e-Learning


e-Learning
เมื่อวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2549 ได้มีโอกาสเข้าร่วมการสัมมนา เรื่อง e-learning เพื่อการศึกษาแห่งประเทศไทย กิจกรรมหนึ่งใน University Fair 2006 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ขออนุญาต “แลกเปลี่ยนเรียนรู้... เล่าสู่กันฟัง” เพื่อเป็นประโยชน์ แก่ผู้สนใจดังนี้

1. จากการได้รับฟังการบรรยายโดยวิทยากรจากประเทศ เกาหลี สิงคโปร์ ญี่ปุ่น Thai Cyber University รวมทั้งการบรรยายจากท่านเลขาธิการ สกอ. (ศ. พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์) ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการนำ e-learning มาใช้เพื่อพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเกาหลี ซึ่งได้เตรียมการให้มีความพร้อมอย่างมากและตั้งเป้าจะใช้ทั้งประเทศ ในปี 2008 (รายละเอียดการสัมมนาและ slide ประกอบการบรรยายที่ www.thaicyberu.go.th)

2. การบริหารจัดการ e-leaning ต้องเกี่ยวข้องกับคณาจารย์ผู้สอนและบุคลากร/ปัจจัยเกื้อหนุนสนับสนุนด้าน IT ซึ่งขณะนี้ทาง Thai Cyber U. (TCU) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ สกอ. ได้เริ่มสนับสนุนแนะนำด้านการจัดทำ LMS เพื่อบริหารจัดการ Coursewares ต่างๆ และ e-book ที่คณาจารย์สามารถสมัครเข้าใช้บริการผ่านการลงทะเบียนสมาชิก รวมทั้งการ download โปรแกรมได้ที่ web ของ TCU ข้างต้น

3. ในส่วนของระบบ KC ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งคณาจารย์หลายท่านเข้าไปใช้งาน ได้รับการยอมรับเป็น LMS ต้นแบบ ต่อไปคาดว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันทุกสถาบันผ่าน TCU.

4. ในการสัมมนาได้มีการนำเสนอ Best Practice จากโรงเรียน เช่นการจัดทำระบบ MIS เพื่อการบริหารโรงเรียน การดำเนินการคล้ายๆกับที่คณะฯกำลังดำเนินการอยู่ โดยเริ่มจากการทำ System Analysis ผ่านการสำรวจข้อมูลผู้ใช้ วางระบบ และพัฒนาโปรแกรมเพื่อจัดทำระบบ MIS ที่สมบูรณ์และสามารถใช้งานเต็มรูปแบบ ศูนย์ผลิตสื่อการเรียนการสอนและการบริการด้าน IT รวมทั้งการบูรณาการ ICT ในการเรียนการสอน โรงเรียนได้สร้างบรรยกาศการเรียนรู้ที่ดีมาก และพัฒนาส่วนนี้ไปไกลมาก นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่าน สื่อ/ web/internet

5. ในส่วนงานที่รับผิดชอบ ด้านการจัดการเรียนการสอน เห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ e-learning ทั้งนี้ปัญหาเร่งด่วนคงเป็นเรื่องของการเพิ่มการผลิตบัณฑิตและการไม่เข้าชั้นเรียนของนักศึกษา โดยสามารถดำเนินการดังนี้- จัดกิจกรรมแนะนำคณาจารย์ในการจัดทำบทเรียน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิธีการสอน การถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์กับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ซึ่งในส่วนนี้คงสามารถดำเนินการได้เลย เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการนำข้อมูลขึ้น web คณะฯ อาจแนะนำให้คณาจารย์สร้าง coursewares ผ่าน KC ของ มช. หรือ LMS ของ TCU- ในส่วนของการบริการด้านการผลิตสื่อการสอน ในปัจจุบันหลายแห่งได้ปรับเปลี่ยนจาก ตำรา เป็น e-book และเปลี่ยนจาก Cassette/ TV/ VDO/ DVD เป็น web-based/ internet based เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นและหาองค์ความรู้ได้นอกห้องเรียนมากขึ้น ในส่วนนี้คงต้องหารือเชิงนโยบายของคณะฯ ซึ่งอาจรวมถึง การปรับเปลี่ยนโครงสร้างในงานต่างๆ รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณให้สอดรับในส่วนนี้ด้วย

คำสำคัญ (Tags): #e-learning
หมายเลขบันทึก: 50683เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2006 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท