคนรู้จัก ข้าวแคบ  ข้าวแต๋น   ข้าวควบ   แต่ ข้าวต่อ ยัง งงๆๆ...ต่อไปไม่ งง นะคะ  

หมายเลขบันทึก: 510626เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2012 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2015 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

ข้าวแคบ ดูแล้วน่ากินไม่แพ้ขนมถุงที่ใส่สองสีสดใสเลยนะคะ :) ไปสันทรายจะได้ชิมไหมหนอ

มาให้กำลังใจไวแท้นนะคะคุณหมอ ค่ะข้าวแคบจะเป็นแผ่นกลมมีทุกสีสมัยนี้นะคะ แต่ข้าวต่อหาดูและหากินยากมีในตลาดชุมชนบ้านนอกเมืองนะคะ ได้เตรียมผลิตภัณฑ์จากข้าวทุกชนิดมานำเสนอในงาน "GFGAP" แล้วค่ะ และมีให้ชิมและเป็นของฝากมากมายค่ะ

นักเรียนนำเสนอผลิตภัณฑ์จากข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการ นะคะ

สุดยอดมาก ภูมิปัญญาขั้นเทพ ... โดโซะ ข้าวพองญี่ปุ่นคงต้องหลบไปก่อน ค่ะพี่สาว เยี่ยม ๆๆๆ

มหัศจรรย์มากครับ...ขอบคุณบันทึกของคุณครูที่ทำให้ผมได้รู้ถึงคุณค่าของขนม...ภูมิปัญญา...และความงดงามของกระบวนการ...ผู้คน...และวิถีชีวิตมากครับ...เป็นมากกว่าขนมจริงๆ ครับ

Ico48  ก็ตะลึงๆๆ.. เช่นกันที่ไปพบการทำขนมที่ไม่มีในหลักสูตร  นะคะ น้องหนูรี และใช้ภูมิปัญญาที่ทำมากันนมนาน  ไม่มีเครื่องวัด ตวง ชั่ง ไม่มีแม่พิมพ์  ทุกอย่างทำตามความเคยชิน  และกระบวนการที่ไม่มีในห้องปฏิบัติการ ฮา...

Ico48  ใช่ค่ะ สุดยอดกับฝีมือคุณพี่คนนี้ที่บอกว่าทำครั้งหนึ่งได้กำไรพออยู่ได้  ตั้ง 10กว่าชิ้น 5 บาท ถูกที่สุด  ทรายที่ใช้คั่วก็ไปหาบจากใต้น้ำแม่ปิง เดือนละครั้ง กระบวนการอยากพัฒนาการเข่ยาหม้อเป็นเครื่องคั่วแบบคั่วกาแฟ  น่าจะได้นะคะ  ใช้แรงยกหม้อทรายหนักมากค่ะ   

Ico48  ได้เลยค่ะ อาจารย์จัน อร่อยกรอบเวลาหิวก็หยิบเข้าปากแบบเพลินไปเลยค่ะ ขนมพื้นบ้านไม่มีเครื่องปรุงรส ช่างดีที่สุดนะคะ

 ขั้นตอนก่อนจะได้กิน ภูมิปัญญาเยี่ยมมากค่ะ อยากชิมมาก พี่ดายังไม่เคยได้ชิมเลยอยู่เชียงใหม่มาตั้งนานหลายสิบปี เวลามีงานไม้ดอกไม้ประดับ ฝากบอกปีนี้ทำมาขายที่ซุ้มของอำเภอสันทรายหน่อย น่าจะมาแสดงให้นักท่องเที่ยวชมมากๆ นำภาพมาก็ได้ แล้วทำสำเร็จมาขายเลย  

ขอบคุณมากนะคะนำสิ่งที่ดีๆหาชมไม่ได้แล้วมาให้ชมกันชัดๆอย่างนี้

Ico48

ได้เลยค่ะพี่ดา ได้ขอให้ขยายกำลังการผลิตมากขึ้นเพื่อรองรับการนำมาเผยแพร่ แบบนี้แหละค่ะ  จะพัฒนากระบวนการ การจัดการตลาด ให้ คุณพี่ก็ยินดีมากค่ะ  จะนำมาให้ลองชิมแน่นอนค่ะ "ที่สันทรายวิทยาคม"  หรือเวลาพบกันนะคะ  แบบนี้คือข้าวแคบ ยังทำตลอดทุกวันที่บ้านแม่ปูคา สันกำแพงค่ะ 

สวัสดีค่ะKrutoom

เข้ามาติดตามอ่านด้วยความสนใจเพราะไม่เคยรู้จักขนมชนิดนี้ค่ะ  และเมื่ออ่านก็พบความถึงคุณค่าของภูมิปัญญา ที่แยบยล ทั้งวัสดุและวิธีการทำ กว่าจะเป็นขนม ...ข้าวต่อ.... ขอบคุณที่นำเสนอได้ชวนติดตาม และขอร่วมภูมิใจ ขนมไทยของเราด้วยค่ะ :-))

  • ข้าวต่อ อี้กาเจ้า นึกว่าข้าวควบหน้อย
  • เป๋นว่ามีหลายขั้นต๋อนจะอี้กา 
  • ดีละตี้เอาละอ่อนไปเฮียนฮู้ไว้
  • จะได้สืบทอดของดีๆ ภูมิปัญญาคนเฒ่า บ่ฮื้อสูญหาย
  • เป๋นกำลังใจฮื้อครูตูมเน้อเจ้า

-สวัสดีครับ

-เข้ามาทำความรู้จัก"ข้าวต่อ"

-บ่เกยหันซักเตื่อครับ

-น่าสนใจ๋ดีขนาด

-เหมือนกับที่ศิษย์พี่หนูรีบอกไว้ ขนมญี่ปุ่นหลบไปก่อน

-ขอบคุณภูมิปัญญาดี ๆ แบบนี้ด้วยนะครับ

 

ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย น่าสนใจมากครับ

ว่างๆ จะแวะไปชิมนะครับ พี่ตูม

เคยได้ลิ้มลองตอนเด็กๆ ค่ะ

ดูเหมือนทรายจะเม็ดโตมากๆ เป็นทรายอะไรคะพี่ตูม  :)

เด็ก ๆ สนุกสนาน...ต่อยาวได้แน่นอน

มาร่วมชมกรรมวิธีทำข้าวต่อของชาวเหนือที่น่าสนใจ..ขอบคุณที่ช่วยกันเผยแพร่ค่ะ..

ดูเหมือนข้าวเกรียบเลยครับ น่ากินมากๆๆๆๆ

เคยเห็นของญี่ปุ่นเหมือนกันค่ะ กินอร่อย เพิ่งรู้ว่าบ้านเราก็มีแถมวิธีทำสุดยอด ถ้าเรียกชื่อ"ข้าวต่อ"มาคราวนี้จะได้รู้จัก ต้องหาทางช่วยกันรักษาไว้นะคะ ขอบคุณน้อง Ico48มากๆเลยค่ะที่เก็บมาเล่าเอาไว้ เยี่ยมจริงๆ พี่โอ๋ว่าคนไทยอีกเยอะน่าจะยังไม่รู้นะคะนี่

น่ากินค่ะ บันทึกพร้อมภาพถ่ายทำตัดต่อดูน่าสนุกน่าสนใจจนอยากทำ ข้าวต่อ เป็นบ้างค่ะ

มาชื่นชมภูมิปัญญาท้องถิ่นค่ะ เป็นครั้งแรกที่ได้เห็น ได้รู้จักขนมชนิดนี้

ขอบคุณพี่ครูตูมที่รณรงค์ช่วยกันอนุรักษ์ขนมพื้นบ้านเราค่ะ

Ico48 ขอบคุณค่ะที่ชื่นชม สนใจที่มีคนรู้จักน้อยมากแต่การทำก็ยุ่งยากใช้เวลาค่ะ

Ico48 พี่ครูเจ้าเป๋นข้าวหนมตี้หาคนทำมีน้อยขนาดเจ้า

Ico48 น้องเพชรน้ำหนึ่งมาลองชิมผ่อเน้อเวลามาเจียงใหม่ มาสค. เน้อ

Ico48 ได้ชิมและห่อปิกบ้านเน้อน้องเพลินอยู่ใกล้ที่ทำงานแม่มันน้อ  อิอิ

Ico48 แสดงว่าน้องปิงรู้จักมานานแล้วนะเนี่ยๆๆ กินมาสมัยยังเด็ก

Ico48  ขั้นตอนการทำมีหลายขั้นทั้งวันเลยค่ะ

Ico48 ขอบคุณพี่ใหญ่ที่มาให้กำลังใจค่ะ

Ico48อาจารย์ขจิตคะรสชาติไม่เหมือนข้าวเกรียบแต่เหมือนข้าวควบที่ชอบขายสี่แยกไฟแดงอ่ะน่ะ

Ico48 ขอบคุณคุณโอ๋ที่ชื่นชมค่ะ ต้องอนุรักษ์ไว้ต่อไปค่ะ

Ico48 น่าสนใจทดลองทำให้เวลาสั้นลงนะคะ

Ico48 น้องปริมพี่ก็เพิ่งเคยเห็นและได้ลองชิมก็อร่อยแบบขนมคนเมืองบ้านเราที่มีข้าวเป็นอาหารหลักนะคะ

เพ่งเคยเห็น/ได้ยินค่ะ ขอบคุณนะค่ะ ชอบๆๆ ที่นำมาคลุกกับทรายร้อนๆ แล้วมันพองตัวนะ่ค่ะ

ข้าวต่อ ภาษาลื้อว่า ข้าวโคบ ??  (ข้าวควบ-ภาษาลื้อไม่มีสระอัว มีแต่สระโอ)
คู่กับ ข้าวแคบ ซึ่งเล็กกว่า

Ico48 ใช่สินะเพราะน้องกอหญ้าเป็นเด็กอยู่นะวัยแบบป้าๆก็เพิ่งเห็นนะเนี่ยๆๆ รสชาตเหมือนข้าวควบที่ขายตามสี่แยกไฟแดงนะคะ

Ico48  ข้าวต่อรสชาติเหมือนข้าวโคบค่ะ  แต่การทำข้าวต่อคั่วทราย  การทำข้าวโคบเอาแป้งราดบนปากหม้อเหมือนข้าวแคบนะคะ  กระบวนการทำแตกต่างกัน 

  •   เคยอยู่เชียงใหม่มา ๘-๙ ปี ยังไม่เคยลิ้มรสซักทีครับ

 

 

Ico48

สามสัก(samsuk)  คงเพราะว่ามีคนทำน้อยมากค่ะ กว่าจะหาแหล่งผลิตก็ไปหลายที่ค่ะ จึงพบว่าอยู่ไม่ไกล รร. นัก แล้วมาแวะชิมนะคะ

Ico48  แล้วมาศึกษาและลองทำกันนะคะ ไม่ยากอย่างที่คิด  อิอิ

 

เนื่องจากข้อมูลหาได้ยาก และกลุ่มพวกหนูสนใจเรื่องข้าวต่อ ขออนุญาตนำข้อมูลของคุณพี่มาต่อยอดในการทำรายงานของกลุ่มหนูนะคะ :

ชอบทานมากค่ะและหาซื้อยากมากๆค่ะสนใจอยากสั่งซื้อได้ไมค่ะต้องสั่งยังไงอ่ะค่ะ

ชอบทานมากค่ะและหาซื้อยากมากๆค่ะสนใจอยากสั่งซื้อได้ไมค่ะต้องสั่งยังไงอ่ะค่ะ

ถ้าจะให้ข้าวต่อหอมอร่อยเป็นแบบธรรมชาติต้องใช้หม้อดินทำ ข้าวต่อมีมานานแล้วหลายยุคหลายสมัย เห็นข้าวต่อมาตั้งแต่ตอนเด็กๆ ที่บ้านจะทำข้าวต่อขาย ปัจจุบันก็ยังทำขายอยู่ ทางบ้านจะใช้หม้อดินทำ ถ้าเราใช้หม้อดินทำข้าวต่อจะออกหอมแบบธรรมชาติ ทรายที่บ้านจะใช้สีน้ำตาล ดำเมื่อไหร่ก็จะเปลี่ยนครับ ปัจจุบันก็ยังทำขายอยู่ รายละเอียดสอบถามทางไลน์นะครับ
line : chalawan2019

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท