อ.ดร.วรกาญจน์
กฏหมาย,การศึกษา,บัญชี,ศาสนา อ.ดร.วรกาญจน์ สุขสดเขียว

การศึกษากับประชาคมอาเซียน และมาตรฐานสากล


การศึกษากับประชาคมอาเซียน และมาตรฐานสากล

สวัสดีครับ เพื่อนสมาชิกทุกท่าน วันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องการศึกษากับประชาคมอาเซียน และมาตรฐานสากล   ในปี 2558 นี้ ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน รวมทั้งประเทศไทยก็ต้องดำเนินการตามข้อตกลงที่ได้มีพันธะสัญญากันไว้กับประเทศเพื่อนบ้าน ในความเห็นของผมว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ ที่ประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน จะมาให้ความร่วมมือกันในเรื่องต่าง ๆ  ซึ่งในสามเรื่องที่สำคัญ คือความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม สรุปโดยย่อนะครับ เพราะหากประเทศเพื่อนบ้านต่างคน ต่างอยู่ไม่สนใจกันแล้ว และหากมีความขัดแย้งกัน สุดท้ายก็คงไปไม่รอดกันทั้งหมดแน่ครับ

ในปัจจุบันนี้ โลกเราเปลี่ยนแปลงไปมากครับ เช่น การสื่อสารและการคมนาคม ทำได้อย่างรวดเร็วครับ สังคมและวัฒนธรรมสามารถส่งผ่านถ่ายทอดกันอย่างรวดเร็วมาก ดูจากแฟชั่นในประเทศชั้นนำ ก็สามารถส่งผ่านไปยังประเทศอื่น ๆ ได้ภายในชั่ววันแค่นั้นครับ อย่างกรณีกังนั่มสไตล์ของนักร้องในประเทศเกาหลีใต้สิครับ แผล๊บเดียวกระจายไปทั่วโลกแล้วครับ ดังนั้น หากประเทศของเราไม่เร่งพัฒนา และเข้าร่วมกลุ่มกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว เราคงต้องหล้าหลังเขาแน่ครับ  การรวมกลุ่มกันของประเทศอาเซียน เราก็ควรใช้หลักที่เป็นประโยชน์ร่วมกันมาพิจารณาเป็นลำดับแรกก่อนสิครับ ผมว่าเรื่องการศึกษานี้หละดีที่สุดครับ เพราะการศึกษาของทุกประเทศมี  นโยบายเหมือนกัน คือพัฒนาคนให้มีคุณภาพที่จะอยู่ในสังคมโลกนี้อย่างมีความสุข เดี๋ยวนี้ ผมว่าทุกประเทศต้องการให้เด็กนักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี กตัญญููกับผู้มีพระคุณคือคุณพ่อคุณแม่ และกตัญญูกับประเทศของตน มีความรู้ในด้านภาษาสากล สามารถใช้ ฟังพูดและอ่านเขียนได้ สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้เป็นอย่างดี มีความรู้ทางวิชาการได้เป็นอย่างดี สามารถเลือกอาชีพตามที่ตนต้องการได้ ประกอบอาชีพอย่างสุจริตและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข   คำว่าอยู่สังคมอย่างมีความสุข ที่ผมต้องเน้นเพราะ บางทีเราอาจจะไม่ได้ใช้ชีวิตในประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของเราครับ เราอาจเปลี่ยนวิถีชีวิตไปอยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียนหรือประเทศอื่น ที่เขาต้องการอาชีพที่มีความจำเป็นเพื่อไปพัฒนาสังคมของประเทศของเขาก็ได้ครับ ถ้าในสังคมของประเทศเพื่อนบ้านเขายังขาดแคลนในอาชีพที่จำเป็นนั้น ๆ ครับ  ดังนั้นผมจึงเห็นว่า การศึกษานี้และครับที่จะทำให้ประเทศในประชาคมอาเซียนมีความผูกพันกันได้อย่างง่ายที่สุด 

ผมเห็นว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนควรจัดการศึกษาในระดับมาตรฐานสากลครับ ยกเว้นบางรายวิชาที่มีความจำเป็นต้องมีความเป็นชาติของตนเอง  และควรมีการแลกเปลี่ยนนักเรียนต่อกัน มีการจัดค่ายฤดูร้อนให้นักเรียนของแต่ละประเทศแลกเปลี่ยนกัน เพื่อสร้างความสามัคคี สร้างความเป็นมิตรที่ดีต่อกัน ในทุกระดับการศึกษา ที่สามารถดำเนินการได้ครับ ควรจัดงานทางการศึกษาในระดับประเทศกลุ่มอาเซียนกันอย่างต่อเนื่อง มีการให้ความช่วยเหลือประเทศที่มีความขาดแคลน ทั้งทรัพยากรบุคคล และงบประมาณ ผมว่าถ้าเรามาเริ่มต้น ในเรื่องนี้แล้ว ต่อไปประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน จะเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันอย่างมั่นคง ท่านลองคิดสิครับ ทำไมเราไม่เสียเอกราชแก่ประเทศมหาอำนาจในอดีต ประเทศไทยเราเกือบถูกแบ่งเป็นสองประเทศโดยมีแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเส้นเขตแดนแล้วครับ แต่เพราะพระปรีชาชาญของสมเด็จพระปิยะมหาราชทรงใช้กระบวนการทางการศึกษานี้แหละครับ ทำให้ประเทศไทยเราไม่ต้องเสียเอกราชให้แก่ประเทศใดครับ และยังเกิดการพัฒนาบ้านเมืองไทยให้มีความเป็นยู่ที่ดีขึ้นเป็นอย่างมากจนถึงในปัจจุบันนี้ครับ

   

หมายเลขบันทึก: 506556เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2012 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท