พึงกล่าวความจริง แต่…


สตฺยํ พฺรูยาตฺ ปฺริยํ พฺรูยาตฺ       น พฺรูยาตฺ สตฺยมปฺริยมฺ ฯ
ปฺริยํ จ นานฺฤตมฺ พฺรูยาตฺ     เอษ ธรฺมะ สนาตนะ ๚

 

सत्यं ब्रूयात् प्रियं ब्रूयात्  न ब्रूयात् सत्यमप्रियम् ।
प्रियं च नानृतम् ब्रूयात्   एष धर्मः सनातन: ॥
 
พึงกล่าวความจริง พึงกล่าวคำพูดที่น่าฟัง
มิพึงกล่าวความจริง ที่ไม่น่าฟัง
มิพึงกล่าวความเท็จ แม้น่าฟัง
ธรรมะดังกล่าวนี้คงอยู่ชั่วนิรันดรฯ

 

โศลกบทนี้ กล่าวถึงกันมาก ใช้คำง่ายๆ กริยาตัวเดียว และมีคำซ้ำๆ หลายครั้ง คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก


ภาษาสันสกฤต

แยกสนธิ : สตฺยมฺ พฺรูยาตฺ, ปฺริยมฺ พฺรูยาตฺ,  น พฺรูยาตฺ สตฺยมฺ อปฺริยมฺ, ปฺริยมฺ จ น อนฺฤตมฺ พฺรูยาตฺ, เอษสฺ ธรฺมสฺ สนาตนสฺ ๚

 

คำศัพท์

พรูยาตฺ    พึงกล่าว (พรู = พูด) กริยา เอกพจน์ บุรุษที่ 3 วิธิ (มาลาบอกสิ่งที่ควรทำ)  ในที่นี้ไม่ระบุประธาน จึงควรเข้าใจว่า ประธานคือ เขา, ใครๆ, บุคคลใด

ปฺริยมฺ       ปฺริย. สิ่งที่น่ารัก สิ่งที่น่าฟัง (นาม เพศกลาง กรรมการก เอกพจน์)

อปฺริยมฺ     อ+ปฺริย. สิ่งที่ไม่น่ารัก สิ่งที่ไม่น่าฟัง (นาม เพศกลาง กรรมการก เอกพจน์)

สตฺยมฺ       สตฺย.  ความจริง, ความสัตย์, สัจจะ (นาม เพศกลาง กรรมการก เอกพจน์)

อนฺฤตมฺ     อนฺฤต.  ความเท็จ (นาม เพศกลาง กรรมการก เอกพจน์)

เอษสฺ        เอตทฺ. นี้. สรรพนาม เอกพจน์ บุรุษที่ 3 กรรตุการก (เมื่อมีพยัญชนะตามมา จะเปลี่ยนเป็น เอษ)

              ไม่ (ศัพท์ไม่เปลี่ยนรูป)

ธรฺมสฺ        ธรฺม. ธรรมะ, ความจริง, หลักความจริง (นาม เพศชาย กรรตุการก เอกพจน์)

สนาตนสฺ   สนาตน. ความถาวร, นิรันดร (นาม เพศชาย กรรตุการก เอกพจน์)

คำสำคัญ (Tags): #ความจริง#สัจจะ
หมายเลขบันทึก: 506333เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

 

พึงกล่าวความจริง พึงกล่าวคำพูดที่น่าฟัง
มิพึงกล่าวความจริง ที่ไม่น่าฟัง
มิพึงกล่าวความเท็จ แม้น่าฟัง
ธรรมะดังกล่าวนี้คงอยู่ชั่วนิรันดรฯ

 

ขอบคุณนะค่ะ....ธรรมะดีมากค่ะ สอนใจนะคะ

 

สวัสดีครับ

ใช่แล้วครับ เป็นข้อคิดที่ดี มาหลายชั่วอายุคนแล้ว

อรุณสวัสดิ์ค่ะคุณครู

คำสอนของสัตบุรุษ/ครูบาอาจารย์เป็นภูมิปัญญาสากลา...

ทุกชาติ ศาสนา ความเชื่อเป็นจริงและตรงกันเป็นส่วนใหญ่

เคยถูกสอนว่า...

หากต้องพูดเรื่องไม่จริง ให้งดไว้ แม้จะถูกหาว่า โง่/ไม่รู้ทัน

เมื่อต้องพูดเรื่องจริง แต่ทำให้คนอื่นไม่สบายใจไม่ชอบใจเสียหน้าเสียประโยชน์ ก็ให้งดไว้

แม้จะเสียประโยชน์ที่ตนควรได้ในขณะนั้น

แต่จะได้รับประโยชน์อันมีประโยชน์ยิ่งกว่าในภายหน้า

สรุปว่า...ให้มีสติใคร่ครวญในการพูดทุกครั้ง   :)

ขออภัยค่ะ พิมพ์ผิด...สากลา = สากล ค่ะ  :)

มีกัลยาณมิตร(คุณSuwit Sripakdeewong) ส่งลิงก์้ข้อความมาให้ หลังจากนำข้อความนี้ไปโพสต์

เลยนำมาให้คุณครูด้วยค่ะ

..........................

อภัยราชกุมารสูตร
....
ดูกรราชกุมาร ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น

ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง วาจาที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น

ตถาคตย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์
และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=1607&Z=1725

 

 

สวัสดีครับ คุณ Blank

ขอบคุณมากครับ เนื้อความคล้ายคลึงกันเลย แต่ในสูตรขยายความได้ชัดเจน ละเอียดมาก

อย่างที่คุณหยั่งราก ฝากใบบอกครับ คำสอนของบูรพาจารย์มีประโยชน์ทุกสมัยจริงๆ

ผมเลยได้รู้จักพระสูตรเรื่องนี้อีกเรื่องหนึ่งด้วย ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท