กินเนื้อมากเสี่ยงเบาหวาน


.
อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'Iron in red meat linked to diabetes'
= "(ธาตุ)เหล็กในเนื้อแดงเพิ่มเสี่ยง (มีความสัมพันธ์กับ) เบาหวาน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาหลายรายงานพบว่า การกินเนื้อแดงมากเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ เนื้อแดง (red meat) หรือเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น แพะ แกะ วัว หมู ฯลฯ มีธาตุเหล็กสูง
.
ธาตุเหล็กที่มีน้อยเกินไป (ขาดธาตุเหล็ก) ทำให้เกิดโรคเลือดจาง อ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย ภูมิต้านทานลดลง
.
คนที่เสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็กได้แก่ ผู้หญิงที่เสียเลือดทางประจำเดือน ตั้งครรภ์ คลอดลูก ให้นมลูก
หรือบริจาคเลือด ซึ่งทำให้สูญเสียธาตุเหล็กออกไป
.
คนที่กินเนื้อน้อยมาก กินมังสวิรัติ หรือกินเจนานๆ เสี่ยงขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากธาตุเหล็กในพืชดูดซึมได้น้อยกว่าธาตุเหล็กในเนื้อสัตว์ ตับ เลือดสัตว์
ภาวะขาดธาตุเหล็กอาจทำให้เพลียง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ง่าย
.
ธาตุเหล็กในอาหารแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่
.
(1). heme iron > ธาตุเหล็กในเนื้อ ตับ เลือดสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ > ดูดซึมได้มาก
.
(2). non-heme iron > ธาตุเหล็กในพืช ผลิตภัณฑ์จากพืช > ดูดซึมได้น้อยมาก
.
การตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) พอจะบอกได้ว่า เป็นโรคเลือดจาง (ซีด) หรือไม่
.
บางคนขาดธาตุเหล็ก มีธาตุเหล็กสำรองในร่างกายลดลง แต่ยังไม่พบเลือดจาง
.
.
การตรวจที่บอกว่า ระดับธาตุเหล็กในร่างกายสูงหรือต่ำเกินหรือไม่ นิยมเจาะเลือดหาระดับ "เฟอร์ริทิน (ferritin)"
.
ธาตุเหล็กในร่างกายที่มีมากเกินพอมีโอกาสเสื่อมสภาพ โดยทำปฏิกริยากับออกซิเจน คล้ายกับเหล็กเป็นสนิม และเพิ่มอนุมูลอิสระในร่างกาย
.
ธาตุเหล็กที่มากเกินทำลายเซลล์เบต้า (beta cells) ในตับอ่อน ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (insulin)
.
อินซูลินทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยนำน้ำตาลเข้าเซลล์ เช่น กล้ามเนื้อ ฯลฯ
.
ถ้าเซลล์เบต้าในตับอ่อนถูกทำลายมากพอ จะทำให้เป็นโรคเบาหวาน
.
การกินเนื้อแดงมากๆ เสี่ยงต่อการเกิดสารก่อมะเร็งกลุ่ม "ไนเตรซามีนส์ (nitrosamines)"
.
.
การกินเนื้อสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน ไส้อั่ว หมูยอ หมูหยอง เนื้อสวรรค์ ฯลฯ ที่ผสมดินประสิว เพิ่มเสี่ยงต่อการเกิดไนโตรซามีนส์เช่นกัน
.
กลไกที่เนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์ใหญ่อาจเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน คือ
.
 
(1). ทำให้ธาตุเหล็กในร่างกายสูง > ทำลายเซลล์เบต้าในตับอ่อน
.
(2). กรดไขมันอิ่มตัวในเนื้อ ตับ เลือดสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ > ไปรบกวน ปิดกั้นการทำงานของตัวรับอินซูลิน (insulin receptors) ที่ผนังเซลล์ ทำให้เกิดการดื้อต่ออินซูลิน
.
(3). การกินอาหารจาก "ผัก-ผลไม้-ถั่ว-เมล็ดพืช-ข้าวกล้อง" น้อย, กินข้าวขาวมาก เนื้อมาก ทำให้ขาดสารต้านอนุมูลอิสระเรื้อรัง > ร่างกายเสื่อมเร็ว
.
.
คำแนะนำในเรื่องเนื้อ คือ
.
(1). ลดเนื้อแดงลงอย่างน้อย 1/2
.
(2). ใช้เนื้อขาว (white meat) เช่น ไก่ เป็ด ปลา ฯลฯ ที่ไม่ผ่านการทอดแทน, ใช้โปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้ ถั่ว งา เมล็ดพืช นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ ฯลฯ เสริมเข้าไปแทน
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • Thank Dr.Gabe Mirkin source > BMC Med., October, 2012;10(1):119 > http://www.drmirkin.com/public/ezine102112.html
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 22 ตุลาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

 

หมายเลขบันทึก: 506475เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2012 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท