กศน.กลุ่มบัณฑูรสิงห์


โดยรติรัตน์  รถทอง

16  พฤศจิกายน  2555


ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2555  กลุ่มบัณฑูรสิงห์ครบรอบ  10 ปี การจัดการเรียนการสอน

กลุ่มบัณฑูรสิงห์  ตั้งอยู่ที่อาคารตลาดสด  ชั้น  3    เทศบาลนครสมุทรสาคร  ตำบลมหาชัย  อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ครบรอบ 10 ปีกลุ่มบัณฑูรสิงห์  

วาระในเรื่องนี้  ก็คิดจะกล่าวถึงการเรียนการสอนของตนเองเสียหน่อย  เพราะกว่าจะสามารถผ่านประสบการณ์มาถึงปัจจุบันนี้  ผ่านเรื่องราวต่างๆ มามากมายและคิดว่าไม่ง่ายเลยที่จะสะสมประสบการณ์มายาวนานถึงขนาด  10 ขวบปี เป็นครูแบบไม่ได้ตั้งใจเลย  เมื่อก่อนเรียน กศน.แบบสอบเทียบมา 1.5  ปี  ก็คิดว่าไม่ได้อะไรมากมาย  แต่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ  และมักขัดใจทุกครั้งที่ครูไม่สอน  สั่งให้ทำแต่รายงานอย่างเดียว  แล้วเราจะได้อะไร  แต่เพราะเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็กก็เลยสอบผ่านได้  การอ่านคือชีวิต  นี่คือสิ่งที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ  ชีวิตได้มาต้องทำด้วยตัวเอง  ต้องอ่านและเรียนรู้และค้นพบกับสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

อดีต

วันหนึ่งเมื่ออายุ 9 ขวบ  ค้นพบว่าอยากจะเขียนหนังสือและเป็นนักเขียน   ต่อมาเมื่อไปเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  หนังสือนอกเวลาที่อาจารย์ให้อ่านชื่อเรื่องว่า  "คำพิพากษา"  ของนักเขียนชื่อ  ชาติ  กอบจิตติ  อ่านคำพิพากษาทำให้เป็นแรงบันดาลใจว่าอยากเขียนเรื่องแนวสะท้อนสังคม  และต่อมาถึงได้ทราบว่าเป็นแนวเพื่อชีวิต  หรือ การเมือง  พอมาเรียน ม.ปลายที่โรงเรียนเดิม  สิ่งที่ตอบโจษท์ไม่มีอีกแล้ว  ก็ลองเดินเข้าไปคุยกับพ่อว่าอยากจะไปเรียน  "จิตกรรม"  อยากเขียนรูปแบบ  ชาติ  กอบจิตติ   พ่อตอบว่า  "ไม่ได้  เรียน ม.ปลายต่อไปนั่นละ"  ข้าวสาลีก็เลยเงียบ  และต่อมาก็เดินออกจากโรงเรียนหลังจากจบเทรมนั้นทันที  บอกกับพ่อว่า  "ไม่ไปโรงเรียนอีกต่อไปแล้ว"  แล้วก็เงียบ  อยู่บ้านเกือบ 2 ปี  พบเพื่อนที่เรียน ม.ปลาย  เขาบอกว่าเขาจะจบ ม.ปลายแล้ว  ข้าวสาลีก็เฉย  เพราะถึงอยู่บ้านข้าวสาลีก็อ่านหนังสือตลอดเวลา  เสพติดการอ่านไม่ไปไหน อ่านแต่นวนิยาย วารสาร  นิตยสาร  อ่านแต่หนังสือเรียนในระดับ ม.ปลาย  และหนังสือที่สูงกว่าระดับของตัวเองหลายเล่มในตอนนั้น  มีลูกสาวป้าหลายคนเป็นครู ก็เลยมีหนังสืออ่านยากๆ อย่างเช่น  ความพยาบาทของแม่วัน  พระอภัยมณี สังข์ทอง  มากมายให้เลือกอ่านเป็นตู้  จะนั่งจะนอนอ่านก็เลือกเอาตามใจ จะถูกเหน็บแนมจากบรรดาพี่สาวลูกป้าว่าไม่เรียนหนังสือ  "อยากโง่เป็นควายก็ตามใจ"  ข้าวสาลี  ก็บอกว่า  "หนูเกลียดการเรียนระบบโรงเรียน"  นี่คือคำตอบของข้าวสาลีในตอนนั้น  ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดเพราะการเรียนในระดับ ป.1-6  กับ ม.1-6  เป็นการเรียนพื้นฐานอย่างแท้จริง  ถ้าเราไม่ได้เรียนเราจะไม่รู้สึกถึงความแน่นของสมองของเรา  การจัดการพื้นฐานสมองต้องมีทั้ง  2 ด้าน  วิชาการกับศิลปะ  

ต่อมาปู่อายุมาแล้วมาที่บ้าน  พูดกับพ่อว่า  "ทำไมเอ็งไม่ให้มันเรียนหนังสือว่ะ"  พ่อหันมามองหน้าฉันแล้วก็พูดขึ้นมาว่า  "มันไม่เรียนเอง  ฉันก็บอกให้กลับไปเรียน  แต่พูดแล้วไม่เอาก็ต้องปล่อย  เพราะฉันเลี้ยงลูกให้พึ่งต่อเองได้  และมันก็ไม่ได้ไปเกเรที่ไหน  เห็นก็อ่านหนังสือทุกวัน  ห้องมันรกมากเต็มไปด้วยหนังสือทั้งนั้น  จนบางครั้งฉันอยากจะเผาหนังสือของมันด้วยซ้ำ"  พ่อพูดสีหน้ายิ้มแต่ตามองหน้าฉัน ที่แกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้เสียงั้น   ปู่มองหน้าฉันแล้วก็ว่า  "เอ็งเรียนให้จบๆ  ม.ปลายก็ยังดีนะลูก  ไหนๆ ก็เป็นหลานสาวที่ใช้นามสกุล "รถทอง"  คนเดียว   พ่อเอ็งไม่มีตังค์เอาเงินปู่ก็ได้"   พ่อหัวเราะเบาๆ  แล้วก็พูดว่า   "พ่อก็ถ้ามันอยากเรียนเมื่อไหร่ฉันจะส่งมันเอง  ฉันมีลูกสาวคนเดียว"  พ่อเป็นคนพูดรับรองข้าวสาลีด้วยความรัก  เพราะพ่อเป็นคนเลี้ยงลูกสมัยใหม่  คิดไกลกว่าจรวดด้วยซ้ำ   ปล่อยให้ลูกๆ คิดเอง  ใครไปได้ไกลแค่ไหน  พ่อก็ส่งเสริมตามอัตภาพ  พ่อก็ไม่เคยบังคับ ฉันเห็นสีหน้าปู่กับพ่อตอนนั้น   ก็เลยรู้สึกอยากเรียนหนังสือขึ้นมา  บอกกับพ่อว่าอยากเรียนหนังสือแล้ว  ทำไงดีละ?   แต่ไม่อยากไปนั่งเรียนกับรุ่นน้อง ๆ   ในโรงเรียน  เพราะตอนนั้นข้าวสาลีอายุ 17 ปีแล้ว   เริ่มโตและคิดอะไรได้มากขึ้น  พ่อก็ตอบคำถามไม่ได้ว่าจะไปเรียนที่ไหน   ปี 2533  ไม่มีใครรู้จัก กศน.เลยด้วยซ้ำ  จนวันหนึ่งญาตที่เป็นครู กศน.บอกให้ไปเรียนกับ กศน.จังหวัดสมุทรสาคร   ก็ให้ข้าวสาลีไปสมัครเรียนกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสมุทรสาคร  พ.ศ. 2534  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และเรียนจบไปในเวลา  1.5 ปี  

ช่วงนั้นคลั่งเรียน  "คอมพิวเตอร์"  ไปขอเงินพ่อไปเรียนที่นวศาสตร์คอมพิวเตอร์  มหาชัย  เป็นสถานที่เรียนคอมพิวเตอร์แห่งแรกของจังหวัดสมุทรสาคร   (ทันสมัยนะ)   ตั้งแต่ปี  2530-33  เรียนพวกโปรแกรมประยุกต์  ใช่แผ่นแบบเก่า  จอเขียว  (มอโนโครม)  ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ  ไม่มีโปรแกรมในเครื่องต้องใช้แผ่นข้อมูลเล่นกับเครื่องเปล่าในสมัยก่อน  เรียน  ดีเบส   โลตัส  จุฬา  ธรรมศาสตร์ ฯลฯ   ชอบเรียนคอมพิวเตอร์  เพราะคิดว่าเป็นศาสตร์ใหม่ที่จะต้องใ้ช้ในอนาคตอย่างแน่นอน  (คิดเองตอนนั้น)  ไปขอเงินพ่อ 3,000 บาท  ซึ่งตอนนั้นอายุแค่ 16-17 ปี  พ่อก็ให้เรียน  ดีกว่าไปทำตัวยุ่งให้ชาวบ้านเขารำคาญเปล่าๆ  พ่อบอกกับทุกคนในบ้านแบบนั้น  แต่ข้าวสาลีก็รู้ว่าตอนนั้นพ่อไม่ได้มีเงินทองมากมาย   แต่ก็ให้เงินไปเรียนคอมพิวเตอร์  คอร์ดละ 800  บาท  เรียน  3 คอร์ด  ก็ถือว่าว่าเป็นความใจกว้างของพ่อที่ยอมข้าวสาลีในตอนนั้น  ต้องกราบของพระคุณพ่ออย่างมาก    ที่เอื้อในเรื่องเรียนชนิดถึงแพงก็ยอมจ่ายให้อย่างไม่เคยถามว่า  "เอาไปทำอะไร  เอาไปทำไม  เอาไปเล่นๆ ไม่ได้นะ"  ซึ่งพ่อแม่เมื่อให้เงินเพื่อการศึกษาแล้วอย่าบ่น  เพราะสิ่งเหล่านี้เด็ก ๆ  จะซึมเองว่าเงินนี้เพื่อการศึกษาเท่านั้น  เขาจะต้องรับผิดชอบตัวเอง

สมัยก่อนเรียน กศน.ม.ปลาย  เรียน  8  วิชา เสียเงินรายวิชาละ  200  บาท  ลงได้ทุกวิชาใน 1 เทอม  แต่ต้องรักษาสภาพจนกว่าจะครบได้  1.5 ปี  ข้าวสาลีเรียน  2 เทอม และรักษาสภาพ  1 เทอม  และนำวิชาชีพมาเทียบได้  ตอนนั้นเอาวิชาชีพพิมพ์ดีด  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  บัญชี   รวมๆ แล้ว  800 ชม.  มาเทียบก็เรียนจบในปี  2536   ส่วนคอมพิวเตอร์ก็เรียนไว้ประดับความรู้   คือ  เห็นชื่อแปลกดีก็เลยเรียน    เมื่อก่อนไม่เคยมีใครรู้จักคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ  แต่ข้าวสาลีได้ใช้คอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ปี  2533  แล้ว   เป็นช่วงเวลาที่สนุกสนานมากในการเรียน  ข้าวสาลีจบพร้อมเพื่อนที่เรียน ม.6 หลังนิดหน่อย  ก็ถือว่าทันเพื่อน  เพื่อนไม่เป็นคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ แต่ข้าวสาลีได้ความรู้ว่าคอมพิวเตอร์  หรือ คณิตกรณ์  นี้คืออนาคตของเรา

ก่อนมาถึงปัจจุบัน

เป็นครูอาสาสมัคร  กศน.  เมื่อวันที่  3 พฤษภาคม  2545  แต่ก่อนตอนเรียนอนุปริญญาคอมพิวเตอร์  เสาร์ - อาิทิตย์  เอกการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์  ปี พ.ศ.2543  ได้สอบสัมภาษณ์เขาคณะคอมพิวเตอร์ได้เรียน  ที่สถาบันราชภัฏนครปฐม  ตอนนั้นแค่อยากรู้ลึกว่าคอมพิวเตอร์มันเป็นอย่างไร  และเห็นเพื่อนๆ บอกว่าเป็นวิชาชีพที่น่าสนใจ  เรียนได้ก็ดี  ก็เลยไปสมัครเรียนเอกคอมพิวเตอร์  เรียนได้ประมาณ  1  ปี  กศน.จังหวัดสมุทรสาคร  เปิดรับสมัคร  เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  (คอมพิวเตอร์)  ก็มาสอบและได้รับเลือกให้เป็น จนท.คอมพิวเตอร์  ของ กศน.จังหวัดสมุทรสาคร  เมื่อวันที่  29  พฤศจิกายน  2538  ในยุคของผอ.วิเชียร  กลัดทอง  และ รองผอ.  ทวี  ณ ระนอง  ได้เป็นจนท.คอมพิวเตอร์ในตอนนั้น ทำงานทุกวันจันทร์ - ศุกร์  และไปเรียนที่นครปฐมวันเสาร์ - อาิทิตย์  ทำงานจนมาถึงปี พ.ศ. 2539  ก็อยากเปลี่ยนเอกการเรียน  เนื่องจากเหนื่อยมาก  ไม่สบายไปเลย ก็ขอพ่อเปลี่ยนเอกเพราะเรียนคอมพิวเตอร์หนักมากก็สอบเปลี่ยนเอกการเรียนเป็นนิเทศศาสตร์  และโอนหน่วยกิตมาเพราะช่วงนั้นรู้สึกเหนื่อยมากเหมือนกับตรากตรำทำงานเกินตัว  และยอมรับว่าคอมพิวเตอร์หนักกว่าที่คิด  ก็เปลี่ยนเอกการเรียนเพื่อให้สามารถเรียนด้วยสบายๆ  ทำงานไปได้ด้วย  เพราะถ้าเรียนช่วงแรก ๆ  ไม่ได้ทำงานจะรู้สึกสบาย ๆ  แต่หลังจากนั้น งานมากก็ไม่มีเวลาทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์  การเขียนโปรแกรมหลักอย่าง  C++   อัลกอริทึ่มบางตัวยากชนิดต้องมีประสบการณ์การทำงานในระดับโปร มากกว่า  Key  operator data  ธรรมดาอย่างฉัน  อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ก็ต้องเเปลี่ยนใจ   เลยเปลี่ยนเอกการเรียน    และประกอบกับอยากเขียนหนังสือด้วยในช่วงนั้น  เริ่มส่งประกวดงานเขียนสารคดี และเขียนเรื่องสั้นหลายเรื่อง  ไม่มีเวลามาก  เหนื่อยอยู่หลายปีกว่าจะจบปริญญาตรี  จนคิดว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ  เลยสักอย่างเดียวสำหรับตัวเอง

การอ่านช่วยได้มากในการเรียนปริญญาตรี  การตั้งใจเข้าชั้นเรียนและเก็บคะแนนในเวลาภาคปฏิบัติก็ทำให้เรียนจบ นี่คือสิ่งที่ทำมาจนเรียนจบ  และขบคิดว่าเรามักมีสองทางเลือกเสมอในการตัดสินใจ  แต่ทว่าทำให้ดีที่สุด  เพื่ออนาคตก็น่าจะพอ  ทำงานมาจนถึงปี  พ.ศ.  2544  มีปัญหาเรื่องแก้วตาอักเสบ  (เยื่อบุตาอักเสบ)  หมอเขาให้หยุดการใช้คอมพิวเตอร์ สัก  3  เดือน  ไม่งั้นจะมีปัญหาสายตา  ข้าวสาลีก็เลยไม่ขอต่อสัญญาในการเป็น  จนท.คอมพิวเตอร์ในวันที่   30   กันยายน  พ.ศ.  2544    ( เรียนจบแล้วตอนนั้น )   หลังจากทำงานมาแล้วถึง   5   ปีกว่า   ตอนนั้น ผอ.ทวี   ณ ระนอง ก็อยากให้ต่อสัญญา แต่ข้าวสาลีมีปัญหาเรื่องสุขภาพตา  ก็ขอลาออกไปพักรักษาตัว    ( ปัจจุบันนี้เป็นโรคแก้วตาขาดความสมดุลทางสี )

ตอนนั้นก็แอบมาสมัครเป็นครูอาสาสมัคร กศน.ไว้ในปีนั้นด้วย  เพราะแพทย์ให้พักสายตา  ไม่อย่างนั้นอาจตาบอดได้ถ้าทำงานมากเกินไป  ได้พักรักษาตัวอยู่  6 เดือนเต็มที่บ้านที่ริมคลองหมาหอน  วัดบัณฑูรสิงห์  ตำบลบางโทรัด  อำเภอเมืองสมุทรสาคร  จังหวัดสมุทรสาคร  จนวันหนึ่งพี่ที่ทำงานให้มาสมัครสอบครูอาสาสมัคร กศน. กับครู ศรช.ไว้ ก็มาสมัคร  เพราะเราพักผ่อนมากพอแล้ว  เห็นสมควรทำงานได้แล้ว

เมื่อวันที่  1  พฤษภาคม  2545  ได้ถูกเรียกตัวการคัดเลือกให้เป็นครู ศรช.ตำบลบางกระเจ้า  สมัยรอง ผอ.ศรชัย เลิศไตรภพ  มารักษาการที่ กศน.อำเภอเมืองสมุทรสาคร   แต่มาอีก 2-3 วัน  ทาง กศน.จังหวัดสมุทรสาคร ก็เรียกขึ้นไปทำสัญญาเป็นครูอาสาสมัคร กศน. อำเภอเมืองสมุทรสาคร  สมัย  ผอ.นิติพงษ์   ดวงมุสิก   มาตั้งแต่ ณ บัดนั้นจนถึงบัดนี้ก็รวมแล้ว  10 ปี  ที่เคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ก็รวม 16 - 17  ปี  ที่ผ่านมาการทำงานกับการเดินทางมากจนกระทั่งเห็นสัจธรรมของการทำงานที่ยากในหลายเรื่อง   และเห็นสิ่งต่างมาก เห็นความดี  ความเลว  เห็นผู้คน  เห็นความจริง  เห็นความลวง  เห็นมากจนบางครั้งก็มานั่งถามตัวเองว่า  "เฮ้ย  มันนานมากเลยนะนี่   กับการเดินทางของกาลเวลา  เหมือนไม่นาน และข้าวสาลีก็ไม่เคยไปทำงานที่ไหนเลยนะนี่"    รู้จัก กศน.มาตั้งแต่เรียนจนกระทั่งทำงาน  ก็คิดว่าเรารัก กศน.มากกว่าที่คิดจริงๆ   พอมาคิดว่าทำงานใกล้บ้าน ไม่ได้จากอกพ่อแม่ไปทำงานไกลบ้านก็รู้สึกดีและนับว่าเป็นบุญแล้ว  เพราะคนหลายแสนร้อยชีวิตต้องเดินทางมาทำงานที่จังหวัดสมุทรสาคร

 ปัจจุบัน 

รับผิดชอบงานการประเมินเทียบระดับการศึกษามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์  2553 - ปัจจุบัน  ก็ยังทำงานทุกวัน  ออกจะบ้างานเกินไปไม่ค่อยดูแลตัวเอง  หลังๆ มาก็จะหาความสุขบ้างไปเที่ยว หาอะไรใหม่ให้กับตัวเองและรับข่าวสารมากขึ้น เสพติดการอ่าน การเขียน  การดู การฟังและช่องทางที่จะพัฒนาระบบการทำงาน กลไกสมองให้พัฒนาไปข้างหน้า  มีเรื่องให้ต้องคิด ต้องทำมากมาย  ยังต้องเรียนรู้ทุกวัน  เรียนตลอดชีวิตสมกับการเป็นคน กศน.  การเรียนรู้ตลอดชีวิตยังต้องใช้อีกมาก  (หวังว่าตอนแก่จะยังมีมันสมองทำงานไปเรื่อยๆ)

กลุ่มบัณฑูรสิงห์  

เป็นกลุ่มการเรียนการสอนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพบกลุ่มนักศึกษา กศน.มาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 /2545  มีนักศึกษามาถึงปัจจุบันโดยประมาณ 1,000 กว่าคนที่เคยเรียน     ครั้งแรกได้พบกลุ่มที่โรงเรียนวัดคลองครุ  มาจนถึงปัจจุบันก็ได้ห้องเรียนจากกองสวัสดิการสังคม  เทศบาลนครสมุทรสาคร  เป็นห้องฝึกอาชีพขนาด  9 x 12 เมตร  จุนักศึกษาเรียนได้ประมาณ 60   คน  แต่เดิมห้องเรียนนี้เป็นของกองสวัสดิการสังคม  ผู้อำนวยการกอง  คุณอนุชา  คูเจริญไพศาล   ซึ่งเป็นเครือข่ายตลอดกาลของข้าวสาลีมาตั้งแต่ปี 2545  ได้อนุญาตให้ใช้ได้จนกว่าแกจะเกษียณ   ข้าวสาลีลงปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลมหาชัย  โกรกกราก  และท่าฉลอม  กับกองสวัสดิการ  ในเรื่องการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน ชุมชนของเทศบาลนครสมุทรสาคร  สมัยนั้นก็ไปหาคุณอนุชาและทำงานด้วยกันตลอด  และเริ่มทำงานกับคุณอนุชามาหลายปี  และคุณอนุชาก็เป็นเครือข่ายที่ดูแลงานในพื้นที่ให้ตลอด   "แว่น"  ฉายา  แ่ว่น กศน.  ถ้าพูดถึงคนเทศบาลฯ จะรู้สึกกันหมด   ถ้าพูดชื่ออื่นไม่มีคนรู้จัก   พี่กุ้ง  หรือคุณอนุชาเหมือนพี่ชายคนหนึ่ง  มีอะไรก็เอื้ออาทรมาโดยตลอด  10 ปีที่ผ่านมา  ในที่สุดก็เอื้อให้มาใช้ห้องฝึกวิชาชีพของกองสวัสดิการสังคม  ซึ่งแต่เดิมงานสวัสดิการสังคมมีงบประมาณมาฝึกอาชีพทุกปีก็ใช้ในเวลาราชการ  ตอนหลังมานี้ก็ให้พบกลุ่มในวันอาทิตย์มาตลอดตั้งแต่ พ.ศ. 2550  มาเรื่อยๆ  จนถึงปัจจุบัน  ซึ่งมีนักศึกษามาเรียนในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2555  เป็นจำนวน  51 คน  



กลุ่มเป้าหมายส่วนมากเป็นเจ้าของร้านค้า ร้านตัดผมเสริมสวย  ร้านตัดเสื้อผ้า  อสม.เทศบาลนครสมุทรสาคร ฯลฯ

นักศึกษาดีเด่น กลุ่มบัณฑูรสิงห์

นางสุพร  พยอมพันธ์

 

อาชีพ  ช่างเสริมสวย  

เรียนระดับ  ประถมศึกษา  มาจนปัจจุบัน มัธยมศึกษาตอนปลาย  

คำพูดประทับใจของพีี่สุพรก็คือ  ถ้าอาจารย์ไม่ได้มาเปิดกลุ่มที่นี่พี่ก็ไม่ได้เรียน  ทำให้รู้สึกประทับใจมากและอยากสอนมากขึ้น พี่สุพรเป็นนักศึกษาที่มีพัฒนาการมากในการอ่านการเขียน  "พี่อยากเขียนสวยๆจังเลยครู"  นี่คือคำพูดที่พี่สุพรพูดซื่อ ๆ   จบแค่ ป.4  ขาดโอกาสมาตั้งแต่เด็ก  เพราะความเป็นพี่สาวคนโต   พ่อแม่ไม่เคยให้โอกาสได้เรียนหนังสือ  ถึงอยากจะเรียน    ถึงแม้พี่จะเขียนไม่สวย  แต่พี่ก็มีการพัฒนาอย่างชนิดที่ครูเองก็รู้สึกฉงนเสมอ        "พี่จะเรียนแข่งกับลูกชาย"   นี่คือประโยคต่อมาที่ได้ยิน   "ยินดีจ๊ะ"

นางบุญเจือ   เลิกบางพลัด


  

อาชีพ  สาวโรงงาน

เรียนระดับประถม มาถึง ม.ต้นในปัจจุบัน

คำพูดประทับใจของพี่บุญเจือ  คือ ไม่มีคำพูด  เพราะพี่มาเรียนพี่ไม่เคยพูดคุยอะไรเลย  "เงียบ"  ตั้งใจเรียน  มาเรียนไม่เคยขาดเรียนเลย  ถ้าไม่จำเป็น   ตั้งแต่ระดับประถมจนตอนนี้ พี่เรียน ม.ต้นแล้ว  พี่ก็พูดน้อยมากไม่มีเสียงพี่เลย  แต่สิ่งหนึ่งที่ตอนเรียนประถมศึกษา  พี่จะมีกลิ่นเหล้าติดมาทุกเช้า  จนครูรู้สึกว่าพี่ต้องกินเหล้าย้อมใจมาเรียนหรือเปล่า?   พี่บุญเจือแกก็ยิ้มๆ แต่ไม่พูดอะไร  ทำเอาครูรู้สึกว่าพี่เจือเรียนได้ดี  แต่ครูก็ไม่อยากให้ติดเหล้า  "พี่เจือครูไหว้ละพี่  เลิกเหล้าได้ไหม?"  ประโยคนี้ทรมารพี่เจืออยู่หลายปี  จนขึ้น ม.ต้น  ครูไม่ได้กลิ่นเหล้าอีก  เห็นสีหน้ายิ้มแย้มมากขึ้น  "พี่เจือเลิกเหล้าหรือจ๊ะ"  ครูถาม แกก็ยิ้มๆ เหมือนเิดิมและพยักหน้าว่า  "จ๊ะ"  เพื่อนในห้องแซวว่าแกเลิกเหล้าเพราะครูนะนี่  ขอให้เลิกให้ตลอดนะพี่เพื่อสุขภาพ  ตอนหลังมาแกก็บอกว่า  "ครูขอทุกครั้งที่พบกลุ่มเจอหน้ากันนี่คะ  ตอนนี้ลูกๆ จบปริญญาตรีกันหมดแล้วก็เลยสบายใจด้วย"  นี่คือประโยคเด็ดล่าสุด  "ดีใจด้วยจ๊ะ"

นายโนรา   น้อยติ


อาชีพ  อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  กับ ช่างก่อสร้าง

เรียนระดับประถม มาถึง ม.ต้นในปัจจุบัน

คำพูดประทับใจของพี่โนรา  คือ พี่ลงเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านและอกหักทางการเมืองจนคิดจะลาออกจากการเรียน กศน.แต่ ครูไม่ยอม  "เอาพวกเราใครคิดว่าเป็นเพื่อนพี่โนราแล้วต้องการให้พี่เขาเรียนก็ช่วยโทรศัพท์ไปให้กำลังใจหน่อย"  หลายคนโทร.ไปให้กำลังใจจนพี่กลับมาเรียนอีกครั้ง  "อาจารย์ผมไม่มีกำลังใจเลย  การเมืองมันสกปรกเกินไป"   ครูมองหน้าพี่โนรา  พร้อมกับพูดว่า  "การเมืองกับการเรียนไม่เหมือนกันนะพี่  จริงอยู่ตอนนี้พี่ไม่ได้เป็นอะไรแต่พี่ก็เป็นนักศึกษา  ถึงพี่ไม่ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านแต่พี่โนราจบการศึกษา ประถม ม.ต้น และ ม.ปลายได้ด้วยความสามารถแค่นี้ต่างหากคือความภาคภูิมิใจ"  คุยกันนานเป็นชั่วโมงพี่็ก็พยักหน้าเห็นความจริงและบอกว่า  "ครับ"

สำหรับข้าวสาลีแล้ว  การเป็นครูของกลุ่มบัณฑูรสิงห์  ซึ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่มีนักศึกษาไม่มากเท่ากับ กศน.ตำบลแต่สิ่งที่อยู่กับครูก็คือความสุข  ความสนุกสนาน  และการเห็น  คนที่มาพร้อมกับความตั้งใจนี่คือความสุขจริงๆ  ของการมีชีวิตอยู่   บางครั้งเรามองเห็นว่า  "ความรู้คู่กับคนจริงๆ"  ถ้าเราให้  การให้เป็นสิ่งที่ดีและให้มากที่สุด  สุดท้ายแล้วความงอกงามจะเกิดขึ้น  เห็นสันดานดิบของมนุษย์ทุกคนด้วยสายตาของการให้  เพราะถ้าคิดเอาก่อนแล้วไม่มีทางได้รับความรักจากกลุ่มเป้าหมายได้เลย  คุณเอาเขาได้ครั้งเดียว  แต่คุณจะไม่มีทางได้จากพวกเขาอีกตลอดชีวิต  เป็นเรื่องที่ข้าวสาลีพยายามจะไม่เห็นแก่ตัวเองให้ๆ มากที่สุดในการดำเนินชีวิต  ถ้าเรารักเขาเขาก็จะรักเรา  นี่คือชีวิต

ประวัติกลุ่มบัณฑูรสิงห์

กศน.  กลุ่มบัณฑูรสิงห์  เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่วันที่ ๓ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕   โดย  นางสาวรติรัตน์  รถทอง  ตำแหน่ง ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน  สังกัดศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองสมุทรสาคร ในขณะนั้น  โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ  นายศรชัย  เลิศไตรภพ  รักษาการหัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองสมุทรสาคร  กลุ่มบัณฑูรสิงห์ ได้พบกลุ่มที่โรงเรียนวัดคลองครุ  ตำบลท่าทราย  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสาครเป็นครั้งแรกในภาคเรียนที่  ๑  ปีการศึกษา  ๒๕๔๕

  การจัดการเรียนการสอนใช้หลักสูตรการเรียนการสอน ปี พ.ศ.  ๒๕๔๔  โดยมีนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  จำนวน  ๔๐  คน  ซึ่งหนึ่งในนี้ได้สำเร็จในระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี ที่ ม.กรุงเทพฯ



ภาคเรียน ถม ต้น

๒๕๔๕

-

๔๐

-

๔๐

ร.ร.วัดคลองครุ


๒๕๔๕

๑๓

๒๘

-

๔๑

ร.ร.วัดคลองครุ,ไทยรวมสิน


๒๕๔๖

๑๓

๒๕

-

๓๘

ร.ร.วัดคลองครุ,ไทยรวมสิน


๒๕๔๖

๑๓

๔๑

-

๕๔

ร.ร.วัดตึกมหาชยาราม,พงษ์ทิพย์


๒๕๔๗

๑๓

๕๘

-

๗๑

ร.ร.วัดตึกมหาชยาราม,พงษ์ทิพย์


๒๕๔๗

๒๓

๕๘

-

๘๑

ดับเพลิงเทศบาลฯ,พงษ์ทิพย์


๒๕๔๘

๒๓

๒๗

-

๕๐

ดับเพลิงเทศบาลฯ,พงษ์ทิพย์


๒๕๔๘

๒๓

๒๓

-

๔๖

ดับเพลิงเทศบาลฯ,พงษ์ทิพย์


๒๕๔๙

๔๑

๒๘

-

๖๙

ดับเพลิงเทศบาลฯ,พงษ์ทิพย์


๒๕๔๙

๓๓

๒๓

-

๕๖

ดับเพลิงเทศบาลฯ,พงษ์ทิพย์


๒๕๕๐

๓๙

๒๓

-

๖๒

ดับเพลิงเทศบาลฯ,พงษ์ทิพย์


๒๕๕๐

๕๗

-

-

๕๗

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสมุทรสาคร


๒๕๕๑

๔๘

-

๕๒

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสมุทรสาคร


๒๕๕๑

๔๒

-

๔๖

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสมุทรสาคร


๒๕๕๒

๔๓

-

-

๔๓

ตลาดสดเทศบาลนครสมุทรสาคร


๒๕๕๒

๓๐

-

-

๓๐

ตลาดสดเทศบาลนครสมุทรสาคร


๒๕๕๓

๓๑

-

-

๓๑

ตลาดสดเทศบาลนครสมุทรสาคร


๒๕๕๓

๔๗

-

-

๔๗

ตลาดสดเทศบาลนครสมุทรสาคร


๒๕๕๔

๔๔

๓๗

-

๘๑

ตลาดสดเทศบาลนครสมุทรสาคร


๒๕๕๔

๒๗

๒๗

-

๕๔

ตลาดสดเทศบาลนครสมุทรสาคร


๒๕๕๕

๑๗

๒๙

๔๙

ตลาดสดเทศบาลนครสมุทรสาคร


๒๕๕๕

๓๕

๑๑

๕๑

ตลาดสดเทศบาลนครสมุทรสาคร


รวม

๑,๑๔๙

เห็นตัวเลขนี้แล้วก็นึกว่านานทีเดียว  ตอนนี้ข้าวสาลีอายุ  40  ปีกว่า  แล้ว  ซึ่งทำให้รู้สึกว่า  กศน.กลุ่มบัณฑูรสิงห์ผ่านมาเพื่อเติบโต และข้าวสาลีจะดูแลกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาของเราไปเรื่อยๆ จนกว่า....  (อนาคตเราไม่อาจรู้แต่ทำวันนี้ให้ดีทีุ่สุดก็เพียงพอ)

ขอเล่าตำนานเรื่องเล่าก่อนมาเป็นกลุ่มบัณฑูรสิงห์

กลุ่มบัณฑูรสิงห์  มาจากชื่อ  วัดบัณฑูรสิงห์ที่ข้าวสาลีเกิดมาจากชื่อผู้ก่อตั้งวัดบัณฑูรสิงห์นั่นเอง

ท่านพ่อบัณฑูรสิงห์

ประวัติ ท่านพ่อบัณฑูรสิงห์ เดิมชื่อ  เจิม คุณาบุตร เป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวน ๖ คน บิดาชื่อแพ มารดาชื่อนุ่ม เกิดที่ตำบลบางโทรัด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๘ เมื่ออายุ ๑๑ ปี ได้ไปเรียนหนังสืออยู่กับหลวงพ่อเพชร เจ้าอาวาสวัดตรีจินดาราม จังหวัดสมุทรสงคราม อายุ ๑๔ ปี ย้ายไปอยู่กับหลวงพ่อสมุห์เทศ วัดใหญ่บ้านบ่อ จังหวัดสมุทรสาคร อายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรและเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทที่วัดบางพลีใหญ่ ตำบลบางโทรัด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และมาจำพรรษาที่วัดบัณฑูรสิงห์ เพราะต้องการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบัณฑูรสิงห์ ได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานจนเชี่ยวชาญ และมีความรู้ทางการแพทย์แผนโบราณ เมื่อจำพรรษาอยู่ได้ ๓ พรรษา ก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและได้สร้างความเจริญให้กับวัดเป็นอย่างมาก เมื่ออุปสมบทได้ ๕ พรรษาก็ลาอุปสมบทออกมาอยู่บ้าน ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนาเกลือและค้าขาย ต่อมาได้แต่งงานกับคุณแม่เลียบ รถทอง  ( ย่าทวดคนเล็กของข้าวสาลี)   เมื่ออายุ ๒๘ ปี ได้เป็นหัวหน้าแนะนำหลักธรรมของพระพุทธองค์ และชี้แนวทางเจริญวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ญาติมิตร ศิษยานุศิษย์ และท่านที่เคารพนับถือ ต่อมาการปฏิบัติของท่านเป็นวิธีปฎิบัติที่ถูกทาง เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง มีผู้คนใกล้และไกลได้เดินทางมาสมัครเป็นศิษย์ เรียนวิปัสสนากรรมฐานและการฟังการอบรมธรรมจริยาจากท่าน ต่อมาท่านเห็นว่าวัดบัณฑูรสิงห์จวนจะเป็นวัดร้าง จึงได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้เริ่มวางรากฐานพระอุโบสถหลังใหม่ และได้สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ. ศ. ๒๔๘๙ อีก ๒ ปีต่อมาได้รื้อย้ายปรับปรุงหอสวดมนต์และหอฉันใหม่ โดยสร้างเป็นสามชั้น โครงสร้างเป็นซีเมนต์ ราวปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้สร้างกุฏิล้อมรอบหอสามชั้นไว้ทั้งสามด้าน ประมาณ ๒๐ ห้อง และสิ่งก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ อีกมากมาย จนทางราชการอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อวัดบางโทรัดเป็นวัดบัณฑูรสิงห์ตามชื่อของท่าน นอกจากจะวางรากฐานก่อสร้างในวัดบัณฑูรสิงห์อันเป็นบ้านเกิดแล้ว ยังได้ช่วยเหลือวัดต่าง ๆ อีกเช่น   วัดเพชรสมุทรวิหาร   วัดธรรมาวุธาราม วัดโรงเข้ วัดนาโคก วัดชายทะเลกาหลง วัดชายรางจันทร์และวัดเกตุมดีศรีวราราม

ผลงาน / ผลงานหรือเกียรติคุณที่ได้รับ
ท่านพ่อบัณฑูรสิงห์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ( ต.ม. ) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ. ศ. ๒๕๐๓

สภาพฐานะและที่ตั้งวัด
  วัดบัณฑูรสิงห์  ตั้งอยู่เลขที่ ๒๘ หมู่ที่ ๗ ตำบลบางโทรัด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๑๔๓ ที่ตั้งวัดเนื้อที่ ๓๔ ไร่ ๑ งาน ๒๐ ตารางวา (ผู้มอบไม้ได้บอกไว้)  วัดนี้ตั้งขึ้นประมาณ ๑๘๙ ปี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว  เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙

ปูชนียวัตถุ
  มีพระพุทธรูปหลวงพ่อชินราชประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ มีเจดีย์พระคุณพ่อและพระคุณแม่

  ๒ องค์ตั้งให้คนบูชา 
  มีพระพุทธรูปนั่งปางเลไลยก์์  ประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถ 
  มีรูปหล่อโลหะเท่าตัวจริงของท่านบัณฑูรสิงห์ (เจิม  คุณาบุตร)  อาจารย์วิปัสสนา  ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาจัตุรมุข    
  มีคนมาสักการบูชากันตลอดทั้งวัน 
  มีบ่อน้ำรักษาโรคต่าง ๆ  ที่ท่านบัณฑูรสิงห์สร้างขึ้นไว้

ความเป็นมา
 วัดบัณฑูรสิงห์นี้ไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับการสร้างวัด มีผู้เฒ่าเล่าว่าสืบต่อกันว่าสร้างประมาณ ๑๘๙ ปี  ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๔๕  ผู้มอบที่ดิน คือ นายเป๋ ให้สร้างวัด และมีผู้มอบที่ดินมาอีก  รวมทั้งหมด ๕ ไร่  การก่อสร้างวัดในยุคแรก ๆ คือ พระอาจารย์ผัน และชาวบ้านบางโทรัด  ได้ร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างขึ้น  สภาพที่อยู่เป็นอาคารไม้มุงจาก  ในระยะนั้นมีพระอยู่ด้วยกัน ๒ รูปเท่านั้น  ได้มีพระแถบมาอยู่ด้วยรวมเป็น ๓ รูปด้วยกัน  พระแถบมีความรู้ในด้านช่างไม้  ได้สร้างกุฏิถาวรขึ้น  ต่อมาทั้ง ๓ รูปนี้ได้จากวัดไป  จากนั้น  ท่านบัณฑูรสิงห์ (เจิม  คุณาบุตร)  ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุปกครองวัดนี้ ท่านบัณฑูรสิงห์ (เจิม  คุณาบุตร)  เมื่อบวชอยู่ ๓ พรรษา  ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าและได้ดำเนินการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา  และได้สร้างอุโบสถเป็นเรือนไม้เตี้ย ๆ จนสำเร็จ  ท่านบัณฑูรสิงห์ (เจิม  คุณาบุตร)  ได้ลาสิกขาไปอยู่บ้าน  ในระหว่างนั้นพระอาจารย์ต่าง ๆ  ที่มาอยู่วัดบัณฑูรสิงห์นี้มีประมาณ ๑๓ รูป  ปกครองวัดแล้วไป ท่านบัณฑูรสิงห์ (เจิม  คุณาบุตร)  เมื่อลาสิกขาแล้ว  บ้านอยู่ใกล้วัด  จึงเป็นอาจารย์สอนวิปัสสนาแก่ประชาชนเรื่อยมาจนปี พ.ศ. ๒๔๙๓  ท่านบัณฑูรสิงห์ได้สร้างอุโบสถเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเรียบร้อย  ได้จัดการผูกพัทธสีมา  และในขณะนั้น  พระครูสาครวุฒิชัย  (สละอาภากโร) เป็น

หมายเลขบันทึก: 508948เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2012 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 10:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท