บำนาญ-เกษียณ-สวัสดิการ พนักงานราชการ, สอบ 9 มาตรฐานวิชาชีพครูครั้งที่ 11, เทียบโอนจากในระบบ 51, ลูกเสือ-ต่อใบอนุญาตวิชาชีพครู, บางปีไม่มีหลักสูตรถึง 40 ชั่วโมง, มาตรฐานใน SAR แต่ละปี



         สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 9 เรื่อง ดังนี้

         1. วันที่ 5 พ.ย.55 คุณชื่นใจ ครูอาสาฯ กศน.อ.บางบาล โทร.มาถามผมว่า  จริงหรือไม่ ที่ว่า ถ้าไม่เข้าค่ายอบรมลูกเสือแล้วจะต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูไม่ได้
             ผมตอบว่า  ไม่จริง  เพียงแต่ คุรุสภาให้ความสำคัญกับการอบรมลูกเสือของครูมากขึ้น เช่น จะเพิ่มมาตรฐานวิชาชีพครูอีก 2 มาตรฐาน คือ คุณธรรม กับ จรรยาบรรณวิชาชีพ ( รวมเป็น 11 มาตรฐาน ) โดยใน 2 มาตรฐานนี้กำหนดให้ผู้เรียน ป.บัณฑิต เพื่อจะขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  ต้อง
             1)  เข้าค่ายลูกเสือ อย่างน้อยปีละ
50 ชั่วโมง
             2)  เข้าปฏิบัติธรรมตามแต่ละศาสนาอย่างน้อยปีละ 50 ชั่วโมง
             3)  เข้าศึกษาดูงานในโครงการพระราชดำริ ปีละ 30 ชั่วโมง หรือเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมอาสาสมัครปีละ 30 ชั่วโมง
             แต่ เรื่องจะเพิ่ม 2 มาตรฐานนี้ ยังไม่ผ่านขั้นตอนออกมาเป็นกฎหมายนะ
             เมื่อการเข้าค่ายอบรมลูกเสือ มีความสำคัญเช่นนี้ ครูก็ควรให้ความสำคัญนะครับ
 

              สำหรับเรื่องการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จะดูจาก คุณสมบัติด้านวุฒิ การประพฤติตามจรรยาบรรณ และการพัฒนาตนเองที่ผ่านมา
             ในส่วนของ การพัฒนาตนเองที่ผ่านมา นั้น แนวทางหนึ่งคือ มีผลของการพัฒนาเกี่ยวกับงานในหน้าที่ หรือมีกิจกรรมที่แสดงการเพิ่มพูนสมรรถนะในงาน ดังนี้
             - การเข้ารับการศึกษาให้มีวุฒิเพิ่มขึ้นในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
             - การเข้ารับการอบรมและได้รับวุฒิบัตรแสดงความชำนาญการในการประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา
             - การผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
             - การผ่านการประเมินเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น หรือ อยู่ระหว่างการพิจารณาประเมิน
             - การเป็นวิทยากรในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษา
             - การเขียนตำรา บทความ ผลงานทางวิชาการในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา
             - การสร้างนวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ หรือที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
             - การทำวิจัยในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้และการศึกษา
             - การได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลของคุรุสภา หรือของหน่วยงานที่เสนอให้คุรุสภาพิจารณา
             - การเข้าฟังการบรรยาย อภิปราย ประชุมปฏิบัติการ ประชุมสัมมนาหรืออื่น ๆ โดยมีการลงทะเบียนและมีหลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
             - การศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
             - การจัดทำผลงานหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการคุรุสภาจะกำหนด
             ( ใน 5 ปีที่ผ่านมา ต้องทำกิจกรรมอย่างน้อย 3 ใน 12 กิจกรรมนี้ และต้องขอต่ออายุก่อนวันหมดอายุไม่น้อยกว่า 180 วัน )

         2. วันเดียวกัน ( 5 พ.ย. ) ศน.สุพจน์ สนง.กศน.จ.สระบุรี  โทร.มาถามผมว่า  กศน.อ.บางอำเภอ ในบางปีไม่ได้จัดการศึกษาต่อเนื่องหลักสูตรถึง 40 ชั่วโมงเลย แต่จัดครั้งละไม่กี่ชั่วโมง หลาย ๆ ครั้ง  ทำให้ไม่มีค่าร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ในการประเมินภายนอกในปีนั้น เมื่อเฉลี่ย 3 ปี โดยหารด้วย 3 ก็จะดึงให้คะแนนเฉลี่ยต่ำลง  ถ้าจะรวมการจัดครั้งละไม่กี่ชั่วโมง หลาย ๆ ครั้ง เป็นโครงการเดียวกันเพื่อให้ครบ 40 ชั่วโมง ได้หรือไม่

             ผมตอบว่า  ไม่ต้องรวม  ถ้าปีไหนไม่มีหลักสูตรถึง 40 ชั่วโมงเลย ก็ไม่เป็นไร เวลาเฉลี่ยก็ไม่ต้องนำไปเฉลี่ยด้วย  เช่น ใน 3 ปี มีถึง 40 ชั่วโมงเพียง 2 ปี  ก็นำแค่ 2 ปีนั้นมารวมกันแล้วหารด้วย 2 ไม่ใช่หารด้วย 3  ถ้ามีถึง 40 ชั่วโมงอยู่ปีเดียว ก็ไม่ต้องเฉลี่ยเลย  คะแนนจะไม่ต่ำลง

             เหตุผลที่ไม่นับรวมหลักสูตรที่ไม่ถึง 40 ชั่วโมง เพราะ  ถ้ามีเวลาน้อย จะไม่สามารถสอน/พัฒนา/ปลูกฝัง/ส่งเสริม ตามตัวบ่งชี้ต่าง ๆ เช่น ไม่สามารถสร้างอัตลักษณ์ได้ในเวลาสั้น ๆ  ฉะนั้น ถ้าจะรวมการจัดครั้งละไม่กี่ชั่วโมงหลาย ๆ ครั้งเป็นโครงการเดียว ให้รวมเฉพาะที่ผู้เรียนเป็นกลุ่มเดียวกัน และต้องวัดตัวบ่งชี้ต่าง ๆ เช่นอัตลักษณ์กับผู้เรียนกลุ่มนี้ด้วย  ถ้าผู้เรียนแต่ละคนมาเรียนไม่ครบ 40 ชั่วโมง จะมีปัญหายากลำบากในการวัดตามตัวบ่งชี้ต่าง ๆ และผลการวัดหรือประเมินก็จะต่ำด้วย จึงไม่ต้องรวมไม่ต้องวัด/ประเมิน

         3.วันเดียวกัน ( 5 พ.ย.) คุณนิรมล เจริญศรีศิริพงษ์ ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  รายงานการประเมินตนเอง ( SAR ) ปี 2552 ของ กศน.เราใช้กี่มาตรฐานและกี่ตัวบ่งชี้
             ( มาตรฐานและตัวบ่งชี้ ในแต่ละปี ไม่เหมือนกัน  กศน.อ.บางแห่ง ไม่ได้ทำ SAR ในบางปี  เมื่อจะทำย้อนหลังต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย )

             ผมตอบว่า  SAR ปี 47-50  มี 21 มาตรฐาน  73 ตัวบ่งชี้
             -
SAR ปี 51  มี 9 มาตรฐาน  28 ตัวบ่งชี้  ( ประกาศให้ใช้มาตรฐานเมื่อ 10 ต.ค.50 )
             -
SAR ปี 52  มี 6 มาตรฐาน  22 ตัวบ่งชี้  ( ประกาศให้ใช้มาตรฐานเมื่อ 14 ส.ค.51 )
             -
SAR ปี 53-54  มี 6 มาตรฐาน  27 ตัวบ่งชี้  ( ประกาศให้ใช้มาตรฐานเมื่อ 31 ม.ค.53 )
             -
SAR ปี 55  มี 6 มาตรฐาน  26 ตัวบ่งชี้  ( ประกาศให้ใช้มาตรฐานเมื่อ 19 เม.ย.55 )

         4. วันเดียวกัน ( 5 พ.ย.) คุณPinky Na Thalang ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  คนที่ไม่ประสงค์จะเรียน ป.บัณฑิต แต่เลือกที่จะสอบ 9 มาตรฐานแทน แต่ไม่ได้ขออนุญาตสอนแบบนี้หากสอบมาตรฐานผ่านจะได้ใบประกอบวิชาชีพไหม

             ผมตอบว่า  สอบ 9 มาตรฐานผ่าน เขาก็ให้ขออนุญาตสอน หลังจากนั้น 1 ปีจึงให้ใบประกอบวิชาชีพครู ( ควรให้กศน.อำเภอ “ขออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ไว้เลยเมื่อสอบผ่าน 9 มาตรฐานจะได้ประเมินการสอนเพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้เลย )

         5. ท่านเลขาธิการ กศน. ( นายประเสริฐ บุญเรือง ) พูดในที่ประชุมที่โรงแรมทองธารินทร์ อ.เมืองฯ จ.สุรินทร์ ช่วงงานกฐินพระราชทาน ว่า พนักงานราชการ กศน.เกษียณแค่อายุ 60 ปี
             เรื่องนี้ ท่านเลาขาฯประเสริฐ เคยพูดว่า จ้างพนักงานราชการ กศน.อายุเกิน 60 ปีได้  ผมจึงถามเรื่องนี้กับ กจ. กศน. ในวันที่ 7 พ.ย.55 ได้รับคำตอบว่าการจะต่อสัญญาพนักงานราชการเกินอายุ 60 ปี ต้องเป็นระเบียบของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเรื่องนี้ นิติกร กจ.กศน.กำลังพิจารณา มี "แนวโน้ม” ว่า จะทำหนังสือแจ้งมาจังหวัด ไม่ให้ต่อสัญญาจ้างพนักงานราชการเกินอายุ 60 ปีส่วนที่ทำสัญญาเกิน 60 ปีไปแล้ว ก็ให้จ้างไปจนกว่าจะสิ้นปีงบประมาณ 2556 แล้วเลิกจ้าง )

         6. คืนวันที่ 7 พ.ย.55 คุณอารีย์ ส่ง e-Mail ผ่าน Gotoknow.org  ให้ผมส่งแนวทางการเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตร 51 ในระบบ กับหลักสูตร กศน.51 ไปให้             ผมตอบว่า  ไม่มีครับ ให้สถานศึกษาพิจารณาเทียบโอนเอง
             การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรต่าง ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ และส่วนกลางไม่ได้จัดทำตารางเทียบโอนไว้ ให้ใช้ "หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียน" ในหนังสือ "แนวทางการเทียบโอนผลการเรียน หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551" หน้า 7-8 ( เล่มปกสีเขียว อยู่ในชุด 9 เล่ม ที่แจกให้ครูทุกคนตอนอบรมหลักสูตรใหม่ )
             ( ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้ในข้อ 3 ที่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/417195 )

         7. คืนวันเดียวกัน ( 7 พ.ย.55 ) คุณนรินทร คูประสิทธิ์ถามผมทาง e-Mail ผ่าน Gotoknow.org ว่า  ได้เกษียณอายุการทำงานของ กศน.แล้ว อายุ 60 ปี อยากทราบว่าทำไมประกันสังคมถึงได้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพช้ามาก ปัจจุบันยังไม่ได้เงินเลย และทางสำนักงาน กศน.มีระเบียบที่จะให้เงินในการทำงานกับพนักงานราชการที่เกษียณอายุไปแล้วบ้างหรือไม่ เช่น ทำงานมาแล้วเป็นสิบ ๆ ปี  ช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วย              ผมตอบว่า
             1)  ผมไม่ทราบว่า ทำไมประกันสังคมถึงได้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพช้ามาก
  ต้องถามที่ประกันสังคม
             2)  ทางสำนักงาน กศน. ( ทางราชการ ) ได้จ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้พนักงานราชการอยู่ทุกเดือนแล้ว นอกเหนือจากนี้ให้รับจากระบบประกันสังคมครับ (กศน.ตำบลคำขวาง อ.วารินชำราบ ก็เคยถามและผมตอบในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบเมื่อ 19 ต.ค.55 ว่า บริษัทเอกชนมีสวัสดิการตรวจสุขภาพประจำปีให้พนักงาน แล้วพนักงานราชการของทางราชการมีสวัสดิการนี้หรือไม่ ) คือ
             พนักงานราชการบรรจุใหม่ จะได้เงินเดือนขั้นต้นมากกว่าข้าราชการบรรจุใหม่ 20 %
             ( เมื่อก่อนข้าราชการพลเรือนบรรจุใหม่ได้ 7,940 บาท พนักงานราชการบรรจุใหม่ได้ 9,530 บาท ไม่รวมค่าครองชีพ ต่อมา ข้าราชการได้ 9,140 พนักงานราชการ 10,970ปัจจุบันเริ่ม 1 ม.ค.55 ข้าราชการ 11,680 พนักงานราชการ 14,020 บาท )
             โดย 20 % นี้ แบ่งเป็น
             - ค่าประกันสังคม ส่วนที่ลูกจ้างต้องจ่ายสมทบ 5 %
             - ชดเชยบำเหน็จบำนาญ 10 % และ
             - เป็นเงินสวัสดิการต่าง ๆ ( เช่นค่าการศึกษาบุตร ค่ารักษาพยาบาล ค่าตรวจสุขภาพ ) 5 %

         8. วันที่ 8 พ.ย.55 คุรุสภาประกาศเปิดสอบ 9 มาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 11  รับสมัครระหว่าง 11-31 ม.ค.56  ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.ksp.or.th/ksp2009/upload/education/files/2975-7763.pdf

         9. วันที่ 12-16 พ.ย.55 ผมไปประชุมจัดทำหลักเกณฑ์ แนวทางการดำเนินงาน โครงการยกระดับการศึกษาประชาชนจบ ม.6 ใน 8 เดือน อย่างมีคุณภาพ ที่โรงแรมนนทบุรีพาเลซ 

หมายเลขบันทึก: 508111เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2012 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มาเยี่ยมให้กำลังใจในการทำงานสร้างสรรค์แห่งการแบ่งปันความรู้ครับ. อ.เอกชัย

  • ขอบคุณค่ะ ท่านIco24 เอกชัย กศน. ผักไห่
  • ได้ความรู้มากมายค่ะ

ขอบคุณ อ.เอกชัย สำหรับข้อมูลดีๆที่อาจารย์นำมาลงไว้ใน gotoknow ทำให้เราได้รับความรู้มากมาย และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปบอกเพื่อนๆด้วย ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ Ico48 Ico48 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันค่ะ

ตอนนี้อยากได้รายชื่อมหาวิทยาลัยที่ยังไม่ปิดรับสมัคร ป.บัณฑิตเพื่อเอาไปเผลแพร่ให้เพื่อน กศน.เราไปสมัครเรียนครับ

มีหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สามารถนำไปเรียนต่อ ป.บัณฑิตได้หรือไม่ค่ะ

รบกวนด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ


ช่วงนี้มีแต่ ป.บัณฑิตแบบที่เป็นโครงการความร่วมมือของกรมต่าง ๆ กับมหาวิทยาลัยและคุรุสภา ไม่ได้รับบบุคคลทั่วไป ผู้มีสิทธิเรียนนอกจากจะมีหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว ยังต้องมีรายชื่อที่สำรวจส่งคุรุสภาแล้วด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท