เรื่องเล่าของคุณทองดี งามเสริฐ : จัดการความรู้สู่สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน


ชุมชนมีความรู้เพราะเป็นคนทำ เพราะได้ทำมาแล้ว

                เรื่องเล่าจากคุณทองดี  งามเสริฐ ที่เล่าในงานตลาดนัดความรู้..ขององค์กรแห่งการเรียนรู้" มรภ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 7 กันยายน  2549 (ลิงค์อ่าน) ต่อจากคุณสายัณห์ ปิกวงค์(ลิงค์อ่าน)  และคุณเชิงชาย  เรือนคำปา (ลิงค์อ่าน)


 

                 คุณทองดี  งามเสริฐเล่าว่า

                " เป็นการเล่านะครับในพื้นที่นั้น  คือคุณเอื้อและคุณอำนวยนั้นมีพร้อมหมดอยู่แล้วในระดับจังหวัดอำเภอ/ตำบล   ก็มาจนถึงชุมชนหมู่บ้าน   อย่างผมท่านเกษตรอำเภอ/จังหวัด  บางครั้งอยากรู้ว่าเมื่อเพาะออกมาข้าวจะได้กี่รวง กี่เมล็ด แล้วใช้กี่เมล็ดจะได้หนึ่งถัง  ตอนแรกผมก็ไม่รู้   แต่จากความอยากรู้   ความอยากว่าเราทำนาคือเกษตรกรที่ทำนาอย่างเรา การทำนาแบบยั่งยืนต่อไปในอนาคต  ซึ่งเราต้องมองย้อนเมื่อ10-20 ปี ชุมชนของเราไม่เคยใช้สารเคมี ไม่เคยใช้ปุ๋ยเคมี ไม่เคยฉีดพ่นสารฆ่าแมลง  บรรพบุรุษของเราทำไร่ทำนา ทำให้เราทำสืบเนื่องต่อมา หลานท่านอาจประสบความสำเร็จจาก การทำไร่ทำนา  สามารถส่งลูกเล่าเรียนสูงๆ จนได้ทำงาน เป็นอาจารย์บ้าง  เป็นเจ้าหน้าที่ต่างๆ                 
              
สำหรับของผมเองฐานะทางครอบครัวของผมค่อนข้างจะขาดแคลน  ความรู้เราก็อยู่ในชนบทของเราเอง  แล้วเราจะทำอย่างไรให้คนที่เขาไม่รู้ รู้ได้ คนชนบทเป็นคนทำนา เป็นคนที่ใช้แรงงาน  ก็ได้มีการร่วมกัน ถือเป็นการร่วมกัน  ชุมชนผมมีประมาณ
2-3 พันคน แต่มีแค่ 40 รายสนใจที่จะทำ อาหารปลอดภัยและเข้าร่วมโครงการ  ให้มีความปลอดภัย ได้ไหม    ซึ่งอย่างพี่สายัณห์ผมถือว่าเป็นอาจารยน์  สอนผมมาตั้งแต่ปี 2543  ผมเข้าร่วมโครงการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริห์  ตอนนั้นสอนนะครับ  ก็มีการใช้ปุ๋ยใช้สารเคมี  แต่ต้องใช้ในระยะที่เหมาะสม  
              
แต่ช่วงหลังๆ  ก็เกิดความคิดว่าเมื่อก่อนเราก็ไม่เคยใช้สารเคมีไม่ฉีดยาเราก็ยังอยู่ได้   เราก็เลยปรับเปลี่ยนมาจนทุกวันนี้ในระดับการทำนาในชุมชนของบ้านหนองกองหรือทั้งตำบลนาบ่อคำเลยก็ว่าได้  ก็คือจะลดการใช้สารเคมี
คือ1 ดิน เราต้องมองว่ามีดิน - น้ำ  เมื่อ 20 ปีก่อนดินอุดมสมบูรณ์  วัตถุอินทรีย์ต่างๆ มีความสมบูรณ์มาก ใช้จอบเล่มเดียวทำนานะครับก็สามารถที่จะเก็บผลผลิตได้ข้าวพียงพอและได้ข้าวกิน  แต่เดี๋ยวนี้ทำกัน 20 – 30  ไร่ บางคนไม่กล้ากินข้าวตนเอง  เอาไปจำหน่ายแล้วก็ซ้อข้าวจากในท้องตลาด   จริงๆ ผมเคยไป    พี่ๆ ทำนาพี่เก็บข้าวไว้กินไหมผมจะเก็บข้าวไว้กินเอง  พอถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผมจะเก็บข้าวไว้บริโภคเอง 2-3 เกียวน เพราะผมไม่ต้องกลัวสารเคมี  เพราะความคิดริเริ่มจากส่วนกลางลงมาถึงพื้นล่าง มันจะประสานกัน เอื้ออำนวย               
              
ตอนแรกเริ่มการเรียนรู้การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์  เมื่อก่อนเกษตรกรเขาก็ไม่รู้    ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชก็ไม่มี  พอเก็บเกี่ยวก็จะเก็บไว้ทำพันธุ์ หลังๆ เริ่มรู้ว่าจริงๆ  เราไม่ต้องเก็บเองเราไปซื้อเมล็ดพันธุ์จากพ่อค้าหรือศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช เขาก็มีจำหน่ายอยู่ทุกหนทุกแห่ง  แต่จริงๆ เลย ข้าวก็มาจากการทำและใช้สารเคมี  ทำจากปุ๋ยจากสารเคมีนั่นแหละ   เราก็สามารถจะรู้ได้เพราะเราเป็นคนทำ  แต่เขาเป็นคนจำหน่าย  เราจำหน่ายให้เขาถังละ
50 บาท แต่เขาจำหน่ายให้เราถังละ ร้อยกว่าบาท  ผมเคยไปซื้อที่เชียงใหม่-ลำปางซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์หลัก ถึง 150 บาท  ก็ซื้อเอาไปทำ
               ในชุมชนของผมในเรื่องการใช้เมล็ดพันธุ์ยังคงต้องเสาะแสวงหาพันธุ์ที่จะมาจำหน่ายในชุมชน   คือร่วมกันมาประมาณ
6 ปี แล้วครับ  ผมก็รู้แล้วว่าไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี  เราไม่ต้องไปบอกปุ๋ยสูตรโน้นสูตรนี้  ถ้ามันจำเป็นเราก็ใช้เพียงเล็กน้อย เราต้องมองด้วยว่าที่ของเราเป็นอย่างไร   ก็เหมือนอย่างกรมพัฒนาที่ดินก็เคยช่วย  พื้นที่ของเราเสื่อมสภาพแล้วเราต้องปรับปรุงบำรุงดิน  เราก็ทำปุ๋ยหมัก  ในส่วนนี้ 1 เราก็จะได้อาหารปลอดภัย  ข้าวปลอดภัย แล้ว 2 เราก็จะลดต้นทุนการผลิต   ซึ่งตัวเกษตรกรเองจะรู้ดีว่าข้าวปลอดภัย   ก่อนเก็บเกี่ยวข้าว 15 วันเขาก็ยังฉีด เพราะถ้าไม่ฉีดเขาไม่ได้เกี่ยวเขาเกี่ยวเสร็จเขาก็เอาไปขาย  ขายเสร็จก็แพ็คถุงเราก็ซื้อกลับมา  แต่จริงๆ แล้ว เกษตรกรที่ขายไปแล้วซื้อกลับมาก็ข้าวตัวเองนั่นแหละ  ถ้ามีเคมี ตัวเองนั่นแหละเป็นคนกิจ  ถ้าอย่างเกษตรกรมั่นใจว่าปลอดภัย   เราเก็บไว้กินเองเราก็สามารถที่จะอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง   
              
ที่ผมเข้ามาร่วมในจุดนี้ ตอนแรกก็มีหลายคนเห็นผมทำแปลง  ไปทำน้ำ ไปทำการจดบันทึก อันนี้ข้าวได้
5 วัน สูงเท่าไร   ข้าวกี่วันจะตั้งท้อง  ข้าวกี่วันจะออกรวง  กี่วันจะได้เกี่ยว    เราต้องศึกษา แช่น้ำกี่วัน แล้วเอามาเพาะกี่วันถึงจะงอก  อย่างกระถางที่นำมาโชว์ในวันนี้นะครับ  ข้าวตัวนี้จะเป็นข้าวสาร ซึ่งแกะออกจากเปลือก แล้วก็นำมาเพาะ มาเพาะเป็นต้น  
              
ตอนแรกเหมือที่พี่เชิงชายบอก ทองดีตอนนี้เขามีการทำแกะข้าวสารเพาะเมล็ด  เกษตรกรตำบลนาบ่อคำเขาไม่เชื่อหรอกครับ  ใครเขาเอาข้าวสารมาเพาะเป็นต้นข้าวได้   ผมก็ตอบว่าเดี๋ยวผมจะพาไปดู    คุณเอื้อ คุณอำนวยเขาก็รู้แต่ไม่ได้ทำ   แต่คนที่เขาทำอยู่อีกที่หนึ่งพอดีช่วงนั้นงบประมาณของ อบต.และจังหวัดยังไม่มี    เราก็เอาตังค์สำรองของกลุ่มของเรา  พันสองพัน ค่าอาหารค่าน้ำมันรถนิดหน่อยช่วยกันประหยัดๆ หน่อย  ไปดูที่พิจิตรกลับมาตอนเย็นผมก็ลงมือปฏิบัติเลย  ข้าวตอนนี้อายุได้
75 วัน  เริ่มตั้งท้อง                    
              
นี่ก็คือการประสานงานกับกรมส่งเสริมการเกษตรจนมาถึงพื้นล่าง  ขอคุยไว้เพียงแค่นี้ก่อนครับ ชุมชนมีความรู้เพราะเป็นคนทำ  เพราะได้ทำมาแล้ว  ขณะเดียวกันก็มีการบันทึกนะครับ"


               เป็นอีกประสบการณ์หนึ่งของคุณกิจของเรา ซึ่งขณะนี้ได้ยกระดับเป็นนักจัดการความรู้ท้องถิ่นไปแล้ว  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

          คุณทองดี  งามเสริฐ 

           กลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหนองกอง 

          หมู่ที่ 4 ตำบลนาบ่อคำ  อำเภอเมือง

          จังหวัดกำแพงเพชร 62000

หมายเลขบันทึก: 50776เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2006 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท