คู่มือ การช่วยวางยาสลบการผ่าตัดหัวใจ (ชนิดเปิด)


“ทำเรื่องง่าย ทำทำไม เพราะใครๆก็ทำได้” ที่ตอบเช่นนั้นเพราะหวังว่าอานิสงส์จากการทำเรื่องยาก จากความไม่รู้ของเรา จะส่งผลให้ผู้อื่นรู้ง่ายขึ้น และเขาจะได้นำไปประกอบการใช้จริงในงาน (โดยเฉพาะนักเรียน)... เหมือนเรา...

เมื่อเดือนก่อนมีคนพูดถึงการเขียนคู่มือ... และก็พูดถึงความยากลำบากของวิสัญญีพยาบาลในการเข้าปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดหัวใจ ประมาณว่า น้องใหม่ทำงานไม่ได้ตามต้องการ... (โปรดสังเกตว่า ผู้เขียนไม่ได้ใช้คำว่า “ตามความคาดหวัง” นะ...) รวมไปถึงน้องที่กำลังจะจบการอบรมวิสัญญีพยาบาลบอกว่า โรงพยาบาลของเธอกำลังจะเปิดห้องผ่าตัดหัวใจ และอยากได้คู่มือปฏิบัติงาน

 

 

ผู้เขียนเคยเขียนคู่มือสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน การช่วยวางยาสลบการผ่าตัดหัวใจ (ชนิดเปิด) ในบทบาทของวิสัญญีพยาบาล ซึ่งการระงับความรู้สึกผู้ป่วยประเภทนี้วิสัญญีแพทย์เท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบดมยาสลบ วิสัญญีพยาบาลเป็นเพียงผู้มีส่วนช่วยแพทย์ เตรียมของ เตรียมยา ช่วย...สารพัดอย่าง แต่กระนั้นทุกขั้นทุกตอนของการดมยาสลบและการผ่าตัด รวมทั้งผลกระทบในแต่ละช่วงก็ต้องรู้หมด... เพื่อเป็นผู้ช่วยที่ดี...

 

 

เมื่อ 30 ปีที่แล้ว คราวผู้เขียนฝึกอบรมเป็นวิสัญญีพยาบาลในหลักสูตรที่รับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขในโรงพยาบาลชลบุรี สมัยนั้นโรงพยาบาลชลบุรีไม่มีการผ่าตัดหัวใจ และกระทรวงสาธารณสุขสมัยนั้นซึ่งนำโดย อ.นพ.ชาญณรงค์ เสงี่ยมพรพานิชย์ อาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาของผู้เขียน (ปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว) บอกพวกเราว่า งานแบบนี้มิใช่บทบาทของวิสัญญีพยาบาล ผู้เขียนจึงไม่มีประสบการณ์...

 

 

พอจบและทำงานที่โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา (โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ในปัจจุบัน) ได้ราว 2 ปี ก็ย้ายมาอยู่ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่บริการทางวิสัญญีให้กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งในขณะนั้นเพิ่งเริ่มเปิดห้องทำผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด (opened heart surgery) ใหม่ๆ

ผู้เขียนถูกให้เข้าไปดูงานในห้องผ่าตัดหัวใจก่อนทำงานจริง ให้สังเกตการปฏิบัติงานกับวิสัญญีพยาบาลที่อยู่ในห้องนั้น ยังได้เห็นการคล้องไหมที่เย็บลิ้นหัวใจ แล้วไขว้ไปมายุ่งเหยิงเพราะไม่ได้เรียงลำดับก่อนผูก จนมันพันกัน เป็นเหตุให้ อ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ (อาจารย์หมอที่ผู้เขียนเคารพนับถือมากเป็นส่วนตัวเพราะอาจารย์ขยันผ่าตัดมาก) แพทย์ผู้ผ่าตัดขณะนั้น  เอ็ดตะโร

 

 

... เพราะความไม่รู้ ผู้เขียนจำไม่ได้ว่าไปพูดหรือถามอะไรวิสัญญีพยาบาลในห้องนั้นเข้า คำพูดคงขี้เหล่มั้ง จำแต่คำตอบห้วนๆ ได้ว่า

“... ดูๆ เอาเอง เดี๋ยวก็รู้...”

นั่นเป็นที่มาของการบอกตนเองว่า

“... เรียนรู้ด้วยตนเอง ก็ได้ (วะ)”

แล้วอย่าสงสัยล่ะ ว่าผู้ร่วมงานคนนั้นเป็นใคร... (บอกไม่ด้ายย...)

ซึ่งจริงๆ แล้วผู้เขียนควรขอบคุณเธอมากกว่า...

 

 

จากนั้น ผู้เขียนเริ่มอ่านหนังสือ ตอนนั้นไม่มีหนังสือภาษาไทยให้อ่าน แม้เอาแค่เรื่องใกล้เคียงกันก็ไม่มี ไปห้องสมุดคณะแพทย์ มีภาษาอังกฤษก็แปลไม่ออก ไม่เข้าใจ ก็อาศัยแพทย์ฝึกหัดที่มาฝึกงานและอยู่เวรด้วยกันแปลและช่วยอธิบายให้ฟัง

จึงเป็นที่มาของการทำคู่มือเรื่องยากมากเมื่อคราวทำผลงานความก้าวหน้าทางวิชาการ ที่มีคนถามว่าทำไมทำเรื่องยากจัง ได้ตอบไปว่า... “ทำเรื่องง่าย ทำทำไม เพราะใครๆ ก็ทำได้” ที่ตอบเช่นนั้นเพราะหวังว่า อานิสงส์จากการทำเรื่องยากจากความไม่รู้ จะส่งผลให้คนอื่นรู้ง่ายขึ้น และเขาจะได้นำไปประกอบการใช้จริงในงาน (โดยเฉพาะนักเรียน)…จะได้ไม่ลำบาก เหมือนเรา...

 

 

ผู้เขียนขอ ISBN จากคำแนะนำของอาจารย์วิสัญญีแพทย์ รศ.วราภรณ์ เชื้ออินทร์ ได้นำเข้าห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และห้องสมุดกลาง (สำนักวิทยบริการในปัจจุบัน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตอนนั้นให้ห้องสมุดไปหลายเล่ม ทางห้องสมุดกลางบอกว่า บางส่วนจะนำไปไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ... รู้สึกดีใจมาก และดีใจมากที่สุดเมื่อคราวที่อาจารย์หมอ ศ.นพ.สมพร โพธินาม คณบดีคณะแพทยศาสตร์ในขณะนั้นบอกกับผู้เขียนเมื่อคราวมาประเมินงานภาคฯ แล้วสุ่มเจอตัวผู้เขียนว่า

“... กฤษณา สำเร็จ ชื่อคุ้นๆ คนนี้นี่เองเขียนคู่มือ (ช่วย) ดมยาผ่าตัดหัวใจ ตอนเวียนหนังสือให้กรรมการอ่าน ผมนอนป่วยโรคนี้พอดี เลยได้เอาไปนอนอ่านด้วย ได้ความรู้และมีประโยชน์มากเลย...”

ผู้เขียนยิ้มหน้าบาน...หัวใจพองโต

...และก็ไม่เห็นว่าใครจะเขียนอีก (อาจจะมีแต่ผู้เขียนไม่พบ)

เรื่องของผู้เขียนถูกอ้างอิงในวิทยานิพนธ์ ป.โท ของ คุณแขไข ชาญบัญชี วิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา (ที่ปัจจุบันเธอเป็น APN วิสัญญีรุ่นเดียวกันกับผู้เขียน) ซึ่งเธอนำมาประกอบการสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด ของกลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และผู้เขียนได้มีโอกาสเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ของเธอ ในปี พ.ศ. 2545

ภูมิใจค่ะ...

 

(ใช้เครื่องดมยาเครื่องนี้ค่ะ ปัจจุบันเครื่องนี้เป็นเครื่องโบราณไปแล้ว)

 

ผู้เขียนเหลือต้นฉบับอยู่ไม่กี่เล่ม และช่วงหลังมีผู้ถามหาบ่อย แม้แต่อาจารย์แพทย์ เลยขอนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาชีพวิสัญญีพยาบาลและผู้สนใจ ก่อนที่มันจะหายสาบสูญไป... แม้ว่ามันจะโบราณแล้วก็ตาม...

ตอนนี้ในรายละเอียดของการทำงานจำไม่ค่อยได้แล้วเพราะไม่ได้อยู่ field นี้มานาน (หรือเพราะชราภาพมากขึ้นก็ไม่ทราบ) ซึ่งในขณะนั้นผู้เขียนขออยู่ประจำเพื่อพัฒนางานด้านนี้ต่อ แต่ทางที่ทำงานไม่มีนโยบายให้วิสัญญีพยาบาลอยู่ประจำ เนื่องจากมีน้องๆ ที่จบใหม่ที่ต้องอยู่เวร และยังต้องเวียนเข้าเรียนรู้หากมีกรณี mergency case ด้วย

ในเวลาต่อมา โรงพยาบาลศรีนครินทร์มีการทำผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดดำ หรือเรียกสั้นๆว่า CABG (coronary artery bypass grafting) เพิ่มขึ้นอีก

 

(เตรียม syringe pump ไว้หลายตัว เอาไว้ drip ยาต่างๆ... )

 

ปัจจุบันนี้เทคนิคการทำผ่าตัดหัวใจก้าวหน้าไปมาก และยังคงมีการทำผ่าตัดประเภทนี้ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์อยู่ แม้มีการก่อตั้งศูนย์หัวใจสิริกิติ์รองรับภารกิจบริการการรักษาโรคทางหัวใจโดยตรงเพิ่มขึ้นแลัวก็ตาม 

แว่วว่าในอีกไม่นานนี้อาจจะมีการทำผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ (heart transplantation) เพิ่มขึ้นอีก 

และในขณะที่ประเทศชาติยังคงขาดแคลนแพทย์และพยาบาลไปอีกหลายปี วิสัญญีพยาบาลจึงพึงพัฒนาตนเองรองรับภารกิจนี้เพื่อช่วยแพทย์ดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัย และแม้หลายฝ่ายจะมองว่า เกินความสามารถของวิสัญญีพยาบาลก็ตาม

   

กฤษณา สำเร็จ 

21 ตุลาคม 2555                                                                                                                   

 

หมายเลขบันทึก: 506361เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2012 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2014 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เยี่ยมยอดมากค่ะ คุณติ๋ว ขออนุญาตทำลิงค์ถึงบันทึกนี้ เพื่อเผยแพร่ให้ชาวคณะแพทย์ ม.สงขลานครินทร์ด้วยนะคะ ที่นี่ค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่โอ๋

ขอบตุณมากๆนะคะที่่ให้เกียรติ และช่วยเผยแพร่

และ ยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากจะมีประโยชน์ค่ะ

จำได้ว่า.. เมื่อตอนเข้าไปเรียน วิสัญญีพยาบาล ที่ศรีนครินทร์ ขอนแก่น

ท้องเบอร์ ๙ เป็นห้องที่วุ่นที่สุดค่ะ ไอ้ที่วิ่งวุ่นนี่คือวิ่ง warm เลือดค่ะ

นึกแล้วคิดถึงจังค่ะ

ขอบคุณพี่ติ๋วมากๆนะคะ

 

เป็นผู้ชมที่แวะมาชื่นชมค่ะ ขอให้มีกำลังกายกำลังใจพัฒนาต่อไปค่ะ

น้อง kunrapeeBlank

ในระยะหลังมาไม่ได้ให้น้องนักเรียนเข้า OR 9 (ห้องผ่าตัดหัวใจ) แล้วค่ะ เนื่องจากมีการคอมเมนท์จากน้องๆนักเรียนว่า... ได้แต่วิ่งเอาของและเลือด...

แต่กลายเป็นว่า วิสัญญีพยาบาลรุ่นหลังมาสมรรถนะลดลงมาก (ประเมินจากรุ่นที่จบแล้วอยู่ มข.) เป็นเหตุให้มีการปรับใหม่ ในปีนี้จึงให้น้องกลับมา turn OR9 เหมือนเดิมค่ะ...

... คิดเสียว่าเป็นการฝึกตนนะคะ...

ขอบคุณค่ะ


สวัสดีปีใหม่ ครับ คุณ กฤษณา ครับ

หนูอยากอ่านหนังสือคู่มือดมยาopen heart ที่พี่เขียนขึ้นค่ะ หนูต้องทำยังไงบ้างค่ะ

หนูอยากอ่าหนังสือคู่มือopen heart ที่พี่เขียนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท