หลักเกณฑ์การจัดคนเข้าแท่ง ที่สับสน?


ระบบแท่ง

ก.พ.อ. ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจัดคนเข้าแท่ง ?

          นับตั้งแต่รัฐบาลได้ให้มีการยกเลิกระบบข้าราชการที่สังกัด ก.พ. จากที่แบ่งเป็น 11 ระดับ (ซี 1- ซี11) ให้ปรับเป็นระบบแท่งเป็น  4 แท่ง และเนื่องจากข้าราชการพลเรือนในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆเป็นข้าราชการในสังกัด ก.พ.อ. ที่แต่เดิมไม่เคยมีระบบบริหารงานบุคคลเป็นของตนเอง เหมือนอย่างที่หน่วยงานอื่นมีระบบการบริหารงานบุคคลเป็นของตนเอง เช่น ก.พ. (ข้าราชการพลเรือน) , ก.ต.ร.(ข้าราชการตำรวจ) , ก.ต.(ข้าราชการตุลาการ) ที่ผ่านมาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัด ก.พ.อ. เมื่อไม่มีระบบการบริหารงานบุคคลเป็นของตนเอง แล้วอยู่มาได้อย่างไร? คำตอบคือไปยืมของ ก.พ. มาใช้จึงมีระบบซีในมหาวิทยาลัย ต่อมาเมื่อวันหนึ่ง ก.พ. ซึ่งเป็นเจ้าของระบบการบริหารงานบุคคลต้นตำหรับ 11 ซี มีการยกเลิกระบบซี ปรับเปลี่ยนมาเป็นระบบแท่ง ก.พ.อ. ซึ่งแต่เดิมก็ไม่เคยมีระบบการบริหารงานบุคคลเป็นของตนเองอยู่แล้วก็ต้องปรับเปลี่ยนตาม ก.พ. ซึ่งถ้าไม่ปรับเปลี่ยน ก.พ.อ. ก็ต้องไปคิดระบบการบริหารงานบุคคลเป็นของตนเอง

          โดยเมื่อ ก.พ.อ. เลือกที่จะยืม(จมูก)การบริหารงานบุคคลของ ก.พ. มาใช้กับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงได้ประยุกต์ปรับการบริหารงานบุคคลแบบระบบแท่งของ ก.พ.ที่มี 4 แท่งมาใช้กับ ก.พ.อ. โดยยกเลิกระบบซีแล้วจัดคนที่เป็นข้าราชการที่มีซีลงสู่ระบบแท่งที่มี 4 แท่งที่ไม่มีซี ดังนี้คือ....

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ศ.(ซี11)

 

 

 

 

 

 

ศ.(ซี9-10)

 

เชี่ยวชาญพิเศษ(ซี10)

 

 

 

 

รศ.(ซี7-9)

 

เชี่ยวชาญ
(ซี9)

 

ชำนาญงานพิเศษ(ซี7-8)

ระดับสูง(ซี9)

 

ผศ.(ซี6-8)

 

ชำนาญการ
(ซี6-7)

 

ชำนาญงาน
(ซี5-6)

ระดับต้น(ซี8)

 

อ.(ซี4-7)

 

ปฏิบัติการ
(ซี3-5)

 

ปฏิบัติงาน
(ซี1-4)

แท่งอำนวยการ

 

แท่งวิชาการ

 

แท่งวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ

 

แท่งทั่วไป

แท่งที่ 1

 

แท่งที่ 2

 

แท่งที่ 3

 

แท่งที่ 4

          ซึ่ง ก.พ.อ. ได้ใช้วิธีการจัดข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่เคยมีระบบซีติดตัวลงใน 4 แท่ง ดังนี้

 

แท่งที่ 1 แท่งอำนวยการ

 

          ในแท่งนี้จะเป็นแท่งของผู้บริหารสายสนับสนุนที่ไม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง ใครครองตำแหน่งเป็นจนเกษียณหรือเป็นจนตายหรือลาออกเองจึงจะพ้นตำแหน่ง โดยแท่งนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ เรียงจากล่างขึ้นบน คือ....

         ระดับต้น จะเป็นผู้อำนวยการกอง(ซี7-8) หรือเลขานุการคณะหรือที่เรียกว่าหัวหน้าสำนักงานคณบดี(ซี 7,8 ) ซึ่งก็คือกลุ่มที่เป็นซี 7 และ ซี 8 เดิม

         ระดับสูง จะเป็นผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีกลุ่มที่เป็นซี 8 เดิม ที่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชมงคล มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ที่ยกฐานะขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัย กับผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีกลุ่มที่เป็นซี 9 เดิม ซึ่งจะเป็นมหาวิทยาลัยดั่งเดิม เช่น จุฬา เกษตร ธรรมศาสตร์ ฯลฯ

 

การจัดคนเข้าระบบแท่ง : จะเห็นได้ว่า ก.พ.อ. จัดคนเข้าแท่งที่ 1 นี้ โดยยึดเอา “ตำแหน่ง” เดิมของบุคคลผู้นั้นในการจัดคนเข้าแท่ง ไม่ได้ยึดเอา “ซี”  ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้จะเป็นซี 8 เหมือนกันเมื่อเข้ามาอยู่ในแท่งอำนวยการด้วยกันแล้วก็จริง แต่จะอยู่กันคนละระดับถ้าตำแหน่งต่างกัน เช่น คนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะซี 8 เมื่อเข้าแท่งจะอยู่ในระดับที่ 1 ที่เรียกว่า “อำนวยการระดับต้น”  รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท/เดือน ส่วนอีกคนหนึ่งถ้าเป็นผู้อำนวยสำนักงานอธิการบดีซี 8 เท่ากับคนแรก แต่จะถูกจัดไปอยู่ในระดับที่ 2 ที่เรียกว่า “อำนวยการระดับสูง”  โดยอยู่ร่วม “ระดับ”กับผู้อำนวยสำนักงานอธิการบดีที่เป็นซี 9 แต่จะรับเงินประจำตำแหน่งเพียง 5,600 บาท/เดือน ไม่เท่ากับผู้อำนวยสำนักงานอธิการบดีที่เป็นซี 9 ที่ได้รับในอัตรา 10,000 บาท/เดือน

          แล้วเมื่อใด? ที่ผู้อำนวยสำนักงานอธิการบดีซี 8(เดิม) จึงจะได้รับเงินประจำตำแหน่ง10,000 บาท/เดือน เท่ากับผู้อำนวยสำนักงานอธิการบดีที่เป็นซี 9(เดิม) ในเมื่อเข้ามาสู่ระบบแท่งใหม่แล้วก็ไม่มีซี 8 ซี 9

          คำตอบก็คือต้องมีคุณสมบัติครบ 2 ข้อตามหนังสือของ สกอ. ที่ 0509(2)/ว 1435 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับเงินประจำตำแหน่ง ลงวันที่ 18 พย.2553 ข้อ 2.2.2 คือ...

  1. ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีและ
  2. ผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด

 

           ส่วนในระดับที่เรียกว่า “อำนวยการระดับต้น” เนื่องสมัยก่อนที่จะมีระบบแท่ง ตำแหน่งเลขานุการคณะจะเป็นซี 7,8 (ไม่ใช่ซี 7-8) และผู้อำนวยการจะเป็นซี 7-8 ดังนั้นเลขานุการคณะหรือผู้อำนวยการกองคนใดที่เป็นซี 7(เดิม) เมื่อมาอยู่ในระบบแท่ง และอยู่ร่วม“ระดับ”กับคนที่เป็นเลขานุการคณะและผู้อำนวยการกองซี 8 (เดิม) แต่จะไม่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 5,600 บาท/เดือน เหมือนกับผู้ที่เป็นเลขานุการคณะและผู้อำนวยการกองซี 8(เดิม)

          แล้วเมื่อใด? ที่เลขานุการคณะและผู้อำนวยการกองซี 7(เดิม) จึงจะได้รับเงินประจำตำแหน่ง 5,600 บาท/เดือน เท่ากับเลขานุการคณะและผู้อำนวยการกองที่เป็นซี 8(เดิม) ในเมื่อเข้ามาสู่ระบบแท่งใหม่แล้วก็ไม่มีซี 7
ซี 8

          คำตอบก็คือต้องมีคุณสมบัติตามหนังสือของ สกอ. ที่ 0509(2)/ว 1435 ลงวันที่ 18 พย.2553 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับเงินประจำตำแหน่ง ข้อ 2.2.1 คือ...

  1. ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองซึ่งกำหนดเป็นระดับ 7-8 เดิม หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  2. ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าระดับผู้อำนวยการกองในหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง ซึ่งกำหนดเป็นระดับ 7,8 เดิม มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด

 

แท่งที่ 2 แท่งวิชาการ

 

          ในแท่งนี้จะเป็นแท่งของสายวิชาการ ซึ่งจะประกอบไปอาจารย์ทั้งหมดทั้งที่มีตำแหน่งทางวิชาการหรือไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ โดยแท่งนี้จะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ เรียงจากล่างขึ้นบน คือ....

 

         ระดับที่ 1 เรียกว่า “ระดับอาจารย์” ในระดับนี้จะประกอบไปด้วยสายวิชาการที่ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ เป็นแต่เพียงอาจารย์ธรรมดาซึ่งได้แก่อาจารย์ที่ครองระดับซี 4-7 เดิม

         ระดับที่ 2 เรียกว่า “ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์” ในระดับนี้จะประกอบไปด้วยสายวิชาการที่มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่ครองระดับซี 6-8 เดิม

         ระดับที่ 3 เรียกว่า “ระดับรองศาสตราจารย์” ในระดับนี้จะประกอบไปด้วยสายวิชาการที่มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ ที่ครองระดับซี 7-9 เดิม

         ระดับที่ 4 เรียกว่า “ระดับศาสตราจารย์” ในระดับนี้จะประกอบไปด้วยสายวิชาการที่มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นศาสตราจารย์ ที่ครองระดับซี 9-10,11 เดิม

การจัดคนเข้าระบบแท่ง : จะเห็นได้ว่า ก.พ.อ. จัดคนเข้าแท่งที่ 2 นี้ โดยยึดเอา “ตำแหน่ง” เดิมของผู้ครองตำแหน่งนั้นในการจัดคนเข้าแท่ง เช่น คนที่เป็นอาจารย์ซี 7(เดิม) ก็จะไปอยู่ใน“ระดับ”ทีเรียกว่า“ระดับอาจารย์” ซึ่งประกอบไปด้วยอาจารย์ซี 4-7 (เดิม) ส่วนคนที่เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ซี 7 จะไปอยู่ใน“ระดับ”ทีเรียกว่า“ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์” ร่วมกับคนที่เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ซี 6-8(เดิม) แต่จะยังไม่สามารถรับเงินประจำตำแหน่งเท่ากับคนที่เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ซี 8 (เดิม) ที่รับในอัตรา 5,600 บาท/เดือน ซึ่งแม้ว่าจะอยู่ร่วม “ระดับ”เดียวกันก็จริง คนที่เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ซี 7(เดิม) จะยังคงรับเงินประจำตำแหน่งเพียงอัตรา 3,500 บาท/เดือน

          แล้วเมื่อใด? คนที่เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ซี 7(เดิม) จึงจะได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท/เดือน เท่ากับผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่เป็นซี 8(เดิม) ในเมื่อเข้ามาสู่ระบบแท่งใหม่แล้วก็ไม่มีซี 7 ซี 8

          คำตอบก็คือต้องมีคุณสมบัติตามหนังสือของ สกอ. ที่ 0509(2)/ว 1435 ลงวันที่ 18 พย.2553  เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับเงินประจำตำแหน่ง ข้อ 1.1 คือ...

             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 3,500 บาท/เดือน(ผศ.6 และ ผศ.7 เดิม) ให้ได้รับประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท/เดือน เมื่อได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวของตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ในระดับชำนาญการพิเศษ(ซึ่งก็คือซี 8 นั้นเอง)

              ทำไม? ก.พ.อ. ไม่กำหนดว่าต้องได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของผู้ช่วยศาสตราจารย์ซี 8 คำตอบก็คือ ในแท่งวิชาการนี้ไม่ได้มีการกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำ-ขั้นสูง เอาไว้

               ดังนั้น....เมื่อไม่มีเงินเดือนขั้นต่ำ-ขั้นสูง แล้วจะรู้ได้อย่างไรผู้ช่วยศาสตราจารย์(ซี6,ซี7)คนนั้นบัดนี้มีสถานะเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ซี 8 แล้ว ?

               ตามหนังสือข้างต้น ก.พ.อ. ได้ใช้วิธีการไปเทียบเคียงกับแท่งวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับชำนาญการพิเศษ(ซี8) ว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์(ผศ.6 และ ผศ.7 )คนใดที่มีเงินเดือนถึงขั้นต่ำชั่วคราวระดับชำนาญการพิเศษ(ซี8) จึงจะได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท/เดือน เท่ากับผู้ช่วยศาสตราจารย์(ผศ.8)

 

แท่งที่ 3 แท่งวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ

 

          ในแท่งนี้จะเป็นแท่งของสายสนับสนุนที่มีระดับตำแหน่งบรรจุด้วยวุฒิปริญญาตรีขึ้นไปทั้งหมด โดยแท่งนี้จะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ เรียงจากล่างขึ้นบน คือ....

         ระดับที่ 1 เรียกว่า “ระดับปฏิบัติการ” ในระดับนี้จะประกอบไปด้วยสายสนับสนุนที่ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการของสายสนับสนุน เป็นแต่เพียงตำแหน่งปฏิบัติการธรรมดาซึ่งได้แก่บุคคลที่ครองระดับซี 3-5 เดิม

         ระดับที่ 2 เรียกว่า “ระดับชำนาญการ” ในระดับนี้จะประกอบไปด้วยสายสนับสนุนที่มีตำแหน่งทางวิชาการของสายสนับสนุน ที่เรียกว่า“ชำนาญการ”  ซึ่งได้แก่บุคคลที่ครองระดับชำนาญการซี 6 และ ผู้ที่ครองตำแหน่งชำนาญการซี 7 (ที่เสนอผลงานในระบบเดิมและผ่านการประเมินเป็นชำนาญการซี 7-8 แต่เงินเดือนยังไม่ถึงซี 8) และรวมไปถึงผู้ที่ครองตำแหน่งหัวหน้างานซี 7(เดิม) และผู้ที่ไม่ได้เป็นหัวหน้างานที่ครองซี 6(เดิม) ก็จะอยู่ในระดับนี้ด้วยกันทั้งหมด

         ระดับที่ 3 เรียกว่า “ระดับชำนาญการพิเศษ” ในระดับนี้จะประกอบไปด้วยสายสนับสนุนที่มีตำแหน่งทางวิชาการของสายสนับสนุนที่เรียกว่า“ชำนาญการ 7-8” เฉาะบุคคลครองระดับชำนาญการซี 8(เดิม) เท่านั้น ไม่รวมไปถึงคนที่ผ่านการประเมินเป็นชำนาญการซี 7-8 แต่เงินเดือนยังไม่ถึงซี 8 (เป็นชำนาญการซี 7 เดิม นั่นเอง)

         ระดับที่ 4 เรียกว่า “ระดับเชี่ยวชาญ” ในระดับนี้จะประกอบไปด้วยสายสนับสนุนที่มีตำแหน่งทางวิชาการของสายสนับสนุนที่เรียกว่า“เชี่ยวชาญ” ซึ่งได้แก่บุคคลที่ครองระดับซี 9 เดิม

         ระดับที่ 5 เรียกว่า “ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ” ในระดับนี้จะประกอบไปด้วยสายสนับสนุนที่มีตำแหน่งทางวิชาการของสายสนับสนุนที่เรียกว่า“เชี่ยวชาญพิเศษ” ซึ่งได้แก่บุคคลที่ครองระดับซี 10 เดิม

การจัดคนเข้าระบบแท่ง : จะเห็นได้ว่า ก.พ.อ. จัดคนเข้าแท่งที่ 3 นี้ โดยยึดเอา “ระดับตำแหน่ง” หรือ “ระดับซี” เดิม ของผู้ครองตำแหน่งนั้นในการจัดคนเข้าแท่ง เช่น และ ผู้ที่ครองตำแหน่งชำนาญการซี 7 (ที่เสนอผลงานในระบบเดิมและผ่านการประเมินเป็นชำนาญซี 7-8 แต่เงินเดือนยังไม่ถึงซี 8) ก.พ.อ.จัดให้ไปอยู่ “ระดับชำนาญการ” โดยให้ไปอยู่รวมกับผู้ที่เป็นซี6 และซี 7 เดิม แทนที่จะให้ไปอยู่ร่วมกับ“ระดับชำนาญการพิเศษ” ผู้ที่เสนอผลงานและผ่านการประเมินเป็นชำนาญซี 7-8 และเงินเดือนถึงซี 8

 

แท่งที่ 4 แท่งทั่วไป

 

          ในแท่งนี้จะเป็นแท่งของสายสนับสนุนที่มีระดับตำแหน่งบรรจุด้วยวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีทั้งหมด โดยแท่งนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ เรียงจากล่างขึ้นบน คือ....

         ระดับที่ 1 เรียกว่า “ระดับปฏิบัติงาน” ในระดับนี้จะประกอบไปด้วยสายสนับสนุนที่บรรจุ
ด้วยวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี(ปวช., ปวท. , ปวส.)ที่ครองระดับซี 1-4 (เดิม)

         ระดับที่ 2 เรียกว่า “ระดับชำนาญงาน” ในระดับนี้จะประกอบไปด้วยสายสนับสนุนที่บรรจุด้วยวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีที่ครองระดับซี 5-6 (เดิม)  และรวมไปถึงบุคคลที่ครองระดับชำนาญการซี 6 ที่เสนอผลงานในระบบเดิมและผ่านการประเมินเป็นชำนาญการซี 6(เดิม)ก่อนที่จะยกเลิกซี

         ระดับที่ 3 เรียกว่า “ระดับชำนาญงานพิเศษ” ในระดับนี้จะประกอบไปด้วยสายสนับสนุนที่บรรจุด้วยวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เสนอผลงานในระบบเดิมและผ่านการประเมินเป็นชำนาญการ 7-8 (เดิม) ในระบบเดิมก่อนที่จะยกเลิกซี         

          เมื่อวิเคราะห์และพิจารณาดีๆ ในรายละเอียดลึกๆ จะเห็นได้ว่าในแท่งที่ 1 และ แท่งที่ 2  ล้วนแต่ใช้ระดับ“ตำแหน่ง” เดิมของผู้ครองตำแหน่งนั้นในการจัดคนเข้าแท่ง เช่น ตำแหน่งผู้อำนายการสำนักงานอธิการบดีซี 8 ไปอยู่ร่วม “ระดับ” กับผู้อำนายการสำนักงานอธิการบดีซี 9 ได้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ซี 7 ไปอยู่ร่วม “ระดับ” กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ซี 8 ได้

           แต่ทำไม่ในแท่งที่ 3 ผู้ที่ครองตำแหน่งชำนาญการ 7-8 เดิมที่เป็นซี 7 (เพราะเงินเดือนยังไม่ถึงซี 8) ถึงไม่ให้ไปอยู่ร่วม“ระดับ” กับผู้ที่ครองตำแหน่งชำนาญการซี 8 ใน“ระดับชำนาญการพิเศษ” โดยในเบื้องต้นยังไม่ให้รับเงิน “ค่าตอบแทน” ในอัตราเดือนละ 3,500 บาท/เดือน เหมือนกับบุคคลที่ครองตำแหน่งชำนาญการซี 8 (เดิม) จนกว่าผู้ที่ครองตำแหน่งชำนาญการ 7(เดิม) ผู้นั้นจะมีอัตราเงินเดือนถึงขั้นต่ำชั่วคราวของตำแหน่งชำนาญการ 8(เดิม) โดยทำให้เหมือนกับที่ ก.พ.อ.จัดคนที่เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ซี 7 จะไปอยู่ใน“ระดับ”ทีเรียกว่า“ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์” ร่วมกับคนที่เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ซี 8(เดิม)

 

เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วทำให้สับสนว่า... ก.พ.อ.


ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจัดคนเข้าแท่ง

 

  • บางแท่งใช้หลักเกณฑ์ของ “ตำแหน่ง” เช่น ผศ.7 อยู่ร่วมกับ ผศ.8 ได้ ทั้งๆที่เมื่อดูตามซีแล้วก็ไม่ได้ซีสูงไปกว่าอาจารย์ซี 4-7

 

  • บางแท่งใช้หลักเกณฑ์ของ “ซี” เช่น ชำนาญการ 7 อยู่ร่วมกับชำนาญการ 8 ไม่ได้ ทั้งๆที่เมื่อดูตามตำแหน่ง(ก่อนเลิกระบบซี) เขาก็คือผู้ที่ผ่านการประเมินผลงานเป็นชำนาญการ 7-8 เพียงแต่เงินเดือนยังไม่ถึงซี 8 เท่านั้นเอง

 

จะใช้หลักเกณฑ์อะไรก็ให้เอาสักอย่าง
ไม่ใช่เอาทั้งสองอย่าง เดี๋ยวจะถูกหาว่าสองมาตรฐาน

 

*********************************************************

 

เอกสารอ้างอิง

 

  1. ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2553
  2. หนังสือของ สกอ. ที่ 0509(2)/ว 1435 ลงวันที่ 18 พย.2553 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับเงินประจำตำแหน่ง

 

คำสำคัญ (Tags): #กันย์#จั๊บ
หมายเลขบันทึก: 506479เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2012 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2012 08:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้ประโยชน์มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท