ชีวประวัติ นักสร้างภาพ .... ขอบฟ้าสีเทา


ดช.เจษฎา.  จันทรัตน์ เกิดมาในหมู่บ้านแถบชนบทของ จ.พัทลุง พ่อรับราชการครู แม่มีอาชีพเกษตรกร มีน้องชายอีก 3 คน ฐานะทางบ้านในวัยเด็กลำบากมาก เนื่องจากพ่อมีรายได้ประจำเพียงคนเดียวเลี้ยงคนทั้งครอบครัว วันหยุดต้องช่วยแม่ทำนา ปิดเทอมต้องไปอยู่ที่สวนยางพาราที่ต่างอำเภอ เพื่อหาค่าเทอม ตอนผระถมเรียนโรงเรียนวัดแถวๆบ้าน ด้วยความที่รักการเรียน จึงะข้าเรียนต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนประจำจังหวัด ตอนเรียน ม.4 มีโอกาสได้ไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร สอบตก 555 กลับมาพ่อบ่นน่าดู อีกหนึ่งปีถัดมา ได้ไปสอบ โรงเรียนเตรียมทหารอีก ครั้งนี้ไปกับน้องชาย ผลปรากฎว่าสอบผ่านข้อเขียน วันนั้นตื่นเต้นมาก ไม่กล้าเข้าไปดูผลการสอบ ในวันที่ไปรายงานตัวเภื่อจะทดสอบร่างกายและตรวจร่างกาย มีคนแต่งชุดซาฟารีคนหนึ่งเดินเข้ามาหาผมกับน้องชาย และกล่าวแสดงความยินดีที่สอบผ่าน แต่ก็ออกแนวข่มขู่ประมาณว่า ทดสอบทางด้านกีฬายากมาก ตรวจร่างกายก็ละเอียด แต่ด้วยความที่เราเป็นนักกีฬาและเป็นลูกทะเล แค่วิ่งกับว่ายน้ำ ไม่น่าจะยากอะไร เรา/ม่อยากเสียเงินสองแสนเพื่อให้ได้เข้าเรียน เพราะคิดว่าฐานะทางบ้านยังลำบากอยู่และมีน้องอีกสามคนที่ยังต้องเรียน ผลสุดท้ายประกาศรายชื่อ ไม่มีชื่อเรา ผิดหวังมาก กลับมาเรียนจบ ม.ปลาย สอบโค้วต้าได้ที่ มอ.สงขลานครินทร์ แต่ได้คณะที่ไม่ชอบจึงสละสิทธิ์ ขโมยเงินพ่อได้มาหนึ่งพันบาทเพื่อเดินทางเข้า กทม. หาที่เรียนและหางานทำ 

สุดท้ายก็สอบได้ที่โรงเรียนรังสีเทคนิค รพ.รามาธิบดี ชีวิตวัยเรียนสมัยนั้นสนุกมาก ตอนปีหนึ่งไปเป็นเด็กวัดชลประทานรังสฤษฐ์ ของท่านอาจารย์ปัญญานันทภิกขุ ซึ่งท่านก็เป็นอาจารย์ของพ่อเราด้วย (สมัยพ่อเรียนก็เป็นลูกศิษย์วัด) ได้รับการอบรมสั่งสอนให้รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทดแทนบุญคุณแผ่นดิน ซึ่งนำมาใช้ได้ตราบจนปัจุบัน พอขึ้นปีสองเลยมาอยู่หอพักกับเพื่อนๆ ได้เรียนรู้ชีวิตอีกแง่มุมหนึ่ง สุข ทุกข์แบ่งปัน อดอยากด้วยกัน ด้านเรื่องการเรียนแค่พอไปไหว แต่พอขึ้นปีสอง ทางโรงเรียนให้เลือกว่าจะเรียนรังสีวินิจฉัยหรือรังสีรักษา ด้วยความที่เป็นคนมั่นใจตัวเองสูงมากและมีรุ่นพี่หลายๆคนบอกว่ารังสีรักษาเรียนยาก เลยกลายเป็นความท้าทายเลือกเรียนรังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ กว่าจะจบมาได้เลือดตาแทบกระเด็น เรียนยากมาก จะลอกเพื่อนก็ไม่ได้ เพราะทั้งรุ่นมีเรียนแค่สองคน แต่สุดท้ายก็จบมาด้วยดี แบบมีคุณภาพซะด้วย ... อิอิ

ชีวิตวัยทำงาน หลังจากจบการศึกษาต้องใช้ทุนที่แผนกรังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี เป็นปีที่ต้องปรับตัวเป็นอย่างมากเนื่องจากเ็นการทำงานเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ตัองมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง หน้าที่ และผู้ป่วย แต่เงินเดือนที่ได้รับแทบไม่พอค่าครองชีพ( สมัยนั้นอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ 5,180 บาท )ใช้ทุนได้ปีกว่าๆการปรับตัวเริ่มดีขึ้น มีความเคยชินกับชีวิตประจำวัน ชินกับงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบ แต่แล้ววันหนึ่งหลังใช้ทุนไปได้ปีเศษๆก็มีเหตุให้ต้องลาออกจากราชการ เนื่องจากมีอาจารย์หมอท่านหนึ่งต้องการเปิดศูนย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์ซึ่งเป็นศูนย์เอกชนรายแรกๆใน กทม.ซึ่งสมัยนั้นหาคนจบทางด้านนี้ยากมาก เนื่องจากไม่มีใครอยากเรียน เรียนยาก ไม่มีงานเอกชนให้ทำ จึงทำให้ขาดแคลน ท่านเลยมาขอให้ช่วยเข้าไปวางระบบให้โดยท่านได้เข้าไปคุยกับหัวหน้าภาควิชารังสีเรื่องการใช้ทุนที่เหลือ และเสนอเงินเดือนให้อย่างยากที่จะปฏิเสธ และคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีของวิชาชีพและตัวเราเองหากเริ่มมีภาคเอกชนเข้ามาเปิด จะทำให้รุ่นน้องรุ่นหลังๆจะได้มีที่ทำงานให้เลือกมากขึ้น จึงรับข้อเสนอเข้าไปทำงานในศูนย์เอกชน ชีวิตประจำวันต้องเข้าสู่โหมดปรับตัวอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเป็นงานภาคเอกชนซึ่งมีกฎระเบียบมากมาย กว่าจะปรับตัวได้ก็แทบแย่  ทำงานที่ศูนย์ให้กับอาจารย์ได้เกือบสองปี วางระบบงานไว้เสร็จ เริ่มให้บริการได้เต็มรูปแบบ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเข้ามาอีกครั้งในชีวิต คือมีบริษัทข้ามชาติมาเปิดสาขาในประเทศไทย ดำเนินการเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีเต็มระบบ ซึ่งการดำเนินการในเรื่องนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องมากมาย โดยเฉพาะสำนักงานปรมณูเพื่อสันติ และต้องมี Licence ทั้งของประเทศไทยและนานาชาติ บริษัทนี้ไม่สามารถหาคนที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้จึงมาปรึกษากับอาจารย์เจ้าของศูนย์ซึ่งผู้บริหารเค้าเป็นเพื่อนกัน กรรมเลยตกลงมาที่ผมอีก ท่านมาขอร้องให้ลาออกจากศูนย์เพื่อไปช่วยดำเนินการให้บริษัทจากอเมริการายนี้สามารถเปิดสาขาในประเทศไทยได้ ( ข้าพเจ้าได้เข้ารับการอบรมและทำการสอบผ่านหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ2 ขององค์กรปรมณูระหว่างประเทศ ) โดยข้อเสนอเงินเดือนที่แพงลิบลิ่วพร้อมสวัสดิการอีกมากมาย ใช้ระยะเวลาแค่ 6 เดือน บริษัทสามารถเปิดตัวและดำเนินงานได้ครบวงจรตามมาตรฐานของบริษัทแม่และสากลรวมถึงภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆของไทย ผมได้ทำงานในตำแหน่ง Sup ให้กับบริษัทต่ออีก 6 เดือน เป็นอันจบภาระกิจ และได้คิดทบทวนความเป็นมาว่าเราขึ้นจุดสูงสุดเร็วเกินไป เราอิ่มตัวแล้วเหรอ ไม่มีอะไรตื่นเต้นให้เราทำแล้วใช่มั๊ย วิชาชีพนี้กับเราคงจบสิ้นกันแล้ว จึงยื่นใบลาออกจากบริษัทในทันที แต่ผู้บริหารขอร้องให้อยู่ต่ออีกสองเดือน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคนใหม่ที่ยังไม่ได้รับเข้ามา และเราก็จบกันด้วยดี ขอบคุณสำหรับครอบครัวอันอบอุ่นและเป็นกันเองสำหรับผู้บริหารชาวอเมริกา ขอบคุณประสบการณ์ที่ให้มา จากใจจริง

หลังจากหันหลังให้กับวิชาชีพที่เล่าเรียนมา ก็เริ่มต้นชีวิตใหม่กับธุรกิจเล็กๆที่มองเห็นอนาคตที่สดใสในวันข้างหน้า ภาพที่เรามองเห็นตัวเองในอนาคต การวาดฝันในสิ่งที่เราอยากมีอยากได้ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้ราบรื่น ไม่ได้เป็นอย่างที่เราวาดไว้เสมอไป ประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาไม่ได้ช่วยอะไรเราได้เลย ภายในแค่ปีเดียวธุรกิจที่ทำท่าจะรุ่งเรืองในตอนแรกกลับเป็นรุ่งริ่ง ในภาวะฟองสบู่ ภาวะค่าเงินบาทลอยตัว เจ๊งครับ แต่ไม่ล้มละลาย เพราะธุรกิจเดินด้วยเงินสดหมุนเวียน เมื่อดูท่าไม่ดี เราเลือกที่จะหยุดกิจการ นั่นเป็นความล้มเหลวครั้งแรกของชีวิตที่ต้องตัดสินหรือเลือกทางเดินโดยที่ตัวเองทำมันพังลงไปกับมือ ซึ่งการล้มเหลวครั้งนั้นก็นำมาซึ่งความต้องการชีวิตที่มั่นคง การก้าวเดินที่ไม่อยากเสี่ยงอีกต่อไป ทางเลือกมีทางเดียวคือ การกลับเข้ารับราชการและทำงานในสิ่งที่ถนัด ทำในสิ่งที่เราเรียนมา ทำในสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด " รังสี " คือคำตอบ และเราก็ทำมันได้ดี ทำมาจนถึงปัจุบัน และจะทำต่อไปในอนาคต ยังมีสิ่งต่างๆในวิชาชีพนี้อีกมากมายให้เราทำ ให้เราพัฒนา ยกระดับวิชาชีพ เพื่อให้ได้รับการยอมรับโดยทั่วกัน ขอสัญญา


หมายเลขบันทึก: 509704เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2012 01:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท