ห้องเรียนกลับทาง แนวทางสร้างสรรค์ระหว่างครูกับผู้นิเทศ


       วันนี้ระหว่างขับรถได้ทบทวนว่า เคยนำกระบวนการของห้องเรียนกลับทางมาทดลองใช้บ้างหรือไม่ เพราะคลับคล้ายคลับคลาว่า จะเคยได้ทดลองทำคล้าย ๆนี้ ก็พบว่า เคยทดลองนำมาใช้กับคุณครูในการเขียนโปรเจค เพื่อรวบรวมจัดทำหนังสือคู่มือการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ลองดูนะครับ

       หลังจากผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เขียนการสอนประวัติศาสตร์หัวข้อ เขียนเรื่องจากภาพ จากคณะทำงานโดยใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ ๕ ขั้นตอน  ผู้เขียนจึงได้เริ่มวางแผน กำหนดหัวเรื่องให้น่าสนใจ โดยให้ชื่อว่า " ภาพเก่าเล่าอดีต" จากนั้นก็หาภาพเก่าประทับใจจากอินเตอร์เน็ต มาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางประวัติศาสตร์ เชิญคุณครูที่สอนดีสอนเก่งด้านภาษาไทย และครูประวัติศาสตร์มาร่วมเรียนรู้แผนการสอน จัดทำคู่มือ และ CD ให้คุณครูนำไปทดลองสอน ถ่ายภาพ เก็บผลงาน และการสะท้อนคิดของนักเรียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

      หลังจากครูนำสื่อไปทดลองสอนตามกระบวนการที่กำหนดก็ได้นำผลการสอนพร้อมผลงานนักเรียนมาสรุปและอภิปรายกัน พบว่าคุณครูชอบกระบวนการสอนประวัติศาสตร์ (ที่ถูกละเลย) ผ่านรูปภาพนี้กันทุกคน นักเรียนก็ชอบที่    ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์  ได้สืบค้นข้อมูล นำเสนอผลการสืบค้นเป็นกลุ่มผ่าน Flip Chart และโปรเจคเตอร์  รวมถึงการเขียนเรียงความเขียนเรื่องเล่าจากภาพ  รวมถึงการสะท้องคิดของทุกฝ่าย

 สะท้อนคิดจากคุณครูและนักเรียน

- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเขียนเรื่องจากภาพเก่า เล่าอดีต ตามขั้นตอนกระบวนการทางประวัติศาสตร์นักเรียน ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสนใจ รู้จักการคิดวิเคราะห์ เสนอแนวคิด แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ มาดำเนินการตามกิจกรรมได้ดี รู้จักปฏิบัติตนในการทำงานร่วมกับผู้อื่น กล้าแสดงออก  รู้จักรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม โยงความรู้ที่ได้มาใช้ในการการเขียนเรื่องจากภาพได้ดี

- การสอนตามกระบวนการเขียนเรื่องจากภาพสามารถนำไปบูรณาการกับสาระอื่น ๆ ได้ดี  ส่งเสริมและฝึกฝนการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรสถานศึกษา

- จากการนำวิธีการทางสอนประวัติศาสตร์จากรูปภาพ ไปใช้สอนนักเรียนพบว่า นักเรียนให้ความสนใจ ร่วมกันศึกษาค้นคว้าเรื่องราวจากรูปภาพในอดีต จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อย่างดียิ่ง  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  และนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์ 

-ได้ศึกษาภาพพระราชกรณียกิจในอดีตของพระมหากษัตริย์ รู้สึกภาคภูมิใจที่ชาวจังหวัดชัยนาทได้มีโอกาสเข้าเฝ้ารับเสด็จ ชื่นชมพระบารมีของพระองค์อย่างใกล้ชิด และทำให้ทราบว่าพระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายเพื่อประชาชนคนไทยทั้งมวล

ข้อเสนอแนะ

  - การสอนเขียนเรื่องเล่า ภาพเก่าเล่าอดีต” ควรสอนเป็นขั้นตอนเพื่อสร้างพื้นฐานในการเล่าเรื่องและเขียนเรื่องก่อน

  - เมื่อนักเรียนเขียนเรื่องไม่ได้ คุณครูต้องส่งเสริมให้นักเรียนสร้างคำจากภาพให้มากที่สุดก่อน เพื่อนำมาเรียงร้อยถ้อยคำเป็นเรื่องราว  ที่สละสลวย และมีคุณภาพ

  - การบูรณาการสอนประวัติศาสตร์ภาพเก่าเล่าอดีต” กับสาระภาษาไทยโดยใช้พื้นฐานของกันและกันจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

  - การสอนประวัติศาสตร์โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่จะทำให้นักเรียนไม่เบื่อ มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอนมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 508107เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2012 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ห้องเรียนกลับทาง ต้องไม่ลืม ประวัติศาสตร์ นะคะ

ขอบคุณ บทความดีดีนี้นะคะ

ดิฉันก็สนใจเรื่องห้องเรียนกลับทางมากค่ะ แต่ไม่รู้จะนำเข้าสู่ห้องเรียนอย่างไรค่ะ

เรียน อ.จำนงครับ. ลองเริ่มต้นที่การบ้านง่าย ๆก่อนก็ได้ครับ กำหนดหัวข้อให้นักเรียนไปดู youtube เรื่องที่กำหนดให้ เช่นจะสอนให้นักเรียนรักบุญ กลัวบาป ก็ให้ดูกฎแห่งกรรม แล้วมาอภิปรายในห้องกัน น่าจะสนุกนะครับ พอคุ้นเคยจึงเริ่มสร้างสื่อเอง ขอให้ประสบผลสำเร็จนะครับ

ได้แนวคิดในการสอน ขออนุญาตนำไปใช้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท